ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 19: | ||
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารแผ่นดินใหม่ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี การตรวจเงินแผ่นดินระหว่างปี พ.ศ. 2475-2522 มีการจัดองค์กรการทำงานเป็นระบบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีการแต่งตั้งตำแหน่งการตรวจในสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คือประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเทียบเท่าอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีเลขาธิการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเทียบเท่ารองอธิบดีทั้งสองตำแหน่งนี้เป็นข้าราชการชั้นพิเศษ ซึ่งปกติในกรมอื่นๆ จะมีอธิบดีเป็นชั้นพิเศษเพียงคนเดียว และเนื่องจากการบริหารงานอยู่ในรูปคณะกรรมการ เป็นผลให้ข้าราชการระดับหัวหน้ากองในสมัยนั้นซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินด้วยจึงร่วมอยู่ในคณะผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน | ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารแผ่นดินใหม่ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี การตรวจเงินแผ่นดินระหว่างปี พ.ศ. 2475-2522 มีการจัดองค์กรการทำงานเป็นระบบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีการแต่งตั้งตำแหน่งการตรวจในสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คือประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเทียบเท่าอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีเลขาธิการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเทียบเท่ารองอธิบดีทั้งสองตำแหน่งนี้เป็นข้าราชการชั้นพิเศษ ซึ่งปกติในกรมอื่นๆ จะมีอธิบดีเป็นชั้นพิเศษเพียงคนเดียว และเนื่องจากการบริหารงานอยู่ในรูปคณะกรรมการ เป็นผลให้ข้าราชการระดับหัวหน้ากองในสมัยนั้นซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินด้วยจึงร่วมอยู่ในคณะผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน | ||
ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอความเห็นชอบจาก[[สภาผู้แทนราษฎร]] ให้เป็นผู้ดำเนินการและควบคุมกิจการทั้งหลายของสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนเลขาธิการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นโดยมติของคณะรัฐมนตรี | |||
ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคนแรกคือหลวงดำริอิศรานุวรรต โดยมีหลวงวรพากย์พินิจดำรงตำแหน่งเลขาธิการ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนี้มีอำนาจตรวจสอบบัญชีการเงินของกระทรวงทบวงกรมและหน่วยงานต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ตามอำนาจและหน้าที่ซึ่งกำหนดในพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476 | ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคนแรกคือหลวงดำริอิศรานุวรรต โดยมีหลวงวรพากย์พินิจดำรงตำแหน่งเลขาธิการ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนี้มีอำนาจตรวจสอบบัญชีการเงินของกระทรวงทบวงกรมและหน่วยงานต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ตามอำนาจและหน้าที่ซึ่งกำหนดในพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476 | ||
บรรทัดที่ 33: | บรรทัดที่ 33: | ||
การสรรหาและการเลือกกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้น ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ | การสรรหาและการเลือกกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้น ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ | ||
(1)ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน เป็นกรรมการ ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกให้ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริง จำนวนสองคนและผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกจำนวนสองคนแล้วเสร็จ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว แล้วให้เสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของผู้นั้นต่อ[[ประธานวุฒิสภา]] มติในการคัดเลือกดังกล่าวต้องลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใดหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินด้วยกรรมการที่เหลืออยู่ | (1)ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด [[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] [[ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร]] และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน เป็นกรรมการ ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกให้ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริง จำนวนสองคนและผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกจำนวนสองคนแล้วเสร็จ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว แล้วให้เสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของผู้นั้นต่อ[[ประธานวุฒิสภา]] มติในการคัดเลือกดังกล่าวต้องลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใดหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินด้วยกรรมการที่เหลืออยู่ | ||
(2) ให้[[ประธานวุฒิสภา]]เรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการคัดเลือกตาม (1) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อ การลงมติให้ใช้วิธีลงคะแนนลับในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป ในกรณีที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบในรายชื่อใด ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อให้ดำเนินการสรรหาใหม่ หากคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาและมีมติยืนยันตามมติเดิมด้วยคะแนนเอกฉันท์ ให้ส่งรายชื่อนั้นให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป แต่ถ้ามติที่ยืนยันตามมติเดิมไม่เป็นเอกฉันท์ ให้เริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องดำเนินการดังกล่าว | (2) ให้[[ประธานวุฒิสภา]]เรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการคัดเลือกตาม (1) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อ การลงมติให้ใช้วิธีลงคะแนนลับในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป ในกรณีที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบในรายชื่อใด ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อให้ดำเนินการสรรหาใหม่ หากคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาและมีมติยืนยันตามมติเดิมด้วยคะแนนเอกฉันท์ ให้ส่งรายชื่อนั้นให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป แต่ถ้ามติที่ยืนยันตามมติเดิมไม่เป็นเอกฉันท์ ให้เริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องดำเนินการดังกล่าว | ||
บรรทัดที่ 109: | บรรทัดที่ 109: | ||
7. แต่งตั้งกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลังหรือนุกรรมการ | 7. แต่งตั้งกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลังหรือนุกรรมการ | ||
8. | 8. พิจารณาคำร้องขอของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] [[วุฒิสภา]] หรือ[[คณะรัฐมนตรี]]ที่ขอให้ตรวจสอบ | ||
9. ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศตามอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน | 9. ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศตามอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:20, 15 ตุลาคม 2552
ผู้เรียบเรียง วิชาญ ทรายอ่อน
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
รัฐบาลมีหน้าที่สำคัญในการบริหารประเทศ ซึ่งภาระหน้าที่หลักที่สำคัญประการหนึ่งคือ การบริหารเงินงบประมาณแผ่นดินในการดำเนินกิจการโครงการต่างๆ ของรัฐบาลอย่างเป็นธรรม ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันมากที่สุด และเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลอยู่ในกรอบของหลักดังกล่าว จึงต้องมีหน่วยงานอิสระเข้ามาตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาล ซึ่งก็คือ “ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน”
ความหมายและความสำคัญ
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ คตง.(State Audit Commission-SAC) เป็นคณะกรรมการ ที่ก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาล
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นบุคคลคณะหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วย ประธานกรรมการ 1 คน, กรรมการอื่น 6 คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง จากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงินการคลัง และด้านอื่น การบังคับบัญชา ดำเนินงานโดยการมีหน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระ มีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว [1]
ประวัติความเป็นมาของคณะกรรมการตรวจแผ่นดิน
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนธันวาคม 2476 โดยรัฐบาลเห็นสมควรให้การตรวจตราทรัพย์สินของแผ่นดินเป็นที่เชื่อถือแก่ประชาราษฎรมากขึ้น จึงตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476 จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินขึ้นแทนกรมตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476 เป็นทบวงการเมืองมีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารแผ่นดินใหม่ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี การตรวจเงินแผ่นดินระหว่างปี พ.ศ. 2475-2522 มีการจัดองค์กรการทำงานเป็นระบบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีการแต่งตั้งตำแหน่งการตรวจในสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คือประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเทียบเท่าอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีเลขาธิการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเทียบเท่ารองอธิบดีทั้งสองตำแหน่งนี้เป็นข้าราชการชั้นพิเศษ ซึ่งปกติในกรมอื่นๆ จะมีอธิบดีเป็นชั้นพิเศษเพียงคนเดียว และเนื่องจากการบริหารงานอยู่ในรูปคณะกรรมการ เป็นผลให้ข้าราชการระดับหัวหน้ากองในสมัยนั้นซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินด้วยจึงร่วมอยู่ในคณะผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นผู้ดำเนินการและควบคุมกิจการทั้งหลายของสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนเลขาธิการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นโดยมติของคณะรัฐมนตรี
ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคนแรกคือหลวงดำริอิศรานุวรรต โดยมีหลวงวรพากย์พินิจดำรงตำแหน่งเลขาธิการ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนี้มีอำนาจตรวจสอบบัญชีการเงินของกระทรวงทบวงกรมและหน่วยงานต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ตามอำนาจและหน้าที่ซึ่งกำหนดในพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476
จากการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทำให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบทรัพย์สมบัติของแผ่นดินอย่างทั่วถึงและการใช้จ่ายเงินผลประโยชน์ซึ่งรัฐบาลได้เก็บมาจากราษฎรได้รับการดูแลตรวจตรามากพอที่จะให้ประชาชนไว้วางใจรัฐบาลในเรื่องการเงินของแผ่นดิน
สำหรับหลวงดำริอิศรานุวรรตนอกจากจะเป็นบุคคลแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว ท่านยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการสอนวิชาการบัญชีและจัดตั้งแผนกบัญชีในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง อันเป็นต้นกำเนิดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีในปัจจุบัน ทั้งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในระหว่างปี พ.ศ. 2494-2498 ด้วย[2] การดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินดำเนินการก้าวหน้าเรื่อยมา จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 บัญญัติให้มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12/2549 ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ้นจากตำแหน่งและให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่แทน
ปัจจุบันแม้จะการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วแต่การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ ในระหว่างยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินยังคงเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไปก่อน
การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
การสรรหาและการเลือกกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้น ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(1)ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน เป็นกรรมการ ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกให้ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริง จำนวนสองคนและผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกจำนวนสองคนแล้วเสร็จ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว แล้วให้เสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของผู้นั้นต่อประธานวุฒิสภา มติในการคัดเลือกดังกล่าวต้องลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใดหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินด้วยกรรมการที่เหลืออยู่
(2) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการคัดเลือกตาม (1) ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อ การลงมติให้ใช้วิธีลงคะแนนลับในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป ในกรณีที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบในรายชื่อใด ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อให้ดำเนินการสรรหาใหม่ หากคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาและมีมติยืนยันตามมติเดิมด้วยคะแนนเอกฉันท์ ให้ส่งรายชื่อนั้นให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป แต่ถ้ามติที่ยืนยันตามมติเดิมไม่เป็นเอกฉันท์ ให้เริ่มกระบวนการสรรหาใหม่ ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องดำเนินการดังกล่าว
คุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
คุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ยังคงใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ซึ่งอนุโลมตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ได้กำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและไม่มีลักษณะต้องห้าม[3] โดยสรุป ดังนี้
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์
3. เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 10 หรือเทียบเท่าซึ่งมีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน
4. เป็นผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการบัญชี การสอบบัญชี หรือการตรวจสอบภายใน
5. เป็นผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง หรือการบริหารธุรกิจ
6. เป็นผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์หรือศาสตร์สาขาอื่น ที่เป็นประโยชน์แก่งานการตรวจเงินแผ่นดิน
7. ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของธุรกิจ ซึ่งเป้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำหรับบุคคลตามข้อ 4 ถึง 6 ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ด้วย
1. เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี
2. เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 10 หรือเทียบเท่า หรือ
3. เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาและดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
และต้องไม่มีคุณลักษณะต้องห้าม ดังนี้
1. เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
2. เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งของพรรคการเมืองในระยะหนึ่งปี ก่อนดำรงตำแหน่ง
3. เป็นกรรมการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
4. วิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
5. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
6. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
7. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
8. ติดยาเสพติดให้โทษ
9. เป็นบุคคลล้มละลาย
10. เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
11. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ
12. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป้นของแผ่นดิน หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
13. เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
การกำหนดคุณสมบัติและวิธีการเลือกบุคคลซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จะต้องเป็นไปเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความซื่อสัตย์สุจริต และเพื่อให้ได้หลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวในการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล
อำนาจหน้าที่ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
1. วางนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน
2. ให้คำปรึกษาแก่ประธานรัฐสภาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ คตง.
3. ให้คำแนะนำแก่ผ่ายบริหารในการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมเงินของรัฐ
4. กำหนดมาตรฐานหรือมาตรการเกี่ยวกับการตรวจสอบการบริหารงบประมาณ สำหรับหน่วยรับตรวจ
5. เป็นองค์กรชี้ขาดสูงสุดในกระบวนการทางวินัยทางงบประมาณและการคลัง
6. พิจารณาคัดเลือกผู้ว่าการ
7. แต่งตั้งกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลังหรือนุกรรมการ
8. พิจารณาคำร้องขอของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรีที่ขอให้ตรวจสอบ
9. ออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศตามอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
10. เสนอข้อสังเกตและความเห็นต่อคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี
11. ออกระเบียบ ประกาศเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและการคลัง และการดำเนินการอื่น [4]
สรุปได้ว่าคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่มีหน้าที่วางนโยบายการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลในการใช้งบประมาณของประเทศ ในโครงการต่างๆที่รัฐบาลได้ดำเนินการ เพื่อให้รัฐบาลดำเนินงานอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ใช้จ่ายงบประมาณของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างแท้จริง
การอ้างอิง
- ↑ วิกิพีเดีย,[ออนไลน์] สืบค้นจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E๐%B๘%๘๑%E๐%B๘%A๓E๐%B๘% เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2552.
- ↑ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน,หนังสือที่ระลึกครบรอบ 120 ปี การตรวจเงินแผ่นดินไทย, 80 ปี สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน,กรุงเทพฯ 2538.
- ↑ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน , [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.oag.go.th/AboutOAG/RuleOfLand๒๕๔๒.jsp เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2552
- ↑ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน , [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.oag.go.th/AboutOAG/Force.jsp เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2552.
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน.(2538)หนังสือที่ระลึกครบรอบ 120 ปี การตรวจเงินแผ่นดินไทย, 80 ปี สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, กรุงเทพฯ : สำนัก.
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, (2551) รายงานการปฏิบัติงาน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2550,กรุงเทพฯ:สำนัก.
บรรณานุกรม
ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 116 ตอนที่ 115 ก วันที่ 18 พฤศจิกายน 2542,หน้า 1.
วิกิพีเดีย,เอกสารออนไลน์, สืบค้นจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E๐%B๘%๘๑%E๐%B๘%A๓E๐%B๘% เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2552.
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, หนังสือที่ระลึกครบรอบ 120 ปี การตรวจเงินแผ่นดินไทย, 80 ปี สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, กรุงเทพฯ 2538.
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, (2551) รายงานการปฏิบัติงาน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2550 กรุงเทพฯ:สำนัก.
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, เอกสารออนไลน์,สืบค้นจาก http://www.oag.go.th/AboutOAG/RuleOfLand๒๕๔๒.jsp เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2552.
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, เอกสารออนไลน์, สืบค้นจาก http://www.oag.go.th/AboutOAG/Force.jsp เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2552.
ดูเพิ่มเติม
- รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
- รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542