ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ต้นทุนทางธรรมชาติ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Adminkpi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Adminkpi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นอกเหนือจากนิยามข้างต้นแล้วนั้น คณะกรรมการต้นทุนธรรมชาติ (The Natural Capital Committee) ของสหราชอาณาจักร ได้แบ่งประเภทของสินทรัพย์ทางธรรมชาติ (Natural Capital Assets) ออกเป็นสองประเภทอันได้แก่ ประเภทมีชีวิต (biotic) และไม่มีชีวิต (abiotic) โดยประเภทมีชีวิตนั้นหมายถึง ชุมชนในระบบนิเวศต่าง ๆ และสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ และประเภทไม่มีชีวิตนั้น หมายถึง ชั้นบรรยากาศ น้ำจืด น้ำทะเล ผืนดิน ดิน และแร่ธาตุและพลังงานสิ้นเปลือง<sup>[4]</sup>
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นอกเหนือจากนิยามข้างต้นแล้วนั้น คณะกรรมการต้นทุนธรรมชาติ (The Natural Capital Committee) ของสหราชอาณาจักร ได้แบ่งประเภทของสินทรัพย์ทางธรรมชาติ (Natural Capital Assets) ออกเป็นสองประเภทอันได้แก่ ประเภทมีชีวิต (biotic) และไม่มีชีวิต (abiotic) โดยประเภทมีชีวิตนั้นหมายถึง ชุมชนในระบบนิเวศต่าง ๆ และสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ และประเภทไม่มีชีวิตนั้น หมายถึง ชั้นบรรยากาศ น้ำจืด น้ำทะเล ผืนดิน ดิน และแร่ธาตุและพลังงานสิ้นเปลือง<sup>[4]</sup>
'''<big>การคำนวณต้นทุนทางธรรมชาติ</big>'''
 


'''<big>การคำนวณต้นทุนทางธรรมชาติ</big>'''
'''<big>การคำนวณต้นทุนทางธรรมชาติ</big>'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:03, 4 กรกฎาคม 2568

ผู้เรียบเรียง : ภาริณ จารุทวี

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานวิภา อินทรทัต


นิยามต้นทุนทางธรรมชาติ

                 จอฟฟรีย์ ฮีล ได้กล่าวว่า ทุน (Capital) หมายถึง ทรัพยากรใดทรัพยากรหนึ่งซึ่งเมื่อกาลเวลาผ่านไปทรัพยากรนั้นจะนำไปสู่การให้บริการหรือการผลิตสินค้าอันทำให้เกิดมูลค่า ดังนั้นทรัพยากรจึงเป็นสิ่งที่สามารถลงทุนได้ โดยการลงทุนในต้นทุนธรรมชาตินั้นสามารถทำได้โดยการอนุรักษ์ธรรมชาติ[1]

                 ในอดีตนักเศรษฐศาสตร์ได้จำกัดคำว่าทุน หรือเศรฐทรัพย์ ไว้แต่เพียงทรัพย์ที่จับต้องได้และทรัพย์ที่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ อย่างไรก็ดีนิยามดังกล่าวได้ถูกขยายให้กว้างมากขึ้นโดยได้รวมทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ และทรัพย์ที่ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา และ สุขภาพ ความรู้ ความสามารถ ซึ่งรวมเป็นทุนมนุษย์ โดยทุนมนุษย์นั้นได้ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของทุนเนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์สามารถหาวิธีในการคำนวณมูลค่าของทุนดังกล่าวได้ ในทางเดียวกันนั้นก็ได้คิดค้นวิธีการในการวัดมูลค่าที่ปัจเจกชนได้ให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นจึงเกิดเป็น “ทุนธรรมชาติ” ขึ้น[2]

                 ตามระบบแบบบูรณาการสิ่งแวดล้อมและการบัญชีเศรษฐกิจ (system of environmental-economic accounting) ได้ให้นิยามต้นทุนทางธรรมชาติไว้ว่า สินทรัพย์ธรรมชาติ (natural assets) ซึ่งหมายถึง สินทรัพย์ซึ่งเกิดโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลกไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม โดยทั้งหมดนี้ถือรวมกันเป็น สิ่งแวดล้อมชีวกายภาพ (biophysical environment) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์[3]

                 นอกเหนือจากนิยามข้างต้นแล้วนั้น คณะกรรมการต้นทุนธรรมชาติ (The Natural Capital Committee) ของสหราชอาณาจักร ได้แบ่งประเภทของสินทรัพย์ทางธรรมชาติ (Natural Capital Assets) ออกเป็นสองประเภทอันได้แก่ ประเภทมีชีวิต (biotic) และไม่มีชีวิต (abiotic) โดยประเภทมีชีวิตนั้นหมายถึง ชุมชนในระบบนิเวศต่าง ๆ และสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ และประเภทไม่มีชีวิตนั้น หมายถึง ชั้นบรรยากาศ น้ำจืด น้ำทะเล ผืนดิน ดิน และแร่ธาตุและพลังงานสิ้นเปลือง[4]


การคำนวณต้นทุนทางธรรมชาติ

                 การคำนวณต้นทุนทางธรรมชาตินั้นมีความยากกว่าทุนประเภทอื่น เนื่องจากทุนธรรมชาตินั้นมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ [ทุน] ธรรมชาตินั้น เคลื่อนไหวอยู่เสมอ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และดำเนินอยู่ด้วยความเงียบงัน ตัวอย่าง เช่น สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใต้ดิน หรือใต้น้ำ หรือกระทั่งการกระจายของเกสรดอกไม้จากต้นไม้ที่อยู่นิ่ง ซึ่งการใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าดังกล่าวนี้อาจก่อให้เกิดผลในอนาคตในที่ที่ธรรมชาตินั้นตั้งอยู่หรือที่อื่น ๆ ซึ่งเกสรได้ลอยไปก็เป็นได้[5] ดังนั้นการตีมูลค่าทุนธรรมชาติจึงไม่สามารถใช้ราคาตลาดในการคำนวณได้อย่างทุนประเภทอื่น กล่าวคือ ทุนสังเคราะห์ (Produced Capital) และ ทุนมนุษย์ (Human Capital)[6]

                 ดังนั้น การคำนวณต้นทางทุนธรรมชาติ ในเบื้องต้นสามารถทำได้สองวิธีดังต่อไปนี้

                 1. การวิเคราะห์และสังเกตการณ์ว่าธรรมชาติดังกล่าวที่ต้องการนำมาคำนวณมูลค่ามีหน้าที่อะไรในระบบนิเวศ และหากธรรมชาติดังกล่าวหายไปและมิได้ทำหน้าที่นั้น ๆ แล้ว มนุษย์จะต้องลงทุนสังเคราะห์มากน้อยเพียงใดเพื่อทดแทนธรรมชาติที่ทำหน้าที่ดังกล่าวซึ่งได้หายไป

                 2. คำนวณจาก สุนทรียภาพของธรรมชาตินั้น กล่าวคือ การคำนวณจากมูลค่าที่มนุษย์ยอมจ่ายเพื่อให้ได้เข้าถึงสุนทรียภาพของธรรมชาตินั้น ๆ หรือต้องใช้เงินมากน้อยเพียงใดเพื่อไปถึงธรรมชาติดังกล่าว เช่น ค่าเข้าอุทยานที่ผู้คนยอมจ่ายเพื่อเข้าถึงธรรมชาติในอุทยาน หรือในกรณีหลัง ค่าเดินทางไปสู่อุทยานดังกล่าว[7] (Dasgupta, The Economics of Biodiversity: The Dasgupta Review, 2021) หรืออีกนัยหนึ่ง สามารถคำนวณได้จากมูลค่าที่บุคคลยอมรับได้ หากธรรมชาตินั้นหายไป (willingness to accept) หรือมูลค่าที่บุคคลยอมจ่ายเพื่อสุนทรียภาพจากทรัพยากรธรรมชาติ (willingness to pay) อย่างใดอย่างหนึ่ง[8]


อ้างอิง


[1] Geoffrey Heal, 2016 Endangered Economies: How the Neglect of Nature Threatens Our Prosperity. New York. Columbia Press.

[2] Partha Dasgupta, 2021The Economics of Biodiversity: The Dasgupta Review. First Edition. London. HM Treasury. p. 38.

[3] Statistical Bureau of Guangxi Zhuang Autonomous Region, 2019 Guidelines for the Pilot of Natural Capital Accounting and Valuation of Ecosystem Services Project (Draft). Guangzi Zhuang. Statistical Bureau of Guangxi Zhuang Autonomous Region.

[4] Natural Capital Committee, 2020 Final Response to the 25 Year Environment Plan Progress Report. Natural Capital Committee. p. 28.

[5] Partha Dasgupta, 2023 Wealth and Well-Being. Keynote Speech. Bangkok. Bank of Thailand.

[6] Partha Dasgupta, 2021 The Economics of Biodiversity: The Dasgupta Review. Abridged Version. HM Treasury.

[7] อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 5

[8] อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 1 index.php?title=หมวดหมู่:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ