ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สันติวัฒนธรรม"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ดร.ชลัท ประเทืองรัตนา '''ผู้ทรงคุณวุ..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
<span style="font-size:x-large;">'''นิยามความหมาย'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''นิยามความหมาย'''</span>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาด้านสันติวัฒนธรรมจากงานหลายชิ้นมีความสอดคล้องกันว่าเกี่ยวข้องกับคุณค่าและการกระทำที่เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีอิสระ มีความรัก ความเข้าใจ ไม่ใช้ความรุนแรงในทุกระดับ ความยุติธรรม ความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงเป็นการป้องกันความรุนแรงไม่ให้เกิดขึ้น และหากเกิดความรุนแรงก็มีวิธีในการจัดการอย่างสันติ ด้วยการพูดคุยในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีรายละเอียดคือ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาด้านสันติวัฒนธรรมจากงานหลายชิ้นมีความสอดคล้องกันว่าเกี่ยวข้องกับคุณค่าและการกระทำที่เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีอิสระ มีความรัก ความเข้าใจ ไม่ใช้ความรุนแรงในทุกระดับ ความยุติธรรม ความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงเป็นการป้องกันความรุนแรงไม่ให้เกิดขึ้น และหากเกิดความรุนแรงก็มีวิธีในการจัดการอย่างสันติ ด้วยการพูดคุยในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีรายละเอียด คือ


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สหประชาชาติได้นิยามความหมายของสันติวัฒนธรรมไว้ว่า เกี่ยวข้องกับคุณค่า ทัศนคติ พฤติกรรม วิถีชีวิตที่ปฏิเสธการใช้ความรุนแรง และป้องกันความขัดแย้งไม่ให้ขยายตัวกลายเป็นความรุนแรง โดยจัดการที่รากเหง้าของปัญหาด้วยการพูดคุย นอกจากนี้ ยังรวมถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคม บนหลักการพื้นฐานของความเมตตากรุณา และความเข้าใจ[[#_ftn1|[1]]] ในหลายประเทศได้นำนิยามดังกล่าวไปใช้ ผลักดัน และมีการขยายกรอบแนวคิดให้สอดคล้องกับแต่ละประเทศของตน เช่น ในฟิลิปปินส์ จากงานของ Navarro-Castro และ & Nario-Galace&nbsp;ในงานเรื่อง&nbsp;Peace Education&nbsp;: A Pathway to a Culture of Peace จะเกี่ยวข้องกับงานใน 6 มิติ เริ่มต้นจากครอบครัวในการได้รับการปกป้องและส่งเสริม การเคารพในคุณค่าของคน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การตอบสนองต่อความจำเป็นและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างและยอมรับความแตกต่างรวมถึงการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การทำงานด้านสันติวัฒนธรรมในฟิลิปปินส์จะเน้นที่ยุติการใช้กำลังในการต่อสู้ด้วยอาวุธและการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมจากการใช้อาวุธมาสู่การเกษตร เรียกได้ว่าจาก Arm to Farm คุณค่าเหล่านี้ที่จะตอบสนองต่องาน 6 มิติดังกล่าว คือ คุณค่าด้านยุติธรรม ความกรุณา การสานเสวนากัน การไม่ใช้ความรุนแรง ความเป็นพี่น้องร่วมโลก[[#_ftn2|[2]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สหประชาชาติได้นิยามความหมายของสันติวัฒนธรรมไว้ว่า เกี่ยวข้องกับคุณค่า ทัศนคติ พฤติกรรม วิถีชีวิตที่ปฏิเสธการใช้ความรุนแรง และป้องกันความขัดแย้งไม่ให้ขยายตัวกลายเป็นความรุนแรง โดยจัดการที่รากเหง้าของปัญหาด้วยการพูดคุย นอกจากนี้ ยังรวมถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคม บนหลักการพื้นฐานของความเมตตากรุณา และความเข้าใจ[[#_ftn1|[1]]] ในหลายประเทศได้นำนิยามดังกล่าวไปใช้ ผลักดัน และมีการขยายกรอบแนวคิดให้สอดคล้องกับแต่ละประเทศของตน เช่น ในฟิลิปปินส์ จากงานของ Navarro-Castro และ & Nario-Galace&nbsp;ในงานเรื่อง&nbsp;Peace Education&nbsp;: A Pathway to a Culture of Peace จะเกี่ยวข้องกับงานใน 6 มิติ เริ่มต้นจากครอบครัวในการได้รับการปกป้องและส่งเสริม การเคารพในคุณค่าของคน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การตอบสนองต่อความจำเป็นและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างและยอมรับความแตกต่างรวมถึงการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การทำงานด้านสันติวัฒนธรรมในฟิลิปปินส์จะเน้นที่ยุติการใช้กำลังในการต่อสู้ด้วยอาวุธและการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมจากการใช้อาวุธมาสู่การเกษตร เรียกได้ว่าจาก Arm to Farm คุณค่าเหล่านี้ที่จะตอบสนองต่องาน 6 มิติดังกล่าว คือ คุณค่าด้านยุติธรรม ความกรุณา การสานเสวนากัน การไม่ใช้ความรุนแรง ความเป็นพี่น้องร่วมโลก[[#_ftn2|[2]]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:14, 28 มิถุนายน 2567

ผู้เรียบเรียง : ดร.ชลัท ประเทืองรัตนา

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์

 

นิยามความหมาย

          การศึกษาด้านสันติวัฒนธรรมจากงานหลายชิ้นมีความสอดคล้องกันว่าเกี่ยวข้องกับคุณค่าและการกระทำที่เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีอิสระ มีความรัก ความเข้าใจ ไม่ใช้ความรุนแรงในทุกระดับ ความยุติธรรม ความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงเป็นการป้องกันความรุนแรงไม่ให้เกิดขึ้น และหากเกิดความรุนแรงก็มีวิธีในการจัดการอย่างสันติ ด้วยการพูดคุยในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีรายละเอียด คือ

          สหประชาชาติได้นิยามความหมายของสันติวัฒนธรรมไว้ว่า เกี่ยวข้องกับคุณค่า ทัศนคติ พฤติกรรม วิถีชีวิตที่ปฏิเสธการใช้ความรุนแรง และป้องกันความขัดแย้งไม่ให้ขยายตัวกลายเป็นความรุนแรง โดยจัดการที่รากเหง้าของปัญหาด้วยการพูดคุย นอกจากนี้ ยังรวมถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคม บนหลักการพื้นฐานของความเมตตากรุณา และความเข้าใจ[1] ในหลายประเทศได้นำนิยามดังกล่าวไปใช้ ผลักดัน และมีการขยายกรอบแนวคิดให้สอดคล้องกับแต่ละประเทศของตน เช่น ในฟิลิปปินส์ จากงานของ Navarro-Castro และ & Nario-Galace ในงานเรื่อง Peace Education : A Pathway to a Culture of Peace จะเกี่ยวข้องกับงานใน 6 มิติ เริ่มต้นจากครอบครัวในการได้รับการปกป้องและส่งเสริม การเคารพในคุณค่าของคน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การตอบสนองต่อความจำเป็นและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างและยอมรับความแตกต่างรวมถึงการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การทำงานด้านสันติวัฒนธรรมในฟิลิปปินส์จะเน้นที่ยุติการใช้กำลังในการต่อสู้ด้วยอาวุธและการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมจากการใช้อาวุธมาสู่การเกษตร เรียกได้ว่าจาก Arm to Farm คุณค่าเหล่านี้ที่จะตอบสนองต่องาน 6 มิติดังกล่าว คือ คุณค่าด้านยุติธรรม ความกรุณา การสานเสวนากัน การไม่ใช้ความรุนแรง ความเป็นพี่น้องร่วมโลก[2]

          ในภาษากรีกสันติวัฒนธรรม หมายถึง ความสามัคคีและความยุติธรรม รวมถึงการไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ ในทำนองเดียวกัน ภาษาอาหรับไม่เพียงแต่ครอบคลุมถึงการปราศจากสงครามเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความเป็นอยู่ที่ดี ความสมบูรณ์ และความปรองดองในตนเอง รวมถึงระหว่างบุคคลภายในชุมชนและระหว่างประชาชาติด้วย และยังหมายถึงความรัก สุขภาพที่สมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง การแจกจ่ายสิ่งของ และการปรองดอง สำหรับ แนวคิดภาษาสันสกฤตของคำว่า ไม่เพียงแต่หมายถึงทางจิตวิญญาณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสงบทางจิตใจ ความสงบสุขของโลก ความสงบใต้ท้องทะเล และในอวกาศ ในส่วนของจีน คือ การประสานกัน ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพจากความหลากหลาย เทียบได้กับแนวคิดของจีนโบราณในการบูรณาการ องค์ประกอบที่ตรงกันข้ามดังที่แสดงในหลักการของหยินและหยาง[3]

          สำหรับในประเทศไทย ได้นิยามความหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับงานของสากล เช่น สันติวัฒนธรรมเป็นสภาวะที่มีความสมดุลกลมกลืนกันของอัตลักษณ์ ทัศนคติ คุณค่า ความเชื่อ และแบบแผนการปฏิบัติในการใช้ชีวิต และความต้องการพื้นที่อิสระเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลในสังคมนั้น ๆ[4] อีกทั้งการนิยามว่าเป็น แนวทางการประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคมทั้งที่มีวัฒนธรรมเดียวกัน หรือต่างวัฒนธรรมบนหลักการพื้นฐานของความเมตตากรุณา มีความเจริญงอกงามพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ลักษณะของสันติวัฒนธรรมเป็นเรื่องของคุณค่า ทัศนคติ พฤติกรรม และวิถีชีวิต ที่ไม่ใช้ความรุนแรง เป็นเรื่องของความใกล้ชิดกลมกลืนกันของลักษณ์ ทัศนคติ คุณค่า ความเชื่อ และแบบแผนการปฏิบัติในการใช้ชีวิต เป็นเรื่องของการป้องกันจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีการคลี่คลายเหตุปัจจัยของปัญหาโดยไม่เผชิญหน้า เป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้ใช้ความรุนแรงในสังคมโดยกระบวนการสร้างสันติวัฒนธรรม มนุษย์ต้องสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นกับเพื่อนมนุษย์ร่วมสังคม และสร้างธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมถึงกฎกติกาในสังคมให้เอื้อต่อบรรยากาศของสันติและความปรองดองสมานฉันท์[5]  รวมถึง นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ได้กล่าวว่า เป็นวัฒนธรรมแห่งการไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ วัฒนธรรมแห่งการเคารพ ยอมรับในความแตกต่างหลากหลายและวัฒนธรรมแห่งการสานเสวนา เพื่อนำไปสู่ฉันทามติในการป้องกัน จัดการและสร้างสันติสุข[6]

 

งาน 8 ด้าน (action area) ในการสร้างสันติวัฒนธรรม

          จากนิยามของสหประชาชาติดังที่ได้กล่าวมา ยูเนสโก้ได้เสนองาน 8 ด้าน (action area) ในการสร้างสันติวัฒนธรรม ประกอบด้วย[7]

          1. การปลูกฝังวัฒนธรรมสันติภาพ/สันติวัฒนธรรมผ่านระบบการศึกษา (Foster a Culture of Peace through Education) โดยการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้มีเนื้อหาในการกระตุ้นให้เกิดคุณค่า ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับสันติภาพ ซึ่งประกอบด้วย ความสงบ การแก้ไขความขัดแย้ง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสร้างข้อตกลงร่วมกัน และการปฏิบัติที่ไร้ความรุนแรง

          2. ส่งเสริมเศรษฐกิจแบบยั่งยืนและการพัฒนาสังคม (Promote Sustainable Economic and Social Development) โดยการลดความไม่พอเพียงทางเศรษฐกิจและสังคม การขจัดความยากจน การรับรองความมั่นคงทางอาหารที่เพียงพอ ส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ยั่งยืน ให้ความสนับสนุนสตรี สร้างมาตรการพิเศษเพื่อกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ และการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติที่ยั่งยืน เป็นต้น

          3. สนับสนุนด้านการเคารพสิทธิมนุษยชน (Promote Respect for All Human Rights) ตราบที่สงครามและความรุนแรงยังดำเนินอยู่ สันติภาพจะต้องครอบคลุมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพราะสถานการณ์ดังกล่าวมีโอกาสที่จะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้สูง

          4. สนับสนุนความเท่าเทียมระหว่างหญิงและชาย (Ensure Equality between Women and Men) โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ สังคมและการตัดสินใจการเมืองของสตรี เพื่อลดโครงสร้างที่แบ่งแยกและขัดขวางสตรี

          5. ส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Foster Democratic Participation) ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงไว้ได้ คือการส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่รัฐบาลและการบริหารที่โปร่งใส การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรม การคอรัปชั่น การค้ายาเสพติด และการฟอกเงิน

          6. ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ขันติธรรมและความสมานฉันท์ (Advance Understanding, Tolerance and Solidarity) การขจัดสงครามและความรุนแรง เราจำเป็นต้องก้าวข้ามและเอาชนะภาพลักษณ์แห่งศัตรูโดยการส่งเสริมความเข้าใจอันดี ขันติธรรมและความสมานฉันท์ระหว่างผู้คน โดยการเรียนรู้ความแตกต่าง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

          7. ส่งเสริมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Support Participatory Communication and the Free Flow of Information and Knowledge) รวมถึงการจำกัดความรุนแรงในสื่อ

          8. สนับสนุนสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (Promote International Peace and Security) ได้แก่ การส่งเสริมเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ การปลดอาวุธ การทำสนธิสัญญาด้านนิวเคลียร์ การเจรจาต่อรองเมื่อเกิดความขัดแย้งทางการทหาร

 

บทสรุป

          ในบทความนี้ ผู้อ่านได้รับความรู้ความเข้าใจนิยามสันติวัฒนธรรม ไม่ได้เน้นแต่การยุติความรุนแรงทางกายภาพหรือสงครามเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับคุณค่าและการกระทำที่เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีอิสระ มีความรัก ความเข้าใจ ไม่ใช้ความรุนแรงในทุกระดับ ความยุติธรรม ความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงเป็นการป้องกันความรุนแรงไม่ให้เกิดขึ้น และหากเกิดความรุนแรงก็มีวิธีในการจัดการอย่างสันติ ด้วยการพูดคุยในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้เข้าใจงาน 8 ด้าน (action area) ในการผลักดันหรือสร้างสันติวัฒนธรรมให้เกิดขึ้น ทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การเคารพสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมระหว่างหญิงและชาย ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

          ผู้ที่สนใจค้นคว้าเพิ่มเติมงานเกี่ยวกับสันติวัฒนธรรม และสันติวัฒนธรรมในมิติต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนงานสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากงานของสหประชาชาติ ยูเนสโก้ และสันติวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ โดยในบางประเทศไม่ได้ใช้คำว่าสันติวัฒนธรรมโดยตรง แต่เป็นคำที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพหรือ peace เช่น หนังสือ Peace Education : A Pathway to a Culture of Peace. Handbook on Building Cultures of Peace. Education transforms lives เป็นต้น

 

บรรณานุกรม

ชลัท ประเทืองรัตนา. (2565). การขับเคลื่อนการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา : กรณีศึกษาสถาบันการศึกษานำร่อง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 

เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์. (พฤษภาคม 2555). สันติวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://readgur.com/doc/2433780

ศศิรัศม์ วีระไวทยะ. (2554). การนำเสนอยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย.

ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ (2024). เอกสารอัดสำเนา

อภิญญา ดิสสะมาน และ ชลัท ประเทืองรัตนา. (2563). สันติวัฒนธรรมในพรรคการเมืองเพื่อเสริมสร้าง กระบวนการปรองดอง: กรณีศึกษาพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(7), 3040-3051. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/255677

Navarro-Castro, L. & Nario-Galace, J. (2010). Peace Education: A Pathway to a Culture of Peace. Retrieved from https://www.mc.edu.ph/Portals/8/Resources/Peace_Education_ebook_2010.pdf

de Rivera, J. (2009). Handbook on Building Cultures of Peace. USA: springer.

UNESCO. (2007). Education transforms lives. Retrieved from https://www.unesco.org/en/education

United Nations. (1999). Resolution adopted by the General Assembly, 53/2543 Declaration and Programme of Action on a Culture of Peace. Retrieved from https://documents-dds-ny.un.org/doc/UNDOC/GEN/N99/774/43/PDF/N9977443.pdf?OpenElement

 

เชิงอรรถ

[1] United Nations. (1999). Resolution adopted by the General Assembly, 53/2543 Declaration and Programme of Action on a Culture of Peace. Retrieved from https://documents-dds-ny.un.org/doc/UNDOC/GEN/N99/774/43/PDF/N9977443.pdf?OpenElement

[2] Navarro-Castro, L. & Nario-Galace, J. (2010). Peace Education: A Pathway to a Culture of Peace. Retrieved from https://www.mc.edu.ph/Portals/8/Resources/Peace_Education_ebook_2010.pdf

[3] Navarro-Castro, L. & Nario-Galace, J. (2010). Peace Education: A Pathway to a Culture of Peace. Retrieved from https://www.mc.edu.ph/Portals/8/Resources/Peace_Education_ebook_2010.pdf

[4] เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์. (พฤษภาคม 2555). สันติวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://readgur.com/doc/2433780

[5] อภิญญา ดิสสะมาน และ ชลัท ประเทืองรัตนา. (2563). สันติวัฒนธรรมในพรรคการเมืองเพื่อเสริมสร้างกระบวนการปรองดอง: กรณีศึกษาพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9 (7), 3040-3051. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/255677

[6] ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ (2024). เอกสารอัดสำเนา

[7] UNESCO. (2024) UNESCO : mainstreaming the culture of peace https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000126398/PDF/126398eng.pdf.multi. และศศิรัศม์ วีระไวทยะ. (2554). การนำเสนอยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย.