ผลต่างระหว่างรุ่นของ "The Free Press Society (Trykkefrihedsselskabet)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
'''The Free Press Society (Trykkefrihedsselskabet)''' เป็นองค์กรสัญชาติเดนมาร์กที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น | '''The Free Press Society (Trykkefrihedsselskabet)''' เป็นองค์กรสัญชาติเดนมาร์กที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น | ||
<span style="font-size:x-large;">'''ที่มาและการก่อตั้ง'''</span> | = <span style="font-size:x-large;">'''ที่มาและการก่อตั้ง'''</span> = | ||
ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา จากผลของข้อตกลงเจนีวาว่าด้วยการคุ้มครองเหยื่อจากความขัดแย้งภายในและระหว่างประเทศ (Geneva Conventions Protocol I และ Geneva Conventions Protocol II ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1977) ทำให้เดนมาร์กมีนโยบายรับผู้ลี้ภัยเข้าประเทศ โดยผู้ลี้ภัยจะได้สิทธิในการพาครอบครัวเข้ามาอยู่ด้วย ส่งผลให้จำนวนผู้อพยพของเดนมาร์กเพิ่มมากขึ้น โดยระหว่างปี ค.ศ. 1980-2001 จำนวนประชากรผู้อพยพและลูกหลานที่เกิดจากผู้อพยพของเดนมาร์กเพิ่มขึ้นจาก 152,958 คน เป็น 415,331 คน โดยจำนวนผู้อพยพในครั้งนี้มักจะมีลักษณะที่ไม่ใช่ผู้อพยพที่มีอายุน้อยกว่า การศึกษาด้อยกว่าชาวเดนมาร์กโดยเฉลี่ย และไม่ใช่ผู้อพยพจากชาติตะวันตก[[#_ftn1|[1]]] | ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา จากผลของข้อตกลงเจนีวาว่าด้วยการคุ้มครองเหยื่อจากความขัดแย้งภายในและระหว่างประเทศ (Geneva Conventions Protocol I และ Geneva Conventions Protocol II ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1977) ทำให้เดนมาร์กมีนโยบายรับผู้ลี้ภัยเข้าประเทศ โดยผู้ลี้ภัยจะได้สิทธิในการพาครอบครัวเข้ามาอยู่ด้วย ส่งผลให้จำนวนผู้อพยพของเดนมาร์กเพิ่มมากขึ้น โดยระหว่างปี ค.ศ. 1980-2001 จำนวนประชากรผู้อพยพและลูกหลานที่เกิดจากผู้อพยพของเดนมาร์กเพิ่มขึ้นจาก 152,958 คน เป็น 415,331 คน โดยจำนวนผู้อพยพในครั้งนี้มักจะมีลักษณะที่ไม่ใช่ผู้อพยพที่มีอายุน้อยกว่า การศึกษาด้อยกว่าชาวเดนมาร์กโดยเฉลี่ย และไม่ใช่ผู้อพยพจากชาติตะวันตก[[#_ftn1|[1]]] | ||
บรรทัดที่ 14: | บรรทัดที่ 14: | ||
ภายใต้บรรยากาศการขยายตัวของผู้อพยพ ทำให้ชาวเดนมาร์กรู้สึกว่าตนถูกคุกคาม โดยเฉพาะมิติทางเศรษฐกิจและยังครอบคลุมถึงมิติทางสังคม เนืองจากผู้อพยพจำนวนมากไม่ได้เป็นประชากรจากชาติตะวันตกและส่วนหนึ่งก็ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ แต่นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้เกิดความกลัวว่าคุณค่าบางอย่างของโลกตะวันตกจะถูกละเมิดหรือหายไป รวมไปถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วย | ภายใต้บรรยากาศการขยายตัวของผู้อพยพ ทำให้ชาวเดนมาร์กรู้สึกว่าตนถูกคุกคาม โดยเฉพาะมิติทางเศรษฐกิจและยังครอบคลุมถึงมิติทางสังคม เนืองจากผู้อพยพจำนวนมากไม่ได้เป็นประชากรจากชาติตะวันตกและส่วนหนึ่งก็ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ แต่นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้เกิดความกลัวว่าคุณค่าบางอย่างของโลกตะวันตกจะถูกละเมิดหรือหายไป รวมไปถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วย | ||
The Free Press Society เกิดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องไม่ให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้นถูกละเมิด ซึ่งรวมไปถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่สังคมมองว่าอาจนำมาซึ่งความเกลียดชังด้วย[[#_ftn2|[2]]] โดย Ayaan Hirsi Ali นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนได้อธิบายไว้ว่า '' | The Free Press Society เกิดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องไม่ให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้นถูกละเมิด ซึ่งรวมไปถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่สังคมมองว่าอาจนำมาซึ่งความเกลียดชังด้วย[[#_ftn2|[2]]] โดย Ayaan Hirsi Ali นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนได้อธิบายไว้ว่า ''"ในเวลาที่อารยธรรมตะวันตกกำลังถูกคุกคามทั้งจากภายนอกและจากภายใน Free Press Society ของเดนมาร์ก เป็นพันธมิตรที่สำคัญในการพิทักษ์สิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับสังคมเสรี สิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพในการพูด"'' | ||
ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก The Free Press Society ได้แสดงความพยายามช่วยเหลือนักเขียน นักวาดการ์ตูน และผู้ที่มีความกล้าที่จะออกมาพูดความจริง อย่างเช่น Salman Rushdie นักเขียนนิยายซึ่งถูกคุกคามจากผู้นำสูงสุดของอิหร่าน[[#_ftn3|[3]]] | ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก The Free Press Society ได้แสดงความพยายามช่วยเหลือนักเขียน นักวาดการ์ตูน และผู้ที่มีความกล้าที่จะออกมาพูดความจริง อย่างเช่น Salman Rushdie นักเขียนนิยายซึ่งถูกคุกคามจากผู้นำสูงสุดของอิหร่าน[[#_ftn3|[3]]] | ||
บรรทัดที่ 34: | บรรทัดที่ 34: | ||
| | ||
'''<span style="font-size:x-large;">รางวัล The Sappho Award</span>''' | = '''<span style="font-size:x-large;">รางวัล The Sappho Award</span>''' = | ||
ทุกปี Free Press Society จะมีการให้รางวัลสำหรับผู้ที่แสดงตัวเองว่าไม่ยอมประนีประนอมต่อสิ่งที่มาขัดขวางเสรีภาพในการพูด ชื่อว่า The Sappho Award [[#_ftn8|[8]]] ซึ่งรายนามผู้ที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าวมีด้วยกันดังนี้ | ทุกปี Free Press Society จะมีการให้รางวัลสำหรับผู้ที่แสดงตัวเองว่าไม่ยอมประนีประนอมต่อสิ่งที่มาขัดขวางเสรีภาพในการพูด ชื่อว่า The Sappho Award [[#_ftn8|[8]]] ซึ่งรายนามผู้ที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าวมีด้วยกันดังนี้ | ||
บรรทัดที่ 132: | บรรทัดที่ 132: | ||
| style="width:142px;" | <p style="text-align: center;">เดนมาร์ก</p> | | style="width:142px;" | <p style="text-align: center;">เดนมาร์ก</p> | ||
|} | |} | ||
<p style="text-align: center;">ข้อมูลจาก : The Free Press Society</p> <div> | <p style="text-align: center;">ข้อมูลจาก : The Free Press Society</p> <div> | ||
| | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:40, 18 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ธีทัต จันทราพิชิต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
The Free Press Society (Trykkefrihedsselskabet) เป็นองค์กรสัญชาติเดนมาร์กที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ที่มาและการก่อตั้ง
ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา จากผลของข้อตกลงเจนีวาว่าด้วยการคุ้มครองเหยื่อจากความขัดแย้งภายในและระหว่างประเทศ (Geneva Conventions Protocol I และ Geneva Conventions Protocol II ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1977) ทำให้เดนมาร์กมีนโยบายรับผู้ลี้ภัยเข้าประเทศ โดยผู้ลี้ภัยจะได้สิทธิในการพาครอบครัวเข้ามาอยู่ด้วย ส่งผลให้จำนวนผู้อพยพของเดนมาร์กเพิ่มมากขึ้น โดยระหว่างปี ค.ศ. 1980-2001 จำนวนประชากรผู้อพยพและลูกหลานที่เกิดจากผู้อพยพของเดนมาร์กเพิ่มขึ้นจาก 152,958 คน เป็น 415,331 คน โดยจำนวนผู้อพยพในครั้งนี้มักจะมีลักษณะที่ไม่ใช่ผู้อพยพที่มีอายุน้อยกว่า การศึกษาด้อยกว่าชาวเดนมาร์กโดยเฉลี่ย และไม่ใช่ผู้อพยพจากชาติตะวันตก[1]
ภายใต้บรรยากาศการขยายตัวของผู้อพยพ ทำให้ชาวเดนมาร์กรู้สึกว่าตนถูกคุกคาม โดยเฉพาะมิติทางเศรษฐกิจและยังครอบคลุมถึงมิติทางสังคม เนืองจากผู้อพยพจำนวนมากไม่ได้เป็นประชากรจากชาติตะวันตกและส่วนหนึ่งก็ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ แต่นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้เกิดความกลัวว่าคุณค่าบางอย่างของโลกตะวันตกจะถูกละเมิดหรือหายไป รวมไปถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วย
The Free Press Society เกิดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องไม่ให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้นถูกละเมิด ซึ่งรวมไปถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่สังคมมองว่าอาจนำมาซึ่งความเกลียดชังด้วย[2] โดย Ayaan Hirsi Ali นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนได้อธิบายไว้ว่า "ในเวลาที่อารยธรรมตะวันตกกำลังถูกคุกคามทั้งจากภายนอกและจากภายใน Free Press Society ของเดนมาร์ก เป็นพันธมิตรที่สำคัญในการพิทักษ์สิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับสังคมเสรี สิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพในการพูด"
ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก The Free Press Society ได้แสดงความพยายามช่วยเหลือนักเขียน นักวาดการ์ตูน และผู้ที่มีความกล้าที่จะออกมาพูดความจริง อย่างเช่น Salman Rushdie นักเขียนนิยายซึ่งถูกคุกคามจากผู้นำสูงสุดของอิหร่าน[3]
ทั้งนี้ The Free Press Society เป็นองค์กรที่สมาชิกส่วนใหญ่นั้นเป็นอาสาสมัคร และมีช่องทางของรายได้ที่จะใช้ในการดำเนินงาน มาจากการเก็บค่าสมาชิก ซึ่งอยู่ใน ราคา 200 – 400 โครน[4]
อุดมการณ์
Free Press Society มีอุดมการณ์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของเสรีภาพในการแสดงออกเป็นอย่างมาก แม้เสรีภาพนั้นอาจจะถูกมองว่านำมาสู่ความเกลียดชังในสังคมก็ตาม โดย Free Press Society ได้พยายามผลักดันประเด็น จนนำมาสู่การแก้ไขกฎหมายอาญาของเดนมาร์กในส่วนที่ห้ามการดูหมิ่นในศาสนา หรือดูหมิ่นในชาติพันธุ์ หรือเพศสภาพ ในปี ค.ศ. 2017 ซึ่ง Free Press Society ให้คำอธิบายว่าหากเกิดการลงโทษจากการแสดงความคิดบางอย่าง แล้วเกิดการทำให้รู้สึกไม่สบายใจ นั่นไม่สามารถที่จะจำกัดขอบเขตของความรู้สึกนั้นได้ เพราะมันเป็นความรู้สึกของตัวปัจเจกมากเกินไป และหากเป็นเช่นนี้จะไม่ทำให้เพียงแค่เสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นลดลง แต่ยังรวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายด้วย[5]
กรณีประธาน Free Press Society กับ Hate Speech
ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2009 Lars Hedegaard ประธาน The Free Press Society ได้ถูกฟ้องในข้อหาแสดงความคิดเห็นที่เป็นการเหยียดชาติพันธุ์[6] โดยได้มีข้อความลงเว็บบล็อค Snaphanen เป็นบทสนทนาของ Lars Hedegaard โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า “ผู้หญิงในครอบครัวมุสลิมโดนข่มขืนโดยพ่อ และลุง ๆ กับพวกญาติ ๆ ของพวกเธอ” ซึ่งทาง Lars Hedegaard ได้ให้ความแก้ต่างว่าตนไม่ทราบว่าบทสนทนานี่ได้ถูกบันทึกเอาไว้ และเผยแพร่ลงพื้นที่สาธารณะ[7]
รางวัล The Sappho Award
ทุกปี Free Press Society จะมีการให้รางวัลสำหรับผู้ที่แสดงตัวเองว่าไม่ยอมประนีประนอมต่อสิ่งที่มาขัดขวางเสรีภาพในการพูด ชื่อว่า The Sappho Award [8] ซึ่งรายนามผู้ที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าวมีด้วยกันดังนี้
ปี |
ผู้ได้รับรางวัล |
อาชีพ |
สัญชาติ |
---|---|---|---|
2007 |
Flemming Rose |
บรรณาธิการ, นักข่าว |
เดนมาร์ก |
2008 |
Kurt Westergaard |
นักวาดการ์ตูน |
เดนมาร์ก |
2009 |
Melanie Phillips |
นักข่าว |
อังกฤษ |
2010 |
Mark Steyn |
นักเขียน |
แคนาดา |
2011 |
Rachel Ehrenfeld |
นักวิจัย |
อเมริกัน |
2012 |
Olga Romanova |
นักข่าว, นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน |
รัสเซีย |
2013 |
Thilo Sarrazin |
นักการเมือง |
เยอรมัน |
2014 |
Ezra Levant |
นักกฎหมาย, นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก |
แคนดานา |
2015 |
Lars Vilks |
ศิลปิน |
สวีเดน |
2016 |
Roger Scruton |
นักปรัชญา, นักข่าว |
อังกฤษ |
2017 |
Karoly Németh |
นักฎหมาย |
เดนมาร์ก |
2018 |
Douglas Murray |
นักข่าว |
อังกฤษ |
2019 |
Tommy Robinson |
นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก |
อังกฤษ |
2020 |
Gunnar Sandelin |
นักสังคมวิทยา |
สวีเดน |
2021 |
Stefan Hermann, |
อาจารย์ |
เดนมาร์ก |
“Charlotte” |
อาจารย์ |
เดนมาร์ก |
ข้อมูลจาก : The Free Press Society
อ้างอิง
[1] Peter Nannestad, 2004. Immigration as a challenge to the Danish welfare state?. European Journal of Political Economy, 20(3), 755–767. doi.org/10.1016/j.ejpoleco.2004.03.003. p.757-763
[2] The Free Press Society, (n.d.). “ABOUT THE FREE PRESS SOCIETY”. Retrieved from https://www.trykkefrihed.dk/about-the-free-press-society.htm
[3] Ibid.
[4] The Free Press Society, (n.d.). “MEMBERSHIP”. Retrieved from https://www.trykkefrihed.dk/membership.htm
[5] The Free Press Society, (n.d.). “ABOUT THE FREE PRESS SOCIETY”. Retrieved from https://www.trykkefrihed.dk/about-the-free-press-society.htm
[6] The Copenhagen Post, 2010. “Chairman faces racism charges”. Retrieved from https://web.archive.org/web/20100821185454/http://www.cphpost.dk/news/76-hot-topic/49618-free-speech-advocate-faces-racism-charges.html
[7] The Copenhagen Post, 2011. “Free speech advocate acquitted on racism charges”. Retrieved from https://web.archive.org/web/20110308010233/http://www.cphpost.dk/component/content/50895.html?task=view
[8] The Free Press Society, (n.d.). “THE SAPPHO AWARD”. Retrieved from https://www.trykkefrihed.dk/sappho-award.htm