ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัยประชุม"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 5:
----
----


เมื่อมี[[การเลือกตั้ง]]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้วสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมานั่งประชุมกันทันทีมิได้ จะต้องรอจนกว่าจะมีการเรียกประชุมสภาก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 127 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรกภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 90.</ref> โดย[[พระมหากษัตริย์]]ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.</ref> ซึ่งในทางปฏิบัติ[[คณะรัฐมนตรี]]ซึ่งรักษาการอยู่จะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากราบบังคมทูลขึ้นไปเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย<ref>'''การเปิด–ปิดสมัยประชุมรัฐสภา,''' http://meechaithailand.com/ver1/?Module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.</ref> เรียก ประชุมรัฐสภา
เมื่อมี[[การเลือกตั้ง]]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้วสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมานั่งประชุมกันทันทีมิได้ จะต้องรอจนกว่าจะมีการเรียกประชุมสภาก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 127 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรกภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 90.</ref> โดย[[พระมหากษัตริย์]]ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.</ref> ซึ่งในทางปฏิบัติ[[คณะรัฐมนตรี]]ซึ่งรักษาการอยู่จะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากราบบังคมทูลขึ้นไปเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย<ref>'''การเปิด–ปิดสมัยประชุมรัฐสภา,''' http://meechaithailand.com/ver1/?Module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.</ref> เรียก [[ประชุมรัฐสภา]]


==การประชุมสภา==
==การประชุมสภา==
บรรทัดที่ 13: บรรทัดที่ 13:
สมัยประชุม หมายถึง กำหนดเวลาในรอบหนึ่งปีที่ให้รัฐสภาทำการประชุมพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ทางด้านนิติบัญญัติ สมัยประชุม มี 2 ประเภท<ref>'''การดำเนินการประชุม,''' จากเว็ปไซด์รัฐสภา, http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html, วันที่ 26 สิงหาคม 2552.</ref> ได้แก่  
สมัยประชุม หมายถึง กำหนดเวลาในรอบหนึ่งปีที่ให้รัฐสภาทำการประชุมพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ทางด้านนิติบัญญัติ สมัยประชุม มี 2 ประเภท<ref>'''การดำเนินการประชุม,''' จากเว็ปไซด์รัฐสภา, http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html, วันที่ 26 สิงหาคม 2552.</ref> ได้แก่  


1. สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา ในปีหนึ่ง ๆ ให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภา 2 สมัย  
1. [[สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา]] ในปีหนึ่ง ๆ ให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภา 2 สมัย  


1.1 สมัยประชุมสามัญทั่วไป เป็นสมัยประชุมที่มีขึ้นภายหลัง[[การเลือกตั้ง]]ทั่วไป โดยจะถือวันประชุมครั้งแรกที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญทั่วไป  
1.1 [[สมัยประชุมสามัญทั่วไป]] เป็นสมัยประชุมที่มีขึ้นภายหลัง[[การเลือกตั้ง]]ทั่วไป โดยจะถือวันประชุมครั้งแรกที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญทั่วไป  
โดยพระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรกด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์มาทำรัฐพิธีก็ได้ ซึ่งสมัยประชุมนี้รัฐสภาจะพิจารณาเรื่องใด ๆ ก็ได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเสนอญัตติหรือการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ[[นายกรัฐมนตรี]]หรือ[[รัฐมนตรี]] เหตุที่ต้องให้สมัยประชุมสามัญทั่วไปเป็นสมัยประชุมแรกหลังการเลือกตั้ง ก็เนื่องจากเหตุผลดังนี้  
โดยพระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรกด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์มาทำรัฐพิธีก็ได้ ซึ่งสมัยประชุมนี้รัฐสภาจะพิจารณาเรื่องใด ๆ ก็ได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเสนอญัตติหรือการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ[[นายกรัฐมนตรี]]หรือ[[รัฐมนตรี]] เหตุที่ต้องให้สมัยประชุมสามัญทั่วไปเป็นสมัยประชุมแรกหลังการเลือกตั้ง ก็เนื่องจากเหตุผลดังนี้  


บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
สรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ คือ ในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ รัฐสภาสามารถดำเนินการได้เฉพาะบางเรื่องที่เป็นเรื่องหลักๆ ขณะที่รัฐสภาสามารถดำเนินการได้ทุกเรื่องในสมัยประชุมสามัญทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือ[[รัฐมนตรี]]นั้น จะกระทำได้แต่เฉพาะในสมัยประชุมสามัญทั่วไปเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ในปีหนึ่งจะมีการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจได้เพียงครั้งเดียว ไม่ใช่เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจทุกสมัยประชุมเหมือนกับรัฐธรรมนูญในฉบับก่อนๆ<ref>'''สมัยประชุมสามัญทั่วไป,''' จากคลังปัญญาไทย, http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php, วันที่ 26 สิงหาคม 2552.</ref>
สรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ คือ ในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ รัฐสภาสามารถดำเนินการได้เฉพาะบางเรื่องที่เป็นเรื่องหลักๆ ขณะที่รัฐสภาสามารถดำเนินการได้ทุกเรื่องในสมัยประชุมสามัญทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือ[[รัฐมนตรี]]นั้น จะกระทำได้แต่เฉพาะในสมัยประชุมสามัญทั่วไปเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ในปีหนึ่งจะมีการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจได้เพียงครั้งเดียว ไม่ใช่เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจทุกสมัยประชุมเหมือนกับรัฐธรรมนูญในฉบับก่อนๆ<ref>'''สมัยประชุมสามัญทั่วไป,''' จากคลังปัญญาไทย, http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php, วันที่ 26 สิงหาคม 2552.</ref>


1.2 สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ในสมัยประชุมนี้ รัฐสภาจะดำเนินการประชุมได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในหมวด 2 พระมหากษัตริย์หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ การอนุมัติ[[พระราชกำหนด]] การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา การเลือกหรือการให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่ง การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง การตั้งกระทู้ถาม และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รวมทั้งไม่ให้มีการเสนอญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การที่กำหนดห้ามไว้เช่นนี้ ก็เนื่องจากไม่ประสงค์จะให้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจกันทุกสมัยประชุม หรือมีการพิจารณาญัตติต่าง ๆ จนไม่มีเวลาพิจารณาร่างกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ข้อห้ามดังกล่าว มิได้ห้ามไว้อย่างเด็ดขาด หากมีความจำเป็น รัฐสภาจะมีมติให้พิจารณาเรื่องอื่นใดด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 91.</ref> ให้พิจารณาเรื่องอื่นใดก็ได้
1.2 [[สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ]] ในสมัยประชุมนี้ รัฐสภาจะดำเนินการประชุมได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในหมวด 2 พระมหากษัตริย์หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ การอนุมัติ[[พระราชกำหนด]] การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา การเลือกหรือการให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่ง การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง การตั้งกระทู้ถาม และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รวมทั้งไม่ให้มีการเสนอญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การที่กำหนดห้ามไว้เช่นนี้ ก็เนื่องจากไม่ประสงค์จะให้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจกันทุกสมัยประชุม หรือมีการพิจารณาญัตติต่าง ๆ จนไม่มีเวลาพิจารณาร่างกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ข้อห้ามดังกล่าว มิได้ห้ามไว้อย่างเด็ดขาด หากมีความจำเป็น รัฐสภาจะมีมติให้พิจารณาเรื่องอื่นใดด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 91.</ref> ให้พิจารณาเรื่องอื่นใดก็ได้


วันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติให้[[สภาผู้แทนราษฎร]]เป็นผู้กำหนด ในกรณีที่การเริ่มประชุมครั้งแรกมีเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินไม่ถึง 150 วัน จะไม่มีการประชุมสามัญนิติบัญญัติสำหรับปีนั้นก็ได้ สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตินี้ มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นสมัยประชุมที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีสามารถทุ่มเทและอุทิศเวลาให้กับการทำงานด้านนิติบัญญัติ โดยไม่ต้องมัวกังวลหรือถูกแรงกดดันจากปัจจัยหรือประเด็นทางการเมืองมากเกินไป<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 91.</ref>
วันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติให้[[สภาผู้แทนราษฎร]]เป็นผู้กำหนด ในกรณีที่การเริ่มประชุมครั้งแรกมีเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินไม่ถึง 150 วัน จะไม่มีการประชุมสามัญนิติบัญญัติสำหรับปีนั้นก็ได้ สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตินี้ มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นสมัยประชุมที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีสามารถทุ่มเทและอุทิศเวลาให้กับการทำงานด้านนิติบัญญัติ โดยไม่ต้องมัวกังวลหรือถูกแรงกดดันจากปัจจัยหรือประเด็นทางการเมืองมากเกินไป<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 91.</ref>
บรรทัดที่ 30: บรรทัดที่ 30:
สำหรับกำหนดเวลาในสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่ง ๆ มีกำหนดเวลา 120 วัน แต่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเวลาออกไปก็ได้ ส่วนการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลา 120 วัน จะกระทำได้ก็แต่โดยความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งกระทำโดยพระราชกฤษฎีกา<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 91.</ref>
สำหรับกำหนดเวลาในสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่ง ๆ มีกำหนดเวลา 120 วัน แต่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเวลาออกไปก็ได้ ส่วนการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลา 120 วัน จะกระทำได้ก็แต่โดยความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งกระทำโดยพระราชกฤษฎีกา<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 91.</ref>


2. สมัยประชุมวิสามัญ หมายถึง การเปิดประชุมนอกสมัยประชุมสามัญของรัฐสภา การเปิดสมัยประชุมวิสามัญนี้ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะทรงเรียกให้มีขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีจะนำความกราบบังคมทูลและตราเป็น[[พระราชกฤษฎีกา]] ซึ่งนอกจากกรณีนี้แล้ว การเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญยังมีเพิ่มอีกสองกรณี<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.</ref> คือ
2. [[สมัยประชุมวิสามัญ]] หมายถึง การเปิดประชุมนอกสมัยประชุมสามัญของรัฐสภา การเปิดสมัยประชุมวิสามัญนี้ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะทรงเรียกให้มีขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีจะนำความกราบบังคมทูลและตราเป็น[[พระราชกฤษฎีกา]] ซึ่งนอกจากกรณีนี้แล้ว การเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญยังมีเพิ่มอีกสองกรณี<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.</ref> คือ


2.1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทั้งสองสภารวมกัน หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.</ref>
2.1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทั้งสองสภารวมกัน หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:46, 10 พฤศจิกายน 2552

ผู้เรียบเรียง นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้วสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมานั่งประชุมกันทันทีมิได้ จะต้องรอจนกว่าจะมีการเรียกประชุมสภาก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 127 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรกภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[1] โดยพระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา[2] ซึ่งในทางปฏิบัติคณะรัฐมนตรีซึ่งรักษาการอยู่จะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากราบบังคมทูลขึ้นไปเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย[3] เรียก ประชุมรัฐสภา

การประชุมสภา

การประชุมสภามีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการประชุมโดยทั่วไป นับแต่ลักษณะการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม หัวข้อเรื่องที่ประชุม การอภิปราย และการลงมติในเรื่องที่ประชุม การประชุมสภาจะแบ่งตามประเภทของสมาชิกรัฐสภา ในกรณีที่รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา การประชุมจะแบ่งเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยปกติการประชุมสภาจะต้องกระทำโดยเปิดเผยให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุมได้ตามระเบียบที่ประธานกำหนด และประธานสภาต้องจัดให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถรับได้อย่างทั่วถึง เว้นแต่มีเหตุขัดข้องให้แจ้งที่ประชุมทราบ หรือเว้นแต่จะมีความจำเป็น[4] โดยคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกของแต่ละสภาหรือทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือของจำนวนสมาชิกของทั้งสองสภาเท่าที่มีอยู่รวมกัน แล้วแต่กรณี ร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมลับ[5] หลังจากนัดประชุมเรียบร้อยแล้ว สภาจะต้องดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระที่กำหนดไว้ และในการดำเนินการประชุมไม่ว่าจะเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา หรือการประชุมร่วมกันของรัฐสภา จะต้องกระทำในระหว่างสมัยประชุมเท่านั้น สภามิได้ทำงานกันตลอดเวลาหรือตลอดทั้งปี หากแต่ทำงานกันเป็นสมัย ๆ เรียกว่า สมัยประชุม[6]

สมัยประชุม หมายถึง กำหนดเวลาในรอบหนึ่งปีที่ให้รัฐสภาทำการประชุมพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ทางด้านนิติบัญญัติ สมัยประชุม มี 2 ประเภท[7] ได้แก่

1. สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา ในปีหนึ่ง ๆ ให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภา 2 สมัย

1.1 สมัยประชุมสามัญทั่วไป เป็นสมัยประชุมที่มีขึ้นภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป โดยจะถือวันประชุมครั้งแรกที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญทั่วไป โดยพระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรกด้วยพระองค์เอง หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์มาทำรัฐพิธีก็ได้ ซึ่งสมัยประชุมนี้รัฐสภาจะพิจารณาเรื่องใด ๆ ก็ได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเสนอญัตติหรือการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี เหตุที่ต้องให้สมัยประชุมสามัญทั่วไปเป็นสมัยประชุมแรกหลังการเลือกตั้ง ก็เนื่องจากเหตุผลดังนี้

เหตุผลประการที่หนึ่ง คือ รัฐธรรมนูญต้องการให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนดวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ จึงมีความจำเป็นต้องให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเลือกประธานสภาและรองประธานสภาให้เรียบร้อยเสียก่อน ต่อจากนั้นจึงจะพิจารณาวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ

เหตุผลประการที่สอง คือ รัฐธรรมนูญต้องการให้สมัยประชุมแรกหลังการเลือกตั้ง เป็นสมัยประชุมที่สามารถพิจารณาและดำเนินการได้ทุกเรื่องโดยไม่มีข้อจำกัด อย่างไรก็ดีในขณะที่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะต้องดำเนินการในระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ แต่ก็สามารถกระทำในระหว่างสมัยประชุมสามัญทั่วไปได้ด้วย

สรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ คือ ในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ รัฐสภาสามารถดำเนินการได้เฉพาะบางเรื่องที่เป็นเรื่องหลักๆ ขณะที่รัฐสภาสามารถดำเนินการได้ทุกเรื่องในสมัยประชุมสามัญทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีนั้น จะกระทำได้แต่เฉพาะในสมัยประชุมสามัญทั่วไปเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ในปีหนึ่งจะมีการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจได้เพียงครั้งเดียว ไม่ใช่เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจทุกสมัยประชุมเหมือนกับรัฐธรรมนูญในฉบับก่อนๆ[8]

1.2 สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ในสมัยประชุมนี้ รัฐสภาจะดำเนินการประชุมได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในหมวด 2 พระมหากษัตริย์หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ การอนุมัติพระราชกำหนด การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา การเลือกหรือการให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่ง การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง การตั้งกระทู้ถาม และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รวมทั้งไม่ให้มีการเสนอญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การที่กำหนดห้ามไว้เช่นนี้ ก็เนื่องจากไม่ประสงค์จะให้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจกันทุกสมัยประชุม หรือมีการพิจารณาญัตติต่าง ๆ จนไม่มีเวลาพิจารณาร่างกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ข้อห้ามดังกล่าว มิได้ห้ามไว้อย่างเด็ดขาด หากมีความจำเป็น รัฐสภาจะมีมติให้พิจารณาเรื่องอื่นใดด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา[9] ให้พิจารณาเรื่องอื่นใดก็ได้

วันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนด ในกรณีที่การเริ่มประชุมครั้งแรกมีเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินไม่ถึง 150 วัน จะไม่มีการประชุมสามัญนิติบัญญัติสำหรับปีนั้นก็ได้ สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตินี้ มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นสมัยประชุมที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีสามารถทุ่มเทและอุทิศเวลาให้กับการทำงานด้านนิติบัญญัติ โดยไม่ต้องมัวกังวลหรือถูกแรงกดดันจากปัจจัยหรือประเด็นทางการเมืองมากเกินไป[10]

สำหรับกำหนดเวลาในสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่ง ๆ มีกำหนดเวลา 120 วัน แต่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเวลาออกไปก็ได้ ส่วนการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลา 120 วัน จะกระทำได้ก็แต่โดยความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งกระทำโดยพระราชกฤษฎีกา[11]

2. สมัยประชุมวิสามัญ หมายถึง การเปิดประชุมนอกสมัยประชุมสามัญของรัฐสภา การเปิดสมัยประชุมวิสามัญนี้ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะทรงเรียกให้มีขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีจะนำความกราบบังคมทูลและตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งนอกจากกรณีนี้แล้ว การเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญยังมีเพิ่มอีกสองกรณี[12] คือ

2.1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทั้งสองสภารวมกัน หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้[13]

2.2 ประธานวุฒิสภาแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบว่าวุฒิสภาได้รับรายงานการไต่สวนการยื่นถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งส่งให้นอกสมัยประชุม เพื่อที่ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาและมีมติถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่ง[14]

ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า กรณีที่ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีต้องการที่จะให้มีการเรียกประชุมสมัยวิสามัญโดยนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ส่วนกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเข้าชื่อกันร้องขอให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูล หรือกรณีประธานวุฒิสภาแจ้งต่อประธานรัฐสภาเพื่อนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญนั้น ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ[15] ดังกล่าว

อ้างอิง

  1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 90.
  2. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.
  3. การเปิด–ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?Module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  4. การประชุมสภา, จากเว็บไซด์รัฐสภา, http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html, วันที่ 26 สิงหาคม 2552.
  5. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551, ข้อ 11.
  6. การเปิด – ปิดสมัยประชุมรัฐสภา, http://meechaithailand.com/ver1/?Module=3&action=view&type=10&mcid=21, วันที่ 17 มิถุนายน 2552.
  7. การดำเนินการประชุม, จากเว็ปไซด์รัฐสภา, http://www.parliament.go.th/parcy/428.0.html, วันที่ 26 สิงหาคม 2552.
  8. สมัยประชุมสามัญทั่วไป, จากคลังปัญญาไทย, http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php, วันที่ 26 สิงหาคม 2552.
  9. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 91.
  10. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 91.
  11. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 91.
  12. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.
  13. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 92.
  14. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 206.
  15. สมัยประชุมวิสามัญ, จากคลังปัญญาไทย, http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php, วันที่ 26 สิงหาคม 2552.

บรรณานุกรม

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ข้อบังคับการประชุมการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. (กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร). 2551.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร). 2550.

http://meechaithailand.com/ver1/?Module=3&action=view&type=10&mcid=21, (เข้าข้อมูลเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2552).

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php, (เข้าข้อมูลเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2552).