ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เวทีอภิปรายประเด็นปัญหา (Issue Forums)"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิต..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
| | ||
'''เวทีอภิปรายประเด็นปัญหา ( | '''เวทีอภิปรายประเด็นปัญหา (Issue Forums)''' | ||
เวทีอภิปรายประเด็นปัญหาหรือที่ผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยใช้คำว่า '''"การประชาเสวนาหาทางออก"'''[[#_ftn1|[1]]] ลักษณะเด่นของเวทีอภิปรายประเด็นปัญหาที่ผู้ออกแบบและผู้มีประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้ในต่างประเทศสรุปไว้ตรงกัน[[#_ftn2|[2]]] คือเวทีอภิปรายประเด็นปัญหาเป็นการจัดเวทีปรึกษาหารือสาธารณะที่นำพลเมืองจำนวนหนึ่งที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้ามาร่วมปรึกษาหารือและตัดสินใจในประเด็นปัญหาสำคัญร่วมกันในเวทีสาธารณะที่มีการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอผ่านหนังสือสรุปประเด็น (issues book) ซึ่งมีการให้ข้อมูลสำคัญและออกแบบทางเลือกไว้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและรับทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ในการจัดการกับปัญหา ทั้งข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละทางเลือก ตลอดจนผลกระทบและสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อให้ทางเลือกนั้น ๆ เกิดขึ้นเป็นจริงได้ ก่อนที่ผู้เข้าร่วมกระบวนการจะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเวทีที่ใช้การพูดคุยกันแบบ '''“[[การสานเสวนา(Dialouge)|การสานเสวนา]] (citizen dialogue)”''' ภายใต้บรรยากาศที่ผู้เข้าร่วมทุกคนพร้อมรับฟังซึ่งกันและกัน มีการซักถามและอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นกันก่อนที่จะมีการลงมติหรือตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาปรึกษาหารือกันนั้น การจัดกระบวนการเวทีอภิปรายประเด็นปัญหานี้อาจทำเป็นเวทีหลายเวทีพร้อม ๆ กันหรือทำหลายครั้งด้วยกลุ่มประชาชนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ได้ | เวทีอภิปรายประเด็นปัญหาหรือที่ผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยใช้คำว่า '''"การประชาเสวนาหาทางออก"'''[[#_ftn1|[1]]] ลักษณะเด่นของเวทีอภิปรายประเด็นปัญหาที่ผู้ออกแบบและผู้มีประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้ในต่างประเทศสรุปไว้ตรงกัน[[#_ftn2|[2]]] คือเวทีอภิปรายประเด็นปัญหาเป็นการจัดเวทีปรึกษาหารือสาธารณะที่นำพลเมืองจำนวนหนึ่งที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้ามาร่วมปรึกษาหารือและตัดสินใจในประเด็นปัญหาสำคัญร่วมกันในเวทีสาธารณะที่มีการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอผ่านหนังสือสรุปประเด็น (issues book) ซึ่งมีการให้ข้อมูลสำคัญและออกแบบทางเลือกไว้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและรับทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ในการจัดการกับปัญหา ทั้งข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละทางเลือก ตลอดจนผลกระทบและสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อให้ทางเลือกนั้น ๆ เกิดขึ้นเป็นจริงได้ ก่อนที่ผู้เข้าร่วมกระบวนการจะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเวทีที่ใช้การพูดคุยกันแบบ '''“[[การสานเสวนา(Dialouge)|การสานเสวนา]] (citizen dialogue)”''' ภายใต้บรรยากาศที่ผู้เข้าร่วมทุกคนพร้อมรับฟังซึ่งกันและกัน มีการซักถามและอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นกันก่อนที่จะมีการลงมติหรือตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาปรึกษาหารือกันนั้น การจัดกระบวนการเวทีอภิปรายประเด็นปัญหานี้อาจทำเป็นเวทีหลายเวทีพร้อม ๆ กันหรือทำหลายครั้งด้วยกลุ่มประชาชนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ได้ | ||
บรรทัดที่ 60: | บรรทัดที่ 60: | ||
[[#_ftnref8|[8]]] สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2562). สถานการณ์ นโยบาย มาตรการและกลไก เพื่อนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัยของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บจก. มาตา การพิมพ์. | [[#_ftnref8|[8]]] สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2562). สถานการณ์ นโยบาย มาตรการและกลไก เพื่อนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัยของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บจก. มาตา การพิมพ์. | ||
</div> <div id="ftn9"> | </div> <div id="ftn9"> | ||
[[#_ftnref9|[9]]] ดู เช่น สถาบันพระปกเกล้า. (2558). รายงานผลการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติด้วยกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. (อัดสำเนา), สติธร ธนานิธิโชติ, นิตยา โพธิ์นอก, ชลัท ประเทืองรัตนา และวิชุดา สาธิตพร. (2558). “การประยุกต์ใช้กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะในประเทศไทย : บทเรียนจากเวทีประชาเสวนาหาทางออกกรณีการพัฒนาพื้นที่ชุมชนรอบกว๊านพะเยาและการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 11(2): 167-199. | [[#_ftnref9|[9]]] ดู เช่น สถาบันพระปกเกล้า. (2558). รายงานผลการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติด้วยกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. (อัดสำเนา), สติธร ธนานิธิโชติ, นิตยา โพธิ์นอก, ชลัท ประเทืองรัตนา และวิชุดา สาธิตพร. (2558). “การประยุกต์ใช้กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะในประเทศไทย : บทเรียนจากเวทีประชาเสวนาหาทางออกกรณีการพัฒนาพื้นที่ชุมชนรอบกว๊านพะเยาและการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 11(2): 167-199. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:การเมืองภาคพลเมือง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:46, 17 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
เวทีอภิปรายประเด็นปัญหา (Issue Forums)
เวทีอภิปรายประเด็นปัญหาหรือที่ผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยใช้คำว่า "การประชาเสวนาหาทางออก"[1] ลักษณะเด่นของเวทีอภิปรายประเด็นปัญหาที่ผู้ออกแบบและผู้มีประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้ในต่างประเทศสรุปไว้ตรงกัน[2] คือเวทีอภิปรายประเด็นปัญหาเป็นการจัดเวทีปรึกษาหารือสาธารณะที่นำพลเมืองจำนวนหนึ่งที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้ามาร่วมปรึกษาหารือและตัดสินใจในประเด็นปัญหาสำคัญร่วมกันในเวทีสาธารณะที่มีการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอผ่านหนังสือสรุปประเด็น (issues book) ซึ่งมีการให้ข้อมูลสำคัญและออกแบบทางเลือกไว้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและรับทราบถึงทางเลือกต่าง ๆ ในการจัดการกับปัญหา ทั้งข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละทางเลือก ตลอดจนผลกระทบและสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อให้ทางเลือกนั้น ๆ เกิดขึ้นเป็นจริงได้ ก่อนที่ผู้เข้าร่วมกระบวนการจะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเวทีที่ใช้การพูดคุยกันแบบ “การสานเสวนา (citizen dialogue)” ภายใต้บรรยากาศที่ผู้เข้าร่วมทุกคนพร้อมรับฟังซึ่งกันและกัน มีการซักถามและอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นกันก่อนที่จะมีการลงมติหรือตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาปรึกษาหารือกันนั้น การจัดกระบวนการเวทีอภิปรายประเด็นปัญหานี้อาจทำเป็นเวทีหลายเวทีพร้อม ๆ กันหรือทำหลายครั้งด้วยกลุ่มประชาชนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างความต้องการของกลุ่มต่าง ๆ ได้
ตัวแบบของการจัดเวทีอภิปรายประเด็นปัญหาที่มีการอ้างอิงถึงกันอย่างกว้างขวางที่สุดกระบวนการหนึ่ง คือ การจัดกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะของมูลนิธิเคเทอร์ริ่ง (Kettering Foundation) และสถาบันเวทีอภิปรายประเด็นปัญหาแห่งชาติ (National Issues Forums Institute) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เน้นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามาร่วมกันพูดคุย ใช้เหตุผล และตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในชีวิตประจำวันของชุมชนหรือของประเทศ เช่น ระบบสุขภาพ การอพยพย้ายถิ่น การประกันสังคม เพื่อให้ประชาชนผู้เข้าร่วมเวทีได้มีโอกาสเรียนรู้ทัศนะมุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลายของประชาชนคนอื่น ๆ ทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหาและแสวงหาทางออกร่วมกันตามขั้นตอนการจัดกระบวนการ[3] ดังนี้
(1) การจัดทำเอกสารสรุปประเด็น
(2) การสุ่มตัวอย่างเพื่อคัดเลือกผู้เข้าร่วมกระบวนการ ซึ่งอาจใช้การสุ่มตัวอย่างทางสถิติอย่างง่ายหรือการสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้ผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนกระจายไปในกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มวิชาชีพกลุ่มชาติพันธุ์ หรือจะใช้ทั้งสองวิธีผสมกันก็ได้
(3) การจัดหาและอบรมผู้เอื้อกระบวนการ เพื่อสร้างความเข้าใจทั้งในเรื่องกระบวนการและเนื้อหาสาระที่จะนำไปใช้อภิปราย ตลอดจนเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับการจัดกระบวนการประชาเสวนา
(4) การติดตามผู้เข้าร่วมที่สุ่มตัวอย่างได้ตามข้อ (2) เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ที่ได้รับการสุ่มเลือกในเบื้องต้น และเชิญชวนให้เข้าร่วมกระบวนการด้วยความสมัครใจ
(5) การจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับการจัดเวที
(6) ในวันจัดเวที กระบวนการจะเริ่มต้นจากการสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเองและมีความเสมอภาคกันระหว่างผู้เข้าร่วม จากนั้นเป็นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเวทีอภิปรายประเด็นปัญหา ซึ่งรวมถึงกติกาการสนทนาแลกเปลี่ยน
(7) เวทีอภิปรายประเด็นปัญหาเริ่มต้นจากให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันในเวที และทางเลือกที่เป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ จากนั้นจะมีการแบ่งผู้เข้าร่วมเวทีออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 10-15 คน เพื่อทำการสานเสวนากันภายในแต่ละกลุ่มซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นการสานเสวนาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมบอกถึงสิ่งที่แต่ละคนต้องการให้เกิดขึ้นพร้อมเหตุผลสนับสนุน และนำประเด็นที่แต่ละกลุ่มเสวนากันภายในกลุ่มไปนำเสนอแลกเปลี่ยนกับกลุ่มอื่น ๆ ในเวทีกลาง เพื่อค้นหาสิ่งที่ผู้เข้าร่วมปรารถนาที่จะเห็นร่วมกัน ส่วนในช่วงที่สอง ผู้เข้าร่วมเวทีจะกลับเข้าไปที่กลุ่มย่อยของตนเอง โดยนำประเด็นที่เป็นความเห็นร่วมจากเวทีกลางช่วงแรกไปช่วยกันพิจารณาถึงแนวทางที่เป็นไปได้สำหรับการทำให้สิ่งที่เป็นความปรารถนาร่วมกันนั้นเกิดขึ้นได้และใครบ้าง (รวมทั้งตัวผู้เข้าร่วมเวทีด้วย) ที่จะต้องเข้ามามีส่วนในการดำเนินการตามแนวทางนั้น ๆ ในท้ายที่สุด แนวทางที่แต่ละกลุ่มคิดร่วมกันจะถูกนำเข้ามานำเสนอในเวทีกลางอีกครั้งหนึ่งเพื่อหาแนวทางซึ่งเป็นความเห็นร่วมกันของผู้เข้าร่วมทั้งหมด
(8) ในการจัดเวที อาจมีการตรวจวัดทัศนคติของผู้เข้าร่วมเวทีเกี่ยวกับประเด็นที่อภิปรายแลกเปลี่ยนกันโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการเข้าร่วมเวทีร่วมด้วย ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นส่วนสำคัญสำหรับการปรับปรุงการจัดกระบวนการในครั้งต่อ ๆ ไปหรือในประเด็นอื่น ๆ
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เวทีอภิปรายประเด็นปัญหามีการนำไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่เป็นการจัดกระบวนการแบบผสมผสานกันระหว่างการเสวนาระหว่างสาธารณชนทั่วไปและกลุ่มพลเมืองที่ได้รับการคัดเลือกหรือสุ่มเชิญ และพยายามรักษาหลักการของการจัดกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะที่มีการศึกษาข้อมูล การรับฟังความเห็นและการถกเถียงอภิปรายกันในลักษณะกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของพลเมืองที่มีความหลากหลาย การออกแบบและจัดกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน และการผสมผสานรูปแบบการสานเสวนาหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ที่อาศัยการเสวนาและการสนทนากันเป็นเครื่องมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยความร่วมมือกันของพลเมืองอย่างกว้างขวาง[4]
ในประเทศไทย เวทีอภิปรายประเด็นปัญหาได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างน่าสนใจในหลายกรณี เช่น เวทีประชาเสวนาหาทางออกอนาคตประเทศไทยและการเมืองที่พึงปรารถนา[5] การสานเสวนาหาทางออกพื้นที่ชุมชนรอบกว๊านพะเยา[6] การทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติด้วยกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก[7] และเวทีประชาเสวนาหาทางออกเพื่อรองรับสังคมสูงวัย[8]
บทเรียนที่ได้รับจากการนำกระบวนการประชาเสวนาหาทางออกมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานโยบายสาธารณะในประเทศไทยที่ผ่านมา สะท้อนออกมาค่อนข้างจะตรงกันอย่างน้อย 3 ประการ[9] กล่าวคือ
ประการแรก การคัดเลือกตัวแทนประชาชนเข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะเพื่อให้เกิดการยอมรับ จำเป็นต้องดำเนินการผ่านกลุ่ม องค์กร และเครือข่ายที่หลากหลายตามแต่ระดับของปัญหาที่ดำเนินการอยู่ เพื่อให้บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกมีความเป็นตัวแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และทำให้กระบวนการปรึกษาหารือที่จัดขึ้นเป็นที่รวมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้น ๆ อย่างแท้จริง
ประการที่สอง การจัดกระบวนการปรึกษาหารือต้องอาศัยรูปแบบและวิธีการการสร้างการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมและหลากหลาย ตั้งแต่การจัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจอย่างเป็นระบบและสามารถนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเกิดความเข้าใจได้ง่าย การระดมความคิดเห็นในกลุ่มขนาดเล็กเพื่อความเข้มข้นและลึกซึ้งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการ การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาฉันทามติในกลุ่มใหญ่ ไปจนถึงการมีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการนำผลของกระบวนการปรึกษาหารือไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาของการจัดกระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ จะต้องมีลักษณะที่เปิดกว้างและเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสามารถเปรียบเทียบความรู้ ประสบการณ์ และค่านิยมของตัวเองกับประชาชนคนอื่น ๆ ตลอดจนสามารถชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสียของทางเลือกเชิงนโยบายที่มีข้อมูลสนับสนุนอย่างรอบด้าน เป็นกลาง และเพียงพอต่อการตัดสินใจ
ประการสุดท้าย ผลที่ได้จากกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะสำคัญและมีผลกระทบในวงกว้าง โดยอาจเกิดขึ้นได้หลายวิธี เช่น การผลักดันผลที่ได้จากเวทีเข้าสู่กระบวนการนโยบายสาธารณะและการวางแผนพัฒนาต่างๆ ที่มีการดำเนินการอยู่แล้วโดยรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐ การกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างคณะทำงานขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ตัดสินใจร่วมกันจากเวที ซึ่งจะเป็นช่องทางเชื่อมโยงประชาชนผู้มีจิตอาสาให้เข้ามาทำงานร่วมกันได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการตอบสนองจากผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมขึ้นอีกในอนาคต
อ้างอิง
[1] ดู วันชัย วัฒนศัพท์ และถวิลวดี บุรีกุล. (2555). คู่มือประชาเสวนาหาทางออก: ทางออกที่เราต้องร่วมกันเลือก. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า และวันชัย วัฒนศัพท์, ถวิลวดี บุรีกุล, รัชวดี แสงมหะหมัด และสุจินันท์ หรสิทธิ์. (2556). คู่มือกำหนดนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง: ประชาเสวนาหาทางออกสู่นโยบายสาธารณะด้านพลังงาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
[2] ดู ตัวอย่างข้อสรุปในงานวิชาการใหม่ๆ เกี่ยวกับกระบวนการประชาเสวนาหาทางออกใหม่ๆ ในต่างประเทศ เช่น Dastmozd, Rassoul. 2019. “A Pragmatic Perspective from Within an Urban Community College” in Democracy, Civic Engagement, and Citizenship in Higher Education: Reclaiming Our Civic Purpose, William V. Flores and Katrina S. Rogers, eds. Lanham, MD: Lexington Books, Diebel, Alice. 2016. Making Room for the Unaffiliated Citizen in a Polarized World: Local Environmental Policy and Public Forum. Dayton, Ohio: Kettering Foundation, The Kettering Foundation. (2019). Public Deliberation and Divisiveness: An Update on the Research. Dayton, OH: The Kettering Foundation เป็นต้น
[3] โปรดศึกษาเพิ่มเติมใน Rourke, Brad. (2014). Developing Materials for Deliberative Forums. Dayton, Ohio: Kettering Foundation.
[4] Buss, Terry F., F Stevens Redburn, and Kristina Guo. (2014). Modernizing Democracy: Innovations in Citizen Participation. New York: Routledge; Diebel, Alice. 2016. Making Room for the Unaffiliated Citizen in a Polarized World: Local Environmental Policy and Public Forum. Dayton, Ohio: Kettering Foundation.
[5] ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ. (2555). ภาพอนาคตประเทศไทยและการเมืองที่พึงปรารถนา: สิ่งที่คนไทยต้องเลือก. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
[6] สหัทยา วิเศษ และชัยวัฒน์ จันธิมา. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องการสานเสวนาเพื่ออกแบบธรรมนูญกว๊านพะเยาที่พึงปรารถนา. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. (อัดสำเนา).
[7] สถาบันพระปกเกล้า. (2558). รายงานผลการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติด้วยกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. (อัดสำเนา).
[8] สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2562). สถานการณ์ นโยบาย มาตรการและกลไก เพื่อนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัยของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บจก. มาตา การพิมพ์.
[9] ดู เช่น สถาบันพระปกเกล้า. (2558). รายงานผลการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติด้วยกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. (อัดสำเนา), สติธร ธนานิธิโชติ, นิตยา โพธิ์นอก, ชลัท ประเทืองรัตนา และวิชุดา สาธิตพร. (2558). “การประยุกต์ใช้กระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะในประเทศไทย : บทเรียนจากเวทีประชาเสวนาหาทางออกกรณีการพัฒนาพื้นที่ชุมชนรอบกว๊านพะเยาและการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 11(2): 167-199.