ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ (Cartel Party)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 2: บรรทัดที่ 2:
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


 
 
บรรทัดที่ 56: บรรทัดที่ 56:
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =


Katz, Richard and Peter Mair. (1995). "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party." '''Party Politics'''. 1(1): 5-28.
Katz, Richard and Peter Mair. (1995). "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party." Party Politics. 1(1): 5-28.


Katz, Richard and Peter Mair. (2009). "The Cartel Party Thesis: A Restatement." '''American Political Science Association'''. 7(4): 753-766.
Katz, Richard and Peter Mair. (2009). "The Cartel Party Thesis: A Restatement." American Political Science Association. 7(4): 753-766.


Hutcheson, Derek S. (2012). "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia." '''Party Politics'''. 19(6): 907-924.
Hutcheson, Derek S. (2012). "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia." Party Politics. 19(6): 907-924.


Detterbeck, Klaus (2005). "Cartel Parties in Western Europe?." '''Party Politics'''. 11(2): 173-191.
Detterbeck, Klaus (2005). "Cartel Parties in Western Europe?." Party Politics. 11(2): 173-191.


Van Biezen, Ingrid (2000). "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal." '''Party Politics'''. 6(3): 329-342.
Van Biezen, Ingrid (2000). "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal." Party Politics. 6(3): 329-342.
<div>
<div>
&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 70: บรรทัดที่ 70:
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," '''Party Politics''', 1(1) (1995): 6.
[[#_ftnref1|[1]]] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," Party Politics, 1(1) (1995): 6.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," 6.
[[#_ftnref2|[2]]] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," 6.
บรรทัดที่ 80: บรรทัดที่ 80:
[[#_ftnref5|[5]]] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," 17.
[[#_ftnref5|[5]]] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," 17.
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] Klaus Detterbeck, "Cartel Parties in Western Europe?," '''Party Politics''', 11(2) (2005): 187.
[[#_ftnref6|[6]]] Klaus Detterbeck, "Cartel Parties in Western Europe?," Party Politics, 11(2) (2005): 187.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] Klaus Detterbeck, "Cartel Parties in Western Europe?," 187.
[[#_ftnref7|[7]]] Klaus Detterbeck, "Cartel Parties in Western Europe?," 187.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] Ingrid van Biezen, "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal," '''Party Politics''', 6(3) (2000): 332.
[[#_ftnref8|[8]]] Ingrid van Biezen, "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal," Party Politics, 6(3) (2000): 332.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] Ingrid van Biezen, "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal," 337.
[[#_ftnref9|[9]]] Ingrid van Biezen, "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal," 337.
บรรทัดที่ 90: บรรทัดที่ 90:
[[#_ftnref10|[10]]] Ingrid van Biezen, "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal," 339.
[[#_ftnref10|[10]]] Ingrid van Biezen, "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal," 339.
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]] Derek S. Hutcheson, "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia," '''Party Politics''', 19(6) (2012): 908.
[[#_ftnref11|[11]]] Derek S. Hutcheson, "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia," Party Politics, 19(6) (2012): 908.
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|[12]]] Derek S. Hutcheson, "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia," 910.
[[#_ftnref12|[12]]] Derek S. Hutcheson, "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia," 910.
บรรทัดที่ 96: บรรทัดที่ 96:
[[#_ftnref13|[13]]] Derek S. Hutcheson, "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia," 912.
[[#_ftnref13|[13]]] Derek S. Hutcheson, "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia," 912.
</div> <div id="ftn14">
</div> <div id="ftn14">
[[#_ftnref14|[14]]] Richard Katz and Peter Mair, "The Cartel Party Thesis: A Restatement," '''American Political Science Association''', 7(4) (2009): 760.
[[#_ftnref14|[14]]] Richard Katz and Peter Mair, "The Cartel Party Thesis: A Restatement," American Political Science Association, 7(4) (2009): 760.


&nbsp;
&nbsp;
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:พรรคการเมือง]]
[[Category:พรรคการเมือง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:02, 9 สิงหาคม 2565

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

บทนำ

          พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ (Cartel Party) เป็นมโนทัศน์ที่ Richard Katz และ Peter Mair พัฒนาขึ้นเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ของพรรคการเมืองในประเทศประชาธิปไตยก้าวหน้าซึ่งแสดงบทบาทประหนึ่งกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ (cartel) โดยพรรคการเมืองที่อยู่ในระบบการเมืองอาศัยทรัพยากรของรัฐ และสมคบคิดกันกีดกันไม่ให้พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใหม่ ๆ เข้าสู่ระบบการเมืองเพื่อรับประกันความอยู่รอดของพรรคการเมืองในระบบ มโนทัศน์เรื่องพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจจึงเกี่ยวข้องกับพัฒนาการประชาธิปไตย (โดยเฉพาะในตะวันตก) การจัดองค์กรของพรรคการเมือง และการแข่งกันของพรรคการเมืองในสนามเลือกตั้งด้วย ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดตัวแบบพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจขึ้นนั้นมาจากการถดถอยของพรรคแนวมวลชนและการลดลงอย่างต่อเนื่องของสมาชิกพรรคการเมือง ที่เคยเป็นแหล่งที่มาหลักของเงินสนับสนุนพรรคการเมือง พรรคการเมืองในระบบจึงหันไปใช้ยุทธศาสตร์การรณรงค์หาเสียงที่ใช้ต้นทุนสูงและใช้เทคโนโลยีสื่อสารมวลชนสมัยใหม่เพื่อดึงดูดการสนับสนุนจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามด้วยต้นทุนทางการเมืองที่สูงขึ้น พรรคการเมืองจึงหันไปหาการสนับสนุนจากรัฐ (state subventions) เพื่อทดแทนการสนับสนุนจากภาคประชาสังคม ผลก็คือ พรรคการเมืองที่มีความเป็นสถาบันสูงในระบบการเมืองค่อย ๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐที่ร่วมมือกันแบ่งปันทรัพยากรและกีดกันตัวแสดงทางการเมืองใหม่ไม่ให้เข้าสู่ระบบและเพื่อประกันส่วนแบ่งในตลาดการเมืองนั่นเอง

 

มโนทัศน์ว่าด้วย "พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ"

          ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 งานวิชาการเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างวิตกกังวลกับแนวโน้มความเสื่อมถอยของบทบาทพรรคการเมืองในประเทศประชาธิปไตยก้าวหน้า (advanced democratic countries) ทว่า Richard Katz และ Peter Mair กลับโต้แย้งว่า ข้อวิเคราะห์ดังกล่าวนอกจากจะไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงทางการเมืองแล้วยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับพัฒนาการของพรรคการเมืองในโลกประชาธิปไตยตะวันตก กล่าวคือความกังวลเหล่านั้นยึดถือตัวแบบพรรคการเมืองแนวมวลชน (mass-based parties) เป็นบรรทัดฐานในการประเมินการออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่น้อยลงและจำนวนสมาชิกพรรคที่ลดลงว่าเป็นแนวโน้มของความเสื่อมถอยของพรรคการเมือง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วพรรคการเมืองในระบบการเมืองกำลังปรับตัวอันเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการมีส่วนร่วมที่ถดถอยลงดังกล่าว[1]

          Katz และ Mair เสนอว่าพัฒนาการนี้ได้นำไปสู่การเกิดตัวแบบใหม่ของพรรคการเมือง หรือ ที่เรียกว่า “พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ” (cartel parties)[2] ซึ่งปรับตัวจากที่เคยพึ่งพาการมีส่วนร่วมและเงินสนับสนุนจากสมาชิกพรรคมาสู่การพึ่งพาเงินสนับสนุนของรัฐ บรรดาพรรคการเมืองที่อยู่ในอำนาจจึงสมคบคิดกัน (collusion) แบ่งปันทรัพยากรดังกล่าวเพื่อใช้ในการบริหารจัดการองค์กรพรรคการเมืองและเพื่อรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยมีเป้าหมายเพื่อการประกันความอยู่รอดของพรรคการเมืองของตนและพันธมิตรในระบบการเมือง จึงพร้อมที่จะใช้ความได้เปรียบจากที่ตนเองเป็นพรรคที่มีความเป็นสถาบันสูง กีดกันและขัดขวางพรรคการเมืองเกิดใหม่ไม่ให้เข้ามาท้าทายและเพิ่มส่วนแบ่งจากทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่อย่างจำกัด ในแง่นี้ การแข่งขันทางการเมืองในสนามเลือกตั้งจึงถูกแทนที่ด้วยการร่วมมือกันระหว่างพรรคการเมืองซึ่งมีตำแหน่งแห่งที่ในระบบการเมืองอยู่แล้ว

          พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ เริ่มปรากฏให้เห็นในประชาธิปไตยตะวันตกนับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยเกิดขึ้นในบริบทที่สิทธิการเลือกตั้งถูกขยายออกไปสู่มวลชลอย่างกว้างขวาง (mass suffrage) เช่นเดียวกับการเกิดพรรคแนวมวลชนและพรรคแนวกินรวบ (catch-all party) แต่เป้าหมายทางการเมืองของพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจกลับเป็นการดำเนินการทางการเมืองเพื่อตนเอง (self-reference) เนื่องจากมองว่าการเมืองเป็นอาชีพซึ่งต้องใช้ทักษะการบริหารจัดการสมัยใหม่เพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลทางการเมือง (managerial skills and efficiency) ในด้านการแข่งขันเลือกตั้งนั้นพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจมักใช้ทุนสูง (capital-intensive campaign) ทั้งยังอาศัยความได้เปรียบในการเข้าถึงช่องทางการสื่อสารที่รัฐควบคุมอยู่ ด้วยการพึ่งพาเงินสนับสนุนจากรัฐเป็นหลักเพื่อทดแทนการขาดหายไปของเงินบริจาคจากสมาชิกพรรคที่ลดลงอย่างมาก[3]

          ในแง่นี้สนามเลือกตั้งจึงถูกจำกัดไว้เฉพาะพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจที่อยู่ในระบบการเมืองเท่านั้น เพราะสำหรับพรรคการเมืองเกิดใหม่แล้วดูจะเป็นเรื่องยากลำบากที่จะแข่งขันกับพรรคการเมืองเดิมในระบบที่มีความได้เปรียบแทบทุกด้านจนแทบจะเป็นเสมือนตัวแทนของรัฐ (agent of state) มากกว่าผู้แทนของประชาชน ที่สำคัญก็คือ พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจทำให้เส้นแบ่งระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกและผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเกิดความคลุมเครือ เนื่องจากพรรคมุ่งระดมการสนับสนุนจากปัจเจกชนคนใดก็ตามโดยไม่สนใจความเป็นสมาชิกพรรคหรือความเป็นกลุ่มก้อนเหมือนเช่นพรรคแนวมวลชน ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สนับสนุนพรรคกับชนชั้นนำภายในพรรคจึงค่อนข้างเป็นอิสระจากกันและกัน (mutual autonomy)[4]

 

กรณีศึกษาพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ

          พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจไม่ได้เป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการของพรรคการเมือง แต่เป็นรูปแบบของพรรคที่ปรับตัวและผสมกลายพันธุ์มาจากพรรคแนวมวลชนและพรรคแนวกินรวบ การที่จะชี้ชัดว่าพรรคการเมืองใดหรือระบบพรรคในประเทศใดเป็นไปตามตัวแบบพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะตามปกติแล้วพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจต่างก็มีตะกอนบางอย่างของพรรคแนวมวลชนและพรรคแนวกินรวบด้วยกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจสามารถพบเห็นได้แพร่หลายในประชาธิปไตยตะวันตกมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เหตุผลสำคัญ ก็คือ ระบบพรรคการเมืองในยุโรปตะวันตกมีความเป็นสถาบันสูง (high institutionalization) ซึ่งพรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งและกำหนดนโยบายสาธารณะ นอกจากนั้นแล้ว กระแสการเคลื่อนไหวนอกสภาเพื่อก่อตั้งพรรคการเมืองแนวมวลชนยังเป็นที่แพร่หลายในยุโรปมากกว่าภูมิภาคอื่น ซึ่งทำให้พรรคการเมืองเหล่านั้นมีผู้สนับสนุนด้านทรัพยากรและกำลังคนอย่างเด่นชัดเมื่อเปรียบเทียบกับในสหรัฐอเมริกาที่มุ่งเน้นการสนับสนุนผู้สมัครรายบุคคลมากกว่าพรรคการเมือง อย่างไรก็ตาม พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจก็อาจเกิดขึ้นได้ในระบบอำนาจนิยมอย่างประเทศรัสเซีย เป็นต้น

 

กรณีเยอรมนีและเดนมาร์ก

          พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ มีแนวโน้มที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบร่วมมือกันระหว่างพรรคมากกว่าประเทศที่ระบบพรรคการเมืองคุ้นเคยกับการช่วงชิงแข่งขันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล[5] ในเยอรมนีพรรคซึ่งมีที่นั่งในรัฐสภามักแสวงหาโอกาสที่จะเพิ่มเงินสนับสนุนจากรัฐร่วมกัน ขณะที่ในเดนมาร์ก สัดส่วนรายได้ของพรรคจากภาคประชาสังคมก็ลดลงอย่างต่อเนื่องขณะที่เงินสนับสนุนภาครัฐเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[6] ซึ่งพรรคการเมืองทั้งสองประเทศต่างมีแนวโน้มที่จะร่วมมือกันเป็นพันธมิตรผ่านตัวแสดงทางการเมืองที่ร่วมมือกับฝ่ายตรงข้ามและพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในประเด็นทางการเมืองที่ไม่จำเป็น กล่าวคือ นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งไม่ได้มองฝ่ายตรงข้ามเป็นศัตรูทางการเมือง แต่มองว่าเป็นเพื่อนร่วมอาชีพที่ไม่เพียงจะสามารถทำงานร่วมกันในพรรคร่วมรัฐบาลและคณะกรรมาธิการของรัฐสภาเท่านั้น หากยังมีความร่วมมือในมิติของความสำเร็จส่วนบุคคล (เช่น รายได้ การได้รับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และความทะเยอทะยานในตำแหน่งที่สูงขึ้น) และมิติเชิงองค์กรของพรรค (เช่น การได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ และการได้รับการจัดสรรตำแหน่งผ่านพรรค) ซึ่งผลักดันให้พวกเขาพร้อมที่จะร่วมมือกันระหว่างพรรค (inter-party cooperation)[7] โดยที่ระดับความเป็นมืออาชีพที่สูงของนักการเมืองของทั้งสองประเทศต่างเป็นปัจจัยที่ช่วยให้สองประเทศนี้เคลื่อนเข้าสู่ตัวแบบพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจและหยุดชะงักพัฒนาการของระบบพรรคการเมือง

 

กรณีสเปนและโปรตุเกส

          ในประเทศ ประชาธิปไตยเกิดใหม่ (emerging democracies) อย่างสเปนและโปรตุเกส ช่วงปลายทศวรรษ 1990 นั้นแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าพรรคการเมืองที่มีบทบาทนำอย่าง Socialist Party (the PSOE) และ Popular Party (PP) ในสเปน และ Social Democrats (PSD) และ Socialists (PS)
ในโปรตุเกส พึ่งพาเงินสนับสนุนจากรัฐเป็นหลักเพื่อใช้ในกิจการภายในพรรคการเมือง (routine activities) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของการเคลื่อนเข้าสู่ตัวแบบพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ[8] โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่พรรคการเมืองเหล่านี้ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะแสวงหารายได้จากแหล่งอื่นในช่วงเวลาที่ประชาธิปไตยพึ่งที่จะกลายเป็นฉันทามติใหม่ทางการเมืองของประเทศ ด้วยการจัดสรรเงินสนับสนุนภาครัฐที่อิงคะแนนเสียงที่ได้รับและจำนวนที่นั่งในสภา (share of votes and seats) จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่พรรคการเมืองใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งจะได้รับเงินสนับสนุนมากกว่าพรรคอื่น ๆ ที่รองลงมา นี่เท่ากับเป็นการลดโอกาสที่พรรคเล็ก ๆ และพรรคก่อตั้งใหม่จะสามารถเข้าสู่ระบบการเมืองได้[9] อย่างไรก็ตาม แม้ดูเหมือนว่าพรรคการเมืองในสองประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่จะมีแนวโน้มที่จะเป็นคนไกลของรัฐ ทว่าเงินสนับสนุนจากภาครัฐของทั้งสองประเทศกลับเสริมแรงให้สำนักงานส่วนกลางของพรรคการเมืองสามารถกระชับอำนาจได้มากขึ้น จนมีอิทธิพลเหนือสมาชิกและผู้แทนราษฎรของพรรคทั้งหมด[10] ซึ่งแตกต่างจากแนวโน้มที่เกิดขึ้นในประชาธิปไตยตะวันตกอื่น ๆ ที่ทรัพยากรทางการเงินและอภิสิทธิ์ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่ที่ผู้มีตำแหน่งสาธารณะ เช่น ตำแหน่งในรัฐบาลและตำแหน่งในรัฐสภา เป็นต้น

 

กรณีสหพันธรัฐรัสเซีย

          ในกรณีของรัสเซียแสดงให้เห็นการปรากฎขึ้นของ พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ ในมิติที่ต่างไปจากประชาธิปไตยตะวันตก แม้นักวิชาการจำนวนมากจะลงความเห็นว่าระบบการปกครองของรัสเซียเอนเอียงไปในทางอำนาจนิยมเพราะมีเพียง พรรค United Russia (UR) ของวลาดิเมีย ปูติน เท่านั้น ที่ชนะเลือกตั้งจนได้เป็นรัฐบาล[11] แต่ในความเป็นจริงแล้วระหว่าง ปี ค.ศ. 2007 ถึง 2016 มีพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาดูมาอีกสามพรรค ได้แก่ Fair Russia (FR), Liberal Democratic Party of Russia (LDPR) และ Communist Party of the Russian Federation (CPRF) โดยสองพรรคแรกเข้าร่วมกับ United Russia ขณะที่ พรรคคอมมิวนิสต์ แสดงออกอย่างเด่นชัดว่ามีอุดมการณ์ที่ขัดแย้งกับสามพรรคฝ่ายรัฐบาล[12] (910) อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมทางการเมืองของ พรรคคอมมิวนิสต์ ก็แสดงให้เห็นว่าเป็น พรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจ กับ พรรคที่สนับสนุนเคมลิน (pro-Kremlin parties) เช่น การผ่านร่างกฎหมายที่กำหนดให้พรรคการเมืองที่จะสมัครรับเลือกตั้งต้องเรียกประชุมพรรคโดยมีจำนวนสมาชิกพรรคในสังกัดขั้นต่ำ ซึ่งมีผลบังคับใช้เฉพาะพรรคการเมืองใหม่ที่ยังไม่เคยมีที่นั่งในสภาเท่านั้น จึงเป็นการสร้างอุปสรรคในการแข่งขันในการเลือกตั้งทั่วไป[13] อย่างไรก็ตาม ทั้งสี่พรรคในสภาดูมามีสมาชิกพรรคเป็นของตัวเอง แต่ก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจการของพรรคมากนัก เนื่องจากทุกพรรคต่างพึ่งพาเงินสนับสนุนจากรัฐและใช้ยุทธศาสตร์รณรงค์หาเสียงที่มีค่าใช้จ่ายสูงและเทคนิคการสื่อสารสมัยใหม่ที่ได้รับความช่วยเหลือจากมืออาชีพด้านการสื่อสารมากกว่าจะใช้กำลังคนกระจายลงไปหาเสียงในพื้นที่ 

 

นัยสำคัญต่อประชาธิปไตย

          การเกิดขึ้นของพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจในประชาธิปไตยยุโรป ซึ่งสะท้อนผ่านความร่วมมือกันระหว่างพรรคการเมืองที่อยู่ในอำนาจ หรือ อยู่ในรัฐบาลแสดงให้เห็นชัดเจนมากขึ้นว่าพรรคการเมืองกำลังถอยห่างจากประชาสังคมและค่อย ๆ ถูกกลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ พัฒนาการนี้ส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอันมีความเชื่อมั่นต่อสถาบันทางการเมืองอย่างพรรคการเมืองลดลงอย่างต่อเนื่อง กระแสเคลื่อนไหวทางความคิดและการเคลื่อนไหวแนวประชานิยม (populist movement) ของประชาชนในหลายประเทศในยุโรปช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของความไม่พอใจและการต่อต้านระบอบ (anti-establishment) ซึ่งมองว่าชนชั้นนำที่ฉ้อฉล (corrupt elites) สมคบคิดกันแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง นอกจากนั้นแล้ว การมาถึงของพรรคแนวกลุ่มสหพันธ์ธุรกิจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความดับศูนย์ของพรรคแนวมวลชน อันเป็นพรรคที่ต้องการปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของกลุ่มทางสังคมผ่านการแข่งขันเชิงนโยบาย[14] เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้ประชาชนในยุโรปตะวันตกจะหันไปหาช่องทางอื่น ๆ (เช่น พรรคการเมืองนอกสภา กลุ่มเรียกร้องประเด็นเฉพาะ และการเรียกร้องผ่านสังคมออนไลน์) เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขา แม้พรรคการเมืองยังคงดำรงอยู่และมีบทบาทมากขึ้นในรัฐบาล แต่สายสัมพันธ์ระหว่างผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกับผู้แทนราษฎรกลับเจือจางลง ขาดความต่อเนื่องและไม่เป็นที่ไว้วางใจในระดับเดียวกับที่เคยเป็นมาอีกต่อไป

 

บรรณานุกรม

Katz, Richard and Peter Mair. (1995). "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party." Party Politics. 1(1): 5-28.

Katz, Richard and Peter Mair. (2009). "The Cartel Party Thesis: A Restatement." American Political Science Association. 7(4): 753-766.

Hutcheson, Derek S. (2012). "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia." Party Politics. 19(6): 907-924.

Detterbeck, Klaus (2005). "Cartel Parties in Western Europe?." Party Politics. 11(2): 173-191.

Van Biezen, Ingrid (2000). "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal." Party Politics. 6(3): 329-342.

 

อ้างอิง

[1] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," Party Politics, 1(1) (1995): 6.

[2] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," 6.

[3] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," 18.

[4] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," 18.

[5] Richard Katz and Peter Mair, "Changing Models of Party Organization and Party Democracy: The Emergence of the Cartel Party," 17.

[6] Klaus Detterbeck, "Cartel Parties in Western Europe?," Party Politics, 11(2) (2005): 187.

[7] Klaus Detterbeck, "Cartel Parties in Western Europe?," 187.

[8] Ingrid van Biezen, "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal," Party Politics, 6(3) (2000): 332.

[9] Ingrid van Biezen, "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal," 337.

[10] Ingrid van Biezen, "Party Financing in New Democracies: Spain and Portugal," 339.

[11] Derek S. Hutcheson, "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia," Party Politics, 19(6) (2012): 908.

[12] Derek S. Hutcheson, "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia," 910.

[13] Derek S. Hutcheson, "Party cartels beyond Western Europe: Evidence from Russia," 912.

[14] Richard Katz and Peter Mair, "The Cartel Party Thesis: A Restatement," American Political Science Association, 7(4) (2009): 760.