ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประท้วง"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' สิวาพร สุขเอียด '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทค... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
---- | ---- | ||
ประเทศไทยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุ[[ฒิสภา]] เป็นสถาบันตัวแทนของประชาชน และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมาย [[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ตลอดจนการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลตามที่[[รัฐธรรมนูญ]]กำหนด ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวของรัฐสภาจะต้องกระทำในที่ประชุม โดยปกติสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาจะแยกกันประชุม การประชุมร่วมกันของรัฐสภาจะมีได้เฉพาะเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น | |||
==ความหมายของประท้วง== | ==ความหมายของประท้วง== | ||
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่า “รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นว่าการประชุมรัฐสภามี 3 อย่างคือ<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550''' (กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550), หน้า 64.</ref> 1) การประชุมร่วมกันของรัฐสภา 2) การประชุมสภาผู้แทนราษฎร และ 3) การประชุมวุฒิสภา | ||
ใน[[การประชุมสภา]]ดังกล่าวจะมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นของสมาชิก [[นายกรัฐมนตรี]] หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สภากำลังพิจารณา และที่ประชุมสภาจะมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับของที่ประชุมไว้เพื่อให้การประชุมและการอภิปรายเป็นไปอย่างมีระบบ แต่ในทางปฏิบัติถึงแม้ข้อบังคับการประชุมจะกำหนดวิธีการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ เอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร แต่การแสดงความคิดเห็นของสมาชิก นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี กระทำได้ด้วยการอภิปรายและการลงมติ โดยการอภิปรายนั้นย่อมมีทั้งการอภิปรายในการสนับสนุนและการอภิปรายในทางคัดค้าน ความเห็นของสมาชิกที่แยกออกเป็นฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายที่คัดค้านเรื่องที่สภากำลังพิจารณา จะทำให้การประชุมสภาประสบปัญหาในการดำเนินการประชุม อันมีสาเหตุมาจากการมีสมาชิกประท้วงว่าสมาชิกหรือนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่อภิปราย กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือเป็นการอภิปรายที่ฝ่าฝืนข้อบังคับ | |||
คณิน บุญสุวรรณ<ref>คณิน บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์''' (กรุงเทพมหานคร : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549), หน้า 541-542.</ref> ได้กล่าวถึง “ประท้วง หมายถึง การแสดงอาการขัดข้องใจของสมาชิกในที่ประชุมสภา กรณีที่เห็นว่าการอภิปรายของสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดเป็นการอภิปรายนอกประเด็น วนเวียน ซ้ำซาก ซ้ำกับผู้อื่น ซึ่งเป็นการผิดข้อบังคับหรือเห็นว่าการอภิปรายดังกล่าวเป็นการพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น การประท้วงทั้งสองกรณีดังกล่าวข้างต้น หรือการประท้วงในกรณีอื่นใดก็ตาม สมาชิกผู้ต้องการประท้วง จะต้องยืนและ[[ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ]]รอจนกว่าประธานจะเห็นและอนุญาต จึงกล่าวคำประท้วงได้ โดยการชี้แจงประเด็นและเหตุผลการประท้วงของตน เสร็จแล้วประธานในที่ประชุมสภาจะเป็นผู้วินิจฉัยว่า การอภิปรายมีการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือพาดพิงทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใดตามที่ประท้วงหรือไม่ ถ้าวินิจฉัยว่าผิดข้อบังคับหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย ประธานก็จะสั่งให้ผู้อภิปรายถอนคำพูดหรือไม่ก็ยุติการอภิปรายเสีย คำวินิจฉัยและคำสั่งของประธานถือเป็นเด็ดขาด | |||
อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติจริง ข้อบังคับการประชุมในเรื่องของการประท้วงได้ถูกนำมาใช้เป็นเกมการเมืองอยู่บ่อย ๆ และมักจะไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด เป็นต้นว่า เวลายืนและ[[ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ]]เพื่อแสดงอาการประท้วงนั้น มักจะไม่รอให้ประธานชี้เสียก่อน และมักจะชิงพูดขึ้นมาเลยบางคน บางครั้งขนาดตะโกนโหวกเหวกด้วยความไม่พอใจ เมื่อประธานไม่ชี้หรือไม่เปิดโอกาสให้พูด บางครั้งเมื่อผู้ประท้วงชี้แจงจบแล้ว ยังไม่ทันที่ประธานจะวินิจฉัยตามข้อบังคับ สมาชิกคนอื่นก็ลุกขึ้นมาประท้วงบ้าง ซึ่งเป็นการผิดข้อบังคับและเป็นการแสดงความไม่เคารพต่อผู้เป็นประธาน บ่อยครั้งทีเดียว จะเห็นภาพการประท้วงซ้ำซาก คือ การประท้วงติดต่อกันเป็นลูกโซ่ โดยมีเจตนาที่จะขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว หรือขัดจังหวัดการอภิปรายของอีกฝ่ายหนึ่ง และบ่อยครั้งเช่นเดียวกัน เมื่อประธานวินิจฉัยแล้วก็ไม่ยอมรับฟังผลการวินิจฉัยของประธาน ต่อล้อต่อเถียงกับประธานต่อไปอีก ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดข้อบังคับการประชุม และยังแสดงให้เห็นว่า วุฒิภาวะของสมาชิกสภายังไม่ได้รับการยกระดับเท่าที่ควร อันเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนพากันเบื่อเหน่ายและเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันรัฐสภา” | |||
==การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551== | |||
ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''ข้อบังคับการประชุม''' (กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551), หน้า 21-11.</ref> ได้กำหนดไว้ในข้อ 63 ว่า “สมาชิกผู้ใดต้องการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับการประชุม ให้ยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ประธานต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วให้ประธานวินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงหรือไม่ คำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด | |||
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น” | ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น” | ||
ข้อ | |||
ข้อ 64 “เมื่อมีผู้ประท้วงตามข้อ 63 ผู้อภิปรายอาจถอนคำพูดของตนหรือตามคำวินิจฉัยของประธานได้ | |||
ถ้าผู้อภิปรายออกไปจากที่ประชุมสภาโดยไม่ถอนคำพูดตามคำวินิจฉัยของประธาน ให้ประธานบันทึกการไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุม” | ถ้าผู้อภิปรายออกไปจากที่ประชุมสภาโดยไม่ถอนคำพูดตามคำวินิจฉัยของประธาน ให้ประธานบันทึกการไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุม” | ||
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. | |||
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. | ==ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551== | ||
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 94-95.</ref> ได้กำหนดไว้ในข้อ 57 ว่า “สมาชิกผู้ใดเห็นว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับและประสงค์จะประท้วง ให้ยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ประธานของที่ประชุมจะต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วให้ประธานของที่ประชุมวินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงนั้นหรือไม่ คำวินิจฉัยของประธานของที่ประชุมดังกล่าวให้ถือเป็นเด็ดขาด | |||
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น และเมื่อประธานของที่ประชุมวินิจฉัยว่าการอภิปรายนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ประธานที่ประชุมอาจสั่งให้ผู้ถูกอภิปรายถอนคำพูด และผู้ถูกอภิปรายต้องปฏิบัติตามคำสั่ง” | ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น และเมื่อประธานของที่ประชุมวินิจฉัยว่าการอภิปรายนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ประธานที่ประชุมอาจสั่งให้ผู้ถูกอภิปรายถอนคำพูด และผู้ถูกอภิปรายต้องปฏิบัติตามคำสั่ง” | ||
ข้อ | |||
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา | ข้อ 58 กำหนดว่า “ผู้ถูกอภิปรายอาจถอนคำพูดของตนได้เองหรือเมื่อมีผู้ประท้วง หรือตามคำสั่งของประธานที่ประชุมตามข้อ 57” | ||
กรณีการประชุมร่วมกันของรัฐสภานั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช | |||
==การประชุมร่วมกันของรัฐสภา== | |||
กรณีการประชุมร่วมกันของรัฐสภานั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 137 ว่า “ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยอนุโลมไปพลางก่อน | |||
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้นำบทที่ใช้แก่สภาทั้งสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการ...” | ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้นำบทที่ใช้แก่สภาทั้งสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการ...” | ||
ใน[[การประชุมสภา]] นอกจากกรณีสมาชิกประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นเรื่องใดอันเป็นที่เสียหาย ประธานที่ประชุมจะให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง และประธานที่ประชุมจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าฝ่าฝืนข้อบังคับการประชุมหรือพาดพิงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่ทำให้เสียหายตามที่ประท้วงหรือไม่แล้ว ปัญหาการประท้วงอาจเกิดการวินิจฉัยของประธานที่ประชุมไม่เป็นกลาง และการวินิจฉัยต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ รวดเร็วในการตัดสินใจ มีประสบการณ์ และความหนักแน่นแม่นยำในข้อบังคับการประชุม ซึ่งบางครั้งสมาชิกจะใช้อารมณ์ในการอภิปรายและการประท้วงประธานที่ประชุม จึงต้องมีความหนักแน่น มั่นคงในอารมณ์และการตัดสินที่เด็ดขาดด้วย | |||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
บรรทัดที่ 35: | บรรทัดที่ 50: | ||
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ== | ==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ== | ||
ประกิจ | ประกิจ พลเดช. '''การอภิปรายและการประท้วงในสภาผู้แทนราษฎร.''' เอกสารการวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2541. | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. '''ข้อบังคับการประชุม.''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551. | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. '''ข้อบังคับการประชุม.''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551. | ||
บรรทัดที่ 41: | บรรทัดที่ 56: | ||
==บรรณานุกรม== | ==บรรณานุกรม== | ||
คณิน | คณิน บุญสุวรรณ, '''“ปทานานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์”.''' กรุงเทพมหานคร : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549. | ||
ประกิจ | ประกิจ พลเดช, '''“การอภิปรายและการประท้วงในสภาผู้แทนราษฎร”.''' เอกสารการวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2541. | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''“ข้อบังคับการประชุม”.''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551. | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''“ข้อบังคับการประชุม”.''' กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551. |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:56, 17 กันยายน 2552
ผู้เรียบเรียง สิวาพร สุขเอียด
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
ประเทศไทยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เป็นสถาบันตัวแทนของประชาชน และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมาย การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ตลอดจนการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวของรัฐสภาจะต้องกระทำในที่ประชุม โดยปกติสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาจะแยกกันประชุม การประชุมร่วมกันของรัฐสภาจะมีได้เฉพาะเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ความหมายของประท้วง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่า “รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นว่าการประชุมรัฐสภามี 3 อย่างคือ[1] 1) การประชุมร่วมกันของรัฐสภา 2) การประชุมสภาผู้แทนราษฎร และ 3) การประชุมวุฒิสภา
ในการประชุมสภาดังกล่าวจะมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นของสมาชิก นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สภากำลังพิจารณา และที่ประชุมสภาจะมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับของที่ประชุมไว้เพื่อให้การประชุมและการอภิปรายเป็นไปอย่างมีระบบ แต่ในทางปฏิบัติถึงแม้ข้อบังคับการประชุมจะกำหนดวิธีการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ เอาไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร แต่การแสดงความคิดเห็นของสมาชิก นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี กระทำได้ด้วยการอภิปรายและการลงมติ โดยการอภิปรายนั้นย่อมมีทั้งการอภิปรายในการสนับสนุนและการอภิปรายในทางคัดค้าน ความเห็นของสมาชิกที่แยกออกเป็นฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายที่คัดค้านเรื่องที่สภากำลังพิจารณา จะทำให้การประชุมสภาประสบปัญหาในการดำเนินการประชุม อันมีสาเหตุมาจากการมีสมาชิกประท้วงว่าสมาชิกหรือนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่อภิปราย กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือเป็นการอภิปรายที่ฝ่าฝืนข้อบังคับ
คณิน บุญสุวรรณ[2] ได้กล่าวถึง “ประท้วง หมายถึง การแสดงอาการขัดข้องใจของสมาชิกในที่ประชุมสภา กรณีที่เห็นว่าการอภิปรายของสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดเป็นการอภิปรายนอกประเด็น วนเวียน ซ้ำซาก ซ้ำกับผู้อื่น ซึ่งเป็นการผิดข้อบังคับหรือเห็นว่าการอภิปรายดังกล่าวเป็นการพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น การประท้วงทั้งสองกรณีดังกล่าวข้างต้น หรือการประท้วงในกรณีอื่นใดก็ตาม สมาชิกผู้ต้องการประท้วง จะต้องยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะรอจนกว่าประธานจะเห็นและอนุญาต จึงกล่าวคำประท้วงได้ โดยการชี้แจงประเด็นและเหตุผลการประท้วงของตน เสร็จแล้วประธานในที่ประชุมสภาจะเป็นผู้วินิจฉัยว่า การอภิปรายมีการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือพาดพิงทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใดตามที่ประท้วงหรือไม่ ถ้าวินิจฉัยว่าผิดข้อบังคับหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย ประธานก็จะสั่งให้ผู้อภิปรายถอนคำพูดหรือไม่ก็ยุติการอภิปรายเสีย คำวินิจฉัยและคำสั่งของประธานถือเป็นเด็ดขาด
อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติจริง ข้อบังคับการประชุมในเรื่องของการประท้วงได้ถูกนำมาใช้เป็นเกมการเมืองอยู่บ่อย ๆ และมักจะไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด เป็นต้นว่า เวลายืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะเพื่อแสดงอาการประท้วงนั้น มักจะไม่รอให้ประธานชี้เสียก่อน และมักจะชิงพูดขึ้นมาเลยบางคน บางครั้งขนาดตะโกนโหวกเหวกด้วยความไม่พอใจ เมื่อประธานไม่ชี้หรือไม่เปิดโอกาสให้พูด บางครั้งเมื่อผู้ประท้วงชี้แจงจบแล้ว ยังไม่ทันที่ประธานจะวินิจฉัยตามข้อบังคับ สมาชิกคนอื่นก็ลุกขึ้นมาประท้วงบ้าง ซึ่งเป็นการผิดข้อบังคับและเป็นการแสดงความไม่เคารพต่อผู้เป็นประธาน บ่อยครั้งทีเดียว จะเห็นภาพการประท้วงซ้ำซาก คือ การประท้วงติดต่อกันเป็นลูกโซ่ โดยมีเจตนาที่จะขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว หรือขัดจังหวัดการอภิปรายของอีกฝ่ายหนึ่ง และบ่อยครั้งเช่นเดียวกัน เมื่อประธานวินิจฉัยแล้วก็ไม่ยอมรับฟังผลการวินิจฉัยของประธาน ต่อล้อต่อเถียงกับประธานต่อไปอีก ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดข้อบังคับการประชุม และยังแสดงให้เห็นว่า วุฒิภาวะของสมาชิกสภายังไม่ได้รับการยกระดับเท่าที่ควร อันเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนพากันเบื่อเหน่ายและเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันรัฐสภา”
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551
ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551[3] ได้กำหนดไว้ในข้อ 63 ว่า “สมาชิกผู้ใดต้องการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับการประชุม ให้ยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ประธานต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วให้ประธานวินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงหรือไม่ คำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น”
ข้อ 64 “เมื่อมีผู้ประท้วงตามข้อ 63 ผู้อภิปรายอาจถอนคำพูดของตนหรือตามคำวินิจฉัยของประธานได้
ถ้าผู้อภิปรายออกไปจากที่ประชุมสภาโดยไม่ถอนคำพูดตามคำวินิจฉัยของประธาน ให้ประธานบันทึกการไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุม”
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551[4] ได้กำหนดไว้ในข้อ 57 ว่า “สมาชิกผู้ใดเห็นว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับและประสงค์จะประท้วง ให้ยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ประธานของที่ประชุมจะต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วให้ประธานของที่ประชุมวินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงนั้นหรือไม่ คำวินิจฉัยของประธานของที่ประชุมดังกล่าวให้ถือเป็นเด็ดขาด
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น และเมื่อประธานของที่ประชุมวินิจฉัยว่าการอภิปรายนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ประธานที่ประชุมอาจสั่งให้ผู้ถูกอภิปรายถอนคำพูด และผู้ถูกอภิปรายต้องปฏิบัติตามคำสั่ง”
ข้อ 58 กำหนดว่า “ผู้ถูกอภิปรายอาจถอนคำพูดของตนได้เองหรือเมื่อมีผู้ประท้วง หรือตามคำสั่งของประธานที่ประชุมตามข้อ 57”
การประชุมร่วมกันของรัฐสภา
กรณีการประชุมร่วมกันของรัฐสภานั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 137 ว่า “ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยอนุโลมไปพลางก่อน
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้นำบทที่ใช้แก่สภาทั้งสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการ...”
ในการประชุมสภา นอกจากกรณีสมาชิกประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นเรื่องใดอันเป็นที่เสียหาย ประธานที่ประชุมจะให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง และประธานที่ประชุมจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าฝ่าฝืนข้อบังคับการประชุมหรือพาดพิงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่ทำให้เสียหายตามที่ประท้วงหรือไม่แล้ว ปัญหาการประท้วงอาจเกิดการวินิจฉัยของประธานที่ประชุมไม่เป็นกลาง และการวินิจฉัยต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ รวดเร็วในการตัดสินใจ มีประสบการณ์ และความหนักแน่นแม่นยำในข้อบังคับการประชุม ซึ่งบางครั้งสมาชิกจะใช้อารมณ์ในการอภิปรายและการประท้วงประธานที่ประชุม จึงต้องมีความหนักแน่น มั่นคงในอารมณ์และการตัดสินที่เด็ดขาดด้วย
อ้างอิง
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550), หน้า 64.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์ (กรุงเทพมหานคร : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549), หน้า 541-542.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ข้อบังคับการประชุม (กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551), หน้า 21-11.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้า 94-95.
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
ประกิจ พลเดช. การอภิปรายและการประท้วงในสภาผู้แทนราษฎร. เอกสารการวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2541.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ข้อบังคับการประชุม. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.
บรรณานุกรม
คณิน บุญสุวรรณ, “ปทานานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์”. กรุงเทพมหานคร : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549.
ประกิจ พลเดช, “การอภิปรายและการประท้วงในสภาผู้แทนราษฎร”. เอกสารการวิจัยส่วนบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2541.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “ข้อบังคับการประชุม”. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550”. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.