ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สื่อออนไลน์เครื่องมือการประท้วงยุคดิจิทัล"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' อภิรมย์ สุวรรณชาติ '''ผู้ทรงคุณวุฒิ..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 14: | บรรทัดที่ 14: | ||
| | ||
[[File:Online media tools of protest in the digital age (1).jpg|center| | [[File:Online media tools of protest in the digital age (1).jpg|center|450px|Online media tools of protest in the digital age (1).jpg]] | ||
<p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' ผู้เข้าใช้งาน Internet ในประเทศไทย ปี 2023</p> | <p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' ผู้เข้าใช้งาน Internet ในประเทศไทย ปี 2023</p> | ||
| | ||
บรรทัดที่ 34: | บรรทัดที่ 34: | ||
| | ||
[[File:Online media tools of protest in the digital age (2).jpg|center| | [[File:Online media tools of protest in the digital age (2).jpg|center|450px|Online media tools of protest in the digital age (2).jpg]] | ||
<p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' 10 ปีย้อนรอยอาหรับสปริง [[#_ftn3|[3]]]</p> | <p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' 10 ปีย้อนรอยอาหรับสปริง [[#_ftn3|[3]]]</p> | ||
| | ||
บรรทัดที่ 42: | บรรทัดที่ 42: | ||
| | ||
[[File:Online media tools of protest in the digital age (3).jpg|center| | [[File:Online media tools of protest in the digital age (3).jpg|center|450px|Online media tools of protest in the digital age (3).jpg]] | ||
<p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' การลงคะแนนใน Telegram groups 61% โหวตให้ "กลับ" และ 39% ระบุว่า "สถานีตำรวจ" [[#_ftn4|[4]]]</p> | <p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' การลงคะแนนใน Telegram groups 61% โหวตให้ "กลับ" และ 39% ระบุว่า "สถานีตำรวจ" [[#_ftn4|[4]]]</p> | ||
| | ||
บรรทัดที่ 50: | บรรทัดที่ 50: | ||
| | ||
[[File:Online media tools of protest in the digital age (4).png|center| | [[File:Online media tools of protest in the digital age (4).png|center|500px|Online media tools of protest in the digital age (4).png]] | ||
<p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' Change.org แคมเปญรณรงค์ประเด็นการเมือง</p> <p style="text-align: center;"> </p> | <p style="text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' Change.org แคมเปญรณรงค์ประเด็นการเมือง</p> <p style="text-align: center;"> </p> | ||
'''3.''' '''การสร้างการตอบรับจากสาธารณชน''' ''':''' การประท้วงในโลกออนไลน์สามารถสร้างการตอบรับจากสาธารณชนได้ในทันที ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวหรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ผ่านการกดไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์ ที่ส่งผลให้เรื่องราวนั้นเป็นที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เช่น [[พันธมิตรชานม_(Milk_Tea_Alliance)|พันธมิตรชานม]] (Milk Tea Alliance) การรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการและเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านอินเทอร์เน็ตระหว่างผู้ใช้งาน Social Media ชาวไทย ไต้หวัน และฮ่องกง ก่อนจะขยายตัวไปอีกหลายประเทศในเอเชีย ที่มีการโต้เถียงอยู่บนหลากหลายแพล็ตฟอร์มที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์ (twitter), เฟสบุ๊ค (facebook) หรืออินสตราแกรม (Instagram) ที่เริ่มจากเรื่องของนักแสดงไปสู่ประเด็นต่าง ๆ ทางการเมือง โดยการใช้แฮชแท็ก[[#_ftn5|[5]]] (Hashtag) หรือที่เรียกกันว่าคีย์เวิร์ด (Keyword) เป็นฟังก์ชันของสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์, เฟสบุ๊ค, อินสตราแกรม, ติ๊กต๊อก (tiktok) ฯลฯ | '''3.''' '''การสร้างการตอบรับจากสาธารณชน''' ''':''' การประท้วงในโลกออนไลน์สามารถสร้างการตอบรับจากสาธารณชนได้ในทันที ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวหรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ผ่านการกดไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์ ที่ส่งผลให้เรื่องราวนั้นเป็นที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เช่น [[พันธมิตรชานม_(Milk_Tea_Alliance)|พันธมิตรชานม]] (Milk Tea Alliance) การรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการและเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านอินเทอร์เน็ตระหว่างผู้ใช้งาน Social Media ชาวไทย ไต้หวัน และฮ่องกง ก่อนจะขยายตัวไปอีกหลายประเทศในเอเชีย ที่มีการโต้เถียงอยู่บนหลากหลายแพล็ตฟอร์มที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์ (twitter), เฟสบุ๊ค (facebook) หรืออินสตราแกรม (Instagram) ที่เริ่มจากเรื่องของนักแสดงไปสู่ประเด็นต่าง ๆ ทางการเมือง โดยการใช้แฮชแท็ก[[#_ftn5|[5]]] (Hashtag) หรือที่เรียกกันว่าคีย์เวิร์ด (Keyword) เป็นฟังก์ชันของสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์, เฟสบุ๊ค, อินสตราแกรม, ติ๊กต๊อก (tiktok) ฯลฯ | ||
บรรทัดที่ 60: | บรรทัดที่ 60: | ||
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 500px;" | {| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width: 500px;" | ||
|- | |- | ||
| [[File:Online media tools of protest in the digital age (6).jpg|center| | | [[File:Online media tools of protest in the digital age (6).jpg|center|350px|Online media tools of protest in the digital age (6).jpg]] | ||
| [[File:Online media tools of protest in the digital age (5).jpg|center| | | [[File:Online media tools of protest in the digital age (5).jpg|center|750px|Online media tools of protest in the digital age (5).jpg]] | ||
|} | |} | ||
<p style="margin-left: 18pt; text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' ตัวอย่าง แฮชแท็ก #MilkTeaAlliance [[#_ftn6|[6]]]</p> | <p style="margin-left: 18pt; text-align: center;">'''ภาพ''' ''':''' ตัวอย่าง แฮชแท็ก #MilkTeaAlliance [[#_ftn6|[6]]]</p> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:44, 26 ตุลาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : อภิรมย์ สุวรรณชาติ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
สื่อออนไลน์เครื่องมือการประท้วงยุคดิจิทัล
การประท้วงเป็นกิจกรรมที่ผู้คนรวมตัวกันเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือต่อต้านเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่สำคัญในระดับชาติหรือระดับโลก การประท้วงเป็นอย่างหนึ่งในการใช้สิทธิ์ในการแสดงออกอย่างเสรีตามหลังคาดการณ์ โดยผู้เข้าร่วมประท้วงอาจเป็นกลุ่มหรือคนเดียวก็ได้ และอาจมีลักษณะและเหตุผลที่แตกต่างกันไปตามกรณี การประท้วงในอดีต คือ กิจกรรมที่ผู้คนรวมตัวกันเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือต่อต้านเรื่องราว บางครั้งเป้าหมายของการประท้วงอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายหรือการตัดสินใจหรือสถานการณ์ที่สำคัญในระดับชาติหรือระดับโลก แต่เกิดขึ้นในพื้นที่และสถานที่ที่สาธารณชนสามารถรวมตัวกันได้อย่างกว้างขวาง เช่น ถนน สนามกีฬา หรือสถานที่สาธารณะอื่น ๆ การประท้วงมักเน้นการพูดคุยและการแสดงความคิดเห็นโดยตรง โดยผู้เข้าร่วมประท้วงจะส่งเสียงด้วยการออกเสียงหรือพูดคุยกับผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง มีการพกพาป้ายหรือธงที่แสดงความคิดเห็นหรือข้อความเป็นสื่อการสื่อสาร บางครั้งอาจมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มเพื่อแสดงต่อความเห็นของกลุ่มนั้น ๆ
แต่ในยุคดิจิทัลที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถิติล่าสุด ปี 2023[1] ผลการสำรวจ DIGITAL 2023 THAILAND จาก We Are Social และ Meltwater พบว่าคนไทยกว่า 71.75 ล้านคน มีผู้ใช้งาน Internet มากถึง 61.21 ล้านคน หรือมากถึง 85.3% ของประชากรทั้งหมด และยังมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตวันนึงเฉลี่ยมากถึง 8 ชั่วโมง 6 นาที อีกด้วย

ภาพ : ผู้เข้าใช้งาน Internet ในประเทศไทย ปี 2023
พฤติกรรมการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของคนรุ่นใหม่ก็จะอยู่บนโลกออนไลน์โดยส่วนใหญ่ ทั้งการโพสต์ข้อความเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยน แสดงความเห็น ติดตามข่าวสารในประเด็นต่าง ๆ ตามที่สนใจ เช่น การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล การพูดถึงปัญหาด้านต่าง ๆ ในสังคมหรือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารว่าด้วยการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือสถานการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ไปจนถึงการสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นทางสังคมและการเมืองในหลายด้านรวมถึงการประท้วง
ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์
สื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media จึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น Social Media หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ [2] สื่อสังคมออนไลน์กลายเป็นสื่อออนไลน์ที่มีการเข้าถึงง่าย โดยมีผู้ให้บริการที่หลากหลาย เช่น ทวิตเตอร์ (twitter), เฟสบุ๊ค (facebook) หรืออินสตราแกรม (Instagram), ติ๊กต๊อก (tiktok) เป็นต้น
รูปแบบการใช้สื่อออนไลน์ร่วมกับการประท้วงในโลกออนไลน์
1. การเชื่อมต่อและการสื่อสาร : โลกออนไลน์เป็นสื่อที่ให้โอกาสในการเชื่อมต่อและการสื่อสารระหว่างผู้คนทั่วโลก ผู้คนสามารถรวมตัวกันเพื่อสนับสนุนหรือต่อต้านเรื่องราว หรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องผ่านการแชร์ข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ หรือการสนทนาในสังคมออนไลน์ ตัวอย่าง เช่น ปรากฏการณ์ทางการเมืองบนโลกออนไลน์ที่เป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง คือ การเผาตัวเองของบูอาซีซีลุกลามสู่ “การปฏิวัติดอกมะลิ” (Jasmine Revolution) และลุกลามไปทั่วดินแดนอาหรับกลายเป็นปรากฏการณ์ “อาหรับสปริง” (Arab Spring) ที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตและ Social Media เป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมผู้ประท้วงอาหรับสปริงและบันทึกความอยุติธรรมของรัฐบาล โดยในกลุ่มประเทศทั้ง 6 ที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อาหรับสปริง ได้แก่ บาห์เรน อียิปต์ ลิเบีย ซีเรีย ตูนิเซีย และเยเมน

ภาพ : 10 ปีย้อนรอยอาหรับสปริง [3]
การชุมนุมเพื่อประชาธิปไตยของชาวฮ่องกงที่มีการรวมตัวกันและสื่อสารผ่าน Application ที่ชื่อว่า Telegram ผู้ชุมนุมสามารถลงมติในการเคลื่อนไหวต่าง ๆ โดยลงมติแบบเรียลไทม์และทำการเคลื่อนไหวการชุมนุมตามมตินั้น ๆ อย่างรวดเร็ว กลุ่มผู้ประท้วงชาวฮ่องกงหลายพันคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว ได้หลั่งไหลกันมาชุมนุมยึดถนนสายสำคัญใจกลางฮ่องกง เพื่อแสดงพลังต่อต้านร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ที่มีผู้ออกมาประท้วงหลายหมื่นคน

ภาพ : การลงคะแนนใน Telegram groups 61% โหวตให้ "กลับ" และ 39% ระบุว่า "สถานีตำรวจ" [4]
2. การสร้างการรณรงค์ : การประท้วงในโลกออนไลน์สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการรณรงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือสังคม ผู้คนสามารถใช้ Social Media เพื่อรวมกันในกลุ่มหรือสร้างเครือข่ายในการสนับสนุนเรื่องราวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ เช่น การรณรงค์ทางการเมืองของ Change.org ซึ่งปัจจุบันมีเรื่องทางการเมืองถึง 159 แคมเปญรณรงค์

ภาพ : Change.org แคมเปญรณรงค์ประเด็นการเมือง
3. การสร้างการตอบรับจากสาธารณชน : การประท้วงในโลกออนไลน์สามารถสร้างการตอบรับจากสาธารณชนได้ในทันที ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวหรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ผ่านการกดไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์ ที่ส่งผลให้เรื่องราวนั้นเป็นที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เช่น พันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance) การรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการและเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านอินเทอร์เน็ตระหว่างผู้ใช้งาน Social Media ชาวไทย ไต้หวัน และฮ่องกง ก่อนจะขยายตัวไปอีกหลายประเทศในเอเชีย ที่มีการโต้เถียงอยู่บนหลากหลายแพล็ตฟอร์มที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์ (twitter), เฟสบุ๊ค (facebook) หรืออินสตราแกรม (Instagram) ที่เริ่มจากเรื่องของนักแสดงไปสู่ประเด็นต่าง ๆ ทางการเมือง โดยการใช้แฮชแท็ก[5] (Hashtag) หรือที่เรียกกันว่าคีย์เวิร์ด (Keyword) เป็นฟังก์ชันของสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์, เฟสบุ๊ค, อินสตราแกรม, ติ๊กต๊อก (tiktok) ฯลฯ
การใช้งานแฮชแท็กสามารถกระทำได้โดยการพิมพ์สัญลักษณ์ “#” หรือสัญลักษณ์แฮช (Hash) ตามด้วยข้อความใด ๆ ที่ต้องการอ้างอิงโดยไม่เว้นวรรค ซึ่งหากนำไปใช้ในการประท้วง ตัวอย่างการใช้งานก็จะเป็นการนัดหมายของการชุมนุมหรือการติดตามข่าวสารการชุมนุม เช่น “#15ตุลาไปแยกราชประสงค์” “#16ตุลาไปแยกปทุมวัน” “#17ตุลาไปแยกปทุมวัน” “#ม็อบ17ตุลา:ห้าแยกลาดพร้าว”
![]() |
![]() |
ภาพ : ตัวอย่าง แฮชแท็ก #MilkTeaAlliance [6]
จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้ว สื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการแสดงออกทางประชาธิปไตย ที่ทำให้ผู้คนกล้าแสดงออกกล้าแสดงความคิดเห็น พูดคุย ติดตามข่าวสาร แต่การชุมนุมยังคงลงพื้นที่อยู่บนท้องถนน การชุมนุมประท้วงโดยทั่วไปจะต้องพิจารณาว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่สามารถชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธภายในขอบเขตกฎหมาย การป้องกัน โดยการระงับการชุมนุมประท้วงต้องปฏิบัติอย่างละมุนละม่อม การประท้วงในโลกออนไลน์มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญ โดยสามารถสร้างการเสียดสี แบ่งแยกความคิดเห็น หรือเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของข้อมูลปลอมได้
ดังนั้น ควรใช้การประท้วงในโลกออนไลน์อย่างรับผิดชอบและสร้างสรรค์เพื่อสร้างสันติภาพและการเสริมสร้างความเข้มแข็งในสังคมออนไลน์ การประท้วงเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่ผู้ค้านหรือกลุ่มคนหนึ่งรวมตัวกันเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือการต่อสู้เพื่อสิทธิและประโยชน์ของกลุ่มนั้น ๆ ภายในการประท้วง ผู้เข้าร่วมอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น เดินขบวนและแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย ใช้ป้ายประท้วงและเวทีแสดงความคิดเห็น หรือใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเผยแพร่ความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม การประท้วงอาจต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้ในประเทศนั้น ๆ และใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรอบคอบ และต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นเสมอ
อ้างอิง
[1] สรุปข้อมูลที่ควรรู้ DIGITAL 2023 THAILAND จาก We Are Social และ Meltwater February 15, 2023 เข้าถึงจาก https://www.insightera.co.th/digital-2023-thailand/ สืบค้นวันที่ 30 เมษายน 2566
[2] Social Media คือ? รวมโซเชียลมีเดียที่ควรนำมาใช้ในธุรกิจของคุณ M.Veena, 8 September 2021 เข้าถึงจากhttps://digimusketeers.co.th/blogs/online-marketing/what-is-social-media สืบค้นวันที่ 30 เมษายน 2566
[3] อาหรับสปริง : 10 ปีหลังการลุกฮือทั่วตะวันออกกลาง BBC News Thai 13 กุมภาพันธ์ 2021 เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/international-56043450 สืบค้นวันที่ 29 เมษายน 2566
[4] How apps power Hong Kong's 'leaderless' protests BBC News Published 30 June 2019 เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/news/technology-48802125?fbclid=IwAR3exw6dLP4wrWwuay_uKmYZTRzcLYWUGE2aG04lgr6dX9epqKucQe9Q2_s สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2566
[6] “ลุกลาม! ดราม่า ‘จีนเดียว’ จากศึกบนทวิต สู่สถานทูตจีนตอบโต้ และ ‘พันธมิตรชานม’ ถือกำเนิด,” มติชนสุดสัปดาห์, (15 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_296015. เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566.