ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การยุบสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 1 พฤษภาคม 2529"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำ...
 
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัดที่ 43: บรรทัดที่ 43:
'''มาตรา  ๑๐๑''' พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
'''มาตรา  ๑๐๑''' พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่


การยุบสภาผู้แทนราษฎร  ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในเก้าสิบวัน  และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
การยุบสภาผู้แทนราษฎร  ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในเก้าสิบวัน  และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร


การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน
การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน


'''มาตรา    ๑๐๓'''  สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อ
'''มาตรา    ๑๐๓'''  สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อ


(๑)  ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร  หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
(๑)  ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร  หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร


  (๒)  ตาย
(๒)  ตาย


(๓)  ลาออก
(๓)  ลาออก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:01, 3 พฤศจิกายน 2552

ผู้เรียบเรียง ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


การยุบสภาผู้แทนราษฎร คือ การทำให้ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลงพร้อมกันทุกคน ก่อนครบวาระ โดยพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นไปตามการถวายคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ การยุบสภาเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐสภาที่ทำให้มีการคานอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร [๑]

การยุบสภาผู้แทนราษฎรในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เกิดขึ้นมาแล้วรวมทั้งสิ้น ๑๒ ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี ๒๔๘๑ ในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๙ ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยการยุบสภาผู้แทนราษฎร วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ เป็นการยุบสภา ครั้งที่ ๖ เกิดขึ้นในสมัยที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ความหมาย

การยุบสภาผู้แทนราษฎร ถือเป็นกระบวนการที่นำมาใช้แก้ปัญหาทางการเมือง โดยคืนอำนาจให้ประชาชน อันหมายถึง การให้ประชาชนอันเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้ตัดสินโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง โดยเหตุผลในการยุบสภานั้น เป็นไปตามประเพณีการปกครองตลอดจนสภาวการณ์ของประเทศในขณะนั้น เช่น การเกิดความขัดแย้งรุนแรงในรัฐสภาหรือระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล การใช้เป็นเครื่องมือในการชิงความได้เปรียบทางการเมือง เช่น การยุบสภาเมื่อรัฐบาลมีคะแนนนิยมสูงมาก การที่สภาวการณ์ต่าง ๆ สุกงอมพอสมควรที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนครบวาระของสภาผู้แทนราษฎร เช่น มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นแล้ว หรือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เป็นต้น

การยุบสภาผู้แทนราษฎร วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙

การยุบสภาผู้แทนราษฎร วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ เป็นการยุบสภา ครั้งที่ ๖ สมัยที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีสาเหตุมาจากการที่รัฐบาลได้เสนอพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว [๒]

โดยมีลำดับเหตุการณ์ที่นำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้

เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยสามัญประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ในวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๙ ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ มีเรื่องตามระเบียบวาระที่สภาผู้แทนราษฎรจะต้องอนุมัติ พระราชกำหนด ซึ่งคณะรัฐมนตรีจัดทำขึ้นระหว่างที่มีพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภา ระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๘ ถึงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๒๘ รวมทั้งสิ้น ๙ ฉบับ โดยเริ่มจาก พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมลงมติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียง ๑๔๖ ต่อ ๕ เสียง [๑]

ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ เริ่มต้นจาก นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงหลักการและเหตุผลแห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้ “ด้วยเหตุที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก โดยให้ยกเลิกบัญชีอัตราภาษีรถตามมาตรา ๘๕ ท้ายพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แล้วให้เพิ่มข้อความตามมาตรา ๘๘ ทวิ โดยเหตุที่ในปัจจุบันมีรถจำนวนมากใช้น้ำมันดีเซลเป็นก๊าซเชื้อเพลิง ทำให้เกิดความจำเป็นในการสั่งน้ำมันดีเซลหรือก๊าซเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการเพิ่มเติมจำนวนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซเชื้อเพลิง และเพื่อเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเข้า สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และโดยเป็นเหตุที่เป็นกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะรักษาความมั่นคงของเศรษฐกิจประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดฉบับนี้” และได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เมื่อมีการตราพระราชกำหนดนี้แล้ว ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี ซึ่งทำให้รถเก่ากลับไปเสียภาษีอัตราเดิม ส่วนรถที่ซื้อใหม่ที่ใช้น้ำมันดีเซลจะเสียภาษีมากกว่าธรรมดา ๒ เท่า เนื่องจากคณะรัฐมนตรี มีแนวคิดว่าจะไม่ปรับราคาน้ำมัน แต่จะเลือกใช้วิธีการเก็บภาษีเพื่อต้องการไม่ให้ประชาชนกลับมาใช้น้ำมันดีเซลอีก เนื่องจากในขณะนั้นมีการใช้น้ำมันดีเซลประมาณ ๕ เท่าของน้ำมันเบนซิน [๑] [๓]

จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน ได้อภิปรายไม่เห็นด้วยกับพระราชกำหนดฉบับนี้ เนื่องจาก การตรากฎหมายฉบับนี้มิได้มีความจำเป็นเร่งด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งมีความไม่รอบคอบคืออัตราภาษีใหม่ไม่มีหน่วยเงินบาทกำกับ และ ยังเห็นว่ารัฐบาลส่งเสริมการลงทุนผลิตเครื่องยนต์ดีเซลในประเทศไทย แต่กลับขึ้นภาษีเครื่องยนต์ดีเซลเป็นการกระทำที่ตรงข้ามกับนโยบายเดิม [๑] [๓]

หลังจากอภิปรายมาเป็นเวลาพอสมควร ประธานได้ถามมติของที่ประชุมโดยวิธียกมือ ปรากฏว่าที่ประชุมลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียง ๑๔๐ ต่อ ๑๓๗ เสียง นายไกรสร ตันติพงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอญัตติให้มีการ นับคะแนนใหม่ มีผู้รับรองถูกต้อง ประธานจึงได้ถามมติใหม่ ลงคะแนนโดยการยืนขึ้น ปรากฏว่าที่ประชุมลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียง ๑๔๓ ต่อ ๑๔๒ เสียง [๓]

นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ขอให้มีการนับคะแนนใหม่อีกครั้งหนึ่ง มีผู้รับรองถูกต้อง ประธานจึงได้ถามมติใหม่ โดยวิธีการขานชื่อเรียงลำดับตัวอักษร แล้วให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการขานชื่อ กล่าวคำว่า “อนุมัติ” หรือ “ไม่อนุมัติ” ผลการ นับคะแนน ปรากฏว่าที่ประชุมลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้ ด้วยคะแนนเสียง ๑๔๗ ต่อ ๑๔๓ เสียง งดออกเสียง ๕ เสียง โดยการลงคะแนนเสียงครั้งที่ ๓ นี้ ปรากฏว่ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคกิจสังคม ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนด ๓๘ คน และไม่อยู่ในห้องประชุมขณะที่มีการลงมติ ๖ คน พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนด ๑ คน และไม่อยู่ในห้องประชุมขณะที่มีการลงมติ ๓ คน พรรคประชากรไทย ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีสมาชิกไม่อยู่ในห้องประชุมขณะที่มีการลงมติ ๒ คน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน มีผู้ลงมติสนับสนุนพระราชกำหนดนี้ ๓ คน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่งดออกเสียง ๕ คน ได้แก่ พรรคก้าวหน้า ๑ คน พรรคสังคมประชาธิปไตย ๒ คน และพรรคชาติประชาธิปไตย ๒ คน [๓]

จึงเป็นอันว่าสภาผู้แทนราษฎร ลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราช บัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ หลังจากนั้น ได้เลิกประชุม โดยเลื่อนระเบียบวาระที่เหลือออกไปในการประชุมครั้งต่อไป [๔] [๕]

เมื่อเวลา ๒๓.๓๐ นาฬิกา วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศ อ่านพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๙ [๖] ทางสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง มีสาระสำคัญดังนี้

“ตามที่ได้มีการตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๙ ออกใช้บังคับ และสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ได้มีมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว อันเป็นเหตุให้พระราชกำหนดนั้นตกไป จากการพิเคราะห์สาเหตุแห่งการไม่อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวเห็นว่า สภาผู้แทนราษฎรมิได้คำนึงถึงเหตุผลในการตราพระราชกำหนด หากสืบเนื่องมาจากความแตกแยกในทางการเมืองของพรรคการเมืองบางพรรค หากให้สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อไป ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และกระทบถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ และจะนำมาซึ่ง ความเสื่อมโทรมของการปกครองระบอบประชาธิปไตย สมควรยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปขึ้นใหม่”

ภายหลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ส่งผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๓ พ้นจากตำแหน่ง และได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๒๙

บทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบสภา ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ [๗]

รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับ ได้บัญญัติเรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ ซึ่งใช้บังคับในช่วงที่มีเหตุการณ์ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรไว้หลายมาตรา ดังปรากฏในมาตรา ๑๐๑, มาตรา ๑๐๓, มาตรา ๑๐๔, มาตรา ๑๐๙, มาตรา ๑๓๑, มาตรา ๑๕๔ ดังนี้

มาตรา ๑๐๑ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่

การยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในเก้าสิบวัน และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน

มาตรา ๑๐๓ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อ

(๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

(๒) ตาย

(๓) ลาออก

(๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๙๔ (๑) (๒) หรือ (๔)

(๕) มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๖ (๑) (๒)(๓) (๖) หรือ (๗)

(๖) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๙๗

(๗) ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก หรือพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมือง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าขาดจากสมาชิกภาพนับแต่วันที่ลาออกหรือพรรคการเมืองมีมติ

(๘) สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ ตามมาตรา ๘๒ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าขาดจากสมาชิกภาพนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติ

(๙) ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในกรณีที่ศาลมีคำสั่งยุบเลิกพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิกและไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นซึ่งมีสมาชิกของพรรคการเมืองนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าขาดจากสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหกสิบวันนั้น

(๑๐) ขาดประชุมตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร

(๑๑) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

มาตรา ๑๐๔ เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลง เพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน เว้นแต่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว จากการเลือกตั้งทั่วไป และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เข้ามาแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่

มาตรา ๑๐๙ ประธานและรองประธานวุฒิสภาดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภาใหม่ ซึ่งจะต้องกระทำทุกสองปี

ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งจนสิ้นอายุของสภา หรือมีการยุบสภา

ประธานและรองประธานวุฒิสภา และประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี เมื่อ

(๑) ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก

(๒) ลาออกจากตำแหน่ง

(๓) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่น

(๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก

มาตรา ๑๓๑ ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร บรรดาร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบ หรือที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้เป็นอันตกไป

มาตรา ๑๕๔ รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(๑) สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา ๑๓๗

(๒) สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

(๓) คณะรัฐมนตรีลาออก

(๔) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา๑๕๕

คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานไปจนกว่าคณะรัฐมนตรี ที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่

อ้างอิง


หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

คณะกรรมการเตรียมการลงนามความเข้าใจระหว่างหอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกาและรัฐสภาไทย. (๒๕๔๘). สรรสาระ รัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สมัยสามัญ) พ.ศ. ๒๕๒๙. ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙. วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙.

พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๙, ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๗๓ เล่ม ๑๐๓, วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๙.

ณฐพร วรปัญญาตระกูล. (๒๕๔๓). “การยุบสภา (Dissolution of parliament)”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๔๘ ฉบับที่ ๑๒, ธ.ค. ๒๕๔๓.

วัชรา ไชยสาร. (๒๕๔๙). “ยุบสภา ๒๕๔๙: ยุทธวิธีแก้ไขปัญหาทางตันทางการเมืองหรือเหตุนำไปสู่ทางตัน”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๕, พ.ค. ๒๕๔๙.

วีระพันธ์ มุขสมบัติ. (๒๕๒๖). “ยุบสภา”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๑๑, พ.ย. ๒๕๒๖.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๑๔๖ (ฉบับพิเศษ) เล่ม ๙๕. วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๒๑.

รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สมัยสามัญ) พ.ศ. ๒๕๒๙. ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙. วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙.

สรรเสริญ สืบสหการ. (๒๕๒๙). “การยุบสภา”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๖, มิ.ย. ๒๕๒๙.

สุภาวดี นครจันทร์. (๒๕๓๕). “การยุบสภา”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑๐, ต.ค. ๒๕๓๕.

เสน่ห์ จันทร์กระจ่าง. (๒๕๑๙). “การยุบสภาผู้แทนฯ ในไทย”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒, ก.พ. ๒๕๑๙.

อุมาสีว์ สอาดเอี่ยม. (๒๕๓๑). “ผลกระทบจากการยุบสภา ๒๕๓๑”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๕, พ.ค. ๒๕๓๑.

บรรณานุกรม

คณะกรรมการเตรียมการลงนามความเข้าใจระหว่างหอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกาและรัฐสภาไทย. (๒๕๔๘). สรรสาระ รัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สมัยสามัญ) พ.ศ. ๒๕๒๙. ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙. วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙.

พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๙, ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๗๓ เล่ม ๑๐๓, วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๙.

ณฐพร วรปัญญาตระกูล. (๒๕๔๓). “การยุบสภา (Dissolution of parliament)”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๔๘ ฉบับที่ ๑๒, ธ.ค. ๒๕๔๓.

วัชรา ไชยสาร. (๒๕๔๙). “ยุบสภา ๒๕๔๙: ยุทธวิธีแก้ไขปัญหาทางตันทางการเมืองหรือเหตุนำไปสู่ทางตัน”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๕, พ.ค. ๒๕๔๙.

วีระพันธ์ มุขสมบัติ. (๒๕๒๖). “ยุบสภา”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๑๑, พ.ย. ๒๕๒๖.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑. ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๑๔๖ (ฉบับพิเศษ) เล่ม ๙๕. วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๒๑.

รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สมัยสามัญ) พ.ศ. ๒๕๒๙. ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙. วันพฤหัสบดีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙.

สรรเสริญ สืบสหการ. (๒๕๒๙). “การยุบสภา”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๖, มิ.ย. ๒๕๒๙.

สุภาวดี นครจันทร์. (๒๕๓๕). “การยุบสภา”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑๐, ต.ค. ๒๕๓๕.

เสน่ห์ จันทร์กระจ่าง. (๒๕๑๙). “การยุบสภาผู้แทนฯ ในไทย”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒, ก.พ. ๒๕๑๙.

อุมาสีว์ สอาดเอี่ยม. (๒๕๓๑). “ผลกระทบจากการยุบสภา ๒๕๓๑”. รัฐสภาสาร. ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๕, พ.ค. ๒๕๓๑.