ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เเฟลชม็อบ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 18: | บรรทัดที่ 18: | ||
| | ||
ทั้งนี้ แฟลชม็อบได้เกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมากและมีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังมติศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 10 ปี เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจของคนรุ่นใหม่ที่สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่า ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลที่สืบเนื่องมาจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล | ทั้งนี้ แฟลชม็อบได้เกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมากและมีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังมติศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 10 ปี เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจของคนรุ่นใหม่ที่สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่า ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลที่สืบเนื่องมาจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และความไม่พอใจอื่นๆ ที่บ่มเพาะมาตั้งแต่การบริหารงานของรัฐบาลภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)[[#_ftn5|[5]]] ภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมา ได้นำไปสู่การจัดกิจกรรมของนักเรียน และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการร่วมกันแสดงออกและยกระดับความตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของตนเองตามหลักประชาธิปไตยให้มีมากขึ้น[[#_ftn6|[6]]] ซึ่งการจัดแฟลชม็อบหรือการชุมนุมแบบไม่ยืดเยื้อนี้ มีการจัดกิจกรรมชูป้าย ร้องเพลง จุดเทียนและเปิดไฟจากโทรศัพท์มือถือ โดยเป็นการชุมนุมอย่างสงบที่แม้ว่าจะเป็นการระดมผู้เข้าร่วมชุมนุมอย่างรวดเร็วที่อาศัยเครือข่ายสังคมออนไลน์และจำกัดวงอยู่ในรั้วสถานศึกษาและยังไม่ออกไปตามท้องถนน แต่ถือเป็นการชุมนุมทางการเมืองของนักเรียนนักศึกษาเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 40 ปี[[#_ftn7|[7]]] หลังจากเหตุการณ์เดือนตุลาคม พ.ศ.2516 นอกจากนี้ ยังได้มีการเปิดเว็บไซต์ของแฟลชม็อบชื่อว่า [https://mobgunmai.com https://mobgunmai.com] (ม็อบ กัน ไหม) ให้ติดตามความเคลื่อนไหวของการชุมนุม โดยเว็บไซต์ดังกล่าวมีการรวบรวมคลิปแฟล็ชม็อบที่มีการจัดที่โรงเรียนหรือสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ[[#_ftn8|[8]]] | ||
ภาพ : การจัดแฟลชม็อบที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563[[#_ftn9|[9]]] | ภาพ : การจัดแฟลชม็อบที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563[[#_ftn9|[9]]] | ||
<p style="text-align: center;">[[File:F3.jpg|RTENOTITLE]]</p> <p style="text-align: center;">[[File:F4.jpg]]</p> | <p style="text-align: center;">[[File:F3.jpg|RTENOTITLE]]</p> <p style="text-align: center;">[[File:F4.jpg|RTENOTITLE]]</p> | ||
ตัวอย่าง แฟลชม็อบและแฮชแท็กที่จัดขึ้นโดยนิสิตนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย เกิดขึ้นในช่วงต้นปี พ.ศ.2563 มีดังนี้ | ตัวอย่าง แฟลชม็อบและแฮชแท็กที่จัดขึ้นโดยนิสิตนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย เกิดขึ้นในช่วงต้นปี พ.ศ.2563 มีดังนี้ | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:47, 15 พฤศจิกายน 2565
ผู้เรียบเรียง ศุทธิกานต์ มีจั่น
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
เเฟลชม็อบ
แฟลชม็อบ (Flash mob) หรือการรวมกลุ่มกันอย่างฉับพลัน เป็นการชุมนุมแบบไม่ยืดเยื้อ โดยทั่วไปมักเป็นลักษณะของกลุ่มคนที่มีการออกแบบท่าเต้นที่มีการแสดงร่วมกันแต่ไม่ได้ประกาศในพื้นที่สาธารณะ มักถูกจัดและระดมผู้เข้าร่วมผ่านการช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น สังคมออนไลน์ หรือจดหมายอิเลคทรอนิค ทั้งนี้ แฟลชม็อบมีลักษณะที่แตกต่างกันไปทั้งเป้าหมายเพื่อความบันเทิง การโฆษณาไปจนถึงการประท้วง ทางการเมือง[1]
ในกรณีของประเทศไทย แฟลชม็อบครั้งสำคัญ คือ การจัดขึ้นที่บริเวณสกายวอล์ก สี่แยกปทุมวัน หน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่มีประชาชนมารวมตัวกันจำนวนมาก[2] ซึ่งผลจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้นำไปสู่การแจ้งข้อหากรณีฝ่าฝืนพระราชบัญญัติชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ต่อแกนนำผู้จัดกิจกรรม อาทิ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และนักกิจกรรมทางการเมืองคนอื่นๆ เช่น นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ และ นายธนวัฒน์ วงค์ไชย เป็นต้น[3]
ภาพ : การจัดแฟลชม็อบที่สกายวอล์ค สี่แยกปทุมวัน วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2562[4]
ทั้งนี้ แฟลชม็อบได้เกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมากและมีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังมติศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 10 ปี เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจของคนรุ่นใหม่ที่สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่า ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลที่สืบเนื่องมาจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และความไม่พอใจอื่นๆ ที่บ่มเพาะมาตั้งแต่การบริหารงานของรัฐบาลภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)[5] ภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมา ได้นำไปสู่การจัดกิจกรรมของนักเรียน และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการร่วมกันแสดงออกและยกระดับความตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของตนเองตามหลักประชาธิปไตยให้มีมากขึ้น[6] ซึ่งการจัดแฟลชม็อบหรือการชุมนุมแบบไม่ยืดเยื้อนี้ มีการจัดกิจกรรมชูป้าย ร้องเพลง จุดเทียนและเปิดไฟจากโทรศัพท์มือถือ โดยเป็นการชุมนุมอย่างสงบที่แม้ว่าจะเป็นการระดมผู้เข้าร่วมชุมนุมอย่างรวดเร็วที่อาศัยเครือข่ายสังคมออนไลน์และจำกัดวงอยู่ในรั้วสถานศึกษาและยังไม่ออกไปตามท้องถนน แต่ถือเป็นการชุมนุมทางการเมืองของนักเรียนนักศึกษาเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 40 ปี[7] หลังจากเหตุการณ์เดือนตุลาคม พ.ศ.2516 นอกจากนี้ ยังได้มีการเปิดเว็บไซต์ของแฟลชม็อบชื่อว่า https://mobgunmai.com (ม็อบ กัน ไหม) ให้ติดตามความเคลื่อนไหวของการชุมนุม โดยเว็บไซต์ดังกล่าวมีการรวบรวมคลิปแฟล็ชม็อบที่มีการจัดที่โรงเรียนหรือสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ[8]
ภาพ : การจัดแฟลชม็อบที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563[9]
ตัวอย่าง แฟลชม็อบและแฮชแท็กที่จัดขึ้นโดยนิสิตนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย เกิดขึ้นในช่วงต้นปี พ.ศ.2563 มีดังนี้
(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป
(2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ
(3) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ #ที่ยุบอนาคตใหม่พี่มหาลัยกูทั้งนั้น
(4) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #มหาวิทยาลัยหน้าบางแห่งหนึ่ง #ช้างเผือกจะไม่ทน
(5) มหาวิทยาลัยขอนแก่น #KKUขอโทษที่ช้าโดนสลิ่มลบโพสต์ #เกิดจากสฤษดิ์แต่ไม่ขอเป็นสลิ่ม
(6) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #ฝุ่น6ล้านหรือจะสู้ท่าน9เสียง
(7) มหาวิทยาลัยรามคำแหง #พ่อขุนไม่รับใช้เผด็จการ
(8) มหาวิทยาลัยศิลปากร #ศิลปากรขอมีซีน
(9) มหาวิทยาลัยมหิดล #ศาลายางดกินของหวานหลายสี
(10) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ #มศวขอมีจุดยืน #รากฐานจะหารด้วย
(11) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม #ถึงจะอยู่ไกลขอส่งใจที่ลานแปดเหลี่ยม
(12) มหาวิทยาลัยนเรศวร #มอนออยากออกจากกะลา
(13) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง #พระจอมเกล้าชอบกินเหล้าไม่ชอบกินสลิ่ม
(14) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี #สามพระจอมจะยอมได้ไง
(15) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี #ศาลาวีรชนจะไม่ใช่ที่หลบฝนอีกต่อไป
(16) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี #ถึงมออยู่ใกล้หลายค่ายก็ไม่ได้ชอบเผด็จการ
(17) มหาวิทยาลัยบูรพา #ทีมลูกระนาดอยากจะฟาดบ้างแม่
(18) มหาวิทยาลัยพะเยา #ฟ้ามุ่ยไม่คุยกับเผด็จการ
(19) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตและสวนสุนันทา #อยู่ข้างบ้านเสียงดังไม่ได้ (แอบกระซิบเอานะครับ 555)
(20) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี #กันเกราไม่เอากะลา
(21) มหาวิทยาลัยราชภัฏ #ราชภัฏอยากงัดกับสลิ่ม
(22) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี #ราชมงคลจะไม่ทน
(23) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ #BUกูไม่ใช่สลิ่ม
(24) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย #UTCCเรือใบไม่ใช่เรือดำน้ำ
(25) มหาวิทยาลัยศรีปทุม #มออยู่ข้างราบสิบเอ็ดแต่ไม่เอาเผด็จการ
(26) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี #ดอกจานบานที่อุดร
(27) มหาวิทยาลัยนครพนม #อิงโขงไม่อิงเผด็จการ
(28) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ #ขอกู้คืนเกียรติ
(29) สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น #สลิ่มจาไนเดส
(30) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร #เด็กSNRUร่วมสู้อยุติธรรม
(31) มหาวิทยาลัยรังสิต #บลูบานเย็นไม่ได้เป็นขนมหวาน
นอกจากนี้การจัดกิจกรรมและการแสดงความเคลื่อนไหวของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยแล้วยังมีการชุมนุมของนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมชั้นนำของประเทศ เช่น สตรีวิทยา ผ่านแฮชแท็ก #Savedemocracy #คนดีของฉันรึจะต้องไม่เอาเผด็จการ และ #สวที่อยู่ข้างประชาธิปไตย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไทที่ใช้แฮชแท็ก #เกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ[10] เป็นต้น อย่างไรก็ดี การดำเนินกิจกรรมและความเคลื่อนไหวของแฟลชม็อบ ได้ลดระดับและยุติความเคลื่อนไหวลงจากการะบาดของไวรัสโควิท-19 ที่มีการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 รวมไปถึงการออกประกาศของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563
เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิท-19 (ฉบับที่ 2) โดยหนึ่งในมาตรการที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรม คือ ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการชุมนุมนักศึกษาหรือบุคลากรในสังกัดกระทรวงฯ เป็นจำนวนมาก[11]
[1] “10 Most Famous Flash Mobs”. Retrieved from https://www.delnext.com/blog/en/most-famous-flash-mobs/(29 June 2020).
[2] “รวม 50 ภาพบรรยากาศแฟลชม็อบ สกายวอล์ก แยกปทุมวัน” สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/858291 (29 มิถุนายน 2563).
[3] “ธนาธรรับทราบข้อหา กรณีแฟลชม็อบสกายวอล์ก”. สืบค้นจาก https://www.mcot.net/viewtna/5e1841d6e3f8e40af940f641 (29 มิถุนายน 2563).
[4] “แฟลชม็อบชู3นิ้วรับ'ธนาธร' สกายวอล์คคึกคัก สาวกอนาคตใหม่ตะโกนไล่'บิ๊กตู่'”. สืบค้นจาก https://www.naewna.com/politic/460217 (29 มิถุนายน 2563).
[5] “แฟลชม็อบ จุดเริ่มต้นของการต่อสู้”. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/59111(30 มิถุนายน 2563).
[6] “Thai students form flash mobs in support of disbanded party”. Retrieved from https://www.ucanews.com/news/thai-students-form-flash-mobs-in-support-of-disbanded-party/87309 (29 June 2020).
[7] “แฟลชม็อบนักเรียน-นักศึกษา ประกายไฟในกระทะ หรือ เพลิงลามทุ่ง”.สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-51640629 (30 มิถุนายน 2563).
[8] “แฟลชม็อบนศ.รวมตัว ม.เกษตรฯ "ไม่เอาไอโอ (ชา)". สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/politic/news/616310 (30 มิถุนายน 2563).
[9] “แฟลชม็อบ "MUneedDemocracy" นศ.มหิดล ที่ศาลายา จัดกิจกรรมต้านเผด็จการ” . สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1780328 (30 มิถุนายน 2563).
[10] “เตรียมอุดมฯ-สตรีวิทยา ประกาศจัดแฟลชม็อบแสดงจุดยืนทางการเมือง”. สืบค้นจาก https://thestandard.co/triamudom-satriwit-flash-mob/ (30 มิถุนายน 2563).
[11] “กระทรวงอุดมศึกษาฯ สั่งเลี่ยงชุมนุมนักศึกษาหวั่น โควิด-19 ระบาด”. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/289280(30 มิถุนายน 2563).