ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำแปรญัตติ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 19: | ||
==ผู้มีสิทธิเสนอคำแปรญัตติ== | ==ผู้มีสิทธิเสนอคำแปรญัตติ== | ||
คำแปรญัตตินั้นหมายถึงเฉพาะแต่คำขอแก้ไขของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มิได้เป็นกรรมาธิการที่สภาตั้งขึ้นเท่านั้น เนื่องจากในการประชุมคณะกรรมาธิการ สมาชิก | คำแปรญัตตินั้นหมายถึงเฉพาะแต่คำขอแก้ไขของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มิได้เป็นกรรมาธิการที่สภาตั้งขึ้นเท่านั้น เนื่องจากในการประชุมคณะกรรมาธิการ สมาชิก [[รัฐมนตรี]]และผู้ซึ่งประธานของที่ประชุมอนุญาต มีสิทธิเข้าฟังการประชุมได้ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 90 กำหนดให้ “ในการประชุมคณะกรรมาธิการ สมาชิก รัฐมนตรีและผู้ซึ่งประธานของที่ประชุมอนุญาต มีสิทธิเข้าฟังการประชุมได้” ดังนั้นจึงทำให้สมาชิกที่มิได้เป็นกรรมาธิการจึงขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัตินั้นๆได้ ส่วนคำขอแก้ไขของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ร่วมเป็นกรรมาธิการจะไม่เรียกว่าเป็นคำแปรญัตติ เพราะในฐานะที่เป็นกรรมาธิการในคณะที่สภาตั้งขึ้นนั้นย่อมมีสิทธิในการขอแก้ไขเพิ่มเติมได้อยู่แล้ว | ||
ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 96 กำหนดให้ “เมื่อคณะเมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ตามอำนาจหน้าที่หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้วให้รายงานต่อสภา | ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 96 กำหนดให้ “เมื่อคณะเมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ตามอำนาจหน้าที่หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้วให้รายงานต่อสภา | ||
บรรทัดที่ 47: | บรรทัดที่ 47: | ||
ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 91 กำหนดว่า | ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 91 กำหนดว่า | ||
“ภายใต้บังคับข้อ 90 ผู้เสนอญัตติ รัฐมนตรี และผู้ซึ่ง[[คณะรัฐมนตรี]] มอบหมายมีสิทธิชี้แจงแสดงความคิดเห็นได้เฉพาะที่[[แปรญัตติ]]ไว้ | “ภายใต้บังคับข้อ 90 ผู้เสนอญัตติ [[รัฐมนตรี]] และผู้ซึ่ง[[คณะรัฐมนตรี]] มอบหมายมีสิทธิชี้แจงแสดงความคิดเห็นได้เฉพาะที่[[แปรญัตติ]]ไว้ | ||
การชี้แจงแสดงความคิดเห็นตามวรรคหนึ่ง ผู้เสนอ[[ญัตติ]]หรือผู้แปรญัตติอาจมอบหมายเป็นหนังสือให้สมาชิกอื่นหรือกรรมาธิการคนใดคนหนึ่งกระทำการแทนได้” | การชี้แจงแสดงความคิดเห็นตามวรรคหนึ่ง ผู้เสนอ[[ญัตติ]]หรือผู้แปรญัตติอาจมอบหมายเป็นหนังสือให้สมาชิกอื่นหรือกรรมาธิการคนใดคนหนึ่งกระทำการแทนได้” |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:28, 27 ตุลาคม 2552
ผู้เรียบเรียง บุศรา เข็มทอง
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
กฎหมายที่เสนอต่อสภาเพื่อพิจารณานั้นไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ จะต้องเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติ โดยการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นจะต้องเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อน ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 113 กำหนดให้ “การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติต้องกระทำเป็นสามวาระ ตามลำดับ” คือ วาระที่ 1 เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 114 กำหนดให้ “การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่หนึ่ง ให้สภาพิจารณาและลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น..” และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 116 ในกรณีที่สภามีมติในวาระที่หนึ่งรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ให้สภาพิจารณาตามลำดับต่อไปเป็นวาระที่สอง ในวาระนี้จะเป็นการพิจารณารายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาแต่งตั้งเป็นผู้พิจารณา โดยการพิจารณาของคณะกรรมาธิการดังกล่าว หากสมาชิกผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ก็สามารถกระทำได้ วาระสุดท้าย วาระที่สาม เป็นการพิจารณาเพื่อลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งในขั้นนี้จะไม่มีการอภิปราย หากสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัตินั้นก็เป็นอันตกไป แต่ถ้ามีมติเห็นชอบ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ดีการพิจารณาในขั้นกรรมาธิการ ถือเป็นการพิจารณาในขั้นตอนแรกของวาระที่สอง ในขั้นตอนดังกล่าวนี้อาจมีการเสนอขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อความที่ปรากฎในร่างเดิมที่ผ่านการรับหลักการในวาระที่หนึ่งมาแล้ว เราเรียกกระบวนการเช่นนี้ว่า “การแปรญัตติ” ซึ่งสมาชิกที่มิได้เป็นกรรมาธิการแต่มีความต้องการที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำหรือข้อความในร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการรับหลักการในสภาแล้วและอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภา สมาชิกดังกล่าวต้องยื่นคำขอแปรญัตติโดยมีสมาชิกด้วยกันลงชื่อรับรองต่อประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ตามกำหนดเวลาที่สภาเป็นผู้กำหนด คือภายในเจ็ดวันตามกำหนดของบังคับการประชุมสภา หรือ ภายใน 10 วัน หรือ 15 วัน เป็นต้น ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 123 กำหนดไว้ว่า
“การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติขั้นคณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง สมาชิกผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ก็ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันถัดจากวันที่สภารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ เว้นแต่สภาจะได้กำหนดเวลาแปรญัตติสำหรับร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้เป็นอย่างอื่น”
ความหมาย
คำแปรญัตติ หมายถึง คำขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อความ รายละเอียด หรือสาระสำคัญในมาตราต่างๆของร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่สอง[1] และการแปรญัตติต้องแปรเป็นรายมาตรา และการแปรญัตติเพิ่มมาตราขึ้นใหม่ ตัดทอนหรือแก้ไขมาตราเดิมต้องไม่ขัดกับหลักการของร่างพระราชบัญญัตินั้น ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 123 วรรคสอง กำหนดไว้ว่า
“การแปรญัตติต้องแปรเป็นรายมาตรา การแปรญัตติเพิ่มมาตราขึ้นใหม่หรือตัดทอนหรือแก้ไขมาตราเดิมต้องไม่ขัดกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น”
ผู้มีสิทธิเสนอคำแปรญัตติ
คำแปรญัตตินั้นหมายถึงเฉพาะแต่คำขอแก้ไขของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มิได้เป็นกรรมาธิการที่สภาตั้งขึ้นเท่านั้น เนื่องจากในการประชุมคณะกรรมาธิการ สมาชิก รัฐมนตรีและผู้ซึ่งประธานของที่ประชุมอนุญาต มีสิทธิเข้าฟังการประชุมได้ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 90 กำหนดให้ “ในการประชุมคณะกรรมาธิการ สมาชิก รัฐมนตรีและผู้ซึ่งประธานของที่ประชุมอนุญาต มีสิทธิเข้าฟังการประชุมได้” ดังนั้นจึงทำให้สมาชิกที่มิได้เป็นกรรมาธิการจึงขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัตินั้นๆได้ ส่วนคำขอแก้ไขของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ร่วมเป็นกรรมาธิการจะไม่เรียกว่าเป็นคำแปรญัตติ เพราะในฐานะที่เป็นกรรมาธิการในคณะที่สภาตั้งขึ้นนั้นย่อมมีสิทธิในการขอแก้ไขเพิ่มเติมได้อยู่แล้ว
ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 96 กำหนดให้ “เมื่อคณะเมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ตามอำนาจหน้าที่หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้วให้รายงานต่อสภา
ในที่ประชุมสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลง ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้ คณะกรรมาธิการอาจมอบหมายให้บุคคลใดแถลงหรือชี้แจงแทนก็ ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากประธาน”
คำแปรญัตติที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการนั้น หากคณะกรรมาธิการเห็นด้วยก็ให้แก้ไขไปตามนั้น แต่ถ้าหากคณะกรรมาธิการไม่เห็นด้วยและสมาชิกผู้แปรญัตติไม่ติดใจก็ถือว่าเป็นอันจบไป แต่ถ้าคณะกรรมาธิการไม่เห็นด้วย และสมาชิกผู้แปรญัตติยังติดใจและประสงค์ที่จะนำไปอภิปรายในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่สอง ก็สามารถสงวนคำขอแก้ไขเพิ่มเติมของตนเองไว้ได้ การสงวนคำขอแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกผู้แปรญัตติดังกล่าว เรียกว่า “สงวนคำแปรญัตติ” ซึ่งแตกต่างจากการสงวนคำขอแก้ไขเพิ่มเติมของกรรมาธิการเอง ซึ่งในกรณีนี้เราเรียกว่า “สงวนความเห็น”[2]
การถอนคำแปรญัตติ
การถอนคำแปรญัตติ หมายถึง การยกเลิกหรือทำให้คำแปรญัตติที่ยื่นไว้ต่อคณะกรรมาธิการของสภาสิ้นผลไป โดยผู้ยื่นคำแปรญัตติเองเป็นผู้แสดงความจำนงขอถอนคำแปรญัตตินั้นออกไปจากการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ การถอนคำแปรญัตตินี้จะกระทำเมื่อใดก็ได้ ซึ่งต่างจากการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำแปรญัตติที่จะกระทำได้เฉพาะภายในกำหนดเวลาแปรญัตติ[3] ตามที่สภากำหนดไว้
ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ได้กำหนดไว้ในข้อ 54 ว่า
“การถอนคำแปรญัตติจะกระทำเมื่อใดก็ได้ แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำแปรญัตติจะกระทำได้เฉพาะภายในกำหนดเวลาแปรญัตติ”
เช่นเดียวกับข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อ 48 ว่า
“การถอนคำแปรญัตติจะกระทำเมื่อใดก็ได้ แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำแปรญัตติจะกระทำได้เฉพาะภายในกำหนดเวลาแปรญัตติตามข้อ 142”
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ข้อ 142 กำหนดไว้ว่า
“ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติขั้นคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง สมาชิกผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ก็ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในกำหนดเจ็ดวันนับถัดจากวันที่วุฒิสภารับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา เว้นแต่วุฒิสภาจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น”
การตกไปของคำแปรญัตติ
ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 91 กำหนดว่า
“ภายใต้บังคับข้อ 90 ผู้เสนอญัตติ รัฐมนตรี และผู้ซึ่งคณะรัฐมนตรี มอบหมายมีสิทธิชี้แจงแสดงความคิดเห็นได้เฉพาะที่แปรญัตติไว้
การชี้แจงแสดงความคิดเห็นตามวรรคหนึ่ง ผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติอาจมอบหมายเป็นหนังสือให้สมาชิกอื่นหรือกรรมาธิการคนใดคนหนึ่งกระทำการแทนได้”
และ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 93 กำหนดว่า
“ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการตามนัดจนเวลาล่วงไปเกินกว่าสามสิบนาทีนับแต่เวลาที่ได้เริ่มพิจารณาคำแปรญัตติได้ ให้คำแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป เว้นแต่คณะกรรมาธิการพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จหรือที่ประชุมอนุญาตให้เลื่อนการชี้แจงไปวันอื่น”
เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้มิได้เป็นกรรมาธิการ มีสิทธิเสนอคำแปรญัตติได้ตามข้อบังคับการประชุมตามที่ได้กล่าวมา แต่หากสมาชิกมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายนั่นคือ สมาชิกผู้นั้นมิได้ใช้สิทธิชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือมอบหมายเป็นหนังสือให้สมาชิกอื่นหรือกรรมาธิการคนใดคนหนึ่งกระทำการแทน ก็จะมีผลทำให้คำแปรญัตตินั้นมีผลตกไป นั่นคือ คำแปรญัตตินั้นจะไม่ได้รับการพิจารณาในการประชุมสภาตามความประสงค์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอคำแปรญัตติในร่างพระราชบัญญัตินั้น แต่กฎหมายก็มีข้อยกเว้นหากคณะกรรมาธิการพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จหรือที่ประชุมอนุญาตให้เลื่อนการชี้แจงไปวันอื่น คำแปรญัตตินั้นก็ยังมีผลคงอยู่จนกว่าสมาชิกจะได้ใช้สิทธิแสดงความคิดเห็น
เช่นเดียวกับข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อ 92 ว่า
“ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการตามนัดจนเวลาล่วงเกินไปเกินกว่าสามสิบนาทีนับแต่เวลาที่คณะกรรมาธิการได้เริ่มพิจารณาคำแปรญัตติใด คำแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป เว้นแต่คณะกรรมาธิการจะพิจารณาเห็นสมควรผ่อนผันให้เป็นกรณีพิเศษก่อนเสร็จการพิจารณาเรื่องนั้น”
จะเห็นได้ว่าข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภาก็ได้กำหนดสิทธิของผู้ที่ต้องการแปรญัตติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายไว้เช่นเดียวกับข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องต้องกันอย่างเหมาะสม เพราะในการประชุมของวุฒิสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลง ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ หรือคณะกรรมาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดแถลงหรือชี้แจงแทนก็ได้
ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ข้อ 95 วรรคสอง กำหนดว่า
“ในที่ประชุมวุฒิสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลง ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้คณะกรรมาธิการจะมอบหมายให้บุคคลใดๆ แถลงหรือชี้แจงแทนก็ได้”
บทสรุป
คำแปรญัตตินั้นคือ คำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกที่มิได้เป็นกรรมาธิการในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ โดยสมาชิกที่ต้องการเสนอคำแปรญัตติต้องกระทำภายในระยะเวลาที่สภากำหนด และคำแปรญัตตินั้นจะต้องไม่ขัดกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติ คำแปรญัตติต่างๆ ที่สมาชิกเสนอมานั้นสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลายประการ เช่น นำไปใช้อ้างอิงว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีการแก้ไขหรือไม่และมีการแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรในแต่ละมาตรา จึงเห็นได้ว่า คำแปรญัตินั้น เป็นการแสดงเจตนารมณ์และเหตุผลของสมาชิกที่เสนอคำแปรญัตติที่มีความประสงค์ที่จะแก้ไข หรือเพิ่มเติมเนื้อหาสาระที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาร่างกฎหมายนั้นๆ ในสภา เพราะเมื่อมีการพิจารณาลงมติรับร่างกฎหมายที่ได้พิจารณาและประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว การนำกฎหมายนั้นมาบังคับใช้กับประชาชนในสังคมจะได้ไม่ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และสามารถนำมาบังคับใช้ได้อย่างถูกต้องเป็นประโยชน์สอดคล้องต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
อ้างอิง
บรรณานุกรม
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551
ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551
คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยฉบับสมบูรณ์ กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548.