ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเมืองไทยระบบหรือคน : การพัฒนาวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 3: | บรรทัดที่ 3: | ||
| | ||
การเมืองไทยระบบหรือคน : การพัฒนาวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน | การเมืองไทยระบบหรือคน : การพัฒนาวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน | ||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 9: | ||
การพัฒนาการเมืองไทยมีข้อถกเถียงกันมาตลอดระหว่างระบบ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญกับคน อันหมายถึงประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ท่ามกลางบริบทสังคมโลกทุนนิยมไร้พรมแดน บทความดังกล่าวเขียนขึ้นโดยใช้ฐานข้อมูลความรู้จากการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองและพัฒนาการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้ : กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นข้อมูลภาพรวมของการเมืองทั้งระดับชาติและท้องถิ่น และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะวัฒนธรรมทางการเมือง และรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 2) เพื่อค้นหายุทธศาสตร์พัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม แผนที่ความคิด และกระบวนการ AIC ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้ ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้อง ที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตยไทยโดยทั่วไป แต่มีความแตกต่างที่เด่นชัดในเรื่องเลือกเรื่องที่จะใช้เงินสู้แล้วต้องชนะ นิยมคนกล้าได้กล้าเสีย รักศรัทธาใครแล้วไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นไปทำเรื่องเสียหายก็จะไม่เลือกกลับมาอีกเลย การได้สิทธิพิเศษ ถือเป็นเรื่องอำนาจบารมี 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นการทำตามกฎหมายมากกว่าจิตสำนึก การมีส่วนร่วมด้านอื่น ๆ คือ การร่วมรณรงค์หาเสียง การร่วมจัดตั้งและเข้าร่วมเป็นสมาชิก การร่วมกิจกรรมชุมชน การร่วมติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมือง การร่วมพูดจาปรึกษาทางการเมือง การล็อบบี้หรือวิ่งเต้นมีน้อย โดยเฉพาะการเดินขบวนประท้วง เพราะกลัวถูกกล่าวหาว่ารับเงิน และไม่เชื่อว่าเป็นวิธีการที่แก้ปัญหาได้ ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกหลายวิธี และ 3) ยุทธศาสตร์พัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จะต้องมีกิจกรรมหรือโครงการ ที่เป็นการเมืองแนวใหม่ สร้างวิทยากรแกนนำในพื้นที่ การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตย ให้เป็นการเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารบ้านเมือง มีเวทีแลกเปลี่ยนปัญหาการบ้าน การเมือง ที่มีการถอดบทเรียน จัดตั้งกลุ่มติดตามการดำเนินงานโครงการของรัฐในทุกระดับ และกิจกรรมสร้างจิตสำนึกสาธารณะแก่ชุมชน | การพัฒนาการเมืองไทยมีข้อถกเถียงกันมาตลอดระหว่างระบบ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญกับคน อันหมายถึงประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ท่ามกลางบริบทสังคมโลกทุนนิยมไร้พรมแดน บทความดังกล่าวเขียนขึ้นโดยใช้ฐานข้อมูลความรู้จากการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองและพัฒนาการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้ : กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นข้อมูลภาพรวมของการเมืองทั้งระดับชาติและท้องถิ่น และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะวัฒนธรรมทางการเมือง และรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 2) เพื่อค้นหายุทธศาสตร์พัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม แผนที่ความคิด และกระบวนการ AIC ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้ ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้อง ที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตยไทยโดยทั่วไป แต่มีความแตกต่างที่เด่นชัดในเรื่องเลือกเรื่องที่จะใช้เงินสู้แล้วต้องชนะ นิยมคนกล้าได้กล้าเสีย รักศรัทธาใครแล้วไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นไปทำเรื่องเสียหายก็จะไม่เลือกกลับมาอีกเลย การได้สิทธิพิเศษ ถือเป็นเรื่องอำนาจบารมี 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นการทำตามกฎหมายมากกว่าจิตสำนึก การมีส่วนร่วมด้านอื่น ๆ คือ การร่วมรณรงค์หาเสียง การร่วมจัดตั้งและเข้าร่วมเป็นสมาชิก การร่วมกิจกรรมชุมชน การร่วมติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมือง การร่วมพูดจาปรึกษาทางการเมือง การล็อบบี้หรือวิ่งเต้นมีน้อย โดยเฉพาะการเดินขบวนประท้วง เพราะกลัวถูกกล่าวหาว่ารับเงิน และไม่เชื่อว่าเป็นวิธีการที่แก้ปัญหาได้ ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกหลายวิธี และ 3) ยุทธศาสตร์พัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จะต้องมีกิจกรรมหรือโครงการ ที่เป็นการเมืองแนวใหม่ สร้างวิทยากรแกนนำในพื้นที่ การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตย ให้เป็นการเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารบ้านเมือง มีเวทีแลกเปลี่ยนปัญหาการบ้าน การเมือง ที่มีการถอดบทเรียน จัดตั้งกลุ่มติดตามการดำเนินงานโครงการของรัฐในทุกระดับ และกิจกรรมสร้างจิตสำนึกสาธารณะแก่ชุมชน | ||
== บทนำ == | == บทนำ == | ||
บรรทัดที่ 21: | บรรทัดที่ 17: | ||
เกือบ 80 ปีการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยยังมีปัญหาอยู่มากมายทั้งปัญหาเชิงระบบ เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบ สถาบันรัฐสภา พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น และปัญหาคนทางการเมืองซึ่งเกิดจากการหล่อหลอมทางสังคมการเมืองไทย ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ทัศนคติ ค่านิยมที่เป็นแนวโน้มของการรับรู้ อารมณ์ ความรู้ และการประเมินคุณค่า ส่งผลต่อพฤติกรรมที่มีต่อระบบการเมือง ก่อตัวสะสมเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่เอื้อและไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่มีรากฐานมาจากกลุ่มประเทศตะวันตก ส่งผลต่อรูปแบบการเข้าไปมี ส่วนร่วมทางการเมือง ก่อผลให้ได้ลักษณะการเมืองที่ไม่พึงประสงค์เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ เช่น การใช้เงินเป็นใหญ่ การผูกขาดอำนาจทางการเมืองโดยคนจำนวนน้อย คนดีมีความสามารถเข้าสู่ระบบการเมืองได้ยาก การทุจริตประพฤติมิชอบ เผด็จการโดยระบบรัฐสภา การต่อสู้ขัดแย้งเรื้อรังและความไร้เสถียรภาพทางการเมืองการบริหารและทางนิติบัญญัติ และขาดสภาวะผู้นำทางการเมือง นับวันปัญหาการใช้เงินเป็นใหญ่มีความรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นการเมืองเงินตราหรือ ธนาธิปไตย (Money Politic) จนนำไปสู่ความขัดแย้งและรุนแรงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ท่ามกลางบริบทสังคมโลกทุนนิยมที่ไร้พรมแดน การแก้ปัญหาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดูเสมือนว่าจะเน้นหนักไปที่การแก้ปัญหาเชิงระบบโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็แก้ และพัฒนาได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหารากฐานการพัฒนาประเทศที่เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ที่นอกจากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ซ้ำร้ายจะมีมากขึ้นทุกขณะ การพัฒนาทางการเมืองโดยกระบวนการประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุด คือการเมืองภาคประชาชนหรือการเมืองภาคพลเมืองทั้งที่ไม่เข้าใจและเข้าใจไม่ตรงกันที่ส่งผลต่อปัญหาความขัดแย้งรุนแรง จนสังคมเรียกหาการปรองดอง สมานฉันท์ สงบสุข และยั่งยืนของการเมืองทุกระดับ ทำอย่างไรให้คนไทยโดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น อันหมายถึงการปกครองท้องถิ่นที่เป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยระดับชาติ มีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ถูกต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยซึ่งหมายถึงการหล่อหลอมมาตั้งแต่ความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติและพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม เอื้อต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทาง การเมือง และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองจึงต้องมีลักษณะรูปแบบและยุทธศาสตร์ ที่ถูกต้องเหมาะสมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านการสร้างวัฒนธรรมและพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง นอกเหนือจากการมุ่งพัฒนาที่มุ่งเน้นไปที่ระบบมากเกินไปจนลืมพัฒนาคนทางการเมืองที่ต้องควบคู่กันไป ซึ่งวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองและรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 2) เพื่อค้นหายุทธศาสตร์ การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน | เกือบ 80 ปีการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยยังมีปัญหาอยู่มากมายทั้งปัญหาเชิงระบบ เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบ สถาบันรัฐสภา พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น และปัญหาคนทางการเมืองซึ่งเกิดจากการหล่อหลอมทางสังคมการเมืองไทย ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ทัศนคติ ค่านิยมที่เป็นแนวโน้มของการรับรู้ อารมณ์ ความรู้ และการประเมินคุณค่า ส่งผลต่อพฤติกรรมที่มีต่อระบบการเมือง ก่อตัวสะสมเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่เอื้อและไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่มีรากฐานมาจากกลุ่มประเทศตะวันตก ส่งผลต่อรูปแบบการเข้าไปมี ส่วนร่วมทางการเมือง ก่อผลให้ได้ลักษณะการเมืองที่ไม่พึงประสงค์เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ เช่น การใช้เงินเป็นใหญ่ การผูกขาดอำนาจทางการเมืองโดยคนจำนวนน้อย คนดีมีความสามารถเข้าสู่ระบบการเมืองได้ยาก การทุจริตประพฤติมิชอบ เผด็จการโดยระบบรัฐสภา การต่อสู้ขัดแย้งเรื้อรังและความไร้เสถียรภาพทางการเมืองการบริหารและทางนิติบัญญัติ และขาดสภาวะผู้นำทางการเมือง นับวันปัญหาการใช้เงินเป็นใหญ่มีความรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นการเมืองเงินตราหรือ ธนาธิปไตย (Money Politic) จนนำไปสู่ความขัดแย้งและรุนแรงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ท่ามกลางบริบทสังคมโลกทุนนิยมที่ไร้พรมแดน การแก้ปัญหาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดูเสมือนว่าจะเน้นหนักไปที่การแก้ปัญหาเชิงระบบโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็แก้ และพัฒนาได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหารากฐานการพัฒนาประเทศที่เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ที่นอกจากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ซ้ำร้ายจะมีมากขึ้นทุกขณะ การพัฒนาทางการเมืองโดยกระบวนการประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุด คือการเมืองภาคประชาชนหรือการเมืองภาคพลเมืองทั้งที่ไม่เข้าใจและเข้าใจไม่ตรงกันที่ส่งผลต่อปัญหาความขัดแย้งรุนแรง จนสังคมเรียกหาการปรองดอง สมานฉันท์ สงบสุข และยั่งยืนของการเมืองทุกระดับ ทำอย่างไรให้คนไทยโดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น อันหมายถึงการปกครองท้องถิ่นที่เป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยระดับชาติ มีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ถูกต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยซึ่งหมายถึงการหล่อหลอมมาตั้งแต่ความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติและพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม เอื้อต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทาง การเมือง และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองจึงต้องมีลักษณะรูปแบบและยุทธศาสตร์ ที่ถูกต้องเหมาะสมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านการสร้างวัฒนธรรมและพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง นอกเหนือจากการมุ่งพัฒนาที่มุ่งเน้นไปที่ระบบมากเกินไปจนลืมพัฒนาคนทางการเมืองที่ต้องควบคู่กันไป ซึ่งวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองและรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 2) เพื่อค้นหายุทธศาสตร์ การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน | ||
== การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง == | == การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง == | ||
บรรทัดที่ 103: | บรรทัดที่ 97: | ||
[[File:กรอบแนวคิดการวิจัย.png|RTENOTITLE]] | [[File:กรอบแนวคิดการวิจัย.png|RTENOTITLE]] | ||
== ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย == | == ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย == | ||
พื้นที่การศึกษาวิจัยได้เลือกจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นกรณีศึกษาด้วยเหตุที่เป็นจังหวัดใหญ่ทั้งพื้นที่และประชากรลำดับต้นของภาคใต้ มีที่ตั้งใกล้เคียงศูนย์กลางภาคใต้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในระบบเขตโดยยึดรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้ 6 คน ซึ่งน่าจะเป็นตัวแทนกรณีศึกษาของภาคใต้ได้และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งมีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเชิงกลุ่มบริเวณ (Cluster sampling) เขตเลือกตั้งละ 3 อำเภอ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เพราะต้องการให้ได้ประชากรผู้สันทัดกรณี (Key Information) ที่เหมาะสม ไม่ลำเอียง (Bias) กับวัตถุประสงค์และรูปแบบการวิจัยโดยเลือกเอา 6 อำเภอๆ ละ 15 คน รวม 90 คน สำหรับการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 และ 6 อำเภอๆ ละ 60 คน รวม 360 คนเพื่อจัดเวทีระดมความคิด สำหรับการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ข้อ 2 เครื่องมือการวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) สนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) แผนที่ความคิด (Mind Map) และกระบวนการ AIC วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เชิงคุณภาพ เชิงอุปนัย (Inductive Analysis) คือ องค์ความรู้ที่ได้โดยวิธีการให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical reasoning) นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปโดยใช้วิธีการเชิงประจักษ์มาประมวลเป็นแนวคิดหาคำอธิบายเป็นข้อสรุปทั่วไป (Generalization) (สุภางค์ จันทวนิช. 2547 : 118 - 119) | พื้นที่การศึกษาวิจัยได้เลือกจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นกรณีศึกษาด้วยเหตุที่เป็นจังหวัดใหญ่ทั้งพื้นที่และประชากรลำดับต้นของภาคใต้ มีที่ตั้งใกล้เคียงศูนย์กลางภาคใต้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในระบบเขตโดยยึดรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้ 6 คน ซึ่งน่าจะเป็นตัวแทนกรณีศึกษาของภาคใต้ได้และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งมีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเชิงกลุ่มบริเวณ (Cluster sampling) เขตเลือกตั้งละ 3 อำเภอ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เพราะต้องการให้ได้ประชากรผู้สันทัดกรณี (Key Information) ที่เหมาะสม ไม่ลำเอียง (Bias) กับวัตถุประสงค์และรูปแบบการวิจัยโดยเลือกเอา 6 อำเภอๆ ละ 15 คน รวม 90 คน สำหรับการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 และ 6 อำเภอๆ ละ 60 คน รวม 360 คนเพื่อจัดเวทีระดมความคิด สำหรับการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ข้อ 2 เครื่องมือการวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) สนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) แผนที่ความคิด (Mind Map) และกระบวนการ AIC วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เชิงคุณภาพ เชิงอุปนัย (Inductive Analysis) คือ องค์ความรู้ที่ได้โดยวิธีการให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical reasoning) นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปโดยใช้วิธีการเชิงประจักษ์มาประมวลเป็นแนวคิดหาคำอธิบายเป็นข้อสรุปทั่วไป (Generalization) (สุภางค์ จันทวนิช. 2547 : 118 - 119) | ||
== สรุปผลการวิจัย == | == สรุปผลการวิจัย == | ||
บรรทัดที่ 143: | บรรทัดที่ 133: | ||
จากลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้ที่มีอัตลักษณ์ (Identity) ความเป็นท้องถิ่นและภูมิภาคนิยม (Localism) สูงและส่วนใหญ่มีความไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตย ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตยที่มีตัวแบบมาจากประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 นั้น ลักษณะวัฒนธรรมดังกล่าวจะมีลักษณะทวิลักษณ์ (Dualistic) คือบางลักษณะที่เป็นส่วนน้อยสอดคล้อง (Positive) กับความเป็นสังคมประชาธิปไตย แต่มีหลายลักษณะซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่สอดคล้องและเป็นอุปสรรค (Negative) ต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมและพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นตัวสะท้อนความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นสู่ประชาธิปไตยระดับชาติ เพราะความเป็นประชาธิปไตยระดับชาติขึ้นกับความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น เมื่อการเมืองท้องถิ่นไม่เป็นประชาธิปไตย การเมืองระดับชาติก็ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งสะท้อนการเมืองของไทยที่ผ่านมา ที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานพัฒนาแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่ระดับท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) ให้ประชาชน มีการเรียนรู้และศักยภาพพัฒนาสู่การปกครองตนเอง ปกครองกันเอง เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ สู่สังคมอยู่ดีมีสุขและความยั่งยืน | จากลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้ที่มีอัตลักษณ์ (Identity) ความเป็นท้องถิ่นและภูมิภาคนิยม (Localism) สูงและส่วนใหญ่มีความไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตย ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตยที่มีตัวแบบมาจากประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 นั้น ลักษณะวัฒนธรรมดังกล่าวจะมีลักษณะทวิลักษณ์ (Dualistic) คือบางลักษณะที่เป็นส่วนน้อยสอดคล้อง (Positive) กับความเป็นสังคมประชาธิปไตย แต่มีหลายลักษณะซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่สอดคล้องและเป็นอุปสรรค (Negative) ต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมและพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นตัวสะท้อนความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นสู่ประชาธิปไตยระดับชาติ เพราะความเป็นประชาธิปไตยระดับชาติขึ้นกับความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น เมื่อการเมืองท้องถิ่นไม่เป็นประชาธิปไตย การเมืองระดับชาติก็ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งสะท้อนการเมืองของไทยที่ผ่านมา ที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานพัฒนาแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่ระดับท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) ให้ประชาชน มีการเรียนรู้และศักยภาพพัฒนาสู่การปกครองตนเอง ปกครองกันเอง เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ สู่สังคมอยู่ดีมีสุขและความยั่งยืน | ||
== ข้อเสนอแนะ == | == ข้อเสนอแนะ == | ||
บรรทัดที่ 171: | บรรทัดที่ 159: | ||
5. หน่วยงานที่ดำเนินการระดับพื้นที่ ควรจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Mapping) เพื่อหาความเชื่อมโยงโดยที่การจัดทำยุทธศาสตร์อาจนำไปสู่การแก้ปัญหายุทธศาสตร์อื่นๆ ได้ด้วย และควรบริหารจัดการเชิงบูรณาการตั้งแต่บูรณาการยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผน โครงการ ตัวบุคคล เงินงบประมาณ และการติดตามประเมินผลของระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับระดับชาติ อาจประยุกต์หลักการ “PDCA” มาปรับใช้เพราะปัญหาแต่ละด้านจะต้องใช้เวลาพัฒนาการคิด ทำ เช็คผล และปรับแก้หลาย ๆ ครั้ง | 5. หน่วยงานที่ดำเนินการระดับพื้นที่ ควรจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Mapping) เพื่อหาความเชื่อมโยงโดยที่การจัดทำยุทธศาสตร์อาจนำไปสู่การแก้ปัญหายุทธศาสตร์อื่นๆ ได้ด้วย และควรบริหารจัดการเชิงบูรณาการตั้งแต่บูรณาการยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผน โครงการ ตัวบุคคล เงินงบประมาณ และการติดตามประเมินผลของระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับระดับชาติ อาจประยุกต์หลักการ “PDCA” มาปรับใช้เพราะปัญหาแต่ละด้านจะต้องใช้เวลาพัฒนาการคิด ทำ เช็คผล และปรับแก้หลาย ๆ ครั้ง | ||
== บทส่งท้าย == | == บทส่งท้าย == | ||
บรรทัดที่ 219: | บรรทัดที่ 205: | ||
Milbrath, Lester W. (1971). Political Participation. New York : University of Buffalo. | Milbrath, Lester W. (1971). Political Participation. New York : University of Buffalo. | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:21, 21 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง ดร.วิศาล ศรีมหาวโร
การเมืองไทยระบบหรือคน : การพัฒนาวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
บทคัดย่อ
การพัฒนาการเมืองไทยมีข้อถกเถียงกันมาตลอดระหว่างระบบ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญกับคน อันหมายถึงประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ท่ามกลางบริบทสังคมโลกทุนนิยมไร้พรมแดน บทความดังกล่าวเขียนขึ้นโดยใช้ฐานข้อมูลความรู้จากการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองและพัฒนาการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้ : กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นข้อมูลภาพรวมของการเมืองทั้งระดับชาติและท้องถิ่น และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะวัฒนธรรมทางการเมือง และรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 2) เพื่อค้นหายุทธศาสตร์พัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม แผนที่ความคิด และกระบวนการ AIC ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้ ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้อง ที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตยไทยโดยทั่วไป แต่มีความแตกต่างที่เด่นชัดในเรื่องเลือกเรื่องที่จะใช้เงินสู้แล้วต้องชนะ นิยมคนกล้าได้กล้าเสีย รักศรัทธาใครแล้วไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นไปทำเรื่องเสียหายก็จะไม่เลือกกลับมาอีกเลย การได้สิทธิพิเศษ ถือเป็นเรื่องอำนาจบารมี 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นการทำตามกฎหมายมากกว่าจิตสำนึก การมีส่วนร่วมด้านอื่น ๆ คือ การร่วมรณรงค์หาเสียง การร่วมจัดตั้งและเข้าร่วมเป็นสมาชิก การร่วมกิจกรรมชุมชน การร่วมติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมือง การร่วมพูดจาปรึกษาทางการเมือง การล็อบบี้หรือวิ่งเต้นมีน้อย โดยเฉพาะการเดินขบวนประท้วง เพราะกลัวถูกกล่าวหาว่ารับเงิน และไม่เชื่อว่าเป็นวิธีการที่แก้ปัญหาได้ ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกหลายวิธี และ 3) ยุทธศาสตร์พัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จะต้องมีกิจกรรมหรือโครงการ ที่เป็นการเมืองแนวใหม่ สร้างวิทยากรแกนนำในพื้นที่ การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตย ให้เป็นการเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารบ้านเมือง มีเวทีแลกเปลี่ยนปัญหาการบ้าน การเมือง ที่มีการถอดบทเรียน จัดตั้งกลุ่มติดตามการดำเนินงานโครงการของรัฐในทุกระดับ และกิจกรรมสร้างจิตสำนึกสาธารณะแก่ชุมชน
บทนำ
การพัฒนาประเทศไทยขึ้นกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น อย่างน้อยจะต้องมี 4 มิติ ได้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้ง 4 มิติ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ซับซ้อนอย่างมีลักษณะอิทัปปัจจยตาโดยมีการเมืองเป็นฝ่ายบริหารจัดการประเทศตั้งแต่ชุมชนท้องถิ่นถึงระดับชาติ การเมืองเป็นเรื่องอำนาจในการจัดสรรผลประโยชน์ในสังคมเป็นตัวกำหนดกิจกรรมของสังคมนั้นๆ ในทุกแง่ทุกมุม โดยอำนาจในการจัดสรรผลประโยชน์ในสังคมนั้นๆ จะต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน (ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร. 2539 : 20)
ประเทศไทยเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี 2475 ปรัชญารากฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตยคือ ธรรมชาติของมนุษย์ (Human Nature) มนุษย์โดยธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นผู้มีเหตุผล เสรีภาพของมนุษย์ (Liberty) ถือว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพภายใต้สัญญาประชาคมตามแนวคิดของรุสโซ ผู้ทรงอำนาจอธิปไตย คือประชาชนที่มารวมตัวกัน ความเท่าเทียมกันของมนุษย์ (Equality) มนุษย์ มีความสามารถที่แตกต่างกันแต่โดยธรรมชาติมนุษย์มีความเท่าเทียมกันในโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดี ในสังคม และอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) (สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2538 : 33 - 35) หลักการของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้แก่ หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักเสียงข้างมาก และหลักกฎหมาย (กมล ทองธรรมชาติ. 2535 : 120) และรูปแบบการเมืองประชาธิปไตยประเทศไทยได้เลือกรูปแบบการควบอำนาจ (Fusion of Power) หรือโดยทั่วไปเรียกว่าระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาจากประเทศอังกฤษ (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. 2550 : 4 - 5) โดยที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและเป็นสัตว์การเมือง “ไม่ว่าคุณจะเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ แต่การเมืองจะเกี่ยวข้องกับชีวิตคุณอย่างแน่นอน” นั้นก็คือการเมืองจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตการดำรงชีวิตทุกด้านทุกมิติ เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การเมืองจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม
เกือบ 80 ปีการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยยังมีปัญหาอยู่มากมายทั้งปัญหาเชิงระบบ เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบ สถาบันรัฐสภา พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น และปัญหาคนทางการเมืองซึ่งเกิดจากการหล่อหลอมทางสังคมการเมืองไทย ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ทัศนคติ ค่านิยมที่เป็นแนวโน้มของการรับรู้ อารมณ์ ความรู้ และการประเมินคุณค่า ส่งผลต่อพฤติกรรมที่มีต่อระบบการเมือง ก่อตัวสะสมเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่เอื้อและไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่มีรากฐานมาจากกลุ่มประเทศตะวันตก ส่งผลต่อรูปแบบการเข้าไปมี ส่วนร่วมทางการเมือง ก่อผลให้ได้ลักษณะการเมืองที่ไม่พึงประสงค์เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ เช่น การใช้เงินเป็นใหญ่ การผูกขาดอำนาจทางการเมืองโดยคนจำนวนน้อย คนดีมีความสามารถเข้าสู่ระบบการเมืองได้ยาก การทุจริตประพฤติมิชอบ เผด็จการโดยระบบรัฐสภา การต่อสู้ขัดแย้งเรื้อรังและความไร้เสถียรภาพทางการเมืองการบริหารและทางนิติบัญญัติ และขาดสภาวะผู้นำทางการเมือง นับวันปัญหาการใช้เงินเป็นใหญ่มีความรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นการเมืองเงินตราหรือ ธนาธิปไตย (Money Politic) จนนำไปสู่ความขัดแย้งและรุนแรงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ท่ามกลางบริบทสังคมโลกทุนนิยมที่ไร้พรมแดน การแก้ปัญหาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดูเสมือนว่าจะเน้นหนักไปที่การแก้ปัญหาเชิงระบบโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็แก้ และพัฒนาได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหารากฐานการพัฒนาประเทศที่เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ที่นอกจากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ซ้ำร้ายจะมีมากขึ้นทุกขณะ การพัฒนาทางการเมืองโดยกระบวนการประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุด คือการเมืองภาคประชาชนหรือการเมืองภาคพลเมืองทั้งที่ไม่เข้าใจและเข้าใจไม่ตรงกันที่ส่งผลต่อปัญหาความขัดแย้งรุนแรง จนสังคมเรียกหาการปรองดอง สมานฉันท์ สงบสุข และยั่งยืนของการเมืองทุกระดับ ทำอย่างไรให้คนไทยโดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น อันหมายถึงการปกครองท้องถิ่นที่เป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยระดับชาติ มีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ถูกต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยซึ่งหมายถึงการหล่อหลอมมาตั้งแต่ความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติและพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม เอื้อต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทาง การเมือง และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองจึงต้องมีลักษณะรูปแบบและยุทธศาสตร์ ที่ถูกต้องเหมาะสมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านการสร้างวัฒนธรรมและพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง นอกเหนือจากการมุ่งพัฒนาที่มุ่งเน้นไปที่ระบบมากเกินไปจนลืมพัฒนาคนทางการเมืองที่ต้องควบคู่กันไป ซึ่งวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองและรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 2) เพื่อค้นหายุทธศาสตร์ การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ความหมายของ “การเมือง”
ในเรื่องความหมายของ “การเมือง” นั้น สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (2539 : 3 - 5) ได้กล่าวว่า การเมือง (Politic) ขึ้นอยู่กับกระบวนการหล่อหลอมขัดเกลาทางสังคม (socialization process) ของแต่ละบุคคล บุคคลที่เติบโตภายใต้สิ่งแวดล้อมของสังคมอำนาจนิยม อาจเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นผู้ปกครอง เป็นภาระหน้าที่ของผู้ปกครองที่ต้องใช้อำนาจ เพื่อปกครองประเทศ เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ เพื่อระดมทรัพยากรในการพัฒนาประเทศ และเป็นหน้าที่ของประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองที่จะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่ผู้ปกครองบัญญัติ ด้วยเหตุนี้การเมืองจึงหมายถึง การจัดสรรอำนาจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ขณะที่ สิทธิพันธ์ พุทธหุน (2525 : 29-35) ได้กล่าวถึงความคิดรวบยอด (Concept) ของคำว่า “การเมืองที่ใช้ว่าจะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับ 1) รัฐ 2) อำนาจและอำนาจหน้าที่ 3) การแจงสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม และ 4) เป็นเรื่องของพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญ ๆ ทางการเมือง
จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การเมืองเป็นเรื่องอำนาจในการจัดสรรผลประโยชน์ในสังคมนั้นๆ เป็นตัวกำหนดกิจกรรมของสังคมนั้น แทบทุกหัวมุม โดยอำนาจในการจัดสรรผลประโยชน์ในสังคมนั้นๆ อย่างเป็นธรรมและยั่งยืนที่อิงอยู่บนหลักการพื้นฐานสำคัญ 4 ประการคือ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมวัฒนธรรมและธรรมรัฐ (นภาภรณ์ พิพัฒน์. 2550 : 9)
ความหมายและปรัชญาของระบอบประชาธิปไตย
แม้ว่าการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เข้ามาในประเทศไทยด้วยเวลาเกือบ 80 ปีแล้วก็จริง แต่ปัจจุบันนี้ ความขัดแย้งทางการเมืองนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการเข้าใจหลักอุดมการณ์ประชาธิปไตยไม่ตรงกัน จึงมีความจำเป็นจะต้องตอกย้ำและ ทำความเข้าใจอย่างตกผลึกโดยที่ในส่วนที่เกี่ยวกับความหมายและปรัชญาของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย สมบัติ ธำรงธัญวงค์ (2538 : 203-204) ได้อธิบายว่าคำว่าประชาธิปไตยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ demos แปลว่า ประชาชน (People) และ Kratia แปลว่า การปกครอง (Rule) ดังนั้น โดยนัยทางภาษา ประชาธิปไตย จึงหมายถึง การปกครองโดยประชาชน เกี่ยวกับปรัชญาของระบอบประชาธิปไตยนั้น สมบัติ ธำรงธัญวงค์ (2538 : 210-219) ได้สรุปจากความคิดทางการเมืองของนักปรัชญาในยุคต่างๆ ตั้งแต่สมัยคลาสสิคจนถึงสมัยใหม่โดยพยายามอธิบายสภาวะธรรมชาติ (State of nature) กฎแห่งธรรมชาติ (Nature laws) และธรรมชาติของมนุษย์ (human nature) เพื่อชี้ให้เห็นถึงเงื่อนไขของมนุษย์ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม ความจำเป็นในการจัดตั้งรัฐ การกำหนดรูปแบบของรัฐ การกำหนดความสัมพันธ์ของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง และเป้าหมายของการปกครองอันเป็นเจตจำนงสำคัญของระบบการเมือง ในส่วนของปรัชญาระบอบประชาธิปไตย โดยพิจารณาว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีสัญชาตญาณแห่งความต้องการที่จะอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เพื่อเป้าหมายในการแสวงหาชีวิตที่ดีและมนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์ที่มีปัญญา จึงแตกต่างจากสัตว์อื่น ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงมีความสามารถในการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม สามารถใช้เหตุใช้ผลเพื่อแสวงหาชีวิตที่และมีความสุข อาจกล่าวได้ว่าปรัชญาเหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาเมธีในสมัยคลาสสิคคือ โสเครตีส เพลโต และอริสโตเติล นั่นเอง
สำหรับพื้นฐานปรัชญาเกี่ยวกับความเสมอภาคของมนุษย์อาจได้รับอิทธิพลมาจากทั้งความคิดของฮอบส์และล็อค (Ebenstein, 1960 : Locke, 1974. 32-40) แม้ว่าฮอบส์และล็อค ต่างเห็นว่ามนุษย์โดยธรรมชาติมีความเสมอภาคกัน ส่วนในเรื่องของเสรีภาพของปรัชญาพื้นฐานของประชาธิปไตยอาจได้รับอิทธิพลจากทั้งความคิดของล็อคและรุสโซ โดนเฉพาะรุสโซได้เน้นความสำคัญในเรื่องเสรีภาพของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง โดยถือว่ามนุษย์จะเป็นมนุษย์ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีเสรีภาพเท่านั้น ถ้ามนุษย์ปราศจากเสรีภาพมนุษย์จะไม่เป็นมนุษย์ จึงอาจกล่าวได้ว่าปรัชญาของระบอบประชาธิปไตย มีรากฐานทางความคิดที่พัฒนามาอย่างกว้างขวาง โดนเฉพาะอิทธิพลจากความคิดเสรีนิยมในยุคปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ เป็นการผสมผสานหลักการเสรีนิยมเข้าด้วยกันอย่างสมเหตุสมผลและมีอิทธิพลแพร่หลายอย่างกว้างขวางอยู่ในปัจจุบัน
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตยนอกจากจะประกอบด้วยเอกลักษณ์ที่สำคัญดังกล่าวแล้ว ในฐานะที่ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการเมือง มีปรัชญาดังข้างต้นแล้ว ระบอบประชาธิปไตย จึงประกอบด้วยหลักการสำคัญ 5 ประการคือ (กระมล ทองธรรมชาติ, 2535 : 120 - 122) 1) หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (popular sovereignty) ระบอบประชาธิปไตยยึดถือหลักแห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชนเป็นเสมือนหัวใจของระบบการเมือง การปกครอง การแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถกระทำได้ทั้งการเลือกตั้งผู้แทนให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และการถอดถอนนอกจากตำแหน่งทางการเมือง 2) หลักเสรีภาพ (liberty) ปรัชญาของระบอบประชาธิปไตยยึดมั่นว่าเป็นมนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพ คุณค่าของมนุษย์อยู่ที่เสรีภาพ 3) หลักความเสมอภาค (equality) เป็นหลักการที่ควบคู่กับหลักเสรีภาพกล่าวคือ มนุษย์จะต้องมีทั้งเสรีภาพและความเสมอภาค 4) หลักกฎหมาย (rule of law) กฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม การใช้หลักกฎหมายทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะข้อบกพร่องตามกฎแห่งธรรมชาติ และ 5) หลักเสียงข้างมาก (majority rule) ระบอบประชาธิปไตยจะยึดหลักเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่จะต้องให้ความเคารพและคุ้มครองเสียงข้างน้อย (minority right)
รูปแบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
รูปแบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ปรากฏอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน สมบัติ ธำรงธัญวงค์ (2538 : 232 - 246) ได้จำแนกได้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ รูปแบบควบอำนาจ (fusion of power) รูปแบบแบ่งแยกอำนาจ (separation of power) และรูปแบบผสม (mixed system) สำหรับประเทศไทยได้เลือก รูปแบบควบอำนาจ (fusion of power) หรือโดยทั่วไปอาจเรียกว่าระบบรัฐสภา (parliamentary system) เป็นระบอบประชาธิปไตยภายใต้รูปแบบควบอำนาจหรือระบบรัฐสภา มีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้จัดตั้งฝ่ายบริหาร และมีอำนาจในการยื่นกระทู้ ญัตติและ ขออภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการยุบสภานิติบัญญัติและประมุขของประเทศ และหัวหน้าฝ่ายบริหารหรือผู้นำรัฐบาลและแยกออกจากกัน ประมุขของประเทศอาจเป็นกษัตริย์ หรือประธานาธิบดีก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละสังคม ประเทศที่ใช้รูปแบบตามอำนาจและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้แก่ อังกฤษ เดนมาร์ก เบลเยียม ญี่ปุ่น สวีเดน และเนเธอแลนด์ เป็นต้น ประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้แก่ อินเดีย สิงคโปร์ อิตาลี บังคลาเทศ และปากีสถาน เป็นต้น ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนทำให้เกิดการเรียกร้องการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participative politics) มากยิ่งขึ้น (มณฑล คงแถวทอง. 2550 : 32 - 45)
การพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1) การพัฒนาระบบ เช่น การแก้รัฐธรรมนูญ การพัฒนาสถาบันทางการเมือง พรรคการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น 2) การพัฒนาคนทางการเมือง โดยเฉพาะแบบแผนที่เกิดจากการหล่อหลอมของความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติของประชาชนเกิดการโน้มเอียงของการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก การประเมินค่า ส่งผลต่อพฤติกรรมพัฒนาก่อตัวเป็นวัฒนธรรมทางการเมือง ส่งผลต่อไปอีกต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยลักษณะและรูปแบบต่างๆ ที่ส่วนใหญ่มักไม่เอื้อและไม่สอดคล้องกับการพัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตย และ 3) ภายใต้บริบททุนนิยมโลกดิจิตอลและการคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
2. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง
วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture)
Almond and Verba (1965 : 368) เป็นผู้ริเริ่มใช้คำว่า “วัฒนธรรมทางการเมือง” (political culture) เพื่ออธิบายแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลในสังคมต่างๆ Almond อธิบายว่า วัฒนธรรมทางการเมืองหมายถึงแบบแผนของความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติของบุคคล ที่มีต่อระบบการเมืองและต่อส่วนต่างๆ ของระบบการเมือง นอกจากนี้ Almond ชี้ให้เห็นว่า แบบแผนของ ทัศนคติของบุคคลที่มีต่อระบบการเมือง พิจารณาได้จากความโน้มเอียง 3 ลักษณะ คือ 1) ความโน้มเอียงเกี่ยวกับการรับรู้ (Cognitive Orientation) เป็นความรู้ ความเข้าใจ และความเชื่อของบุคคลที่มีต่อระบบการเมือง และส่วนต่างๆ ของระบบการเมือง 2) ความโน้มเอียงเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกความรับรู้ (Affective Orientation) เป็นความรู้สึกของบบุคคลที่มีต่อระบบการเมืองและส่วนต่างๆ ของระบบการเมือง 3) ความโน้มเอียงเกี่ยวกับการประเมินค่า (Evaluative Orientation) เป็นการใช้ดุลพินิจและการตัดสินใจในการ ให้ความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมและปรากฏการณ์ทางการเมือง เมื่อวิเคราะห์ความหมายของ Almond จะเห็นได้ว่า กระบวนการเรียนรู้และอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง (political socialization) ของบุคคลที่มีต่อระบบการเมืองนั่นจะเริ่มต้นจากการรับรู้และความเข้าใจต่อระบบการเมืองเป็นเบื้องแรก เมื่อบุคคลมีความรู้ความเข้าใจอย่างไรต่อระบบการเมืองส่วนต่างๆ ของระบบการเมืองอย่างไรแล้วจะพัฒนาต่อไปเป็นความรู้สึก ความรู้สึก ดังกล่าวอาจจะเป็นได้ทั้งความพอใจและไม่พอใจ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จากนั้นจะพัฒนาเป็นความเชื่อ และนำไปสู่การใช้ดุลพินิจ ในการตัดสินใจว่ามีบทบาทอย่างไร หรือไม่ต่อระบบการเมืองซึ่งเป็นผลจากการประเมินค่าของระบบการเมืองในขั้นสุดท้ายนั่นเอง
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยนั้น Thomson, (1940 อ้างใน อสิตรา รัตตะมณี. 2540 : 27 - 29) สรุปไว้ว่า 1) ต้องมีความต้องการการปกครองระบอบประชาธิปไตย 2) ต้องเคารพกติกาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย 3) สนใจการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง 4) ยอมรับในความเสมอภาคของบุคคล 5) การไม่ยอมรับว่าการใช้อำนาจคือธรรม แต่ธรรมคืออำนาจ 6) ต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น 7) การรู้จักวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล 8) มองโลกในแง่ดี ไว้วางใจผู้อื่น และ 9) ต้องมีความสำนึกในหน้าที่พลเมืองเมืองของตน
ในขณะที่ วิชัย ตันศิริ (2547 : 18 - 20) ได้กล่าวถึงคุณสมบัติหรือบุคลิกภาพประชาธิปไตยตามความหมายของ ศาสตราจารย์ ลาสเวล ว่ามีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ 1) บุคลิกเปิดเผย (open ego) ซึ่งหมายถึงการมีทัศนคติที่ดีและอบอุ่นต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน 2) ความสามารถที่แบ่งปันคุณค่า (สิ่งที่มีประโยชน์) กับผู้อื่น 3) มีแนวโน้มที่จะยึดระบบคุณค่าแบบหลากหลายมากกว่าจะยึดถือระบบคุณค่าเดียว อาจแปลความหมายว่าวิสัยทัศน์ต้องไม่คับแคบ 4) ให้ความไว้วางใจและเชื่อมั่นในสิ่งแวดล้อมทางสังคมและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และ 5) เป็นอิสระ (หรือปลอดจาก) ความกระวนกระวายใจพอประมาณ และจากการประมวลประเทศประชาธิปไตยทั่วโลก ของวิสุทธิ์ โพธิแท่น (2551 : 160 - 161) พบว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศที่มีประชาธิปไตยก้าวหน้านั้น มีลักษณะ 1) ความมีเหตุผล 2) เคารพซึ่งกันและกัน 3) อดกลั้นในความแตกต่าง 4) ตกลงกันอย่างสันติวิธี 5) รู้จักการมีส่วนร่วมทางการเมือง 6) ไม่ลืมเรื่องสิทธิและหน้าที่ 7) ทำดีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 8)มีอุดมการณ์ร่วมคือ ประชาธิปไตยแน่วแน่ 9) เห็นแก่ประเทศชาติ (รักชาติ) และ 10) พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง
วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (2550 : 18 - 20) ได้อธิบายสรุป ลักษณะทางวัฒนธรรมทางการเมืองไทยว่ามี ลักษณะ 1) ความยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการหรือเหตุผล 2)ความยกย่องผู้ที่มีความรู้หรือมีเกียรติสูง 3) ความเคารพและคล้อยตามผู้มีวัยวุฒิสูง 4) ความนิยมเรื่องเงินคือแก้วสารพัดนึก เงินซื้อได้ทุกอย่าง และเงินคือพระเจ้า 5) ความรักความอิสระ 6) ความนิยมในอำนาจเป็นลักษณะอำนาจนิยม 7) ความเชื่อในโชคลางของคลังและไสยศาสตร์ 8) ความนิยมการเล่นพรรคเล่นพวก 9) เฉื่อยชาและความไม่กระตือรือร้นในทางการเมือง 10) นิยมระบบเจ้านาย กับลูกน้อง 11) มีการจัดลำดับฐานะในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 12) ยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิม 13) ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มองโลกแง่ร้าย ขาดความไว้วางใจผู้อื่น และ 14) รักสงบและประนีประนอม
จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมทางการเมืองไทยนั้นมีลักษณะไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ซึ่งจะส่งผลต่ออุปสรรคการพัฒนาการมีส่วนร่วมและการพัฒนาการเมืองไทย
3. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ความหมายของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
นรนิติ เศรษฐบุตร (2537 : 205) ให้ความเห็นว่าการมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง การมีส่วนร่วมในการกระทำ (Activity) ของแต่ละบุคคล ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจนโยบายของรัฐบาล การมีส่วนร่วมจะมาจากแต่ละบุคคลโดยตรงต่อการตัดสินนโยบายของรัฐบาล เรียกว่า “การมีส่วนร่วมโดยตนเอง” (Autonomous Participation) และการมีส่วนร่วมซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายทางอ้อมนอกเหนือจากแต่ละบุคคลโดยตรงแล้วเรียกว่า “การมีส่วนร่วมโดยการ ถูกระดม” (Mobilized Participation) ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเมืองในระบอบปะชาธิปไตย
รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมือง
รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น ประจิตร มหาหิง. 2529 : 244 – 246) ได้กล่าวถึงความเห็นของ เวอร์บา ที่ได้เสนอไว้ว่ามี 4 รูปแบบ คือ
1. การใช้สิทธิเลือกตั้ง (Voting) เป็นกิจกรรมของบุคคลแต่ละคน ในการเลือกตัวแทนของตนเข้าไปใช้อำนาจในทางการเมือง อาจเป็น 4 ปี หรือ 2 ปี ต่อครั้งแล้วแต่กรณี
2. การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง (Campaign activity) เป็นกิจกรรมในลักษณะเดียวกับการใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่เป็นรูปแบบของการไปมีส่วนร่วมในการรณรงค์หาเสียง กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ประชาชนอาจใช้เพื่ออิทธิพลที่เขาพึงมีต่อการเลือกตั้ง นอกเหนือไปจากเสียง 1 เสียงตามสิทธิในการเลือกตั้งแล้ว
3. กิจกรรมของชุมชน (Community activity) เป็นกิจกรรมของกลุ่ม หรือองค์กรที่มีพลเมืองร่วมกันดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ในกรณีนี้ประชาชนจะร่วมกัน เพื่อใช้อิทธิพลต่อการดำเนินการกิจการงานของรัฐ กิจกรรมในรูปแบบนี้เป็นไปอย่างมีเป้าหมายที่แน่นอน และมีอิทธิพลมาก
4. การติดต่อเป็นการเฉพาะ (Particularized contacts) เป็นรูปแบบของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนพลเมืองเป็นรายบุคคล ผู้ซึ่งติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือข้าราชการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เฉพาะตัวหรือของครอบครัว กิจกรรมรูปแบบนี้เป็นไปอย่างมีเป้าหมายที่แน่นอน และมีอิทธิพลมาก
ในขณะที่ Milbrath (1971 : 12 – 16 ) ได้จำแนกรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองออกเป็น 6 รูปแบบใกล้เคียงกับที่กล่าวมา คือ 1) การเลือกตั้ง (Voting) 2) การเป็นเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองและเจ้าหน้าที่รณรงค์หาเสียง (Party and Campaign Workers) 3) การเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน (Community Activists) 4) การติดต่อกับทางราชการ (Contracting officials) 5) การเป็นผู้ประท้วง (Protestors) และ 6) การเป็นผู้สื่อข่าว (Communicators)
Huntington and Nelson (1977 : 4 -7) ได้จำแนกรูปแบบการมีส่วนร่วมในลักษณะที่คล้ายคลึงกันแต่ได้เพิ่มกิจกรรมทางการเมืองบางรูปแบบเพื่อให้สมบูรณ์และรอบคลุมเนื้อหามากยิ่งขึ้น โดยจัดแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
1. กิจกรรมการเลือกตั้ง (Electoral Activity) หมายถึง การลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้งและเข้าร่วมรณรงค์ในการเลือกตั้ง เป็นต้น
2. การลอบบี้ (lobby) หมายถึง การติดต่อเจ้าหน้าที่หรือผู้นำทางการเมือง เพื่อหาทางเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและการกำหนดนโยบายของรัฐโดยให้ข้อมูลต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มเป็นเกณฑ์
3. กิจกรรมองค์กร (Organizational Activity) หมายถึง เป็นกิจกรรมของกลุ่มองค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยมีเป้าหมายเข้าไปมีอิทธิพลต่อประเด็นที่เกี่ยวกับผลประโยชน์เฉพาะอย่างหรืออาจจะเป็นผลประโยชน์ต่อส่วนรวมก็ได้
4. การติดต่อเฉพาะเรื่อง (Contacting) หมายถึง การติดต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่เป็นการส่วนตัว โดยมุงหวังประโยชน์ส่วนตัวและครอบครัวตลอดจนหมู่คณะของตน
5. การใช้ความรุนแรง (Violence) เป็นกิจกรรมที่พยายามสร้างผลกระทบต่อการตัดสินใจการกำหนดนโยบายของรัฐบาล โดยการทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน กิจกรรมนี้อาจดำเนินไปโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น การก่อรัฐประหาร การลอบสังหารผู้นำทางการเมือง หรืออาจมุ่งเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น การปฏิวัติ เป็นต้น กรอบการวิเคราะห์
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยพอประมวลได้ว่า กระบวนการหล่อหลอมทางการเมือง (Political Socialization Process) อันได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ อุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยมและทัศนคติทางการเมืองของสังคมไทยโดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานของประเทศ แม้จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ พ.ศ.2475 แล้วก็ตาม แต่ลักษณะดังกล่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นความโน้มเอียงของการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก และการประเมินค่าส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองสะสมอย่างยาวนานจนกลายเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองไทยที่ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตย และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ การพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยของไทย นอกจากปรับแก้พัฒนาระบบแล้วจะต้องมุ่งพัฒนาคนทางการเมืองอันได้แก่ วัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมือง จากลักษณะข้อมูลองค์ความรู้วัฒนธรรมและรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่เป็นอยู่ สามารถที่จะนำมาเป็นฐานระดมความคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ ค้นหายุทธศาสตร์พัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอันที่จะพัฒนาการเมืองในระบบประชาธิปไตยจากท้องถิ่นสู่ระดับชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์จากภาพที่ 1
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย
ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย
พื้นที่การศึกษาวิจัยได้เลือกจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นกรณีศึกษาด้วยเหตุที่เป็นจังหวัดใหญ่ทั้งพื้นที่และประชากรลำดับต้นของภาคใต้ มีที่ตั้งใกล้เคียงศูนย์กลางภาคใต้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในระบบเขตโดยยึดรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้ 6 คน ซึ่งน่าจะเป็นตัวแทนกรณีศึกษาของภาคใต้ได้และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งมีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเชิงกลุ่มบริเวณ (Cluster sampling) เขตเลือกตั้งละ 3 อำเภอ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เพราะต้องการให้ได้ประชากรผู้สันทัดกรณี (Key Information) ที่เหมาะสม ไม่ลำเอียง (Bias) กับวัตถุประสงค์และรูปแบบการวิจัยโดยเลือกเอา 6 อำเภอๆ ละ 15 คน รวม 90 คน สำหรับการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 และ 6 อำเภอๆ ละ 60 คน รวม 360 คนเพื่อจัดเวทีระดมความคิด สำหรับการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ข้อ 2 เครื่องมือการวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) สนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) แผนที่ความคิด (Mind Map) และกระบวนการ AIC วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เชิงคุณภาพ เชิงอุปนัย (Inductive Analysis) คือ องค์ความรู้ที่ได้โดยวิธีการให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical reasoning) นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปโดยใช้วิธีการเชิงประจักษ์มาประมวลเป็นแนวคิดหาคำอธิบายเป็นข้อสรุปทั่วไป (Generalization) (สุภางค์ จันทวนิช. 2547 : 118 - 119)
สรุปผลการวิจัย
1. ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมือง อันหมายถึงความโน้มเอียงของการรับรู้ อารมณ์ ความรู้สึกและการประเมินค่าอันเกิดจากการหล่อหลอมด้วย ความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยมและทัศนคติส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองก่อตัวสะสมยาวนานเป็นวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเมืองซึ่งแต่ละประเด็นได้ค้นพบดังนี้
1.1 ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เป็นกฎระเบียบการบริหารจัดการของสังคมมีกิจกรรมร่วมกันกระทบต่อทุกฝ่าย เป็นผลประโยชน์ อำนาจบารมี หน้าตาของสังคม เล่ห์เหลี่ยมและ เกมที่เครียด การเมืองหากไม่กินไม่โกงจะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง แต่การไม่กินไม่โกงจะอยู่ไม่ได้ เพราะลงทุนหนักตอนหาเสียง ไม่กินไม่โกงทั้งหมดจะไม่ทะเลาะ กินและโกงทั้งหมดก็ไม่ทะเลาะ แต่บ้านเมืองเสียหาย กินโกงไม่เท่ากันหรือผลประโยชน์ไม่ลงตัวก็ทะเลาะ การเมืองจึงเป็นเรื่องการจัดสรรหรือบริหารผลประโยชน์ให้ลงตัว ไปเลือกตั้งตามหน้าที่ เพราะกลัวเสียสิทธิที่จะมีผลกระทบถึงเขามากกว่าที่ไปด้วยจิตสำนึกทางการเมือง และเลือกไว้พึ่งพายามมีปัญหาเดือดร้อน ไม่ว่าจะผิดกฎหมาย หลักเกณฑ์ขั้นตอนหรือไม่ ยิ่งทำผิดมากก็ยิ่งจะต้องพึ่งพา ความคิด ความเชื่อของคนส่วนใหญ่เชื่อว่าการเมืองแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตไม่ได้ คนเรามีความแตกต่างแต่กำเนิด ความได้เปรียบเสียเปรียบในการดำเนินชีวิตขึ้นกับว่าใครมีโอกาสมากกว่ากัน โอกาสที่ว่าคือ โอกาสในการเข้าถึงตำแหน่งอันหมายถึง การมีอำนาจที่จะทำให้มีโอกาสในการหาเงิน หรือเงินทำให้มีโอกาสมีตำแหน่งและอำนาจ เป็นความได้เปรียบบุคคลโดยทั่วไปการเมืองจึงหมายถึง โอกาสในการดำเนินชีวิตด้วย การเมืองเป็นเรื่องการต่อสู้ด้านผลประโยชน์ โดยไม่สนใจที่มาหรือความชอบธรรมผลประโยชน์ลงตัวก็จบ การเล่นการเมืองจึงเป็นการแสวงหาโอกาสในการดำเนินชีวิต ในทางปฏิบัติหลักการและกระบวนการทางการเมืองประชาธิปไตยเป็นเพียงพิธีการเท่านั้น การใช้เหตุผลตามหลักการประชาธิปไตยจะไม่เกิดเพราะการใช้เหตุผลจะโกงกินไม่ได้ การลงคะแนนหรือการตัดสินใจกรณีต่าง ๆ ไม่ได้ตัดสินใจอยู่กับหลักเหตุผล แต่ขึ้นกับผลประโยชน์ที่จะส่งผลต่อชีวิตเขาในอนาคต ระบบอุปถัมภ์คือต้นทุนของการก้าวไปสู่ตำแหน่ง อำนาจและเงิน เงินเป็นเป้าหมายชีวิต การตัดสินใจเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นญาติจะมาก่อน พรรคพวกรองลงมา ถ้าญาติกับพรรคพวกมีเท่า ๆ กัน เงินจะมีบทบาทต่อการเลือกตั้งโดยที่พรรคการเมืองจะเป็นฐานรองรับให้ง่ายขึ้น คนชั้นกลางจะเป็นตัวแปรของการเลือกตั้ง คุณสมบัติผู้สมัคร เช่น วุฒิการศึกษา ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ มีบทบาทน้อยในการตัดสินใจเลือกตั้ง ในระดับชาติจะเลือกพรรคเพราะมีโอกาสเป็นรัฐบาล คนภาคใต้ มีลักษณะท้องถิ่นนิยม “รักแล้วรักเลย” ไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะมีข้อบกพร่องบ้างก็ไม่ว่า เข้าลักษณะเอาลูกเองไว้ก่อน “คนดีไม่ต้องถาม คนงามไม่ต้องเล่า” สืบต่อยาวนานจนกลายเป็นอัตลักษณ์ทางการเมืองของคนภาคใต้ไปด้วย หลักเสรีภาพของมนุษย์ ได้แก่สิทธิเสรีภาพต่าง ๆ ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ประชาชนโดยส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจสิทธิเสรีภาพ โดยหลักการดีแต่ไม่เป็นจริงในการปฏิบัติ เพราะถ้ามีก็กินโกงไม่ได้ หลักสิทธิเสรีภาพจึงเป็นเพียงคำพูดหรือหลักการสวยหรู “ก้อนเส้าเป็นเสือ สากกะเบือเป็นยักษ์” กินโกงบางสมัยจะสลับกันกลายเป็นเรื่องปกติ และถูกครอบงำด้วยระบบอุปถัมภ์ในการดำเนินชีวิต ญาติพี่น้องทำอะไรไม่ถูกก็ไม่ว่ากล่าวตักเตือน อย่างดีก็แค่ให้เอาไปคิดเอาเอง การดำเนินชีวิตใครจะทำอะไรก็ทำไป ไม่มีใครไปยุ่งกับใคร แม้ผิดกฎหมายต่างคนต่างทำ “ล่ากวางมาได้หนึ่งตัวจะแบ่งกันกิน” หลักความเท่าเทียมและหลักความเสมอภาค ในทางปฏิบัติอยู่ไกลจากความเป็นจริงซึ่งเป็นมาตั้งแต่อดีต “รักมากอุ้ม รักน้อยลงมาจูง รักน้อยลงมาอีกให้เดิน” หรือ คล้ายทองสองหน่อ ควายทอเสียนวล (รักจนเสียหลักการ) คนรวย คนมีอำนาจมีโอกาสมากกว่า เป็นสังคมที่ยอมรับการมีอำนาจหรืออำนาจนิยมได้อำนาจมาถูกต้องชอบธรรมหรือไม่อย่างไรไม่สนใจ ทุกอย่างถ้า ผลประโยชน์ลงตัวก็จบ ผลประโยชน์ไม่ลงตัวก็มีการต่อสู่รุนแรง แตกแยกเกิดการแย่งชิง แสวงหาหนทาง หรือวิธีการที่จะต่อสายไปสู่สายอำนาจอุปถัมภ์ หลักกฎหมายที่เอื้อผลประโยชน์แก่คนชั้นล่างมีน้อย ออกได้ช้า เนื้อหาก็ไม่ตรงกับความต้องการ การบังคับใช้ไม่เสมอภาค เลือกปฏิบัติ ความยุติธรรมกับผลประโยชน์สัมพันธ์กับการใช้เหตุผลตัดสินใจ คนมีอิทธิพลหรือสถานะสูงกว่าจะมีโอกาสและได้เปรียบกว่าในทุกเรื่อง อำนาจและโอกาสสู้ไม่ได้ก็สู้ด้วยเงิน เท่าไรก็ได้ขอให้ชนะรวมทั้งคดีความกลายเป็นสายโซ่รากเหง้า (Root Chain) ของการทุจริตคอรัปชั่น การทำอะไรให้ถูกระเบียบจะไม่เกิด เพราะถ้าถูกระเบียบก็กินโกงไม่ได้ อัยการคือจุดอ่อนของกระบวนการยุติธรรม บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเฉพาะหัวคะแนนในระดับท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งอย่างแยกกันไม่ออก จากกระบวนการความสัมพันธ์ดังกล่าว หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ในทางปฏิบัติประชาชนไม่มีความอิสระในการตัดสินใจ เสรีภาพทางความคิดถูกครอบงำ การตัดสินใจเป็นไปตามพวกพ้อง และกลุ่มอุปถัมภ์ ซื้อขาย และขอได้ อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่นักการเมือง ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชน แต่ไม่ใช่เพื่อประชาชน คนที่เราเลือกตั้งไปทำผิดก็ไม่ตรวจสอบ เพราะถือว่าเราเลือกไปเอง ไม่อยากจะยุ่งเกี่ยวอะไรมากไปกว่าการไปทำหน้าที่เลือกตั้งการเลือกตั้งในระดับชาติส่วนใหญ่จะตัดสินใจเลือกพรรคตามสายอุปถัมภ์ ระดับท้องถิ่นเลือกโดยหวังการช่วยเหลือที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่เป็นของตนเอง หลักการยึดความถูกต้องโดยใช้เสียงข้างมากและฟังเหตุผลของเสียงข้างน้อยนั้น เป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้อยู่บนหลักการของเหตุผลของสิ่งที่ควรจะเป็นของเรื่องราวนั้น ไม่ตรงกับความคิดหรือเจตนารมณ์ของตนเอง เสียงข้างมากไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง เสียงข้างมากสร้างและทำขึ้นได้เป็นความจริงจอมปลอม ซื้อขายได้ เป็นอิทธิพลของสายอุปถัมภ์ที่ฝังลึกยาวนานที่โน้มน้าวชักจูงได้ นักการเมืองจึงต้องทำได้ทุกเรื่องแม้ช่วยคนทำผิด และยึดติดตัวบุคคลมากกว่าหลักการ
1.2 อุดมการณ์ อยากเห็นอยากได้การเมืองที่ดี มีความเป็นธรรม สมานฉันท์และสงบสุข นักการเมืองที่มีภาวะผู้นำ น่าเชื่อถือ มีความคิด ทำเพื่อประชาชนโดยส่วนรวม ใจซื่อมือสะอาด ลดละผลประโยชน์ ดูแลทั่วถึง มีความเป็นธรรม เป็นแบบอย่างได้ ไม่ต้องดีที่สุดขอสักเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ก็พอ เพราะนักการเมืองดีร้อยเปอร์เซ็นต์คงไม่มี คนอาสาเข้าไปทำงานการเมืองไม่มีเรื่องผลประโยชน์เลยคงไม่มี ประชาชนที่มีเหตุผล มีสปิริต จิตสาธารณะ เอาบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง มีความคิดเชื่อในหลักประชาธิปไตย มีการเรียนรู้ประชาธิปไตยกับการดำเนินชีวิต สร้างการมีส่วนร่วมและการใช้ชีวิตร่วมกันที่เป็นผลประโยชน์ส่วนรวมและชุมชนท้องถิ่น
1.3 ความเชื่อ นั้นเชื่อคำสอนพุทธศาสนาทำดีได้ดี สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกฎแห่งกรรม แต่ในทางปฏิบัติของสังคมปัจจุบันคนส่วนใหญ่คิดทำความดีมีน้อย เพราะคิดว่ากรรมมองไม่เห็น ดำเนินชีวิตแบบหลงระเริง มีเวลาว่างไม่ลำบาก สันทนาการเช่น เล่นการพนัน เข้าถึงทุกวงการ กล้าได้กล้าเสีย จะได้รับการยอมรับจากวงการนักเลงว่าเป็นผู้กว้างขวาง สนใจทำอะไรที่เป็นผลประโยชน์กับตนเอง การเมืองจึงเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่มีทั้งดีและไม่ดีปนกัน หลักพิจารณาความถูกต้องทางการเมือง จะดูว่าใครเป็นคนให้ข่าวสาร จะเชื่อบุคคลมากกว่าหลักการ ไม่พูดหรือวิจารณ์บุคคลที่เขาเลือกหรือชื่นชอบ แม้ผิดพลาด ข้อความนโยบายหรือข้อความที่ใช้หาสียงจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งน้อยกว่าความเป็นบุคคล ยึดบุคคล (พวก) มากกว่าเนื้อหาของเรื่องราวในขณะนั้น โดยไม่ค่อยศึกษาหาสาเหตุของปัญหา เข้าลักษณะพวกเองไม่ผิด ถึงผิดก็ไม่พูด ไม่วิจารณ์ เงียบ ๆ เฉย ๆ เดี๋ยวก็หายไปเอง
1.4 ค่านิยมทางการเมือง ญาติและระบบอุปถัมภ์มีบทบาทมาก บุญคุณต้องทดแทน ใครเคยช่วยต้องตอบแทน เงินเนรมิตได้ทุกอย่าง ถ้าใครให้เงินส่วนใหญ่จะรับ รับเงินแล้วส่วนใหญ่จะลงคะแนนให้ นอกจากเป็นการตอบแทนแล้ว คิดว่าเลือกใครก็มีค่าเท่ากัน และกลัวถูกเช็คย้อนหลัง จะเกิดอันตรายกับตัวเองและครอบครัว มีส่วนน้อยที่ไม่รับเงินจะตัดสินใจเลือกตั้งโดยพิจารณาจากความดีจากประวัติ การเข้าหาประชาชน กินโกงบ้างไม่เป็นไร พูดแล้วทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้มีความน่าเชื่อถือ มีแนวทางการทำงาน ตั้งใจมุ่งมั่นใจถึง ใจนักเลง กล้าได้กล้าเสีย มนุษย์สัมพันธ์ดี ระดับชาติเลือกพรรค ระดับท้องถิ่นเลือกบุคคล
1.5 ทัศนคติทางการเมือง บางพื้นที่เงินมีบทบาทมากกว่าระบบอุปถัมภ์และเงินกลายเป็นอุปถัมภ์ลักษณะหนึ่ง การตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งอาจไม่ตรงกับที่เขาคิด จะเลือกคนที่ช่วยเขาได้ การไปงานศพจึงมีบทบาทต่อการหาเสียง “คนตายไปเพื่อคนอยู่” สิ่งที่ไม่ชอบคือการใช้อำนาจรัฐที่มีลักษณะเจ้าขุนมูลนาย
จากผลการวิจัยจะเห็นว่าข้อค้นพบลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองในสภาพความเป็นจริงจากกรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองที่เกิดจากกระบวนการหล่อหลอมเป็นหลักคิดตั้งแต่ความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติทางการเมืองของประชาชนส่วนใหญ่อยู่ห่างไกล และไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยในเกือบทุกด้านทุกประเด็น ลักษณะวัฒนธรรมดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมทางการเมืองที่ไม่พึงประสงค์ในสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตยซึ่งผลการวิจัยได้ข้อค้นพบพฤติกรรมทางการเมือง คือ
2. การเล่นพรรคเล่นพวกมีสูง เพราะพรรคพวกช่วยได้ทุกเรื่อง บอกได้ สั่งได้ บุญคุณต้องทดแทน ได้พวกจะได้ทุกเรื่องที่ต้องการ หลักการระเบียบปฏิบัติที่ทำไม่ได้ แต่ถ้ามีพวกทำหรือหาทางออกให้ได้ ผิดก็ช่วยปิดบัง รู้ว่าไม่ดีปิดโอกาสจำกัดสิทธิผู้อื่นแต่หลีกเลี่ยงยาก ทุกคนอยากสะดวกสบาย พรรคพวกทำผิดให้ถูกได้ ไม่มีพวกก็ใช้เงิน ใช้กันจนเกิดพรรคพวกใหม่ในเวลาต่อมา เงินและพวกคือโอกาสของความเสมอภาพ เป็นที่มาของการวิ่งเต้นประจบสอพลอ เชื่อลึก ๆ ว่าระบบเส้นสายมีอยู่ทุกวงการในสังคม เราไม่ทำคนอื่นก็ทำ เราไม่ทำก็สู้คนอื่นไม่ได้ การใช้อภิสิทธิ์ทำให้ได้เร็ว สิทธิพิเศษหรืออภิสิทธิ์ถือเป็นการมีบารมี เป็นพลังอำนาจ เชื่อกฎแห่งกรรม แต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้ายิ่งใหญ่กว่า การทุจริตคอรัปชั่น เชื่อว่าใครทำตามระเบียบกฎหมายนั้นโง่ คนฉลาดต้องไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เริ่มแรกข้าราชการชี้ช่องให้นักการเมืองตัดสินใจใช้อำนาจ ต่อมานักการเมืองสั่งให้ข้าราชการทำ กลายเป็นรากเหง้าการทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดจากความสัมพันธ์ของระบบอุปถัมภ์แนวใหม่ เหตุที่กล้าทำกล้าโกง เพราะเชื่อว่าทำได้กฎหมายมีช่องว่าง เอาผิดได้ยากและเชื่อมั่นมากขึ้นว่าชีวิตคือโอกาส โอกาสต้องเริ่มที่เงิน หรืออำนาจ ชีวิตที่ดีคือโอกาสที่ดี อะไรถูกหลักการ จะทำได้ยาก ช้าและไม่ได้ผลประโยชน์ “ให้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็ต้องเอาสิ่งที่ไม่ถูกต้องคืนแบบไม่ถูกต้อง” เชื่อว่านักการเมืองส่วนใหญ่มีสิ่งนี้ทุกคน ขอแต่ให้คืนสังคมบ้าง นักการเมืองที่ไม่กินไม่โกงเกือบไม่มีในสังคม การยึดตัวบุคคลมากกว่าหลักการ เพราะเชื่อว่าคนอยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง คนทำได้หมด หลักการคือคำโฆษณาที่สวยหรู ขั้นตอนกระบวนการเป็นแค่พิธีการ คนใกล้ชิดจะพูดน้อยใช้ง่าย ตำแหน่งเปลี่ยนได้แต่ตัวบุคคลต้องอยู่กันตลอดชีวิต ความเชื่อดังกล่าวเป็นพัฒนาการรากเหง้าของระบบอุปถัมภ์ การใช้เงินกับการเลือกตั้ง เชื่อว่าการเมืองที่เป็นอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตไม่ได้ ไม่มีผลในทางปฏิบัติ เหมือนกันหมดทุกระดับ จึงเลือกเงินไว้ก่อน รับเงินแล้วส่วนใหญ่จะลงคะแนนให้ตามที่รับปากไว้ เพราะเชื่อว่าความลับไม่มีในโลก สักวันหนึ่งจะรู้มีผลอันตรายต่อตัวเองและครอบครัว และแสดงถึงความจริงใจ ซื่อสัตย์ ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง แต่สบายใจกว่าผลประโยชน์ที่ตามมามีมากและต่อเนื่องถึงอนาคต ใครทำผิดหลักการและกฎเกณฑ์มากกลายเป็นความภาคภูมิใจว่าเป็นคนมีประสบการณ์ “จึงใช้เงินหาอำนาจ หรือใช้อำนาจหาเงิน” การตัดสินใจเลือกตัวแทนในระดับท้องถิ่นความเป็นญาติมาอันดับแรก พรรคพวก เงิน และพรรคที่สนับสนุนจะเป็นตัวเสริม ระดับชาติพรรคที่สังกัดของผู้สมัครจะมาเป็นอันดับแรก พฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้งส่วนใหญ่ตัดสินใจมาก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง แต่ 2 – 3 วันสุดท้ายจะเป็นตัวแปรพลิกผัน ทีมผู้สมัครจะมีคนเช็คการลงคะแนนหน้าหน่วย ลักษณะการเช็คจะดูสีหน้า ดูการพูดคุยของผู้ลงคะแนน มีส่วนน้อยที่เป็นพรรคพวกจะขอกันได้โดยไม่ต้องใช้เงิน ผู้ใช้สิทธิเชื่อผู้นำที่เคยให้ความช่วยเหลือกันมาก่อน บางพื้นที่เป็นส่วนน้อยมากที่เกิดความไม่แน่ใจจะใช้การริบบัตรประชาชน บางส่วนดูกระแสส่วนใหญ่ในพื้นที่ไปทางไหน ไม่ไปด้วยก็อยู่ยาก มีส่วนน้อยหัวคะแนนต้องเป็นบุคคลฉลาดแกมโกง มีอำนาจอิทธิพลกว้างขวาง และขอตำแหน่งที่มีในระดับรอง ๆ ลงมาในโอกาสต่อไปในพื้นที่จึงเกิดสายโยงใยเกี่ยวพันกันทั้งระบบ เป็นอุปถัมภ์ลูกโซ่รูปแบบใหม่ที่เกี่ยวโยงตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติในสังคมการเมืองประชาธิปไตยไทยปัจจุบัน
กระบวนการหล่อหลอมทางสังคมการเมืองที่เกิดจากความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยมและทัศนคติตกผลึกทางความคิดเป็นแนวโน้มของการรับรู้อารมณ์ความรู้สึก และการประเมินค่าและแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางการเมืองพัฒนาก่อตัวเป็นลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนดังข้อค้นพบส่งผลต่อรูปแบบการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง คือ
3. การร่วมใช้สิทธิเลือกตั้งประชาชนมีหลักคิดเหตุผลที่แตกต่างกัน คือ คิดเป็นการช่วยสังคมช่วยชาติ เป็นความรับผิดชอบภูมิใจที่ได้ทำ เป็นตัวอย่างแก่คนอื่น ๆ อยากได้คนที่แก้ปัญหาของประชาชนได้ แต่ทางปฏิบัติส่วนใหญ่ไปใช้สิทธิเพราะกลัวเสียสิทธิทางกฎหมายมากกว่าจิตสำนึกในฐานะพลเมืองที่ดี การร่วมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งมีน้อยโดยการช่วยเดินแจกเอกสาร แผ่นพับและโปสเตอร์ ขอจากญาติพี่น้อง สำหรับพรรคพวกจะให้เขาพิจารณาเองไปเป็นกลุ่มมากกว่าบุคคล ส่วนกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้ร่วมจะให้เหตุผลว่า กลัวเพื่อนบ้าน กล่าวหาว่ารับเงินและเบื่อหน่าย การจัดตั้งและเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ มีเป็นส่วนน้อยโดยให้เหตุผลว่าอยากเห็นการพัฒนาโดยรวมของท้องถิ่นหรือชุมชน และเป็นสมาชิกอยู่แล้ว โดยช่วยประสานงาน ได้ค่าตอบแทนบ้างไม่ได้บ้าง แต่มีแรงจูงใจตรงที่ได้รับการช่วยเหลือยามเจ็บไข้ไม่สบาย ส่วนที่ไม่ร่วมให้เหตุผลว่าไม่ชอบและไม่อยากเป็นสมาชิกโดยเฉพาะพรรคการเมืองเพราะกลัวไม่อิสระและเกี่ยวพันไปถึงชีวิตประจำวันตนเองและครอบครัว การร่วมกิจกรรมของชุมชนมีไม่มากนักเข้าร่วมเพราะเป็นผู้สูงอายุได้เพื่อน ได้ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ และอาจได้เป็นตัวแทนชุมชน ทำงานเกื้อกูลผลประโยชน์ร่วมกัน และไม่มีจุดมุ่งหมายทางการเมือง มีน้อยมากที่ติดต่อเป็นการส่วนตัวกับเจ้าหนาที่รัฐหรือนักการเมือง โดยผ่านคนใกล้ชิด ทั้งโดยตรงและผ่านหัวคะแนน ผู้ช่วย ส.ส. หรือคนที่ใกล้ชิดผู้แทน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่มีปัญหากับการดำเนินชีวิตในพื้นที่ เช่นถนนชำรุด ไฟฟ้าประปาเป็นต้น ในส่วนของผู้ที่ไม่มีการติดต่อเลย ให้เหตุผลว่า นักการเมืองทุกระดับรับปากเกือบทุกเรื่อง แต่ทำได้น้อยมากหรือไม่ทำเลย เกิดความเบื่อหน่ายเสียเวลา มีปัญหาในพื้นที่จะเลือกติดต่อปรึกษาเพื่อนบ้านและพรรคพวกที่สนิท เพราะพบปะง่ายและเป็นกันเอง จริงใจ ไม่เครียด และไม่มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ความสบายใจกว่า การร่วมพูดจาปรึกษาเรื่องการเมืองมีเป็นส่วนน้อยจะมีลักษณะรวมตัวทำกิจกรรมกับคนใกล้ชิดหรือสมาชิกกลุ่ม ทำให้ได้ความรู้ ประสบการณ์และข้อมูลโดยไม่ต้องผ่านสื่อของรัฐ สถานที่มักใช้วัด โรงเรียน และบ้านผู้นำ สำหรับร้านกาแฟมีบ้างตามจังหวะเวลาและโอกาส การล็อบบี้หรือการวิ่งเต้น มีน้อยมาก โดยผ่านแกนนำหมู่บ้านหรือชุมชน เพื่อย้ำ กระตุ้นหรืออธิบายเหตุผลและความจำเป็นพร้อมทั้งเรียนรู้ได้ว่าการไปวิ่งเต้นจะต้องไปหลายๆ คน นักการเมืองจะสนใจรับฟัง ส่วนใหญ่ที่ไม่มีการวิ่งเต้นให้เหตุผลว่า รับปากแต่ไม่เคยทำอย่างที่พูดเสียเวลา เสียเงินและเสียความรู้สึก ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติไม่วิ่งเต้นก็ไม่เป็นบุญคุณใคร การร่วมแสดงออกหรือเดินขบวนประท้วงมีน้อยมาก ไปร่วมเพราะถูกชักชวนด้วยรัก ศรัทธาและต้องการแก้ปัญหา เสียเงินเองและไม่รับเงินหรือสิ่งของอื่นๆ เพราะกลัวถูกกล่าวว่าหรือนินทาว่าทำเพราะเงิน ส่วนใหญ่ที่ไม่ร่วมเพราะไม่เห็นด้วยและไม่เชื่อการแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวด้วยการประท้วงเพราะวุ่นวาย ปัญหาต่างๆ พูดคุยกันได้ รองลงมาคือขาดแกนนำ ปัจจัยการใช้ขับเคลื่อนการประท้วง และกลัวกระทบกับการเมืองระดับชาติ เชื่อมโยงเป็นลูกโซ่อุปถัมภ์ กระทบตนเองและครอบครัวในระยะยาว ซึ่งเคยได้รับบทเรียนมาแล้ว ถึงสู้ก็ไม่ชนะ จึงเลือกเรื่องและจังหวะการต่อสู้ที่มีโอกาสสำเร็จได้มากกว่า จึงทำให้เบื่อและเชื่อว่าการเมืองแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้ จะเห็นได้ว่าการรวมพลังและตรวจสอบที่เข้มแข็ง ในระบอบประชาธิปไตยที่กล่าวถึงกันนั้นมีแต่รูปแบบและอุดมการณ์เท่านั้น ทำให้สังคมมีแต่ผู้รอรับผลประโยชน์จากคนอื่น เป็นสังคมผู้โดยสารฟรี (Free Rider) แต่เรื่องใดที่นักการเมืองระดับชาติเอาด้วย และเริ่มจากนักการเมืองพรรคที่ตนเองชื่นชอบ การประท้วงนั้นจะเกิดผลและมีโอกาสประสบผลสำเร็จได้มากกว่า
จากผลการวิจัยดังกล่าวสรุปเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมที่เกิดจากกระบวนการหล่อหลอมทางสังคมการเมืองการปกครองจากความรู้ ความเข้าใจ อุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติด้วยระยะเวลายาวนาน แม้สังคมไทยจะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตั้งแต่ พ.ศ.2475 แล้วก็ตาม ข้อค้นพบยืนยัน เกือบ 80 ปีของความเป็นประชาธิปไตยไทยเปลี่ยนแต่รูปแบบ (ระบบ) แต่หลักความคิดเชื่อและการปฏิบัติของประชาชน (คน) หรือวัฒนธรรมทางการเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับระบบ ตกผลึกเป็นความโน้มเอียงด้านการรับรู้ ความรู้สึก และการประเมินค่าที่เรียกว่าวัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในรูปแบบและลักษณะต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา
จากข้อค้นพบของการวิจัยและเห็นว่าพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการหล่อหลอมตกผลึกเป็นลักษณะวัฒนธรรมของประชาชนที่ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยส่งผลต่อรูปแบบและลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมือง อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อรากฐานการพัฒนาการเมืองในระบบประชาธิปไตยนำไปสู่การค้นหายุทธศาสตร์ (วิธีสำคัญ) ด้วยกระบวนการ AIC เพื่อพัฒนาการมี ส่วนร่วมซึ่งผลการวิจัยได้ข้อค้นพบ คือ
4. ยุทธศาสตร์พัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในด้านการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จะต้องมีกิจกรรมหรือโครงการความร่วมมือการจัดการเลือกตั้งของทุกภาคส่วน รณรงค์โดยการจัดเวทีแถลงนโยบายในช่วงเลือกตั้ง การให้ความรู้ขั้นตอนกระบวนการเลือกตั้ง ที่บริสุทธิ์ยุติธรรมและการประกาศรายชื่อผู้กระทำผิดการเลือกตั้ง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งทุกระดับเน้น การสร้างธรรมาภิบาลและวิทยากรแกนนำเลือกตั้ง บทบาทหน้าที่นักการเมืองแต่ละประเภท และการณรงค์การเมืองกับการเลือกตั้งด้วยสื่อที่หลากหลาย การจัดตั้งและการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม โดยการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมกิจกรรมกลุ่ม การจัดตั้งกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง การสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองของประชาสังคม การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เป็นการเมืองภาคพลเมือง และการติดตามประเมินผลกิจกรรมทางการเมือง การร่วมกิจกรรมของชุมชน โดยการสร้างกฎระเบียบกิจกรรมชุมชน การจัดรายการวิทยุชุมชน “การเมืองภาคพลเมือง” การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารการบ้านและการเมืองของชุมชนท้องถิ่นโดยใช้หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน จัดเวทีการเมืองกับการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นทั้งการบ้านและการเมือง และผู้แทนพบประชาชน การติดต่อเป็นการส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมือง โดยจัดเวทีถอดบทเรียนการเมืองกับการแก้ปัญหาการดำเนินชีวิต สร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสาร การมีตู้แสดงความคิดเห็นและให้ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน การพูดจาปรึกษาเรื่องการเมือง โดยจัดตั้งตัวแทนประชาชน สร้างองค์กรชุมชนทางการเมือง จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจการเมืองกับการพัฒนาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับนโยบายรัฐ การล็อบบี้หรือวิ่งเต้นโดยการรวมกลุ่ม สร้างเครือข่ายการตรวจสอบการปฏิบัติงานของรัฐต่อการพัฒนาและการปฏิบัติงานด้วยหลักธรรมาภิบาลการเดินขบวนประท้วง โดยตั้งคณะทำงานติดตามโครงการของรัฐ เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะแก่ชุมชนท้องถิ่น ให้ความรู้หลักการขั้นตอนการปฏิบัติงานราชการบริการประชาชนและสิทธิเสรีภาพภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จากผลการวิจัยที่กล่าวมา พอจะแยกแยะลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้ที่แตกต่างเด่นชัดมากกว่าภาคอื่นๆ คือ คนภาคใต้จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิทธิและการกระทำของคนอื่นแม้เห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ยกย่องคนมีอำนาจโดยไม่สนใจภูมิหลังหรือที่มามากนัก เลือกเรื่องที่จะใช้เงินสู้แล้วต้องชนะเท่าไรเท่ากัน การเมืองท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดการเมืองระดับชาติ นิยมชมชอบคนที่กล้าได้กล้าเสีย การพิจารณาความผิดถูกในประเด็นทางการเมืองจะพิจารณาจากผู้ให้ข้อมูลและเป็นเรื่องของใครจะเชื่อข้อมูลของคนที่เขาเลือก เชื่อคนมากกว่าเชื่อเรื่องที่เป็นประเด็น หากมีเรื่องผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะไม่พูดไม่วิจารณ์ปล่อยให้เรื่องหายไปเอง คนใต้รักศรัทธาใครแล้วจะไม่เปลี่ยนแปลงยกเว้นมีประเด็นหรือเรื่องที่เสียหายร้ายแรงก็ไม่เลือกมาอีกเลย การเลือกตั้งหากมีคนให้เงินจะรับ รับแล้วส่วนใหญ่จะลงคะแนนให้เพื่อแสดงความจริงใจและกลัวการถูกเช็คย้อนหลังโดยเชื่อว่าความลับไม่มีในโลก ไม่วันใดวันหนึ่งก็รู้ส่งผลต่ออนาคตของตนและครอบครัว ซึ่งดูจากข้อพิรุธได้ไม่ยาก วันลงคะแนนจะมีคนเช็คหน่วยเลือกตั้งเขาดูสีหน้าท่าทางก็รู้ได้ การรับเงินแล้วลงคะแนนให้สบายใจกว่า ไม่ชอบการใช้อำนาจรัฐที่มีลักษณะเจ้าขุนมูลนาย การเล่นพรรคเล่นพวกมีสูงเพราะเชื่อว่าคนอยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง พรรคพวกช่วยได้ทุกเรื่อง หลักการเปลี่ยนได้แต่คนต้องอยู่กันคบกันตลอดชีวิต รู้ว่าการเล่นพรรคเล่นพวกเป็นเรื่องไม่ดี แต่เราไม่ทำคนอื่นก็ทำ สู้ไม่ได้ก็ใช้เงินเท่าไรเท่ากัน เชื่อว่าระบบเส้นสายมีทุกวงการ การได้สิทธิพิเศษคืออำนาจบารมี คนฉลาดจะไม่ทำตามระเบียบ กฎเกณฑ์เพราะทำตามระเบียบกฎเกณฑ์จะกินโกงไม่ได้ ในส่วนที่กล้ากินโกงเพราะเชื่อว่าทำได้ เอาผิดยาก กฎหมายมีช่องโหว่ นักการเมืองทุกระดับสะอาดบริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์มีน้อย การทำผิดกฎเกณฑ์ถือเป็นผู้มีประสบการณ์เป็นสิ่งที่รับได้ ขอเพียงทำประโยชน์ให้สังคมบ้าง การร่วมกิจกรรมและติดต่อปรึกษาหารือทางการเมืองมีน้อยเพราะไม่ชอบเป็นบุญคุณใครโดยไม่จำเป็นเพราะกลัวไม่อิสระต่อการดำเนินชีวิต การแสดงออกโดยการประท้วงมีน้อยเพราะเชื่อว่าเป็นวิธีการที่แก้ปัญหาไม่ได้ วุ่นวาย ขาดผู้นำและเป็นการเอาตัวเข้าไปผูกพันตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ ที่สำคัญคือกลัวการถูกกล่าวหาว่าทำไปเพราะรับเงินแม้กระทำด้วยความจริงใจ เพราะฉะนั้นการประท้วงทั้งหลายที่เห็นอยู่ทั่วไปส่วนใหญ่เขาเชื่อว่าทำเพราะรับเงินหรือถูกจ้างทั้งสิ้น แต่หากมีการประท้วงที่ได้เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้เขาเชื่อว่าส่วนใหญ่ต้องมีที่มาของปัญหาที่เป็นจริงดำรงอยู่ เพราะฉะนั้นการเดินขบวนประท้วงหรือการก่อม็อบโดยการชักชวนที่ขาดฐานที่มาของปัญหาหรือเหตุผลที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ยาก ยกเว้นนักการเมืองของพรรคที่เขาเลือกชักชวน เขาจะร่วมเพราะเขาชื่นชอบ รักศรัทธาและเลือกมาตั้งแต่ต้นแล้ว
จากลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้ที่มีอัตลักษณ์ (Identity) ความเป็นท้องถิ่นและภูมิภาคนิยม (Localism) สูงและส่วนใหญ่มีความไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตย ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตยที่มีตัวแบบมาจากประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 นั้น ลักษณะวัฒนธรรมดังกล่าวจะมีลักษณะทวิลักษณ์ (Dualistic) คือบางลักษณะที่เป็นส่วนน้อยสอดคล้อง (Positive) กับความเป็นสังคมประชาธิปไตย แต่มีหลายลักษณะซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่สอดคล้องและเป็นอุปสรรค (Negative) ต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมและพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นตัวสะท้อนความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นสู่ประชาธิปไตยระดับชาติ เพราะความเป็นประชาธิปไตยระดับชาติขึ้นกับความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น เมื่อการเมืองท้องถิ่นไม่เป็นประชาธิปไตย การเมืองระดับชาติก็ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งสะท้อนการเมืองของไทยที่ผ่านมา ที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานพัฒนาแก้ปัญหาตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่ระดับท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) ให้ประชาชน มีการเรียนรู้และศักยภาพพัฒนาสู่การปกครองตนเอง ปกครองกันเอง เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ สู่สังคมอยู่ดีมีสุขและความยั่งยืน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. กระทรวงศึกษาธิการน่าจะมีการทบทวนรื้อฟื้นหรือปฏิรูปกระบวนการจัดการศึกษาด้านประชาธิปไตยเสียใหม่ ทั้งในและนอกระบบตั้งแต่ประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา โดยจะต้องเป็นการจัดการศึกษาที่ถูกต้องเพื่อสร้างหลักคิดให้ถูกต้องสอดคล้องกับหลักคิดประชาธิปไตย ส่งผลต่อการสร้างจิตสำนึกและจิตวิญญาณด้านประชาธิปไตย เช่น ในระดับอุดมศึกษา กำหนดให้ประชาธิปไตยเป็นวิชาพื้นฐานบังคับในทุกหลักสูตรของทุกคณะและสาขาวิชา
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนต่างๆ สภาองค์กรชุมชนทุกภาคส่วนควรหายุทธศาสตร์แปลงหลักคิดที่สามารถสร้างจิตสำนึกหรือจิตวิญญาณประชาธิปไตยที่ถูกต้องขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติโดยดำเนินการที่มีลักษณะเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับท้องถิ่นสู่ระดับชาติ
3. การจัดการเรียนการสอนด้านประชาธิปไตยในสถาบันการศึกษาควรเน้นหนักประวัติความเป็นมาของชาติไทยที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง หลักอุดมการณ์ด้านประชาธิปไตยที่ทำให้ตกผลึกเป็นความรู้ ความเข้าใจ ที่มีจิตสำนึกและจิตวิญญาณ ควรมีการประยุกต์เนื้อหาปรับแก้และพัฒนาลักษณะวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์ไม่สอดคล้องและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไปตามลักษณะบริบทที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิสังคมซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอุดมการณ์ชาติ
4. แนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของรัฐน่าจะบรรจุการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยเฉพาะ วัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) หรือยุทธศาสต์ชาติควบคู่กับเร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้เกิดการขับเคลื่อนที่เกิดผลในทางปฏิบัติเพื่อสร้างเสริมพลังอำนาจ (empowerment) ให้แก่ประชาชนส่งผลต่อการปกครองท้องถิ่นและการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นให้มีศักยภาพ การปกครองตนเองและปกครองกันเอง เสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่การพัฒนาประชาธิปไตยระดับชาติโดยภาพรวม
5. ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนภาคใต้มีลักษณะทวิลักษณ์ (Dualistic) คือมีทั้งส่วนที่ช่วยเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย เช่น การต่อต้านการปกครองที่มีลักษณะเจ้าขุนมูลนาย การไม่ยอมให้ใครชักจูงโดยขาดเหตุผล และการรักศรัทธาใครแล้วจะรักศรัทธาตลอดไปหากไม่มีอะไรเสียหายมากนักเป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ควรพัฒนาต่อไป แต่ก็มีหลายลักษณะที่ไม่สอดคล้องและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เช่น การไม่ยุ่งสิทธิคนอื่นแม้ทำไม่ถูกต้อง การยึดตัวบุคคลมากกว่าหลักการ การทำผิดระเบียบ กฎเกณฑ์ถือเป็นคนมีประสบการณ์ คนฉลาดจะไม่ทำตามกฎระเบียบ การได้สิทธิพิเศษคืออำนาจบารมี การเชื่อว่าระบบเส้นสาย การกินโกงมีทุกวงการเราไม่ทำก็สู้คนอื่นไม่ได้ การกินโกงเป็นเรื่องปกติของนักการเมืองขอเพียงให้ทำงานให้ประชาชนบ้าง พรรคพวกช่วยได้ทุกอย่างแม้ไม่ถูกต้อง ไม่พูดไม่วิจารณ์คนที่เราเลือกเมื่อผิดพลาด การไปเลือกตั้งตามหน้าที่มากกว่าจิตสำนึก มีคนให้เงินในการเลือกตั้งจะรับและลงคะแนนให้เพราะถือว่าเป็นการแสดงความจริงใจและซื่อสัตย์ต้องตอบแทน และการเมืองแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตไม่ได้ จากลักษณะความเชื่อดังกล่าวไม่สอดคล้องและเป็นอุปสรรคกับการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยซึ่งเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งหายุทธศาสตร์และยุทธวิธีแปลงเป็นโครงการและกิจกรรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ ปลูกฝังหลักคิด ปรับและพัฒนาวัฒนธรรมดังกล่าวให้เป็นหลักคิดที่ถูกต้อง ส่งผลต่อจิตสำนึกและจิตวิญญาณประชาธิปไตยที่ถูกต้องด้วย
ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ควรเริ่มจากการให้การศึกษาที่ถูกต้องตั้งแต่การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ ความหมาย หลักอุดมการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติทางการเมืองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมและการพัฒนาการเมืองจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับชาติ
2. การจัดการศึกษาหรือฝึกอบรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกระบบในระดับพื้นที่ ควรมีการวิเคราะห์หลักสูตรและเทคนิควิธีให้สอดคล้องกับบริบทและภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่หรือภูมิภาค ประยุกต์ปรับแก้และพัฒนาลักษณะวัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่มีกระบวนการลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับปฏิบัติการควรเร่งให้ความรู้ สร้างความเข้าใจถึงความหมายและความสัมพันธ์ของการเมืองที่ส่งผลต่อการสร้างความเข้าใจการเมืองกับการแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตให้เห็นว่าการเมืองคือ วิถีชีวิต ประชาธิปไตยคือการปกครองที่มาจากประชาชน รัฐที่ดีต้องมาจากประชาชนที่ดี ทำให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญของการเมืองกับการดำเนินชีวิตปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนาทางการเมือง
4. ในส่วนของระบบนั้นหน่วยงานหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องควรปรับแก้กฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนและสาธารณะให้มากกว่าผลประโยชน์นักการเมืองและพรรคการเมือง เช่น ความไม่ชัดเจนของขอบเขตและการตีความกฎหมายเสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคมของรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 63 คำว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ มีความหมายและขอบเขตเพียงใด อะไรทำได้ทำไม่ได้ เป็นต้น โดยอาจมีระเบียบหรือกฎหมายประกอบมารองรับ
5. หน่วยงานที่ดำเนินการระดับพื้นที่ ควรจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Mapping) เพื่อหาความเชื่อมโยงโดยที่การจัดทำยุทธศาสตร์อาจนำไปสู่การแก้ปัญหายุทธศาสตร์อื่นๆ ได้ด้วย และควรบริหารจัดการเชิงบูรณาการตั้งแต่บูรณาการยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ แผน โครงการ ตัวบุคคล เงินงบประมาณ และการติดตามประเมินผลของระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับระดับชาติ อาจประยุกต์หลักการ “PDCA” มาปรับใช้เพราะปัญหาแต่ละด้านจะต้องใช้เวลาพัฒนาการคิด ทำ เช็คผล และปรับแก้หลาย ๆ ครั้ง
บทส่งท้าย
องค์ประกอบของการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย มี 3 ส่วนที่จะต้องพัฒนาไปพร้อมกัน ส่วนแรก คือการพัฒนาคน (ประชาชนในประเทศ) ได้แก่ อุดมการณ์ หลักความเชื่อหรือปรัชญาของประชาธิปไตย วิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ส่วนที่สองได้แก่ ระบบ อันได้แก่ สถาบันการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญ กลไกรัฐ (ระบบราชการ) กลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง ท่ามกลางส่วนที่สาม คือ ประเทศไทยในบริบทโลกทุนนิยมไร้พรมแดน เกือบ 80 ปีของการที่ระบบประชาธิปไตย ที่เป็นปรัชญาหลักความเชื่ออุดมการณ์พื้นฐานโลกตะวันตก มาทำการติดตาเสียบยอดสังคมและความเป็นไทย ที่มีประวัติศาสตร์ชาติอันยาวนาน เป็นต้นไม้พื้นเมืองดั้งเดิม แต่ต้นไม้ประชาธิปไตยไทยที่ยอดเป็นตะวันตก แต่รากเป็นไทย นั้นโตช้า ต้นแคระแกร็น ดอกผลไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับนานาชาติ ซ้ำยังเป็นปัญหาอุปสรรคต่อ การขับเคลื่อนการพัฒนาด้านอื่น ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาหรือพัฒนาวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา เรามักมุ่งเน้นไปแก้ที่ระบบ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ และมักตกลงหรือลงตัวกันที่ผลประโยชน์ของนักการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ ร่วมคิดตัดสินใจน้อยมาก ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ กรณีการแก้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 1)แล้วผู้คุมอำนาจรัฐไปอธิบายว่า นี่คือทางออกความขัดแย้งของสังคมไทย เป็นต้น ขณะที่คนทางการเมือง (ประชาชน) ส่วนใหญ่ก็อ่อนแอ ขาดความสนใจ ติดตาม ตรวจสอบ ไปเลือกตั้งก็ไปเพราะกลัวเสียสิทธิมากกว่าไปด้วยจิตสำนึก กฎหมายเมืองไทย (ไม่มีข้อมูลว่าทั่วโลกมีกี่ประเทศ) ที่กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ข้อมูลเกี่ยวข้องระหว่างระบบกับคน ถกเถียงโทษกันไปมาคล้าย ไก่กับไข่ ในสภาพความเป็นจริง การพัฒนาคนทางการเมืองอันหมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ หลักปรัชญา อุดมการณ์ และกระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เราก็สอน ฝึกอบรม มีกิจกรรมรณรงค์มากมาย แต่ยังมีปัญหาทางปฏิบัติ และพฤติกรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ผลการวิจัยที่เป็นกรณีศึกษาปี 2552 ดังกล่าวมาก็ยังยืนยันว่า วัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมไทยส่วนใหญ่ยังไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตย ผู้เขียนเชื่อว่า หรือขอยืนยันว่า สังคมการเมืองไทยจะต้องเร่งพัฒนาคน (วัฒนธรรม) ทางการเมืองในอัตราเร่งที่จะต้องมากกว่าการพัฒนาระบบ (รัฐธรรมนูญ) และเชื่อว่าไม่มีระบบใดในโลกที่ดีที่สุด ที่จะแก้ปัญหาด้านคนได้ทั้งหมด จึงควรเร่งพัฒนาคนโดยเฉพาะวัฒนธรรมทางการเมืองให้มากกว่าการคิดแก้แต่ระบบอย่างเดียว
บรรณานุกรม
กมล ทองธรรมชาติ. 2535. การเมืองและการปกครอง. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.
กรมการปกครอง. 2550. พัฒนาการการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
นภาภรณ์ พิพัฒน์. 2550. เปิดโลกความสุข GNH. กรุงเทพฯ : มติชน.
นรนิติ เศรษฐบุตร. 2537. การมีส่วนร่วมทางการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประจิตร มหาหิง. 2529. สังคมวิทยาการเมือง แนวคิดทฤษฎีและแนวทางศึกษา. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประทาน คงฤทธิ์ศึกษาการ. 2539. การพัฒนาเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย และการปฏิรูปการเมือง ในรัฐสภาปีที่ 44 ฉบับที่ 1 เดือน กุมภาพันธ์ 2539. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
มณฑล คงแถวทอง. 2550. สังคมและการเมืองไทยตามแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
วิชัย ตันศิริ. 2547. วัฒนธรรมทางการเมืองและการปฏิรูป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทสุขุมและบุตรจำกัด.
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. 2551. แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2538. การเมือง : แนวคิดและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เอส แอนดิ้ว กราฟฟิค.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2538. ทัศนคติทางการเมืองของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2539. การเมือง : แนวความคิดและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เอส แอนดิ้ว กราฟฟิค.
สิทธิพันธ์ พุทธหุน. 2525. การพัฒนาการเมือง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุรางค์ จันทวานิช. 2547. การวิเคราะห์รัฐบาลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อสิตรา รัตตะมณี. 2540. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะ กรณีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Almond Gabril A and Verba Sidney, 1965. The civic culture : Political Altitudes and Democracy in Five Nations Boston ; Little, Brown and Compares.
Ebeustein, William. 1960. Great Political thinkers. Plato to the Pressut. 3 rd. ed. New York: Halt, Rirehaef and Winstauine.
Huntington. and I.M. Nelson. 1977. No Easy Choice : Political Participation in Developing Countries. Cambridge Harvard University Press.
Locke, John. 1974. Two Treatises of Government. 2 nd ed. London : Cambridge University Press.
Milbrath, Lester W. (1971). Political Participation. New York : University of Buffalo.