ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
<span style="font-size:x-large;">'''พัฒนาการให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''พัฒนาการให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย'''</span>


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเทศไทยนำแนวความคิดในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมาจากสมาพันธรัฐสวิสเป็นต้นแบบในการบัญญัติ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540]] โดยให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายพร้อมร่างกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน&nbsp;และ[[แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ|แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ]] ต่อรัฐสภาเพื่อให้พิจารณาได้[[#_ftn2|[2]]] รวมถึง ให้สิทธิในการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นพร้อมร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น[[#_ftn3|[3]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเทศไทยนำแนวความคิดในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมาจากสมาพันธรัฐสวิสเป็นต้นแบบในการบัญญัติ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540]] โดยให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายพร้อมร่างกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน&nbsp;และ[[แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ|แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ]] ต่อรัฐสภาเพื่อให้พิจารณาได้[[#_ftn2|[2]]] รวมถึงให้สิทธิในการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นพร้อมร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น[[#_ftn3|[3]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ต่อมาเมื่อประกาศ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550]] ได้แก้ไขเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการเข้าชื่อได้ง่ายขึ้น โดยลดจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากห้าหมื่นคนเหลือจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน[[#_ftn4|[4]]] และให้สิทธิในการลงชื่อเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร&nbsp;สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการออกจากตำแหน่งได้[[#_ftn5|[5]]] รวมถึงลงชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้พ้นจากตำแหน่งได้[[#_ftn6|[6]]] พร้อมทั้งให้สิทธิแก่ประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนสามารถยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย[[#_ftn7|[7]]] จึงทำให้มีการประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 กฎหมายกำหนดให้สิทธิแก่ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิริเริ่มเสนอร่างกฎหมายได้ 2 ประเภท คือ ร่างพระราชบัญญัติ[[#_ftn8|[8]]] และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม[[#_ftn9|[9]]] หลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ต่อมาเมื่อประกาศ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550]] ได้แก้ไขเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการเข้าชื่อได้ง่ายขึ้น โดยลดจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากห้าหมื่นคนเหลือจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน[[#_ftn4|[4]]] และให้สิทธิในการลงชื่อเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร&nbsp;สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการออกจากตำแหน่งได้[[#_ftn5|[5]]] รวมถึงลงชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้พ้นจากตำแหน่งได้[[#_ftn6|[6]]] พร้อมทั้งให้สิทธิแก่ประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนสามารถยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย[[#_ftn7|[7]]] จึงทำให้มีการประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 กฎหมายกำหนดให้สิทธิแก่ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิริเริ่มเสนอร่างกฎหมายได้ 2 ประเภท คือ ร่างพระราชบัญญัติ[[#_ftn8|[8]]] และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม[[#_ftn9|[9]]] หลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564
บรรทัดที่ 26: บรรทัดที่ 26:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 มีทั้งสิ้น 15 มาตรา ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้รักษาการ หลักการของกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 มีทั้งสิ้น 15 มาตรา ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้รักษาการ หลักการของกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''1) ขั้นตอนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย'''
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''1)&nbsp;ขั้นตอนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย'''


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<u>ขั้นตอนแรก</u>&nbsp;: การเริ่มต้นเข้าชื่อเสนอกฎหมายต้องมี '''“ผู้ริเริ่ม”''' คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เริ่มดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ หรือญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน แจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบและให้ประธานรัฐสภาตรวจสอบหลักการ และเนื้อหาของร่างกฎหมายเพื่อแจ้งให้ผู้ริเริ่มทราบภายใน 15 วัน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<u>ขั้นตอนแรก</u>&nbsp;: การเริ่มต้นเข้าชื่อเสนอกฎหมายต้องมี '''“ผู้ริเริ่ม”''' คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เริ่มดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ หรือญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน แจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบและให้ประธานรัฐสภาตรวจสอบหลักการ และเนื้อหาของร่างกฎหมายเพื่อแจ้งให้ผู้ริเริ่มทราบภายใน 15 วัน
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนแล้วให้ ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และจัดเอกสารไว้เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้มีรายชื่อนั้นด้วย[[#_ftn14|[14]]] และให้ประธานรัฐสภาดำเนินการให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย[[#_ftn15|[15]]]'''&nbsp;'''
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนแล้วให้ ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และจัดเอกสารไว้เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้มีรายชื่อนั้นด้วย[[#_ftn14|[14]]] และให้ประธานรัฐสภาดำเนินการให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย[[#_ftn15|[15]]]'''&nbsp;'''


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''2) หลักการเข้าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง'''
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''2)&nbsp;หลักการเข้าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง'''


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเข้าชื่อเสนอร่าพระราชบัญญัติหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมีหลักการ ดังนี้
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเข้าชื่อเสนอร่าพระราชบัญญัติหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมีหลักการ ดังนี้


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1. กำหนดหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดโดยชัดเจน และต้องแบ่งเป็นมาตรา&nbsp;ซึ่งแต่ละมาตรามีบทบัญญัติที่จะเข้าใจได้ว่ามีความประสงค์จะตรากฎหมายในเรื่องใด และต้องมีบันทึกประกอบดังต่อไปนี้[[#_ftn16|[16]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. กำหนดหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดโดยชัดเจน และต้องแบ่งเป็นมาตรา&nbsp;ซึ่งแต่ละมาตรามีบทบัญญัติที่จะเข้าใจได้ว่ามีความประสงค์จะตรากฎหมายในเรื่องใด และต้องมีบันทึกประกอบดังต่อไปนี้[[#_ftn16|[16]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;(1) บันทึกหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (1) บันทึกหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;(2) บันทึกเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (2) บันทึกเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;(3) บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (3) บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2. ในกรณีที่ลายมือชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งหมื่นคน ให้ประธานรัฐสภาแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ริเริ่มทราบเพื่อดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมให้ถึงหนึ่งหมื่นคนภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานรัฐสภา&nbsp;ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวยังมิได้เสนอการเข้าชื่อเพิ่มเติมจนครบถ้วน ให้ประธานรัฐสภาสั่งจําหน่ายเรื่องและคืนเรื่องและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ริเริ่ม[[#_ftn17|[17]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2. ในกรณีที่ลายมือชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งหมื่นคน ให้ประธานรัฐสภาแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ริเริ่มทราบเพื่อดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมให้ถึงหนึ่งหมื่นคนภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานรัฐสภา&nbsp;ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวยังมิได้เสนอการเข้าชื่อเพิ่มเติมจนครบถ้วน ให้ประธานรัฐสภาสั่งจําหน่ายเรื่องและคืนเรื่องและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ริเริ่ม[[#_ftn17|[17]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 3. การเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะเสนอมิได้[[#_ftn18|[18]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;3. การเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะเสนอมิได้[[#_ftn18|[18]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''3) การให้การสนับสนุนจากภาครัฐ'''
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''3) การให้การสนับสนุนจากภาครัฐ'''


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1) การสนับสนุนค่าใช้จ่าย[[#_ftn19|[19]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1.&nbsp;การสนับสนุนค่าใช้จ่าย[[#_ftn19|[19]]]&nbsp;ในการดำเนินการเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้ อาจขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย จากกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยสภาพัฒนาการเมืองได้


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ในการดำเนินการเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้ อาจขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย จากกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยสภาพัฒนาการเมืองได้
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp; &nbsp; '''&nbsp;'''2.&nbsp;การสนับสนุนการยกร่างพระราชบัญญัติจากภาครัฐ[[#_ftn20|[20]]]&nbsp;ในกรณีที่ผู้ริเริ่มประสงค์จะให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือในการจัดทำร่างกฎหมายแก่ประชาชน ยกร่างพระราชบัญญัติให้ได้ โดยหน่วยงานเหล่านี้ต้องดำเนินการโดยไม่ชักช้าหากได้รับการร้องขอ
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp; &nbsp; '''&nbsp;'''2) การสนับสนุนการยกร่างพระราชบัญญัติจากภาครัฐ[[#_ftn20|[20]]]
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ในกรณีที่ผู้ริเริ่มประสงค์จะให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือในการจัดทำร่างกฎหมายแก่ประชาชน ยกร่างพระราชบัญญัติให้ได้ โดยหน่วยงานเหล่านี้ต้องดำเนินการโดยไม่ชักช้าหากได้รับการร้องขอ


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''4) บทกำหนดโทษ'''
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''4) บทกำหนดโทษ'''
บรรทัดที่ 78: บรรทัดที่ 74:
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span>


ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 114/ตอนที่ 55 ก/11 ตุลาคม 2540. '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540'''
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 114/ตอนที่ 55 ก/11 ตุลาคม 2540. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540


ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 124/ตอนที่ 47 ก/ 24 สิงหาคม 2550. '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550'''
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 124/ตอนที่ 47 ก/ 24 สิงหาคม 2550. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550


ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560'''
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560


ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 130/ตอนที่ 119 ก/17 ธันวาคม 2556. '''พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556'''
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 130/ตอนที่ 119 ก/17 ธันวาคม 2556. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556


ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 138/ตอนที่ 35 ก/26 พฤษภาคม 2564. '''พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564'''
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 138/ตอนที่ 35 ก/26 พฤษภาคม 2564. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564


&nbsp;
&nbsp;

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:50, 15 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

 

หลักการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

          เมื่อประเทศไทยปกครองในระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางผู้แทนราษฎร การดำเนินงานของผู้แทนราษฎรในบางกรณีอาจมีข้อจำกัด หรือ อาจไม่ได้เสนอร่างกฎหมายตามความต้องการของประชาชน ประกอบกับในกรณีที่ประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอันแท้จริงเมื่อประสบปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและยังไม่มีกฎหมายที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องที่ประชาชนต้องการให้มีกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหานั้น การที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้เสนอร่างกฎหมายเองได้ จึงเป็นการเปิดโอกาสและช่องทางที่เป็นการนำเสนอประเด็นความต้องการที่แท้จริงให้ฝ่ายบริหารได้รับทราบและทำให้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญสามารถใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ

          ปัจจุบันพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา[1]

 

พัฒนาการให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

          ประเทศไทยนำแนวความคิดในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมาจากสมาพันธรัฐสวิสเป็นต้นแบบในการบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540 โดยให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายพร้อมร่างกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ต่อรัฐสภาเพื่อให้พิจารณาได้[2] รวมถึงให้สิทธิในการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นพร้อมร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น[3]

          ต่อมาเมื่อประกาศรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550 ได้แก้ไขเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการเข้าชื่อได้ง่ายขึ้น โดยลดจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากห้าหมื่นคนเหลือจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน[4] และให้สิทธิในการลงชื่อเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการออกจากตำแหน่งได้[5] รวมถึงลงชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้พ้นจากตำแหน่งได้[6] พร้อมทั้งให้สิทธิแก่ประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนสามารถยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย[7] จึงทำให้มีการประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 กฎหมายกำหนดให้สิทธิแก่ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิริเริ่มเสนอร่างกฎหมายได้ 2 ประเภท คือ ร่างพระราชบัญญัติ[8] และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม[9] หลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564

 

หลักการของกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 2556

          พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 มีทั้งสิ้น 15 มาตรา ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้รักษาการ หลักการของกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้

          1) ขั้นตอนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

               ขั้นตอนแรก : การเริ่มต้นเข้าชื่อเสนอกฎหมายต้องมี “ผู้ริเริ่ม” คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เริ่มดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ หรือญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน แจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบและให้ประธานรัฐสภาตรวจสอบหลักการ และเนื้อหาของร่างกฎหมายเพื่อแจ้งให้ผู้ริเริ่มทราบภายใน 15 วัน

               ขั้นตอนที่สอง : ผู้ริเริ่มดำเนินการชักชวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อเข้าชื่อ[10] ดังนี้

                    - การเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน[11]

                    - การเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมกันไม่น้อยกว่า ห้าหมื่นคน[12]

               ขั้นตอนที่สาม : ผู้ริเริ่มยื่นคำร้องต่อประธานรัฐสภา พร้อมสำเนาร่างพระราชบัญญัติ เอกสารการลงลายมือชื่อพร้อมสำเนาบัตร และรายชื่อของผู้แทนของผู้ซึ่งเสนอร่างพระราชบัญญัติจำนวนไม่เกินหกสิบคนตามที่ผู้ริเริ่มกำหนด[13]

               ขั้นตอนที่สี่ : ประธานรัฐสภาาตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน หากปรากฏว่ามีลายมือชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่ถึงหนึ่งหมื่นคนหรือมีเอกสารไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ประธานรัฐสภาแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ริเริ่มเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไป

          เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนแล้วให้ ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และจัดเอกสารไว้เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้มีรายชื่อนั้นด้วย[14] และให้ประธานรัฐสภาดำเนินการให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย[15] 

          2) หลักการเข้าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

          การเข้าชื่อเสนอร่าพระราชบัญญัติหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมีหลักการ ดังนี้

               1. กำหนดหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติที่กำหนดโดยชัดเจน และต้องแบ่งเป็นมาตรา ซึ่งแต่ละมาตรามีบทบัญญัติที่จะเข้าใจได้ว่ามีความประสงค์จะตรากฎหมายในเรื่องใด และต้องมีบันทึกประกอบดังต่อไปนี้[16]

                    (1) บันทึกหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ

                    (2) บันทึกเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ

                    (3) บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

               2. ในกรณีที่ลายมือชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งหมื่นคน ให้ประธานรัฐสภาแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ริเริ่มทราบเพื่อดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมให้ถึงหนึ่งหมื่นคนภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานรัฐสภา ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวยังมิได้เสนอการเข้าชื่อเพิ่มเติมจนครบถ้วน ให้ประธานรัฐสภาสั่งจําหน่ายเรื่องและคืนเรื่องและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ริเริ่ม[17]

               3. การเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะเสนอมิได้[18]

          3) การให้การสนับสนุนจากภาครัฐ

               1. การสนับสนุนค่าใช้จ่าย[19] ในการดำเนินการเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้ อาจขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย จากกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยสภาพัฒนาการเมืองได้

               2. การสนับสนุนการยกร่างพระราชบัญญัติจากภาครัฐ[20] ในกรณีที่ผู้ริเริ่มประสงค์จะให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือในการจัดทำร่างกฎหมายแก่ประชาชน ยกร่างพระราชบัญญัติให้ได้ โดยหน่วยงานเหล่านี้ต้องดำเนินการโดยไม่ชักช้าหากได้รับการร้องขอ

          4) บทกำหนดโทษ

          กฎหมายในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้กำหนดโทษสำหรับผู้ที่ลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร หรือใช้ หรืออ้างลายมือชื่อปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติหรือญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่แท้จริง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ[21]

          หากมีการกระทำเพื่อหลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญหรือใช้อิทธิพลคุกคาม หรือกระทำการเพื่อให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจูงใจให้มีการลงชื่อหรือถอนชื่อในการเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติหรือญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท[22]

 

บรรณานุกรม

ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 114/ตอนที่ 55 ก/11 ตุลาคม 2540. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 124/ตอนที่ 47 ก/ 24 สิงหาคม 2550. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 130/ตอนที่ 119 ก/17 ธันวาคม 2556. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556

ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 138/ตอนที่ 35 ก/26 พฤษภาคม 2564. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564

 

อ้างอิง

[1] มาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564

[2] มาตรา 170 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

[3] มาตรา 287 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

[4] มาตรา 163 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

[5] มาตรา 164 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

[6] มาตรา 285 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

[7] มาตรา 291 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

[8] มาตรา 144 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

[9] มาตรา 256 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 

[10] มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[11] มาตรา 5 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[12] มาตรา 5 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[13] มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[14] มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[15] มาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556

[16] มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[17] มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[18] มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[19] มาตรา 6 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[20] มาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[21] มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 

[22] มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556