ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ม็อบร่ม"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 11: | ||
| | ||
<p style="text-align: center;">'''ภาพ : '''แผนที่จุดชุมนุมประท้วงที่สำคัญในฮ่องกงที่ถูกบันทึกไว้เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2019[[#_ftn3|[3]]]</p> | |||
'''ภาพ : '''แผนที่จุดชุมนุมประท้วงที่สำคัญในฮ่องกงที่ถูกบันทึกไว้เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2019[[#_ftn3|[3]]] | |||
[[File:Umbrella Movement (1).png|center|Umbrella Movement (1).png]] | [[File:Umbrella Movement (1).png|center|Umbrella Movement (1).png]] | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 18: | ||
จุดเริ่มต้นของปฏิวัติร่มของฮ่องกง มาจากการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเริ่มต้นจากเด็กมัธยมปลายกลุ่มหนึ่งที่ก่อตั้งกลุ่มขึ้นใน ปี ค.ศ. 2011 โดยต้องการผลักดันฮ่องกงใน 3 ด้าน ได้แก่ นโยบายด้านเยาวชน นโยบายด้านการศึกษาของฮ่องกง และการปฏิรูปทางการเมือง จุดยืนสำคัญของพวกเขา คือ การต่อสู้เรียกร้องให้ปกป้องนโยบายการศึกษาของฮ่องกงไม่ให้รัฐบาลจีนเข้ามาแทรกแซง ซึ่งนโยบายการศึกษาแบบจีนมีลักษณะวิชาที่เน้น ศีลธรรม และนโยบายแห่งชาติ ตามแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน การต่อสู้ถูกยกระดับเป็นการต่อสู้กับรัฐบาลฮ่องกงโดยตรงและได้รับชัยชนะ แต่แม้จะรับชัยชนะในเรื่องหลักสูตรฯ แล้ว นักเรียนกลุ่มดังกล่าวยังคงรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องและทำกิจกรรมทางการเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองอย่างเป็นประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง | จุดเริ่มต้นของปฏิวัติร่มของฮ่องกง มาจากการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเริ่มต้นจากเด็กมัธยมปลายกลุ่มหนึ่งที่ก่อตั้งกลุ่มขึ้นใน ปี ค.ศ. 2011 โดยต้องการผลักดันฮ่องกงใน 3 ด้าน ได้แก่ นโยบายด้านเยาวชน นโยบายด้านการศึกษาของฮ่องกง และการปฏิรูปทางการเมือง จุดยืนสำคัญของพวกเขา คือ การต่อสู้เรียกร้องให้ปกป้องนโยบายการศึกษาของฮ่องกงไม่ให้รัฐบาลจีนเข้ามาแทรกแซง ซึ่งนโยบายการศึกษาแบบจีนมีลักษณะวิชาที่เน้น ศีลธรรม และนโยบายแห่งชาติ ตามแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน การต่อสู้ถูกยกระดับเป็นการต่อสู้กับรัฐบาลฮ่องกงโดยตรงและได้รับชัยชนะ แต่แม้จะรับชัยชนะในเรื่องหลักสูตรฯ แล้ว นักเรียนกลุ่มดังกล่าวยังคงรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องและทำกิจกรรมทางการเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองอย่างเป็นประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง | ||
ต่อมาใน ปี ค.ศ. 2014 นักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้ชูประเด็นการเรียกร้องที่สำคัญ คือ การเสนอชื่อผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง พวกเขาเชื่อว่าผู้นำฮ่องกงควรมาจากการเสนอชื่อจากประชาชนฮ่องกงเท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมา บุคคลที่จะถูกนำมาเลือกตั้งนั้นจะถูกคัดเลือกมาแล้วโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผลของความไม่พอใจของประชาชนได้เกิดการประท้วงที่ถูกเรียกว่า '''“ยึดพื้นที่ใจกลางเกาะฮ่องกงด้วยความรักและสันติภาพ”''' ซึ่งใช้เวลาในการประท้วงรวม ระยะเวลา 79 วัน และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 500,000 คน โดยกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าพ่นสีและบุกทำลายเข้าไปใกล้บริเวณจัตุรัสซีวิคใกล้กับศูนย์ราชการ และเกิดการปะทะกับตำรวจ ซึ่งใช้สเปรย์พริกไทยและโล่กระบองต่อสู้กับผู้ชุมนุม ผู้ชุมนุมนั้นไม่มีอาวุธมีเพียงร่มที่ใช้ป้องกันสเปรย์พริกไทยและแก๊สน้ำตา ร่มจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการปกป้องคุ้มครอง ถือเป็นการประยุกต์สิ่งของในชีวิตประจำวันเป็นเกราะกำบัง และถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการปฏิวัติร่วมอย่างเป็นทางการ ประกอบกับเมื่อภาพผู้ชุมนุมที่ต้องปกป้องตัวเองจากเจ้าหน้าที่รัฐถูกเผยแพร่ออกไป ยิ่งปลุกให้ประชาชนออกมาร่วมชุมนุมมากขึ้น จากการยึดพื้นที่ย่านเซ็นทรัล ก็ขยายตัวเข้ายึดพื้นที่สำคัญต่าง ๆ ในเกาะฮ่องกง[[#_ftn4|[4]]] รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม | ต่อมาใน ปี ค.ศ. 2014 นักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้ชูประเด็นการเรียกร้องที่สำคัญ คือ การเสนอชื่อผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง พวกเขาเชื่อว่าผู้นำฮ่องกงควรมาจากการเสนอชื่อจากประชาชนฮ่องกงเท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมา บุคคลที่จะถูกนำมาเลือกตั้งนั้นจะถูกคัดเลือกมาแล้วโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผลของความไม่พอใจของประชาชนได้เกิดการประท้วงที่ถูกเรียกว่า '''“ยึดพื้นที่ใจกลางเกาะฮ่องกงด้วยความรักและสันติภาพ”''' ซึ่งใช้เวลาในการประท้วงรวม ระยะเวลา 79 วัน และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 500,000 คน โดยกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าพ่นสีและบุกทำลายเข้าไปใกล้บริเวณจัตุรัสซีวิคใกล้กับศูนย์ราชการ และเกิดการปะทะกับตำรวจ ซึ่งใช้สเปรย์พริกไทยและโล่กระบองต่อสู้กับผู้ชุมนุม ผู้ชุมนุมนั้นไม่มีอาวุธมีเพียงร่มที่ใช้ป้องกันสเปรย์พริกไทยและแก๊สน้ำตา ร่มจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการปกป้องคุ้มครอง ถือเป็นการประยุกต์สิ่งของในชีวิตประจำวันเป็นเกราะกำบัง และถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการปฏิวัติร่วมอย่างเป็นทางการ ประกอบกับเมื่อภาพผู้ชุมนุมที่ต้องปกป้องตัวเองจากเจ้าหน้าที่รัฐถูกเผยแพร่ออกไป ยิ่งปลุกให้ประชาชนออกมาร่วมชุมนุมมากขึ้น จากการยึดพื้นที่ย่านเซ็นทรัล ก็ขยายตัวเข้ายึดพื้นที่สำคัญต่าง ๆ ในเกาะฮ่องกง[[#_ftn4|[4]]] รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม ร้านค้าสีเหลือง (Yellow Economic Circle) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการประท้วง[[#_ftn5|[5]]] อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้รับการยินยอมจากรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่และถูกตอบโต้ด้วยการใช้วิธีจับกุมกักขังและการกวาดล้างผู้เห็นต่าง[[#_ftn6|[6]]] ศาลฮ่องกงตัดสินให้นักเคลื่อนไหวที่เป็นแนวร่วมเคลื่อนไหวร่มเหลืองใน ปี ค.ศ. 2014 มีความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณะ[[#_ftn7|[7]]] รวมทั้งข้อหาขัดขวางเจ้าหน้าที่ตำรวจและละเมิดอำนาจศาล | ||
| | ||
<p style="text-align: center;">'''ภาพ :''' การประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง หรือ '''“ขบวนการปฏิวัติร่ม”''' [[#_ftn8|[8]]]</p> | |||
'''ภาพ :''' การประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง หรือ '''“ขบวนการปฏิวัติร่ม”''' [[#_ftn8|[8]]] | |||
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 100px; width: 800px;" | {| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 100px; width: 800px;" | ||
|- | |- | ||
บรรทัดที่ 45: | บรรทัดที่ 41: | ||
มารินี สุวรรณโมลี.(2562). “บทวิเคราะห์ปัญหาการประท้วงในฮ่องกง”. สืบค้นจาก [http://thaigovscholars.org/wp-content/uploads/13-บทวิเคราะห์ปัญหาการประท้วงในฮ่องกง.pdf http://thaigovscholars.org/wp-content/uploads/13-บทวิเคราะห์ปัญหาการประท้วงในฮ่องกง.pdf] (25 กรกฎาคม 2564). | มารินี สุวรรณโมลี.(2562). “บทวิเคราะห์ปัญหาการประท้วงในฮ่องกง”. สืบค้นจาก [http://thaigovscholars.org/wp-content/uploads/13-บทวิเคราะห์ปัญหาการประท้วงในฮ่องกง.pdf http://thaigovscholars.org/wp-content/uploads/13-บทวิเคราะห์ปัญหาการประท้วงในฮ่องกง.pdf] (25 กรกฎาคม 2564). | ||
Stephan Ortmann.(2015).“ขบวนการร่ม” ในฮ่องกง: จากประเด็นปัญหาด้านเศรษฐกิจถึงการปฏิเสธลัทธินิยมวัตถุ”, | Stephan Ortmann.(2015).“ขบวนการร่ม” ในฮ่องกง: จากประเด็นปัญหาด้านเศรษฐกิจถึงการปฏิเสธลัทธินิยมวัตถุ”, Kyoto Review of Southeast Asia, Issue 17 (March). สืบค้นจาก [https://kyotoreview.org/ภาษาไทย/ขบวนการร่ม-ในฮ่องกง-จ/ https://kyotoreview.org/ภาษาไทย/ขบวนการร่ม-ในฮ่องกง-จ/] (25 กรกฎาคม 2564). | ||
Wong, Benson & Chung, Sanho. (2016). “Scholarism and Hong Kong Federation of Students: Comparative Analysis of Their Developments after the Umbrella Movement”. | Wong, Benson & Chung, Sanho. (2016). “Scholarism and Hong Kong Federation of Students: Comparative Analysis of Their Developments after the Umbrella Movement”. Contemporary Chinese Political Economy and Strategic Relations. (2). Pp.865-884. | ||
| | ||
บรรทัดที่ 80: | บรรทัดที่ 76: | ||
</div> <div id="ftn14"> | </div> <div id="ftn14"> | ||
[[#_ftnref14|[14]]] “ประท้วงฮ่องกง : เหตุใดเยาวชนรุ่นใหม่จึงกล้าลุกขึ้นงัดข้อกับทางการ”, สืบค้นจาก [https://www.bbc.com/thai/international-48668551(25 https://www.bbc.com/thai/international-48668551(25] กรกฎาคม 2564). | [[#_ftnref14|[14]]] “ประท้วงฮ่องกง : เหตุใดเยาวชนรุ่นใหม่จึงกล้าลุกขึ้นงัดข้อกับทางการ”, สืบค้นจาก [https://www.bbc.com/thai/international-48668551(25 https://www.bbc.com/thai/international-48668551(25] กรกฎาคม 2564). | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] | |||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:09, 15 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
ม็อบร่ม คือ การใช้ร่มเป็นสัญลักษณ์ในการประท้วงและใช้เป็นอุปกรณ์ในการป้องกันตัว โดยมีต้นกำเนิดจากขบวนการประชาธิปไตยฮ่องกง หรือ “ขบวนการปฏิวัติร่ม” ซึ่งใช้ร่มสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงที่หมายถึงการต่อต้านแบบไม่โต้ตอบภายใต้ชื่อ Umbrella Movement กล่าวได้ว่า ขบวนการปฏิวัติร่มถูกยกขึ้นเป็นต้นแบบแห่งการปฏิวัติยุคใหม่มาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2014 ภายใต้ข้อเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งผู้ว่าการเกาะฮ่องกงโดยตรงโดยที่ไม่ถูกแทรกแซงจากรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่[1]
เหตุการณ์ความไม่สงบในฮ่องกงเกิดขึ้น เมื่อฮ่องกงถูกส่งมอบคืนจากการปกครองของอังกฤษเมื่อ ปี ค.ศ. 1997 ภายใต้ข้อตกลงพิเศษที่ว่า รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่จะปกครองฮ่องกงแบบ “หนึ่งประเทศสองระบบ” โดยชาวฮ่องกงจะมีเสรีภาพบางประการ เช่น เสรีภาพในการรวมตัวและแสดงความคิดเห็น มีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระ และมีสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย แต่ชาวฮ่องกงบางส่วนกังวลว่าอิทธิพลของจีนเหนือฮ่องกงที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ จะทำลายสิทธิและเสรีภาพจนหมดสิ้นไป[2]
ภาพ : แผนที่จุดชุมนุมประท้วงที่สำคัญในฮ่องกงที่ถูกบันทึกไว้เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2019[3]

จุดเริ่มต้นของปฏิวัติร่มของฮ่องกง มาจากการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเริ่มต้นจากเด็กมัธยมปลายกลุ่มหนึ่งที่ก่อตั้งกลุ่มขึ้นใน ปี ค.ศ. 2011 โดยต้องการผลักดันฮ่องกงใน 3 ด้าน ได้แก่ นโยบายด้านเยาวชน นโยบายด้านการศึกษาของฮ่องกง และการปฏิรูปทางการเมือง จุดยืนสำคัญของพวกเขา คือ การต่อสู้เรียกร้องให้ปกป้องนโยบายการศึกษาของฮ่องกงไม่ให้รัฐบาลจีนเข้ามาแทรกแซง ซึ่งนโยบายการศึกษาแบบจีนมีลักษณะวิชาที่เน้น ศีลธรรม และนโยบายแห่งชาติ ตามแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน การต่อสู้ถูกยกระดับเป็นการต่อสู้กับรัฐบาลฮ่องกงโดยตรงและได้รับชัยชนะ แต่แม้จะรับชัยชนะในเรื่องหลักสูตรฯ แล้ว นักเรียนกลุ่มดังกล่าวยังคงรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องและทำกิจกรรมทางการเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองอย่างเป็นประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง
ต่อมาใน ปี ค.ศ. 2014 นักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้ชูประเด็นการเรียกร้องที่สำคัญ คือ การเสนอชื่อผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง พวกเขาเชื่อว่าผู้นำฮ่องกงควรมาจากการเสนอชื่อจากประชาชนฮ่องกงเท่านั้น เนื่องจากที่ผ่านมา บุคคลที่จะถูกนำมาเลือกตั้งนั้นจะถูกคัดเลือกมาแล้วโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผลของความไม่พอใจของประชาชนได้เกิดการประท้วงที่ถูกเรียกว่า “ยึดพื้นที่ใจกลางเกาะฮ่องกงด้วยความรักและสันติภาพ” ซึ่งใช้เวลาในการประท้วงรวม ระยะเวลา 79 วัน และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 500,000 คน โดยกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าพ่นสีและบุกทำลายเข้าไปใกล้บริเวณจัตุรัสซีวิคใกล้กับศูนย์ราชการ และเกิดการปะทะกับตำรวจ ซึ่งใช้สเปรย์พริกไทยและโล่กระบองต่อสู้กับผู้ชุมนุม ผู้ชุมนุมนั้นไม่มีอาวุธมีเพียงร่มที่ใช้ป้องกันสเปรย์พริกไทยและแก๊สน้ำตา ร่มจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการปกป้องคุ้มครอง ถือเป็นการประยุกต์สิ่งของในชีวิตประจำวันเป็นเกราะกำบัง และถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการปฏิวัติร่วมอย่างเป็นทางการ ประกอบกับเมื่อภาพผู้ชุมนุมที่ต้องปกป้องตัวเองจากเจ้าหน้าที่รัฐถูกเผยแพร่ออกไป ยิ่งปลุกให้ประชาชนออกมาร่วมชุมนุมมากขึ้น จากการยึดพื้นที่ย่านเซ็นทรัล ก็ขยายตัวเข้ายึดพื้นที่สำคัญต่าง ๆ ในเกาะฮ่องกง[4] รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม ร้านค้าสีเหลือง (Yellow Economic Circle) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการประท้วง[5] อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้รับการยินยอมจากรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่และถูกตอบโต้ด้วยการใช้วิธีจับกุมกักขังและการกวาดล้างผู้เห็นต่าง[6] ศาลฮ่องกงตัดสินให้นักเคลื่อนไหวที่เป็นแนวร่วมเคลื่อนไหวร่มเหลืองใน ปี ค.ศ. 2014 มีความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณะ[7] รวมทั้งข้อหาขัดขวางเจ้าหน้าที่ตำรวจและละเมิดอำนาจศาล
ภาพ : การประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง หรือ “ขบวนการปฏิวัติร่ม” [8]
![]() |
![]() |
![]() |
เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2016 ฝ่ายประชาธิปไตยในฮ่องกงประกอบด้วย กลุ่มนักเรียนผู้ปฏิบัติการเชิงรุก (Scholarism) โดยมี โจชัว หว่อง (Joshua Wong) เป็นแกนนำคนสำคัญ[9] กลุ่มสมาพันธ์นักศึกษาฮ่องกง (The Hong Kong Federation of Students :HKFS) นำโดย นายอเล็กซ์ ชอว์ (Alex Chow) และ เลสเตอร์ ชัม (Lester Shum) และกลุ่มยึดเซ็นทรัลด้วยความรักและสันติภาพ (Occupy Central with Love and Peace : OCLP) นำโดยเบนนี ไท (Benny Tai) ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายและนักกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตย และ Chan Kin-man (ชาน คิน-แมน) ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยา[10] ที่แม้กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้จะมีจุดเน้นในการผลักดันที่ต่างกัน แต่กลุ่มเหล่านี้เชื่อร่วมกันในการเรียกร้องประชาธิปไตยได้ตัดสินใจตั้งพรรคการเมืองในชื่อ “เดโมซิสโต (Demosistō)” และได้ประกาศยุบพรรคในเวลาต่อมา เมื่อวันอังคารที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2020 หลังจากสภาประชาชนจีนผ่านกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่สำหรับใช้ในฮ่องกง เพื่อจัดการกับพฤติกรรมการแบ่งแยกดินแดน ล้มล้างการปกครอง ก่อการร้ายและสมคบกับกองกำลังต่างชาติ[11]
แม้การปฏิวัติร่มของฮ่องกง ยังไม่สามารถทำให้รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ยอมโอนอ่อนและปฏิบัติตามคำเรียกร้องของพวกผู้ชุมนุมได้[12] นอกจากนี้แกนนำของขบวนการเคลื่อนไหวยังถูกพิพากษาจำคุกในข้อหาต่าง ๆ และถูกตัดสิทธิลงรับสมัครเลือกตั้ง[13] เป็นต้น แต่กล่าวได้ว่าได้ก่อให้เกิดกระแสตื่นตัวทางการเมืองในหมู่คนหนุ่มสาวชาวฮ่องกง จนทำให้หลายคนผันตัวไปเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย หรือแม้แต่ได้รับเลือกในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติแห่งเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2016 รวมทั้งการประท้วงของขบวนการร่มเหลืองได้ทิ้งมรดกแห่งการต่อสู้และเป็นบทเรียนให้แก่บรรดาผู้ประท้วงในปัจจุบัน[14]
บรรณานุกรม
มารินี สุวรรณโมลี.(2562). “บทวิเคราะห์ปัญหาการประท้วงในฮ่องกง”. สืบค้นจาก http://thaigovscholars.org/wp-content/uploads/13-บทวิเคราะห์ปัญหาการประท้วงในฮ่องกง.pdf (25 กรกฎาคม 2564).
Stephan Ortmann.(2015).“ขบวนการร่ม” ในฮ่องกง: จากประเด็นปัญหาด้านเศรษฐกิจถึงการปฏิเสธลัทธินิยมวัตถุ”, Kyoto Review of Southeast Asia, Issue 17 (March). สืบค้นจาก https://kyotoreview.org/ภาษาไทย/ขบวนการร่ม-ในฮ่องกง-จ/ (25 กรกฎาคม 2564).
Wong, Benson & Chung, Sanho. (2016). “Scholarism and Hong Kong Federation of Students: Comparative Analysis of Their Developments after the Umbrella Movement”. Contemporary Chinese Political Economy and Strategic Relations. (2). Pp.865-884.
อ้างอิง
[1] “ประมวลภาพ: ม็อบร่มเหลืองในฮ่องกงประท้วงร่าง กม.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน”, สืบค้นจาก URL https://themomentum.co/hongkong-protest-against-china-extradition-law-photo/ (25 กรกฎาคม 2564).
[2] “โจชัว หว่อง: แกนนำเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงประกาศสู้ต่อ แม้ว่าจะถูกศาลตัดสินจำคุก”, สืบค้นจาก URL https://www.bbc. com/thai/international-55039959(25 กรกฎาคม 2564).
[3] “Locations of all the major protests since June 9 ”, Retrieved from URL https://www.reddit.com/r/HongKong/ comments/ ciovob/locations_of_all_the_major_protests_since_june_9/(25 July 2021).
[4] “ปรากฏการณ์ ‘โจชัว หว่อง’ เมื่อคนรุ่นใหม่ปะทะมหาอำนาจ”, สืบค้นจาก URL https://themomentum.co/joshua-wong-phenomenon/(25 กรกฎาคม 2564).
[5] “How the Yellow Economic Circle Can Revolutionize Hong Kong”, Retrieved from URL https://thediplomat.com/ 2020/05/how-the-yellow-economic-circle-can-revolutionize-hong-kong/(25 July 2021).
[6] “ม็อบร่มฮ่องกง สู่ม็อบคณะราษฎรไทย สถานีต่อไป #ถ้าการเมืองลาวดี”, สืบค้นจาก URL https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-540991(25 กรกฎาคม 2564).
[7] “ศาลฮ่องกงตัดสิน ให้ นักเคลื่อนไหว ‘ม็อบร่ม’ 9 คน มีความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณะ”, สืบค้นจาก URL https://www.bbc.com/thai/international-47865571(25 กรกฎาคม 2564).
[8] “A refresher course on Hong Kong’s 2014 Umbrella Movement”, Retrieved from URL https://qz.com/1714897/what-was-hong-kongs-umbrella-movement-about/ (25 July 2021).
[9] “Scholarism”, Retrieved from URL https://socialmovements.trinity.duke.edu/groups/scholarism(25 July 2021).
[10] “Explainer: What was Hong Kong's 'Occupy' movement all about? ”, Retrieved from URL https://www.reuters.com/ article/us-hongkong-politics-occupy-explainer-idUSKCN1S005M(25 July 2021).
[11] “Weekend Focus: จีนผ่าน ‘กม.ความมั่นคงแห่งชาติ’ กระชับวงล้อมฮ่องกง ‘โจชัว หว่อง’ ผวาลาออก-ยุบพรรคปชต. ‘เดโมซิสโต’ ”, สืบค้นจาก https://mgronline.com/around/detail/9630000068665(25 กรกฎาคม 2564).
[12] “พลัง “ม็อบร่ม” ในฮ่องกงสร้างความเปลี่ยนแปลงได้แค่ไหน”, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/international-38290520(25 กรกฎาคม 2564).
[13] “ศาลฮ่องกงตัดสินจำคุกโจชัว หว่อง 6 เดือน”, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/international-40958065(25 กรกฎาคม 2564).
[14] “ประท้วงฮ่องกง : เหตุใดเยาวชนรุ่นใหม่จึงกล้าลุกขึ้นงัดข้อกับทางการ”, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/international-48668551(25 กรกฎาคม 2564).