ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 70: บรรทัดที่ 70:
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สุทธิมาตร จันทร์แดง. <b>พระราชบัญญัติการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551.</b> จุลนิติ ก.ค. - ส.ค. 52. หน้า 1 - 9.</p>
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สุทธิมาตร จันทร์แดง. <b>พระราชบัญญัติการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551.</b> จุลนิติ ก.ค. - ส.ค. 52. หน้า 1 - 9.</p>


<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดทะทรวงมหาดไทย. <b>การจัดองค์กรและโครงสร้างการบริหารงานตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน พ.ศ. 2551.</b> จาก <a alt="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" href="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" title="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf">http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf</a></p>
<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดทะทรวงมหาดไทย. <b>การจัดองค์กรและโครงสร้างการบริหารงานตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน พ.ศ. 2551.</b> จาก &lt;a alt=&quot;<a alt="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" href="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" title="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf">http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf</a>&quot; href=&quot;<a alt="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" href="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" title="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf">http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf</a>&quot; title=&quot;<a alt="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" href="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" title="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf">http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf</a>&quot;&gt;<a alt="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" href="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" title="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf">http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf</a>&lt;/a&gt;</p>


<p>&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
บรรทัดที่ 78: บรรทัดที่ 78:
<p>&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>


<p><span _fcknotitle="true" class="fck_mw_category" contenteditable="false">การบริหารราชการแผ่นดิน</span> <span _fcknotitle="true" class="fck_mw_category" contenteditable="false">ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน</span></p>
<p><span class="fck_mw_category">การบริหารราชการแผ่นดิน</span> <span class="fck_mw_category">ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน</span></p>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:14, 15 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

 

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551

ความเป็นมาของกฎหมาย

          จากปัญหาการก่อให้เกิดความไม่มั่งคงในราชอาณาจักร จากการกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความรุนแรง ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ และเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกันและระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงสมควรกำหนดให้มี “หน่วยปฏิบัติงานหลัก” เพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาความมั่นคง รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ และในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และกำหนดให้มีมาตรการและกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ  

          พระราชบัญญัติการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ถือเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ใหม่เพิ่มเติมจากพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ด้วยความมุ่งหมายให้อำนาจแก่คณะรัฐมนตรีในการจัดตั้ง “กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)” เป็นหน่วยงานหลักทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกันปราบปราม ระงับยับยั้ง และแก้ไข หรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ต้องเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเป็นเหตุการณ์อันมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไป หากเหตุการณ์มีความรุนแรงขึ้นนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีอำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ สถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขต บางท้องที่ตามความจำเป็น โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 กฎหมายทั้งสองฉบับจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็นอย่างมาก

สาระสำคัญของกฎหมาย

1. ความหมายของการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร

          “การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อป้องกัน ควบคุม แก้ไข และฟื้นฟูสถานการณ์ใดที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ รวมถึงในกรณีที่เกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้กลับสู่สภาวะปกติเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ

2. การจัดตั้งองค์กรและโครงสร้างการบริหารงานเพื่อรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร

          2.1 การจัดตั้งหน่วยงานตามกฎหมาย

          กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้ง 

               1) “กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.” เป็นหน่วยงานที่สังกัด “สำนักนายกรัฐมนตรี” มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงานและอำนาจหน้าที่ของส่วนงาน และอัตรากำลัง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (มาตรา 5 วรรคหนึ่งและวรรคสอง) กอ.รมน.ถือเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง (มาตรา 6)

               2) “กอ.รมน.ภาค” เมื่อมีกรณีจำเป็นในอันที่จะรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในพื้นที่ของกองทัพภาคใด คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรโดยคำเสนอแนะของ ผอ.รมน. จะมีมติให้กองทัพภาคนั้นจัดให้มีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.ภาค”
ก็ได้ (มาตรา 11)

               3) “กอ.รมน.จังหวัด” กฎหมายกำหนดให้ ผอ.รมน.ภาค โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้อำนวยการจะตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.จังหวัด” ขึ้นในจังหวัดที่อยู่ในเขตของกองทัพภาคเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ กอ.รมน.ภาค ก็ได้ ให้ทำหน้าที่ในการสนับสนุน ช่วยเหลือ และปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.ภาค (มาตรา 13)

          2.2 การจัดตั้งองค์กรตามกฎหมาย

               1) ผู้บังคับบัญชาภายใน กอ.รมน. ตำแหน่งบริหารงานภายใน กอ.รมน. กฎหมายกำหนดให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็น “ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร”  เรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน. และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน. โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็น “รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” โดย ผอ.รมน. อาจแต่งตั้ง “ผู้ช่วยผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” และ ให้เสนาธิการทหารบกเป็น “เลขาธิการ กอ.รมน.” มีหน้าที่รับผิดชอบงานอำนวยการและธุรการของ กอ.รมน. (มาตรา 5 วรรคสาม วรรคสี่ และ วรรคห้า)

          ผู้บังคับบัญชาภายใน กอ.รมน.ภาค กฎหมายกำหนดให้แม่ทัพภาคเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.ภาค” มีหน้าที่รับผิดชอบและสนับสนุนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

          ผู้บังคับบัญชาภายใน กอ.รมน.จังหวัด กฎหมายกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.จังหวัด” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน.จังหวัด

               2) คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ให้มีคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรคณะหนึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย อัยการสูงสุด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นกรรมการ และเลขาธิการ กอ.รมน. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งข้าราชการใน กอ.รมน. เป็นผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน (มาตรา 10)

          2.3 อำนาจหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในภาวะปกติ กอ.รมน. มีอำนาจดำเนินการตามมาตรา 7 โดยสรุป คือ ติดตาม ตรวจสอบ ประสานงาน และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ทั้งภายในและนอกราชอาณาจักร ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อำนวยการในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมทั้ง มีอำนาจในการกำกับการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และ เสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและความสงบเรียบร้อยของสังคม

          ในภาวะไม่ปกติ กล่าวคือ ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน คณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้นภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้  ทั้งนี้ ให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วไป (มาตรา 15)

          เมื่อ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลปรากฎการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแล้วกฎหมายจึงกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมขึ้นจากภาวะปกติตามมาตรา 16 คือ อำนาจในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยการจัดทำแผนการดำเนินการเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบ พร้อมทั้งกำกับ ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการหรือบูรณาการในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด และมีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรหรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรออกจากพื้นที่ที่กำหนด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ผอ.รมน. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออก “ข้อกำหนด” เพิ่มเติมได้ตามมาตรา 18 เช่น ห้ามออกนอกเคหสถาน ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือใช้ยานพาหนะ ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน ห้ามเข้าพื้นที่หรือให้ออกจากพื้นที่หรือสถานที่ที่กำหนด เป็นต้น

           นอกจากนี้ กฎหมายยังให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ใน กอ.รมน. เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้น หรือมีมติให้หน่วยงานของรัฐนั้นมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายในเรื่องนั้นให้ กอ.รมน. ดำเนินการแทนได้ (มาตรา 16 วรรคท้าย)

 

บทกำหนดโทษ

          ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามมาตรา 18 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 24) อย่างไรก็ดี หากเป็นการกระทำผิดเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กฎหมายได้เปิดโอกาสให้ผู้นั้นกลับตัวอันจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พนักงานสอบสวนสามารถส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นไปให้ ผอ.รมน. เพื่อพิจารณาและหาก ผอ.รมน.เห็นด้วย ให้ส่งไปพนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล หากศาลเห็นสมควรศาลอาจสั่งให้ส่งผู้ต้องหานั้นให้ ผอ.รมน. เพื่อเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือนและปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่ศาลกำหนดก็ได้ (มาตรา 21) โดยการดำเนินคดีใด ๆ อันเนื่องมาจากข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำใด ๆ ให้อยู่ในอำนาจของ “ศาลยุติธรรม” (มาตรา 23)

 

บรรณานุกรม

          ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125/ตอนที่ 39 ก/หน้า 33/27 กุมภาพันธ์ 2551. พระราชบัญญัติการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551.

          ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134/ตอนพิเศษ 285 ง/หน้า 13/22 พฤศจิกายน 2560. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 51/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร.

 

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

          สุทธิมาตร จันทร์แดง. พระราชบัญญัติการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551. จุลนิติ ก.ค. - ส.ค. 52. หน้า 1 - 9.

          สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดทะทรวงมหาดไทย. การจัดองค์กรและโครงสร้างการบริหารงานตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน พ.ศ. 2551. จาก <a alt="<a alt="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" href="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" title="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf">http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf</a>" href="<a alt="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" href="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" title="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf">http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf</a>" title="<a alt="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" href="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" title="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf">http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf</a>"><a alt="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" href="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf" title="http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf">http://www.law.moi.go.th/pdf/%E2%A4%C3%A7%CA%C3%E9%D2%A72.pdf</a></a>

 

 

 

การบริหารราชการแผ่นดิน ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน