ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บันทึกบทเรียนของ หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ ๑"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Ekkachais (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: ------------------------------------------------------------ ----------------------------------------...
 
Ekkachais (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
[[เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๓ โดย:อ.ศรีศักร วัลลิโภดม]]


การศึกษาชาติพันธุ์น่าจะทำให้เข้าใจจิตใจของผู้ที่มีความขัดแย้งเพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่สามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ถูกจุด หัวข้อบรรยายวันนี้น่าสนใจมาก โดยยอดนักประวัติศาสตร์อย่างอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม


                            ------------------------------------------------------------
ท่านสะกิดต่อมพวกเราให้รู้ว่าการจะไปแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนั้น เราต้องดูให้ถึงแก่นของคนที่เกิดความขัดแย้ง คือดูถึงชาติพันธุ์ของเขา เราต้องมองไปที่กลุ่มคน มองให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะสังคมไทย เราผ่านจากสังคมชาติพันธุ์ที่เป็นชนเผ่า เช่น ม้ง เย้า อีก้อฯลฯ มาสู่สังคมอีกแบบหนึ่งคือสังคมที่ผสมปนเประหว่างสังคมชาติพันธุ์กับสังคมเมือง เป็นเหมือนขนมจีนน้ำยาผสมน้ำพริก (อันนี้ผมว่าเอง) จากสังคมชาวนามาเป็นสังคมอุตสาหกรรม


                        ------------------------------------------------------------
จากสังคมแบบชาติพันธุ์ซึ่งเป็นสังคมชาวนา(ทำไมเรียกสังคมชาวนา ก็เพราะเป็นการรวมหลากหลายชาติพันธุ์ ต้องใช้ประโยชน์ในทรัพยากรร่วมกัน เกิดการเอื้ออาทรแบ่งปันกัน) มาสู่สังคมแบบอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสังคมกึ่งชาติพันธุ์กึ่งสังคมเมือง


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๓
อาจารย์ยกตัวอย่างให้ฟังว่า มีชาติพันธุ์ ลาว เขมร จีน มาอยู่ในชุมชนไทยแห่งหนึ่ง ต่างคนต่างแยกกันอยู่ในพื้นที่ตามชาติพันธุ์ของตน แต่เนื่องจากต้องใช้พื้นที่รวมเช่น หนองน้ำสาธารณะ เขาก็จะค่อยๆปรับตัวเข้าหากัน เป็นการสังสรรค์กันมากขึ้นแล้วมีการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน จึงเกิดการประนีประนอมสังสรรค์กันเพื่อสร้างกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แล้วเกิดความสัมพันธ์ทางการแต่งงาน เพราะสังคมไทย ลาว เขมรเป็นสังคมแบบเดียวกันคือแม่เป็นใหญ่ ผู้ชายถูกดูดเข้าบ้าน เข้ามาช่วยทำงาน เขยต่อเกิดแต่ละชาติพันธุ์จึงเข้ามาสัมพันธ์กัน เมื่อลูกเกิดมาก็ต้องถือว่าเด็กมีที่นี่เป็นมาตุภูมิ นานเข้าก็กลายเป็นไทยไปหมด
หัวข้อ:
 
โดย: อ.ศรีศักร วัลลิโภดม
การศึกษาชาติพันธุ์จึงต้องย้อนเข้าไปศึกษาถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น (อันเป็นสังคมชาวนา) ด้วยและเราจะสังเกตชาติพันธุ์ได้จากสำเนียงภาษา ถ้าในเรื่องขุนช้างขุนแผน พระไวยไปได้นางสร้อยฟ้าสาวเหนือมาเป็นเมีย เวลาจะด่านางสร้อยฟ้าก็ด่าว่าอีลาว..(ขออภัย มิได้เจตนาดูถูกชาวลาวนะครับ ผมกำลังถอดความจากคำอธิบายของอาจารย์ซึ่งก็มิได้มีเจตนาเช่นนั้นเหมือนกัน เพียงแต่ต้องการอธิบายว่าชาติพันธุ์เราดูที่สำเนียงภาษาครับ ที่ต้องอธิบายเพราะเกรงว่าอาจเกิดความขัดแย้งได้ครับ)
วันเวลา:     (การปฐมนิเทศ)
สถานที่:
สังคมแบบชาวนานั้นจะอยู่กันเป็นชุมชนแบบหมู่บ้าน พุทธก็มีวัด มุสลิมก็มีมัสยิด อยู่ตามชุมชนนั้นๆ การเรียกว่าบ้านโน้นบ้านนี้ก็จะหมายถึงการเรียกหมู่บ้านซึ่งรวมทั้งวัดและ/หรือมัสยิดเข้าไปด้วย


การศึกษาชาติพันธุ์น่าจะทำให้เข้าใจจิตใจของผู้ที่มีความขัดแย้งเพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่สามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ถูกจุด หัวข้อบรรยายวันนี้น่าสนใจมาก โดยยอดนักประวัติศาสตร์อย่างอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
พอเรามาดูสังคมแบบอุตสาหกรรม มันไม่มีวัฒนธรรมแบบนั้น (แบบเอื้ออาทร) มีแต่กลับไปทำลายสังคมชาวนา เพราะสังคมชาวนาก็เกิดการผสมกลมกลืนไปเรื่อยๆ แต่สังคมอุตสาหกรรมมันเป็นการเทลงไปจนรวมกันไม่ได้ เช่น โรงงานอยู่ทางตะวันออก อยู่ๆก็มีแรงงานจากอีสานมาอยู่ในโรงงาน มันไม่มีการผสมกลมกลืนเพราะนี่เข้ามาจำนวนมาก เหมือนบ้านจัดสรร อาจารย์บอกว่าเหมือนคอกสัตว์ต่างคนต่างอยู่  ดังนั้นเวลาเลือกตั้งทีก็จะได้ใครก็ไม่รู้ที่มาซื้อเสียงเป็นตัวแทนของปวงชน
ท่านสะกิดต่อมพวกเราให้รู้ว่าการจะไปแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนั้น เราต้องดูให้ถึงแก่นของคนที่เกิดความขัดแย้ง คือดูถึงชาติพันธุ์ของเขา เราต้องมองไปที่กลุ่มคน มองให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะสังคมไทย เราผ่านจากสังคมชาติพันธุ์ที่เป็นชนเผ่า เช่น ม้ง เย้า อีก้อฯลฯ มาสู่สังคมอีกแบบหนึ่งคือสังคมที่ผสมปนเประหว่างสังคมชาติพันธุ์กับสังคมเมือง เป็นเหมือนขนมจีนน้ำยาผสมน้ำพริก (อันนี้ผมว่าเอง) จากสังคมชาวนามาเป็นสังคมอุตสาหกรรม
จากสังคมแบบชาติพันธุ์ซึ่งเป็นสังคมชาวนา(ทำไมเรียกสังคมชาวนา ก็เพราะเป็นการรวมหลากหลายชาติพันธุ์ ต้องใช้ประโยชน์ในทรัพยากรร่วมกัน เกิดการเอื้ออาทรแบ่งปันกัน) มาสู่สังคมแบบอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสังคมกึ่งชาติพันธุ์กึ่งสังคมเมือง
อาจารย์ยกตัวอย่างให้ฟังว่า มีชาติพันธุ์ ลาว เขมร จีน มาอยู่ในชุมชนไทยแห่งหนึ่ง ต่างคนต่างแยกกันอยู่ในพื้นที่ตามชาติพันธุ์ของตน แต่เนื่องจากต้องใช้พื้นที่รวมเช่น หนองน้ำสาธารณะ เขาก็จะค่อยๆปรับตัวเข้าหากัน เป็นการสังสรรค์กันมากขึ้นแล้วมีการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน จึงเกิดการประนีประนอมสังสรรค์กันเพื่อสร้างกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แล้วเกิดความสัมพันธ์ทางการแต่งงาน เพราะสังคมไทย ลาว เขมรเป็นสังคมแบบเดียวกันคือแม่เป็นใหญ่ ผู้ชายถูกดูดเข้าบ้าน เข้ามาช่วยทำงาน เขยต่อเกิดแต่ละชาติพันธุ์จึงเข้ามาสัมพันธ์กัน เมื่อลูกเกิดมาก็ต้องถือว่าเด็กมีที่นี่เป็นมาตุภูมิ นานเข้าก็กลายเป็นไทยไปหมด
            การศึกษาชาติพันธุ์จึงต้องย้อนเข้าไปศึกษาถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น (อันเป็นสังคมชาวนา) ด้วยและเราจะสังเกตชาติพันธุ์ได้จากสำเนียงภาษา ถ้าในเรื่องขุนช้างขุนแผน พระไวยไปได้นางสร้อยฟ้าสาวเหนือมาเป็นเมีย เวลาจะด่านางสร้อยฟ้าก็ด่าว่าอีลาว..(ขออภัย มิได้เจตนาดูถูกชาวลาวนะครับ ผมกำลังถอดความจากคำอธิบายของอาจารย์ซึ่งก็มิได้มีเจตนาเช่นนั้นเหมือนกัน เพียงแต่ต้องการอธิบายว่าชาติพันธุ์เราดูที่สำเนียงภาษาครับ ที่ต้องอธิบายเพราะเกรงว่าอาจเกิดความขัดแย้งได้ครับ)
            สังคมแบบชาวนานั้นจะอยู่กันเป็นชุมชนแบบหมู่บ้าน พุทธก็มีวัด มุสลิมก็มีมัสยิด อยู่ตามชุมชนนั้นๆ การเรียกว่าบ้านโน้นบ้านนี้ก็จะหมายถึงการเรียกหมู่บ้านซึ่งรวมทั้งวัดและ/หรือมัสยิดเข้าไปด้วย
พอเรามาดูสังคมแบบอุตสาหกรรม มันไม่มีวัฒนธรรมแบบนั้น (แบบเอื้ออาทร) มีแต่กลับไปทำลายสังคมชาวนา เพราะสังคมชาวนาก็เกิดการผสมกลมกลืนไปเรื่อยๆ แต่สังคมอุตสาหกรรมมันเป็นการเทลงไปจนรวมกันไม่ได้ เช่น โรงงานอยู่ทางตะวันออก อยู่ๆก็มีแรงงานจากอีสานมาอยู่ในโรงงาน มันไม่มีการผสมกลมกลืนเพราะนี่เข้ามาจำนวนมาก เหมือนบ้านจัดสรร อาจารย์บอกว่าเหมือนคอกสัตว์ต่างคนต่างอยู่  ดังนั้นเวลาเลือกตั้งทีก็จะได้ใครก็ไม่รู้ที่มาซื้อเสียงเป็นตัวแทนของปวงชน  
เราจะมองประวัติศาสตร์กันแบบไหน? ถ้าเรามองแบบการเมืองเศรษฐกิจก็จะเป็นอย่างหนึ่ง ซึ่งมันจะก่อความเลวร้ายเป็นปัญหาเกิดคำว่าชาตินิยม  ถ้ามองประวัติศาสตร์แบบวัฒนธรรมก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง
อาจารย์ให้เราคิดว่า ไทย ลาว เขมร เดิมไม่มีเขตแดน แต่คนจะไปมาหาสู่กัน เช่น พระธาตุพนม คนลาวเข้ามากราบไหว้พระธาตุพนม พอองค์พระธาตุพนมล้มลงคนลาวพากันร้องไห้ คนลาวเข้าไม่ได้คิดว่าที่ล้มไปนี่ของไทย  ถ้าคิดแบบการเมืองเศรษฐกิจมันก็ไม่เศร้าเพราะคิดแบบของใครของมัน  แต่ถ้าคิดแบบประวัติศาสตร์วัฒนธรรมก็น่าเศร้า เพราะลาวไทยต่างเคารพศรัทธาในสิ่งเดียวกัน
   
   
เขาพระวิหารก็เหมือนกัน เรามองแบบชาตินิยมหรือมองแบบวัฒนธรรม เขาพระวิหารมีผีต้นน้ำ (นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ที่พึ่งตนเองไม่ได้จึงต้องหาที่ยึด ต้องหันไปหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอยู่รวมเป็นพวก) มีชุมชนและคนในชุมชนให้เกียรติยศ เขมรต่ำก็ขึ้นมาเพราะตรงนั้นเป็นเขตการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา ตรงเขาพระวิหารเป็นแหล่งพิธีกรรมใหญ่ เปลี่ยนผีต้นน้ำให้เป็นศรีศิขเรศวร การแก้ปัญหาเขาพระวิหารจึงอยู่ที่มุมมองของคนไทยและกัมพูชาว่า เรามองเขาพระวิหารแบบใด แบบเชิงเศรษฐกิจและสังคม หรือมองแบบวัฒนธรรม คุณคิดหรือยัง?.......การแก้ปัญหาเรื่องเขตแดนต้องลงไปในพื้นที่จริง เพราะที่เราเกิดปัญหากันก็เพราะนั่งขีดเส้นกันในห้องนี่แหละ
เราจะมองประวัติศาสตร์กันแบบไหน? ถ้าเรามองแบบการเมืองเศรษฐกิจก็จะเป็นอย่างหนึ่ง ซึ่งมันจะก่อความเลวร้ายเป็นปัญหาเกิดคำว่าชาตินิยม  ถ้ามองประวัติศาสตร์แบบวัฒนธรรมก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง  อาจารย์ให้เราคิดว่า ไทย ลาว เขมร เดิมไม่มีเขตแดน แต่คนจะไปมาหาสู่กัน เช่น พระธาตุพนม คนลาวเข้ามากราบไหว้พระธาตุพนม พอองค์พระธาตุพนมล้มลงคนลาวพากันร้องไห้ คนลาวเข้าไม่ได้คิดว่าที่ล้มไปนี่ของไทย  ถ้าคิดแบบการเมืองเศรษฐกิจมันก็ไม่เศร้าเพราะคิดแบบของใครของมัน  แต่ถ้าคิดแบบประวัติศาสตร์วัฒนธรรมก็น่าเศร้า เพราะลาวไทยต่างเคารพศรัทธาในสิ่งเดียวกัน
 
เขาพระวิหารก็เหมือนกัน เรามองแบบชาตินิยมหรือมองแบบวัฒนธรรม เขาพระวิหารมีผีต้นน้ำ (นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ที่พึ่งตนเองไม่ได้จึงต้องหาที่ยึด ต้องหันไปหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอยู่รวมเป็นพวก) มีชุมชนและคนในชุมชนให้เกียรติยศ เขมรต่ำก็ขึ้นมาเพราะตรงนั้นเป็นเขตการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา ตรงเขาพระวิหารเป็นแหล่งพิธีกรรมใหญ่ เปลี่ยนผีต้นน้ำให้เป็นศรีศิขเรศวร การแก้ปัญหาเขาพระวิหารจึงอยู่ที่มุมมองของคนไทยและกัมพูชาว่า เรามองเขาพระวิหารแบบใด แบบเชิงเศรษฐกิจและสังคม หรือมองแบบวัฒนธรรม คุณคิดหรือยัง?.......การแก้ปัญหาเรื่องเขตแดนต้องลงไปในพื้นที่จริง เพราะที่เราเกิดปัญหากันก็เพราะนั่งขีดเส้นกันในห้องนี่แหละ
แล้วมาถึงเรื่องมรดกโลก ที่อยากจะให้เป็นมรดกโลกกันนั้น เรามองกันแบบไหน มองแบบเศรษฐกิจและสังคมก็จะมองว่าเพื่อการท่องเที่ยวการค้าจะเจริญรุ่งเรือง หรือจะมองว่าเป็นมรดกโลกในเชิงวัฒนธรรม อาจารย์สะกิดต่อมว่าไปดูหลวงพระบางหรือยังล่ะ มรดกโลก เริ่มเสื่อมเห็นชัดๆ แม้แต่ที่อยุธยาก็ล้วนมองการเป็นมรดกโลกเพื่อประโยชน์แก่การท่องเที่ยวทั้งนั้น  การจะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหรือไม่อาจารย์ฝากเป็นข้อคิดให้ดูดีๆ อย่าตกเป็นเหยื่อของต่างชาติเพราะปัญหามีความสลับซับซ้อน สถานที่ที่เป็นมรดกโลกแต่ละแห่งล้วนมีปัญหาจากการที่ต่างชาติเข้าไปแสวงหาประโยชน์  ฝากให้ทุกท่านคิดเรื่องเขาพระวิหารว่าเป็นเรื่องของต่างชาติเข้ามาแสวงหาประโยชน์และยุแหย่ให้ไทยกับกัมพูชาหรือเขมรทะเลาะกันหรือไม่....
แล้วมาถึงเรื่องมรดกโลก ที่อยากจะให้เป็นมรดกโลกกันนั้น เรามองกันแบบไหน มองแบบเศรษฐกิจและสังคมก็จะมองว่าเพื่อการท่องเที่ยวการค้าจะเจริญรุ่งเรือง หรือจะมองว่าเป็นมรดกโลกในเชิงวัฒนธรรม อาจารย์สะกิดต่อมว่าไปดูหลวงพระบางหรือยังล่ะ มรดกโลก เริ่มเสื่อมเห็นชัดๆ แม้แต่ที่อยุธยาก็ล้วนมองการเป็นมรดกโลกเพื่อประโยชน์แก่การท่องเที่ยวทั้งนั้น  การจะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหรือไม่อาจารย์ฝากเป็นข้อคิดให้ดูดีๆ อย่าตกเป็นเหยื่อของต่างชาติเพราะปัญหามีความสลับซับซ้อน สถานที่ที่เป็นมรดกโลกแต่ละแห่งล้วนมีปัญหาจากการที่ต่างชาติเข้าไปแสวงหาประโยชน์  ฝากให้ทุกท่านคิดเรื่องเขาพระวิหารว่าเป็นเรื่องของต่างชาติเข้ามาแสวงหาประโยชน์และยุแหย่ให้ไทยกับกัมพูชาหรือเขมรทะเลาะกันหรือไม่....
อาจารย์ฝากหลายข้อ รวมทั้งจะไปสมานฉันท์กับใครที่ไหน ต้องรู้จากข้างในเขาก่อน เราเคยศึกษากันไหมว่าในอดีตที่เราทำสงครามกวาดต้อนผู้คนมานั้น เราไม่ได้เอามาเป็นทาส  แต่เอามาให้เขาเป็นคนไทย ให้มาอยู่เป็นชุมชนตามวิถีชีวิตเดิม การสร้างวัดขึ้นก็เพื่อหลอมรวมวัฒนธรรมเข้าหากันจึงเกิดความสำนึกท้องถิ่นโดยไม่ได้คิดจะรบกับไทยอีก
อาจารย์ฝากหลายข้อ รวมทั้งจะไปสมานฉันท์กับใครที่ไหน ต้องรู้จากข้างในเขาก่อน เราเคยศึกษากันไหมว่าในอดีตที่เราทำสงครามกวาดต้อนผู้คนมานั้น เราไม่ได้เอามาเป็นทาส  แต่เอามาให้เขาเป็นคนไทย ให้มาอยู่เป็นชุมชนตามวิถีชีวิตเดิม การสร้างวัดขึ้นก็เพื่อหลอมรวมวัฒนธรรมเข้าหากันจึงเกิดความสำนึกท้องถิ่นโดยไม่ได้คิดจะรบกับไทยอีก
บรรทัดที่ 27: บรรทัดที่ 23:
------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๔  
[[เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๔ โดย:ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์]]
หัวข้อ:
โดย: ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์
วันเวลา:     (การปฐมนิเทศ)
สถานที่:


“ไม่มีสังคมใดไม่มีความขัดแย้ง ดังนั้นจงอย่ากลัวความขัดแย้ง” เริ่มต้นคำบรรยายของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็น่าสนใจแล้ว
“ไม่มีสังคมใดไม่มีความขัดแย้ง ดังนั้นจงอย่ากลัวความขัดแย้ง” เริ่มต้นคำบรรยายของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็น่าสนใจแล้ว
บรรทัดที่ 51: บรรทัดที่ 43:
อาจารย์ได้สรุปสุดท้ายว่าการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ต้องเปิดพื้นที่ต่อรองให้มาก การมีพื้นที่มาก ความรุนแรงจะน้อย ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะให้มีการเปิดพื้นที่ต่อรองให้มาก และฝากพวกเราอย่าไปยึดติดกับเทคนิคการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างมันยังอยู่ ยังไม่ได้รับการแก้ไข อย่าลืมว่าความขัดแย้งเชิงโครงสร้างไม่มีทางออก คนจึงใช้ความรุนแรงมาแก้ปัญหา   
อาจารย์ได้สรุปสุดท้ายว่าการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ต้องเปิดพื้นที่ต่อรองให้มาก การมีพื้นที่มาก ความรุนแรงจะน้อย ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะให้มีการเปิดพื้นที่ต่อรองให้มาก และฝากพวกเราอย่าไปยึดติดกับเทคนิคการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างมันยังอยู่ ยังไม่ได้รับการแก้ไข อย่าลืมว่าความขัดแย้งเชิงโครงสร้างไม่มีทางออก คนจึงใช้ความรุนแรงมาแก้ปัญหา   
------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------
เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๕
[[เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๕ โดย:ศ.นพ.ประเวศ วะสี – ราษฎรอาวุโส]]
หัวข้อ: ปาฐกถาพิเศษ –
 
โดย: ศ.นพ.ประเวศ วะสี – ราษฎรอาวุโส
วันเวลา:     พิธีเปิดหลักสูตร
สถานที่: พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า


ท่านบอกว่าการสร้างสันติสุขควรเป็นวาระของมนุษยชาติ เราควรจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่เรากลับไปถือความร่ำรวยเป็นหลัก ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยิ่งห่างไปทุกที เราจะเห็นความรุนแรงปรากฏอยู่ทั่วไป ถ้าพูดถึงสงครามก็จะเป็นความรุนแรงอย่างโจ่งแจ้ง แต่ในขณะเดียวกันสังคมเราก็มีความรุนแรงอย่างเงียบแฝงอยู่นั่นคือ ความยากจน ความอยุติธรรม ท่านยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกา คนรวยของเขา ๒๐๐ คนมีทรัพย์สินรวมกันมากกว่าคน ๒,๐๐๐ ล้านคนในโลก  
ท่านบอกว่าการสร้างสันติสุขควรเป็นวาระของมนุษยชาติ เราควรจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่เรากลับไปถือความร่ำรวยเป็นหลัก ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยิ่งห่างไปทุกที เราจะเห็นความรุนแรงปรากฏอยู่ทั่วไป ถ้าพูดถึงสงครามก็จะเป็นความรุนแรงอย่างโจ่งแจ้ง แต่ในขณะเดียวกันสังคมเราก็มีความรุนแรงอย่างเงียบแฝงอยู่นั่นคือ ความยากจน ความอยุติธรรม ท่านยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกา คนรวยของเขา ๒๐๐ คนมีทรัพย์สินรวมกันมากกว่าคน ๒,๐๐๐ ล้านคนในโลก  
บรรทัดที่ 81: บรรทัดที่ 70:
----
----


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๖  
[[เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๖ “เรื่องราวของชีวิตบนความขัดแย้ง]]: ผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอันเกิดจากการจัดการกับความขัดแย้งที่ไม่เหมาะสม” โดย:ด.ญ.อาซีลา ดอรอแตน้องพิมจากกลุ่มลูกเหรียง),คุณนานวล ปะหล่อง(น้องคำจากบ้านปางแดง เชียงใหม่),คุณวิมล แดนสะอาด (ตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬ),คุณนิรมล เมธีสุวกุล (ดำเนินรายการ)
หัวข้อ: “เรื่องราวของชีวิตบนความขัดแย้ง: ผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอันเกิดจากการจัดการกับความขัดแย้งที่ไม่เหมาะสม”
โดย: ด.ญ.อาซีลา ดอรอแต (น้องพิมจากกลุ่มลูกเหรียง), คุณนานวล ปะหล่อง (น้องคำจากบ้านปางแดง เชียงใหม่), คุณวิมล แดนสะอาด (ตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬ),               คุณนิรมล เมธีสุวกุล (ดำเนินรายการ)
วันเวลา:
สถานที่:
 
ความเจ็บปวดของชุมชนที่ถูกสั่งรื้อถอน ความเจ็บปวดของเด็กน้อยที่เห็นพ่อถูกยิงต่อหน้า ความเจ็บปวดของสาวปะหล่องที่เกิดเมืองไทยแต่กลายเป็นคนต่างด้าวและที่ดินที่ราชการให้เป็นป่าชุมชน และอาศัยอยู่ในที่เดิมอยู่ๆก็ถูกจับฐานบุกรุกป่าสงวน
ความเจ็บปวดของชุมชนที่ถูกสั่งรื้อถอน ความเจ็บปวดของเด็กน้อยที่เห็นพ่อถูกยิงต่อหน้า ความเจ็บปวดของสาวปะหล่องที่เกิดเมืองไทยแต่กลายเป็นคนต่างด้าวและที่ดินที่ราชการให้เป็นป่าชุมชน และอาศัยอยู่ในที่เดิมอยู่ๆก็ถูกจับฐานบุกรุกป่าสงวน
   
   
บรรทัดที่ 100: บรรทัดที่ 85:
                           ------------------------------------------------------------
                           ------------------------------------------------------------


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๗  
[[เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๗ หัวข้อ:ธรรมชาติของความขัดแย้งและทางเลือกในการจัดการความขัดแย้ง ]] โดย: ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ – ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพระปกเกล้า
หัวข้อ: ธรรมชาติของความขัดแย้งและทางเลือกในการจัดการความขัดแย้ง
 
โดย: ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ – ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพระปกเกล้า
วันเวลา:
สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า


Go slow to go fast ช้าๆได้พร้าเล่มงาม
Go slow to go fast ช้าๆได้พร้าเล่มงาม
บรรทัดที่ 159: บรรทัดที่ 141:
               ------------------------------------------------------------
               ------------------------------------------------------------


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๘  
[[เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๘ หัวข้อ:การสร้างสังคมสันติสุข โดย:รศ.ดร.มารค ตามไท]]
หัวข้อ: การสร้างสังคมสันติสุข
โดย: รศ.ดร.มารค ตามไท
วันเวลา:
สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า


ส่วนประกอบของการเสริมสร้างสังคมสันติสุข คือ การป้องกันความขัดแย้ง การแก้ไขความขัดแย้ง และการสร้างสมานฉันท์
ส่วนประกอบของการเสริมสร้างสังคมสันติสุข คือ การป้องกันความขัดแย้ง การแก้ไขความขัดแย้ง และการสร้างสมานฉันท์
บรรทัดที่ 223: บรรทัดที่ 201:
----
----


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๒
เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๒ หัวข้อ:ปาฐกถาพิเศษ – [[สถาบันพระปกเกล้ากับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย]] โดย: ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ – เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
หัวข้อ: ปาฐกถาพิเศษ – สถาบันพระปกเกล้ากับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย
 
โดย: ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ – เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
วันเวลา:     พิธีเปิดหลักสูตร
สถานที่: พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า


หัวข้อที่ท่านรับเชิญบรรยายคือ “สถาบันพระปกเกล้า(และท่านทั้งหลายและหน่วยงานของท่าน)กับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย” หัวข้อที่เชิญไม่มีวงเล็บ แต่ท่านเติมวงเล็บเข้าไปเพื่อให้พวกเรานักศึกษาที่เข้าเรียนได้ตระหนักและคิดถึงการช่วยจัดการความขัดแย้งในสังคมเพราะเป็นความคาดหวังของสถาบัน
หัวข้อที่ท่านรับเชิญบรรยายคือ “สถาบันพระปกเกล้า(และท่านทั้งหลายและหน่วยงานของท่าน)กับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย” หัวข้อที่เชิญไม่มีวงเล็บ แต่ท่านเติมวงเล็บเข้าไปเพื่อให้พวกเรานักศึกษาที่เข้าเรียนได้ตระหนักและคิดถึงการช่วยจัดการความขัดแย้งในสังคมเพราะเป็นความคาดหวังของสถาบัน
บรรทัดที่ 253: บรรทัดที่ 228:
   
   
------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------
เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๓  
เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๓ หัวข้อ:[[การวิเคราะห์ความขัดแย้ง]] โดย:รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ – อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม
หัวข้อ: การวิเคราะห์ความขัดแย้ง
 
โดย: รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ – อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม
วันเวลา:
สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า


ท่านเล่าว่าเรื่องที่บรรยายวันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวและประสบการณ์จากการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเรื่องของการตั้งหน่วยงานในเบื้องต้นศึกษาความขัดแย้งในนโยบายภาครัฐ (public policy conflict) ซึ่งจะเป็นโครงการที่กระทบต่อประชาชน เช่น โครงการสร้างโรงไฟฟ้า  เป็นต้น เมื่อเรามาลองศึกษาโครงการของรัฐที่กระทบต่อประชาชน แล้วจะเห็นว่า
ท่านเล่าว่าเรื่องที่บรรยายวันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวและประสบการณ์จากการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเรื่องของการตั้งหน่วยงานในเบื้องต้นศึกษาความขัดแย้งในนโยบายภาครัฐ (public policy conflict) ซึ่งจะเป็นโครงการที่กระทบต่อประชาชน เช่น โครงการสร้างโรงไฟฟ้า  เป็นต้น เมื่อเรามาลองศึกษาโครงการของรัฐที่กระทบต่อประชาชน แล้วจะเห็นว่า
บรรทัดที่ 365: บรรทัดที่ 337:
------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๖  
เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๖ หัวข้อ:[[การทำแผนที่ความขัดแย้ง]] โดย:รศ.ดร.ชัญญา อภิปาลกุล – ผู้อำนวยการ สถาบันสันติศึกษา ม.ขอนแก่น และ นักศึกษาหลักสูตร สสสส.๑
หัวข้อ: การทำแผนที่ความขัดแย้ง
โดย: รศ.ดร.ชัญญา อภิปาลกุล – ผู้อำนวยการ สถาบันสันติศึกษา ม.ขอนแก่น และ นักศึกษาหลักสูตร สสสส.๑
วันเวลา:
วันเวลา:
สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า
สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า
บรรทัดที่ 385: บรรทัดที่ 355:
------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๖  
เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๖ หัวข้อ:[[สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่]] โดย:นางจิราพร บุนนาค – อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และนักศึกษาหลักสูตร สสสส.๑
หัวข้อ: สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่
 
โดย: นางจิราพร บุนนาค – อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และนักศึกษาหลักสูตร สสสส.๑
วันเวลา:
สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า


วันนี้เราเรียนกับพี่แจ๋ จิราพร บุนนาค ผู้หญิงมั่น อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ลีลาการพูดเสียงดังฟังชัดจดบันทึกง่าย
วันนี้เราเรียนกับพี่แจ๋ จิราพร บุนนาค ผู้หญิงมั่น อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ลีลาการพูดเสียงดังฟังชัดจดบันทึกง่าย
บรรทัดที่ 447: บรรทัดที่ 414:
ผมบอกน้องว่าผมเป็นเลขานุการรุ่นชั่วคราว ถ้าจะไปในนามรุ่นทำไมผมไม่เห็นรู้เรื่องเลยล่ะ และเรากำลังศึกษาเรื่องสันติวิธีกันอยู่ แล้วเราจะไปเข้าข้างใครได้อย่างไร เราต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่อย่างนั้นจะเท่ากับว่าเราลงไปรบกับเขาด้วย แล้วเราจะแก้ไขปัญหาของชาติกันอย่างไร แต่ใครจะมีความเห็นส่วนบุคคลอย่างไรก็เป็นสิทธิของเขา เพราะจะให้ทุกคนเห็นตามกันไม่ได้ แต่เราต้องอยู่ด้วยกันอย่างสันติบนความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างหลากหลาย
ผมบอกน้องว่าผมเป็นเลขานุการรุ่นชั่วคราว ถ้าจะไปในนามรุ่นทำไมผมไม่เห็นรู้เรื่องเลยล่ะ และเรากำลังศึกษาเรื่องสันติวิธีกันอยู่ แล้วเราจะไปเข้าข้างใครได้อย่างไร เราต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่อย่างนั้นจะเท่ากับว่าเราลงไปรบกับเขาด้วย แล้วเราจะแก้ไขปัญหาของชาติกันอย่างไร แต่ใครจะมีความเห็นส่วนบุคคลอย่างไรก็เป็นสิทธิของเขา เพราะจะให้ทุกคนเห็นตามกันไม่ได้ แต่เราต้องอยู่ด้วยกันอย่างสันติบนความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างหลากหลาย
------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------
เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๒๑  
เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๒๑ หัวข้อ:[[สันติวิธีในสังคมไทย: การรับรู้และความเข้าใจ]] โดย:รศ.ดร.มารค ตามไท – มหาวิทยาลัยพายัพ
หัวข้อ: สันติวิธีในสังคมไทย: การรับรู้และความเข้าใจ
โดย: รศ.ดร.มารค ตามไท – มหาวิทยาลัยพายัพ
วันเวลา:
สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า


ก่อนที่ รศ.ดร.มารค ตามไท จะบรรยายในวันนี้ มีการอ่านบทกลอนผิวสี เป็นภาษาอังกฤษโดยคุณโสภณ องค์การณ์ และหญิงเล็ก ศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ อ่านเป็นภาษาไทย เป็นบทกลอนเรื่องผิวสีที่น่าสนใจซึ่งเด็กผิวดำเขียนว่าเมื่อเขาเกิดมา เขาผิวดำ โตขึ้นเขาก็มีสีผิวเหมือนเดิม ป่วย แก่ เขาก็เหมือนเดิม พวกเขาตายผิวก็ยังเหมือนเดิม คุณเกิดมาผิวขาว เล็กๆผิวชมพู พอคุณป่วยผิวคุณเป็นสีน้ำเงิน พอตายผิวคุณก็เป็นสีเทา แล้วคุณยังมาเรียกฉันว่าพวกผิวสี.....
ก่อนที่ รศ.ดร.มารค ตามไท จะบรรยายในวันนี้ มีการอ่านบทกลอนผิวสี เป็นภาษาอังกฤษโดยคุณโสภณ องค์การณ์ และหญิงเล็ก ศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ อ่านเป็นภาษาไทย เป็นบทกลอนเรื่องผิวสีที่น่าสนใจซึ่งเด็กผิวดำเขียนว่าเมื่อเขาเกิดมา เขาผิวดำ โตขึ้นเขาก็มีสีผิวเหมือนเดิม ป่วย แก่ เขาก็เหมือนเดิม พวกเขาตายผิวก็ยังเหมือนเดิม คุณเกิดมาผิวขาว เล็กๆผิวชมพู พอคุณป่วยผิวคุณเป็นสีน้ำเงิน พอตายผิวคุณก็เป็นสีเทา แล้วคุณยังมาเรียกฉันว่าพวกผิวสี.....

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 23:39, 3 เมษายน 2552

เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๓ โดย:อ.ศรีศักร วัลลิโภดม

การศึกษาชาติพันธุ์น่าจะทำให้เข้าใจจิตใจของผู้ที่มีความขัดแย้งเพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่สามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ถูกจุด หัวข้อบรรยายวันนี้น่าสนใจมาก โดยยอดนักประวัติศาสตร์อย่างอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

ท่านสะกิดต่อมพวกเราให้รู้ว่าการจะไปแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนั้น เราต้องดูให้ถึงแก่นของคนที่เกิดความขัดแย้ง คือดูถึงชาติพันธุ์ของเขา เราต้องมองไปที่กลุ่มคน มองให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะสังคมไทย เราผ่านจากสังคมชาติพันธุ์ที่เป็นชนเผ่า เช่น ม้ง เย้า อีก้อฯลฯ มาสู่สังคมอีกแบบหนึ่งคือสังคมที่ผสมปนเประหว่างสังคมชาติพันธุ์กับสังคมเมือง เป็นเหมือนขนมจีนน้ำยาผสมน้ำพริก (อันนี้ผมว่าเอง) จากสังคมชาวนามาเป็นสังคมอุตสาหกรรม

จากสังคมแบบชาติพันธุ์ซึ่งเป็นสังคมชาวนา(ทำไมเรียกสังคมชาวนา ก็เพราะเป็นการรวมหลากหลายชาติพันธุ์ ต้องใช้ประโยชน์ในทรัพยากรร่วมกัน เกิดการเอื้ออาทรแบ่งปันกัน) มาสู่สังคมแบบอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสังคมกึ่งชาติพันธุ์กึ่งสังคมเมือง

อาจารย์ยกตัวอย่างให้ฟังว่า มีชาติพันธุ์ ลาว เขมร จีน มาอยู่ในชุมชนไทยแห่งหนึ่ง ต่างคนต่างแยกกันอยู่ในพื้นที่ตามชาติพันธุ์ของตน แต่เนื่องจากต้องใช้พื้นที่รวมเช่น หนองน้ำสาธารณะ เขาก็จะค่อยๆปรับตัวเข้าหากัน เป็นการสังสรรค์กันมากขึ้นแล้วมีการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน จึงเกิดการประนีประนอมสังสรรค์กันเพื่อสร้างกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แล้วเกิดความสัมพันธ์ทางการแต่งงาน เพราะสังคมไทย ลาว เขมรเป็นสังคมแบบเดียวกันคือแม่เป็นใหญ่ ผู้ชายถูกดูดเข้าบ้าน เข้ามาช่วยทำงาน เขยต่อเกิดแต่ละชาติพันธุ์จึงเข้ามาสัมพันธ์กัน เมื่อลูกเกิดมาก็ต้องถือว่าเด็กมีที่นี่เป็นมาตุภูมิ นานเข้าก็กลายเป็นไทยไปหมด

การศึกษาชาติพันธุ์จึงต้องย้อนเข้าไปศึกษาถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น (อันเป็นสังคมชาวนา) ด้วยและเราจะสังเกตชาติพันธุ์ได้จากสำเนียงภาษา ถ้าในเรื่องขุนช้างขุนแผน พระไวยไปได้นางสร้อยฟ้าสาวเหนือมาเป็นเมีย เวลาจะด่านางสร้อยฟ้าก็ด่าว่าอีลาว..(ขออภัย มิได้เจตนาดูถูกชาวลาวนะครับ ผมกำลังถอดความจากคำอธิบายของอาจารย์ซึ่งก็มิได้มีเจตนาเช่นนั้นเหมือนกัน เพียงแต่ต้องการอธิบายว่าชาติพันธุ์เราดูที่สำเนียงภาษาครับ ที่ต้องอธิบายเพราะเกรงว่าอาจเกิดความขัดแย้งได้ครับ)

สังคมแบบชาวนานั้นจะอยู่กันเป็นชุมชนแบบหมู่บ้าน พุทธก็มีวัด มุสลิมก็มีมัสยิด อยู่ตามชุมชนนั้นๆ การเรียกว่าบ้านโน้นบ้านนี้ก็จะหมายถึงการเรียกหมู่บ้านซึ่งรวมทั้งวัดและ/หรือมัสยิดเข้าไปด้วย

พอเรามาดูสังคมแบบอุตสาหกรรม มันไม่มีวัฒนธรรมแบบนั้น (แบบเอื้ออาทร) มีแต่กลับไปทำลายสังคมชาวนา เพราะสังคมชาวนาก็เกิดการผสมกลมกลืนไปเรื่อยๆ แต่สังคมอุตสาหกรรมมันเป็นการเทลงไปจนรวมกันไม่ได้ เช่น โรงงานอยู่ทางตะวันออก อยู่ๆก็มีแรงงานจากอีสานมาอยู่ในโรงงาน มันไม่มีการผสมกลมกลืนเพราะนี่เข้ามาจำนวนมาก เหมือนบ้านจัดสรร อาจารย์บอกว่าเหมือนคอกสัตว์ต่างคนต่างอยู่ ดังนั้นเวลาเลือกตั้งทีก็จะได้ใครก็ไม่รู้ที่มาซื้อเสียงเป็นตัวแทนของปวงชน

เราจะมองประวัติศาสตร์กันแบบไหน? ถ้าเรามองแบบการเมืองเศรษฐกิจก็จะเป็นอย่างหนึ่ง ซึ่งมันจะก่อความเลวร้ายเป็นปัญหาเกิดคำว่าชาตินิยม ถ้ามองประวัติศาสตร์แบบวัฒนธรรมก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง อาจารย์ให้เราคิดว่า ไทย ลาว เขมร เดิมไม่มีเขตแดน แต่คนจะไปมาหาสู่กัน เช่น พระธาตุพนม คนลาวเข้ามากราบไหว้พระธาตุพนม พอองค์พระธาตุพนมล้มลงคนลาวพากันร้องไห้ คนลาวเข้าไม่ได้คิดว่าที่ล้มไปนี่ของไทย ถ้าคิดแบบการเมืองเศรษฐกิจมันก็ไม่เศร้าเพราะคิดแบบของใครของมัน แต่ถ้าคิดแบบประวัติศาสตร์วัฒนธรรมก็น่าเศร้า เพราะลาวไทยต่างเคารพศรัทธาในสิ่งเดียวกัน

เขาพระวิหารก็เหมือนกัน เรามองแบบชาตินิยมหรือมองแบบวัฒนธรรม เขาพระวิหารมีผีต้นน้ำ (นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ที่พึ่งตนเองไม่ได้จึงต้องหาที่ยึด ต้องหันไปหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอยู่รวมเป็นพวก) มีชุมชนและคนในชุมชนให้เกียรติยศ เขมรต่ำก็ขึ้นมาเพราะตรงนั้นเป็นเขตการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา ตรงเขาพระวิหารเป็นแหล่งพิธีกรรมใหญ่ เปลี่ยนผีต้นน้ำให้เป็นศรีศิขเรศวร การแก้ปัญหาเขาพระวิหารจึงอยู่ที่มุมมองของคนไทยและกัมพูชาว่า เรามองเขาพระวิหารแบบใด แบบเชิงเศรษฐกิจและสังคม หรือมองแบบวัฒนธรรม คุณคิดหรือยัง?.......การแก้ปัญหาเรื่องเขตแดนต้องลงไปในพื้นที่จริง เพราะที่เราเกิดปัญหากันก็เพราะนั่งขีดเส้นกันในห้องนี่แหละ แล้วมาถึงเรื่องมรดกโลก ที่อยากจะให้เป็นมรดกโลกกันนั้น เรามองกันแบบไหน มองแบบเศรษฐกิจและสังคมก็จะมองว่าเพื่อการท่องเที่ยวการค้าจะเจริญรุ่งเรือง หรือจะมองว่าเป็นมรดกโลกในเชิงวัฒนธรรม อาจารย์สะกิดต่อมว่าไปดูหลวงพระบางหรือยังล่ะ มรดกโลก เริ่มเสื่อมเห็นชัดๆ แม้แต่ที่อยุธยาก็ล้วนมองการเป็นมรดกโลกเพื่อประโยชน์แก่การท่องเที่ยวทั้งนั้น การจะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหรือไม่อาจารย์ฝากเป็นข้อคิดให้ดูดีๆ อย่าตกเป็นเหยื่อของต่างชาติเพราะปัญหามีความสลับซับซ้อน สถานที่ที่เป็นมรดกโลกแต่ละแห่งล้วนมีปัญหาจากการที่ต่างชาติเข้าไปแสวงหาประโยชน์ ฝากให้ทุกท่านคิดเรื่องเขาพระวิหารว่าเป็นเรื่องของต่างชาติเข้ามาแสวงหาประโยชน์และยุแหย่ให้ไทยกับกัมพูชาหรือเขมรทะเลาะกันหรือไม่.... อาจารย์ฝากหลายข้อ รวมทั้งจะไปสมานฉันท์กับใครที่ไหน ต้องรู้จากข้างในเขาก่อน เราเคยศึกษากันไหมว่าในอดีตที่เราทำสงครามกวาดต้อนผู้คนมานั้น เราไม่ได้เอามาเป็นทาส แต่เอามาให้เขาเป็นคนไทย ให้มาอยู่เป็นชุมชนตามวิถีชีวิตเดิม การสร้างวัดขึ้นก็เพื่อหลอมรวมวัฒนธรรมเข้าหากันจึงเกิดความสำนึกท้องถิ่นโดยไม่ได้คิดจะรบกับไทยอีก


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๔ โดย:ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

“ไม่มีสังคมใดไม่มีความขัดแย้ง ดังนั้นจงอย่ากลัวความขัดแย้ง” เริ่มต้นคำบรรยายของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็น่าสนใจแล้ว ท่านอาจารย์บอกว่าสมัยก่อนผู้คนในหมู่บ้านใช้ทรัพยากรร่วมกัน ประกอบอาชีพไปในทางเดียวกัน เช่น ทำนา ก็ต่างทำนาด้วยกัน การใช้น้ำก็เพื่อทำนา จึงเกิดถ้อยทีถ้อยอาศัย แม้จะมีความขัดแย้งก็น้อย ปัจจุบันโลกมันเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างจะเป็นทรัพยากรที่คนอยากจะใช้กันทั้งนั้น แม้ของที่เป็นสาธารณะก็อยากจะใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน เช่น ทางเท้าที่ผู้คนใช้เดินไปทำงาน แม่ค้าก็อยากใช้ขายของ คนอื่นก็อยากใช้เพื่อทำงานบ้าง ก็จะเริ่มเกิดความขัดแย้ง เพราะบางครั้งเราไม่อยากใกล้ชิดแต่ความสมัยใหม่มันทำให้เราต้องใกล้ชิด ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลกาภิวัฒน์จะเห็นได้ว่ามันจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง ลองมาดูวันนี้ ข้าวแพง เกษตรกรว่าดี แต่ผู้ใช้แรงงานบอกว่าผมแย่...แสดงถึงการเกิดความขัดแย้งกับคนในแต่ละฐานะ ทุกวันนี้เราฝันอยากได้สังคมในอุดมคติ อยากได้สังคมแบบมีความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน แต่โทษทีเลิกฝันได้แล้ว เพราะเราเป็นสังคมเมืองไม่ใช่สังคมชนบท มันคนละรูปแบบกัน มาตรฐานเดียวก่อให้เกิดความขัดแย้ง ในแต่ละสังคมมีมาตรฐาน คนเราอาจจะมีจินตนาการได้แต่เรามักจะมีจินตนาการถึงมาตรฐานเดียว เช่น สังคมคนพูดกลาง พอใครพูดไม่เหมือนก็ว่าเขาพูดเหน่อ ผมเพิ่งรู้ว่าภาษาไทยอย่างเดียวมีความแตกต่างกันถึง ๗๐ ภาษา ภาษาใต้ ภาษาเหนือ ภาษาอีสาน ฯลฯ มันเต็มไปด้วยความหลากหลาย แล้วใครนะที่เป็นคนบอกว่าคนภาคอื่นพูดไม่ชัด ดีไม่ดีคนพูดกลางนั่นแหละที่พูดไม่ชัด .มาตรฐานที่เรากำหนดเป็นหนึ่งเดียวแต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่ แล้วเราจะมาทะเลาะกันเพื่อมาตรฐานเดียวกระนั้นหรือ พื้นที่ต่อรอง อาจารย์เน้นว่า ความขัดแย้งต่างๆในสังคมมันเกิดขึ้นได้ แต่ที่สำคัญต้องเปิดพื้นที่ให้มีการต่อรอง ถ้าไม่มีพื้นที่ต่อรองให้เพียงพอมันก็จะเกิดการใช้พื้นที่อื่น เช่น พันธมิตรฯเรียกร้องให้จัดการอย่างโน้นอย่างนี้ แต่รัฐบาลปิดประตูที่จะพูดด้วย เขาไม่มีพื้นที่ต่อรอง จึงต้องออกมาหาพื้นที่ต่อรองบนถนน เช่นนี้เป็นต้น ประเทศของเราในปัจจุบันนี้ไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรมแบบสมัยก่อนแล้ว ไม่ใช่ประเทศชาวนา แต่เป็นประเทศของแรงงาน จึงมีคำถามว่าเมื่อเขาเกิดปัญหาเขาไปต่อรองที่ไหน คำตอบคือสหภาพ แล้วถามต่อไปว่า แล้วเขารู้หรือเปล่า ว่าเรามีสหภาพแรงงานไว้ต่อรองได้

ความรุนแรง “โยฮัน กัลตุง" (Johan Galtung) บอกว่าความรุนแรงมี ๒ อย่าง คือ ความรุนแรงเชิงกายภาพ กับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แต่อาจารย์บอกว่าความรุนแรงเชิงโครงสร้างนั้น ไม่ได้เกิดจากการกระทำของใครคนใดคนหนึ่งแต่มันแฝงอยู่ในโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ชายใช้กำลังบังคับร่วมประเวณีกับภรรยา เพราะวัฒนธรรมเรายอมรับการกระทำที่ผู้ชายกระทำต่อภรรยาของตนเอง (นี่หมายถึงตอนที่ยังไม่แก้กฎหมาย) เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ฟังแล้วทำท่าจะงง แต่ผมเข้าใจว่าคงจะหมายถึงว่าวัฒนธรรมไทยที่ให้ผู้ชายมีอำนาจเหนือหญิง เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แต่การใช้กำลังบังคับน่าจะเป็นความรุนแรงเชิงกายภาพ หรือกรณีเด็กไทยขาดสารอาหารเป็นล้านคน ทั้งๆที่เมืองไทยมีอาหารอุดมสมบูรณ์ เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ผมตีความว่าอาจารย์หมายถึง การที่ผู้คนในสังคมปล่อยปละละเลยให้มีเด็กขาดสารอาหารถึงขนาดนั้น มันเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง หรือกรณีสนามบินสุวรรณภูมิ การใช้ที่ดินในที่ของรัฐไปละเมิดสิทธิชุมชน แต่รัฐบ่ายเบี่ยงไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้เขา ก็เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่แฝงเข้ามาในวัฒนธรรมแบบไม่รู้ตัว หรือในกรณีเกิดเหตุในภาคใต้ มีการกระทำต่อชาวมุสลิมด้วยความไม่เป็นธรรมในเชิงโครงสร้างตลอดเวลา นายอำเภอ ผู้ว่าฯ ก็ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะโครงสร้างมันใหญ่กว่า ยิ่งในอดีต รัฐบาลไม่จัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัดที่ไม่มีผู้แทนของตนให้เพียงพอ ผมก็เห็นว่าเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างเพราะไม่เป็นธรรม หากมามองในความรุนแรงเชิงกายภาพ เราไม่สามารถแยกความรุนแรงทางกายภาพออกจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างได้อย่างเด็ดขาด เพราะความรุนแรงทางกายภาพเกิดจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง จะเห็นว่าสังคมไทยเราเหลื่อมล้ำมากเกินไป ทั้งในทางเศรษฐกิจและทางอำนาจ มันก็เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างครับ ในทางเศรษฐกิจการเมือง ก็ต้องวางแนวทางการพัฒนาใหม่ ต้องกำหนดว่าใครต้องใช้ทรัพยากรก่อนจัดสรรให้ก่อน (เป็นเรื่องการเมือง) แต่ทุกคนต้องมีสิทธิเท่ากัน, ต้องขยายสวัสดิการของรัฐให้ทั่วถึง เช่นให้เด็กได้เรียนทั่วถึง ,ต้องปรับฐานภาษีเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ในทางอำนาจก็ต้องลดการรวมศูนย์ให้ท้องถิ่นมีอำนาจจัดการทรัพยากรของตนเองให้มากขึ้น รัฐจะต้องถอยออกไป อย่าไปตัดสินทำโน่นทำนี่เอง เช่น จะสร้างโรงถลุงเหล็ก ต้องหาข้อมูลทั้งสองฝ่าย ทั้งข้อดีและข้อด้อย และอย่าให้แต่ข้อมูลของฝ่ายที่ต้องการสร้าง (ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลด้านดี) ข้อมูลในส่วนของปัญหาที่จะเกิดตามมาก็ต้องบอกให้ชาวบ้านรู้ด้วย อาจารย์ได้สรุปสุดท้ายว่าการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ต้องเปิดพื้นที่ต่อรองให้มาก การมีพื้นที่มาก ความรุนแรงจะน้อย ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะให้มีการเปิดพื้นที่ต่อรองให้มาก และฝากพวกเราอย่าไปยึดติดกับเทคนิคการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างมันยังอยู่ ยังไม่ได้รับการแก้ไข อย่าลืมว่าความขัดแย้งเชิงโครงสร้างไม่มีทางออก คนจึงใช้ความรุนแรงมาแก้ปัญหา


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๕ โดย:ศ.นพ.ประเวศ วะสี – ราษฎรอาวุโส


ท่านบอกว่าการสร้างสันติสุขควรเป็นวาระของมนุษยชาติ เราควรจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่เรากลับไปถือความร่ำรวยเป็นหลัก ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยิ่งห่างไปทุกที เราจะเห็นความรุนแรงปรากฏอยู่ทั่วไป ถ้าพูดถึงสงครามก็จะเป็นความรุนแรงอย่างโจ่งแจ้ง แต่ในขณะเดียวกันสังคมเราก็มีความรุนแรงอย่างเงียบแฝงอยู่นั่นคือ ความยากจน ความอยุติธรรม ท่านยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกา คนรวยของเขา ๒๐๐ คนมีทรัพย์สินรวมกันมากกว่าคน ๒,๐๐๐ ล้านคนในโลก ท่านบอกว่าศตวรรษหน้าจะเป็นศตวรรษแห่งความขัดแย้ง ที่แคนาดาเขามีศูนย์แก้ปัญหาความขัดแย้งถึง ๑๐ แห่ง ในขณะที่ของไทยแต่ก่อนไม่มี แต่ตอนนี้เริ่มดีแล้วเริ่มจะมีที่ขอนแก่น ที่นี่ตั้งก่อนเลย ที่มหิดล และอีกหลายแห่ง และที่สถาบันพระปกเกล้าได้ตั้งสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล จึงเป็นนิมิตหมายที่ดี ท่านอธิบายให้พวกเราฟังว่าในทางการแพทย์ ถ้าตัดสมองออกจะมีอยู่ ๓ ชั้น มนุษย์มีวิวัฒนาการจากสัตว์ ชั้นในสุดเป็นสมองส่วนหลัง มาจากสมองสัตว์เลื้อยคลาน พวกนี้ไม่มีอารมณ์แต่ใช้สมองส่วนนี้เพื่อความอยู่รอด หิวก็กิน สมองชั้นที่สองเป็นสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสมองส่วนหน้าเป็นสมองส่วนที่ใช้เหตุผล ขณะที่แม่ตั้งท้องลูก ถ้าแม่มีแต่ความหวาดกลัว จะไปกระตุ้นสมองส่วนหลังให้เจริญเติบโต (เด็กก็จะมีสัญชาติญาณดิบ) ถ้าแม่มีความสุขก็จะไปกระตุ้นสมองส่วนหน้า ในทางพุทธศาสนา มนุษย์มีสัตว์ร้าย ๓ ตัว คือ ตัณหา(ความอยาก) มานะ(การใช้อำนาจเหนือผู้อื่น) และทิฐิ (เอาความเห็นของตัวเป็นใหญ่) ถ้าเรากำจัดสัตว์ร้ายได้ สังคมก็รู้รักสามัคคี ในโลกนี้ ตัวโครงสร้างจะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติในทุกอย่าง เช่น ลมหายใจกับไม้ ต่างมีอะตอม โปรตอน อิเล็กตรอน แต่โครงสร้างไม่เหมือนกัน จึงมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน ในความสัมพันธ์ก็เช่นกัน ความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง (Vertical relationship) กับความสัมพันธ์ในแนวราบ (Horizontal relationship) ก็แตกต่างกัน ยิ่งมีความสัมพันธ์แนวราบเท่าไหร่ สังคมนั้นก็จะยิ่งสงบสุขมากขึ้น เรามาลองสังเกตดูสังคมไทย เรามีในหลวง เรารักในหลวง เป็นแนวดิ่ง แต่เราก็มีความขัดแย้งค่อนข้างรุนแรง ศีลธรรมก็ไม่ค่อยดี คาทอลิก รักพระเจ้าก็เป็นแนวดิ่ง แต่ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านก็ไม่สู้ดี พุทธศาสนาเป็นสังคมแนวราบ มีเชื้อพระวงศ์ออกบวชก็เท่ากับลูกชาวบ้าน และสงฆ์ใช้มติเอกฉันท์ ถวายผ้ากฐินต้องถามว่าผ้ากฐินนี้จะถวายให้ใคร ก็ต้องมีพระภิกษุรูปหนึ่งเสนอขึ้นมา เมื่อพระทุกรูปเห็นด้วยทุกอย่างก็จบ แต่ถ้าเกิดมีพระภิกษุแม้เพียงรูปใดไม่เห็นด้วยก็ดำเนินการต่อไปไม่ได้ แต่ปัจจุบันสงฆ์ไทยก็ถูกสังคมไทยครอบ ก็เลยมีแนวดิ่ง วัฒนธรรม คือวิถีชีวิตของชุมชนที่ผูกพันต่อสิ่งแวดล้อม ในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมถ้าเราเอาเงินเป็นตัวตั้งเราก็จะสู้เขาไม่ได้ แต่ถ้าเราเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้งเราก็จะเสมอกัน ปัญหาทางภาคใต้ มีปัญหาจากส่วนกลางกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ยิ่งมีการปกครองแบบรวมศูนย์ก็จะยิ่งเพิ่มความขัดแย้งให้กับท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ท่านได้ฝากให้พวกเราคิด ท่านพูดถึงโครงสร้าง พูดถึงความสัมพันธ์ พูดถึงวัฒนธรรม เพื่อให้เรามองปัญหาหลากหลายมิติ สิ่งที่ท่านชี้ให้พวกเราเห็นก็คือ การสร้างเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน ถ้าเราสร้างเจดีย์จากยอดก็ไม่มีวันสำเร็จ ของไทยเราพยายามสร้างจากยอด (ให้คนรวยได้ประโยชน์มากแล้วความรวยจะล้นมาสู่คนจน) แต่ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งไม่สำเร็จเพราะช่องว่างจะห่างออกไปเรื่อยๆ การศึกษาทำให้คนทิ้งถิ่น ไม่มีการพัฒนาท้องถิ่นก่อน จึงมักไม่สำเร็จ ประชาธิปไตยก็เช่นกัน เราไม่สร้างประชาธิปไตยจากฐาน เราไม่สร้างที่ท้องถิ่นก่อน แต่เราไปเอาจากยอดก่อนมันก็เกิดปัญหา ท่านได้ยกตัวอย่างหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จคือหมู่บ้านหนองกลางดงที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีสภาชาวบ้าน ๕๙ คน มีผู้ใหญ่บ้านร่วมด้วย มีการนำเอาข้อมูลประกอบการมาทำแผนทุกด้าน เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข ประชุมสภาประชาชนเพื่อขออนุมัติแผนและขับเคลื่อนแผนกันเอง เขาจึงประสบความสำเร็จ ท่านมองว่าการจะสร้างเจดีย์จากฐานนั้น ต้องเริ่มมองที่ชุมชนท้องถิ่น โครงสร้างเศรษฐกิจชุมชน โครงสร้างพัฒนาทุนนิยม โครงสร้างทางสถานการณ์ (โครงสร้างระบบบริการสุขภาพ คนไข้ฟ้องแพทย์เยอะ เป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง เนื่องจากมีระบบทุนนิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูง เครื่องมือราคาแพง ค่ารักษาพยาบาลจึงแพง รักษาไม่ดีก็นำเข้ามาสู่ความขัดแย้ง) และอีกประการหนึ่ง ความที่มีระบบที่ซับซ้อนมีองค์ประกอบเยอะ จึงเกิดสภาพโกลาหลเป็นประจำ เกิดปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก อาจก่อให้เกิดลมพายุได้ เช่น จอร์จ โซรอสค้าเงินอยู่ที่อเมริกา ก็ทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยเสียหายมาแล้ว หรือกรณีหุ้นร่วง มันอาจเกิดโดยไม่รู้สาเหตุ เช่น เราอยู่ของเราดีๆ แต่เกิดเงินเฟ้อ ทำให้จนลงเฉยๆ มันไม่ใช่เรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่อยู่ๆทำดี ก็จนได้ ท่านเปรียบให้พวกเราฟังอย่างน่าสนใจว่า เราเผชิญความยากลำบาก เราเหมือนไก่อยู่ในเข่ง หันไปหันมาก็จิกตีกันเอง ส่วนคนก็สนใจแต่ไก่ ไม่สนใจเข่ง(โครงสร้าง)

เมื่อพวกเราจะเข้ามาเรียนรู้และออกไปช่วยแก้ปัญหาสังคมนั้น ขอให้เราระลึกว่า - เราถูกสอนให้เอาความรู้เป็นตัวตั้ง แต่ควรเปลี่ยนแปลงเอาใจเป็นตัวตั้งแล้วเอาความรู้ตาม - ให้เราไปเรียนรู้ในสถานการณ์จริง - เรียนรู้เข้าไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน ๓ ระดับ คือระดับบุคคล ระดับองค์กร และระดับสังคม สุดท้ายท่านฝากความหวังการแก้ปัญหาภาคใต้ว่าพวกเราจะทำได้สำเร็จ ท่านพูดถึงแค่นี้ก็มีเสียงพึมพัม ท่านเลยถือโอกาสสอนว่าถ้าคิดจะทำอะไรแล้วคิดในเบื้องต้นว่าทำไม่ได้ มันก็ไม่มีวันสำเร็จ แต่ถ้าคิดว่าทำได้และตั้งใจทำมันก็จะประสบความสำเร็จ แต่จะช้าหรือเร็วมันก็แล้วแต่สถานการณ์



เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๖ “เรื่องราวของชีวิตบนความขัดแย้ง: ผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจอันเกิดจากการจัดการกับความขัดแย้งที่ไม่เหมาะสม” โดย:ด.ญ.อาซีลา ดอรอแตน้องพิมจากกลุ่มลูกเหรียง),คุณนานวล ปะหล่อง(น้องคำจากบ้านปางแดง เชียงใหม่),คุณวิมล แดนสะอาด (ตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬ),คุณนิรมล เมธีสุวกุล (ดำเนินรายการ)

ความเจ็บปวดของชุมชนที่ถูกสั่งรื้อถอน ความเจ็บปวดของเด็กน้อยที่เห็นพ่อถูกยิงต่อหน้า ความเจ็บปวดของสาวปะหล่องที่เกิดเมืองไทยแต่กลายเป็นคนต่างด้าวและที่ดินที่ราชการให้เป็นป่าชุมชน และอาศัยอยู่ในที่เดิมอยู่ๆก็ถูกจับฐานบุกรุกป่าสงวน

คุณวิมล เริ่มเล่าถึงผลกระทบอันเกิดจากการพัฒนาเมือง ในปี ๒๕๓๕ จะมีการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์ให้เป็นเหมือนชอง เอลีเซ่ เพื่อทำให้แถวนั้นเป็นเมืองน่าอยู่ จะเอามาจัดสวน แถวนั้นก็จะมีป้อมมหากาฬ ลานเจษฎาบดินทร์ โลหะปราสาท ฯลฯ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าชุมชนสมัยก่อนจะอยู่ใกล้ทั้งวัดทั้งวัง มีการสำรวจพื้นที่ทำกินในปี ๒๕๓๒ ปี ๒๕๓๕ ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแถวนั้น ซึ่งมี ๑๐๒ หลังคาเรือน ปี ๒๕๓๗ ให้ชาวบ้านไปรับค่ารื้อถอน โดยจะให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ชานเมือง ใกล้ฉะเชิงเทรา แต่เกิดปัญหาว่าย้ายไปแล้วจะให้เขาทำอะไร โรงเรียนของลูก ที่ทำมาหากิน ค่าก่อสร้างบ้านใหม่สารพัดค่าใช้จ่าย ๔๐ ครอบครัวยอมย้ายไป แต่ที่เหลือก็ยังคงอยู่ในที่ดินดังกล่าว ชุมชนดังกล่าวความจริงมีคุณค่ามากมาย มีบ้านนายทวย อึ๊งภากรณ์ พ่อของดร.ป๋วย ก็อยู่ที่นั่น โรงลิเกโรงแรกของไทยก็อยู่ที่นั่น แต่ไม่มีใครสนใจที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ เราจะให้ชุมชนนี้สลายไปหรือ? กฎหมายเวนคืนออกไปแล้วจะขอยกเลิกบางส่วนไม่ได้หรือ? ทำไมจึงแก้พระราชกฤษฎีกาตรงนี้ไม่ได้? คุณวิมลและชาวชุมชนเขาสงสัย จากนั้นด.ญ.อาซีลา ดอรอแต (น้องพิม) ซึ่งอยู่ที่กรงปินัง ก็ได้เล่าถึงวันที่พ่อของเธอถูกยิงทั้งน้ำตา เธออยู่กับพ่อ ร้องขอความช่วยเหลือจากใครก็ไม่มีใครช่วย พ่อถูกยิงเวลากลางวันแต่ไม่มีใครเป็นพยานให้เลยแม้แต่คนเดียว พอพ่อตาย พี่ชายก็ต้องออกจากโรงเรียนเพื่อมาช่วยแม่ทำงานหาเงิน พี่ชายก็ไปติดยาเสพติดเสียอีก แถมยังเอาทรัพย์สินไปจำนำเสียเกลี้ยง น้องพิมได้ไปอยู่กับกลุ่มลูก เหรียงที่ช่วยปลอบโยนเอาใจใส่ดูแลเธอ เธอจึงมีโอกาสได้เรียนหนังสือ เมื่อก่อนตอนที่พ่อยังไม่ถูกยิง เวลาพี่ๆในกลุ่มซึ่งมีพ่อเป็นตำรวจเขาพูดกันถึงความสูญเสียพ่อ น้องพิมรู้สึกเฉยๆเพราะนึกว่าก็แค่เสียพ่อไปคนหนึ่ง แต่พอเธอเสียพ่อเธอเอง จึงรู้สึกว่ามันหนักเหลือเกินและเข้าใจจิตใจของพี่ๆมากขึ้น ตอนแรกในความคิดของเธอก็นึกว่าพวกข้าราชการนั่นแหละทำ แต่พอพี่ๆเขามาเล่าให้ฟังว่าพวกก่อการร้ายนั่นแหละทำพ่อของพี่ๆเขา เขาก็โดนเหมือนกัน น้องพิมก็สงสัยว่าแล้วใครล่ะเป็นคนทำ มาถึงน้องคำ คุณนานวล ปะหล่องจากบ้านปางแดง เชียงใหม่ ที่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องเป็นพวกเธอที่ต้องรับกรรม ที่ต้องติดคุก ทั้งๆที่เธอเป็นคนไทย เธอเกิดในเมืองไทย แต่พ่อแม่ซึ่งไม่ค่อยรู้เรื่อง บอกเจ้าหน้าที่เวลาเขามาสำรวจว่าเธอเกิดที่พม่า มันเป็นปัญหาจากการสื่อสาร ทั้งๆที่ความจริงพี่สาวเธอต่างหากที่เกิดพม่า ส่วนเธอเกิดในเมืองไทย แล้วทำไมเธอกับเพื่อนนักเรียนของเธอจึงแตกต่างกัน เรียนหนังสือมาห้องเดียวกัน เดี๋ยวนี้เพื่อนเป็นคนไทยเป็น อบต. แต่เธอยังเป็นคนต่างด้าว อีกเรื่องหนึ่งที่เธอเล่าด้วยความเจ็บช้ำน้ำใจ ที่ๆเธออยู่ ถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวน พอมีคนให้จัดการกับพวกบุกรุกป่าสงวน พวกเธอก็โดน ต่อมาในพื้นที่เดียวกันป่าไม้ก็มาให้ทำป่าชุมชน หลังจากนั้นไม่นานก็มีการจับกุมพวกบุกรุกป่าสงวนตรงที่ทำเป็นป่าชุมชนนั่นแหละ แล้วก็พวกเธออีกนั่นแหละที่ถูกจับกุม ตอนเปิดเวทีให้อภิปราย นักศึกษาสนใจซักถามและแลกเปลี่ยนกันอย่างมาก ในส่วนที่เกี่ยวกับป้อมมหากาฬ มีผู้เสนอให้นำเสนอคุณค่าทางวัฒนธรรมให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยความเป็นจริงแล้วถ้าเราจะเว้นชุมชนตรงนั้นไว้มันก็ไม่เสียหายอะไร โดยขายวัฒนธรรมชุมชนไปเลย เวลานักท่องเที่ยวมาชมเมืองเขาคงไม่ต้องการมาดูซากอาคารแต่เพียงอย่างเดียว เขาก็อยากมาศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนโบราณ อาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรก็พูดให้ฟังเรื่อง พรบ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๕๑ เรื่องการพิสูจน์สัญชาติซึ่งใช้พยานเพียง ๒ คนที่เชื่อถือได้ เมื่อแก้ไขที่สัญชาติน้องคำได้ ลูกน้องคำก็ไม่มีปัญหา ส่วนสามีถ้าแก้ปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ไม่ได้ ก็แก้ไขอีกวิธีหนึ่งคือเป็นสามีของผู้มีสัญชาติไทย ก็จะแก้ไขได้อีก มีนักศึกษาอภิปรายกันอีกมากมาย เช่น ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์, คุณอังคณา นีละไพจิตร, คุณหญิงหมอพรทิพย์ โรจนสุนันท์, คุณซูกาโน่ มะทา ส.ส.ยะลา, คุณมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ซึ่งก็เตือนว่าการแก้ปัญหาภาคใต้อย่ามองจากมิติของตัวเอง อย่าเพิ่งสรุปกันวันนี้เลย เพราะสรุปผิดจะเสียเวลาไปอีก ๑๐ ปี ฯลฯ รวมทั้งหลวงพี่ติ๊ก (พระมหานภันต์แห่งวัดสระเกศ) ซึ่งให้กำลังใจคุณวิมล และชุมชนป้อมมหากาฬ เพราะหลวงพี่ติ๊กอยู่วัดสระเกศ ซึ่งใกล้กับชุมชนดังกล่าว ให้กำลังใจน้องพิมให้เข้มแข็ง สุดท้ายก็ให้กำลังใจน้องคำด้วย หลังจากแสดงความคิดเห็นกันจนเกือบห้าโมงเย็น ก็ไม่มีท่าทีว่าจะเลิก ผู้ทำหน้าที่ขอบคุณวิทยากรขึ้นไปยืนบนแท่นรออยู่แล้ว ก็ยังต้องรออยู่พักใหญ่ ในที่สุดก็จบลงด้วยดี หลังจากนั้นอาจารย์เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการหลักสูตรรีบประกาศว่าเรายังมีเรียนอีก ๙ เดือน วันนี้เพิ่งเรียนวันแรกขอให้นักศึกษากลับบ้านได้แล้ว

                         ------------------------------------------------------------

[[เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๗ หัวข้อ:ธรรมชาติของความขัดแย้งและทางเลือกในการจัดการความขัดแย้ง ]] โดย: ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ – ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพระปกเกล้า


Go slow to go fast ช้าๆได้พร้าเล่มงาม วันนี้เป็นอีกวันที่เรียนกับอาจารย์ท่านเดียวแล้วพวกเราหัวเราะกันตลอด เพราะเทคนิคการสอนของ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ท่านสอนโดยยกตัวอย่างเรื่องราวที่คลองลาน ชาวเขา (ปกาเกอญอ)เลี้ยงควายมา ๑๕๐ ปี เลี้ยงแบบปล่อย ทันทีที่รัฐบาลประกาศเขตอุทยาน ห้ามเข้า เพราะจนท.อุทยานเกรงว่าควายจะมาถ่ายมูลในเขตต้นน้ำ และใครจะใช้น้ำนั้นไม่ได้เพราะจะคันและอาจจะมีการแพร่เชื้อ ลูกศิษย์อาจารย์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมภาค ซึ่งมาเข้าอบรมด้วย และมีหลวงพ่อนพดล จึงเข้าไปช่วยแก้ปัญหา โดยใช้ trust (ความเชื่อใจ) หลวงพ่อนพดลจึงให้ลูกศิษย์เข้าไปช่วยพูดคุยกับชาวปกาเกอญอ

ชาวปกาเกอญอเลี้ยงควายเป็นธนาคาร ต้องการใช้เงินก็ขายควายเอาเงินมาใช้จ่าย ชาวบ้านก็กลัวจนท.อุทยานจะยิงควายของเขา ธรรมชาติของควายมันจะกลับมายังที่นอนของมัน แต่มันจะท่องเที่ยวไปตามธรรมชาติ  เข้าไปในเขตอุทยานจะมีแอ่งปลักควาย กลิ่นเหม็น อาจารย์บอกว่าเสียดายไม่มีเครื่องอัดกลิ่นจะได้รู้ว่ากลิ่นโคลนสาบควายนั้นมันเป็นกลิ่นอย่างไร

การแก้ปัญหาต้องดูให้ดีต้องเข้าไปทำความเข้าใจทั้งสองฝ่าย และให้เข้าใจการไกล่เกลี่ย (ไม่ใช่การเกลี้ยกล่อมหรือต่อรอง) และการแก้ปัญหาต้อง Go slow to go Fast (ช้าๆได้พร้าเล่มงาม) ในที่สุดการแก้ปัญหาก็สำเร็จ อบต.ต้องเข้าไปขุดแอ่งน้ำให้ควาย ในเขตอุทยานฯ และชาวบ้านมาช่วยทำรั้วกั้นไม่ให้ควายเข้าในเขตที่อุทยานเขาไม่ต้องการให้เข้า ปลูกต้นสีเสียดมันมีหนามก็จะกันควายได้ ชาวปกาเกอญอก็ยังเลี้ยงควายแบบปล่อยในเขตอุทยานได้ เมื่อทำแล้วต้องติดตาม เมื่อติดตามแล้วก็ทราบว่าปัจจุบันเขาอยู่กันอย่างมีความสุข ความคาดหวังกับความเป็นจริง อาจารย์อธิบายถึงเรื่องกติกาว่า กติกาไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกันแต่ต้องตกลงกันเพื่อให้ความคาดหวังตรงกัน คาดหวังกับความเป็นจริงต้องตรงกัน เช่น หมอทำคลอด ชาวบ้านมีความคาดหวังว่าเข้าไป ๑ คนต้องออกมามากกว่า ๑ คน ถ้าไม่ออกมาสักคนหมอมักจะถูกฟ้อง เราซื้อรถก็คาดหวังว่ามันจะต้องดีทุกอย่าง แต่มันสตาร์ทไม่ติด (พฤติกรรมต่ำกว่าความคาดหวัง) พฤติกรรมที่ต่ำกว่าความคาดหวัง = ความไม่ไว้วางใจ Behavior that does not meet expectation = MISTRUST ถ้าเป็นไปตามความคาดหวังก็เกิดความไว้วางใจพอรับได้ Behavior that meet expectations = ACCEPTABLE LEVEL OF TRUST ซื้อรถใช้ได้ไม่ถึงเดือน ประตูมีเสียงดัง เข้าไปที่อู่ เขาเปลี่ยนรถใหม่ให้ (เกินกว่าความคาดหวัง)เพราะแค่เขาซ่อมประตูให้ก็พอใจแล้ว ถ้าจะซื้อรถใหม่ก็จะใช้รถยี่ห้อนี้ Behavior that exceeds expectation = SUSTAINED TRUST ทุกปีลืมวันเกิด แต่ปีนี้ซื้อแหวนเพชรมาให้ แล้วอาจารย์ก็แหย่ว่า เกินกว่าความคาดหวัง จะเกิดความไว้วางใจยั่งยืน พวกเราก็เถียงกันว่า มันจะจริงเหรอ...แทนที่เมียจะไว้วางใจ เมียจะเกิดความสงสัยว่าไปทำอะไรมา มันผิดปกติ อาจารย์บอกว่า Behavior that exceeds expectations + a supportive relationship = LOYAL TRUST พฤติกรรมที่เกินความคาดหวัง + ความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนกัน = ความไว้วางใจที่จงรักภักดี สันติวิธีคือการทำให้มนุษย์เปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่ต้องสั่ง จะทำอะไรก็ตามต้องสร้าง norm (มาตรฐาน) ของสังคม เช่น พฤติกรรมต่อต้านการสูบบุหรี่ของไทยได้ผล ไม่ว่าจะทำอะไรที่ไหนต้องมีกติกา การเจรจาไกล่เกลี่ยต้องฝึก ในภาคอีสานจะมีเจ้าโคตร (โคตรพ่อโคตรแม่) เวลาเกิดปัญหาก็จะต้องไปหาเจ้าโคตรให้เข้ามาไกล่เกลี่ย ที่ใดไม่มีปัญหา ที่นั่นไม่ความก้าวหน้า ในการเจรจาแก้ไขปัญหาต้องให้ความสนใจที่จุดยืน (POSITION) ซึ่งก็คือ ทางออกที่เหมาะสมของข้อพิพาทในสายตาของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และที่จุดสนใจ (INTEREST)หรือความต้องการ ซึ่งก็คือ สิ่งที่กลุ่มต้องการหรือมีความจำเป็นต้องได้จริงๆจากการเจรจา และในการเจรจาต้องหาจุดสนใจให้พบและให้น้ำหนักไปที่จุดสนใจ อาจารย์ยังได้ยกตัวอย่างกรณีการคัดค้านท่อแก๊สที่สงขลา คนจะนะเขากลัวจะเกิดมลภาวะกับหอยเสียบ และที่จะนะเขาเลี้ยงนกเขาชวา ราคาแพงตัวเก่งๆราคาเป็นล้าน เมื่อมีควันจากอินโดนีเซีย มันมีผลกระทบมาถึงภาคใต้ นกเขาชวาที่จะนะก็ไม่ขัน แสดงว่าจุดยืนคือเขาไม่ต้องการให้สร้าง จุดสนใจคือเขากลัวจะเกิดผลกระทบต่ออาชีพของเขาหรือพูดโดยสรุปว่าเขา ห่วงหอยและนกเขา กรณีคลองด่าน ไปดูหอยแมลงภู่ที่เขาเลี้ยงแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เมื่อโรงบำบัดน้ำเสียสร้างเสร็จ แม้น้ำจะสะอาด แต่เป็นน้ำจืด หอยแมลงภู่อาจจะไม่มาเกาะที่ไม้ไผ่เหมือนเดิมอีก อาจารย์ให้ดูตัวอักษรจีน ไม่รู้อ่านว่าอย่างไร แต่แปลว่าฟังอย่างตั้งใจ พอไปดูองค์ประกอบในตัวอักษรตัวนั้นจะประกอบด้วยคำว่า หู สมอง และจิตใจ แสดงว่าคนจีนเข้าใจเรื่องนี้มานาน คนเราจะเข้าใจผู้อื่นต้องรู้จักฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดอย่างตั้งใจ ซึ่งคนพูดจะรับรู้ได้ว่าคุณพูดด้วยกับเขาหรือเปล่า เช่น ฟังไปพยักหน้าไปแล้วทำเสียง อือ ฮึ..ฮึ..อือม์

ภาพที่ฉายบนจอเป็นกรณีคนประจวบต่อต้านโรงไฟฟ้า “ซุกหุ้นกูไม่ว่า ซุกโรงไฟฟ้ากูไม่ยอม” มีคนสวมเสื้อด้านหลังเขียน “ตายสิบจักเกิดแสน –ฆ่าได้เพียงร่างกาย แต่จิตใจอุดมการณ์ เจริญนับแสนล้าน จักก่อเกิดทั่วเมืองไท” อาจารย์บอกให้จำว่า ตอนนั้นนายเจริญ วัดอักษร แกนนำถูกฆ่า ชาวบ้านก็ยังต่อสู้เรียกร้อง การทำอะไรก็ตามที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้อื่น ถ้าเขาหาทางออกไม่ได้มันจะเกิดปัญหา อาจารย์บอกว่า “เมื่อมนุษย์หาทางออกไม่ได้ มนุษย์จะไปหาความรุนแรง” เราได้ศึกษาประเภทความขัดแย้งว่ามันมีอยู่ ๕ ส่วน คือ ผลประโยชน์(Interest) ข้อมูล (Data) ความสัมพันธ์ (Relationships) โครงสร้าง (Structure) ค่านิยม (Values) ส่วนที่เจรจาได้ก็คือ ๓ ส่วนแรก ส่วนที่ยากต่อการเจรจา คือสองส่วนหลัง เรื่องความเชื่อความรู้สึก คนอิสลามไม่ทานอาหารที่มีหมู เวลาจะทานอาหารเราเห็นว่าไม่มีร้านอาหารอิสลามแถวนั้น เราบอกว่าให้เขาไปกินอาหารที่เป็นร้านธรรมดา แต่ล้างจานให้สะอาดสักสามสี่ครั้ง ก็น่าจะได้ (ลองทบทวนดูว่าเราคิดอย่างนั้นไหม?) อาจารย์บอกว่าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆถึงความรู้สึกของคนอิสลาม ก็คือเรื่องไม้จิ้มฟัน เดี๋ยวนี้มันมีแบบพลาสติก ทนด้วย ใช้แล้วล้างให้สะอาดเก็บเอามาใช้ได้อีก อันนี้อาจารย์ใช้มาแล้วสองเดือน ก่อนมานี่ล้างแล้ว ๓ ครั้งรับรองสะอาด เดี๋ยวพักเที่ยงไปทานอาหาร อาจารย์จะให้ยืมเอาไหม ทุกคนส่ายหน้า ทีนี้เข้าใจความรู้สึกของเพื่อนเราชาวอิสลามหรือยัง กลุ่มพันธมิตรฯพูดถึงอารยะขัดขืน เพื่อความเข้าใจในเรื่องนี้ อาจารย์จึงยกตัวอย่างการต่อสู้ต้นแบบ คือการต่อสู้ของคานธี คานธีกับเรื่องเกลือ ในสมัยก่อนอังกฤษเอาอินเดียเป็นเมืองขึ้น ออกกฎหมายเอาเปรียบคนอินเดีย เกลือเป็นทรัพยากรของประเทศอินเดียแต่คนอินเดียทำเกลือไม่ได้ คานธีจึงต่อสู้ด้วยการต่อต้านกฎหมายทำเกลือ ชาวอินเดียก็ลุกขึ้นมาทำเกลือ แม้จะถูกจับถูกทำร้ายก็คนอินเดียก็ไม่ใช้ความรุนแรง จนอังกฤษต้องยอมเจรจากับคานธีบนโต๊ะเจรจาในลักษณะเท่าเทียมกัน การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้มองอนาคต ในกระบวนการแก้ปัญหามันจะมีแพ้ชนะเสียเป็นส่วนใหญ่ เรามาดูที่กระบวนการที่ใช้ ดูผู้ตัดสิน และผลการตัดสิน ถ้าใช้ความรุนแรง ผู้ตัดสินคือผู้ชนะ ผลคือมีผู้แพ้และผู้ชนะ ถ้าใช้การเผชิญหน้าประท้วงอย่างสันติหรืออารยะขัดขืน ผู้ตัดสินคือผู้ชนะ ผลก็ยังมีผู้แพ้ผู้ชนะ ถ้าใช้การบัญญัติกฎหมาย ผู้ตัดสินคือสภานิติบัญญัติ ผลก็ยังมีผู้แพ้ผู้ชนะ ถ้าใช้การฟ้องร้อง ผู้ตัดสินคือศาล ผลก็มีผู้แพ้ผู้ชนะ ถ้าใช้อนุญาโตตุลาการตัดสิน ผู้ตัดสินคืออนุญาโตตุลาการ ผลก็มีผู้แพ้ผู้ชนะ ถ้าใช้การเจรจาไกล่เกลี่ยโดยมีคนกลาง ผู้ตัดสินคือคู่กรณี ผลจะมีแต่ผู้ชนะ ถ้าใช้การเจรจาไกล่เกลี่ยกันเอง ผู้ตัดสินคือคู่กรณี ผลจะมีแต่ชนะ ถ้าใช้การหลีกหนีปัญหา ไม่มีการตัดสิน ผลก็จะคงสภาพเดิม ท่านอาจารย์ให้นักศึกษาซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๒ คือท่านชาติชาย กริชชาญชัย อธิบายเรื่องการไกล่เกลี่ย ท่านก็เล่าให้ฟังว่าการไกล่เกลี่ยเป็นมาอย่างไร จนกระทั่งปัจจุบันศาลได้นำมาใช้เต็มที่และกำลังก้าวเข้าไปไกล่เกลี่ยในคดีอาญา ส่วนท่านนักศึกษาอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต ๘ ท่านนันทศักดิ์ พูลสุข ก็เล่าให้ฟังเรื่องการทำงานของอัยการในส่วนการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ได้จัดอบรมเรื่องการประนีประนอมข้อพิพาท ,ท่านศุภชัย ใจสมุทร ก็พูดถึงการไกล่เกลี่ยในฐานะทนายความ ท่านศุภมาส พยัควิเชียร กรมคุ้มครองสิทธิฯ ก็อธิบายถึงอำนาจหน้าที่ของกรมคุ้มครองสิทธิ์ฯ นอกจากนี้ อาจารย์ก็ยังเน้นการเจรจาไกล่เกลี่ยว่าต้องดูให้ดีว่าจุดยืนคืออะไร และจุดสนใจคืออะไร การเจรจาที่มีหลักการ (Principled Negotiation) -แยกคนออกจากปัญหา อย่าชี้หน้าด่าคน (Separate people from the problem) -มุ่งประเด็นจุดสนใจหรือความต้องการไม่ใช่จุดยืน (Focus on interests not position) -สร้างทางเลือกหลายทางเพื่อพิจารณา จุดสนใจหรือผลประโยชน์ร่วม (Invent options for mutual gain) - ยืนยันที่จะใช้เกณฑ์ที่วัดได้ในการวัดทางออกอย่างยุติธรรม (Insist on using objective criteria to measure fairness of outcomes) อาจารย์ย้ำว่า การเจรจาให้เขาถอยต้องไม่ให้คู่กรณีเสียหน้า อาจารย์มีคำถามว่า มีเค้ก ๑ ชิ้น จะแบ่งให้ลูก แต่ลูกก็อยากจะได้เค้กชิ้นใหญ่ จะแก้ปัญหาอย่างไร ลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ อาจารย์ให้เล่นเกม ขออาสาสมัคร ๔ คน ผู้ชาย ๒ ผู้หญิง ๒ วางของแต่ละชนิด ๔ จุด ให้คนสี่คนเล่นเกม โดยให้ผู้ชาย ๑ คนยืนที่จุดและบอก ให้อีกคนหนึ่งจด ฝ่ายหญิงก็เหมือนกัน แล้วอาจารย์จะถาม ว่าข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า เป็นอะไร แล้วเอาที่จดมาเทียบกัน และคำตอบที่ได้มาไม่ตรงกันเพราะคำถามใช้คำถามเดียวแต่คนตอบก็ตอบตามที่ตนเห็น เพื่อจะพิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อยืนกันคนละข้าง จะมองไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นข้อควรระวังในการเจรจาไกล่เกลี่ย

ในการแก้ปัญหาถ้าไม่รู้จริงแล้วเข้าไปแก้มันอาจเกิดปัญหา อาจารย์เล่าให้ฟังว่าหมอเอาเครื่องมือแยงจมูกคนไข้ คนไข้ร้องไห้เพราะหมอไม่เคยมีประสบการณ์ว่ามันเจ็บ หมอบอกคนไข้ว่าไม่เจ็บ หลักในการแก้ปัญหาความขัดแย้งให้มองอนาคต ความจริงที่อาจารย์บรรยายมันเป็นหัวข้อธรรมชาติของความขัดแย้ง กับ ทางเลือกในการจัดการกับความขัดแย้ง ซึ่งมันจะผสมปนเปกันไป ในความขัดแย้งต่างต้องการแสวงหาความยุติธรรมคือการทำสิ่งต่างๆให้ถูกต้อง แต่ความยุติธรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนก็การแก้แค้นและต้องการให้มีการชดใช้/ค่าตอบแทน ซึ่งมันเป็นการมองอดีต แต่ถ้าเป็นการซ่อมแซมปรับปรุงแก้ไข สมานฉันท์หรือฟื้นคืนดีหรือเยียวยา,ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นการมองอนาคต และพยายามทำให้มั่นใจว่าสิ่งนั้นจะไม่เกิดอีกครั้ง บางครั้งเราชอบเหมารวมว่าถ้าเป็นพวกนั้นแล้วเชื่อได้เลยว่าเป็นคนไม่ดี อาจารย์เอากระดาษมาจุด ๑ จุด แล้วถามว่ามองเห็นหรือไม่ เราตอบว่ามองไม่เห็น อาจารย์ก็เลยบอกว่าเหมือนกับพระกระทำผิดองค์เดียว ออกข่าวใหญ่โต พระที่เหลืออีกสองแสนองค์ เป็นไง?

             ------------------------------------------------------------

เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๘ หัวข้อ:การสร้างสังคมสันติสุข โดย:รศ.ดร.มารค ตามไท

ส่วนประกอบของการเสริมสร้างสังคมสันติสุข คือ การป้องกันความขัดแย้ง การแก้ไขความขัดแย้ง และการสร้างสมานฉันท์ เริ่มต้น รศ.ดร.มารค ตามไท พูดถึงแนวคิดทางวิธีการศึกษาอบรมแบบ Prescriptive ซึ่งเป็นแบบการนั่งฟังบรรยายอย่างเดียว โดยมีสมมติฐานว่า -ศูนย์กลางการฝึกอบรมอยู่ที่ความรู้ของวิทยากร -ความเชื่อชุดนี้ของวิทยากรสามารถถ่ายทอดโดยตรง แบบรู้มาบอกไป -ความรู้ชุดนี้เป็นสากล -วิทยากรจะเป็นผู้กำหนดหัวข้อ แต่มักไม่ค่อยได้ผล ยิ่งถ้าเป็นการอบรมข้ามวัฒนธรรมก็ยิ่งแล้วใหญ่ ส่วนวิธีที่พวกเรากำลังตั้งหน้าตั้งตาศึกษากันอยู่นี้เป็นแบบ Elective ซึ่งเป็นแบบช่วยกันดึงออกมาแล้วบอกไป -ผู้เข้าอบรมมีความรู้ติดตัวมาแล้ว -มองการอบรมเป็นกระบวนการที่มุ่งสร้างรูปแบบต่างๆออกมาจากทรัพยากรที่ติดตัวมากับผู้รับการอบรม -วิทยากรเป็นผู้ประสานความสร้างสรรค์ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แล้ว Elective มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ข้อดี ก็คือ ได้ใช้ความรู้ที่มาจากบริบททางวัฒนธรรมของปัญหาเอง ข้อเสีย ก็คือ อาจไม่มีโอกาสเรียนรู้ของใหม่ คราวนี้ก็มาถึงเนื้อหาที่อาจารย์พูดถึง ซึ่งก็คือส่วนประกอบของการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ๑.การป้องกันความขัดแย้ง (Conflict prevention) ซึ่งมีหลายวิธี ถ้าการป้องกันไม่ดีก็เกิดความขัดแย้ง และวิธีการป้องกันก็ยังแยกเป็นระยะยาว แบบยั่งยืน และแบบเฉพาะ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกัน ก็เช่น กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยที่มีหน่วยศึกษาความขัดแย้ง ๒.การแก้ไขความขัดแย้ง (Peace making) ถ้ามีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็ต้องใช้ข้อ ๒. ถ้ายังไม่เกิดก็ใช้ข้อ ๑. ในส่วนการแก้ไขความขัดแย้งนี้มีกลไก คือ การไกล่เกลี่ย และการพูดจากัน (Dialogue) ๓.การสร้างสมานฉันท์ (Peacebuilding) อุปสรรคต่องานทั้งสามแบบ -กิเลสมนุษย์ เกิดจากความอยาก ถ้าเราต้องการความจริง ต้องตั้งสมมติฐานในสิ่งตรงกันข้าม แล้วหาข้อพิสูจน์มันจะไม่เกิดความลำเอียง -อคติสังคม บางทีเราตอบคำถามไม่ได้เพราะมีคำพูดหรือการกระทำที่กระทบความรู้สึกผู้อื่น พูดแล้วทำให้เขาเจ็บ -กระบวนทัศน์ (paradigm) ต่างๆที่ฝังรากลึก การออกไปจากกระบวนทัศน์นั้นยากที่สุด เช่น กระบวนทัศน์ของความเป็นไทย สร้างมาแล้วออกไม่ได้ แค่ตั้งคำถามยังไม่ได้เลย กระบวนทัศน์จะตอบด้วยเหตุผลไม่ได้เพราะมันมีความสมบูรณ์อยู่ในตัว แล้วถ้าเกิดความขัดแย้งที่มีกระบวนทัศน์ฝังรากลึก จะทำอย่างไร? อาจารย์บอกว่า การจัดการต้องสร้าง paradigm ใหม่ซึ่งต้องใช้เวลา แต่บางครั้งมันไม่มีเวลารอให้แก้ ถ้าเราเจอคำตอบที่ว่า “อัตลักษณ์ของผมคือปกป้องไม่ให้เกิดอัตลักษณ์อื่น” กรณีอย่างนี้เจาะยากครับเพราะเท่ากับเขาปิดประตูการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เลย งานจัดการกับอุปสรรคมีอยู่ ๓ มิติ ๑.มิติทางอภิปรัชญา (ธรรมชาติของมนุษย์) ก่อนสร้างสังคมสันติสุข เรานึกว่ามนุษย์อยู่กันอย่างไรบ้าง? ธรรมชาติของมนุษย์สร้างข้อจำกัดให้เราในการหาวิธีการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความขัดแย้งหรือไม่? เป็นความฝันหรือความเป็นไปได้ อาจารย์ฉายภาพให้เราดู เป็นภาพ Peaceable Kingdom สังคมสันติสุขต้องให้รู้ความหมายว่าอย่างไร ในภาพมีแกะ วัว อยู่กับสิงโต เด็กอยู่กับเสือ โดยไม่มีการทำร้ายกัน รักและห่วงใยกันมาก (ดูในภาพ) หรืออีกภาพหนึ่ง ชื่อ ไฮดาไกว ผู้สร้างปฏิมากรรมชิ้นนี้คือ บิล รี๊ด เป็นปฏิมากรรมสังคมสันติสุข มีผู้โดยสาร ๑๓ คนอยู่ในเรือ มีแม่หมี หัวเป็นหมีตัวเป็นมนุษย์ มีพ่อหมี แม่หมี มีกัตส์เป็นหมาป่า มีนกอินทรี มีผู้โดยสารแกล้งนกอินทรี เจ้านกอินทรีจึงไปจิกผู้โดยสารอีกคนหนึ่ง ในเรือมีชายแก่ถูกเกณฑ์มาพายเรือโดยไม่สนใจว่าเรือจะไปที่ไหน สักแต่พาย มีอีกาชื่อซูย่าถือหางเสือ กำกับทิศทางได้แต่ไม่สามารถทำให้เรือเคลื่อนที่ได้ บางทีอีกาก็ขี้เล่น คัดหางเสือให้ไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการ ไม่มีทิศทาง เรือก็เริ่มมีปัญหา ผู้โดยสารอยู่ตรงกลางสวมหมวก ถือไม่เท้า ความสำคัญอยู่ที่ไม้เท้าที่มีรูปสลักของทั้งสิบสามคน มีหน้าที่อย่างเดียวคืออย่าให้เรือล่ม แบบนี้รักและห่วงใยหรือไม่ไม่รู้ (ดูในภาพ)

	๒. มิติทางจริยศาสตร์ (ควรจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร) เช่นบางครั้งเรากับเพื่อนจะเดินทาง เราจะไปสาย ๑๗ เพื่อนบอกไปสาย ๒๕ ดีกว่า แต่พอถามเข้าจริงๆเรากับเพื่อนจะไปคนละทาง ขึ้นรถสายเดียวกันไม่ได้ ดังนั้นการแก้ปัญหาก็ต้องให้รู้จุดหมายตรงกันเสียก่อน มีคำถามว่าเราพร้อมจะจ่ายเท่าไหร่สำหรับสันติสุข เป็นคำถามที่ใหญ่มาก เราต้องการให้สังคมสันติสุขอยู่ในลำดับไหน ที่สำคัญก็คือต้องรู้ว่าเป้าหมายคืออะไร วิธีการคืออะไร บางทีเอาวิธีการนำหน้าเป้าหมาย ไปยึดติดกับวิธีการ บางทีก็อาจทำให้ลืมไปได้ว่าแท้จริงแล้วเราต้องการอะไร

๓. มิติทางวิญญาณวิทยา (ทำอย่างไรจึงจะเกิดสันติสุข) เราจะพัฒนาการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีอย่างไร? บางสังคมมีวัฒนธรรมไม่เหมือนกัน ที่เราบอกว่าอยากให้เขาทำอย่างไรกับเรา เราก็ต้องทำอย่างนั้นกับเขาบางทีมันก็ใช้ไม่ได้ เหมือนฝรั่งบางทีเราไปช่วยเขา เขาหาว่าเราไปดูถูก ในขณะที่วัฒนธรรมของเรา เมื่อเห็นผู้สูงอายุเราอยากช่วย เพราะนี่คือการทำความดี “เมื่อวัฒนธรรมแตกต่างกัน การกระทำก็ต้องต่างกัน” แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการพัฒนาประชาธิปไตย? เรามีข้อสันนิษฐานว่าระบบประชาธิปไตยนั้นอยู่กันอย่างสันติสุข (Democratic peace hypothesis) สังคมประชาธิปไตยด้วยกันมักไม่ทะเลาะกัน หรือในสังคมประชาธิปไตย หากมีปัญหามักไม่ค่อยขัดแย้งกัน บางคนว่าสมมติฐานนี้น่าจะเป็นจริง แต่บางคนก็บอกว่ามันประเมินไม่ได้ อาจารย์มารค บอกว่า ความหลากหลายทางวัฒนธรรมกับประชาธิปไตย มันเหมือนน้ำกับน้ำมัน UNESCO เองออกปฏิญญายอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่อ่านแล้วไม่เข้าใจว่า UNESCO ยอมรับว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีจริง หรือยอมรับว่าความหลากหลายมันดี น้ำกับน้ำมันมันเข้ากันไม่ได้ พอทิ้งไว้มันก็แยกส่วน ประชาธิปไตยอาจจะไม่เข้ากับระบบวัฒนธรรม เช่น ผู้นำตามธรรมชาติบางระบบมีกระบวนการหล่อหลอมในอดีตมายาวนาน แต่พออ้างประชาธิปไตย ผู้นำนั้นก็อาจจะไม่ได้รับการยอมรับเท่าเดิมอีก เพราะในระบอบประชาธิปไตย สงสัยถามได้ (แต่ระบบเก่าไม่ต้องถามให้เชื่อผู้นำอย่างเดียว) คำว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมไม่ได้หมายความถึงความหลากหลายทางเครื่องแต่งกาย ศิลปะ แต่หมายถึงความหลากหลายทางด้านคุณค่า การจัดลำดับความสำคัญก็เช่นกันมักจะเกิดปัญหา เพราะลำดับความสำคัญของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน คนมักจะมองว่าเรื่องของตัวมีความสำคัญมากกว่าคนอื่น แนวทางที่อาจใช้ Dilemma การก้าวข้ามวัฒนธรรม อาจจะเป็นการก้าวข้ามประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม หารูปแบบประชาธิปไตยที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย คำว่าก้าวข้ามวัฒนธรรม - ไตร่ตรองในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับวัฒนธรรมของเรา ตัวเราถูกกำหนดในอดีต เราถูกสอนอะไรที่ไหน มันถูกวัฒนธรรมจับมาตั้งแต่ต้น คำว่าก้าวข้ามไม่ได้หมายความว่า “ทิ้ง” แต่แปลว่าไม่ยึดมั่นถือมั่น - หาวิธีชื่นชมในวัฒนธรรมของตัวเราโดยไม่ให้วัฒนธรรมเป็นกรงขัง ซึ่งนำไปสู่การรู้จักปล่อยวางวัฒนธรรมของเรา ถ้าวัฒนธรรมเหมือนกรง นกที่อยู่ในกรงมันก็ไม่อยากออกไปจากกรง แม้เอาออกไปก็จะบินกลับมาเข้ากรงอีกเพราะรู้สึกปลอดภัย - เราสามารถก้าวข้ามประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมได้โดยให้ความสนใจกับเรื่องFraternity (ความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวในกลุ่มพลเมืองและเป็นตัวเชื่อมความรู้สึกระหว่างกัน) ระหว่างประชาชน มีเสรีภาพ มีความเสมอภาค และมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว แต่ Fraternity เป็นเรื่องยากจึงเกิด Rule of Law เข้ามาแทนที่ ให้กฎหมายเข้ามาดูแล มีอะไรเกิดขึ้นก็จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกฎหมาย ไม่ต้องห่วง เรื่องเขาเป็นทุกข์ไม่เป็นไร ให้กฎหมายเข้าไปช่วยดูแล ขับรถไปตามถนนเห็นคนเดือดร้อนไม่หยุดช่วย แจ้งตำรวจไปดูแล ผมรู้สึกว่ามองว่าชีวิตมนุษย์มันกระด้างเกินไปหรือเปล่า... - ทิ้งหลัก Separation of Religion and State (หลักแยกศาสนาออกจากรัฐ) สู่สังคมสมานฉันท์ สังคมสมานฉันท์มีลักษณะอย่างไร? - ทุกคนในสังคมรู้สึกว่าวัฒนธรรมเฉพาะของตนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมรวมของสังคมเท่าๆกับวัฒนธรรมอื่นในสังคม (ต้องไม่มีใครรู้สึกว่าไม่เกี่ยว) - ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคม สามารถแสดงออกได้ในสาธารณะทุกมิติ เช่น ภาษา การแต่งกาย พิธีกรรมทางศาสนา ฯลฯ ยกเว้นเฉพาะเรื่องของการใช้เหตุผล ในมิตินี้ ทุกส่วนของสังคมยอมใช้เหตุผลสาธารณะร่วมกัน - ทุกคนในสังคมมีสถานะเป็นพลเมืองเต็มที่ รวมทั้งรับทราบถึงสิทธิและความรับผิดชอบที่ตามมา - ทุกคนในสังคมมีความหวังในการที่จะปรับฐานะทางเศรษฐกิจของตัวเองและครอบครัวให้ดีขึ้นได้ ในมุมมองของอาจารย์ ท่านบอกว่าต้องเข้าใจว่าสังคมสมานฉันท์นั้น ๑. ไม่ใช่สังคมอุดมคติ ควรจะต้องเป็นสังคมที่เป็นไปได้ ๒. ไม่ใช่สังคมไทยในอดีต ๓. ไม่ใช่สังคมที่ทุกคนรักและห่วงใยกัน มีคำถามว่าแล้วจะนำพาสังคมไทยไปสู่สังคมสมานฉันท์ได้อย่างไร? อาจารย์ไม่ตอบตรงๆแต่เปรียบเทียบให้เราฟังว่า อดีตเป็นเหมือนเมฆที่ทอดเงาคลุมสังคมอยู่ สิ่งแรกที่เราต้องทำคือ ต้องหาวิธีออกจากเงานี้ให้ได้ เพื่อแสงสว่างจะได้ส่องลงมาถึง แล้วเราก็จะสามารถเริ่มสร้างลักษณะสังคมสมานฉันท์ได้ ปัญหาของประเทศในเอเชียก็คือ จัดการกับอดีตไม่ได้ อีกคำที่อาจารย์พูดถึงคือ สันติภาพกับความเป็นธรรม No Peace without Justice อย่ามาพูดถึงสันติภาพ จนกว่าจะมีความเป็นธรรม สันติภาพที่ไม่มีความเป็นธรรม ไม่ใช่สันติภาพแท้ แม้บางประเทศจะมีปัญหาสู้รบกันเพื่อแบ่งแยกดินแดนและได้แยกประเทศออกไปแล้ว แต่ก็ยังรบราฆ่าฟันกันอยู่ ก็แสดงว่ายังไม่มีความเป็นธรรม สันติภาพจึงยังไม่เกิด ขณะนี้มีการบัญญัติศัพท์ใหม่ คือ Just Peace – สันติภาพที่เป็นธรรม


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๒ หัวข้อ:ปาฐกถาพิเศษ – สถาบันพระปกเกล้ากับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย โดย: ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ – เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า


หัวข้อที่ท่านรับเชิญบรรยายคือ “สถาบันพระปกเกล้า(และท่านทั้งหลายและหน่วยงานของท่าน)กับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย” หัวข้อที่เชิญไม่มีวงเล็บ แต่ท่านเติมวงเล็บเข้าไปเพื่อให้พวกเรานักศึกษาที่เข้าเรียนได้ตระหนักและคิดถึงการช่วยจัดการความขัดแย้งในสังคมเพราะเป็นความคาดหวังของสถาบัน เป็นที่ทราบกันว่าความขัดแย้งเป็นธรรมดาของมนุษย์ ขัดแย้งในครอบครัว เพื่อนฝูง ที่ทำงาน กลุ่ม ฯลฯ การแก้ไขปัญหาในอดีตจะใช้อำนาจที่เหนือกว่ามาแก้ปัญหาความขัดแย้งเช่นผู้บังคับบัญชา แก้ปัญหาความขัดแย้งของลูกน้อง สั่งให้คืนดีกันและสงบทั้งสองข้าง ฌอง ฌาร์ค รุซโซ บอกว่าการปกครองเกิดจากการแย่งผลประโยชน์สาลีเกษตร จึงต้องมีผู้มาตัดสินแบ่งผลประโยชน์ ยกให้ผู้นั้นเป็นกษัตริย์ จึงเป็นการปกครองโดยผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า การออกกฎหมายจึงเขียนขึ้นมาเพื่อยุติความขัดแย้ง ศีลจึงถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนขัดแย้งกันในสังคม ฐานคิดนี้มาจากตะวันตก เริ่มมาตั้งแต่อาณาจักรโรมัน มีการปราบปรามเผ่าต่างๆเพื่อรวมเข้ามาในจักรวรรดิ เมื่อรวมเข้ามาอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มก้อนจึงเกิดสันติภาพ เรียกว่า Roman Peace ต่อมาอาณาจักรโรมันก็ถูกพวกบาบาเรียนทำลาย และก็พัฒนามาเรื่อย จนเกิดทฤษฎีอำนาจรัฐเป็นอำนาจสูงสุด แล้วก็พัฒนาความคิดจนเกิดความคิดอยากมีรัฐบาลโลกหรือสันนิบาตโลก แล้วพัฒนามาเป็นสหประชาชาติ แต่ก็ยังทำให้โลกสงบอยู่กันอย่างสันติไม่ได้ เหตุการณ์ ๑๑ กันยายน หรือที่เรียกว่า ๙-๑๑ เกิดขึ้นก็เพื่อตอบโต้อำนาจรัฐ ในปัจจุบันมีคดีขึ้นสู่ศาลมากขึ้น ก็ย่อมแสดงว่าความขัดแย้งยังคงเพิ่มขึ้น การจัดการความขัดแย้งควรจัดการด้วยการมีส่วนร่วมของคนที่เสมอภาคกัน หันมาดูในพุทธศาสนา เมื่อพระสงฆ์สวดระงับอธิกรณ์ ภิกษุที่สวดอธิกรณ์จะต้องเป็นภิกษุที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ทำหน้าที่ ทางตะวันตกเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งแก้ไขไม่ได้ก็มาเอาแนวคิดทางตะวันออกไปใช้ มีการนำแนวความคิดป้องกันความขัดแย้ง แต่เดิมรัฐจะทำอะไรก็สั่งไป แต่เดี่ยวนี้ต้องลงไปฟังความเห็นของประชาชนก่อน ที่เรียกว่า Public Hearing ในศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ เป็นยุคประชาธิปไตยแบบเสียงข้างมากแต่เคารพเสียงข้างน้อย Majority Rule – Minority Right แต่ในยุคปัจจุบันพัฒนามาเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participation) ซึ่งเชื่อว่ามันจะเป็นเครื่องมือป้องกันความขัดแย้งในอนาคต การจัดสรรทรัพยากรจึงสมดุลและเป็นธรรม และที่สุดก็จะยั่งยืน ในประเทศไทย ปี ๒๕๔๙ คนรวย ๒๐ % ของประเทศไทย เป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติประมาณ ๕๘ % เศษ ส่วนคนจนมีรายได้เพียง ๓.๘% ความขัดแย้งยิ่งมากขึ้นเมื่อรัฐบาลเอาคนจนมาเป็นฐานทำประชานิยม ชนชั้นกลางเกิดความรู้สึกว่าถูกกีดกันออกจึงวิพากษ์วิจารณ์แต่กลับถูกปิดช่องการวิพากษ์วิจารณ์ จึงก่อให้เกิดรัฐประหารเมื่อ ๑๙ กันยายน มันไม่ใช่เรื่องเอานายกคนเก่าหรือไม่ แต่มันเป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็จะยังไม่จบ ความขัดแย้งที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยังไม่รู้อนาคต กลไกการมีส่วนร่วมก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีผลจริงจัง กลไกทางกฎหมายก็ยังมีการเลือกข้าง ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหม่มีการสนับสนุน แต่ไม่ได้เหลียวแลชาวนา คนจน คนกลางขายข้าวได้ราคาแต่ชาวนาขายข้าวไม่ได้ราคาเพราะการกำหนดราคามาจากที่อื่น คนไทยรู้จักพลิกแพลงให้ตัวเองได้ประโยชน์ เพราะจะเข้าหาผู้ใหญ่ ผู้ใช้กฎหมายเพื่อขอความช่วยเหลือไม่ให้บังคับเอากับตน สิ่งเหล่านี้อาจารย์บอกว่าอย่าไปท้อแท้ เพราะมันยังมีสัญญาณที่ดี คือการที่ชุมชนต่างๆแก้ปัญหากันเองอย่างได้ผล ศาลก็ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ สถาบันการศึกษาก็ให้ความสนใจกับการจัดการความขัดแย้ง เช่น สถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น โดยเฉพาะหลักสูตรที่พวกเราเรียนกันอยู่นี้ก็ได้รับความสนใจมาก หน้าที่ของเรา ๑. ระบุความขัดแย้งและสาเหตุ ศึกษาทั่วประเทศว่าขัดแย้งเรื่องอะไร สาเหตุมาจากอะไร การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง กรณีศึกษาของจริงทั้งที่แก้ไขปัญหาสำเร็จและล้มเหลวโดยสถาบันฯต้องสร้างเครือข่าย ๒. เผยแพร่สิ่งที่เรารู้เห็นร่วมกัน รวมทั้งเทคโนโลยีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ตอนนี้สถาบันพระปกเกล้าเองก็หันมาดูเรื่องการเมืองภาคพลเมืองด้วย หลักสูตรที่เราเรียนต่างจากหลักสูตรอื่นอย่างไร - ต้องการให้ผู้เรียนและผู้สอนเรียนรู้การแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน - สถานที่เรียนจะไม่ใช่ห้องเรียนเหมือนหลักสูตรอื่น จะอยู่ในรถ ในโรงแรม ในพื้นที่ ฯลฯ - ไม่ได้ต้องการให้ทำเอกสารส่วนบุคคล แต่จะเน้นเอกสารกลุ่มที่ได้จากการคิดร่วมกัน - มีหน้าที่ร่วมกันนำสิ่งที่ค้นพบเอาไปเผยแพร่ใช้แก้ปัญหาในสังคม และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้ในสังคมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่ขัดแย้งและไม่ขัดแย้ง - หลักสูตรนี้ไม่คิดเงิน แต่หลักสูตรอื่นคิดเงินเพื่อต้องการให้นักศึกษาเป็นภาคีช่วยกันทำงาน และทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยมีทางออก

	ผมฟังอาจารย์บรรยาย โน้มน้าว จิตใจทำให้เคลิบเคลิ้ม มุ่งมั่นที่จะนำความรู้ที่เรียนมาไปช่วยแก้ปัญหาสังคมเท่าที่คนไทยคนหนึ่งและข้าราชการคนหนึ่งอย่างผมจะพึงมี  ผมจึงตั้งใจบันทึกย่อวิชาที่เรียนมาเพื่อให้ทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่านบันทึกนี้ได้ประโยชน์ไปด้วย และหากท่านทั้งหลายได้ศึกษาและมีความตั้งมั่นที่จะช่วยกันในการที่จะทำให้สังคมของเราอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข นั่นก็ถือว่าผมได้ใช้ทุนคืนสถาบันไปบ้างแล้ว


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๓ หัวข้อ:การวิเคราะห์ความขัดแย้ง โดย:รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ – อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม


ท่านเล่าว่าเรื่องที่บรรยายวันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวและประสบการณ์จากการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเรื่องของการตั้งหน่วยงานในเบื้องต้นศึกษาความขัดแย้งในนโยบายภาครัฐ (public policy conflict) ซึ่งจะเป็นโครงการที่กระทบต่อประชาชน เช่น โครงการสร้างโรงไฟฟ้า เป็นต้น เมื่อเรามาลองศึกษาโครงการของรัฐที่กระทบต่อประชาชน แล้วจะเห็นว่า การตัดสินใจของรัฐในการทำโครงการที่กระทบต่อประชาชนเป็นแบบกำหนดนโยบายจากส่วนกลาง (โดยไม่ฟังเสียงความต้องการของประชาชน) ประกาศโครงการ (ที่ต้องการจะทำ) และปกป้องเพื่อให้ดำเนินการได้ (เมื่อเกิดปัญหาขึ้น รัฐก็จะปกป้องตัวเองโดยประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อให้เห็นแต่ข้อดีของโครงการ ใครไม่เห็นด้วยก็จะกลายเป็นผู้ร้ายไป) การพัฒนาจากระบบเกษตรสู่ยุคอุตสาหกรรม จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง เช่น ปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรม มลภาวะ อากาศ น้ำ กากของเสียอันตราย ไปสร้างที่ไหน ชุมชนก็ไม่อยากให้มี ปัจจัยที่ทำให้ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น คือ การเจริญเติบโตหรือถดถอยทางเศรษฐกิจ มีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น/ผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากขึ้น จึงเรียกร้องสิทธิมากขึ้น การสื่อสารมวลชน เกิดเหตุที่ไหนรู้ไปทั่วโลก ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม อิทธิพลจากต่างประเทศ ในส่วนภาครัฐจะต้องเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับสาธารณชน เพราะรัฐจะมองว่าประชาชน - ไม่มีการศึกษา - ไม่สามารถเข้าใจในโครงการต่างๆได้ - หากไม่เห็นด้วย คือผู้ขัดขวางการพัฒนา - การเคลื่อนไหวใดๆจะถูกมองว่ามีผู้อยู่เบื้องหลัง (การตอบสนองให้ความสนใจกับปัญหาของเขา กับการที่ไม่ให้ความสนใจ จะเกิดผลที่ต่างกัน) - เป็นม็อบรับจ้าง (เรื่องบำรุง คะโยธา มีคำถามว่าทำไมมีการประท้วงที่ไหนก็เห็นแต่หน้าบำรุง เขาก็บอกว่าชาวบ้านเดือดร้อน ต้องการผู้นำ และคนที่เดือดร้อนมักจะวิ่งมาหาประจำ) รูปแบบการแก้ปัญหาทั่วไปจากอดีตถึงปัจจุบัน เมื่อมีปัญหาก็จะ ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการ ๒. จัดทำโครงการแก้ปัญหา ปัญหา ๑ ปัญหา ๒ ปัญหา ๓

     	กรรมการ ๑		กรรมการ๒			กรรมการ ๓

โครงการ ๑ โครงการ ๒ โครงการ ๓

	(ซึ่งความจริง การเกิดปัญหามันอาจเชื่อมโยงกัน จะมาตั้งกรรมการแต่ละชุดทำโครงการทีละโครงการ แก้ทีละปัญหาไม่ได้ ต้องคิดในเชิงระบบ)

ข้อขัดแย้งมีอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในสังคมไทย เราสังเกตไหมว่าเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย การเมืองไทยทำอย่างไร อาจารย์ชี้ให้เรามองเห็นว่า การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในเมืองไทย แก้ปัญหาในวงราชการด้วยการกลั่นแกล้งข้าราชการ แก้ปัญหาความน่าเชื่อถือของนักการเมืองโดยการโกหก แก้ปัญหาคนจนด้วยการดูถูกคนจน (รมต.มหาดไทย พูดว่าคนจนควรซื้อซี่โครงไก่มาต้มจะได้คุณค่าทางอาหารและรสชาติดี) แก้ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินโดยจะให้บรรทุกมากขึ้น แก้ปัญหาสถานเริงรมย์เปิดเกินเวลาด้วยการขยายเวลา แก้ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงด้วยการให้สัมภาษณ์ไปวันๆ วิธีควบคุมฝูงชนแบบใหม่ เป็นภาพสุนัขตำรวจงับประชาชน ปิดหูปิดตาปิดปาก (คิดใหม่ ทำใหม่) / ตาบอดคลำช้าง (เป็นภาพ อ.วันนอร์จับหางช้าง แล้วพูดว่าปัญหาทางใต้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่) อาจารย์เล่าให้ฟังว่าที่นิวซีแลนด์ การจะเปลี่ยนทำเนียบเอกอัครราชทูตเป็นสถานทูตนั้น ไม่ใช่จะทำได้ง่ายๆ ต้องสำรวจความคิดเห็นและให้คนเห็นชอบจึงจะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะมันเกิดผลกระทบ หากมีงานที่สถานทูต ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องรถที่จะเข้ามาในซอย ต้องใช้เวลาประมาณ ๒ ปี จึงสำเร็จ ถึงตอนนี้ อาจารย์ก็ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเรื่องการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งที่ใช้ในรัฐบาลปัจจุบัน คุณสุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การมีม็อบปัจจุบันไม่มีการรับฟังความคิดเห็น ไม่มีการเจรจาจึงแก้ปัญหาไม่ได้ คุณเตือนใจ ดีเทศน์ พูดถึงอำนาจ ๓ ฝ่าย รัฐสภา (ยังทำอะไรไม่ได้ ตั้งกรรมาธิการก็ตั้งไม่ได้) โรงถลุงเหล็กของสหวิริยา มีความขัดแย้งก็ยังแก้ไขไม่ได้ ในส่วนของรัฐบาล(ฝ่ายบริหาร) ความทุกข์ของประชาชน ไม่ได้รับการแก้ไข จึงเกิดการประท้วง แต่ถ้าเข้าใจก็ไม่น่าจะเกิดปัญหา


ทำไมสาธารณชนควรมีส่วนร่วมในปัญหาความขัดแย้ง สนับสนุนการตัดสินใจ Support decision/commitment หาทางออกที่ดีกว่า Better solution เพื่อความยุติธรรม Fairness Go slow to go fast ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ตอนเริ่มต้นยอมเสียเวลาประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน เมื่อเขาเข้าใจก็จะไม่คัดค้าน หากสร้างไปก่อนเหมือนกับเขื่อนปากมูลก็จะมีปัญหา รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ม.๕๖ “ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ” ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้ทุกฝ่ายพอใจ คนไทยไม่ชอบการเผชิญหน้า แต่ชอบนินทาลับหลัง สังคมไทยไม่มีวิธีแก้ไขความขัดแย้ง (ขณะนี้เอาพลังมวลชนมาสู้กัน) กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบตะวันตกใช้ไม่ได้กับสังคมไทย จึงพอจะเห็นได้ว่า ยากที่จะทำให้ทุกคนพอใจ ความขัดแย้งจัดการได้ถ้า.. ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันและร่วมหาทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ให้เวลาเจรจาแบบมีหลักการ ประสานความร่วมมือ ลดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากประชากรเพิ่ม ทรัพยากรน้อย ปัญหาการถือครองที่ดิน ปัญหา GMO เพื่อนบ้านเราปลูกกันเต็มไปหมดแล้ว ปัญหาเขื่อน ปัญหาป่าไม้ ดร.อิศรา ศานติศาสน์ พูดถึงว่า ที่อาจารย์ว่า ประชากรเพิ่ม ทรัพยากรน้อยนั้น เห็นด้วยว่าประชากรเพิ่ม แต่ทรัพยากรน้อยนั้นไม่แน่ แต่ที่แน่ๆการแบ่งปันทรัพยากรไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจารย์ก็เห็นด้วย ในส่วนของกรอบการวิเคราะห์ความขัดแย้ง (Conflict Mapping or Conflict Analysis Framework) ทำไมต้องมาวิเคราะห์ความขัดแย้ง ก็เพราะเมื่อเกิดความขัดแย้ง ปัญหาก็คือจะมีความสับสน ความสัมพันธ์ของฝ่ายต่างๆเปลี่ยนแปลงไป บางทีเฉียบพลันรุนแรง ผลที่ตามมาอาจจะเกิดความรุนแรง จึงต้องมีการวิเคราะห์ความขัดแย้ง โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Conflict mapping (อเมริกัน) หรือ Conflict Assessment Framework (แคนาดา) มีคำถามว่าใครจะเป็นคนใช้กรอบวิเคราะห์ความขัดแย้ง และใช้เพื่ออะไร ถ้าเราเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง เราจะใช้เพื่อทำความเข้าใจความขัดแย้งในมุมมองของตัวเอง หรือคู่กรณีจะใช้ร่วมกันเพื่อเข้าใจว่าคู่กรณีอีกฝ่ายมีความคิดอย่างไร ถ้าเราเป็นคนกลางก็ใช้เพื่อทำความเข้าใจความขัดแย้งและเป็นเครื่องมือในการหาทางออกร่วมกัน อาจารย์บอกว่า เวลาที่จะดูหรือวิเคราะห์ความขัดแย้ง ให้ดู - สภาพของความขัดแย้ง - ใครเกี่ยวข้องบ้าง - สาเหตุ มาจากอะไร - ความเชื่อที่แตกต่างกัน - เป้าหมาย ผลประโยชน์ - พลวัตของความขัดแย้ง - บทบาทแนวโน้ม (เป็นของนักวิชาการท่านหนึ่งชื่อ Paul Weir) นักวิชาการอีกคนหนึ่งโปรเฟสเซอร์ เดนิส ซันโดเล่ บอกว่าให้ดู ๓ ส่วนหลัก ๑. ใครเกี่ยวข้อง? ประเด็นปัญหามีอย่างไร? วัตถุประสงค์คืออะไร? ๒. ในระดับตัวบุคคล ระดับสังคม ระดับนานาชาติ อำนาจในการตัดสินใจแก้ปัญหา เป็นอย่างไร? ๓. มีวิธีคิดและจะจัดการอย่างไรบ้าง? อาจารย์บอกให้ศึกษาเพิ่มเติมในเอกสารที่แจก กลุ่มผู้ไกล่เกลี่ยจากแคนาดาเขาทำและเอาไปใช้ได้ผล และอาจารย์ได้นำมาทดลองใช้ในบ้านเรา บางอย่างก็ใช้ได้ผลดี เวลาเราวิเคราะห์ให้ดูว่า ๑) ประเด็นปัญหาคืออะไร ๒) แต่ละปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร ๓) ศึกษาความเป็นมา ๔) แนวทางที่เคยจัดการมาแล้ว เช่น ในอดีตเคยใช้วิธีการใดแก้ปัญหามาบ้าง อาจเคยมีการจัดเวทีสาธารณะหรือเจรจากันมาก่อน ประสบการณ์เก่าอาจมีผลต่อความรู้สึกของฝ่ายต่างๆ ต่อวิธีการแก้ปัญหา เช่น ไม่จริงใจในการแก้ปัญหา รับปากให้พอผ่านไปแล้วไม่ทำอะไร การแก้ปัญหาก็จะยิ่งยากไปเรื่อยๆ ๕) เป็นความขัดแย้งแบบไหน ๑. ความขัดแย้งที่มาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร สาธารณชนหรือสื่อมวลชนมีความเห็นอย่างไร ความไม่มั่นคงทางการเมืองก็มีส่วนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพื่อหาเสียง

           ๒. ความขัดแย้งที่มาจากผลประโยชน์ แต่เขาจะรวมถึงความกลัว ความกังวล ความห่วงใย ความต้องการ 

๓. ความขัดแย้งเรื่องข้อมูล (ความน่าเชื่อถือของข้อมูล การตีความหมายที่แตกต่างกัน) ๔. ความขัดแย้งจากค่านิยม (เช่น ความเชื่อ ศาสนา) ๕. ความขัดแย้งเรื่องโครงสร้าง (ชนชั้นทางสังคม กฎหมาย สิทธิ พลัง) เราต้องดูต่อไปอีกว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง? มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร? หาผู้เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุดและดึงเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุดมากกว่าที่จะกีดกันเขาออกไป (ถ้าจำนวนกลุ่มเขามีมากก็ต้องให้เขาแต่งตั้งตัวแทน แต่ต้องตรวจสอบตัวแทนด้วยว่าเป็นตัวแทนจริงๆหรือเปล่า มีกี่กลุ่ม ครบทุกกลุ่มหรือไม่) เรามาดูลงลึกไปอีกนิดนะครับ อาจารย์บอกว่าเมื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาได้แล้ว ก็ต้องดูต่อว่า ๑.ใครเกี่ยวข้องบ้าง - ใครเกี่ยวข้องบ้าง - ผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวข้องในฐานะส่วนบุคคลหรือในนามกลุ่ม - ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนได้-เสียอย่างไร โดยทั่วไป จะมีกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ และ NGO เพื่อมาคอยช่วยเหลือ และเมื่อรู้ว่าใครแล้วก็ต้อง ๒.ดึงเข้าร่วม - หาผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด - ให้กลุ่มคัดเลือกตัวแทนกันเอง - เปิดทางให้สาธารณชนมีส่วนร่วมและตรวจสอบได้ - ถ้ารู้ผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่มได้ ผลประโยชน์ (ความต้องการ ความหวัง ความรัก ความกลัว ความกังวล,สิทธิ ความรับผิดชอบ ความผูกพัน) ของผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายคืออะไร? มีผลประโยชน์ร่วมกันในประเด็นปัญหาสำคัญบ้างหรือไม่? เช่น หวยออนไลน์ กับคนพิการ ต้องให้เขาพูดว่าความกังวลของเขาคืออะไร ๓.นโยบายรัฐบาล - ประเด็นปัญหาต่างๆมีข้อเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ นโยบายของรัฐอย่างไร? - หน่วยงานไหนมีอำนาจตัดสินใจ? การตัดสินใจกระทำที่ระดับใด? บางเรื่องตัดสินที่ ครม.หรือที่ รมต.หรืออธิบดี อาจารย์บอกให้ดูในชีท (ซึ่งลองอ่านดูแล้วน่าสนใจมาก เพราะเหมือนจะเป็นกรณีตัวอย่างว่าถ้าขัดแย้งในระดับนี้ควรทำอย่างไร ควรระวังในเรื่องอะไรบ้าง ก็คงต้องเอามาปรับใช้เป็นกรณีๆไป เพราะเป็นกรณีศึกษาของต่างประเทศ สิ่งสำคัญคือการนำมาใช้ต้องปรับให้เข้ากับบริบทของเรื่องราวนั้นๆ รวมทั้งพื้นที่ และวัฒนธรรม) อาจารย์พูดถึงว่า ในการจัดเวที การสอบถามก็ต้องถามเพื่อให้รู้คำตอบว่า Interest คืออะไร และคำถามที่ใช้ต้องเป็นคำถามปลายเปิด ห้ามใช้คำถามปลายปิด และการทำความเข้าใจกับประชาชนต้องใช้ภาษาอย่างที่ประชาชนเข้าใจง่ายๆ ตัวอย่างปตท.จะวางท่อแก๊สที่เมืองกาญจนบุรี จากพม่าไปราชบุรี ปตท.บอกว่าจะผ่านที่ชาวบ้าน ๑๐ กว่ากม. ชาวบ้านบอกว่า ๒๐ กว่า กม. ชาวบ้านขอดูรายงานผลกระทบ ก็ไม่ให้ดู แต่ชาวบ้านก็หามาจนได้ แล้วนำไปอ่านศึกษาตีความตามความเข้าใจของตัวเอง จนทำให้เกิดประเด็นต่อมาอีกหลายประเด็น ปตท.เคยลงไปจัดเวที Technical Hearing ฟังความเห็นทางเทคนิค แต่การฟังความเห็นแบบนี้กระบวนการไม่ดี เอานักวิชาการขึ้นไปบนเวที พูดกันบนเวทีแล้วพูดกันด้วยศัพท์เทคนิค ชาวบ้านฟังไม่รู้เรื่อง ก็แก้ไขปัญหาไม่ได้ หรือที่เขื่อนปากมูลจะสร้างความสูงในระดับ ๑๐๕ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ชาวบ้านก็เข้าใจว่ามันสูงท่วมต้นมะพร้าวไม่รู้กี่ต้น แค่มะพร้าวต้นเดียวก็ท่วมหัวแล้ว การจะทำเวทีอย่างนี้ต้องออกแบบให้ดี มิฉะนั้นจะแก้ปัญหาไม่ได้ เรื่องเขื่อนปากมูลจะเห็นถึงความขัดแย้ง การแก้ปัญหาของรัฐบาลแต่ละรัฐบาลก็ไม่เหมือนกัน บางครั้งก็ขอไปทีให้พ้นๆไปก่อน ในเรื่องกลุ่มประมง ชาวประมงประท้วงว่าเสียโอกาสในการทำประมง ตกลงจ่ายค่าชดเชย แต่ไม่มีฐานข้อมูลที่ชัดเจน ว่ามีอาชีพทำประมงกี่คน ทำแบบไหน จึงให้เอาเครื่องมือประมงมาแสดง เอาเบ็ดมาได้เท่าไหร่ เอาอวนมาได้เท่าไหร่ เจ้าหน้าที่กฟผ.บอกว่าคนได้ค่าทดแทนสูงสุด ได้ ๙๐,๐๐๐ บาท เฉลี่ยแล้วได้ประมาณ ๑๐,๐๐๐ กว่าถึง ๒๐,๐๐๐ บาท แต่พอไปถามตัวแทนชาวบ้านจริงๆ ชาวบ้านที่ได้น้อยที่สุดได้ ๒๐ บาท ความแตกต่างของข้อมูลทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันอย่างชัดเจน เห็นได้ชัดว่าการแก้ปัญหาอย่างนี้ไม่ถูกต้อง การรับปากว่าจะแก้แล้วไม่ทำ ทำไม่จริง เขาไม่เชื่อถือก็จะมีการประท้วงต่อไป ความขัดแย้งไม่จบเพราะไม่เชื่ออีกแล้ว สรุปการวิเคราะห์ความขัดแย้ง ต้องทำบนพื้นฐานหลักๆ คือ ประเด็นปัญหา, ผู้เกี่ยวข้องคือใคร, ประเด็นมีอะไรบ้าง, วิเคราะห์นโยบายสถานการณ์, ใครมีอำนาจตัดสินใจ ต่อจากนั้นอาจารย์เปิดโอกาสให้ซักถาม ศุภชัย ใจสมุทร : การแก้ปัญหาความขัดแย้งได้มีวิวัฒนาการดีขึ้นมาตามลำดับ และพูดถึงกรณีต่างประเทศที่มีกรณีสร้างโรงงานสารเคมี และใช้วิธีกำจัดโดยฝังกลบ ทำให้ครอบครัวบางครอบครัวเกิดผลกระทบ แต่คนส่วนใหญ่ทำงานที่โรงงานแห่งนั้น คนส่วนใหญ่จึงมองผู้ประท้วงว่าทำไม่ถูก จึงรู้สึกว่าผู้ถูกผลกระทบมักจะถูกโดดเดี่ยว อาจารย์มีความเห็นอย่างไรกับกรณีเส้นเสียงที่สุวรรณภูมิ การแก้ปัญหาโดยการจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเดียวน่าจะไม่ถูกต้อง เพราะเงินที่เอามาจ่ายเป็นเงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศ อาจารย์เห็นด้วยว่าผู้ถูกกระทบมักถูกโดดเดี่ยว เล่าให้ฟังถึงการเดินสายไฟฟ้าในต่างประเทศ ของบริษัทผู้รับเหมา นอกจากจะมีแผนกวิศวกรจะออกแบบกำหนดทิศทาง ก็ยังจะมีแผนกการมีส่วนร่วมของสาธารณชน จะทำโครงการอะไรก็ตามก็จะมีแผนกนี้ไปดำเนินการจนได้ความเห็นว่ามันน่าจะเป็นอย่างนี้ เส้นทางของสายไฟฟ้าอาจจะอ้อมไปอ้อมมาบ้างแต่ไม่เกิดปัญหา กรณีวางท่อแก๊ส ปตท. ที่เมืองกาญจน์ไปราชบุรี ชาวบ้านขอให้อ้อมเส้นทางหน่อยได้ไหม ไม่เข้าชุมชนได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ เพราะออกแบบมาแล้ว ต้องทำให้เสร็จตามกำหนดเพราะทำสัญญากับพม่าไว้แล้ว อีกตัวอย่างหนึ่งที่ขอนแก่นการวางท่อแก๊ส ประสบความสำเร็จไปแล้ว เดิมออกแบบมาสองเส้นทาง แล้วไปขอความเห็นชาวบ้าน แล้วเลือกเส้นทางซึ่งจะต้องผ่านบ้าน ๓๙๗ ราย การเจรจาชดเชยค่าเช่า คุยกันไปกันมาสามรอบ บางบ้านชาวบ้านไม่ยอมให้ผ่าน คนที่ไม่ยอมให้ผ่านก็สำรวจเส้นทางใหม่ แม้จะอ้อมเส้นทางไปบ้าง แม้โครงการจะล่าช้าไป ๒ เดือน แต่ปัจจุบันใช้ได้แล้ว เพราะการฟังเสียงประชาชน ถ้าชาวบ้านไม่ยอมให้ผ่านก็หาทางหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง อาจารย์สรุปว่า ชาวบ้านเขาคิดเป็น อย่าไปดูถูกความคิดประชาชน อย่าไปคิดว่าไม่ต้องฟังความเห็น เอาเงินซื้อผู้นำชุมชนก็ได้แล้ว และที่ผ่านมาล้มเหลวมาหลายโครงการเพราะคิดอย่างนี้ อาจารย์เล่าให้ฟังที่ขอนแก่นเคยมีปัญหาเรื่องสนามบินขอนแก่น ซึ่งอยู่ใกล้เมือง และมีหมู่บ้านจัดสรรไปตั้งอยู่ที่ปลายรันเวย์ มาตั้งทีหลังสนามบิน สนามบินจะขยายรันเวย์เพื่อรองรับเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้น ฝั่งโน้นเป็นที่ทหาร ฝั่งนี้ก็จะใกล้กับชาวบ้าน ขึ้นลงก็จะใกล้หลังคาบ้าน ในที่สุดก็ตัดสินใจขยายมาทางบ้านชาวบ้าน ชาวบ้านประท้วง ร้องเรียนไปทางผู้ว่าฯ มีรายงานผลกระทบทางเสียงโดยให้ชาวบ้านติดเครื่องปรับอากาศจะลดเสียงลงไปได้ ต้องมาดูว่าชาวบ้านมีศักยภาพที่จะติดตั้งได้หรือไม่ มีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องระดับเสียง ในหมู่บ้านนั้นมี ขรก.ของม.ขอนแก่น เอาเครื่องมาวัดเสียงว่าดังเกินกว่ากำหนดหรือไม่ มาวัดตอนที่เครื่องบินขึ้นลงวันละ ๒-๓ เที่ยว ถึงปัจจุบันปัญหาก็ยังไม่หมด สนามบินก็ขยายรันเวย์ไป แต่ปัญหาไม่ค่อยรุนแรงเนื่องจากเครื่องบินขึ้นลงยังไม่มาก ในส่วนสนามบินสุวรรณภูมิมีโครงการมาถึง ๔๐ ปีกว่าจะสร้างได้ แต่ชาวบ้านก็น่าจะรู้อยู่ว่าพื้นที่นั้นไม่น่าจะไปอยู่

ศุภชัย ใจสมุทร: เรื่องสุวรรณภูมิมีการกำหนดว่าถ้าไปอยู่หลังปี ๒๕๔๔ จะไม่จ่าย การประเมินความดังของเสียงใช้หลักการประเมินว่าถ้าบินเต็มที่จะได้ ๗๖ เที่ยวบิน ถ้าเกิน ๔๐ เที่ยวเสียงจะดังเกินที่มนุษย์จะรับไหว มีชาวบ้านอยากให้บ้านตัวเองมีเสียงดังเกินมาตรฐานเพื่อจะได้รับค่าชดเชย การแก้ปัญหาได้มีการประชุมร่วมกันแก้ปัญหาด้วยไตรภาคีสิ่งที่ถามคือ การใช้เงินแก้ปัญหาจะต้องใช้เงิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท เห็นว่าน่าจะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา  อาจารย์ถามถึงที่มาของตัวแทน คุณศุภชัยบอกว่าตัวแทนมาจากพื้นที่เป็นส่วนๆ  อาจารย์จึงบอกถึงว่าต้องมีการกำหนดกติกาว่าตัวแทนมีอำนาจพูด ส่วนผู้สังเกตการณ์ไม่มีโอกาสพูด ไม่งั้นจะเกิดปัญหาต่อเนื่อง
 	อาจารย์: ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลียแก้ปัญหาด้วยการกำหนดเวลาในการบินขึ้นลง ห้ามบินตั้งแต่ ห้าทุ่มถึงตีห้า การแก้ปัญหาต้องใช้เวลา มุมมอง วิเคราะห์ให้รอบด้าน ไม่ใช่เพื่อให้ผ่านไปก่อน เพราะมิฉะนั้นมันจะเกิดปัญหาซับซ้อน หรือแก้ปัญหาไปแล้วทำไม่ได้ก็จะขาดความน่าเชื่อถือ ถ้าตัดสินใจไปแล้วแก้ปัญหาไม่ได้เขาก็จะไม่เชื่อถือกระบวนการ
	ธัญญนิธิ อักษรสิทธิจิรา: ในมุมกว้างภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน อสังหาริมทรัพย์ ส่อไปในทางล้มเหลว บัตรเครดิตมีปัญหา การที่สองฝ่ายมีปัญหาหาจุดจบในการประท้วงกันไม่ได้ หากเป็นเช่นนี้จะทำให้การลงทุนหดหาย หุ้นดิ่งลงเหว เศรษฐกิจจะแย่ เรานักศึกษาหลักสูตรนี้อยากจะช่วยแต่ไม่รู้จะช่วยอย่างไร
	อาจารย์บอกว่าเราต้องมองรอบด้าน เช่น บัตรเครดิต แบงค์ชาติก็พยายามควบคุมว่าคนที่จะทำบัตรเครดิตต้องมีรายได้เท่านั้นเท่านี้ แต่ผู้ประกอบธุรกิจก็ปล่อยให้ใครต่อใครใช้เครดิตโดยเสี่ยง โดยไปเรียกดอกเบี้ยให้แพง ที่มองเห็นประเด็นปัญหาคือจิตสำนึกจิตสาธารณะของบ้านเรามันน้อยลง และบอกว่าวันนี้ก็เห็นตำรวจ สน.มีนบุรี ในเครื่องแบบพูดโทรศัพท์มือถือในขณะขับรถ ในรถก็ยังมีเครื่องแบบ ถ้าผู้รักษากฎหมายเป็นแบบนี้ก็ไปบอกคนอื่นยาก

เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๖ หัวข้อ:การทำแผนที่ความขัดแย้ง โดย:รศ.ดร.ชัญญา อภิปาลกุล – ผู้อำนวยการ สถาบันสันติศึกษา ม.ขอนแก่น และ นักศึกษาหลักสูตร สสสส.๑ วันเวลา: สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า

ในช่วงบ่ายวันนี้เป็นหัวข้อ “การทำแผนที่ความขัดแย้ง” ซึ่งบรรยายโดยนักศึกษาที่เข้ามาเรียนร่วมกับเรา ท่านคือ รศ.ดร.ชัญญา อภิปาลกุล หรือพี่อิ้ง

ท่านมีเรื่องของแผนที่ความคิด MIND MAP สนุกๆมาให้พวกเราทดลองทำกัน ท่านบรรยายให้พวกเราเห็นภาพของสมองที่เป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการรับรู้ เรียนรู้และการเอาตัวรอดของมนุษย์ ในการเรียนรู้ มีคำกลอนด้วย “สุ คือฟัง ตั้งใจรับ สดับจิต จิ คือคิด คิดให้ซึ้ง ซึ่งความเห็น ปุ คือถาม WHAT HOW WHERE WHO WHY WHEN MAP เขียนเป็น แผนที่ ความคิดเอย”

ท่านอธิบายว่าการทำงานของสมองสองซีกไม่เหมือนกัน สมองซีกซ้ายเป็นการจำด้านภาษา จำนวน แบบแผน ประสบการณ์ ส่วนซีกขวาก็จะรับความสุนทรีย์ ความสุข สร้างสรรค์และจินตนาการ ความสามารถของสมองนั้นสัมพันธ์กับการจำ การบันทึกและความคิดสร้างสรรค์ แล้วก็มีชีทให้ลองทดสอบกันดู ในช่วงแรกก็คือความสามารถในการดึงข้อมูลที่มีอยู่แล้วออกมา (เป็นการใช้สมองซีกซ้าย) คำสั่งมีอยู่ว่า “ให้คุณเขียนชื่อเพื่อน ญาติ พี่น้อง ผู้มีบุญคุณ แฟน แฟนเก่า คนที่คุณแอบรัก คนที่คุณทึ่ง คนข้างบ้าน ที่ยังมีชีวิตอยู่ให้มากที่สุด ภายใน ๓ นาที จะเขียนชื่อเล่นหรือชื่อจริงก็ได้ แต่ห้ามมีหลายชื่อในคนเดียวกัน” พี่อิ้งเฉลยว่ามาตรฐานที่คนทั่วไปเขาเขียนกันค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๕๕ ชื่อ พี่อิ้งมาถามผม ก็คงนึกผมหัวไบร้ท์ก็ได้....พอผมตอบ ๑๗ ชื่อ ยังทำหน้าไม่เชื่ออีก


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๑๖ หัวข้อ:สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ โดย:นางจิราพร บุนนาค – อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และนักศึกษาหลักสูตร สสสส.๑


วันนี้เราเรียนกับพี่แจ๋ จิราพร บุนนาค ผู้หญิงมั่น อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ลีลาการพูดเสียงดังฟังชัดจดบันทึกง่าย ท่านเริ่มต้นอธิบายให้เราฟังว่าในอดีตนั้นนโยบายความมั่นคงเป็นเรื่องลับ แต่ในปัจจุบันถือว่าไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของรัฐ เพราะทั้งภายในและภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โลกไร้พรมแดนจึงอยู่กับที่ไม่ได้ ความมั่นคงของชาติจึงต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับคน เน้นสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวกับคน ไม่ใช่เน้นแผ่นดินหรือเน้นรัฐที่ไม่ใช่คน นโยบายความมั่นคงแห่งชาติปี ๒๕๕๐-๒๕๕๔ จึงเน้นที่หัวใจความรักสามัคคีของคนในชาติเป็นตัวตั้งต้น เพราะพบว่าปัญหาต่างๆหลายปัญหา ไม่มีปัญหาใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับคน ปัญหาเกี่ยวกับความต่าง ความคิดเห็น การอยู่ร่วมกันจึงต้องอยู่ในกรอบคิดสันติวิธี ทั้งในเรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์/ ทิศทางการปรับตัวของประเทศไทยในมิติด้านความมั่นคง/ การดำรงรักษาความมั่นคงของรัฐ/ การปกป้องความมั่นคงของประชาชนในรัฐ/ วิสัยทัศน์และผลประโยชน์แห่งชาติ/ นโยบายความมั่นคงเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการใช้สันติวิธีและความร่วมมือของกลุ่มพลังวัฒนธรรมเพื่อลดการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรมและไม่มีการเลือกปฏิบัติ ยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายทั้งในมิติการปราบปรามผู้ที่กระทำผิดและมิติการดำเนินกระบวนการยุติธรรมไม่ย้อนกลับมาเป็นเงื่อนไขของความรุนแรง ฯลฯ การฟังความเจ็บปวด การถูกละเมิดสิทธิเของกลุ่มชนบางกลุ่ม เด็กถูกทรมานอย่างไร คนชายขอบมีปัญหาอะไร การไร้รัฐไร้สัญชาติ พ่อหลวงจอนิ และลูกชายที่ชื่อ พฤ โอโดเชา กะเหรี่ยงปกาเกอญอไม่ค่อยจะมีข้าวกิน แต่เดี๋ยวนี้กระเหรี่ยงมีข้าว มีเสื้อผ้า จากที่เคยมี ๑ ชุด มามีหลายชุด แต่เขาไม่ชอบบางสิ่งบางอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเขา องค์กรที่มาช่วยเหลือเขาคือองค์กรทางศาสนา มาแนะนำให้เขาทำธนาคารข้าว มากินข้าวด้วยกัน ทำให้เกิดความผูกพันขึ้นมา และต่อยอดมาสู่วิถีชีวิตของคนกะเหรี่ยง วันหนึ่งมีเสือออกมาจากป่า มากินวัวของชาวบ้าน แทนที่กลุ่มชาวกะเหรี่ยงไปฆ่าเสือ เขาคิดว่าถ้าฆ่าเสือแล้วเสือตัวอื่นไม่มากินวัวหรือ ทำอย่างไรให้เสืออยู่ในป่าและมีอะไรพึ่งพิงได้โดยมีอาหารให้เสือได้กินโดยไม่มารบกวนวัว (นี่เป็นวิธีคิดแบบสันติวิธีอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ความคิดของเขาน่าทึ่งมาก) การทำนโยบายความมั่นคง จะต้องคิดให้ลึกว่าปัญหาอะไรคือปัญหาโครงสร้าง อะไรเป็นปัญหาเชิงมิติวัฒนธรรม ซึ่งความรู้ที่ได้คือสองอย่างนี้ที่สำคัญที่สุด

ความรู้สึกที่ไม่เท่าเทียม ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้าเป็นคนจนจะถูกดูถูกว่าไม่มีความรู้ และสกปรก ถ้าเป็นคนเล็กคนน้อย (คำนี้พี่แจ๋ใช้ได้อย่างน่ารักมาก) ไม่มีพื้นที่ต่อรอง เขาไม่มีโอกาสเล่าเรื่องความยากลำบากของเขาให้ผู้ใหญ่ฟัง หรือฟังแต่ไม่ได้ยิน ความรู้สึกเช่นนี้ถ้าสะสมมากๆและมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้น ในที่สุดทางเลือกที่จะใช้คือความรุนแรงเพื่อให้ส่วนใหญ่รับรู้ว่าเขาทุกข์ ให้มาช่วยดูแลพวกเขาด้วย ดังนั้น การอยู่ร่วมกันต้องดูแลคนเล็กคนน้อยให้มีความสุข ให้เกียรติ ให้คุณค่า มีพื้นที่ให้สื่อสาร คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปี ๒๕๔๗ เป็นปรากฏการณ์ของความรุนแรง ๒๕๔๗ เป็นการปล้นปืน เมื่อเอามาดูจะแก้ตามปรากฏการณ์ไม่ได้ จึงมาดูเรื่องการเรียน กฎหมาย ฯลฯ การแก้ไขปัญหากลับยิ่งรุนแรงมากขึ้น เราพบว่านโยบายที่ทำร่วมกับภาคส่วนประชาชนมีการประกาศนโยบายจุดยืนโดยรัฐ แต่ไม่ได้กระทำในพื้นที่ สัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนมักไม่ค่อยเห็นในทางปฏิบัติ โครงการหลายโครงการเป็นโครงการ top down ส่วน bottom up ส่วนใหญ่เกิดการระแวงว่างบประมาณนั้นถูกนำไปให้ขบวนการหรือเปล่า เมื่องบประมาณไม่ถูกใช้โดยประชาชน เมื่อรัฐไม่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนคิดอย่างอิสระ การแต่งตั้งบุคคลต่างๆขึ้นมาจึงกลายเป็นเพียงเป็นผู้ปรึกษาแต่ไม่เป็นผลในการปฏิบัติ รัฐไม่ได้มองเห็นคุณค่าของประชาชน เมื่อเกิดเหตุขึ้น ความจริงของรัฐกับความจริงของประชาชนจะไม่เหมือนกัน มาบอกว่าโจรทำ ชาวบ้านเขาสงสัยว่าทำไมเครื่องไม้เครื่องมือไม่น่าจะใช่ของโจร และทำไมจับโจรไม่ได้สักที สิ่งที่ตามมาก็เกิดเป็นข่าวลือตามร้านน้ำชา แต่ปัจจุบันข่าวลือที่เชื่อถือมักออกจากปากผู้หญิงที่เป็นงานกินเหนียว ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงผู้คนเชื่อได้รวดเร็ว ผู้หญิงจะพูดต่อไปได้เรื่อยๆ ตอนนี้จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิง ข่าวลือทุกเรื่องจะเกิดมาที่รัฐทั้งสิ้น ถามว่ารัฐแก้ข่าวลือได้ทุกเรื่องไหม โดยเฉพาะข่าวลือเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม รัฐสามารถแก้ได้บ้าง แต่ไม่สามารถด่วนสรุปความเชื่อของประชาชนได้ ถ้าจะแก้ปัญหาต้องไม่หลบซ่อนความจริง แต่ไม่ประเมินโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ต้องประเมินโดยประชาชน เพราะมันจะมีการพูดแต่ภาพสวยงาม แต่ความจริงที่แฝงเร้นกลับไม่ได้รับการแก้ไขและสะสมมากขึ้น พี่แจ๋บรรยายให้พวกเราฟังอย่างน่าสนใจทุกประโยค ตัวอย่างที่ยกขึ้นมานั้นล้วนแต่เป็นเรื่องน่าสนใจทั้งสิ้น ตัวอย่างกรณีคนกัมพูชาในกรุงพนมเปญ เผาสถานทูตไทยและทำลายสถานที่ประกอบธุรกิจของคนไทย เพราะเป็นความเชื่อสะสมว่าคนไทยเป็นเช่นไร นี่คือตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ไม่ใช่สันติวิธีและมองข้ามความรู้สึกของประชาชน บางทีการใช้เหตุใช้ผลไม่ตรงกัน จึงเกิดใช้อารมณ์ความรุนแรง เพื่อนบ้านเรา ภาคเอกชนในประเทศและต่างประเทศ หลังเกิดเหตุการณ์ที่พนมเปญ ถามคนลาวที่อยู่เวียงจันทร์ ถามคนลาวรู้สึกอย่างไร คนลาวตอบว่า สมน้ำหน้าโดนเสียบ้างก็ดี เพราะชอบดูถูกคนอื่น เลยไม่กล้าไปถามพม่า ทุกคนเป็นตำราเรียนของกันและกัน เคยไปถามหมอบุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ (รองอธิบดีกรมการแพทย์) เรื่องเด็กติดยาเสพติด ปัญหาอยู่ที่ทักษะการเรียนรู้เพื่อเผชิญกับยาเสพติดมีไม่เพียงพอ จึงต้องเสริมสร้าง มิฉะนั้น การยับยั้งชั่งใจจะไม่เพียงพอเมื่อเผชิญกับปัญหา บางเรื่องที่เป็นเรื่องเล็กน้อยทำไมเอามาพูด ตอบได้เลยว่าเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้แหละที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ รัฐจะต้องเข้ามาแก้ไข แต่ถ้ารัฐทำตัวลงมาต่อสู้เองก็จะยิ่งทำให้มีปัญหา แล้วจะเข้าไปจัดการเองก็จะยิ่งยากเข้าไปใหญ่ สภาความมั่นคงแห่งชาตินำเสนอความเห็นวิธีการจัดการที่เหมาะสม การจัดการความขัดแย้งที่ไม่ให้เกิดความรุนแรง คือการส่งสัญญาณสำคัญสำหรับคิดหาทางออก กรณีบ่อนอกหินกรูดไปเตรียมเลือดไว้ที่โรงพยาบาลใกล้เคียง ทุกคนที่มีความพร้อมจะเก็บเลือดไว้ใช้ ติดชื่อกลุ่มของตัวเองไว้ รัฐแปลกใจว่าทำไมทำอย่างนี้ กรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี สภาความมั่นคงแห่งชาติตอบไปว่า การเตรียมเลือดคือการส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะสู้ แม้ชีวิตก็ยอม เมื่อเสียเลือดเขาเตรียมเลือดของเขาไว้แล้ว เขาเกรงว่าเมื่อเกิดบาดเจ็บเขาจะถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการรักษา แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะต่อสู้ด้วยความรุนแรง รัฐจึงต้องมีวิธีการจัดการ ท่อแก๊สที่จะนะก็จะเกิดความรุนแรง จะเข้ามาที่โรงแรมเจบี รัฐถามมาอีก แต่ตอบไปไม่ทันว่าทำไมต้องมีธงสีแดงที่มีไม้ปลายแหลมเป็นด้าม ทำไมต้องผูกผ้าสีแดงเหมือนคอมมิวนิสต์จีน ความระแวงของรัฐเห็น ประชาชนใช้สีแดงจึงสลายม็อบเสียก่อน มีภาพที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศถ่ายไว้ทำให้เกิดปัญหา กรณีพันธมิตรฯ สัญญาณไม่ใช้อาวุธและไม่ใช้ความรุนแรงชัดเจน เมื่อมีกลุ่มที่จะแก้ไขกรณีจะมีผู้ใช้อาวุธ แกนนำจะสั่งให้นั่งลง เพราะนั่นคือสัญญาณของการไม่สู้ การชุมนุมนี้เป็นเรื่องการสะสมความคิดที่แตกต่างกัน ในสันติวิธีบอกว่าต้องให้เกียรติและเห็นคุณค่าของคนเท่าเทียมกัน สิทธิมนุษยชนจะต้องเท่าเทียมกัน การละเมิดสิทธิมนุษยชนเหมือนการละเมิดสัญญาที่ทำไว้กับต่างประเทศ กรณีนายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ส่งสัญญาณด้วยการขอโทษ และประกาศจุดยืนสันติวิธี แต่คำประกาศนั้นไม่มีอะไรเพิ่มเติมในส่วนที่พื้นที่จะปฏิบัติ ทุกอย่างจึงยังเหมือนเดิม ปัญหาชายแดนภาคใต้ ความจริงที่แตกต่างกันระหว่างของรัฐและประชาชน เรากำลังทำให้กระบวนการยุติธรรมใช้ความจริงให้ปรากฏ ให้ใช้เครื่องมือทำความจริงปรากฏได้อย่างโปร่งใส ความระแวงจะไม่มี และจะสามารถฟื้นคืนความไว้เนื้อเชื่อใจ กรณีป้อมมหากาฬ ก็เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ รัฐก็ระแวงประชาชน/ เรื่องคนชายขอบ กฎหมายใหม่ เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องต้องไม่ใช้ดุลยพินิจเกินความจำเป็นคือการไม่ไปรีดไถ เรียกร้องเงินเพื่อผลประโยชน์ให้ตีความเป็นไปอย่างที่ต้องการ การใช้กฎหมายโดยไม่เข้าใจกฎหมาย หรือใช้กฎหมายแบบบิดเบี้ยวแล้วออกนอกกรอบของกฎหมาย แล้วอธิบายให้เข้าใจไม่ได้ มันก็ทำให้เกิดปัญหา การบังคับใช้กฎหมาย กรณีพรก.ฉุกเฉิน เชิญตัวผู้ต้องสงสัย ๓๐ วัน กับคำว่าเชิญตัวกับจับกุมตัว กับระยะเวลาพูดคุยกัน เพื่อให้เกิดการพูดคุยกันอย่างฉันท์เพื่อน เพื่อให้รู้ว่ามีเหตุผลอย่างไร ไม่ใช่เจตนาจะเอามารีดข้อมูล และให้ญาติเยี่ยมได้ในทันที แต่ทางปฏิบัติไม่ยอมให้เยี่ยมในทันที จึงเป็นเรื่องผิดกติกาสากล เมื่อคิดว่าเขาเป็นคนร้าย และต้องการรีดเอาข้อมูลจึงมีการละเมิดกฎหมาย ถูกซ้อมทำร้าย แต่เมื่อถูกปล่อยตัวมาแล้วเขาให้อภัยและต้องการเพียงแค่ว่าอย่าไปทำกับคนอื่นอีก เด็กราชภัฎยะลาที่ถูกซ้อมทรมาน มีหลายวิธี ถูกซ้อมแล้วไม่มีบาดแผลแต่เจ็บปวดอยู่ข้างใน เอาเข็มแทงที่ซอกเล็บ แทงแล้วแทงอีก เด็กเล่าอยากให้คนทำเอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าพวกเราไม่รับความเจ็บปวดของคนอื่น เราจะไม่รู้ว่าเพื่อนร่วมแผ่นดินเจ็บปวดและทุกข์อย่างไร เด็กในโรงเรียนปอเนาะถูกบังคับคว่ำหน้า ก็พูดกันไปทั่ว แต่ภาพเชิงบวกของรัฐก็มีมาก แต่ประชาชนไม่ค่อยพูด รัฐจะประชาสัมพันธ์เองว่าทำดีอย่างโน้นอย่างนี้ก็พูดลำบาก ความน่าเชื่อถือจะเกิดขึ้นหากประชาชนเป็นคนพูด

ขณะนี้คิดว่า สันติวิธี ความมั่นคง และกระบวนการยุติธรรม ต้องอยู่ด้วยกัน ไม่ใช่อยู่เพียงแค่สองอย่าง ความขัดแย้งไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ต้องมาจากความเป็นจริง มีการขับเคลื่อนมาทำให้การแก้ไขประสบผลสำเร็จ กระบวนการยุติธรรมจึงต้องเข้ามาร่วมดำเนินการด้วย เราต้องมีการเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์จากความจริงทั้งหมด ทั้งที่สวยงามและเจ็บปวด แต่อย่าเอาความเจ็บปวดมาเป็นกับดักของการอยู่ร่วมกันไม่ว่าในปัจจุบันหรืออนาคต และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก หากเราสังเกตสังคมเราปัจจุบันจะเห็นว่ามีความเห็นต่างขั้วกันมากมายและลุกลาม ฝ่ายหนึ่งก็อ้างว่าเพราะความชั่วของอีกฝ่ายหนึ่งจึงทำให้เกิดปัญหา อีกฝ่ายหนึ่งก็ว่าเรื่องเล็กไปกระพือให้เป็นเรื่องใหญ่ รักชาติจริงหรือเปล่าหรือทำให้ชาติเสียหายกันแน่ พี่แจ๋เลยบอกว่าความเห็นที่ต่างขั้ว สามารถทำให้ทุกคนไม่เป็นคนละพวก ดังนั้น ต้องรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน พูดคุยกันได้ พูดถึงดุลยภาพหรือความสมดุล ความทุกข์สุขของคนเล็กคนน้อย ความเจ็บปวดเมื่อถูกได้รับการเยียวยา ก็จะสุข ให้อภัย ไม่เจ็บแค้น สังคมไทยมีหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ จะมีประวัติศาสตร์ความจริงของท้องถิ่น และทุกกลุ่มก็จะภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ของแต่ละกลุ่ม หากแต่ละกลุ่มยอมรับความหลากหลาย ความต่าง การอยู่ร่วมแผ่นดินเดียวกันก็จะง่ายมาก สังคมไทยต้องยอมรับว่าเราเป็นพหุวัฒนธรรม จิตนาการของความเป็นไทยไม่ใช่จินตนาการเดียว เมื่อหลายปีมาแล้วถูกมองว่ากระทบต่อความเป็นชาติ เช่น ลูกจีนในอดีต แต่มาถึงปัจจุบัน นโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงเปลี่ยนไป ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อสาย เป็นสิ่งสวยงามที่พัฒนาความมั่นคงความเป็นไทยดีกว่าวัฒนธรรมเดียว ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงเป็นปัญญาที่สร้างสรรค์สังคมได้ เรื่องของภาษาที่บอกความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย เราพูดถึงจินตนาการถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ถ้าเราจะเดินออกจากความขัดแย้งทั้งมวล จำเป็นต้องเริ่มต้นจากภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐ และทำงานด้วยกัน ต้องหลุดจากโจทย์เดิม มีโจรแยกดินแดน ก่อความไม่สงบ มีภาพฉายที่จอเป็นภาพ นักศึกษารามคำแหง สโมสรนิสิตนักศึกษา ร่วมกันเปิดพื้นที่สันติวิธีที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องราวของผู้หญิงถูกข่มขืนที่ปะแต นศ.เปิดพื้นที่ คนประมาณ ๓,๐๐๐ คน เรียกร้องให้รัฐทำความจริงให้ปรากฏ และทำสำเร็จด้วยความเรียบร้อยไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงกับรัฐ แต่การเปิดพื้นที่ครั้งนั้นถูกระแวงว่าเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่กลุ่มโจรให้นศ.ทดลองทำดู นศ.กลุ่มนี้จึงถูกจับจ้องเพื่อหาข่าวเชิงยุทธวิธี จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีพื้นที่เรียกร้องน้อยมาก เพราะจะเกิดการระแวง ถูกจับจ้อง เป็นที่มาของการเกิดความระแวงไม่ไว้วางใจสะสม มีการเสนอการปกครองท้องถิ่นภาคใต้ เดิมมีคำว่าพิเศษ พอเอาคำว่าพิเศษออกก็ดูดีขึ้น ความคิดของสามชายแดนภาคใต้ มี ๒ ความคิด คือกลุ่มหนึ่งต้องการสันติ กับอีกกลุ่มหนึ่งต้องการใช้ความรุนแรง ภาครัฐก็เช่นเดียวกัน ต้องดูว่าการจับกุมผู้กระทำความผิดได้ผลแค่ไหน การทำให้แนวร่วมออกมาให้ร่วมมือกับรัฐ ทำมากแต่ได้ผลน้อย แต่ถ้าทำใหม่ คิดใหม่ในรูปแบบสันติวิธี เอาคนที่อยู่ในขบวนการมาคุยเรื่องการหาทางออกโดยสันติวิธีกับรัฐไทยน่าจะง่ายกว่า การที่รัฐจินตนาการใหม่ การเรียนสองภาษา การยอมรับให้เกียรติ การมีกระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใส จะดึงความไว้เนื้อเชื่อใจกลับคืนมา จะมีกระบวนการ peace talk แต่ยังไม่เปิดเผยในเบื้องต้น และประเทศอื่นที่ได้เคยประสบความสำเร็จ เช่นประเทศสเปน บาร์เซโลน่า พรรคบาสก์กับรัฐสเปน ซึ่งใกล้เคียงกับไทยมากที่สุด จากนั้นพี่แจ๋ก็สร้างบรรยากาศแห่งความตื่นตาตื่นใจด้วยการเชิญคุณพิภพ ธงไชย และคุณศุภชัย ใจสมุทรขึ้นมาร่วมพูดคุยบนเวที แต่น่าเสียดายที่คุณศุภชัยไม่อยู่ ติดภารกิจ เลยไม่ได้มาเรียนในวันนี้ แต่ก็ตื่นเต้นอยู่ดี คุณพิภพ ธงไชย ยอมรับว่าไม่ได้ใช้สันติวิธีเต็มรูปแบบ เพราะใช้สันติวิธีจริงๆทั้งหมดไม่ได้ ข้อมูลที่ได้มาและพูดบนเวทีตรงบ้างไม่ตรงบ้าง บนเวทีก็มีการแก้ไขปัญหากันตลอดเวลา หากใครพูดก้าวร้าว หยาบ ก็จะต้องจัดการกันห้ามพูด และในพันธมิตรก็มีทั้งซ้ายสุดและขวาสุด และเล่าให้ฟังว่าพันธมิตรฯอดทนมาสามครั้ง ที่ธรรมศาสตร์มาก่อกวน มาเปิดอวัยวะเพศ ครั้งที่สองก็โดน ครั้งที่สามโดนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ดังนั้นพอมาถึงสะพานมัฆวานจึงตั้งรับในกระบวนการสันติวิธี


คุณพิภพให้ความเห็นว่าตำรวจต้องทำงานด้วย การต่อสู้กับการสลายม็อบด้วยการตั้งรับให้นอนหงายเป็นการโต้ตอบความรุนแรง เพราะต้องใช้คนถึงสามคน และอาจเกิดปัญหาลวนลามทางเพศ มีการตกลงกันว่า ๕ แกนนำจะยอมให้จับ เหล็กแป๊บต่างๆ ไม้เบสบอล เป็นเครื่องมือของความรุนแรง ก็เอาไปเก็บ ห้ามบุกทำเนียบ นายกฯสมัครพูดถึงการสลายม็อบ สังคมไทยต่อต้านความรุนแรง อดีตรสช.ก็โทร.ไปหานายกฯสมัคร ถ้าใช้ความรุนแรงจะไม่มีแผ่นดินอยู่ คุณจำลองจะสั่งให้หยุดความรุนแรงตลอด ยุทธวิธีตำรวจกั้นที่ไหน เราก็หยุดที่นั่นและนั่งลง มันก็เกิดปัญหาการจราจรติดขัดรัฐบาลต้องแก้ปัญหาการจราจรเอาเอง การกั้นจะทำให้เกิดวงกว้างขึ้น เป็นยุทธวิธีให้รัฐบาลตระหนัก สันติวิธีจะไปที่ไหนก็จะบอกก่อน แล้วไม่เปลี่ยน ต้องตรงไปตรงมา ในคืนที่ศาลสั่งให้รื้อเวที ก็สั่งการภายใน ๑๕ นาที ให้ยึดสะพานมัฆวาน และก็ทำได้สำเร็จ ถ้าจะให้เกิดสันติวิธี ศึกษาทฤษฎีไม่พอ ต้องฝึกด้วย และต้องมีสัตยาเคราะห์ มีวาจาชอบ ยอมรับว่ามีการด่ากันบ้างบนเวทีซึ่งนั่นไม่ใช่สันติวิธี ท่านชาติชาย กริชชาญชัย ถามเรื่อง ใครเป็นกุนซือคิดเรื่องการถอดถอนผู้พิพากษาศาลแพ่ง และถ้าศาลอุทธรณ์ยืนตามจะถอดถอนหรือไม่ และศาลฎีกาพิพากษายืนตามจะถอดถอนผู้พิพากษาฎีกาหรือไม่ ทำไมจึงไม่ใช้วิธีการตั้งข้อรังเกียจตามที่กฎหมายกำหนด คุณพิภพ ยอมรับว่าพลาด แต่ก็ถอนทัน และเป็นเรื่องของอารมณ์ ระหว่างที่มีการไกล่เกลี่ยก็มีการเสนอแนะให้เปิดช่องทางจราจร แต่คำพิพากษาไม่ออกมา ไม่เป็นไปตามที่เสนอแนะกัน โรงเรียนราชวินิตเขาขอเพียงให้รถเข้ามากลับรถได้ ไม่ได้ขอให้ยกเลิกการชุมนุม คนร้องเรียนเรื่องกลิ่น มีการเจรจากับรถเมล์ การแก้ปัญหามีความพอใจในระดับบริหาร คุณพิภพบอกว่าที่พันธมิตรยอมไม่ได้คือคือถ้าต่อไปการชุมนุมในที่สาธารณะจะทำไม่ได้ คำพิพากษาใช้เวลาสองชั่วโมง แล้วศาลให้รื้อเต๊นท์คือเกินกว่าที่ไกล่เกลี่ยกัน หลักการชุมนุมก็ต้องทำให้เกิดการเดือดร้อนซึ่งต้องละเมิดสิทธิบางอย่าง ถ้าประชาชนเห็นด้วยก็จะไม่มีปัญหา ถ้าไม่ทำให้เดือดร้อน รัฐจะมาเจรจาด้วยหรือ คุณเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน ถามว่า แรงกดดันที่พันธมิตรทำสำเร็จไปหลายเรื่อง ทำไมไม่จบเสียที ถ้ามองในภาพรวมเรื่องเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชน ถามว่าอีกนานไหมที่จะมีข้อยุติ คุณพิภพ ตอบเหตุผลว่าที่ยังไม่ยุติการชุมนุมว่า - ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าการชุมนุมทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ - การชุมนุมมีสาเหตุมาจากรัฐบาลทั้งพลังประชาชน ประชาธิปัตย์ หรือชาติไทย - เป้าหมายที่แท้จริง รัฐบาลไม่เคยประกาศจะยุติการแก้รัฐธรรมนูญ - คนที่มาชุมนุมไม่ลดลง เกิดดุลยอำนาจของพลังทางฝ่ายประชาชน จะต้องทำให้กระบวนการยุติธรรมทำงานได้ ตำรวจทำอะไรอยู่ อัยการทำอะไร คตส.ทำอะไร ในวันนั้น มีการแซวกันว่า สงสัยเราต้องลงพื้นที่ไปหาข้อมูลจริงถึงจุดที่ชุมนุมของพันธมิตร และไปดูที่กลุ่มเสื้อแดง พอวันอาทิตย์น้องสาวผมโทร.มาหาว่า ได้ข่าวว่าพวกตัวเอง ๘๐ คน จะไปที่เวทีพันธมิตรเหรอ ผมถามว่าไปเอาข่าวมาจากไหน น้องก็บอกว่าคุณพิภพ บอกว่าอีกสักครู่นักศึกษาการเสริมสร้างสังคมสันติสุขจำนวน ๘๐ คนจะไปร่วมกับพันธมิตร ผมบอกน้องว่าผมเป็นเลขานุการรุ่นชั่วคราว ถ้าจะไปในนามรุ่นทำไมผมไม่เห็นรู้เรื่องเลยล่ะ และเรากำลังศึกษาเรื่องสันติวิธีกันอยู่ แล้วเราจะไปเข้าข้างใครได้อย่างไร เราต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่อย่างนั้นจะเท่ากับว่าเราลงไปรบกับเขาด้วย แล้วเราจะแก้ไขปัญหาของชาติกันอย่างไร แต่ใครจะมีความเห็นส่วนบุคคลอย่างไรก็เป็นสิทธิของเขา เพราะจะให้ทุกคนเห็นตามกันไม่ได้ แต่เราต้องอยู่ด้วยกันอย่างสันติบนความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างหลากหลาย


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๒๑ หัวข้อ:สันติวิธีในสังคมไทย: การรับรู้และความเข้าใจ โดย:รศ.ดร.มารค ตามไท – มหาวิทยาลัยพายัพ

ก่อนที่ รศ.ดร.มารค ตามไท จะบรรยายในวันนี้ มีการอ่านบทกลอนผิวสี เป็นภาษาอังกฤษโดยคุณโสภณ องค์การณ์ และหญิงเล็ก ศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ อ่านเป็นภาษาไทย เป็นบทกลอนเรื่องผิวสีที่น่าสนใจซึ่งเด็กผิวดำเขียนว่าเมื่อเขาเกิดมา เขาผิวดำ โตขึ้นเขาก็มีสีผิวเหมือนเดิม ป่วย แก่ เขาก็เหมือนเดิม พวกเขาตายผิวก็ยังเหมือนเดิม คุณเกิดมาผิวขาว เล็กๆผิวชมพู พอคุณป่วยผิวคุณเป็นสีน้ำเงิน พอตายผิวคุณก็เป็นสีเทา แล้วคุณยังมาเรียกฉันว่าพวกผิวสี..... จากนั้นเราก็มาวิพากษ์บทกลอนผิวสีกัน หลวงพี่ติ๊ก (พระมหานภันต์) ถูกนิมนต์ขึ้นมาวิพากษ์ หลวงพี่บอกว่า เห็นอคติทางชาติพันธุ์ ข้างนอกจะเป็นสีอะไรขอหัวใจเป็นสีขาวก็พอ บังยุบ (มูฮำมัดอายุบ ปาทาน) บอกว่า บทกลอนนี้สะท้อนให้เห็นว่า “เราว่าคนอื่นผิวสี แต่เราไม่เคยดูตัวเราเอง” คุณอังคณา นีละไพจิตร วิพากษ์ว่า บทกลอนนี้ชี้ให้เห็นว่าในโลกนี้ยังแยกพวกเราพวกเขาอยู่ ที่ลาว เขาไม่แยกคนนั้นนุ่งซิ่น คนนั้นนุ่งกระโปรง ถือว่าเท่าเทียมกัน แล้วก็มาถึง รศ.ดร.มารค มาพูดให้พวกเราฟังเรื่อง “สันติวิธีในสังคมไทย การรับรู้และความเข้าใจ” อาจารย์ทบทวนการเรียนรู้ของพวกเราในแบบ Elitcitive และบอกว่าถ้าเรื่องที่พูดคุยกันรับลูกกันมันก็ดี และก็จะพูด ๓ หัวข้อย่อย -ความเข้าใจในสันติวิธีของกลุ่มคนจากภาคส่วนต่างๆ -สันติวิธีในแง่การแก้ไขความขัดแย้ง -สันติวิธีในแง่การต่อสู้เรียกร้อง

ความเข้าใจในสันติวิธีของกลุ่มคนจากภาคส่วนต่างๆ

เวลาถูกเชิญไปบรรยาย อาจารย์มักจะถูกเชิญไปบรรยายหัวข้อ - วิธีจัดการกับม็อบอย่างนิ่มนวล (มิติทางวัฒนธรรมของความนิ่มนวล) ถ้ามีฝูงชนมา มีการกั้น ตำรวจขี่ม้าชน เพื่อเคลื่อนไหวฝูงชน เอาน้ำฉีด อุ้มใส่รถไปขัง นิ่มนวลหรือไม่ สันติวิธีหรือไม่ สังคมไทยตอบอย่างไร ความเข้าใจของคำว่าสันติวิธียังสับสน จึงไม่รู้ว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้เป็นสันติวิธีหรือไม่ บางประเทศแตะตัวถือเป็นความรุนแรง บางที่ไม่ -วิธีจัดการกับความขัดแย้งในเบื้องต้น ถ้าไม่ได้ผลก็ใช้ความรุนแรง (มองสันติวิธีเป็นวิธีการ) -วิธีที่ให้ความชอบธรรมกับกลุ่มผู้ใช้ ตัววิธีการให้ความชอบธรรมกับผู้ใช้

อาจารย์ให้มองคำสองคำ สันติวิธี กับ ความสามัคคี มีลักษณะคล้ายกันอย่างไร คำสองคำนี้มีคุณค่าเป็นกลาง เรานำสันติวิธีหรือความสามัคคีไปสู่ความไม่ดีก็ได้ ถ้ากลุ่มโจรสามัคคีก็จะบรรลุเป้าหมายของกลุ่มโจรนั้น ถ้ามีการพูดถึงสามัคคี ต้องถามทันทีว่า สามัคคีเพื่อจะทำอะไร สันติวิธีจะใช้เพื่อความชอบธรรมในการล้มล้างรัฐบาลที่ชอบธรรมโดยคนที่ไม่ชอบธรรม สันติวิธีจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมในขณะนั้น เป้าหมาย กับ สันติวิธี แตกต่างกัน เป้าหมายคือเป้าหมาย แต่การไปสู่เป้าหมายอาจใช้สันติวิธี อาจารย์สายสวรรค์ วัฒนพานิช เห็นว่า จากการกระทำที่เห็นอยู่ว่าเป็นการกระทำที่ทำได้ แต่พอลดความรุนแรงลงก็กลายเป็นความนิ่มนวล อาจารย์ถามว่า เอาม้าพุ่งชนฝูงชน กับ เอาน้ำแรงอัดฉีดแรงฉีดเข้าใส่ เป็นสันติวิธีหรือไม่?

มีคนถามเรื่อง Peace enforcement ใช้กำลังบังคับเพื่อให้เกิดสันติวิธี โดยวิธีการดังกล่าวของอาจารย์เป็นการใช้กำลังบังคับเพื่อให้เกิดสันติวิธี อาจารย์อธิบายเรื่องสันติวิธีเพื่อรัฐจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “สันติวิธี”เข้าไปจัดการ กับประชาชนเข้าใจเรื่องการต่อสู้โดยสันติวิธี ว่าหากคนส่วนใหญ่ยอมรับก็ถือว่าเป็นสันติวิธี 

อาจารย์ให้ข้อสังเกตว่าเราไม่มีใครให้คำจำกัดความของคำว่า “สันติวิธี” พลังของสันติวิธีมันถูกสลายเพราะการใช้คำสันติวิธีเพื่อความชอบธรรมของตัวเอง (ตรงนี้ผมว่าน่าสนใจนะ เพราะทุกวันนี้เราพูดกันถึงสันติวิธีแต่พอหาคำจำกัดความ เป็นงงทุกที) อาจารย์เลยแยกคำว่าสันติวิธีให้พวกเราดูความหมายในแง่มุมต่างๆ สันติวิธีในแง่การแก้ไขความขัดแย้ง เราอยากแก้ไขความขัดแย้ง (Conflict Resolution) ทำให้ความขัดแย้งหายไป ถ้าเราใช้ CR ความขัดแย้งหายไปไหน จริงๆมันยังอยู่ แต่ถูกใช้เวลาให้หันไปทำอย่างอื่นแทน แต่มันไม่ยั่งยืน การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างพ่อ แม่ กับลูก วิธีทำให้หายไปขึ้นอยู่กับว่าใครมีปัญหากับใคร แล้วมันจะพัฒนากลายเป็นเทคนิค Conflict Management บริหารความขัดแย้งตามความต้องการ ต้องถามว่าต้องตายเท่าไหร่จึงจะยอมรับได้ ที่สเปนขัดแย้งกัน ๓๐ ปี ตายไป ๖๐๐ คนเศษ มากไหม ถ้าดูตัวเลขแล้วน้อยมาก แต่เขาเห็นว่ามากแล้ว พอมามองที่ภาคใต้เราหนักกว่า แต่พอไปดูศรีลังกาตายเป็นหมื่น มากกว่าเรา บริหารให้อยู่ในกรอบที่รับได้ ต้องระวังว่าถ้าบริหาร บริหารอยู่ในกรอบได้หรือเปล่า Conflict Transformation แปรเปลี่ยนรากเหง้าของความขัดแย้งเพื่อแก้ไขความขัดแย้งอย่างยั่งยืน คือไปศึกษารากเหง้าก่อน เป็นการTransform สังคม ส่วนนี้เป็นศิลปะมาก มันเป็นส่วนความอ่อนไหวในความรู้สึกของคน รู้สึกทุกข์ก่อนจึงรู้จักทุกข์ รศ.อิศรา ศานติศาสน์ ถามว่าการเกลี่ยผลประโยชน์จะถือว่าเป็นConflict Transformation ได้หรือไม่ อ.มารค ตอบว่ามันขึ้นอยู่กับว่าขัดแย้งเรื่องอะไร ถ้าขัดแย้งเรื่องทรัพยากร ก็ทำได้ แต่เกลี่ยเรื่องอัตลักษณ์ทำไม่ได้ ในสังคมหาวิธีที่ผิดหาได้ง่าย แต่หาวิธีที่ถูกไม่ค่อยได้ การใช้สันติวิธีต้องใช้อย่างฉลาด สันติวิธีในแง่การต่อสู้เรียกร้อง ใช้เป็นวิธีการหนึ่งที่เรียกว่า Nonviolence แต่คำว่า - Civil disobedience (ดื้อแพ่ง/ อารยะขัดขืน/ หรือวิธีแสดงออกของประชาสังคม) หมายถึงการไม่ทำตามกฎหมายแพ่ง (Civil) แต่อีกความหมายคือไม่ทำตามแบบอารยะ (Civil) และอีกคำว่า เป็นเรื่องของประชาสังคม (Civil) -Civil disobedience กับการพัฒนาประชาธิปไตย (ให้การศึกษาแก่สังคม ยอมรับโทษที่ตามมา ทำด้วยจิตใจที่มั่นคง มีเป้าหมายเป็นทางบวกไม่ใช่แค่ทางลบ) มีประวัติยาวนานในการพัฒนาประชาธิปไตย เช่น กว่าจะมีกฎหมายตั้งสหภาพแรงงาน ต้องต่อสู้นอกแบบกฎหมาย วิธีเรียกร้องโดยสันติไม่ใช่ความชอบธรรมในการเรียกร้อง - มีการให้การศึกษาให้เขาหรือยัง - ยอมรับโทษที่ตามมา ผู้เรียกร้องต้องรับโทษหรือไม่ ห้ามบอกว่าไม่ต้องรับโทษ เพราะการรับโทษเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา และการรับโทษต้องถือเป็นเรื่องจริงจัง -ทำด้วยจิตใจที่มั่นคง มีจุดยืนนั้น เราทำ เราไม่ท้อถอย จะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ไม่ใช่ทำจนเหนื่อยแล้วเลิก หรือว่าพอต้องถูกลงโทษแล้วไม่เอา -เป้าหมายเป็นทางบวก คือทำแล้วมันน่าจะเกิดความดีเกิดขึ้น เช่น ทำแล้วทำให้กฎหมายไม่ดีถูกยกเลิก และออกกฎหมายใหม่ที่เป็นความดี พิจารณาตัวอย่างในอดีต มีทางจะเป็นกฎหมายได้หรือไม่ถ้าไม่มีวิธีการเรียกร้องแบบอารยะขัดขืน ถ้าเรียกร้องสำเร็จ ประชาธิปไตยเข้มแข็งขึ้นในสังคมโดยรวมได้หรือไม่ เช่น ผู้หญิงไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ก็มีการต่อสู้จนได้รับสิทธิเลือกตั้ง หรือกรณี การตั้งสหภาพแรงงาน กว่าจะตั้งได้ก็ต้องต่อสู้ยาวนานเช่นกัน

	การใช้สันติวิธีต้องใช้อย่างฉลาด

-มิติทางวัฒนธรรมของการต่อสู้แบบสันติวิธี (บริบทที่ทำให้การต่อสู้อาจประสบความสำเร็จ) แบบคานธี จะสำเร็จหรือไม่หากรัฐในขณะนั้นไม่ใช่อังกฤษ -อะไรเข้าข่าย “วิธีที่สันติ” หลากหลายวิธีที่สันติ กรณีการ์ตูนล้อเลียนศาสดาที่เดนมาร์ก แล้วสถานทูตถูกเผา แต่ที่เดนมาร์กงงไม่เข้าใจว่าทำไมต้องโกรธเขา อ.มารค ตอนเด็ก ถูกล้อว่าฝรั่งขี้นก ไปถามแม่ แม่บอกว่า “ไม้หรือก้อนหินทำให้เราเจ็บได้ คำพูดทำให้เจ็บไม่ได้” เสรีภาพในการแสดงออกไม่ทำให้เจ็บ (กาย) แต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งเขาเจ็บใจ อาจารย์อ่านหัวข้อต่างๆให้เราคิดว่าสิ่งที่ท่านอ่านมานั้นอย่างไหนที่เรียกว่าสันติวิธีอย่างไหนเรียกว่าไม่ใช่สันติวิธี แล้วเราก็หาคำตอบไม่ได้ ผมอยากให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านลองคิดดู ลองตอบดู แล้วตอบคำถามว่าท่านเข้าใจสันติวิธีจริงหรือไม่ • แถลงการณ์โดยกลุ่มคน • เข้าชื่อตีพิมพ์ลงในสื่อต่างๆ • เขียนป้ายติดตามแหล่งสาธารณะต่างๆ • เขียนข้อความบนท้องฟ้า Sky writing และบนพื้นดิน Earth writing • ให้รางวัลประชด • ชูป้ายต่างๆที่มีผลกระทบสูง • จัดการเลือกตั้งประชด • จัดพิธีกรรมทางศาสนา • ติดสัญลักษณ์ตามเสื้อผ้า • ถอดเสื้อผ้าตามที่สาธารณะ นิยมมากขึ้นเพราะสื่อจะสนใจ ยิ่งถ้าถอดในที่ไม่ควรถอด • ทำลายทรัพย์สินตัวเอง • ติดรูปคนในลักษณะต่างๆในที่สาธารณะ • ทำป้ายตั้งชื่อถนนและตึกใหม่ ไม่ชอบที่รัฐตั้งชื่อให้ จึงตั้งชื่อถนนหรือหมู่บ้านเอง • แสดงท่าทางและพูดหยาบคาย แต่ต้องชัดว่าเราต้องการอะไร จะแสดงแต่ท่าทาง • เจาะจงบุคคลเฉพาะเพื่อกดดันโดยการล้อเลียนหรือยืนเฝ้าหน้าบ้านต่อเนื่อง • ใช้การแสดงเป็นสื่อ • เดินขบวนในรูปแบบต่างๆ • ทำพิธีหลอกเกี่ยวกับการตายของคนต่างๆ • ลุกออกจากที่ประชุมเป็นกลุ่มใหญ่ • ปฏิเสธหรือคืนรางวัล/เหรียญตราต่างๆ • ไม่ร่วมกิจกรรมสังคม กีฬาต่างๆ • ลาออกจากชมรม • ไม่จ่ายค่าเช่า • นัดกันหยุดงาน • นัดกันทำงานล่าช้า • ลาป่วยพร้อมกัน • ถอดป้ายชื่อราชการ • ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม • อดอาหาร • ตั้งหลักอยู่กลางแดดกลางฝน • ส่งเอกสารมากจนหน่วยราชการรับไม่ไหว เป็นอย่างไรครับ สรุปแล้วท่านตอบได้ไหมว่า ข้อความไหนที่เรียกว่าเป็นสันติวิธีและข้อความไหนไม่ใช่


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๒๑ หัวข้อ: ความขัดแย้ง อำนาจ และความรุนแรง โดย: รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ – ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันเวลา: สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า

วันนี้เราเรียนกับรศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พวกเราฟังบรรยายแล้วชมกันเปาะว่า ชัดเจน แจ่มแจ้ง ท่านมาพูดให้พวกเราฟังเรื่องความขัดแย้ง อำนาจ ความรุนแรง ความขัดแย้งทุกชนิดเป็นการเผชิญทางอำนาจทุกสิ้นไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้นจึงต้องเข้าใจเรื่องอำนาจ อาจารย์บอกว่าทฤษฎีของอาจารย์เป็นเรื่องของอำนาจ อำนาจ (Power) คือผลคูณของ D x B x M Direction คือทิศทาง Base คือฐานของอำนาจ (ปืน, เงิน, ตีน (การเมืองบนท้องถนน ทำไมคนจนต้องเดินขบวนเพราะอำนาจอยู่ที่ตีน คนรวยอำนาจอยู่ที่เงิน ทหารอำนาจอยู่ที่ปืน) และ M คือความเข้มของอำนาจ (เจตนา will, ความมุ่งมั่น)

ถ้าเราพูดถึงกองทัพ ๒ กองทัพ ถามว่ากองทัพใดมีอำนาจมากกว่ากัน เรามักจะดูว่าใครมีกำลังทหารมากกว่ากัน เทคโนโลยีมากกว่ากัน อาวุธยุทโธปกรณ์มากกว่ากัน แต่มันไม่จริง อำนาจจึงไม่เท่ากับกำลัง แต่การไม่มีกำลัง อาจจะมีอำนาจหรือไม่ก็ได้ นักมวยชกกัน คนชนะไม่จำเป็นต้องตัวใหญ่ที่สุดเสมอ ไม่จำเป็นว่าหมัดหนักจะชนะเสมอ แสดงว่ามีมิติอื่นของอำนาจ ต้องมีใจ กำลัง และต้องรู้ว่าจะต้องชกกับใคร ที่ต้องใช้เครื่องหมายคูณ ถ้าตัวใดตัวหนึ่งเป็นศูนย์ อำนาจจะเป็นศูนย์ทางคณิตศาสตร์ทันที ดังนั้นอำนาจจะต้องมีทั้งสามอย่าง ถ้าทฤษฎีนี้แม่นจะต้องอธิบายเรื่องอำนาจได้ทั้งหมดตั้งแต่สงครามถึงการต่อสู้ทางรัฐสภา เช่น สงครามเวียดนาม สหรัฐกับเวียดนาม สหรัฐเงินเยอะ ทหารเยอะ ทิศทางก็มี แต่แพ้ที่บ้าน (คนอเมริกันเห็นแต่ศพทหารกลับบ้านทุกวันบางทีอาจถึง ๕๐๐,๐๐๐ คน) สิ่งที่เกิดขึ้นทำนองเดียวกับเวียดนาม ก็คือ สงครามอิรัก ขณะนั้นเวียดนามแยกเป็นสองส่วน สงครามทำให้เวียดนามกลับมารวมกัน สิ่งที่สหรัฐทำขณะนี้ก็คือแยกอิรักออกเป็นสองส่วน ถ้าจะชวนคนไปทำงาน บางครั้งอาจใช้ปืนบังคับ หรือเอาเงินซื้อ บางทีอาจใช้ใจ, เชิญชวน โน้มน้าว (ก็เป็นการใช้อำนาจเหมือนกัน) แล้วอาจารย์ก็แสดงให้ดูโดยเอาดอกไม้ไปให้รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า คุณพงศ์ทอง ตั้งชูพงศ์ ถามว่าถ้าจะชวนไปทานอาหาร เอาดอกไม้ไปให้ คุกเข่าต่อหน้า จะใจอ่อนไหม เครื่องมือที่สอง มีของสองอย่างสู้กันระหว่าง Perception (การรับรู้) กับ Reality (ความเป็นจริง) มีพระเซนรับคำสอนของอาจารย์ให้เดินไปแสวงหาความรู้ตามวัดต่างๆ ไปถึงวัดก็ไปเคาะประตู พระที่มาเปิดมีตาเดียว พระเซนเห็นเข้าก็ไม่พูดแล้วยกนิ้ว ๑ นิ้ว พระที่มาเปิดประตู ยกสองนิ้ว พระเซนที่มายกสามนิ้ว พระเซนกลับไปหาอาจารย์บอกว่าวัดที่ไปสุดยอด ผมยกนิ้ว ๑ นิ้วบอกว่าพระพุทธ เขายกสองนิ้ว บอกว่าพระธรรม ผมยกสามนิ้วว่าพระสงฆ์ เขาปิดประตูเลย เพราะเป็นที่สุดแล้ว แต่พระที่มาเปิดประตูไปบอกอาจารย์ว่า พระเซนหยาบคาย...ผมเปิดประตูไปเขายกมาหนึ่งนิ้ว ล้อเลียนว่าผมมีตาเดียว ผมก็เลยยกสองนิ้วบอกว่าก็ดีนะที่ท่านมีสองตา แต่พระเซนรูปนั้นยังหยาบคายกับผมและล้อเลียนผมว่าเราสองคนรวมกันมีสามตา ผมจึงปิดประตูใส่เขาเลยเพราะสุภาพกับพระแบบนั้นไม่มีประโยชน์...คนละเรื่องเดียวกัน นายกฯไปหาป๋าเปรม การรับรู้ในสังคมไม่เหมือนกัน ฝ่ายพันธมิตรจะว่าไปอย่างหนึ่ง แต่ฝ่ายนปก.ก็จะว่าไปอีกอย่างหนึ่ง ในทางการเมืองตัว R อาจจะน้อยกว่า P ต่อให้อธิบายอย่างไรก็ตาม ความจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ยอมรับรู้เสียอย่างในทางการเมืองก็ยาก... ความขัดแย้ง คือ การปะทะกันของอำนาจ ทฤษฎี S of E โครงสร้างแห่งความคาดหวัง (Structure of Expectation) จุดปะทุ (Trigger) ความคาดหวัง (Expectation)

มนุษย์อยู่ด้วยกันในโครงสร้างของความคาดหวัง เช่น อาจารย์กับนศ. อาจารย์คาดหวังกับนศ.ว่าจะต้องมาเรียน ถ้าไม่เป็นไปดังที่หวังก็จะเกิดความคับข้องใจ อาจารย์ยกตัวอย่างการจราจร เราขับรถด้วยความคาดหวังตลอด เมื่อรถคันหน้าเปิดไฟเลี้ยวซ้าย เราก็จะชะลอแล้วเลี้ยวขวา อุบัติเหตุจะเกิดเมื่อคันที่เปิดไฟเลี้ยวซ้ายดันมาเลี้ยวขวา แต่ความคาดหวังไม่ได้อยู่นิ่ง มันจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตามสถานการณ์ต่างๆ สังคมการเมืองไทย มีโครงสร้างทางความคาดหวังเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก และยังมีคนจำนวนหนึ่งยังคิดว่าความคาดหวังยังเหมือนเดิม กรณีพันธมิตร เดิมคนไทยมีความกลัวเจ้าหน้าที่ของรัฐสูง แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่แล้ว ความสัมพันธ์ภาพทางอำนาจมันก็ชนกันอยู่ แต่มันก็เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเกิดปัญหาต่างๆมากระทบ โครงสร้างทางความคาดหวังเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ทางอำนาจก็เปลี่ยน ช่องว่างมันก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ อาจารย์บอกว่า เวลาสามีภรรยาทะเลาะกัน เหตุมักจะเกิดขึ้นในครัว ดังนั้นอาวุธที่ใช้ก็คือของที่อยู่ในครัว และถามว่าจะใช้อะไร เพราะคำตอบน่าจะเป็นมีดในครัว การที่ทะเลาะกันอาจเกิดจากอาหารจืด เราจะบอกว่าปัญหาที่ผัวเมียทะเลาะกันมาจากอาหารจืด ดังนั้นแก้ปัญหาผัวเมียทะเลาะกันโดยซื้อน้ำปลาแจกทุกบ้านหรือ มันไม่ใช่ ตรงนี้มันเป็น Trigger มันไม่ได้เป็นเหตุที่แท้จริง มันเป็นเพียงจุดสิ้นสุดความอดทนต่างหาก ถ้ามองว่ามันเป็นเหตุปัญหาภาคใต้จะแก้ไขได้หรือ เมื่อโจทก์ไม่ถูกก็นำไปสู่คำตอบที่ไม่ถูกเช่นกัน กรณีชนตึกเวิลด์เทรด คนตาย ๓-๔๐๐๐ คน สิ่งที่อเมริกาทำคือประกาศต่อต้านการก่อการร้าย เข้าไปในอิรัก ปากีสถาน ทำโน่นนี่ แต่ความคาดหวังมันเปลี่ยนแปลง ต้องคิดให้ได้ว่าอะไรคือเหตุปัจจัย มีคนถามอาจารย์ว่าเหตุการณ์นี้คิดอย่างไร อาจารย์ตอบว่าเป็นพุทธให้มากขึ้นในทางวิธีคิด และพูดถึงเหตุการณ์ภาคใต้ก็ทำนองเดียวกัน ในกรอบนี้ พอเกิดความรุนแรง ก็เกิดความสัมพันธ์ทางอำนาจใหม่ โครงสร้างทางความคาดหวังใหม่ สันติวิธี คืออะไร? ทำไมต้องคิดเรื่องสันติวิธี? เพราะความรุนแรงทุกชนิดมีต้นทุน คนในสังคมไม่ค่อยแน่ใจในสันติวิธี ไม่อยากให้มันเกิด อีกพวกหนึ่งอยากจะเห็นมันปรากฏ อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง Nonviolence in 20th Century ปลดปล่อยชาวยิวที่ถูกจับในเบอร์ลิน กพ. ๒๔๘๖ (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตายไป ๖ ล้านคน ไม่ใช่ตายในสงคราม แต่ถ้ารวมคนพิการเข้าไปด้วยแล้วนับ ๑๐ ล้านคน เริ่มจากสตรีชาวเยอรมันที่มีสามีเป็นชาวยิวและถูกจับไป เธอถามหาสามี จนในที่สุดรัฐบาลต้องยอม) ขับไล่นายพลเผด็จการในเอลซาวาดอร์, ๒๔๘๗ วิธีที่ใช้คือนัดหยุดงานโดยสหภาพแรงงาน

ขบวนการอหิงสาของคานธี ปลดปล่อยอินเดียเป็นอิสระจากจักรวรรดินิยมอังกฤษ เริ่มต้นในแอฟริกาใต้ซึ่งชาวอินเดียมีชุมชนทำการค้าอยู่ แล้วจึงเข้ามาในอังกฤษภายหลัง ซึ่งเรียกว่าสัตยาเคราะห์ (Satyagraha) แปลว่า พลังของสัจจะ คานธีให้ชาวบ้านจดบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเปลี่ยนจากเหยื่อเป็น reporter ทำให้เกิด power อารยะขัดขืน (Civil Disobedience) ของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี.๒๔๙๙ อเมริกาในสมัยนั้นมีการเหยียดผิว ห้องน้ำคนผิวขาวห้ามคนผิวดำใช้ แม้จะเป็นนักร้องที่เชิญมาร้องเพลงในบาร์ของคนผิวขาว ลูเธอร์ คิงเขียนจดหมายจากคุกเมืองเบอร์มิงแฮม อธิบายว่าอารยะขัดขืนคืออะไร ขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามในเอเชียและในสหรัฐปี ๒๕๐๓-๒๕๑๘ เครื่องมือที่ใช้คือการเดินขบวนเป็นหลัก ขบวนการพลังประชาชนฟิลิปปินส์ขับไล่เผด็จการมาร์กอสปี ๒๕๒๙ เดินขบวนขับไล่ รวมกันหลายฝ่าย ศาสนจักรคาธอลิก คอราซอน อาควิโน ฯลฯ ความรุนแรงเกิดจากกองทัพสองฝ่ายโดยมีประชาชนอยู่ตรงกลาง มีคุณยายแก่ขวางไม่ให้กองทัพรบกัน มีบันทึกว่าทหารลงไปกอดคนแก่ว่าเหมือนกับแม่จะยิงได้อย่างไร ขบวนการต่อต้านการแบ่งแยก Apartheid ในแอฟริกาใต้เป็นเรื่องเหยียดผิว มีเนลสัน แมนเดลา เป็นผู้นำ จนในที่สุดได้กลายเป็นรัฐบุรุษ และในแอฟริกาใต้มีนิวเคลียร์ก็ยกเลิกไปโดยการต่อต้านจากอาสาสมัคร ขบวนการ “ลุกขึ้นสู้” (Intifada-อินทิฟาดา) ในเขตปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลยึดครอง ก็เป็นขบวนการลุกขึ้นสู้ของปาเลสไตน์ ทำให้อิสราเอลเกือบเป็นอัมพาต มีหมู่บ้านปาเลสไตน์แห่งหนึ่ง อิสราเอลส่งกำลังทหารเข้าไป ทหารหนุ่มอิสราเอลเดินไปตกอยู่ในวงล้อมของผู้หญิงปาเลสไตน์ ๕ คน ผู้หญิงหยิบปืนขึ้นมา คนแรกส่งให้คนที่ ๑,๒,๓,๔, แล้ววิ่งกลับมารอบหรือสองรอบ แล้วโยนปืนให้ทหารอิสราเอล แล้วบอกว่านี่ปืนของฉัน หยิบขึ้นมายิงฉันสิ...สันติวิธีทำงานบนฐานแห่งความไม่กลัวอีกต่อไป อัตราการที่ทหารอิสราเอลตัดสินใจไม่เข้าไปในพื้นที่จึงเพิ่มมากขึ้น ขบวนการประชาธิปไตยฤดูใบไม้ผลิในปักกิ่งปี ๒๕๓๒ ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ชายหนุ่มคนหนึ่งยืนอยู่หน้ารถถังและรถถังหยุดทั้งๆที่คนมือเปล่า แต่วันนั้นประชาชนถูกปราบ ขบวนการ Solidarnosc (Lech Walesa) และขบวนการสันติวิธีที่ยุติสงคราม Madres de Plaza de Mayo เป็นเรื่องคุณแม่ที่ลูกหายไป ๑๕ คน ไปเดินขบวนวันพฤหัสฯ แล้วถูกจับถูกล้อเลียนขว้างปา ใช้ผ้าเช็ดหน้าสีขาวมีชื่อตัวเอง และมีรูปลูกที่หายไป ถามว่าลูกฉันหายไปไหน จนในที่สุดเมื่อบวกกับเหตุการณ์อื่นจนทำให้นายพลสามคนต้องถูกขึ้นศาลทหาร ต่อมาขบวนการคุณยาย ที่ลูกหายแล้วแม่ไปประท้วงจนแม่หาย คุณยายจึงออกมาประท้วงแทน

ขบวนการสันติวิธีในโลกมีเยอะมาก ทำไมเรามองไม่เห็น สันติวิธีที่ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จ ที่อื่นสำเร็จ ที่จีนไม่สำเร็จ บทเรียนคือขบวนการใดที่อ้างว่าใช้สันติวิธีแต่เอาความรุนแรงมาผสม ก็จะทำให้เกิดอันตรายแก่กระบวนการนั้นเอง กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของสันติวิธีจะทำให้กระบวนการประชาธิปไตยเข้มแข็งขึ้นตามไปด้วย ความขัดแย้งในสังคมไทย ทำไมกระบวนการในสังคมไทยจึงแตกแยกกันไปหมด มีความขัดแย้ง ๓ ชุดเกิดขึ้นพร้อมกัน ๑. ความขัดแย้งกันในเรื่องเป้าหมายของสังคมการเมือง • ฝ่ายหนึ่งอยากเห็นรัฐบาลเข้มแข็ง อีกฝ่ายหนึ่งอยากเห็นรัฐบาลอ่อนแอ (สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะถูกรบกวนน้อย) รธน.๔๐ เน้นให้รัฐบาลเข้มแข็ง รธน.๕๐ เน้นให้ขบวนการตรวจสอบเข้มแข็ง • เสถียรภาพของรัฐบาล กับ อำนาจการควบคุมตรวจสอบเข้มข้น (หนังสือของรศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อธิบายความแตกต่างระหว่างความคิดของคนชนบทกับคนเมืองในเรื่องประชาธิปไตย ความคิดในความเป็นส.ส.ของคนเมืองกับคนชนบทตกต่างกัน) ๒. ความขัดแย้งในเรื่องวิธีการ(หนทาง)บรรลุจุดหมายทางการเมือง (อาจารย์บอกว่าวิธีการในเรื่องนี้สำคัญกว่าเป้าหมาย ความต่าง-แยก) • โดยอาศัยการเลือกตั้ง กับ โดยอาศัยการคัดสรรหรือแต่งตั้ง • อำนาจของประชาชนสามัญ กับ อำนาจอื่นๆในการคัดเลือกคนที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งในทางการเมือง • ความเสมอภาค กับความไม่เท่าเทียมกันของประชาชน ๒. ความขัดแย้งเรื่องจินตนาการความเป็นคนพวกเดียวกันในรัฐชาติ • สีเหลือง กับ สีแดง • ความถูกต้อง กับ ความผิด • ความดี กับ ความเลว แผนที่แห่งความจงรักภักดีสั่นสะเทือน ดูจากบทนินทา บทสนทนานอกวง เวบไซต์ ๑,๒๐๐ เวบ ปิดไปแล้ว ๔๐๐ เวบ ที่ต้องจับตาดู ๘๐๐ เวบ หากเป็นจริงก็ยุ่ง


อธิบายชาติในฐานะชุมชนในจินตนาการ ชาติไม่ใช่รัฐบาลกระทั่งไม่ใช่รัฐ ไม่ใช่ Government และไม่ใช่ State ชาติไม่ใช่อะไรอื่นแต่คือชุมชนในจินตนาการ คนในชาติต้องสามารถจินตนาการข้ามแผ่นดินและกาลเวลาให้คิดถึงคนอื่นที่ไม่เคยเห็นหน้า ไม่เคยเห็นกันมาก่อน แตกต่างกันเรื่องสีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม ชั้นวรรณะ เพศสภาพ ให้คิดรู้สึกถึงกันและกันได้ราวกับว่าเป็นพี่น้องผูกพันกันมา เห็นเขาสุขเราสุขใจ เห็นเขาทุกข์เราร้อนใจ จนกระทั่งสุข-ทุกข์เป็นอะไรบางอย่างที่แบ่งปันกันได้ ประเด็นก็คือความรุนแรงทำให้เกิดแบบนี้ไม่ได้ การแก้ปัญหาโดยใช้คนกลางไกล่เกลี่ยก็ไม่แน่ว่าจะใช้ได้หรือเปล่า แถมการใช้ความรุนแรงก็ยิ่งจะทำให้รอยแยกเพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้ถาม อ.ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ อยากจะทราบว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมจะจบลงอย่างไร? ตอบ ถ้าเราถูก ความขัดแย้งจะเดินหน้าต่อไป การออกจากทำเนียบก็ไม่ทำให้ความขัดแย้งหมดไป ถ้ารัฐบาลใช้ความรุนแรงกับคนที่ดูเหมือนไม่ใช้ความรุนแรง อย่ามองปัญหาง่ายเกินไป เพราะมันมีพลังบางอย่างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การคิดแก้ปัญหาแบบเดิมย่อมไม่ได้เพราะระยะเวลาที่ผ่านมามันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ตอบคำตอบเบ็ดเสร็จไม่ได้ หน่วยงานใดก็ตามที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ของความเกลียดชังเพิ่ม เอาเมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชังมาปลูก มตรุกข์ ต้นไม้แห่งความตาย เป็นการรับรู้ด้านหนึ่งแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด ใครก็ตามที่ทำให้เห็นด้านไม่ดีของอีกฝ่ายหนึ่งเพียงอย่างเดียว ก็คือการกำลังปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชัง


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๒๓ หัวข้อ: การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง โดย: อ.พิชัย รัตนพล – อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ วันเวลา: สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า

“การศึกษาเรื่อง Conflict transformation นี้มีความสำคัญและเป็นหัวใจครับ” หัวข้อวันนี้ บรรยายโดย อ.พิชัย รัตนพล อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ท่านเล่าว่า ท่านอยู่กับความขัดแย้งตั้งแต่วันเสียงปืนแตกเมื่อปี ๒๕๐๘ เข้ารับราชการตั้งแต่ปี ๑๙ ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยจากประสบการณ์ การเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา ถึงวันนี้ก็ยังคิดแบบเดิม หลายเรื่องวนอยู่ในที่เดิม เช่น คำสั่ง ๖๖/๒๓ ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองขณะนั้นก็เป็นห่วงว่าพรรคคอมมิวนิสต์จะครองเมือง ถึงปัจจุบัน การเข้าใจปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหายังวนอยู่ในที่เดิม เวลาพูดถึงการเจรจาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ก็คิดแบบเดิมๆ ว่าอย่าเจรจาเดี๋ยวได้คืบจะเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา คิดแบบเดิมๆคือไม่ไว้ใจ จะเกิดอะไรขึ้นหากเราควบคุมเขาไม่ได้ การวิเคราะห์ปัญหาสองมิติของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จะพูดถึงความขัดแย้งเป็นใหญ่ และของ อ.ภูมิรักษ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง การใช้ Perception เดิม คือการมองอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรูของการเคลื่อนไหว แต่กระบวนการอื่นของสังคม รวมไปถึงการอยู่ในอำนาจ มันเปลี่ยนไปแล้ว อาจารย์จะยกตัวอย่างคนเล็กคนน้อยที่ขัดแย้งกับรัฐ ยกตัวอย่าง ๔ กรณีของ Conflict transformation เกี่ยวพันกันอย่างไร การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งไม่ให้เกิดความรุนแรง เช่น ปัญหาในอดีตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คือคนจีนเดิม วิธีคิดสมัยก่อนไม่แตกต่างกับการคิดเรื่องปัญหาภาคใต้ยุคปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าในยุคปัจจุบันไม่ใช่แล้ว ปัญหาประชาชนกับอำนาจรัฐ คือสมัชชาคนจน เรื่องปากมูลอาจจะเป็นจุดหันเหสำคัญที่หยิบเอาเรื่องของเขื่อน และขยายเรื่องเขื่อนอื่นๆในอีสานจนทั่วประเทศกลายเป็นสมัชชาคนจน ปัญหาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย.แม้เป็นเรื่องเก่า ในอดีตเขาคิดอย่างไร ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาในทุกมิติ ถ้าใครเข้าใจเรื่องนี้จะเข้าใจเรื่องอื่น เพราะยากสุด ปัญหาคือมันเปลี่ยนไม่ได้เพราะมันล็อคตัวเอง เมื่อ ๑๐ ปีที่แล้วมันเป็นเรื่องเล็กน้อย สงสัยว่าเป็นเรื่องยาเสพติด เรื่องศาสนา วนไปวนมาถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องเก่า แต่จริงๆแล้วมันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง หัวใจคือการเข้าใจปัญหาและต้นเหตุของปัญหาและเข้าไปเปลี่ยน การเปลี่ยนผู้บัญชาการที่ดูแล ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ตำรวจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ความรุนแรงลดลง การศึกษาเรื่อง Conflict transformation นี้จึงมีความสำคัญและเป็นหัวใจ

ปัญหาสำคัญเรื่องความขัดแย้ง ๒ รูปแบบ คือ ๑.ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ เช่น ขัดแย้งเรื่องที่ดิน ทรัพยากรน้ำ ครอบครัว มรดก ซึ่งไปใช้การไกล่เกลี่ยของอาจารย์หมอวันชัยฯ ๒.ขัดแย้งในเรื่องคุณค่า เช่น ความรู้สึกความเป็นอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตน ความรู้สึกอยากเห็นคุณค่าใหม่ในสังคม ไม่ใช่ปัญหาในตัวคน แต่เป็นปัญหาของโครงสร้างและวัฒนธรรม หัวใจสำคัญ คือการแปรเปลี่ยนที่รากเหง้าของปัญหา การจะตอบปัญหาใดต้องถามว่าเราเข้าใจโจทย์ของมันถ่องแท้หรือไม่ ที่ผ่านมาเราไม่ชัดเจนในเรื่องของโจทย์ เราสู้กับคอมมิวนิสต์ ด้วยการปฏิวัติ ทั้งที่โจทย์ของเขาคือต้องการให้รัฐบาลเผด็จการปลดปล่อยอำนาจ เหตุที่เกิดความขัดแย้งรุนแรง เกิดจากการใช้ระบบอุปถัมภ์มากเกินไป ถ้าไม่ใช่พวกก็ไม่ช่วย มีการใช้ระบบอุปถัมภ์มากจนกระทั่งมองไม่ออกว่าเป็นรากของปัญหา แล้วยึดโยงเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อาจารย์บอกว่าเรื่องปัญหาภาคใต้เคยไปพบนายกฯแทบทุกคนในอดีตเพื่อบอกว่าโจทย์คืออะไร แต่ลูกน้องสายตรง บอกว่าไม่มีอะไรหรอกครับ ทำให้กลัวเท่านั้นก็จบ แต่เมื่อนายคิดตามลูกน้อง ใครจะบอกอย่างไรก็ไม่ได้ผล เพราะไม่ยอมฟังข้อมูลความจริง สมัชชาคนจนชุมนุมกันสมัยก่อน ชาวบ้านเกรงใจ เคารพส่วนกลาง สั่งลงไปอย่างไร ในพื้นที่ต้องหยุดให้ได้ คิดอะไรไม่ออกก็จะคิดว่า อ๋อ คอมมิวนิสต์ใหม่ สมัชชาชนเผ่าที่ภาคเหนือเคยปิดล้อม ไปถามผู้ว่าฯ ท่านก็บอกว่า ผมดูแลชาวเขาดีที่สุด ผมเอาผ้าห่มไปให้ เอาอะไรไปให้ แต่ผู้ว่าฯไปสั่งให้เลิกชุมนุมไม่ได้ ชาวบ้านเขาไม่ยอม เขาบอกว่าเขามาใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ อาจารย์บอกว่าเมื่อเราไปหาข่าว จะเห็นว่าคนนั้นติดต่อคนนี้ คนที่มีความคิดพวกนี้ก็คือพวกคอมมิวนิสต์เก่า ทำไมเราชนะคอมมิวนิสต์ คนแรกที่ไปหาโจทย์ พล.ต.ต.อารีย์ ไปนอนในคุกกับประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เพื่อจะถามว่าคอมมิวนิสต์คิดอะไร คำตอบคือต้องการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐให้เป็นประชาธิปไตย จึงมาสร้างโรงเรียนของท่าน ในยุโรปใช้วิธีเปลี่ยนความคิด จากใช้วิธีรบกัน เป็นการแปรเปลี่ยนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ นาวาเอก อมร สุวรรณบุปผา ถูกสอนให้เกลียดชังคอมมิวนิสต์ ท่านรับคำสั่ง ๖๖/๒๓ ไม่ได้ จึงถูกออกจากราชการ - การตั้งโจทย์ ระบบราชการจะเลือกตอบโจทย์ที่ง่ายที่สุด คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เสนอโจทย์ใหญ่ว่าเป็นปัญหาอัตลักษณ์ แต่ภาครัฐไม่มีการพูดถึงเพราะตอบโจทย์ยาก - การหาโจทย์ในที่สว่าง ชายคนหนึ่งเดินหาของอยู่ที่กลางลานจอดรถ มีคนถามว่าหาอะไร ตอบว่าหากุญแจรถ ถามว่าแล้วคิดว่ากุญแจตกที่ไหน เขาตอบว่าน่าจะใกล้ที่จอดรถ เมื่อถามว่าทำไมมาหาตรงนี้ เขาตอบว่า “เพราะสว่างดี” ประชาชนเดี๋ยวนี้เรียนรู้แปรเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดเดิม สมัยก่อนราชการมักอ้างว่าเพราะ NGO จึงทำให้ปกครองยาก พวกนี้รับเงินจากต่างชาติ แต่เดี๋ยวนี้ชาวบ้านพูดถึงปัญหาของตัวเองได้เอง - แม้เจอโจทย์ที่ชัด ก็ขาดความกล้าที่จะเสี่ยง ในภาคใต้ ขัดแย้ง ส่งกำลังปราบ ปราบเสร็จกลับ แล้วก็เหมือนเดิม ภาคใต้เขาเรียนรู้วิธีการ กรณีสมัชชาคนจน เมื่อเกิดการยึดเขื่อน นักการเมืองประกาศว่าไอ้พวกนี้จะเล่นงานนายผม ข้ามศพผมไปก่อน เพื่อต้องการให้นายได้ยิน เอาม็อบมาชนม็อบเพื่อให้เกิดการปราบปราม หรือในกรณีโรงแรมเจบี จะมีการปิดโรงแรม ไปนั่งคุยเพื่อหาข้อมูลก็ได้ความว่า มันชนะมาหลายที ก็จัดการมันเสียมั่ง การข่าวสำคัญมาก ต้องรู้ลึกให้ได้ ต้องรู้ให้ได้ว่าทำไมต้องผูกผ้าแดง จะเดินขบวนเมื่อไหร่ วิธีคิดก็มักจะคิดว่าฝ่ายที่ต่อต้านเป็นศัตรู มักตั้งโจทย์ผิดอยู่เรื่อย พอเรื่องยาเสพติดไปตั้งโจทย์ว่าสงครามยาเสพติด จึงสามารถฆ่าได้เพราะมันเป็นสงคราม เรามักจะมีวิธีการคิดเผื่อคนอื่น เด็กภาคใต้เรียนจากโรงเรียนแล้วยังต้องไปเรียนศาสนา เสาร์อาทิตย์ก็ต้องไปเรียน ก็ไปคิดเผื่อเขาว่าเด็กไม่ได้พักผ่อน ทั้งๆที่เป็นกระบวนการหล่อหลอมคุณธรรมของเขา เหตุการณ์ปล้นปืนที่ภาคใต้ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ ให้รัฐเจ็บปวด..จะรู้ความจริงต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ หากตั้งโจทย์ไม่ถูก ยากที่จะแก้ปัญหาได้ถูกจุด

  	ปัจจุบันคนจีนในไทย จัดงานวันเชื้อสายจีน มีสมเด็จพระเทพฯ ภูมิใจในความเป็นจีน แต่ในอดีตเมื่อ ๓-๔๐ ปีก่อน เวลาเจ้าหน้าที่มา ก็วิ่งกันหัวซุกหัวซุนเพื่อพาอากงอาม่าซึ่งใบต่างด้าวขาดอายุหลบหนีไปซุกซ่อน แต่ปัจจุบัน conflict transformation นำไปสู่ความสมานฉันท์ 

๑. ปัญหาภาคใต้ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ไปเอาอุสตาซจากที่โน่นที่นี่ เอานักเทศน์จากนครศรีธรรมราชไปเทศน์ ทั้งๆที่ปัตตานีเป็นศูนย์กลางทางศาสนา การทำอย่างนี้เหมือนกับไปตบหน้าเขา ๒. ปัญหาภาคใต้ไม่ใช่เรื่องของต่างชาติ ขบวนการปัตตานีเองก็ไม่ได้ต้องการให้ต่างชาติเข้ามายุ่ง เพราะเป็นปัญหาภายใน เจรจาที่โน่นที่นี่ไม่ใช่ของจริง ๓. ปัญหาภาคใต้ไม่ใช่เป็นเรื่องทั่วไปที่เจรจาแล้วหยุด มันไม่ง่ายขนาดนั้นหรอก... เกิดจากแยกปัญหาไม่ออก เพราะเป็นจิตสำนึกร่วมว่าเราอยากเปลี่ยนแปลง คิดไม่ออกหรอกเพราะปกครองมาเป็นพันปี อยู่ๆมาบอกว่าอยากมีส่วนร่วม เกิดอาการงง การต่อสู้ที่ภาคใต้ไม่ใช่เพื่อแบ่งแยกดินแดน เพราะเขารู้ว่ามันยาก แต่ต้องต่อสู้เพื่อให้เกิดพลัง เกิดอัตลักษณ์ของความภาคภูมิใจของความเป็นคนปัตตานี ทำไมที่สามจังหวัดชายแดนใต้พูดภาษามลายูไม่ได้ ทำไมที่สุรินทร์เวลาหาเสียงพูดภาษาเขมร ที่ภาคเหนือก็อู้คำเมือง ทำไมที่ภาคใต้จึงใช้ภาษามลายูไม่ได้

ตัวอย่างเช่น คนที่มีอำนาจจะเปลี่ยนยาก จนกว่าจะเกษียณจึงจะเปลี่ยนง่าย มันมีอะไรบางอย่างที่ล๊อคสังคมไทย เช่น เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด การทำเรื่อง Conflict Transformation ต้องเข้าใจสังคมไทยอย่างถ่องแท้ด้วย ต้องลงลึก กล้า เอาเรื่องพัฒนานำหน้า อย่าไปเถียงกันเรื่องแผ่นดินนี้ใครมาก่อนใครครอบครองก่อน ใครถูกใครผิด ทั้งหมดนี้ เป้าหมายหาวิธีการศึกษาให้ลึกไปถึงต้นเหตุและปัจจัยที่นำไปสู่ความรุนแรง และสังคมไทยเข้าใจโจทย์คลาดเคลื่อน ปัญหาที่เกิดขึ้น ความขัดแย้งเข้าใจโจทย์ผิด ปัญหาความขัดแย้งก็แปรเปลี่ยนเป็นความรุนแรง เหตุการณ์ปี ๑๖ และ ๑๙ การเรียกร้องประชาธิปไตยถูกเข้าใจว่าเป็นการกระทำของคอมมิวนิสต์ จึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ สิ่งที่เรากำลังทำในหลักสูตรนี้เป็นเรื่องยุทธศาสตร์ไม่ใช่ยุทธวิธี ซึ่งปัญหาของเราต้องตอบโจทย์ทางยุทธศาสตร์ ปัญหาเหล่านี้เกิดทั่วโลก มีมากมีน้อยเท่านั้น เพียงแต่เข้าใจวิธีการจัดการและการเข้าใจปัญหา นักการเมืองก็น่าจะรู้ดี การแก้ปัญหาไม่ตรงจุดเพราะผู้มีอำนาจไม่สนใจจะฟัง เราสูญเสียงบประมาณเป็นแสนล้าน แต่สันติวิธีไม่มีคำว่าสาย จุดหนึ่งเราทำดี แก้ไข ขอโทษ ปรับปรุง แล้วเราบอกว่าถูกทาง เรามีแนวร่วมมากขึ้น แต่ความรุนแรงไม่หมดเพราะไม่ตรงโจทย์ โจทย์ที่ว่าคนที่ใช้ความรุนแรงเขาคิดอย่างไร ผู้นำไม่สนใจ แต่พอคิดมันช้าไป...ถามว่าทำแล้วมันจะจบไหม เหมือนสเปนแคว้นบาสก์ (Basque) บาร์เซโลนา แม้จะสงบไปแล้วแต่ก็จะมีระเบิดทุกปี เพราะเป็นสัญลักษณ์ต่อสู้กับการถูกข่มเหง เวลาเราคิดเองตอบโจทย์เอง ก็ผิดทาง เราต้องใช้วิธีการมีส่วนร่วม พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ท่านให้เชิญคุณศรีพงษ์ สระกวี ไปพบ บอกว่าน้องไปบอกเพื่อนถ้ากลับมาจะช่วย ถ้ามีคดีเล็กน้อย ไม่มีงานทำผมก็จะช่วยดูแล ถ้าคุณไปแล้วไม่กลับมาผมไม่ว่า คนไทยถ้าเห็นหัวคนไทยด้วยกันมันก็น่าจะคุยกันรู้เรื่อง ถ้าเมื่อไรที่รัฐบาลบอกว่าเราจะคุยกันอย่างเพื่อนร่วมชาติ คนไทยจะฟังกันไหม...ไม่ได้คุยกันแบบคุยกับคอมมิวนิสต์ เราต้องเดินข้ามความเจ็บปวด ล้มตายไปแล้วหันหน้ามาคุยกัน จะให้ตายไปเรื่อยๆอย่างนั้นหรือ เราคนเข้าตะรางมันมีประโยชน์อะไร ทำไมเราไม่สามารถเดินข้ามความเจ็บปวดตรงนี้ อาจารย์ยุพวกเราให้สร้างพลัง บอกให้ท่านเอกชัยให้พาไปพบผู้มีอำนาจในบ้านเมือง บอกเขาด้วยว่าเมื่อมันเป็นเรื่องการเมืองก็ต้องแก้ปัญหาด้วยการเมือง ไม่ใช่แก้ด้วยข้อหากบฏ การตั้งโจทย์สำคัญมาก เช่น เรื่องยาเสพติดตั้งโจทย์ว่าทำสงครามกับยาเสพติด มันก็ต้องยิงกันฆ่ากันเพราะทำสงคราม มันมีแนวรบ มันมีศัตรู จึงมีความชอบธรรมที่จะฆ่า.... อาจารย์พิชัย บอกว่าเราจะคิดไกลเพื่อลูกหลานหรือเราจะคิดแคบเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ เรื่อง กรือเซะหรือตากใบ มันต้องเปิดกว้างให้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ มันเป็นการส่งสัญญาณว่ามีการเปลี่ยนโจทย์ อ.บอกว่าเห็นพูโลส่งสัญญาณบ่อย ถ้าทำผิดพลาดก็ขอโทษแล้วหันหน้ามาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่ขณะนี้มันช้าไปแล้ว - ปล้นปืนเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจ็บปวด ไม่มีอะไรเจ็บปวดเท่านี้อีกแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็ทำให้เกิดการตัดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การไปเมกกะสมัยก่อนลำบากมาก แม่เฒ่าคนไทยพุทธกอดแม่เฒ่าชาวมุสลิมร้องห่มร้องไห้เพราะไม่รู้ว่าจะได้เจอกันอีกหรือไม่ ผู้คนบอกว่าอยากเห็นเป็นแบบนี้ ชาวบ้านน่ะได้ แต่ระดับปัญญาชนยังไม่แน่....เพราะมันเจ็บเกินกว่านั้นแล้ว ถ้าปัตตานีเป็นปัตตานีมหานคร จะเป็นมหานครของใคร ก็ของไทยใช่ไหมครับ..ให้คนปัตตานีกำหนดชะตากรรมของคนปัตตานีเองได้หรือไม่ ไม่ต้องมายุ่งได้หรือไม่ กำหนดการศึกษาเองได้หรือไม่เพราะเขามีคนที่มีความรู้ ดอกเตอร์ก็หลายคน ทำไมหรือ เขาไม่มีความสามารถหรือ... การแก้ปัญหาทางใต้ต้องรู้และเข้าใจว่าภาคใต้ ๑. ไม่ใช่ Body Count นับศพได้แล้วชนะ แต่ต้องทำให้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องฆ่าฟันกัน ๒. ส่งสัญญาณเพื่อนร่วมชาติ ผมไว้ใจคุณ คุณไว้ใจผมได้.... เราจะอยู่ร่วมกันได้ไม่ใช่แค่หยุดยิง เป็นการส่งสัญญาณ ให้ไฟค่อยๆมอด ปรับวิธีการกัน หากเป็นเช่นนี้ ใครมายิงชาวบ้านจะจัดการกันเอง ขณะนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่มากพอ ที่สำคัญต้องเปลี่ยนวิธีคิด เราหาทางออกให้เพื่อนร่วมชาติ ชนะกันที่ทิศทาง ไม่ใช่ชนะด้วยปืน เดี๋ยวนี้ เวลาพูดไม่เข้าหู ก็จะมีการระเบิด เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจ ดังนั้น หากจะให้ได้ผล แสดงว่าเขาก็ส่งสัญญาณ ดังนั้น เราต้องเริ่มส่งสัญญาณในทางที่ดี ส่งสัญญาณว่าคุณเป็นเพื่อนร่วมชาติ ผมไว้ใจคุณ คุณไว้ใจผม.....


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๒๓ หัวข้อ: รัฐสวัสดิการ: กรณีศึกษากลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียน โดย: อ.บุญส่ง ชเลธร – อาจารย์พิเศษ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วันเวลา: สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า

รัฐสวัสดิการกับสวัสดิการโดยรัฐแตกต่างกันอย่างไร? วันนี้เราเรียนกับ อ.บุญส่ง ชเลธร แกนนำสมัย ๑๔ ตุลา ท่านไปอยู่สวีเดนมาเกือบ ๓๐ ปี ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ม.รามคำแหง อ.บุญส่ง ได้อารัมภบทว่าจากการเลือกตั้ง การเมืองไทยมักจะพูดกันเสมอว่ามีการเสนอรัฐสวัสดิการ มีหนังสือเขียนกันมาก โมเดลที่เอามาพูดจะเอาของสแกนดิเนเวียนมาพูดคุยเล่าประสบการณ์กัน และท่านเห็นว่าของสแกนดิเนเวียนน่าจะดีที่สุดในปัจจุบัน เพราะทำได้ครอบคลุมในขอบเขตที่กว้างกว่าและช่วยคนได้มากกว่า เราพูดกันถึงรัฐสวัสดิการ อาจารย์บอกว่ารัฐสวัสดิการและสวัสดิการโดยรัฐ แตกต่างกัน รู้ไหมรัฐของประเทศใดก็ตาม ทุกรัฐบาลล้วนมีรัฐสวัสดิการให้กับประชาชนทั้งสิ้น เพียงแต่มากน้อย ไม่ว่ารัฐบาลนั้นจะน่าเกลียดน่าชังอย่างไรก็ตาม เช่น ระบบสาธารณูปโภค การรักษาพยาบาล รัฐสวัสดิการที่รัฐให้ประชาชน แต่ทำไปทำมากลายมาเป็นประชานิยม รัฐสวัสดิการไม่ขึ้นต่อนโยบายของนักการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องเป็นโครงสร้างของประเทศ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาล รัฐสวัสดิการจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง และประชาชนรู้สึกว่าเป็นสิทธิโดยชอบธรรมที่เขาจะได้รับ ไม่ใช่เป็นหนี้บุญคุณจากนักการเมือง แต่ของไทย รัฐบาลชุดใหม่มักจะเปลี่ยนแปลง และประชาชนรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ ซึ่งหากเป็นอย่างนี้ไม่ใช่รัฐสวัสดิการ แต่มันเป็นสวัสดิการโดยรัฐ ในแถบสแกนดิเนเวียน (สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก) พัฒนาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นประเทศที่เป็นกลาง ไม่เคยเข้าร่วมสงคราม ไม่ว่าสงครามโลกครั้งที่๑หรือ ๒ ถึงเป็นกลางแต่ก็คบกับเยอรมัน ค้าขายซึ่งกันและกัน ราอูล วัลเลแบร์ ชาวสวีเดนได้ช่วยเหลือชาวยิวเป็นจำนวนมากให้รอดพ้นจากภัยนาซี แต่หน้าฉากทำการค้ากับเยอรมัน หลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงถูกจับและหายสาบสูญไป ต่อมาอีกหลายปีจึงมีข่าวออกมาว่าเสียชีวิตที่ไซบีเรีย อาจารย์บอกว่ากลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียนไม่รวมฟินแลนด์ ฟินแลนด์มีสงครามบ่อย สวีเดนพัฒนาอุตสาหกรรม คนจากฟินแลนด์จึงแห่เข้ามาทำงานในสวีเดนถึงสามแสนคน โดยซื้อตั๋วเที่ยวเดียวจากฟินแลนด์แล้วเข้ามาตั้งรกรากในสวีเดน สวีเดนพัฒนารัฐสวัสดิการดีมาก

- สหภาพแรงงานมีความเข้มแข็ง แรงงานร้อยละ ๘๐-๙๐ เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และมีอำนาจต่อรองสูงมาก สวีเดนเป็นคนต่างชาติ ๑,๒๐๐,๐๐๐ คน (ในยุโรป ในเยอรมันคนไทยมาก อังกฤษ ฝรั่งเศส รองลงมา ที่ต่อมาประมาณ ๓-๔ ปีที่ผ่านมา คนไทย (ผู้หญิงประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์) เทเข้าไปอยู่สวีเดนถึงประมาณ ๓,๐๐๐ คนต่อปี กรุงสตอกโฮล์ม ร้านอาหารไทยดังมาก ที่ อ.หนองวัวซอ มีเขยฝรั่งทั้งหมู่บ้าน อายุประมาณ ๖๐-๖๕ ปี ส่วนใหญ่เป็นชาวสวีเดน หญิงไทยที่เป็นภรรยาฝรั่งก็มีอายุประมาณ ๓๐-๓๕ ปี) ตัวอย่างความเข้มแข็งของสหภาพแรงงาน คนงานหญิงเป็นพนักงานเก็บเงิน เจ้าของสงสัยว่าเงินหายเพราะคนนี้ จึงติดตั้งวงจรปิด จับได้ ไล่ออกจากงาน คนงานไปฟ้องสหภาพฯ ทนายความมาเจรจานายจ้าง ฟ้องนายจ้างว่าทำผิดกฎหมาย คือ ๑. ติดตั้งกล้องไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างสูง (เช่นแคะจมูก เกาก้น) ๒. ไล่ออกจากงานได้อย่างไร นายจ้างบอกว่าขโมย ทนายบอกว่าศาลยังไม่ตัดสิน ในที่สุดนายจ้างต้องขอประนีประนอมโดยการจ่ายเงินค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ระบอบประชาธิปไตยมั่นคง รัฐมนตรีกลาโหม เป็นผู้หญิงแถมยังไม่รู้เรื่องทหารเสียอีก นักข่าวไปสัมภาษณ์รมต.หน้าใหม่ว่ารู้เรื่องไหม เขาบอกว่าไม่รู้เรื่องแต่จะศึกษา ที่สวีเดนไม่รู้จักการซื้อเสียงขายเสียง ในประตูหน่วยเลือกตั้งจะมีตัวแทนพรรคมีสายสะพายบอกชื่อพรรค แถมยืนพูดคุยกัน กระหนุงกระหนิง และหากสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี คราวหน้าจะไม่ได้รับเลือก นโยบายพรรคจะชัดเจน เช่น พรรคฝ่ายซ้าย บอกว่าจะลดภาษี และลดสวัสดิการ พรรคฝ่ายขวา ลดภาษี และเพิ่มสวัสดิการ เมื่อหลายปีก่อน สส.ไทย ไปดูงาน บอกว่าจะมี สส.สัดส่วน สวีเดน บอกว่าระบบพรรค สัดส่วนมีมาเป็นร้อยปี สวีเดนบอกว่าแบบสัดส่วนจะยกเลิก โดยจะเลือกตั้งบุคคล ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คนรุ่นหนุ่มเป็นสส.สมัยเดียวเลิก เป็นเพราะรู้สึกว่าความเป็นหนุ่มสาวของเขาหายไป ถ้าเป็นสส.แล้วออกไปทำงานอื่น หางานไม่ได้ เขาจ่ายเงินเดือนเท่าสส.ให้ ถ้าไปทำงานได้เงินน้อยกว่าเงินเดือนสส.เท่าไร จ่ายให้จนครบเป็นเวลา ๒ ปี ในแง่การเมือง นายกฯลาออก รองนายกฯ ซึ่งเป็นผู้หญิงน่าจะได้เป็นแน่นอน แต่ก็ถูกหนังสือพิมพ์ขุดคุ้ย เรื่องจ่ายเงินสมทบค่าสวัสดิการเลี้ยงดูบุตรช้า บางครั้งสองสามเดือนจ่ายครั้งหนึ่ง และเครดิตการ์ดของรัฐไปซื้อ ช็อคโกแลต แม้ต่อมาจะเอาเงินไปคืน แต่ก็ถูกขุดคุ้ยถือว่าเป็นเรื่องรุนแรง ในที่สุดก็ไม่ได้เป็นนายกฯ นี่คือความเข้มแข็งในทางการเมืองของเขา จิตสำนึก ประชากรมีจิตสำนึกสูง one for all, all for one ตัวอย่างรัฐสวัสดิการ ตั้งแต่เด็ก เรียนหนังสือ ทำงาน แต่งงาน เจ็บป่วย เกษียณ ตาย ผู้หญิงในสวีเดนมีสิทธิลาคลอดปีละ ๑ ปี ๓ เดือน (ใน ๓ เดือน จ่ายให้ ๘๕ เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน) สวัสดิการดังกล่าวให้ลาได้ภายใน ๘ ปี (จะลาครั้งละกี่วันก็ได้ ทบไปเรื่อยๆจนกว่าจะครบ แต่ถ้า ๘ ปีแล้วยังลาไม่ครบก็หมดสิทธิลา) แฝดกี่คนก็ตาม จะได้ตามจำนวนเด็ก เช่นแฝดสองก็จะลาได้ ๒ เท่า แฝดสามก็จะลาได้ ๓ เท่า และแถมให้พ่ออีก ๒ สัปดาห์ ตอนหลังให้คุณพ่อลาได้ ๑ เดือน ถ้าไม่ลาจะตัดรายได้ ๑ เดือน นั้น เพื่อให้พ่อรู้จักช่วยเลี้ยงลูก รู้จักเปลี่ยนผ้าอ้อม ตั้งแต่แรกเกิด เด็กจะมีเงินเดือนให้ ตั้งแต่วันแรกเกิดถึง ๑๖ ปีเต็ม ส่งเข้าบัญชีแม่ เดือนละ ๑,๐๕๐ โครน คูณด้วย ๕.๕ เป็นเงินบาท ถ้าเรียนต่อก็จะจ่ายให้จนจบมัธยมปลาย (คนสวีเดนจะมีลูกประมาณ ๒ คน แต่คนต่างชาติมักจะมีมากกว่า และการจ่ายนั้นไม่เกี่ยงว่าเป็นคนชาติใด) พรรคลิเบอรัลเสนอยกเลิกเงินก้อนนี้ แต่จะจ่ายให้ ๓๐๐,๐๐๐ กว่าโครน ซึ่งเห็นว่าเป็นผลดีกับพ่อแม่ การเรียน ฟรีทุกอย่าง ไม่มีการเก็บเงิน แม้กระทั่งดินสอ ยางลบ สมุด อาหารกลางวัน ไม่อร่อยก็ strike ไม่กิน บางทีก็ strike ว่าจ่ายค่าอาหารให้เด็กแค่วันละ ๘ โครน แต่จ่ายให้นักโทษถึง ๔๐ โครนต่อวัน การรักษาพยาบาลต่ำกว่า ๑๘ ปีลงมา ฟรีทุกอย่างทุกโรค ถ้าเกินสิบแปดเก็บ ๑๔๐ โครนรักษาทุกโรค แต่ต้องจ่ายทุกครั้งที่ไปตรวจ มีอาการปวดหัว จ่ายค่าตรวจ ๑๔๐ โครน ต่อมาอาการปวดหัวมากไปตรวจดูเส้นโลหิตในสมองปัญหา ถ้ามีสาเหตุมาจากการปวดหัวที่เป็นมาก่อนแล้ว คราวนี้รักษาฟรี การกู้เงินเรียนเด็กสามารถเซ็นชื่อกู้เงินเรียนได้ด้วยตนเองไม่ต้องให้ผู้ปกครองมาเซ็นด้วยก็ได้ เด็กสวีเดนจะกู้เงินไปเรียนที่โปแลนด์ที่นั่นค่าครองชีพถูกกว่า เวลาเกษียณจะมีเงินประกันให้ก้อนหนึ่ง ก้อนที่สองจะได้ตามจำนวนที่จ่ายภาษี และไม่ว่าไปอยู่ที่ไหนเขาก็จะส่งไปให้ คนพิการก็จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกจุดไม่ว่าจะคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ หากป่วยทำงานไม่ได้ รัฐจะจ่ายให้ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าหยุดงานดูคนใกล้ชิดที่ป่วยไข้ ก็มีสิทธิได้รับเงินเดือน ไม่ใช่แค่พ่อแม่ลูก แม้แต่หยุดดูแลเพื่อนบ้านก็ได้ สวัสดิการสังคมจะเข้ามาดูความเรียบร้อย หากสภาพที่ทำงานไม่ได้เป็นเหตุให้คนงานเจ็บป่วย รัฐจะจัดการปรับปรุงให้ และการเจ็บป่วยนั้นทำให้สูญเสียสมรรถนะในการทำงาน นายจ้างต้องเปลี่ยนงานให้เขาด้วย ถ้าไม่มีงานที่จะปรับเปลี่ยนให้ รัฐก็จะจัดให้ไปเรียนวิชาชีพให้ด้วย ระหว่างพักดื่มกาแฟ มีพวกเราเข้าไปนั่งคุยกับอาจารย์ในเรื่องต่างๆ อาจารย์ก็เลยเอามาเล่าในห้องให้พวกเราฟังครับ ๑. ภาษี สูง มีตารางภาษี ๗ ตาราง ๒๙-๓๖ เปอร์เซ็นต์ (นี่หมายเฉพาะขั้นต่ำ) ส่วนขั้นสูงสุด (๖๒ เปอร์เซ็นต์) เป็นระบบก้าวหน้า รายได้สูงภาษีสูง (มีคนสวีเดนคิดทำงานให้ได้รายได้ไม่เกินที่ตัวต้องการ เพราะถ้ารายได้สูงจะถูกหักภาษี ดีไม่ดีขยันทำงานแต่เงินเหลือน้อยกว่าคนที่มีรายได้น้อยกว่า) นายจ้างต้องจ่ายภาษีให้รัฐ ๓๘ เปอร์เซ็นต์ ในสวีเดนอย่าหนีภาษี เพราะจะถูกสรรพากรตามล่าอย่างถึงที่สุด

คนจนมีรายได้เท่านี้ ค่าเช่าบ้านเท่านี้ เงินเหลือไม่พอ รัฐจะมีเงินช่วยเหลือจ่ายค่าเช่าบ้านให้ด้วย VAT ๒๕ เปอร์เซ็นต์ เคยลดลงมาเหลือ ๑๙ เปอร์เซ็นต์ ยาลดให้ ๑๒ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ไม่ว่าเกิดจากภายในหรือภายนอก รัฐสวัสดิการจะกระทบกระเทือน ป่วยวันแรกรัฐไม่จ่าย แต่วันที่ ๒-๑๔ นายจ้างต้องรับผิดชอบ จากนั้นรัฐจ่าย ๒.ข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ ไม่กระตุ้นให้คนทำงาน เวลาตกงานได้เงินมากกว่าคนทำงานครึ่งเวลา ฝ่ายซ้ายตีรัฐสวัสดิการมากกว่าฝ่ายขวา ทุนนิยมเกิดความขัดแย้งของคนสองกลุ่มระหว่างนายทุนกับกรรมกร ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน เมื่อเกิดปัญหาด้านสวัสดิการในระบบทุนนิยม คนที่ตกเป็นเหยื่อคือคนต่างชาติ เพราะจะถูกกล่าวหาว่ามาแย่งรัฐสวัสดิการของเขา เขาไม่ใช้ความรุนแรง แต่ใช้ระบบรัฐสภาเปลี่ยนผู้บริหาร ๓.ปัญหาโสเภณี สวีเดนเป็นสังคมนิยมใช่หรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่เพราะเป็นประชาธิปไตย อาจารย์บอกว่าโสเภณีมีแต่ไม่มาก เป็นประเทศแรกในโลกที่ออกกฎหมายให้การค้าประเวณีไม่ผิดกฎหมาย แต่จับคนเที่ยว ติดคุก ๖ เดือน ได้ผลทำให้โสเภณีหายไป การต่อต้านผู้ซื้อประเวณีโดยการตีพิมพ์หมายเลขทะเบียนรถคนที่รับผู้หญิงข้างถนน เอามาติดกันเป็นบัญชีหางว่าวทำให้เกิดการปฏิเสธกันจ้าละหวั่น ที่นั่นอนุญาตให้คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ (มีเสรีภาพมาก) มีสิทธิรับเด็กมาเป็นบุตรบุญธรรม แต่การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยให้อยู่กับคนเพศเดียวกันที่เรียกตัวเองเป็นสามีภริยากันจะเป็นเรื่องเหมาะสมหรือไม่ เรื่องนี้เขาก็วิพากษ์วิจารณ์กันมากเช่นกัน (เพราะฉะนั้น กรณีชาวสวีเดนมาขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ให้ดูดีๆว่าถ้ามารับเด็กเป็นบุตร เป็นพ่อสองคนหรือแม่สองคนหรือเปล่า) ๔.การทำธุรกิจในสวีเดน ต้องเสนอโครงการที่เป็นไปได้ ไม่เพ้อฝัน พัฒนาได้ แล้วจึงมาดูว่าจะต้องลงทุนเท่าไหร่ แล้วก็จะมาดูว่าเรามีเงินลงทุนตามจำนวนนั้นหรือไม่ จึงจะผ่านได้ สปา นวดแผนโบราณ หากขอไปเป็นพนักงานนวด สมัยก่อนถ้ามีใบรับรองว่าผ่านการเรียนที่วัดโพธิ์ก็จะผ่าน แต่ปัจจุบันเริ่มมีเยอะแล้วการขออนุญาตก็เริ่มจะยากขึ้น ที่ฟินแลนด์ออกหนังสือพิมพ์เลยว่าสปาไทยมีขายตัว มันน่าขายหน้าไหมล่ะ ที่สวีเดนมีกฎหมายทำแท้งได้เสรี ถ้าเป็นเด็กจะต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ ถ้าเด็กไม่ยอมให้แจ้ง ผู้ปกครองก็แจ้งไม่ได้อีก ก็มีทางออกให้แจ้งประชาสงเคราะห์ ห้ามเด็กไม่ให้ทำไม่ได้

อียู ไม่รวมนอร์เว (เพราะประชาชนไม่ยอม) และสวิสเซอร์แลนด์ ส.ขอนแก่น เปิดโรงงานไส้กรอกอีสานที่กรุงวอร์ซอร์ โปแลนด์ โดยทำรสอีสานและรสเวียดนาม คนงานเป็นคนโปแลนด์ มีพ่อครัวคนไทยคุมรสชาติ เพราะที่โปแลนด์มีเนื้อหมูมาก ต้องชมว่า ส.ขอนแก่น วิสัยทัศน์กว้าง การทำเช่นนี้ไม่ขัดแย้งกับคนในพื้นที่ ในด้านการศึกษา เด็กในอียูด้วยกันสามารถย้ายไปเรียนในประเทศสมาชิกได้ เช่น เด็กไทยจากสวีเดนไปเรียนอังกฤษได้เรียนฟรี แต่เด็กไทยที่เรียนในเมืองไทยไปเรียนอังกฤษเสียค่าใช้จ่ายแพงมาก กฎหมายของอียูเป็นใหญ่ ประเทศใดในเครือออกกฎหมายใดที่ขัดแข้งต่อกฎหมายอียูจะใช้บังคับไม่ได้ อ.สายสวรรค์ วัฒนพานิช ถามเรื่องประกันชีวิตเพราะสงสัยว่าในเมื่อมีรัฐสวัสดิการค่อนข้างจะเพียบพร้อม แสดงว่าธุรกิจประกันก็ไม่ค่อยรุ่งใช่หรือไม่? อาจารย์ตอบว่าประกันชีวิตมีบ้างแต่ไม่มาก ประกันภัยสิ่งใดที่รัฐไม่มีก็สามารถซื้อประกันเพิ่มเติมได้ ปัญหาของสวีเดนคือเด็กไม่สนใจเรียนต่อ ขาดจิตสำนึก คนหนุ่มสาวไม่ต้องการมีลูก แล้วพอเรียนจบเกรด ๙ เขาจะหยุดเรียน ๑ ปีเพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ สังคมไทยเป็นสังคมมนุษย์กับมนุษย์ แต่สวีเดนเป็นสังคมรัฐกับมนุษย์ ไม่มีงานทำ ทะเลาะกันภายในครอบครัว ก็ไปหารัฐ ไม่มีการขอยืมเงินจากเพื่อนบ้านจ่ายค่าเช่าบ้าน ของเขาถ้าไปยืมเงินเพื่อจ่ายค่าเช่าบ้าน เขาจะบอกให้ไปหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไปไม่ถูกเขาจะจดเบอร์โทรศัพท์ให้ ไม่เหมือนบ้านเรา ค่าเช่าบ้านไม่พอบางทีขอยืมเพื่อนบ้านได้ เพราะสังคมไทยเป็นสังคมเพื่อน ทำไมนอร์เวย์และสวิสเซอร์แลนด์ไม่เข้าอียู สวิสฯถือว่าเขาเป็นกลางมาตลอด เขาอยู่ได้ด้วยตัวเอง นอร์เวย์ตีกันเองภายในประเทศ แต่เมื่อลงคะแนนแพ้นิดหน่อย สวีเดนชนะนิดหน่อยจึงเข้าอียู ที่โน่นการรักษาสิ่งแวดล้อมรุนแรงมาก การตัดต้นไม้ ๑ ต้น ถือเป็นเรื่องใหญ่ ต้องติดป้ายบอกเหตุผลด้วย การใช้พลังงานทดแทนมีมาก มีการใช้กังหันพลังลมกันมาก คุณธัญญ์นิธิ อักษรสิทธ์จิรา ถามเรื่องรัฐสวัสดิการดี ถ้าทำทั่วโลกจะดีหรือไม่? คำตอบคือ ดี การลาพักร้อนที่โน่นลาได้ ๕ สัปดาห์ แต่การเมืองต้องมั่นคง การจัดเก็บภาษีต้องทำจริง อ.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร กับพี่แดง เตือนใจ ดีเทศน์ ถามเรื่องเด็กและการไร้สัญชาติ สวีเดนจะมีการตกหล่นไม่ได้จดทะเบียนของรัฐ มีได้หรือไม่? เช่น คนเอเชียเข้าเมืองผิดกฎหมายแล้วเกิดท้องแล้วทำคลอดเอง อาจารย์บอกว่าทุกคนที่เกิดในสวีเดน ชอบด้วยกฎหมายจะมีเลข ๑๐ ตัว และจะติดตัวไปจนตาย ทำอะไรไม่ได้เลย มีกรณีผู้ลี้ภัยมาก ถูกไล่กลับแล้วหนี จะมีขบวนการพาช่วยหลบหนี โบสถ์จะช่วย ๕-๑๐ ปี แล้วจะมีพาไปอยู่บ้าน ให้ปลูกผักปลูกหญ้า จัดโรงเรียนให้เด็ก แต่ตำรวจก็จะต้องตามล่า


พี่สีน้อย เกษมสันต์ ณ อยุธยา ถามเรื่องการรับผู้ลี้ภัยของสวีเดน อาจารย์บอกว่า เดิมเป็นการลี้ภัยเพราะความปลอดภัยของชีวิต เขาก็มักจะรับ แต่ปัจจุบันลี้ภัยเศรษฐกิจ พวกนี้จะไม่รับ สวีเดนมียาเสพติด มีโรคเอดส์ (มีไม่มาก) ผลสำรวจว่าติดมาจากประเทศไทย ที่โน่นคนเป็นเอดส์ไปร่วมประเวณีจะมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือพยายามฆ่า (ความจริงเรื่องนี้ผมก็เคยคิดอยู่เหมือนกัน เพราะในขณะที่เรายังไม่มีการรักษาให้หายได้ การที่หลอกให้ผู้อื่นร่วมประเวณีด้วยก็เพื่อให้เขาตายชัดๆ ก็น่าจะเป็นความผิดกฎหมายอาญา อ.แหวว ว่าไงครับ) วัยรุ่นสูบบุหรี่เยอะ ถามว่ารายได้ของสวีเดนมาจากไหน อาจารย์บอกว่า รายได้มาจากอุตสาหกรรม รถยนต์ ภาคบริการ เหล็ก โทรคมนาคม การค้าอาวุธสงคราม ลูกค้ารายใหญ่ของสวีเดนคืออเมริกา ดร.จินตนาภา โสภณ ถามว่าการที่เด็กไม่เรียน มันขัดแย้งกับการวิจัยที่สวีเดนมีผลงานวิชาการด้านงานวิจัยเป็นแนวหน้าของโลกหรือเปล่า? อ.บุญส่งบอกว่าบอกไม่ขัดแย้งหรอก ที่สวีเดนไม่ขึ้นเงินเดือนตามวุฒิ แต่ขึ้นตามงาน สวีเดนทุ่มเทงบประมาณในงานวิจัยสูงมาก ไม่ได้หมายความว่าคนไม่เรียนทั้งหมด แต่ก็ยังมีกลุ่มที่สนใจวิชาการและเรียนระดับสูง และกลุ่มพวกนี้แหละทำให้ผลงานวิจัยเขาดี ดร.อิสมาแอ อาลีถามว่า จนสุดๆรวยสุดๆ เป็นอย่างไรมีหรือไม่? อ.บอกว่าปัจจุบันมี Home less ประมาณ ๓๐๐ คน ไปขอเงินรัฐแล้วมานอนในสวนสาธารณะ คุณอายุบ ปาทานถามว่าคนที่ไปอยู่สวีเดน ส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่มีความขัดแย้งกับประเทศนั้นๆจริงหรือไม่? อาจารย์บอกว่าไม่จริง คนที่ไปอยู่ การศึกษาก็ไม่สูงมาก กลุ่มแรกพวกลูกท่านหลานเธอ สองพวกนักเรียนทุน ต่อมากลุ่มใหญ่คือผู้หญิงขายบริการ กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มนักเรียนที่อยากไปอยู่เมืองนอก ไปหาแฟน (เราสนุกที่ได้เรียนรู้เรื่องรัฐสวัสดิการ แต่ตราบใดที่สรรพากรยังตามเก็บภาษีจากแม่ค้าก๋วยเตี๋ยวโดยไปนั่งนับชาม นั่งนับไม้สะเต๊ะว่าขายได้กี่อัน แต่คนซื้อขายหุ้นกันในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีละก็....ฝันไปเถิดประเทศไทย)


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๒๖ หัวข้อ: การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ โดย: อ.บุญส่ง ชเลธร – อาจารย์พิเศษ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วันเวลา: สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า

หัวข้อนี้เราเรียนกับรศ.นรนิติ เศรษฐบุตร อ.บอกว่าไม่ได้ตั้งหัวข้อเอง จริงๆต้องตั้งว่าการอยู่ร่วมกันอย่างไม่สงบภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเพราะรัฐธรรมนูญ ในประเทศไทยเลือกตั้งทีก็มีคนตาย ไม่ว่าเลือกระดับไหน ความจริงเมื่อมีการเลือกตั้งแล้วคนชนะก็อยู่ได้คนแพ้ก็ต้องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ไม่แน่ว่าจะดีที่สุด รัฐธรรมนูญไม่เขียนเรื่องอภัยวิถีไว้ แต่ในสังคมไทยสอนไว้ วรรณกรรมขุนช้างขุนแผนเขียนไว้ วรรณกรรมเรื่องนี้ก็เป็นของไทยภาคกลางอาณาบริเวณที่เขียนไม่เคยโยงไปถึงภาคใต้ อย่างเก่งก็แค่เมืองเพชร พูดถึงการเดินทางไปทางเหนือก็พูดถึงพิจิตร พิษณุโลก สุโขทัยถึงเชียงใหม่ทีเดียว อภัยวิถีเป็นเรื่องของคนดี เกิดเรื่องอะไรขึ้นขุนแผนซึ่งเป็นฝ่ายคนดี(ไม่รู้จริงหรือเปล่า) ก็ต้องอภัยขุนช้าง ศรีมาลาอภัยสร้อยฟ้า แต่ทางฝ่ายขุนช้างซึ่งเป็นคนร้ายไม่ให้อภัยขุนแผน สังคมไทยเราใช้อภัยวิถี ในรัฐธรรมนูญ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ปี ๒๔๗๖เป็นผู้ใช้คำ(รัฐธรรมนูญ) นี้ มีคำจำกัดความว่าหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการปกครองแผ่นดิน ก่อนจะใช้คำว่ารัฐธรรมนูญ หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเขียนกฎหมายปกครอง และพูดถึงเรื่องประชาธิปไตยเอาไว้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พูดถึงอำนาจ ระเบียบ อ.หยุด แสงอุทัย ก็พูดถึงอำนาจหรือความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ จนถึงปี ๒๕๒๓ ดร.วิษณุ เครืองาม ก็พูดเรื่องอำนาจ ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ ฝรั่งก็อธิบายเรื่องอำนาจและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจ แต่เวลาเราพูดกันว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร เราก็จะบอกว่าเป็นกฎหมายแม่บท เป็นกฎหมายหลัก พอพูดถึงอำนาจเรามักพูดถึงผู้นำ ทฤษฎีผู้นำ Elite Theory หรือทฤษฎีมวลชน Mass Theory ที่ผ่านมาทฤษฎีผู้นำมักชนะ (อาจารย์บอกว่าในอดีตนะ...ไม่ใช่ปัจจุบัน) แม้แต่มาร์กซ์คนยกย่องว่าเป็นผู้ใช้ทฤษฎีมวลชนพูดถึงทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ ว่านายทุนจะแย่จะขุดหลุมฝังตัวเองเพราะการขยายทุนจะกระทบกระเทือน แต่จนถึงปัจจุบันคอมมิวนิสต์ล่มสลาย แต่ทุนนิยมยังอยู่ ถ้ามีห้างใหญ่มา โชว์ห่วยก็เจ๊ง แต่มาร์กซ์เป็นนักทฤษฎีทางมวลชนไม่ใช่นักปฏิบัติ พอเลนินมาทำ(นักปฏิบัติ)ก็บอกว่าอย่าให้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย การร่างวินัยของพรรคก็เป็นคนกลุ่มน้อย ผู้ปกครอง(กรรมการพรรค)ก็เป็นคนกลุ่มน้อย แต่สมาชิกพรรคเป็นคนกลุ่มใหญ่ เราพูดถึงสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ว่าเป็นทฤษฎีของ mass ซึ่งมันใช่แน่หรือ...ลองไปอ่านทฤษฎีที่เป็นเจ้าตำรับด้านนี้ สังคมนิยมคนตัดสินใจเป็นคนกลุ่มน้อย อ.บอกว่าอย่าเอามาปรับกับของไทยนะ เพราะพูดในเรื่องต่างประเทศ ประชาธิปไตยที่ประชาชนจำนวนมากมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ลองดูสิ พอเลือกเสร็จประชาชนหมดอำนาจทันที ประชาชนมีอำนาจตัดสินเลือกใครเท่านั้น วิธีคิดก็ต้องคิดถึงอำนาจ ประชาชนอยากรู้เพียงแค่ใครจะเป็นนายกฯ ใครเป็นรัฐมนตรี ใครเป็นสส. ใครเป็นสว. ข่าวก็จะตามอยู่แค่นี้ คนชอบอ้างรัฐธรรมนูญอเมริกันว่ามีไม่กี่มาตรา แต่คนอเมริกันก็จำไม่ได้ จำได้อยู่แค่ว่าสิทธิผู้ต้องหาจำเลยไม่ต้องให้การเพราะจะเป็นการปรักปรำตัว เขาเน้นที่อำนาจเหมือนกัน การร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะร่างเรื่องอำนาจ ใครจะเป็นผู้มีอำนาจ ใครจะเป็นผู้ปกครอง การเน้นเรื่องอำนาจเป็นการเน้นที่คนส่วนน้อย ไม่ได้เน้นที่คนส่วนมาก แต่การปกครองไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตยต่างจะอ้างว่าเพื่อประชาชน ไม่มีใครกล้าพูดว่าปกครองเพื่อตนเองสักคน ประชาธิปไตยทางตรงในปัจจุบันทำไม่ได้ ต้องเป็นทางอ้อม โดยเลือกผู้แทน แล้วผู้แทนไปเลือกรัฐบาล ไปควบคุมรัฐบาล ไปซูเอี๋ยรัฐบาล แต่กระแสสังคมทำให้เกิดวิวัฒนาการและเกิดในต่างประเทศ และในที่สุดเราก็ได้ยินคำว่าประชาสังคม Civil society มาจากยุโรปตะวันออก (ที่เป็นคอมมิวนิสต์) เพราะรัฐควบคุมทั้งหมด ประชาชนประกอบการไม่ได้ ในที่สุดประชาชนขออย่าให้รัฐมายุ่งได้ไหม ขอเพียงให้ประชาชนมีสิทธิมีเสียง ยุคจอมพลสฤษดิ์ ห้ามคน ๕ คนพูดเรื่องการเมือง ผู้ชายสมัยนั้นพูดเรื่องทะลึ่งได้ แต่พูดเรื่องการเมืองที่สะอาดกว่าเรื่องทะลึ่งไม่ได้ มีสิทธิติดคุก แสดงว่าผู้นำกลัวการเมือง รัฐธรรมนูญของไทย ๑๘ ฉบับ เอาออกไปครึ่งหนึ่งเพราะเป็นเรื่องธรรมนูญการปกครอง ไม่ต้องไปสนใจมาก (เพราะไม่ค่อยพูดถึงสิทธิเสรีภาพ) รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม (หลวงกาจ กาจสงคราม เป็นผู้ร่าง) พูดถึงสิทธิเสรีภาพไว้เยอะ ๑๐ ธ.ค.๒๔๗๕ เป็นพื้นฐานการนำเสนอว่าประชาธิปไตยไทยเป็นอย่างไร พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ใช้คำว่า “ราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ” ซึ่ง อ.ว่าแปลได้ถูกต้องที่สุด และได้พูดถึงสิทธิไว้แต่ก็ยังไม่มาก ในรัฐธรรมนูญ มีวิวัฒนาการ มีการประกันสิทธิเสรีภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มีอำนาจละเมิดสิทธิของประชาชน การมีประชาธิปไตยของเรา คนยังพัฒนาไม่ทัน จึงเป็นที่มาของสภาที่สอง มีพฤฒิสภา ให้ประชาชนเลือกตั้งทางอ้อม เป็นเจตจำนงของรัฐธรรมนูญ ๒๔๘๙ แต่ยังไม่ได้ทำ และรัฐธรรมนูญใช้ได้ไม่นาน แต่ในปี ๒๔๙๐ คณะรัฐประหารเอามามีสองสภา มีเลือกตั้งกับแต่งตั้ง ปี ๒๔๙๒ ตั้งคณะคนขึ้นมาร่างแล้วข้ามมาถึง รัฐธรรมนูญปี ๒๕๑๑ ร่างนานมากตั้งแต่ ๒๕๐๒ มาเสร็จเอาปี ๒๕๑๑ แต่เนื้อหาไม่ค่อยมีอะไรกับประชาชน แต่เน้นห้าม ส.ส.เป็นรัฐมนตรี จนจอมพลถนอม ปฏิวัติรัฐบาลตัวเอง

ปี ๒๕๑๗ จะมองผู้ถูกปกครองอย่างไร มองว่าคนจะลงเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมือง ร่างการเปลี่ยนแปลง ๑๔ ตุลา จึงต้องเปิดกว้างปรับปรุงสิทธิเสรีภาพ ใช้ได้ถึง ๖ ต.ค.๑๙ หลังจากนั้นมีรัฐธรรมนูญเล็กๆน้อยๆมาถึงปี ๒๕๒๑ ซึ่งเริ่มสร้างประชาธิปไตยแต่ก็ยังไม่มีอะไรมาก รัฐธรรมนูญปี ๒๕๓๔ ไม่สำคัญในเรื่องความคิดแต่จุดประกาย คุณฉลาด บอกว่าไม่ได้ต้องให้ประชาชนร่าง ไม่ใช่ให้นักการเมืองร่าง เพราะนักการเมืองร่างแล้วก็จะเขียนเพื่อประโยชน์ตัวเอง (กฎหมายบอกให้แก้ได้แต่ไม่ได้บอกให้ร่างใหม่) สมัยปี ๒๕๓๕ คิดนอกกรอบ สมัยนายกฯชวน ซึ่งท่านเห็นด้วย และต่อมาสามารถทำได้ในสมัยของนายกฯบรรหาร ตั้งกม.แก้ไขรัฐธรรมนูญปี ๒๕๓๔ ม.๒๑๑ ให้สามารถร่างรัฐธรรมนูญได้ สมัยก่อนจะทำได้ต่อเมื่อยึดอำนาจ และอาจารย์ขอให้เราสังเกตกระแสประชาธิปไตยด้วย คอมมิวนิสต์กำลังล่มสลายทั้งๆที่ไม่เคยมีใครคิดว่าจะล่มสลาย เพราะลัทธินี้ฝังรากลึกลงไปถึงหมู่บ้าน ทุกกลุ่มของเกษตรกร กรรมกร มีเซลล์ของคอมมิวนิสต์ แต่มันกลับกลายเป็นว่า ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี อาจารย์เล่าให้เราฟังว่าการร่างรัฐธรรมนูญ จะมีกรอบการร่างหลักๆ ๓ กรอบ คือ -กรอบสิทธิเสรีภาพของประชาชน -กรอบการตรวจสอบอำนาจรัฐขององค์กรอิสระของรัฐธรรมนูญ -กรอบพรรคการเมือง ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยไม่เคยมีพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเข้มแข็ง จนกระทั่งถึงปี ๒๕๔๐ ๑. ต้องทำให้ประชาชนเข้มแข็ง สิทธิเสรีภาพให้ประชาชนมีส่วนร่วม ๒. ระบบรัฐสภาเมื่อตั้งรัฐบาลได้ รัฐสภาจะอ่อน จึงต้องร่างให้ระบบรัฐสภามีความเข้มแข็ง แนวนโยบายของรัฐ มีการวิพากษ์วิจารณ์หลังรัฐธรรมนูญปี ๒๔๙๒ ว่ามีทำไม ใครจะมาเป็นรัฐบาลเขาก็จะมีแนวนโยบายแห่งรัฐ ตั้งแต่ปี ๒๔๙๒ มาถึงปัจจุบัน ตัดไม่ได้ จนปัจจุบันมีการเมืองภาคประชาชน รัฐธรรมนูญปี ๔๐ มีการพูดถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มาตกผลึกเมื่อรัฐบาลขิงแก่ ออกกฎหมายรับรององค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียน องค์กรที่เป็นสถาบันทางการเมืองได้รับการรับรองโดยกฎหมายของรัฐ รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ขยายมามองถึงผู้ถูกปกครอง นายชวน เป็น ส.ส.ตั้งแต่ ๒๕๑๒ การคุ้มครองผู้ถูกปกครอง การจะจับคนก็ถูกห้ามไม่ให้ทำง่ายๆเพราะต้องการคุ้มครองคนดี แต่มันก็เกิดผลกระทบอย่างที่บรรดาฝ่ายกฎหมายรู้ดี และไม่สามารถเขียนให้สมบูรณ์ได้ทุกจุด คนที่กำหนดตัวนายกฯคือพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญเป็นการกำหนดความชอบธรรมแห่งอำนาจ ที่ซึ่งประชาชนยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง คุณไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ถามว่ารัฐธรรมนูญมีโอกาสไหมที่จะไม่ต้องมีตัวรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษ ตัวรัฐธรรมนูญถ้าให้เป็นตามธรรมชาติ เป็นตามทางวัฒนธรรมไม่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร? อ.บอกว่ายากมาก เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงต้องมีการเขียนกติกา โลกที่ไม่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรมีน้อยมาก เช่น นิวซีแลนด์ ขนาดเขียนมีกติกาล่วงหน้ายังมีปัญหาเลย สมัย อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ (เป็นนายกรัฐมนตรี) มีการยุบสภา มีปัญหาว่าเมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้จะยุบได้อย่างไร ก็ตอบว่ามีตัวอย่างมาก่อนแล้วสองครั้ง ทำได้ คุณกริชพล ลีลาชัย ถามทำไมรัฐธรรมนูญไทยจึงมีหลายมาตรา? อ.ตอบ อินเดียเขียนเยอะกว่าเรา แต่หลายเรื่องก็ไม่น่าใส่ แต่เวลาแลกเปลี่ยนความเห็นฝ่ายที่ให้ใส่เป็นฝ่ายชนะ เช่น การปกครองส่วนท้องถิ่น ไทยมี ๔ แบบ คุณธัญญ์นิธิ อักษรสิทธิ์จิรา ถาม รัฐธรรมนูญแก้ไขได้หรือไม่? อ.ตอบ ถ้าแก้ไขจะทำได้ง่ายกว่าการร่างเพราะมันมีหลายเรื่อง ถ้าจะแก้ จะแก้เรื่องไหน และถ้าถามว่าควรจะแก้หรือไม่ แก้เรื่องอะไร ก็ต้องถามว่าแก้แล้วเกิดประโยชน์แก่ประชาชนหรือไม่ คุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ ถามว่ารัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ที่มีการรับร่างรัฐธรรมนูญเพราะชาวบ้านอยากให้มีการเลือกตั้ง มากกว่ารับรัฐธรรมนูญเพราะชอบรัฐธรรมนูญ (โพล) ถามว่าใครควรจะเข้าไปแก้? อ.ตอบว่า นักการเมืองนั่นแหละ เพราะรับอาสามาสร้างความสงบสุขให้แก่บ้านเมือง จะไปโทษตัวรัฐธรรมนูญไม่ได้ คุณเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน ขอให้วิจารณ์เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ม. ๒๓๗ วรรคสองและม.๓๐๙ อ.ตอบว่าเป็นที่รู้กันการเลือกตั้งซื้อเสียง ฝ่ายที่เสนอต้องใช้ยาแรงคือต้องยุบพรรค มีการอภิปรายกันแต่ในที่สุดฝ่ายที่บอกว่ายุบพรรคเป็นฝ่ายชนะ แต่ที่สุดแล้วก็คือศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้ตัดสิน ท่านนันทศักดิ์ พูลสุข ถามเรื่องการถอดถอนกรรมการบริหารพรรคว่าผู้ร่างคิดอย่างไรที่เขียนให้ยุบพรรค? เพราะกรรมการพรรคผู้ใหญ่บางท่านอาจจะไม่รู้เรื่องแต่เป็นเรื่องส่วนตัวของส.ส.ที่คนหนึ่งบังเอิญว่าเป็นกรรมการบริหารพรรค อ.บอกว่าตอนร่างก็พูดกัน แต่ก็เกิดคำถามว่าจะใช้ยาแรงไหม ถ้าใช้ยาแรงก็ต้องเป็นแบบนี้ และในที่สุดก็เป็นยาแรง ก็ถ้าไม่ทำผิดจะไปกลัวอะไร ท่านนันทศักดิ์ พูลสุข ถามว่าพรรคเล็กตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจ เมื่อตั้งพรรคแล้ว ทำโครงการเสนอทำกิจกรรม กกต.ก็จ่ายตังค์ แต่พอถูกเพิกถอนก็ไม่เหลืออะไรสักอย่าง ควรจะทำอย่างไรที่จะทำให้พรรคเหล่านี้เหลือน้อยลง? อ.บอกว่าพรรคที่เพิ่งตั้งใหม่ไม่มีเงินทำกิจกรรมเหมือนกัน แต่ว่าต้องตามจับโจรกัน

คุณไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว เสนอว่าควรมีการสอนเรื่องรัฐธรรมนูญกันตั้งแต่เด็กนักเรียน อ.บอกว่า เวลามีปัญหาอย่าเอาไปให้เด็กเรียนทุกเรื่อง การศึกษาอย่ามัวแต่นึกสอนอยู่ในห้องเรียน ต้องให้เด็กเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วย (นักศึกษา) เราพูดถึงรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าอยากแก้เพราะมาจากเผด็จการ แต่ในความเป็นจริงทหารเข้าไปเป็นกรรมการร่างน้อยมาก และปี ๒๕๔๐ กับ ๕๐ คนร่างก็เป็นชุดเดียวๆกัน ถ้าชอบผู้หญิงคนหนึ่งคงไม่ไปถามว่าใครทำคลอด สอนเรื่องกฎหมายกับสังคม ให้ นศ.วิจารณ์รัฐธรรมนูญปี ๔๐ กับปี ๕๐ นศ. ๙๐ เปอร์เซ็นต์ วิจารณ์ว่าปี ๕๐ ดีกว่า


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๒๘ หัวข้อ: สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดย: อ.ปรีดา เรืองวิชาธร – มูลนิธิเสมสิกขาลัย วันเวลา: สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า

“อาวุธของบริโภคนิยมคือโฆษณากับห้างสรรพสินค้าเมื่อรวมกันแล้วจะทำให้เราสูญเสียความใคร่ครวญ มีแต่ตัณหา อยากได้ โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็น” หัวข้อวันนี้บรรยายโดยอาจารย์ปรีดา เรืองวิชาธรครับ อาจารย์เริ่มต้นว่าอยากจะให้เล่นเกมเพื่อดูพฤติกรรมบางอย่าง แต่เนื่องจากจำนวนคนและสภาพห้องไม่อำนวยก็เลยต้องปรับเปลี่ยนแผน จริงๆแล้วอ.อยากจะรู้จักพวกเราก่อนเป็นเรื่องหลักและหัวข้อที่เชิญให้มาบรรยายก็คือเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมอะไรที่ทำให้สังคมสงบสุข แต่ถ้าเริ่มที่ทางบวกเลยคือสงบสุขเลยมันดูจะเร็วไป ก็เลยอยากจะชวนพวกเรามาคิดกันว่าอะไรล่ะที่ทำให้สังคมเกิดปัญหา เกิดความทุกข์ ไม่เป็นสุข เกิดความขัดแย้งรุนแรง หากมองดูแล้วมันเริ่มเกิดจากภายในคน ปัจเจกบุคคล กระจายไปสู้ครอบครัว สังคม พื้นที่ ศาสนา พรรคการเมือง ขั้วการเมือง ฯลฯ อ.เลยอยากจะหารากเหง้าตัวที่ทำให้เกิดความทุกข์ของสังคม ก็เลยให้พวกเราจับกลุ่มกันกลุ่มละ ๖ คน แล้วให้ลองระดมความคิดค้นหาความแตกต่างที่นำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง กลุ่มของผมแยกออกมาเป็นมิติใหญ่ๆได้สองมิติ คือมิติภายนอก กับมิติภายใน อยากรู้ไหมครับว่ามิติภายนอกที่พวกเราคิดมีอะไรบ้าง มิติภายนอก วัฒนธรรม เชื้อชาติ เศรษฐกิจ ความยากจน ความขาดแคลน การเมืองการปกครอง สภาพแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ ฐานะ ข้อมูลข่าวสาร เพศ ศาสนา อำนาจ ความอยุติธรรม ผลประโยชน์ มิติภายใน ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความกลัว ความเชื่อ ตัณหา อัตตา อารมณ์ มิจฉาทิฐิ อยากอยาก ความรู้ความเข้าใจที่ผิดพลาด ทัศนคติ พอผมนำเสนอเสร็จก็มีเสียงแซวว่าพูดไปหมดแล้วกลุ่มอื่นก็ไม่ต้องพูดแล้ว จริงๆแล้วอาจารย์ก็ถามทีละกลุ่มว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งก็ตอบกันหลากหลายครับ เรื่องที่ซ้ำกับของผมไม่เล่าแล้วนะครับมันเยอะมาก เอาที่ไม่เหมือนก็จะมีว่า การสื่อสารด้วยถ้อยคำบางอย่างเช่น โจรกระจอก ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง สภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผล เช่น กระแสโลกาภิวัฒน์, องค์กรข้ามชาติ, การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, โลภะ โทสะ โมหะ, ชาตินิยม, พรรคพวก, การอบรมเลี้ยงดู, ชาติพันธุ์, อุดมการณ์ ฯลฯ อ.เพิ่มเติมว่าในสังคมไทย ประสบการณ์สังคมที่ทำให้เรารู้เท่าทันถดถอยไปเรื่อยๆ คณะสงฆ์กับการศึกษาของชาวบ้านแยกจากกัน การเรียนรู้ความเท่าทันทางจิตวิญญาณก็ถดถอยลงไป ทำให้เมล็ดพันธุ์ด้านดีไม่ถูกผลักออกมา มีแต่ปลุกเร้า โลภะ โทสะ โมหะ สังคมพูดถึงความดีงามกันน้อยมาก โครงสร้างพื้นฐานของมนุษย์ ความต้องการที่มีมากและเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะการบริโภคนิยมเข้ามาครอบงำสังคม อาวุธของบริโภคนิยมคือโฆษณากับห้างสรรพสินค้า เมื่อรวมกันแล้วจะทำให้เราสูญเสียความใคร่ครวญ มีแต่ตัณหา อยากได้ โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็น และมีลักษณะการสร้างที่ทำให้เกิดความเชื่อว่าเราต้องการอย่างไม่มีที่สุดและสุขแท้คือความมั่งคั่ง โดยมองข้ามความเชื่อของคนสมัยก่อนที่มีความเอื้อเฟื้อกันแล้วมันจะเกิดความสุขจากการอยู่ร่วมกัน คนสมัยก่อนไม่ได้รู้สึกว่าจน อยู่ได้อย่างมีความสุข เราจะเอาชนะมันได้ด้วยการรู้จริง ตามรู้เท่าทัน เมื่อบริโภคนิยมเข้ามากลืนกินจะทำให้คนรู้สึกว่าต้องมีเหมือนคนอื่น จึงทำให้เกิดการแสวงหาโดยละโมบเพื่อไปแสวงหา จึงเกิดการแย่งชิง เอาเปรียบ เกิดโลภจริต เรากำลังขาดการฝึกปรือภายในเราจึงต้องปฏิรูปการเรียนรู้ อ.ยกตัวอย่างการที่มีผู้นำทางจิตวิญญาณ ออกมาสั่งสอนทางโทรทัศน์ เช่น ท่าน ว.วชิรเมธี ท่านพระมหาสมปอง ก็ถือเป็นเรื่องดี แต่คนที่เข้าไปอยู่ในกระแสจิตวิญญาณ นักปฏิบัติธรรม จะรู้เรื่องแต่ภายใน แต่รู้เรื่องโครงสร้างน้อย ไม่สนใจประชาสังคม ไม่สนใจการเมืองสองขั้ว ไม่สนใจพันธมิตร ไม่สนใจการเมืองภาคประชาชน ลองไปถามดูก็จะบอกว่าเป็นเรื่องอวิชชาเป็นเจ้าเรือน แต่พอไปดูพวกที่สนใจโครงสร้าง การเมือง ฯลฯ ก็สนใจเรื่องจิตวิญญาณน้อย เราอยู่นิ่งว่างไม่ได้ เราต้องเกาะเกี่ยว เพราะเราไปติดบริโภคนิยม เราจะรู้สึกว่ามีเท่าไหร่ก็ไม่พอ เด็กในโรงเรียนก็แย่งชิงผู้ชายว่าใครจะได้คนที่หล่อกว่า เปลี่ยนสิ่งของอยู่เรื่อง เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ค การสร้างความเชื่อให้เกิดการเปรียบเทียบแข่งขัน อ.เคยไปโรงเรียนในฝันแห่งหนึ่งอยากได้ความเป็นเลิศทางวิชาการ ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนตอบคำถาม ๑๐๐ ข้อ ใครตอบได้จะได้รับการยกย่อง จึงเกิดการแข่งขัน แต่แล้วก็ได้เด็กที่มีความเป็นเลิศจำนวนน้อย แต่เด็กในโรงเรียนไม่มีความสุข ความรักระหว่างเพื่อนหายไป เหลือแต่การแข่งขัน เมื่ออาจารย์สังเกตความผิดปกติ จึงเปลี่ยนโจทย์ใหม่ ๑. ให้ทำ ๑๐๐ ข้อ ห้ามนักเรียนในห้องแม้แต่คนใดคนหนึ่งตอบไม่ได้แม้แต่ข้อเดียว เพราะหากมีคนทำไม่ได้แม้แต่ข้อเดียวจะให้ตกทั้งห้อง และ ๒. หากมีเพื่อนช่วยเหลือคนอื่นให้ตอบคำถามได้ก็จะให้สิ่งตอบแทนในฐานะที่ทำให้เพื่อนมีความสุข และ ๓. หากสามารถตั้งโจทย์ให้ครูตอบได้ ๒๐ ข้อ ก็จะให้ผลตอบแทน ผลจากการวางโจทย์อย่างนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี คนที่อ่อนกว่ารับรู้ถึงความมีน้ำใจของเพื่อน และพลังของกลุ่มทำให้เกิดการช่วยกันค้นหาคำถามมาให้อาจารย์ต้องตอบคำถาม ทำให้นักเรียนเกิดความรักความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และตอบคำถามได้เพราะถูกลดพันธนาการที่ทำให้รู้สึกว่าด้อยกว่า เมื่อครูถามว่าถ้าครูจะให้ A ทั้งห้องจะดีไหม แม้จะมีคนตอบได้มากบางคนตอบได้น้อย ทุกคนก็รู้สึกเป็นสุข ในกระบวนการหลังห้อง เพื่อนๆก็เลี้ยงตอบแทนเพื่อนคนที่มีความรู้ดีและช่วยแนะนำเพื่อนคนอื่น ชวนอาจารย์ไปด้วย กระบวนการที่เปรียบเทียบแข่งขัน ก็แปรเปลี่ยนเป็นกระบวนการช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยความรัก โครงสร้างเงื่อนไขที่ทำให้คนแข่งขันเอาเปรียบเห็นแก่ตัว เช่น ระบบการศึกษาที่ไม่เอื้อให้เด็กแบ่งปันหรือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สังคมบริโภคนิยม เช่น สื่อโฆษณาที่ปั่นให้เราอยากได้ อยากเอา อยากมี และยั่วยุให้เราขาดพลังแห่งสติหรือขาดการใคร่ครวญอย่างแท้จริง -ระบบการศึกษาที่ขาดความเป็นเพื่อน แข่งขันสูง สร้างหรือตอกย้ำให้ต้องเหนือกว่าผู้อื่นเป็นคนธรรมดาไม่ได้ ปัจจุบันระบบการศึกษาเชื่อว่าต้องแข่งขันจึงจะเรียนรู้ การศึกษาไทยมีปัญหาอ่อนแอมาก ต้องเปลี่ยนโครงสร้างตั้งแต่ในระดับครอบครัว ระดับโรงเรียน สถาบันการศึกษาต่างๆ ความคิด ความเชื่อ ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า ทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองและสถาบันต่างสอนให้รู้สึกว่าตัวกูคือผู้ยิ่งใหญ่ การมองอย่างคลาดเคลื่อนจากความจริง การตัดสินจึงตายตัว ๑. มองแต่เปลือกนอกจึงปิดบังความจริง ไม่เห็นแก่นแท้ของเขา เห็นแต่กะพี้ บางทีเราดูคนว่าดีหรือไม่น่าคบหรือไม่จากฐานะ ดูจากการแต่งกาย สถานะทางการเงิน การศึกษาไม่ได้สอนให้ดูธาตุแท้ของมนุษย์ ความสามารถในการเข้าถึงการปล่อยวางได้ จึงจะเป็นมนุษย์แท้ ๒. มองแบบหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง เรามองเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้วเขาเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็มองเขาอย่างนี้ มองว่าคนนี้ไม่ดีก็จะมองว่าเขาไม่ดีตลอดเวลาไม่มีการเปลี่ยนแปลง (ผมได้พูดคุยกับ อ.ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ บังยุบ และพวกเราในกลุ่ม ถึงเรื่องนี้ บังยุบน่าจะขยายได้) ต้องเชื่อว่าเมื่อเราจัดหรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขที่เหมาะสมได้ ก็สามารถทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงได้ มนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง ๓. มอบแบบดำหมดขาวหมด มองในแง่เดียว ไม่มองในแง่ดีของเขา มองแต่ด้านมืด มนุษย์มีเมล็ดพันธุ์ทั้งด้านดีและด้านไม่ดี และเราก็มักจะรดน้ำเมล็ดพันธุ์ด้านไม่ดีซึ่งกันและกันตลอดเวลา เช่น ใช้ความรุนแรงทั้งวาจาและการกระทำ

๔. การตัดสินความจริงที่เกิดขึ้นเฉพาะตรงหน้าเท่านั้นว่าจริงแท้ และมองจากความคิดทั้งๆที่ไม่เห็นจริง เช่น กรณีในเรื่องคำพิพากษา ที่ไอ้ฟักนอนให้ห้องกับแม่เลี้ยง แต่หลังจากนั้นก็ไม่เห็นแต่เข้าใจเอาเองว่าต้องหลับนอนกันแน่ หรือกรณีเด็กร้องไห้ในรถไฟฟ้าใต้ดินแต่พ่อไม่ดูแล เราก็ตัดสินว่าพ่อเขาไม่ดูแล เราไม่เห็นว่าก่อนหน้าที่เราจะเห็นเหตุการณ์นั้นๆมันมีอะไรเกิดขึ้นก่อน ๕. การมองแบบติดกับพฤติกรรมของคน เช่น เห็นเขาก้าวร้าว เวลาคุยกับเรา ก็เชื่อว่าเขาต้องก้าวร้าวกับคนอื่นๆ โดยไม่มองว่าเขาก้าวร้าวเพราะเหตุใดหรือมีเหตุเบื้องหลังความก้าวร้าวนั้นอย่างไร ๖. มองแบบเชื่อหรือยึดมั่นในความเชื่อของกลุ่มตัวเอง เช่น อยู่ในกลุ่มศาสนาใดก็ยึดมั่นตามความเชื่อทางศาสนานั้นๆว่าถูกต้องเพียงเท่านั้น การแปรเปลี่ยนความหลากหลายให้เป็นพลังสร้างสรรค์ -การสื่อสารที่สร้างสรรค์ระหว่างกัน ไม่บิดเบือนความจริง ไม่บิดเบือนสร้างข่าวลือ ใคร่ครวญคำพูดให้มากขึ้นไม่พูดส่อเสียด ดูถูกดูหมิ่น กดขี่ ข่มเหง เหยียดหยาม พูดกันด้วยความรัก -ปรับโครงสร้างที่อยุติธรรมในสังคมใหม่ ให้เป็นโครงสร้างที่มีเมล็ดพันธุ์ด้านดีของมนุษย์ได้แสดงพลังออกมาให้เต็มที่ เราอยู่โครงสร้างที่ปิดบังการตรวจสอบได้ เลวร้ายมากทำให้เกิดปัญหา ต้องกระตุ้นให้คนคิดเอง สร้างความมั่นใจตนเอง ให้เป็นระบบที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้

	ดร.เครือทิพย์ ธีรานุรักษ์: ในเรื่องความเชื่อหรือศาสนาที่ถูกยึดมั่นมานาน เราจะมีวิธีการคลี่คลายได้อย่างไร?

อาจารย์: ลดการต่อต้าน ต้องสร้างความเชื่อใหม่ว่า ศาสนาเราไม่ได้ดีที่สุดศาสนาเดียว ศาสนาอื่นๆก็มีสิ่งดีๆที่น่าเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมุมมองที่แตกต่างกันของแต่ละศาสนา ทุกศาสนามีคำสอนในสาระสำคัญ สอนเรื่องความรัก แต่เราลืมที่จะเรียนรู้เรื่องนี้ ถอดเสื้อศาสนาที่สวมออกไปก่อน ต้องมีการปลดระวางการตั้งป้อมออก แล้วจึงมาคุยกัน

	พี่แดง เตือนใจ ดีเทศน์: คณะกรรมการศาสนาเพื่อสังคม มีกิจกรรมเชื่อมโยงให้นักบวชทุกศาสนาเข้าหากัน อยากเห็นการประสานงานกับกระทรวงวัฒนธรรม อยากให้นักการเมืองสนใจศาสนธรรมมากขึ้นเพื่อให้สภาเป็นสภาของสัปบุรุษอย่างแท้จริง และนศ.หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ควรนำหลักศาสนธรรมมาปฏิบัติ นำไปใช้กับตนเอง กับเครือข่าย และเชื่อมโยงกับคณะกรรมการศาสนาเพื่อสังคม และขอให้อาจารย์เล่าว่ายังมีการดำเนินการในเรื่องนี้หรือไม่อย่างไร

อาจารย์ตอบว่า ยังทำอยู่แต่เป็นกลุ่มเล็กๆ และยังเชื่อมโยงเครือข่ายอยู่

	คุณ ศุภชัย : ได้ดูภาพยนตร์เรื่อง “Shawshank Redemption”  และยังเศร้าใจกับเรื่องราวในหนัง ซึ่งมีอยู่จริงในสังคมปัจจุบัน ส่วนของสังคมจะเอื้อมเข้าไปร่วมกันแก้ปัญหาตรงนี้ในทัศนะของอาจารย์ได้อย่างไรบ้าง?

อาจารย์ตอบ: ต้องทำตั้งแต่เด็ก โดยหากมีการจัดปรับระบบการศึกษาให้ได้เรียนรู้ที่จะหลีกหนีไปจากโลภ โกรธ หลง น่าจะช่วยได้บ้าง เริ่มทำที่ครอบครัวก่อน ตอนนี้การเรียนการสอนมันมุ่งเข้าไปหาโลภะ โทสะ โมหะ ถ้าครอบครัวและสังคมเปิดโอกาสให้คนทำสิ่งใดด้วยตนเองได้บ้าง โดยอาจจะเริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆที่พอจะทำเองได้ก่อน การจัดโฮมสกูลของครอบครัวเองก็อาจจะมีส่วนที่จะแก้ไขปัญหาได้ คุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์: ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆมากมายกำลังบอกว่าประชาชนของเรากำลังพึ่งพิงคนอื่น เราปล่อยให้มีการพึ่งพิงอำนาจของกระบวนการยุติธรรม เราควรแสดงออกถึงการไม่พึ่งพิง เช่น การประท้วง และไม่ตัดสินตายตัวโดยตัดสินจากสถานการณ์ที่เราเห็น ปัญหาคือ เราจะรู้ปูมหลังได้อย่างไร เราควรจะเชื่ออย่างไร เพราะข่าวมันเยอะมาก จะจัดการเรื่องนี้อย่างไร? อาจารย์ตอบว่า หากเราเปิดโอกาสให้เราทำด้วยตัวเราเองได้ มันก็น่าจะดีกว่าเรื่องการพึ่งพิง เช่น พ่อแม่ลูก จะทำอะไรมีคนอื่นทำให้ เด็กทำเองไม่เป็น ควรกำหนดเป็นหน้าที่ที่เขาจะต้องทำ ให้เขาทำเอง คิดเอง ก็ทำได้ หากเป็นเรื่องยากต้องใช้ผู้มีความรู้เฉพาะทางก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ท่านชาติชาย กริชชาญชัย: ชายลักทรัพย์สร้อยคอ ๑ บาท ส่งศาล อีกคนหนึ่งลักทรัพย์ ๑ บาท ไปสืบเสาะ คนแรกลักทรัพย์เพราะติดนิสัยขี้ลักขี้ขโมยเป็นประจำ คนที่สองที่ลักเพราะเป็นหนี้ จะลงโทษเท่ากันหรือไม่ แล้วก็จูงให้ว่าเราคิดว่าคนลักเพราะติดนิสัยขี้ลักขี้ขโมยควรจะถูกลงโทษหนักกว่า อาจารย์ก็ตอบว่า: มีแนวโน้มเช่นนั้น ท่านชาติชาย กริชชาญชัย: เฉลยว่าการตัดสินที่ควรทำคือลงโทษเท่ากัน แต่อาจจะใช้วิธีรอการลงโทษสำหรับกรณีสองให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละกรณีไป


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๓๐ หัวข้อ: เตรียมข้อมูลลงพื้นที่ระยอง โดย: คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง (ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาเกณฑ์มลภาวะอุตสาหกรรม),คุณสุทธิ อัชฌาศัย (ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาสังคมภาคตะวันออก), คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิกุล (รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย), ดร.สมยศ แสงสุวรรณ (กรรมการผู้จัดการบริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือเจนโก้) คุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ (ดำเนินรายการ) วันเวลา: สถานที่: สถาบันพระปกเกล้า

วันนี้เรามาเรียนรู้เรื่องเมืองอุตสาหกรรมจากทุกฝ่าย เริ่มต้นที่ NGO ก่อน เพื่อค้นคว้าหาความจริง คุณศิริบูรณ์ ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย เปิดประเด็นให้เรารู้ว่าเริ่มต้นจะเป็นส่วนของฝ่าย NGO เพื่อให้เขามาบอกว่าเกิดอะไรขึ้นที่ระยอง อันเป็นการเตรียมตัวของพวกเราก่อนจะลงพื้นที่จริง และได้แนะนำคุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง เป็นผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาเกณฑ์มลภาวะอุตสาหกรรม ซึ่งติดตามการทำงานของภาครัฐในด้านอุตสาหกรรม และกำลังติดตามหลายเรื่อง และอีกท่านหนึ่งคือคุณสุทธิ อัชฌาศัย เป็นนักวิชาการของคณะกรรมาธิการคณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภา เป็นแกนนำคนตะวันออก คุณจิราวรรณ จงสุทธามณี วัฒนศิริธร น้องจุ๊ สว.เชียงราย ได้เล่าให้ฟังว่าเป็นผู้เสนอแนะพลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ (ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล) ให้นำภาคประชาชนมาพูดคุยให้พวกเราฟังบ้าง เพราะส่วนใหญ่เราจะรับฟังแต่ภาครัฐและภาคเอกชน และส่วนของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ แต่กฎหมายลูกหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อมออกมาไม่ทันจึงหันไปใช้กฎหมายเก่าซึ่งมันไม่ค่อยทันเหตุการณ์ คณะอนุกรรมการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา มีน้องจุ๊เป็นประธาน การเชิญ NGO มาจะทำให้เราได้รู้ว่าตัวคนที่อยู่ระยองได้รับผลกระทบ แม้จะได้ชดเชยให้เขาเท่าไหร่ก็ไม่อาจทำให้เขาพอใจได้ เหมือนเขาอยากกินก๋วยเตี๋ยว แต่เราเอาสเต๊คไปให้เขา จากข้อเท็จจริง ระยองเจริญจริง แต่คนระยองเป็นอย่างไร? คุณเพ็ญโฉม ได้มาแลกเปลี่ยนสิ่งที่เธอได้รับรู้โดยจะมาเล่าเรื่องด้วยภาพ และมีเอกสารประกอบที่ได้มอบให้เจ้าหน้าที่แล้ว คุณเพ็ญศรีได้เล่ากรณีคลังสารเคมีระเบิด ที่ท่าเรือคลองเตย ๒ มี.ค.๓๔ สมัยรสช. เป็นการระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดของไทย ชาวสลัมต้องสูญเสียบ้านภายใน ๑ วัน บ้านเสียหาย ๖๔๒ หลัง ไร้ที่อยู่ ๕,๔๑๗ คน เสียชีวิตที่เกิดเหตุ ๔ คน ไม่สามารถดับเพลิงเคมีได้ ต้องใช้เวลาถึง ๓ วัน ยิ่งฉีดน้ำดับไฟยิ่งเกิดปัญหา มีผู้ได้รับสารเคมีเจ็บป่วยเรื้อรัง มีการปกปิดข้อมูลข่าวสารว่ามีสารเคมีอะไรบ้าง ยิ่งทำให้เกิดปัญหาการรักษาทางการแพทย์ทำไม่ได้ (แก้ไม่ถูกจุด) นักผจญเพลิงและทหารที่เข้าไปช่วยก็ได้รับสารเคมีสะสมในร่างกายจนต้องเจ็บป่วยจำนวนมาก ในที่สุดได้มีการนำกากเคมีขึ้นรถบรรทุกขนาดใหญ่ไปฝังที่กาญจนบุรีซึ่งเป็นที่ฝึก ร.ด. ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของผืนป่าตะวันตก คุณภินันท์ โชติรสเศรณี (ต้องขออภัยหากเขียนชื่อนามสกุลไม่ถูกเพราะฟังจากการบรรยาย) ซึ่งหวงแหนผืนป่าดังกล่าวได้ต่อต้านด้วยความเสียสละจนถูกข่มขู่จากฝ่ายทหาร แต่ในที่สุดก็ต้องขุดกากเคมีออกไปฝังกลบให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

การพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก เราต้องการเปลี่ยนประเทศเราจากประเทศเกษตรกรรมไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICS) โดยไม่มีการวางแผนรับมือกับหายนะภัยอันจะเกิดตามมา จนก่อให้เกิดผลกระทบมากมาย 

คุณเพ็ญโฉมได้พูดถึงความเป็นมาของอีสเทิร์นซีบอร์ด และวางแผนล่วงหน้าไป ๕๐ ปี พูดถึงนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมตะวันออก เนื้อที่หมื่นกว่าไร่ และมีการถมทะเลเพื่อใช้เป็นท่าเรือน้ำลึกสำหรับขนถ่ายสินค้าอุตสาหกรรมและสารเคมี และมีโรงงานอุตสาหกรรม ๑๐๗ โรง เมื่อพูดถึงนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดก็จะหมายถึงนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมดบริเวณนั้น ซึ่งจะเป็นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมาบตาพุด และเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและเป็นเขตที่มีมลพิษสูงสุด ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีพื้นที่ชุมชนรายรอบนิคม ๒๕ ชุมชนและไม่ต้อนรับ NGO แต่กลุ่มที่เข้าไปใช้เครื่องมือในการวิจัยเข้าไปหาชาวบ้าน ทั้งๆที่ความจริงทุกคนมีความอึดอัดทั้งชาวบ้าน นักเรียน ครู พระสงฆ์องค์เจ้า ต่างรู้สึกอึดอัดแต่ไม่รู้จะระบายกับใคร คับแค้นใจกับทหารในพื้นที่แต่ไม่กล้าพูดคุยกับ NGO แต่ในที่สุดกลุ่มก็ได้ข้อมูลจำนวนมากจากชาวบ้าน ที่มาบตาพุดจะมีปล่องเปลวไฟจำนวนมากประมาณ ๑๐๐ ปล่องเศษ ในต่างประเทศหลายประเทศไม่อนุญาตให้มีปล่องแบบนี้เพราะเป็นแหล่งปล่อยมลพิษ เดิมจะรู้จักมาบตาพุดเรื่องกลิ่นเหม็นในอากาศเท่านั้น แต่พอไปดูลึกจริงๆในชุมชน ๒๕ ชุมชนแล้ว พบว่ามีปัญหาเรื่องน้ำดื่ม โดยเฉพาะน้ำฝน มีกลิ่นเหม็น ไม่สามารถใช้ได้มานาน ๒๐ ปีแล้ว ตัวอย่างน้ำ ๘๐ บ่อ บ่อน้ำอย่างน้อย ๑ บ่อ จะต้องมีแคดเมี่ยม นิเกิล สาธารณสุขห้ามชาวบ้านดื่มน้ำในบ่อ แต่ ๒๒ ใน ๒๕ ชุมชนไม่มีน้ำประปาใช้ ไม่มีน้ำประชาทั้งๆที่อยู่ติดกับนิคมอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมติดอันดับโลก จะให้ประชาชนทำอย่างไร ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ธุรกิจท่องเที่ยวเสียหายหมด สภาพชายฝั่งเสียหายหมด มีการฟ้องร้องระหว่างกรมเจ้าท่ากับการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก่อนฟ้องร้องกัน เจ้าของธุรกิจโรงแรมเครียดหนัก เพราะหาดสูญหายจากการกัดเซาะ ไม่ปลอดภัยจากการเล่นน้ำ ทั้งยังมีปัญหามลพิษในน้ำ การฟื้นฟูจะต้องใช้เงินจำนวนมาก เขตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี TPI บริเวณหาดมีคราบน้ำมัน ร่างกายชาวประมงมีปัญหามีผื่น ความอุดมสมบูรณ์ของกุ้งหอยปูปลามีลักษณะที่แปลกไป ปูที่ลากอวนขึ้นมาตายไปเสียครึ่งหนึ่ง ปริมาณที่ได้ก็น้อยลงไป สัตว์ทะเลเอามากินจะได้กลิ่นน้ำมัน พืชผลเสียหายจากภาวะฝนกรด เป็นที่รู้แก่ใจของนักวิชาการ ภาวะความเป็นกรดของที่นั่นรุนแรง ต้นมะม่วงหากมีฝนลงมาในขณะออกช่อ ก็จะเสียหาย ผักสวนครัวที่ปลูกไว้เมื่อฝนตกลงมาใบจะเป็นรู เน่าเสีย เลี้ยงปลาหรือตะพาบก็จะตาย พูดง่ายๆเศรษฐกิจดั้งเดิมของชุมชนล่มสลายไปหมดแล้วโดยไม่ได้รับการเยียวยา สภาพการทิ้งกากอุตสาหกรรมมีอยู่ทั่วไป บางครั้งก็เอามาทิ้งหน้าบ้านชาวบ้านและเผาด้วยซึ่งเป็นอันตรายมากและผิดกฎหมาย การปนเปื้อนของ VOC สารอินทรีย์ระเหยในอากาศ มีเครื่องมือไปตรวจ ซึ่งสารแต่ละตัวนี้จะมีผลต่อร่างกายไม่เหมือนกัน แรกๆตรวจพบ ๒๐ กว่าชนิด แต่หลังๆเก็บได้ ๑๐ กว่าตัว คุณเพ็ญโฉมได้เล่าถึงโรคมินามาตะ เกิดจากน้ำเสียของบริษัทชิสโสะ ซึ่งเป็นบริษัทปิโตรเคมี พื้นที่เล็กกว่ามาบตาพุดมาก แต่ผลกระทบของมลภาวะจากบริษัทชิสโสะเพียงบริษัทเดียว ทำให้ปลาตาย นกตาย แมวที่กินปลาก็ตาย โรคนี้ทำให้สารปรอทสะสมในร่างกายเด็กที่เกิดในเดือนเดียวกัน มีแม่ที่กินปลาเหมือนกัน สภาพเด็กเหมือนๆ กัน ชาวจะนะได้มาดูงานที่มาบตาพุด ได้เห็นสภาพที่มาบตาพุดจึงต่อต้านและต่อสู้เพราะกลัวจะเกิดปัญหากับเขา และเกิดการปราบปรามอย่างรุนแรง สภาพชาวมินามาตะที่ต่อต้านก็มีสภาพเดียวกับที่จะนะ เป็นห่วงว่าโรคมินามาตะจะเกิดขึ้นที่ประเทศไทยหรือไม่? ถึงเวลาที่จะต้องไม่ประนีประนอมกับการแก้ไขโรงงานอุตสาหกรรมอีกแล้ว รัฐจะต้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ต้องให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และโดยเฉพาะทิศทางและนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรืออุตสาหกรรมเหล็ก กำลังจะพาประเทศไทยไปสู่หายนะ ญี่ปุ่นส่งคนป่วยคนชรามาอยู่เมืองไทย เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศของเขาทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทะเลบ้านเขาเสียหาย ทรัพยากรธรรมชาติเขาเสียหายอันเป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรม บทเรียนเหล่านี้ น่าจะทำให้คนไทยมีจิตสำนึกในการพัฒนาประเทศเพื่อบูชาทุนนิยม ได้หันกลับมาดูปัญหาความทุกข์ร้อนของชาวบ้านตาดำๆบ้าง คุณสุทธิ อัชฌาศัย เป็นหนึ่งใน NGO ที่เข้าไปให้ข้อแนะนำชาวบ้านในการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ได้อธิบายให้เราฟังว่าที่มาบตาพุดมีปัญหาอันเกิดจากนโยบายของรัฐที่ต้องการให้ภาคตะวันออกเป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนัก แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับชาวบ้าน ปัญหามาบตาพุด ๑. คนระยองต้องการชะลอหรือยุติการขยายโรงงานอุตสาหกรรมไว้ก่อน มีหลายประเภทและมีขนาดใหญ่ มีปัญหาการแย่งน้ำไปให้ภาคอุตสาหกรรมแต่ภาคเกษตรกรรมมีปัญหา ๒. ทรัพยากรไม่พอก็ยังไปทำลายทรัพยากรด้วยการถมทะเลของบริษัท PTT ในเครือปตท. และยังมีการถมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง หาปลาไม่ได้ นอกจากนี้ เอเชีย ทอมินอล กำลังจะทำท่าเทียบเรือเคมี นี่ก็เป็นการขัดแย้งกับความต้องการของคนระยอง ๓. คนระยองมีภาวะการเจ็บป่วยมากขึ้น เมื่อปี ๒๕๔๖-๔๗ คนระยองเป็นโรค HIV สูงสุดของประเทศ แต่พอเน้นกระบวนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของคนระยอง ก็สำรวจพบว่าคนระยองเป็นมะเร็งมากขึ้น แม้จะไม่มีบทพิสูจน์ชัดเจน แต่สารเคมีที่ตรวจพบในจังหวัดระยองมีสารก่อให้เกิดมะเร็งจำนวนไม่น้อย แถมในเขตนิคมอุตสาหกรรมก็ไม่มีบัฟเฟอร์โซน (Buffer Zone) ๔.ปัญหาภาวะสังคม เดิมระยองมีแหล่งท่องเที่ยว มีทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม มีผลไม้ ชาวบ้านก็มีความสุขดี ต่อมามีการอพยพผู้คนเข้ามา มาบตาพุดมีแรงงานต่างด้าวมากขึ้น มีสลัม มีสถิติก่ออาชญากรรมมากขึ้น ในสถิติ ๘ จังหวัดภาคตะวันออก คนระยองฆ่าตัวตายเป็นอันดับ ๑ จากปัญหาหนี้สิน มีซ่องโสเภณีมากมาย ซึ่งจะก่อปัญหาระยะยาว ทุกวันนี้ระยองเข้าขั้นวิกฤตทั้งทางด้านทรัพยากร วิกฤตสุขภาพ เจ็บป่วยมากมายหลายโรค วิกฤตทางสังคมก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข คนระยองมีรายได้มวลรวมประชาชาติ ๙๒๐,๐๐๐ บาทเศษต่อคนต่อปี แต่พี่น้องประมงต้องไปหาหอยปูปลาที่ไกลขึ้น มันคุ้มไหมกับความเสียหายที่ได้รับ แถมอาหารทะเลที่หามาได้จะปลอดภัยไหมสำหรับการนำมาบริโภค (ถ้าท่านมองในแง่ธุรกิจก็จะบอกว่าคนจำนวนนิดเดียว แต่รายได้ประชาชาติที่ได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมมีมาก ภาพลักษณ์ของประเทศดีกว่า หากมองแบบนี้แสดงว่าท่านถือเงินเป็นใหญ่ ท่านไม่ได้สนใจคน)

ชาวระยองต้องเรียกร้องโดยการนำเสนอข้อมูลให้คนในสังคมได้รับรู้มากขึ้น และได้เสนอให้ ส.ว.,และสนช.(สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ทราบ กับได้เสนอไปยังสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกรรมการได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับชาวบ้าน ทำความเข้าใจกับข้อมูล ซึ่งมีความเห็นว่าควรชะลอการขยายภาคอุตสาหกรรมไว้ก่อน แต่ถูกอดีตรมต.สุวิทย์ คุณกิตติ ไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าได้มีการทำแผนปรับลดและขจัดมลพิษแล้ว และยังมีศักยภาพพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้อีกหลายโรงจึงยังไม่ยอมหยุด

ชาวระยองต้องการให้มีการประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ แต่ไม่ได้รับการประกาศ คงทำเพียงจัดทำแผนลดและขจัดมลพิษ มีงบประมาณแก้ปัญหา ๕ ปี ๒,๐๐๐ กว่าล้านบาทเพราะการประกาศเขตควบคุมมลพิษจะสามารถกำหนดค่ามาตรฐานพิเศษเฉพาะพื้นที่ที่สูงขึ้น ซึ่งอาจมีปัญหากับการลงทุนในระยะยาว จึงไม่ประกาศ แต่การแก้ไขปัญหาเช่นนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน เป็นการมองคนละมุม ฝ่ายนักการเมืองและภาคธุรกิจที่มองว่าเมื่อยังพัฒนาได้ก็ต้องพัฒนาไปก่อน แต่ชาวบ้านต้องการให้ชะลอการพัฒนาก่อนเพื่อแก้ไขปัญหา เมื่อแก้ได้แล้วค่อยพัฒนาต่อ เมื่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมไม่ดำเนินการ จึงต้องฟ้องกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อศาลปกครอง เพราะไม่ยอมประกาศให้ระยองเป็นเขตควบคุมมลพิษ ศาลประทับรับฟ้อง คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณา นอกจากการฟ้องร้องต่อศาลปกครองแล้ว ซึ่งจะได้ผลหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเพราะสิ่งแวดล้อมถูกทำลายจนแทบจะเรียกได้ว่าเบ็ดเสร็จแล้ว ตอนนี้ได้หันมาดู พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ๒๕๕๐ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะใช้แก้ปัญหาให้กับชาวระยอง ต้องใช้กฎหมายมาช่วยมาดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนชาวระยอง โดยใช้ ม.๕,๑๐, ๑๑,๔๐ เพื่อทำกระบวนการสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ ใช้สิทธิที่จะอยู่อย่างปลอดภัยในสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัย สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นด้วยว่าควรชะลอการขยายไปก่อน จนกว่ากลไกในการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ม.๖๗ จะเป็นผลบังคับใช้จริง ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดถึงการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมว่าต้องมีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและประเมินผลทางสุขภาพด้วยจึงจะผ่าน โครงการที่มีผลกระทบรุนแรง คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีบทสรุปแล้วว่าให้ชะลอไว้ก่อน แต่ปรากฏว่าสองอาทิตย์ก่อนหน้านี้ได้มีการผ่าน EIA ของบริษัทโรงไฟฟ้าถ่านหิน เก๊กโก1 ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 700 Mw กับบริษัทพลังงานความร้อนร่วม ดาวน์เคมิคอล ซึ่งเคยเกิดปัญหาที่ประเทศอินเดีย (ท่านอัครราชทูตอินเดียคงจะเล่าสู่กันฟังได้ในเรื่องนี้) โดยที่ยังไม่มีการทำ HIA สอบถามว่าทำไมรีบเร่งรับรอง EIA เพราะความเห็นขององค์กรอิสระและความต้องการของประชาชนสอดคล้องกัน ก็ได้คำตอบว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดเจ้าภาพในเรื่องนี้ จึงต้องใช้กฎหมายเก่าที่มีอยู่ดำเนินการไปก่อน คุณสุทธิบอกว่าชาวบ้านไม่ได้ต้องการไล่โรงงานอุตสาหกรรม เพียงแต่ต้องการให้การพัฒนาเกิดความสมดุลและพอดี เพราะถ้าชาวบ้านทนรับไม่ไหว โรงงานจะต้องหยุด ชาวบ้านไม่อาจไว้วางใจบริษัทข้ามชาติได้ เพราะบริษัท สยามโมโตะก็เอาขยะของเสียจากโรงงานไปทิ้ง ดำเนินคดีมีค่าปรับแค่ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ปรับแล้วก็ไม่มีการฟื้นฟูสภาพ บริษัทในเครือปตท.เอง ก็เคยทำก๊าซรั่วไหล ผู้คนต้องเจ็บป่วยเข้าไปรักษาที่ รพ.ถึง ๑๗๔ คน ชาวบ้านได้รับการชดใช้คนละ ๒๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่มีการดำเนินคดี ตำรวจบอกว่าไม่มีผู้เสียหายไปแจ้งความ ถ้าบริษัทฯมีธรรมาภิบาลจริงก็ไม่น่าจะเกิดปัญหา คุณสุทธิให้ข้อคิดดีมาก เขาบอกว่าการพัฒนาวันนี้ดูที่ตัวเลข ถ้าตัวเลขสูงแสดงว่าดี ก้าวหน้า แต่ในความเป็นจริงต้องมีการพัฒนาภาคประชาชนควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุล และบอกได้เลยครับ ความขัดแย้งรอบใหม่กำลังจะเกิด หลังจากชาวระยองประมาณ ๒๐,๐๐๐ คนเดินขบวนประท้วงเมื่อปีที่แล้ว คุณสุทธิพูดวันนี้เหมือนเป็นการบอกใบ้ให้พวกเราทราบว่าการเดินขบวนครั้งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้นอีก การพัฒนาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกในมุมมองของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คราวที่แล้วเราได้ฟังเสียงของ NGO ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในจังหวัดระยอง คราวนี้เราลองมาฟังอีกด้านหนึ่งทางด้านผู้ประกอบการและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่ามุมมองของทางด้านนี้เป็นอย่างไรบ้าง การที่เราจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรับฟังปัญหาและข้อเท็จจริงให้รอบด้าน หลังจากนั้นเราไปลงพื้นที่จริงก็ไปฟังจากชาวบ้านจริง ไปดูไปดมกลิ่นของมาบตาพุดที่ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์เรียกมาบตาพิษ และไปฟังจากภาคราชการว่าในมุมมองแต่ละด้านเป็นอย่างไร และไปดูไปมองที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่าเขาบอกว่าอย่างไร แล้วตาม NGO ไปดูกับตาว่าของจริงเป็นอย่างไร เรามาดูกันต่อว่าทางด้านผู้ประกอบการและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเขามีทัศนคติ มีมุมมอง วัตถุประสงค์ มีวิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างไร เรามาเริ่มกันที่คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำเสนอประเด็น ๔ ประเด็นหลัก -การพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก -สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก -การลดผลกระทบมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน -บทบาทของสภาอุตสาหกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก การพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก เริ่มมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม กำหนดเขตที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม รวมทั้งประกาศเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการลงทุน จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่กำหนดไว้ จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันได้นำความคิดในการจัดการแบบคลัสเตอร์มาใช้ รวมกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกันไว้ด้วยกันเป็นโซ่การผลิต และเป็นชุมชนการผลิตที่มีทั้งผู้ผลิต ผู้ป้อนวัตถุดิบ ผู้ให้บริการด้านต่างๆ สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์ฝึกอบรม ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความสะดวกในการส่งออกผลผลิตไปยังต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และจริงๆแล้วก็เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้วัตถุดิบภายในประเทศให้สมดุลกับการพึ่งพาจากต่างประเทศด้วย สาเหตุที่ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกนั้นก็เนื่องจากกรุงเทพมหานครกำลังขยายตัว จึงต้องกระจายฐานการผลิตออกไป และที่จังหวัดระยองมีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมสูงสุดของประเทศ สูงถึง ๘๐๐,๐๐๐ ล้านบาท การพัฒนานั้นมุ่งไปที่การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกที่เราเรียกว่า Eastern Seaboard และยังเป็นแผนงานพัฒนาฐานเศรษฐกิจเพื่อเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเริ่มมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๕ โดยพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกได้รับการพัฒนาโดยการลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นเม็ดเงิน ๒,๘๘๐,๗๕๑ ล้านบาท (แต่เป็นของภาคเอกชนถึง ๒,๕๐๗,๔๗๓ล้านบาท) โดยแบ่งเป็นสองระยะ ระยะแรกระหว่างปี ๒๕๒๔-๒๕๓๗ พื้นที่เป้าหมาย คือ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ระยะสอง ๒๕๓๗ ถึงปัจจุบัน พื้นที่เป้าหมายชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด และสระแก้ว การพัฒนาทำให้เกิดการจ้างงานทางตรงและทางอ้อมรวม ๑,๗๑๗,๒๐๗ คน ทั้งนี้เป็นการจ้างทางอ้อมถึง ๑,๑๘๐,๐๐๐ คน เรามาดูสัดส่วนการประกอบอุตสาหกรรม ที่ชลบุรีมีโรงงานถึง ๓,๓๙๕ โรงงาน อันดับสองที่ฉะเชิงเทรา ๑,๖๐๓ โรงงาน อันดับสามคือระยอง ๑,๑๓๕ โรงงาน แต่ที่ระยองพิเศษกว่าที่ตรงเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ดังนั้นเงินลงทุนจึงสูงที่สุดที่ ๘๑๕,๒๖๑.๓๓ ล้านบาท สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก คราวนี้เรามาดูคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านอากาศ แหล่งน้ำและกากของเสียอุตสาหกรรมหากจะถามว่ามลพิษหลักทางอากาศมีอะไรบ้าง ก็ตอบได้ว่า ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ซึ่งเพิ่งกำหนดเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว) ไนโตรเจนไดออกไซด์ก็มาตรฐาน สารอินทรีย์ระเหยง่าย ประกาศใช้มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษเมื่อ ๒๕๕๐ นี่เอง แต่ความจริงก็คือ กทม.น่ะเกินมาตรฐาน แต่ที่ระยองอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เกินมาตรฐาน เรามาดูแหล่งน้ำบ้าง จากรายงานสถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำปี ๒๕๔๘ คุณภาพแหล่งน้ำไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก (แล้วก่อนหน้านั้นละครับ ชาวบ้านเขามีน้ำบ่อใช้กันได้ตามปกติ แต่พอมีโรงงานตั้งกันขึ้นมา ไม่มีบ้านไหนใช้น้ำบ่อได้เลย สงสัยว่าทำไมไม่เทียบกับตั้งแต่ยังไม่ตั้งโรงงาน) ในแหล่งน้ำมีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย มีกลิ่นแอมโมเนีย เราไปดูทางชายฝั่ง ก็ปรากฏว่ามีการปนเปื้อนของสารไนเตรด, ฟอสเฟต, แอมโมเนีย, แบคทีเรีย มาดูกากของเสียอันตรายกันบ้าง ในระหว่าง ม.ค.-มิ.ย.๕๐ ปริมาณกากที่เกิดขึ้น ๕๘๔,๕๐๐ ตัน เป็นกากของเสียไม่อันตราย ๔๐๕,๖๐๐ ตัน ของเสียอันตราย ๑๗๙,๐๐๐ ตัน (นี่เป็นเพียงตัวเลข ๖ เดือนเท่านั้น แล้วที่ผ่านมาอีกเท่าไหร่) ถามว่ามีการดูแลจัดการไหม มีครับ ได้แก่ การขออนุญาตนำกากออกนอกโรงงานส่งไปบำบัดหรือกำจัด ณ โรงงานที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งหมด ๗ โรง เพราะเท่าที่ทราบ ที่ผ่านมาในอดีต ภาครัฐไม่ได้เข้มงวดในเรื่องเหล่านี้ ระหว่างทางจากโรงงานไปโรงบำบัด กากของเสียจะหายไประหว่างทางไปกลบไปฝังในบ่อลูกรังบ้าง ไปเททิ้งในแหล่งน้ำบ้าง ก่อให้เกิดปัญหา การลดผลกระทบมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เมื่อเกิดมลพิษขึ้นในแหล่งอุตสาหกรรม มันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่เริ่มออกแบบโรงงาน ต้องมีการป้องกันการเกิดมลพิษให้มีมาตรฐานสากล ซึ่งแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม ก็คือ ป้องกันการเกิดมลพิษ ลดการเกิดของเสีย บำบัดการกำจัดของเสีย ต้องมีการ Reduce, Reuse, Recycle ให้มากขึ้น ที่จังหวัดระยองมีแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยอง พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔ (แผนที่เกิดขึ้นนี้ หากถามรัฐ รัฐก็ตอบว่ารัฐเอาใจใส่ดูแลเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง แต่ถ้าไปถาม NGO ก็จะได้คำตอบอีกแบบ ก็คือ เขาเรียกร้องให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ แต่ภาครัฐไม่ยอมประกาศเขตควบคุมมลพิษ แต่เลี่ยงมาใช้แผนลดและขจัดมลพิษแทน) ลองมาดูกันว่าแผนนี้จะทำอะไร เขาต้องการลดปริมาณการปล่อยทิ้งมลพิษ (แต่เขาเรียกมลสาร) ทางอากาศ ทางน้ำ ขยะ กากของเสียอุตสาหกรรม ทั้งในและนอกนิคม คุณภาพน้ำและอากาศต้องอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานภายใน ๑ ปี ประชาชนได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพอนามัยอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ชุมชนในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเป้าหมายสุดท้ายคือ พัฒนาพื้นที่ในอนาคตไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยและสอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ พื้นที่เป้าหมายเร่งด่วน อยู่ที่ อ.เมือง, บ้านฉาง, ปลวกแดง, บ้านค่าย และกิ่งอำเภอพัฒนานิคม ส่วนระยะยาวคลุมทั้งจังหวัดครับ ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเรื่องใหญ่ที่ภาครัฐจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเอาจริงเอาจัง โรงงานอุตสาหกรรมใดขาดจิตสำนึกในด้านนี้ต้องลงโทษสถานหนัก ผมได้เล่าให้ฟังว่าเขามีแผนลดปริมาณการทิ้งมลสาร ถ้าจะถามว่าแล้วจะเอาอะไรเป็นตัวชี้วัด ก็บอกว่าเขาใช้ค่าเฉลี่ยของปริมาณการระบายไนโตรเจนไดออกไซด์ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สูงสุดเมื่อเดินเครื่องจักรเต็มกำลังผลิตโดยใช้ฐานปี ๒๕๔๙ เป็นเกณฑ์ครับ โดยมีเป้าหมายลดปริมาณที่ปลดปล่อยสารดังกล่าวในพื้นที่มาบตาพุดลง ๑๐-๒๐ % (มีการอ้างอิงว่าผู้ประกอบการในมาบตาพุดสามารถลดการระบายลงได้ ๒๓-๒๖ %) ส่วนสารอินทรีย์ระเหยง่าย VOCs จะต้องควบคุมการรั่วซึมจากแหล่งต่างๆให้ได้มาตรฐานภายในปี ๒๕๕๑ ส่วนเรื่องน้ำทิ้งของชุมชนพื้นที่มาบตาพุด ต้องจัดการน้ำเสีย ๒๕ % ภายในปี ๒๕๕๑ และ ๕๐% ในปี ๒๕๕๔ กับทั้งโรงงานต้องระบายมลสารให้เป็นไปตามมาตรฐาน ๑๐๐ % ภายใน ๑ ปี ลดปริมาณการระบายน้ำเสียในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะสั้น ๗๐๐,๐๐๐ ลบม.ต่อปี และอีก ๖๐๐,๐๐๐ ลบม.ต่อปีภายใน ๒๕๕๔ (เขามีปริมาณการใช้น้ำวันละ ๓-๔ แสนลูกบาศก์เมตร) กากของเสียและขยะจัดการให้ถูกต้อง ๑๐๐ % และอาชีวอนามัยเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ที่มาบตามพุด กรมควบคุมมลพิษจะมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ๔ สถานี ในปัจจุบันก็จะมีหน่วยติดตามตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่ ส่วนของสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก็จะมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ อีก ๔ สถานี และของบริษัท บีแอลซีพี ซึ่งเป็นบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน ก็มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ อีก ๕ สถานี ซึ่งได้ตั้งตามที่ต่างๆ แต่บางทีก็ตั้งไว้ซ้ำซ้อนกัน เช่น ของสำนักงานนิคมมาบตาพุด กับของบริษัท บีแอลซีพี ต่างก็ตั้งที่วัดตากวนคงคาราม เมืองใหม่มาบตาพุด วัดมาบชะลูด

เรามามองการทำงานของทางด้านการนิคมอุตสาหกรรม เขาก็รายงานว่าการดำเนินการลดไอสารอินทรีย์ระเหยง่าย VOCs มาจากคำว่า Volatile Organic Compounds ครับ ได้มีการดำเนินไปกว่า ๘๐ % แล้วครับ และกลุ่ม ปตท.และเครือซีเมนต์ไทยพิจารณาลงทุนในมาบตาพุดกว่า ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อลดการปล่อยก๊าซทั้งสองชนิด ในส่วนเรื่องน้ำลดปริมาณน้ำเสียได้ประมาณ ๒,๑๐๖,๙๙๔.๔ ลบ.ม.หรือ ๓๐๑% ของเป้าหมาย (๗๐๐,๐๐๐ ลบ.ม.)

ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) Corporate Social Responsibility เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ดูแลสุขภาพอนามัยของชุมชน เพิ่มศักยภาพของคนในพื้นที่ รับคนในพื้นที่เข้าทำงานมากขึ้น พัฒนาเรื่องน้ำกินในภาคตะวันออก เพิ่มพื้นที่สีเขียว ให้ความรู้ชุมชนด้านมลพิษสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดตั้งกองทุนต่างๆ และทางกลุ่มผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ก็ได้ร่วมมือกันลดการปล่อยมลสาร ลดการใช้น้ำและระบายน้ำทิ้ง เพิ่มพื้นที่สีเขียว สนับสนุนงบประมาณ บทบาทของสภาอุตสาหกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก สภาอุตสาหกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทำลายสังคมและสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นศูนย์กลางข้อมูล ข้อสนเทศ และการสร้างองค์ความรู้ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้ความเข้าใจถึงสภาพปัญหาและแนวทางการลดภาวะโลกร้อน โดยสร้างความตระหนักและจิตสำนึกของภาคอุตสาหกรรมในการมีส่วนร่วมต่อการลดปัญหาภาวะโลกร้อน มีการจัดทำโครงการต่างๆ เช่น การบริหารจัดการเพื่อลดการระบายมลพิษอากาศหลักจากโรงงานอุตสาหกรรม โครงการฝึกอบรมเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรด้านประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โครงการสัมมนาวิชาการเพื่อให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจและทราบถึงแนวคิดของความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR เป็นต้น คราวนี้ก็มาถึง “การจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม” บรรยายโดย ดร.สมยศ แสงสุวรรณ กรรมการผู้จัดการบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO ดร.สมยศ ได้เล่าถึงความเป็นมาของเจนโก้ ว่า เนื่องจากรัฐได้ให้อุตสาหกรรมเป็นภาคนำในการพัฒนาประเทศ เมื่อมีโรงงานมาก กากของเสียก็เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดการในเบื้องต้นยังไม่ค่อยมีใครสนใจจึงมีการทิ้งกระจัดกระจาย มีการลักลอบทิ้งบ้าง โรงงานก็ไม่มีเทคโนโลยีที่จะกำจัดกากของเสีย ทั้งนี้ด้วยเหตุที่การบำบัดและการกำจัดของเสียต้องใช้ทุนสูงจึงเกิดปัญหาที่โรงงานมักง่ายลดต้นทุนการผลิตแอบเอากากของเสียไปฝัง แต่ในความเป็นจริงกากของเสียหาได้มีแต่ในโรงงานอุตสาหกรรมไม่แม้ในบ้านของเราเอง รู้กันบ้างไหมครับว่าเราก็มีส่วนทิ้งกากของเสียเช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อขาดการจัดการที่ดี ผลที่ตามมาก็เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กลิ่น อากาศเสีย น้ำเสีย ดินเสื่อมสภาพ เมื่อดินเสื่อมก็มีการบุกรุกที่ดินทำกิน และเกิดการแพร่กระจายของสารอันตราย เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากเกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจปัจจุบันรัฐจึงไม่อาจลงทุนเองได้จึงต้องให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ โดยรัฐเข้าถือหุ้นด้วย จึงเกิดเจนโก้ขึ้น เจนโก้ลงทุนถึง ๙๐๐ ล้านบาท เจนโก้มีระบบตรวจสอบที่ดีและเป็น world class มีมาตรฐานในการกำจัดกากของเสีย แต่ปัญหาก็คือมีกากของเสียหายไปจากระบบไม่ผ่านการบำบัด ส่วนใหญ่โรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมมักไม่มีปัญหา แต่โรงงานที่อยู่รอบนอกนิคมซึ่งเป็นโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กมักหลีกเลี่ยงการส่งกากของเสียไปกำจัด เพราะมีกากของเสียเข้าสู่ระบบไม่ถึง ๓๐ % แต่มักไปอยู่ตามบ่อลูกรังหรือตามที่สาธารณะต่างๆ และจากภาวะโลกร้อนจึงเกิดแรงดัน สารพิษจึงขึ้นสู่ผิวดิน และเวลาเจอ ทางอุตสาหกรรมก็จะโทรหาเจนโก้ให้ไปช่วยจัดการ ค่าใช้จ่ายในการกำจัด ใช้จ่ายไปแล้วประมาณ ๓๐ ล้านบาทแต่ไม่มีคนจ่ายคืน ความจริงหน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านี้มีอยู่หลายหน่วย เช่น มหาดไทย สาธารณสุข อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม แต่หาผู้รับผิดชอบโดยตรงไม่มี เราพูดถึงมาตรฐานสากลในการบำบัดกากอุตสาหกรรม ดร.สมภพ อธิบายให้เราฟังว่า ต้อง -ผ่านมติเห็นชอบในรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม EIA -มีหลุมฝังกลบที่ปลอดภัย -การดำเนินการ/เอกสาร/การจัดเก็บ/การเปิดเผยข้อมูล/ขั้นตอน ต้องชัดเจน -มีมาตรฐานในการกำจัด -มีการติดตามตรวจสอบสิ่งแวดล้อม -มีการควบคุมการขนส่ง (ใบกำกับขนส่ง) -มีการควบคุมคุณภาพอากาศ ถึงตรงนี้คงอยากรู้ใช่ไหมครับว่าโรงงานประเภทใดที่มีกากอุตสาหกรรม ตัวอย่างที่ให้ไว้ก็คือ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมอีเล็กโทรนิกส์ อุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น และโรงงานพวกนี้เป็นโรงงานขนาดใหญ่ หรือขนาดย่อมลงมาก็เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมฟอกย้อม อุตสาหกรรมชุบโลหะ ถ้าถามว่าเจนโก้ทำอะไรบ้าง นี่ครับ ให้บริการบำบัดและกำจัดกากอุตสาหกรรม โดยฝังกลบโดยไม่ผ่านระบบปรับเสถียร (แล้วแต่ประเภทของกากของเสีย) การปรับเสถียรและฝังกลบ การผสมกากเชื้อเพลิงสังเคราะห์ การเผาด้วยอุณหภูมิสูง การบำบัดน้ำเสีย การขนส่ง ไหนๆก็ไหนๆ เรามารู้กันให้ถึงแก่นไปเลยว่ากากอุตสาหกรรมที่เจนโก้ให้บริการมีอะไรบ้าง มีตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย กากตะกอนโลหะ น้ำมันเครื่องที่หมดสภาพการใช้งาน น้ำมันหล่อเย็นที่หมดสภาพการใช้งาน กากตะกอนสี น้ำยาตัวทำละลายที่หมดอายุ น้ำยาเร่งปฏิกิริยาที่หมดอายุ เศษยาง/ฉนวน แบตเตอรี่ที่หมดอายุ กากน้ำมัน กากตะกอนไขมัน น้ำกรดที่หมดอายุ หลอดฟลูออเรสเซนต์ เศษวัตถุดิบปนเปื้อน ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ตอนนี้เจนโก้มีศูนย์อยู่ ๔ ศูนย์ ที่มาบตาพุดเป็นหนึ่งในสี่ (วันที่เราไปดูสถานที่จริงที่มาบตาพุด ชาวบ้านเขาบอกว่าเขาเสียใจที่เจนโก้ไปสร้างโรงกำจัดใกล้โรงเรียนและโรงพยาบาล จนโรงเรียนต้องปิดไปแล้ว โรงพยาบาลก็ต้องไปสร้างแห่งใหม่ ผมแอบไปกระซิบถามทางสาธารณสุขว่าเหตุที่โรงพยาบาลมาบตาพุดย้ายไปอยู่ที่ใหม่เพราะอะไร เขาก็บอกว่าที่เก่าเล็กไม่เพียงพอที่จะให้บริการก็เลยต้องไปสร้างแห่งใหม่ แล้วชาวบ้านก็บอกอีกว่าดูสิ ที่กำจัดกากอุตสาหกรรมแห่งใหม่เขาก็ไปทำใกล้โรงพยาบาลใหม่อีก) หลุมฝังกลบของเจนโก้ ดร.สมภพบอกว่าต้องลงทุนหลุมละ ๕๐ ล้าน ฝังได้ ๑๐๐,๐๐๐ ตัน ดร.สมภพ บ่นๆให้ฟังว่าในอดีตการกำจัดกากไม่ดี จึงส่งไปให้เทศบาลกำจัด เทศบาลก็เอาไปฝังกลบจนกลายเป็นเรื่องปกติ ทั้งค่ากำจัดของเทศบาลก็ถูกมาก แต่มันไม่ถูกวิธี และการตั้งโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมนั้น ปัจจุบันได้มีการโอนอำนาจการอนุญาตให้กับอุตสาหกรรมจังหวัดที่จะออกใบอนุญาตให้กำจัดกากอุตสาหกรรมที่เป็นพิษ ซึ่งก็มีปัญหาว่าการอนุญาตให้โรงกำจัดที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบในอนาคต ปัญหาในการขนส่งก็มีปัญหาเหมือนกัน หากไม่มีการควบคุมที่ดีก็อาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน แต่ก่อนเคยให้บริษัทอื่นมารับช่วงการบรรทุกกากของเสีย ปรากฏว่าพอถึงปลายทางน้ำหนักกากของเสียลดลงไป ตรวจสอบพบว่ามีการเอาขนมหมดอายุแต่ยังทานได้ลักลอบเอาไปขายเพื่อนบ้าน เดี๋ยวนี้เจนโก้จึงต้องขนส่งเอง แถมยังต้องตรวจติดตามพฤติกรรมในการขับขี่โดยใช้กล่องดำ เดี๋ยวนี้ใช้ GPS

เดี๋ยวนี้เราสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นจึงมีการพยายามนำกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด น้ำเสียก็ต้องนำไปบำบัดเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก หรือหากปล่อยทิ้งก็ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ย้อนไปดูเมื่อ ๔๐-๕๐ ปีที่แล้ว กากของเสียถูกนำไปทิ้งในที่สาธารณะ ๒๐-๓๐ ปีที่แล้ว มีการนำไป Treatment ก่อนแล้วนำไปสู่สาธารณะ แต่ปัจจุบันโรงงานก็จะหาวิธี Reuse, Recycle ดร.สมภพ จบการบรรยายว่า เรารู้ตัวกันไหมว่าเราถูกหลอกเป็นที่ทิ้งกากของเสียจากอุตสาหกรรม พวกเครื่องใช้มือสองไง เช่น คอมพิวเตอร์มือสองจากญี่ปุ่น เครื่องยนต์ ฯลฯ มือถือมีการใช้งานอยู่ ๓๐ ล้านเลขหมายนั่นก็เป็นสารพิษครับ ขอให้รับรู้ด้วยว่า “โลกใบนี้เต็มไปด้วยสารพิษ” ที่เราได้ฟัง ดร.สมภพ บรรยายในภาพดีของเจนโก้ แต่ในความเป็นจริงคนระยองยังไม่ไว้ใจเจนโก้ เพราะเป็นแหล่งรวมกากของเสีย ไม่รู้ว่าวันใดจะเกิดความผิดพลาดขึ้นมา และแพะก็คือชาวระยอง พี่อภัย จันทนจุลกะ: ตั้งข้อเสนอแนะ วันนี้สิ่งแปรเปลี่ยนหลายเรื่อง น้ำ ทั้งเจนโกมีกระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมถือหุ้นด้วย และอยากเห็นเจนโกเป็นผู้นำในการกำจัดของเสีย เพื่อประชาชนที่นั้นอยู่อย่างมีความสุขและเอาคำถามไปถามประชาชนที่ระยองว่าเขาต้องการอะไร แต่ไม่ให้ทำ(อุตสาหกรรม)คงไม่ได้เพราะประเทศต้องมีการพัฒนา ดร.สมยศ: สิ่งที่ต้องทำคือการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อตั้งใหม่ๆก็ถูกประท้วง จึงต้องเอาผู้นำไปดูงานที่อินโดนีเซีย จึงเกิดความเข้าใจ เดิมเข้าใจว่าเจนโกเป็นที่รวมสารพิษ ถ้าเจนโกไม่ทำ อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าไม่มีบริษัทที่มีมาตรฐานในการกำจัดสารพิษ ประเทศจะเป็นอย่างไร มีการเอาสารพิษไปทิ้งในบ่อลูกรังมากมายโดยไม่มีการบำบัด อนาคตโรคภัยเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ขยะที่ติดเชื้อจากโรงพยาบาลบางแห่ง เอาไปเผาในเมรุเผาศพ นั่นไม่ถูกวิธี ที่มาเลเซีย ขยะติดเชื้อให้เอกชนตั้งโรงงงาน ภายใน ๕ ปี ไม่ให้มีคู่แข่ง ต้นทุน ๒ ริงกิต ให้เรียกจากลูกค้าได้ ๕ ริงกิตต่อกิโล บ้านเราทำผิดมานาน คุณศุภชัย ใจสมุทร: พูดถึงเรื่องกฎหมาย ในการพัฒนากฎหมายกับการบังคับใช้กฎหมายภาระหน้าที่ของสภาอุตสาหกรรม ก็ต้องยกประเด็นในเรื่องการแก้ไขกฎหมายกับการบังคับใช้ในกฎหมายสิ่งแวดล้อม เรื่องค่าเสียหายที่จ่ายตามจริง แต่มันมีความเสียหายในเชิงการลงโทษซึ่งบ้านเราไม่ได้นำมาใช้ หากนำมาใช้ก็น่าจะการปล่อยสารพิษลดลง เช่น ปรับ ๑๐๐ ล้าน หากจะนำเสนอเป็นวาระแห่งชาติ ขอให้พูดคุยกันอย่างจริงจัง คุณพยุงศักดิ์: พูดถึงสิ่งแวดล้อม ชุมชนที่อยู่กันก็มีส่วนในการปล่อยของเสีย การให้ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมเกิดภาพพจน์ไม่ดีก็จะไม่ยอมรับ โดยผู้ที่ไม่ยอมรับไม่ได้ยอมรับว่าในอดีตกับปัจจุบันไม่เหมือนกัน การกระทำที่เห็นแก่ได้ในอดีต ปัจจุบันได้รับการแก้ไข ในกลุ่มอุตสาหกรรมกันเองก็ต้องช่วยกันดูแล ชุมชนก็ต้องช่วยกันดูแล การนำไปทิ้งในที่ต่างๆ หากชุมชนเข้มแข็ง ผู้ประกอบการช่วยกันด้วย ภาครัฐก็ต้องเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง และเห็นด้วยกับในเรื่องกฎหมายที่ดีและบังคับใช้กฎหมายที่ดีและจริงจัง ดร.อิศรา: มีเรื่องที่จะพูด ๒ ข้อ คือได้มีการนำเสนอเรื่องกากของเสียแต่ไม่ได้พูดประเด็นมลพิษทางอากาศกับการที่นโยบายอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ อุตสาหกรรม ๒๐ % เกษตรและบริการอย่างละ ๔๐% แต่ทุกวันนี้อุตสาหกรรม ๔๐ % เกษตรอยู่ ๑๐ กว่า % เกือบ ๒๐ % ตรงไหนที่พอดี ข้อเสนอว่า ค่าจีดีพีวัดได้เกินเลยจากความเป็นจริง ไม่ได้คิดจากสิ่งที่เป็นของคนไทย เพราะรายได้ส่วนใหญ่ส่งกลับไปยังต่างประเทศ แต่ต้นทุนสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในเมืองไทย ผลกระทบการกำจัดของเสีย การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นของคนไทย เรามักพูดว่าภาคอุตสาหกรรมทำรายได้เข้าประเทศมาก แต่ถ้ามองที่มูลค่าเพิ่มจะเห็นว่าภาคเกษตรต่างหากที่มีรายได้สูงกว่า ตัวอย่างที่ลำพูน คนงานที่ได้รับรางวัลขยันทำงานตาย ปลาในแม่น้ำตาย เรื่องอุตสาหกรรมนี่ต้องทบทวน คุณพยุงศักดิ์ พูดถึงมลพิษก็มองภาพเป็นลบ ที่ระยองมีการทำเรื่องการลดมลพิษและมีการลงทุนเพิ่ม ๑๔,๐๐๐ ล้าน มีการคำนึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้น ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์วัดอากาศที่ปล่องเพื่อตรวจดูตลอดเวลา สามารถนำเอามาคำนวณทั้งพื้นที่ได้เลย ว่าที่ทุกโรงปล่อยสารพิษโดยรวมเป็นอย่างไร และเห็นด้วยกับการทบทวนภาคอุตสาหกรรม เช่น โรงงานเหล็ก ถลุงเสร็จก็ส่งออกเพื่อไปทำเหล็กเส้นเหล็กแผ่นจีนผลิต๕๐๐ ล้านตัน และโรงงานที่ขาดคุณภาพผลิต ๑๐๐ ล้านตัน รัฐบาลจีนไม่ยอมให้ส่งเหล็กที่ยังผ่านกระบวนการไม่ครบไปยังต่างประเทศ เพราะมันจะเป็นการใช้พลังงานโดยมีสิ่งแวดล้อมไม่ดีตกอยู่ที่เขา สินค้าที่ส่งไปเป็นสินค้าที่มูลค่าเพิ่มต่ำ ดร.สมยศ พูดถึงมลพิษทางอากาศ เจนโก กากหรือมลพิษต้องกำจัดให้แล้วเสร็จภายใน ๒ อาทิตย์ กฎหมายกำหนดอย่างนั้นแต่มีคนฝ่าฝืนหรือไม่ เจนโกปฏิบัติตามกฎหมาย และถามว่ากากสารพิษหรือไม่ใช่กากสารพิษก็ไม่มีใครมาดูแลอย่างจริงจัง ตีความกันเองก็จะตีว่าไม่ใช่สารพิษเพื่อลดค่าใช้จ่าย เจนโกมีเครื่องมือวิเคราะห์ว่าใช่สารพิษหรือไม่ ลงทุนไป ๔๐ ล้าน ท่านนันทศักดิ์ เคยทำงานธนาคาร เคยเป็นเจ้าหน้าที่อนุมัติสินเชื่ออุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรมไม่มีเจ้าหน้าที่ เคยไปตรวจแคตาลอก ยิ่งการให้อุตสาหกรรมมีอำนาจอนุมัติ ยิ่งมีปัญหา จริงๆกฎหมายสิ่งแวดล้อมผู้ใดก่อสารพิษผู้นั้นมีหน้าที่บำบัด ให้โอกาสชุมชนตั้งเป็นสมาคมจดทะเบียนเข้าไปจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมและสามารถเป็นผู้เสียหายฟ้องคดีได้เอง และในส่วนกรมสอบสวนคดีพิเศษจัดตั้งสำนักคดีสิ่งแวดล้อมดำเนินคดีนี้โดยเฉพาะเพื่อจัดการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากที่เอกชนไปตั้งกลุ่มกันเอง ศาลก็มีการตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา จะเห็นได้ว่าภาครัฐก็ปรับทิศทางเอาใจใส่เรื่องสิ่งแวดล้อม เสนอแนะให้มีเจ้าภาพในการควบคุมมลพิษเพราะขณะนี้ไม่ทราบว่ากระทรวงอุตสาหกรรมหรือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกันแน่ที่เป็นเจ้าภาพ ท่านชาติชาย บอกว่าอยู่ศาลอุทธรณ์ปีที่ ๕ อยู่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ไม่เคยมีคดีโรงงานปล่อยของเสียเลย มีแต่ปลูกบ้านรุกล้ำลำน้ำ คดีตัดไม้หวงห้าม แต่คดีโรงงานที่มาบตาพุดไม่เห็นมีเลย ส่งมาสิครับจะจัดการให้ดู จะทำอย่างไรให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นผล ตั้งศาลสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะน่าจะได้ผล ท่าน นพ.บรรพต ต้นธีรวงศ์ เห็นว่าปัญหามลพิษเกี่ยวข้องกับคนทุกคน สงสัยว่าทิศทางพัฒนาของไทยจะไปไหนกันดี ที่ผ่านมาถูกหรือยัง มิฉะนั้นจะเป็นเหยื่อของโครงสร้าง หรือการพัฒนาที่ขาดทิศทางที่ชัดเจนหรือเปล่า เราจะไปยังทิศทางไหนกันแน่ หรือแม้แต่เจนโกเองก็อาจจะถูกใช้เป็นข้ออ้างเป็นผู้ก่อความรุนแรงให้กับสังคมหรือชุมชนโดยไม่ตัว หรือข้ออ้างของภาคอุตสาหกรรมว่าถ้าเป็น คลาสแล้วจะมีทางแก้ปัญหาได้ แต่ในความจริงจะแก้ไขได้ทุกแห่งหรือเปล่า จึงฝากมุมมองให้ระวังเรื่องโครงสร้างเอาไว้


เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๓๖ หัวข้อ: การศึกษาดูงานภาคตะวันออก “สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา” โดย: ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม (รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย), ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา (อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ) วันเวลา: สถานที่: จ.ระยอง


พวกเราขึ้นรถบัสขนาดใหญ่ ๒ คัน ออกเดินทางจากสถาบันพระปกเกล้าไปยังจังหวัดระยอง ระหว่างทางคราวนี้ไม่มีเสียงเพลงเพราะหัวโจกหลับ ระหว่างทางเราไปเยี่ยมโรงงานทำคริสตัล ชื่อโลตัส คริสตัล เป็นโรงงานผลิตเครื่องแก้วคริสตัลแห่งแรกของประเทศซึ่งล้มลุกคลุกคลานมาจนประสบความสำเร็จในวันนี้ เราได้ดูขั้นตอนการผลิต การเป่าแก้วคริสตัล ได้เห็นการพัฒนารูปแบบของการผลิตแก้วคริสตัลเป็นของที่ระลึก และอยู่ระหว่างการพัฒนาทำเป็นเครื่องประดับ เรียกได้ว่าคริสตัลของไทยคุณภาพได้มาตรฐานถึงขนาดบริษัทที่จำหน่ายคริสตัลต่างประเทศก็สั่งซื้อจากของไทย น่าสนใจจริงๆ และจบลงด้วยการ Shopping ผมเห็นคุณหญิงหมอพรทิพย์ หญิงเล็กศิริบูรณ์ และอีกหลายๆคนเป็นลูกค้า


จากนั้นเราเดินทางต่อไปที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไปดูหอชมวิว และฟังการบรรยายเกี่ยวกับการนิคมอุตสาหกรรมซึ่งวิทยากรมี ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ท่านได้บรรยายเกี่ยวกับการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พูดถึงภาพรวม ปัญหาและแนวทางแก้ไข และอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ได้บรรยายเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาอุตสาหกรรม


ระหว่างพักเขาให้เราไปดูหอคู่ฟ้า ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และโรงไฟฟ้า ที่หอคู่ฟ้า สังเกตเห็นว่าที่กระจกเขามีสติกเกอร์ติดไว้ด้วยว่าแต่ละทิศห่างจากประเทศไหนเท่าไหร่ เอามาให้ดูว่าห่างจากนิวยอร์กเท่าไหร่

หลังจากจบการบรรยาย เราก็ต้องไปดูโรงไฟฟ้า BLCP คราวนี้เราจะตัดโปรแกรมก็ไม่ได้แม้จะเลยเวลามามาก และพอไปถึงโรงไฟฟ้าเห็นเยาวชนมารอรับเราเพื่อจะพาพวกเรานำชมโรงไฟฟ้าแล้วก็ต้องนึกในใจว่าถ้าเราไม่แวะมาจะเป็นการทำร้ายจิตใจเยาวชนน่าดู ที่นี่เริ่มจากให้เราดูการ์ตูนเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าบีแอลพีซี ซึ่งเขาบอกเราว่าโรงไฟฟ้าของเขาใช้ถ่านหินที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าลิกไนต์ แต่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ มีการขนส่งทางเรือ (ซึ่งต้องมีการถมทะเลเพื่อทำท่าเรือน้ำลึก และในความเป็นจริงก็เกิดปัญหาเรื่องการกัดเซาะของแนวชายฝั่ง) ออกจากห้องบรรยายเราก็ได้ดูนิทรรศการเกี่ยวกับพลังงาน




จากนั้นเราก็ต้องเดินทางไปยังที่พักโรงแรมโนโวเทล ริมเพ จ.ระยอง ตามโปรแกรมเราจะมีเวลาพักผ่อนก่อน อาบน้ำแต่งตัวแล้วลงมาทานอาหารเย็นพร้อมกับฟังท่านผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายชิดพงษ์ ฤทธิ์ประศาสน์ บรรยายพิเศษให้พวกเราฟัง (Dinner Talk) ในหัวข้อการพัฒนาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม



เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่ ๓๗ หัวข้อ: การศึกษาดูงานภาคตะวันออก “สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา” (ต่อ) – การพัฒนาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม (Dinner Talk) โดย: นายชิดพงษ์ ฤทธิ์ประศาสน์ – ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง วันเวลา: สถานที่: โรงแรมโนโวเทล จ.ระยอง

เราถึงที่พักใกล้ค่ำแต่ไม่ทันได้เอาของไปเก็บก็ถูกพาเข้าห้องอาหารเพราะท่านชิดพงษ์ ฤทธิ์ประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ได้มาถึงแล้วและจะ Dinner talk เรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม” ให้พวกเราฟัง

    	ท่านเล่าว่าท่านเพิ่งย้ายมาจากลำพูนเมื่อประมาณ ๓ เดือนที่แล้ว ที่ลำพูนมีนิคมอุตสาหกรรม และไม่ค่อยมีเรื่องร้องเรียนจากประชาชน มีเพียงเรื่องเดียวเกี่ยวกับการปล่อยน้ำเสีย แต่มาที่ระยอง ๑๐ วัน มีเรื่องร้องเรียนเรื่องแก๊สฮีเมีย รั่วเกิดกลิ่นเหม็นคลื่นไส้มึนงงอยากอาเจียน แต่ไม่มีอะไรรุนแรง

แต่ที่น่าสังเกตคือ มีหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมในเขตนิคมอุตสาหกรรมเยอะมาก แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าภาพ มีทั้งสิ่งแวดล้อม ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ปตท. ใครต่อใครเยอะแยะไปหมด แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าภาพ ไม่รู้จะบูรณาการอย่างไร เกิดเรื่องตอนช่วงเช้า แต่กว่าจะได้แก้ปัญหาก็ล่วงเลยเวลานาน ระยองเป็นหนึ่งในแปดจังหวัดของภาคตะวันออกที่มีความสำคัญ เล็กแต่แจ๋ว ตัวเลขเศรษฐกิจมาอันดับ ๑ รายได้ประชากรต่อหัว ๙๙๘,๐๐๐ บาท จีดีพี ๕๘๐,๐๐๐กว่าล้านบาท เดิมระยองสงบ ราบเรียบไม่รีบเร่ง ปัญหาไม่มากมาย สมัยนั้นเป็นเศรษฐกิจสามขา ท่องเที่ยวและบริการ ๓๓% เกษตรกรรม ๓๖% อุตสาหกรรม๓๑% ต่อมากำหนดให้ระยองและชลบุรีเป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนัก ผลการพัฒนาระยองก้าวกระโดด เดิมมีโรงงานอยู่ ๑๒๖ โรงงาน พอมาปี ๒๕๕๐ มีมากถึง๑,๗๕๐ โรงงาน เงินลงทุน ๘๘๐,๐๐๐ ล้านบาท และอยู่ในแผนพัฒนาปิโตรเคมี ซึ่งจะมีเงินลงทุน ๔-๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท วิถีชีวิตคนเปลี่ยนแปลงไป ราคาที่ดินสูงขึ้น สาธารณูปโภคก็พัฒนา ขับรถจากกทม.มาถึงระยองใช้เวลา ๑.๓๐ ชม. แต่ยิ่งพัฒนายิ่งมีปัญหาสิ่งแวดล้อม ข้อคิดเห็นคนระยองคิดอย่างไรกับการพัฒนาอุตสาหกรรม รัฐพยายามแก้ไขศึกษาศักยภาพในการรองรับมลภาวะ ในปี ๒๕๕๐ ได้มีการประชุม ปัญหาจะทำให้ระยองเป็นเขตควบคุมมลพิษไม่ได้ สารอินทรีย์ระเหย VOC มีอยู่ประมาณ ๔๐ ตัว ใน ๒๐ ตัวมีสารก่อให้เกิดมะเร็ง เอาไปจับกับมาตรการควบคุมสารมะเร็งในอเมริกา ๑๙/๒๐ ตัวมีค่าเกินมาตรฐานของอเมริกา


สารพิษจากการเผาไหม้ มี ๑๘๖ ปล่อง แต่ละตัวไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ถ้าปล่อยพร้อมกัน ๑๘๖ ตัว จะทำให้อากาศบริเวณนั้นเข้มข้นขึ้น และเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้ และเรื่องนี้ร้องเรียนในระยองมากที่สุด เพราะเป็นผลกระทบโดยตรง มลพิษทางน้ำ แม่น้ำระยองสายหลัก จากการตรวจวัดในปี ๒๕๔๘-๔๙ คุณภาพน้ำวัดได้ ๓๖.๗๐ จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ แสดงว่ามีความเสื่อมโทรม บางคลองมีสารละลายสูง บ่อบำบัดน้ำตื้นบางแห่งมีสารระเหยเกินเกณฑ์มาตรฐาน ปัญหาของระยอง ๑. กากของเสียอุตสาหกรรม เป็นอันดับ ๑ ของประเทศ เพราะโรงงานใหญ่อยู่ในระยอง ในการบำบัดของเสียมีแต่บริษัทเจนโก้ การที่มีน้อยจึงมีการลักลอบนำกากของเสียลักลอบทิ้งจำนวนมาก ปี ๒๕๔๙-๕๑ มีลักลอบทิ้งใหญ่ๆถึง ๖ ครั้ง พบสารเคมีรั่วจากการเดินเครื่อง ยังไม่ทันปฏิบัติการ ไม่ทำให้เกิดการติดไฟ (สารคิวเมนที่พูดตอนต้น) ส่งเข้าโรงพยาบาล ๑๒๗ คน ทำให้คนผวา แม้แก๊สตัวนี้จะไม่มีโทษรุนแรงแต่ชาวบ้านกลัว ๒. สิ่งแวดล้อม การกัดเซาะชายฝั่งจากการถมทะเลเพื่อทำนิคมอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง หาดสุชาดา แสงจันทร์ ปากน้ำ ปีละ ๔-๕ เมตรต่อปี สูญเสียระบบนิเวศน์เสียหาย จังหวัดได้แก้ไขโดยการสร้างเขื่อนหิน และสูญเสียทัศนียภาพ ๓. การแย่งชิงทรัพยากรน้ำระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรม ในปี ๒๕๔๘ ฝนแล้งมาก ปริมาณน้ำลดน้อยมากเข้าขั้นวิกฤต ผู้ว่าฯต้องขอฝนตามประเพณี กลับได้ผล ฝนตกลงมาอย่างหนัก แก้ปัญหาวิกฤตได้ จึงมีการคิดการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจังอย่างเป็นระบบ จัดการอ่างเก็บน้ำ อ่างน้ำประแส-คลองใหญ่จึงถูกจัดการใช้งบประมาณเกือบพันล้านบาท แต่มีปัญหาติดขัดการไม่สามารถเชื่อมต่อท่ออีกเพียง ๑๒๐ เมตรไม่ได้ การลงทุนเกือบพันล้านแทบจะไร้ผล คนระยองมีสามกลุ่มใหญ่ • กลุ่มแรก อุตสาหกรรมสร้างให้ระยองก้าวหน้า จึงยอมรับหากจะสร้างเพิ่ม • กลุ่มสอง อุตสาหกรรมสร้างให้ระยองก้าวหน้า แต่พอแล้ว • กลุ่มสาม อุตสาหกรรมควรเลิกเพราะสร้างความเดือดร้อน มีการประท้วงใหญ่ ปี ๒๕๕๐ มีคนชุมนุมประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน ต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าของไออาร์ซีซี มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะจนปัจจุบันยังสร้างไม่ได้ ความขัดแย้งทางด้านความคิด จังหวัดใช้ความพยายามให้เกิดสันติวิธี อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและยั่งยืน ซึ่งจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชนและอุตสาหกรรม ในการดำเนินงานของจังหวัด - ส่งเสริมธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ต้องมีการตรวจสอบเข้มงวด บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและไม่เลือกปฏิบัติ - ส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลจริงจัง รับฟัง และประกอบธุรกิจอย่างมีจิตสำนึก (โรงงานใหญ่ๆมักไม่ค่อยมีปัญหา) - ภาคประชาชนต้องเฝ้าระวังและร่วมวางแผนแก้ไขปัญหา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเลื่อนการประกาศเขตควบคุมมลพิษ แต่ให้ลดมลพิษโดยให้งบประมาณมาแก้ไข การแก้ไขปัญหาก๊าซซัลเฟอร์ การจัดตั้งกองทุนต่างๆ โดยผู้ประกอบการได้บริจาค กองทุนระยองแข็งแรง ๓๒ ล้านบาท (๑ ปี) แก้ปัญหาของเกษตรกร แก้ไขปัญหามลภาวะที่กระทบต่อประชาชน มีกองทุนรอบๆในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีก ๒๕ กองทุน บริจาคเงิน ๓๑ ล้านบาทให้ชุมชนไปแก้ไขปัญหาเอง กองทุนพลังงานหรือกองทุนโรงไฟฟ้าซึ่งกระจายอยู่ ๑๔ โรง เป็นกองทุน ๑๕๐ ล้านบาท สมทบปีนี้ ๓๐๐ ล้าน มีผู้ว่าฯระยองเป็นผู้บริหารกองทุน การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม แก้โดยภาครัฐอย่างเดียวไม่สำเร็จ ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายภาคประชาชนเฝ้าระวัง ซึ่งมีประสิทธิภาพ เมื่อ ๓ อาทิตย์ที่แล้ว เวลาประมาณ ๑๑ โมงเช้า มีโรงงานปล่อยน้ำมันในคลองบาปวน ประชาชนโทร.ถึงผู้ว่าฯทันที มีข้อสังเกต - แม้จะได้ทุ่มเงินสร้างสาธารณูปโภค ชุมชนบางชุมชนน้ำประปาไม่มี ไฟฟ้าตกอยู่เป็นประจำ ทำไมรัฐจึงส่งเสริมแต่อุตสาหกรรมแต่ภาคประชาชนไม่ได้รับการเหลียวแลจริงจัง - ให้โรงงานตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม แต่โรงงานที่มีปัญหาปล่อยมลพิษมักจะตั้งอยู่นอกนิคม - ในเขตนิคมอุตสาหกรรม คนภายนอกจะไปเอาข้อมูลก็ยาก แม้จังหวัดเองก็ยังยาก เว้นแต่เกิดปัญหาจึงจะไปขอข้อมูลมาได้ การบริการหน่วยงานทั้งในและนอกพื้นที่ แต่ละกรมก็ดำเนินการกันไปในลักษณะต่างคนต่างทำ เช่น กรมมลพิษ กรมสิ่งแวดล้อม ท้องถิ่นก็ทำกันไป อนาคตจังหวัดจะเป็นเจ้าภาพตัวกลางประสานงาน ให้สิ่งแวดล้อมเป็นวาระของจังหวัด การแก้ไขปัญหา หากเป็นกลุ่มไม่เอานิคมอุตสาหกรรมบางพื้นที่มีทัศนคติรุนแรงมาก เรื่องการจัดการน้ำ เพียงแค่ ๑๒๐ เมตรก็มีปัญหาดำเนินการต่อไม่ได้ ผมรู้สึกสบายใจที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดระยองสะท้อนปัญหาออกมาตรงๆ ก็เลยบันทึกการบรรยายของท่านค่อนข้างละเอียด (แต่พอเราไปถามภาคราชการก่อนเราจะกลับ เราได้รับคำตอบอีกแบบหนึ่ง เราก็เลยต้องยืนยันคำพูดของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่า การแก้ไขปัญหายังไม่ดีไม่มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน) แล้วเราก็ได้ทานอาหารเย็นกันในที่สุด ขาคาราโอเกะมีหรือจะปล่อยให้นักร้องประจำวงร้อง ดูพวกเราสนุกหลังจากเคร่งเครียดกันมาทั้งวันก็แล้วกัน