ผลต่างระหว่างรุ่นของ "The Danish People’s Party"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิต..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 10:
 
 


<span style="font-size:x-large;">'''ที่มาและการก่อตั้ง'''</span>
= <span style="font-size:x-large;">'''ที่มาและการก่อตั้ง'''</span> =


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พรรคก้าวหน้าเป็นพรรคการเมืองประชานิยมของเดนมาร์กที่เชื่อในระบบตลาดและต่อต้านการจ่ายภาษี โดยมีสถานะเป็นพรรคใหญ่พรรคหนึ่งของการเมืองเดนมาร์ก โดยการเลือกตั้งครั้งแรกในปี ค.ศ. 1973&nbsp;พรรคก้าวหน้าสามารถได้เสียงจากประชาชนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเกือบ 16% และในทศวรรษที่ 1980&nbsp;พรรคก้าวหน้าก็ยังได้เสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งสูงกว่า 10%[[#_ftn3|[3]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พรรคก้าวหน้าเป็นพรรคการเมืองประชานิยมของเดนมาร์กที่เชื่อในระบบตลาดและต่อต้านการจ่ายภาษี โดยมีสถานะเป็นพรรคใหญ่พรรคหนึ่งของการเมืองเดนมาร์ก โดยการเลือกตั้งครั้งแรกในปี ค.ศ. 1973&nbsp;พรรคก้าวหน้าสามารถได้เสียงจากประชาชนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเกือบ 16% และในทศวรรษที่ 1980&nbsp;พรรคก้าวหน้าก็ยังได้เสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งสูงกว่า 10%[[#_ftn3|[3]]]
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
&nbsp;
&nbsp;


<span style="font-size:x-large;">'''พรรคพันธมิตรกลุ่มเสรีนิยมอนุกรักษ์นิยม'''</span>
= <span style="font-size:x-large;">'''พรรคพันธมิตรกลุ่มเสรีนิยมอนุกรักษ์นิยม'''</span> =


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการเลือกตั้งระดับประเทศปี 2001 DPP ได้รับเสียงจากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งประมาณ 13% และได้ที่นั่งในสภาถึง 22 ที่นั่ง ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้ DPP กลายเป็นหนึ่งในพันธมิตรของพรรคในกลุ่มเสรีนิยมอนุรักษ์นิยมในกรณีที่พรรคในกลุ่มนี้กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย และทำให้พรรค DPP สามารถผลักดันประเด็นหรือการออกนโยบายที่ตนเองต้องการได้ แม้จะไม่ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยในช่วงปี 2002 DPP ได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการร่างกฎหมายและการปฏิรูปจำนวนมาก รวมไปถึงมีบทบาทสำคัญในการร่างกฎหมายเกี่ยวกับผู้อพยพในปี 2002[[#_ftn7|[7]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการเลือกตั้งระดับประเทศปี 2001 DPP ได้รับเสียงจากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งประมาณ 13% และได้ที่นั่งในสภาถึง 22 ที่นั่ง ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้ DPP กลายเป็นหนึ่งในพันธมิตรของพรรคในกลุ่มเสรีนิยมอนุรักษ์นิยมในกรณีที่พรรคในกลุ่มนี้กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย และทำให้พรรค DPP สามารถผลักดันประเด็นหรือการออกนโยบายที่ตนเองต้องการได้ แม้จะไม่ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยในช่วงปี 2002 DPP ได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการร่างกฎหมายและการปฏิรูปจำนวนมาก รวมไปถึงมีบทบาทสำคัญในการร่างกฎหมายเกี่ยวกับผู้อพยพในปี 2002[[#_ftn7|[7]]]
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
&nbsp;
&nbsp;


<span style="font-size:x-large;">'''การขึ้นสู่จุดสูงสุดในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2015'''</span>
= <span style="font-size:x-large;">'''การขึ้นสู่จุดสูงสุดในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2015'''</span> =


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2015 DPP กลายเป็นพรรคใหญ่อันดับสองรองจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย โดยได้คะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึง 21% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2011&nbsp;ถึง 12.3%[[#_ftn8|[8]]]&nbsp;ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้ DPP อยู่ในสถานะที่สามารถต่อรองทางอำนาจกับพรรคการเมืองได้สูงมากขึ้น และทำให้พรรค Venstre หรือพรรคเสรีนิยมซึ่งได้คะแนนเสียงน้อยกว่าต้องยอมตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยโดยที่มีเสียงของ DPP เป็นผู้สนับสนุนหลัก[[#_ftn9|[9]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2015 DPP กลายเป็นพรรคใหญ่อันดับสองรองจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย โดยได้คะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึง 21% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2011&nbsp;ถึง 12.3%[[#_ftn8|[8]]]&nbsp;ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้ DPP อยู่ในสถานะที่สามารถต่อรองทางอำนาจกับพรรคการเมืองได้สูงมากขึ้น และทำให้พรรค Venstre หรือพรรคเสรีนิยมซึ่งได้คะแนนเสียงน้อยกว่าต้องยอมตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยโดยที่มีเสียงของ DPP เป็นผู้สนับสนุนหลัก[[#_ftn9|[9]]]
บรรทัดที่ 34: บรรทัดที่ 34:
&nbsp;
&nbsp;


<span style="font-size:x-large;">'''การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2019'''</span>
= <span style="font-size:x-large;">'''การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2019'''</span> =


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเลือกตั้งปี ค.ศ. 2019 DPP ได้เสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปประมาณ 8.7% และได้ที่นั่งในสภาไป 16&nbsp;ที่นั่ง กลายเป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของสภา โดย DPP เสียที่นั่งไปบางส่วนจากข้อกล่าวหาเรื่องการใช้เงิน EU ไม่ถูกวัตถุประสงค์ และเกิดพรรคการเมืองใหม่ที่มีท่าทีสุดโต่งยิ่งกว่า รวมไปถึงท่าทีที่ไม่ยอมเข้าร่วมรัฐบาลผสมของพรรค Venstre[[#_ftn10|[10]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเลือกตั้งปี ค.ศ. 2019 DPP ได้เสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปประมาณ 8.7% และได้ที่นั่งในสภาไป 16&nbsp;ที่นั่ง กลายเป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของสภา โดย DPP เสียที่นั่งไปบางส่วนจากข้อกล่าวหาเรื่องการใช้เงิน EU ไม่ถูกวัตถุประสงค์ และเกิดพรรคการเมืองใหม่ที่มีท่าทีสุดโต่งยิ่งกว่า รวมไปถึงท่าทีที่ไม่ยอมเข้าร่วมรัฐบาลผสมของพรรค Venstre[[#_ftn10|[10]]]
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:
&nbsp;
&nbsp;


<span style="font-size:x-large;">'''อุดมการณ์'''</span>
= <span style="font-size:x-large;">'''อุดมการณ์'''</span> =


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; DPP เป็นพรรคฝ่ายขวาที่สร้างภาพลักษณ์ปกป้องค่านิยมวิถีชีวิตและผลประโยชน์ของชาวเดนิช[[#_ftn12|[12]]]&nbsp;นโยบายหลักของ DPP นั้นเป็นนโยบายกีดกันผู้อพยพ โดยนโยบายกีดกันผู้อพยพของ DPP นั้นส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานความรู้ด้านเศรษฐกิจ ซึ่ง DPP เป็นพรรคที่แตกต่างจากพรรคก้าวหน้าซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม โดย DPP นั้นให้การสนับสนุนแนวคิดนโยบายรัฐสวัสดิการโดยมองว่ามีความน่าดึงดูดมากกว่านโยบายเรื่องการลดภาษี[[#_ftn13|[13]]] ขณะเดียวกัน นโยบายรัฐสวัสดิการก็ยังทำให้นโยบายกีดกันผู้อพยพหนักแน่นยิ่งขึ้น ด้วยโวหารทางการเมืองที่ว่าภาษีที่ใช้ไปกับนโยบายสวัสดิการเพื่อชาวเดนิชจะไม่ถูกใช้ไปเพื่อผู้อพยพ[[#_ftn14|[14]]]&nbsp;อีกทั้งในเรื่องสัญชาติ DPP มองว่าผู้อพยพยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเดนมาร์กมากพอที่จะได้รับสัญชาติ ซึ่งภายหลังจากร่างกฎหมายเกี่ยวกับผู้อพยพ ค.ศ. 2002 ที่ DPP ได้มีส่วนสำคัญในการร่างถูกบังคับใช้ จำนวนชาวต่างชาติที่ได้สัญชาติเดนิชก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ[[#_ftn15|[15]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; DPP เป็นพรรคฝ่ายขวาที่สร้างภาพลักษณ์ปกป้องค่านิยมวิถีชีวิตและผลประโยชน์ของชาวเดนิช[[#_ftn12|[12]]]&nbsp;นโยบายหลักของ DPP นั้นเป็นนโยบายกีดกันผู้อพยพ โดยนโยบายกีดกันผู้อพยพของ DPP นั้นส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานความรู้ด้านเศรษฐกิจ ซึ่ง DPP เป็นพรรคที่แตกต่างจากพรรคก้าวหน้าซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม โดย DPP นั้นให้การสนับสนุนแนวคิดนโยบายรัฐสวัสดิการโดยมองว่ามีความน่าดึงดูดมากกว่านโยบายเรื่องการลดภาษี[[#_ftn13|[13]]] ขณะเดียวกัน นโยบายรัฐสวัสดิการก็ยังทำให้นโยบายกีดกันผู้อพยพหนักแน่นยิ่งขึ้น ด้วยโวหารทางการเมืองที่ว่าภาษีที่ใช้ไปกับนโยบายสวัสดิการเพื่อชาวเดนิชจะไม่ถูกใช้ไปเพื่อผู้อพยพ[[#_ftn14|[14]]]&nbsp;อีกทั้งในเรื่องสัญชาติ DPP มองว่าผู้อพยพยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเดนมาร์กมากพอที่จะได้รับสัญชาติ ซึ่งภายหลังจากร่างกฎหมายเกี่ยวกับผู้อพยพ ค.ศ. 2002 ที่ DPP ได้มีส่วนสำคัญในการร่างถูกบังคับใช้ จำนวนชาวต่างชาติที่ได้สัญชาติเดนิชก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ[[#_ftn15|[15]]]
บรรทัดที่ 50: บรรทัดที่ 50:
&nbsp;
&nbsp;


<span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span>
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] Meret, Susi, 2010. The Danish People's Party, the Italian Northern League and the Austrian Freedom Party in a Comparative Perspective: Party Ideology and Electoral Support. PhD Thesis University of Aalborg. p.97
[[#_ftnref1|[1]]] Meret, Susi, 2010. The Danish People's Party, the Italian Northern League and the Austrian Freedom Party in a Comparative Perspective: Party Ideology and Electoral Support. PhD Thesis University of Aalborg. p.97

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:58, 18 กุมภาพันธ์ 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ธีทัต จันทราพิชิต

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

          The Danish People’s Party (DPP, Dansk Folkeparti) เป็นพรรคการเมืองในประเทศเดนมาร์ก ก่อตั้งในปี ค.ศ.1995 เป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองในแบบ “ขวาประชานิยม”[1] โดยเกิดจากการที่พรรคแยกออกมาจาพรรคก้าวหน้า (Progress Party) ในการเลือกตั้งทั่วไปของเดนมาร์กในปี ค.ศ. 2015 พรรค Danish People’s Party เป็นพรรคอันดับสองที่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรของเดนมาร์ก[2] รองจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย

 

ที่มาและการก่อตั้ง

          พรรคก้าวหน้าเป็นพรรคการเมืองประชานิยมของเดนมาร์กที่เชื่อในระบบตลาดและต่อต้านการจ่ายภาษี โดยมีสถานะเป็นพรรคใหญ่พรรคหนึ่งของการเมืองเดนมาร์ก โดยการเลือกตั้งครั้งแรกในปี ค.ศ. 1973 พรรคก้าวหน้าสามารถได้เสียงจากประชาชนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเกือบ 16% และในทศวรรษที่ 1980 พรรคก้าวหน้าก็ยังได้เสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งสูงกว่า 10%[3]

          อย่างไรก็ตาม พรรคก้าวหน้าได้เผชิญกับปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มการเมืองภายในพรรคระหว่างกลุ่มที่ไม่ยอมประนีประนอมกับพรรคการเมืองอื่นกับกลุ่มที่พร้อมประนีประนอมกับพรรคการเมืองฝั่งรัฐบาล จนสุดท้ายเกิดการแตกแยกออกมาเป็นพรรคใหม่ โดย Danish People’s Party เป็นพรรคที่อยู่ในกลุ่มประนีประนอมกับพรรคฝั่งรัฐบาล[4]

          DPP ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1995 และได้เข้าร่วมในการเลือกตั้งระดับประเทศในปี ค.ศ. 1998 โดย DPP ได้เสียงจากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งประมาณ 7% และได้ที่นั่งในสภาถึง 13 ที่[5]

          เนื่องจากภูมิหลังของ DPP นั้นเป็นพรรคการเมืองที่ถูกออกแบบมาให้มีแนวทางที่เป็นเอกภาพ สามารถขับสมาชิกที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการนำหรือถูกมองว่าเป็นกลุ่มหัวรุนแรงจากฝั่งหัวหน้าพรรค ซึ่งแตกต่างจากกรณีของพรรคก้าวหน้าที่ต้องเผชิญกับปัญหากลุ่มการเมืองภายในพรรคตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980[6]

 

พรรคพันธมิตรกลุ่มเสรีนิยมอนุกรักษ์นิยม

          ในการเลือกตั้งระดับประเทศปี 2001 DPP ได้รับเสียงจากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งประมาณ 13% และได้ที่นั่งในสภาถึง 22 ที่นั่ง ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้ DPP กลายเป็นหนึ่งในพันธมิตรของพรรคในกลุ่มเสรีนิยมอนุรักษ์นิยมในกรณีที่พรรคในกลุ่มนี้กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย และทำให้พรรค DPP สามารถผลักดันประเด็นหรือการออกนโยบายที่ตนเองต้องการได้ แม้จะไม่ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยในช่วงปี 2002 DPP ได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการร่างกฎหมายและการปฏิรูปจำนวนมาก รวมไปถึงมีบทบาทสำคัญในการร่างกฎหมายเกี่ยวกับผู้อพยพในปี 2002[7]

 

การขึ้นสู่จุดสูงสุดในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2015

          ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2015 DPP กลายเป็นพรรคใหญ่อันดับสองรองจากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย โดยได้คะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึง 21% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2011 ถึง 12.3%[8] ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้ DPP อยู่ในสถานะที่สามารถต่อรองทางอำนาจกับพรรคการเมืองได้สูงมากขึ้น และทำให้พรรค Venstre หรือพรรคเสรีนิยมซึ่งได้คะแนนเสียงน้อยกว่าต้องยอมตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยโดยที่มีเสียงของ DPP เป็นผู้สนับสนุนหลัก[9]

 

การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2019

          การเลือกตั้งปี ค.ศ. 2019 DPP ได้เสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปประมาณ 8.7% และได้ที่นั่งในสภาไป 16 ที่นั่ง กลายเป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของสภา โดย DPP เสียที่นั่งไปบางส่วนจากข้อกล่าวหาเรื่องการใช้เงิน EU ไม่ถูกวัตถุประสงค์ และเกิดพรรคการเมืองใหม่ที่มีท่าทีสุดโต่งยิ่งกว่า รวมไปถึงท่าทีที่ไม่ยอมเข้าร่วมรัฐบาลผสมของพรรค Venstre[10]

          ในปี ค.ศ. 2022 DPP เสียเสียงในสภาไป 10 กว่าเสียง เนื่องจากเกิดปัญหาภายในซึ่งมาจากตัวหัวหน้าพรรค Morten Messerschmidt และโครงสร้างของพรรคที่มีลักษณะค่อนข้างจะมีการสั่งการจากบนลงล่าง ซึ่งสมาชิกพรรคที่ลาออกเหล่านี้มองว่าโครงสร้างดังกล่าวของพรรคได้สร้างบรรยากาศการทำงานภายในพรรคที่มีลักษณะเป็นพิษขึ้นมา[11]

 

อุดมการณ์

          DPP เป็นพรรคฝ่ายขวาที่สร้างภาพลักษณ์ปกป้องค่านิยมวิถีชีวิตและผลประโยชน์ของชาวเดนิช[12] นโยบายหลักของ DPP นั้นเป็นนโยบายกีดกันผู้อพยพ โดยนโยบายกีดกันผู้อพยพของ DPP นั้นส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานความรู้ด้านเศรษฐกิจ ซึ่ง DPP เป็นพรรคที่แตกต่างจากพรรคก้าวหน้าซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม โดย DPP นั้นให้การสนับสนุนแนวคิดนโยบายรัฐสวัสดิการโดยมองว่ามีความน่าดึงดูดมากกว่านโยบายเรื่องการลดภาษี[13] ขณะเดียวกัน นโยบายรัฐสวัสดิการก็ยังทำให้นโยบายกีดกันผู้อพยพหนักแน่นยิ่งขึ้น ด้วยโวหารทางการเมืองที่ว่าภาษีที่ใช้ไปกับนโยบายสวัสดิการเพื่อชาวเดนิชจะไม่ถูกใช้ไปเพื่อผู้อพยพ[14] อีกทั้งในเรื่องสัญชาติ DPP มองว่าผู้อพยพยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเดนมาร์กมากพอที่จะได้รับสัญชาติ ซึ่งภายหลังจากร่างกฎหมายเกี่ยวกับผู้อพยพ ค.ศ. 2002 ที่ DPP ได้มีส่วนสำคัญในการร่างถูกบังคับใช้ จำนวนชาวต่างชาติที่ได้สัญชาติเดนิชก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ[15]

          ทั้งนี้ พรรค DPP มีลักษณะทางการเมืองที่ค่อนข้างเป็นไปในทางอำนาจนิยม โดยให้เหตุผลเรื่องความปลอดภัยในชีวิต โดยในปี ค.ศ. 1997 DPP วางนโยบายเรื่องความมั่นคงไว้ที่การเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงมากขึ้น และสนับสนุนให้มีการขับไล่ผู้อพยพออกนอกประเทศหากผู้อพยพมีการก่ออาชญากรรมขึ้น[16]

 

อ้างอิง

[1] Meret, Susi, 2010. The Danish People's Party, the Italian Northern League and the Austrian Freedom Party in a Comparative Perspective: Party Ideology and Electoral Support. PhD Thesis University of Aalborg. p.97

[2] Politico, 2015. “6 takeaways from the Danish elections”.Retrieved from https://www.politico.eu/article/six-takeaways-from-the-danish-elections/

[3] Meret, Susi, 2010. The Danish People's Party, the Italian Northern League and the Austrian Freedom Party in a Comparative Perspective: Party Ideology and Electoral Support. PhD Thesis University of Aalborg. P.95 - 96

[4] Ibid. p.97

[5] Ibid. p.98 - 99

[6] Ibid. p.99

[7] Ibid. p.99 - 101

[8] BBC, 2015. “Denmark election: Anti-EU Danish People's Party gets big boost”.Retrieved from https://www.bbc.com/news/world-europe-33199488

[9] Yahool, 2015. “Denmark's Rasmussen to form minority govt”. Retrieved from https://news.yahoo.com/denmarks-rasmussen-form-minority-govt-173628317.html

[10] Karina Kosiara-Pedersen, 2020. Stronger core, weaker fringes: the Danish general election 2019, West European Politics, 43:4, 1011-1022, doi: 10.1080/01402382.2019.1655920 p.1015

[11] Courthouse News Service, 2022. “Denmark’s biggest right-wing party deteriorating amid potential conviction of chairman”. Retrieved from https://www.courthousenews.com/denmarks-biggest-right-wing-party-deteriorating-amid-potential-conviction-of-chairman/

[12] Meret, Susi, 2010. The Danish People's Party, the Italian Northern League and the Austrian Freedom Party in a Comparative Perspective: Party Ideology and Electoral Support. PhD Thesis University of Aalborg. p.123-124

[13] Ibid. p.103

[14] Ibid. p.108 - 111

[15] Ibid. p.115 - 121

[16] Ibid. p.133 - 134