ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปิดสวิตซ์ ส.ว."

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย " *ปิดสวิตซ์_ส.ว. *ปิดสิวตซ์_ส.ว._ข้อเรียกร้องทางการเ..."
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง:'''     
*[[ปิดสวิตซ์_ส..]]  
 
*[[ปิดสิวตซ์_ส.ว._ข้อเรียกร้องทางการเมือง|ปิดสิวตซ์ ส.ว. ข้อเรียกร้องทางการเมือง ]]  
1. รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู&nbsp; แก้วหานาม<br/> 2. อาจารย์ ดร. นพพล อัคฮาด<br/> 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม
<div><div id="ftn4">&nbsp;</div> </div>
 
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ&nbsp;:&nbsp;'''รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย
 
----
 
'''ปิดสวิตซ์ ส.ว.'''
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข<br/> ซึ่งรัฐสภาไทยประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร จำนวน 500 คนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงและลับ และสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 250 คน มาจากการแต่งตั้งและการสรรหาตามสัดส่วนและวิธีการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 นั้นได้กำหนดให้อำนาจของสมาชิกวุฒิสภามีสิทธิเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ทำให้เกิดกระแสการเรียกร้องให้สมาชิกวุฒิสภางดการออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี หรือเรียกร้องให้พรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรรวมตัวกันไม่สนับสนุนบุคคลที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีฐานอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา 250 เสียงรองรับ ซึ่งเป็นการเรียกกันอย่างเปิดเผยว่า “การปิดสวิตซ์ ส.ว. ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 
&nbsp;
 
'''1. ความหมาย หรือแนวคิด'''
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ตามรูปแบบการปกครองของไทยจัดอยู่ในรูปแบบรัฐสภา (Parliamentary) ซึ่งมีรัฐสภาของประเทศสหราชอาณาจักรเป็นต้นแบบของแนวคิด โดยจุดเด่นของการปกครองแบบนี้คือการถือเอาฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจรัฐ เนื่องจากรัฐสภานั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง ในฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และวุฒิสภาหรือสภาสูงซึ่งมาจากการแต่งตั้งและการสืบสายโลหิตของตระกูลบรรดาขุนนางของอังกฤษซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มที่รักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐสภาจึงมีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีที่มีหน้าที่บริหารประเทศ โดยปกติคณะรัฐมนตรีมักกมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร<br/> และเกิดระบบฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันรัฐสภามีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของคณะรัฐมนตรีโดยการตั้งกระทู้ถามและการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนั้นรัฐสภาเป็นศูนย์กลางของอำนาจจึงเรียกรัฐบาลหรือการปกครองแบบนี้ การปกครองแบบรัฐสภา[[#_ftn1|[1]]]
 
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของไทยนั้นภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.. 2560 นั้น ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร จำนวน 500 คนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงและลับ และสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 200 คน มาจากการแต่งตั้งและการสรรหาตามสัดส่วนและวิธีการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 107 ซึ่งกำหนดว่า “วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวนสองร้อยคน ซึ่งมาจากการเลือกกันเอง ของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทํางาน หรือเคยทํางานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม โดยในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทําให้ประชาชน ซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้” แต่ในระยะแรกหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาไว้จำนวน 250 คนตามบทเฉพาะกาล ของรัฐธรรมนูญในมาตรา 269 ที่กำหนดว่า ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวนสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์<br/> ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนํา โดยในการสรรหา และแต่งตั้งให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้[[#_ftn2|[2]]]
 
(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่งซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ และมีความเป็นกลางทางการเมือง จํานวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบสองคน มีหน้าที่ดําเนินการสรรหาบุคคลซึ่งสมควรเป็นสมาชิกวุฒิสภา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
 
(ก) ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดําเนินการจัดให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 107 จํานวนสองร้อยคนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน แล้วนํารายชื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 
(ข) ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ ที่เหมาะสมในอันจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาและการปฏิรูปประเทศมีจํานวนไม่เกินสี่ร้อยคน ตามวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภากําหนดแล้วนํารายชื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งนี้<br/> ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จไม่ช้ากว่าระยะเวลาที่กําหนดตาม (ก)
 
(ค) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติคัดเลือกผู้ได้รับเลือกตาม (ก) จากบัญชีรายชื่อที่ได้รับจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ได้จํานวนห้าสิบคน และคัดเลือกรายชื่อสํารองจํานวนห้าสิบคน โดยการคัดเลือกดังกล่าวให้คํานึงถึงบุคคลจากกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง และให้คัดเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อที่ได้รับการสรรหาตาม (ข) ให้ได้จํานวนหนึ่งร้อยเก้าสิบสี่คนรวมกับผู้ดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการ ตํารวจแห่งชาติ เป็นสองร้อยห้าสิบคน และคัดเลือกรายชื่อสํารองจากบัญชีรายชื่อที่ได้รับการสรรหาตาม (ข) จํานวนห้าสิบคน ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จภายในสามวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
 
(2) มิให้นําความในมาตรา 108 ข. ลักษณะต้องห้าม (6) ในส่วนที่เกี่ยวกับการเคยดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีมาใช้บังคับแก่ผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาซึ่งได้รับสรรหาตาม (1) (ข) และมิให้นําความในมาตรา 108 ข. ลักษณะต้องห้าม (2) มาตรา 184 (1) และมาตรา 185 มาใช้บังคับ แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหน่ง
 
(3) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาตินํารายชื่อบุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกตาม (1) (ค) จํานวนสองร้อยห้าสิบคนดังกล่าวขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป และให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
 
(4) อายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนดห้าปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ถ้ามีตําแหน่งว่างลง ให้เลื่อนรายชื่อบุคคลตามลําดับในบัญชีสํารองตาม (1) (ค) ขึ้นเป็นสมาชิกวุฒิสภาแทน โดยให้ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ดําเนินการและเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ สําหรับสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหน่ง เมื่อพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ในขณะได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาให้พ้นจากตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาด้วย และให้ดําเนินการเพื่อแต่งตั้งให้ผู้ดํารงตําแหน่งนั้นเป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหน่งแทน ให้สมาชิกวุฒิสภา ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทนตําแหน่งที่ว่าง อยู่ในตําแหน่งเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่
 
(5) ในระหว่างที่ยังไม่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลในบัญชีรายชื่อสํารองขึ้นเป็นสมาชิกวุฒิสภา แทนตําแหน่งที่ว่างตาม (4) หรือเป็นกรณีที่ไม่มีรายชื่อบุคคลเหลืออยู่ในบัญชีสํารอง หรือไม่มีผู้ดํารงตําแหน่ง<br/> ที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหน่ง ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่
 
(6) เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลงตาม (4) ให้ดําเนินการเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 107 ต่อไป และให้นําความในมาตรา 109 วรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากนี้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาไว้หลายประการซึ่งแตกต่างจากบทบาทของสมาชิกวุฒิสภาที่เคยมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ดังนี้
 
1) การเลือกนายกรัฐมนตรี ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 272 ระบุว่าการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีต้องทำในรัฐสภา หมายความว่าเป็นการประชุมร่วมกัน ทำให้ทั้ง ส.ว. และ ส.ส. มีอำนาจเท่ากันในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
 
2) การเลือกองค์กรอิสระ รัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามีหน้าที่เลือกผู้มาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ เช่น เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสขาธิการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจิตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)&nbsp; เลขาธิการคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) เป็นต้น
 
3. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องมีเสียงสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสภาหรือจำนวน 84 คน ซึ่งทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ทำได้ยากมากได้ถ้า ส.ว. ไม่เห็นด้วย
 
4. ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศต้องมีการประชุมร่วมกันระหว่าง ส.ว. และ ส.ส. และลงมติร่วมกัน ทำให้ทั้ง ส.ว. และ ส.ส. มีอำนาจเท่ากัน รวมถึงกฏหมายที่เกี่ยวกับการคอรัปชั่นและกระบวนการยุติธรรม หากผ่านการลงมติยอมรับจาก ส.ส. ไปแล้ว แต่ไม่ผ่านความเห็น ส.ว. ต้องใช้การประชุมร่วมกันอีกเพื่อลงมติใหม่&nbsp;
 
จากที่มาและอำนาจของสมาชิกวุฒิภาข้างต้น จึงเกิดกระแสเรียกร้องจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้นและแกนนำพรรคอนาคตใหม่รณรงค์ไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองต่างๆ และประชาชนที่ลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคการเมืองต่างๆ เพื่อกดดันให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมตัวกันไม่สนับสนุนเลือกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อสือทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ทำการรัฐประหารและยึดอำนาจการปกครองประเทศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 และทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 เพื่อเอื้อต่อกลไกการรักษาอำนาจต่างๆ ของคณะ คสช. ซึ่งกลไกวุฒิสภา จำนวน 250 คนที่เกิดขึ้นตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญดังกล่าวนั้นก็เป็นเครื่องมือหนึ่งของการสืบทอดและรักษาอำนาจของ คสช. ดังนั้น การปิดสวิตซ์ ส.ว. ไม่ให้เสียงสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 250 คนมีผลต่อการสนับสนุนตัวบุคคลที่คาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจาก ส.ว. ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อโดยการเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรรวมเสียงกันให้ได้เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภาคือจำนวน 376 คนเพื่อเลือกบุคคลอื่นเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อหยุดการสืบทอดอำนาจของคณะ คสช. และเป็นการปิดสวิตซ์ ส.ว. ไม่ให้มีอำนาจเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
'''2. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น'''
 
การ “ปิดสวิตช์ ส.ว.” คือการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งมีในสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน สามารถเลือกบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ในสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่ให้สมาชิกวุฒิสภาที่มีอยู่จำนวน 250 คน ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนสามารถดำเนินการเลือกตัวนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งอำนาจดังกล่าวของ ส.ว. ปรากฏในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560
 
สำหรับกระแสเรียกร้องให้มีการ “ปิดสวิตซ์ ส.ว.” นั้น เกิดขึ้นภายหลังการประกาศผลการเลือกตั้งซึ่งขณะนั้นพรรคการเมืองต่างๆ มีการหยั่งเชิงในทางการเมือง โดยเสียงของฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่ต่อต้านการขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีที่นั่งสูสีกันอย่างมาก ซึ่งขณะนั้นมี 3 พรรคการเมืองที่ประกาศหนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งและต้องการสืบทอดอำนาจ คสช. ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ (116 ที่นั่ง) พรรครวมพลังประชาชาติไทย (5 ที่นั่ง) พรรคประชาชนปฏิรูป (1 ที่นั่ง) รวมแล้ว 122 ที่นั่ง และเมื่อนำไปบวกกับเสียงสนับสนุนของสมาชิกวุฒิสภาอีก 250 คนแล้วก็จะได้เพียง 372 ที่นั่ง ซึ่งยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งคือ 375 ที่นั่งของจำนวนที่นั่งรวมในสองสภาคือ 750 ที่นั่ง&nbsp; ซึ่งข้อเสนอปิดสวิตช์ ส.ว. ที่เสนอออกมาจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งนายธนาธรและพรรคอนาคตใหม่ได้เรียกร้องให้ประชาชนที่รักประชาธิปไตยกลับไปทวงถามคำสัญญาที่พรรคการเมืองต่างๆ เคยให้ไว้ก่อนการเลือกตั้งว่าพรรคของพวกเขาจะไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ คสช. ในการหาเสียงจากประชาชน เพราะสิ่งนี้คือการยับยั้งนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากประชาชน และหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ยังได้เรียกร้องไปยังพรรคการเมืองทุกพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคฝ่ายค้านหรือพรรคฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลเพื่อสามารถมีส่วนร่วมได้ทั้งหมด โดยการลงคะแนนเลือกบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคณะ คสช.<br/> ที่จะถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยการรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้ได้ และขณะนั้นเฉพาะจำนวน ส.ส. จะมี 377 เสียงในสภาผู้แทนราษฎรที่พร้อม “ปิดสวิตช์ ส.ว.” ซึ่งมากกว่า 3 พรรคการเมืองที่ประกาศสนับสนุนการสืบทอดอำนาจของพลเอกประยุทธ์ รวมทั้งบวกกับ ส.ว. อีก 250 คน ทำให้การเมืองแบบประชาธิปไตยภายหลังการเลือกตั้งสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และการกระทำดังกล่าวจะเป็นบันไดก้าวแรกที่ทำให้ประเทศไทยเดินทางกลับสู่วิถีประชาธิปไตย[[#_ftn3|[3]]] โดยหลังจากนั้น แกนนำพรรคอนาคตใหม่พร้อมและยินดีเดินทางไปพบกับทุกพรรคการเมืองที่มีนโยบายไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์และการสืบทอดอำนาจของ คสช. ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองใด พรรคฝ่ายค้าน พรรคจัดตั้งรัฐบาล พรรคฝ่ายประชาธิปไตย ฯลฯ ต่างมีส่วนร่วมกันในการที่หยุดยั้งการสืบทอดอำนาจ คสช. และเปิดประตูบานใหม่สู่ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นที่มาของการอธิบายถึง “การปิดสวิตช์ ส.ว.” นั่นเอง
 
&nbsp;
 
'''3. หลักการสำคัญ / ความสำคัญ'''
 
สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. เดิมที่เรียกว่า ‘พฤฒสภา’ ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 กำหนดให้พฤฒสภามาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดย ส.ส. โดยขณะนั้นมีจำนวน 80 คน<br/> ทำหน้าที่คอยตรวจสอบ กลั่นกรอง ให้คำแนะนำปรึกษา และยับยั้งการใช้อำนาจของ ส.ส. โดยเฉพาะในด้านนิติบัญญัติ ต่อมาความเปลี่ยนแปลงของ ส.ว. เริ่มต้นขึ้นหลังการรัฐประหารปี พ.ศ. 2490 โดยได้เปลี่ยนชื่อจาก “พฤฒสภา” มาเป็น “วุฒิสภา” ซึ่งกำหนดให้ ส.ว. มาจากการแต่งตั้งมีจำนวน 100 คนและ ส.ว. ต้องมีอายุ 40 ปีขึ้นไปโดยอ้างว่าคนวัยนี้เป็นผู้มีความรู้มาก ทำให้ ส.ว. ส่วนใหญ่มากจากข้าราชการประจำ นับแต่นั้นมา ส.ว. ก็ได้มาจากการแต่งตั้งมาโดยตลอด&nbsp; จนถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่ก่อให้เกิด ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่ง ส.ว. ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมาจากการเลือกตั้งจำนวน 200 คน ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล กลั่นกรองกฎหมาย บุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ จนกระทั่งเหตุการณ์รัฐประหารปี พ.ศ. 2549 ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 จึงถูกยกเลิกไป และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ขึ้น ซึ่งกำหนดให้มี ส.ว. &nbsp;มีจำนวน 150 คน มีที่มาจากการเลือกตั้งจากจังหวัดต่างๆ จังหวัดละ 1 คนรวมเป็น 77 คน และมาจากการแต่งตั้งอีก 73 คน&nbsp;ต่อมามีการรัฐประหารโดยคณะ คสช. ทำให้ยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2550&nbsp;จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ซึ่งระบุในบทเฉพาะกาลมาตรา 269 ให้มี ส.ว. 250 คนมีวาระการทำงาน 5 ปีมาจาก 1) กรรการสรรหาที่แต่งโดยคณะ คสช. ไปคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถมา 400 คนและส่งต่อให้ คสช. เลือกเหลือ 194 คน 2) การรับสมัครจากสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อให้คณะ คสช. เลือกให้เหลือ 50 คน และ<br/> 3) มีจำนวน 6 คนที่ได้เป็น ส.ว. โดยตำแหน่งคือผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และปลัดกระทรวงกลาโหม
 
การกำหนดให้มี ส.ว. ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญดังกล่าว นายปิยบุตร แสงกนกกุล เคยกล่าวไว้ใน INTERREGNUM[[#_ftn4|[4]]]&nbsp;โดยอ้างถึงนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ที่เคยกล่าวถึงการกำเนิด ส.ว. ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ว่า “ส.ว. ในเฉพาะกาลมาจากความต้องการของคณะ คสช. เพื่อความเรียบร้อยทั้งหลายตามที่ คสช. มุ่งหมายไว้ยังไม่ดี การปฏิรูปยังไม่ครบถ้วน จึงอยากทำต่อ แต่ คสช.ไม่สามารถทำต่อเองได้ จึงควรให้ ส.ว. คอยเร่งรัดตรวจสอบท้วงติงการปฏิรูปต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศเพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไป” ดังนั้น สามารถเห็นหลักการมี ส.ส. ได้ชัดเจนว่าเจตนารมณ์ของ ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลนั่นคือ การสืบทอดอำนาจของคณะ คสช. และต่อมารูปธรรมหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นกลไกสืบทอดอำนาจคณะ คสช. คือ คนในคณะกรรมการสรรหา ส.ว. นั้น ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี คือ รองนายกรัฐมนตรี 5 คน ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง พลเอก<br/> ฉัตรชัย สาริกัลยะ และนายวิษณุ เครืองาม และตัวแทนของคณะ คสช. มาอีก 4 คน คือ พลเอกธนะศักดิ์<br/> ปฏิมาประกร พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รวมถึงนายพรเพชร วิชิตชลชัย&nbsp;ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติขณะนั้นด้วย และผลที่ได้ของกรรมการสรรหาชุดดังกล่าวพบว่า ได้กรรมการสรรหากลับมาเป็น ส.ว. เองจำนวน 5 คน ประกอบด้วย พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว และนายพรเพชร วิชิตชลชัย อีกด้วย
 
&nbsp;
 
'''4. สรุป'''
 
การ “ปิดสวิตซ์ ส.ว.” เป็นข้อเสนอของแกนนำพรรคอนาคตใหม่ ที่เกิดขึ้นภายหลังการประกาศผลการเลือกตั้งซึ่งขณะนั้นพรรคการเมืองต่างๆ เมื่อมีการหยั่งเชิงในทางการเมือง โดยเสียงของฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่ต่อต้านการขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีที่นั่งสูสีกันอย่างมาก<br/> ซึ่งขณะนั้นมี 3 พรรคการเมืองที่ประกาศหนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งและต้องการสืบทอดอำนาจ คสช. รวมแล้ว 122 ที่นั่ง และเมื่อนำไปบวกกับเสียงสนับสนุนของสมาชิกวุฒิสภาอีก 250 คน ซึ่งเป็นไปตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 272 ระบุว่าการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีต้องทำในรัฐสภา หมายความว่าเป็นการประชุมร่วมกัน ทำให้ทั้ง ส.ว. และ ส.ส. มีอำนาจเท่ากันในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี&nbsp; ซึ่งขณะนั้นสามารถรวบรวมได้เพียง 372 ที่นั่ง ซึ่งยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งคือ 375 ที่นั่งของจำนวนที่นั่งรวมในสองสภาคือ 750 ที่นั่ง ทำให้เกิดข้อเสนอปิดสวิตช์ ส.ว. ที่เสนอออกมาจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งนายธนาธรและพรรคอนาคตใหม่ได้เรียกร้องให้ประชาชนที่รักประชาธิปไตยกลับไปทวงถามคำสัญญาที่พรรคการเมืองต่างๆ เคยให้ไว้ก่อนการเลือกตั้งว่าพรรคของพวกเขาจะไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ คสช. ในการหาเสียงจากประชาชน เพราะสิ่งนี้คือการยับยั้งนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากประชาชน และหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ยังได้เรียกร้องไปยังพรรคการเมืองทุกพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคฝ่ายค้านหรือพรรคฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลเพื่อสามารถมีส่วนร่วมได้ทั้งหมด<br/> โดยการลงคะแนนเลือกบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคณะ คสช. ที่จะถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยการรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้ได้ และขณะนั้นเฉพาะจำนวน ส.ส. จะมี 377 เสียงในสภาผู้แทนราษฎรที่พร้อม “ปิดสวิตช์ ส.ว.” ซึ่งมากกว่าฝ่ายพรรคการเมืองที่ประกาศสนับสนุนการสืบทอดอำนาจของพลเอกประยุทธ์ รวมทั้งบวกกับ ส.ว. อีก 250 คน ทำให้การเมืองแบบประชาธิปไตยภายหลังการเลือกตั้งสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และการกระทำดังกล่าวจะเป็นบันไดก้าวแรกที่ทำให้ประเทศไทยเดินทางกลับสู่วิถีประชาธิปไตยที่แท้จริงนั่นเอง
 
&nbsp;
 
'''5. บรรณานุกรม'''
 
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (ม.ป.ป.). ''หลักรัฐศาสตร์.'' กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
ประชาไท. (2563). ส.ว. มีไว้ทำไม?&nbsp;: เสาหลักค้ำประกันการสืบทอดอำนาจให้ คสช., สืบค้นจาก
 
https://prachatai.com/journal/2020/06/88071, เข้าถึงเมื่อ 29 เมษายน 2563
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สืบค้นจาก
 
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF, เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2563
 
โลกวันนี้. (2562). “ธนาธร”ชวน”ปิดสวิตช์ส.ว.”หยุดสืบทอดอำนาจ, สืบค้นจาก
 
http://www.lokwannee.com/web2013/?p=357918, เข้าถึงเมื่อ 29 เมษายน 2563
 
&nbsp;
<div>อ้างอิง
----
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (ม.ป.ป.). ''หลักรัฐศาสตร์.'' กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. น. 81
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สืบค้นจาก
 
[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF], เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2563
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] โลกวันนี้. (2562). “ธนาธร”ชวน”ปิดสวิตช์ส.ว.”หยุดสืบทอดอำนาจ, สืบค้นจาก
 
[http://www.lokwannee.com/web2013/?p=357918 http://www.lokwannee.com/web2013/?p=357918], เข้าถึงเมื่อ 29 เมษายน 2563
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] ประชาไท. (2563). ส.ว. มีไว้ทำไม?&nbsp;: เสาหลักค้ำประกันการสืบทอดอำนาจให้ คสช., สืบค้นจาก
 
[https://prachatai.com/journal/2020/06/88071 https://prachatai.com/journal/2020/06/88071], เข้าถึงเมื่อ 29 เมษายน 2563
</div> </div>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:58, 7 กรกฎาคม 2566