ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัตยาเคราะห์เกลือ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ


 
 
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 200px; width: 500px;"
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 200px; width: 500px;"
|-
|-
| [[File:Salt March (1).jpg|center|500x300px]]
| [[File:Salt March (1).jpg|center|500x400px|Salt March (1).jpg]]
| [[File:Salt March (2).jpg|center|500x300px]]
| [[File:Salt March (2).jpg|center|500x400px|Salt March (2).jpg]]
|}
|}


บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
'''ภาพ''' แผนที่การเดินเท้าของขบวนการสัตยาเคราะห์เกลือจากเมืองอาห์มาดาบัดไปยังเมืองดันดี[[#_ftn3|[3]]]
'''ภาพ''' แผนที่การเดินเท้าของขบวนการสัตยาเคราะห์เกลือจากเมืองอาห์มาดาบัดไปยังเมืองดันดี[[#_ftn3|[3]]]


[[File:Salt March (3).jpg|center]]
[[File:Salt March (3).jpg|center|Salt March (3).jpg]]


'''          '''การประท้วงซึ่งนำโดย '''มหาตมา คานธี''' ได้เดินขบวนจาก เมืองอาห์มาดาบัด (Ahmadabad) รัฐคุชราต ในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1930 พร้อมกับผู้ติดตามหลายสิบคนไปยัง เมืองดันดี (Dandi) บริเวณชายฝั่งทะเลอาหรับในมหาสมุทรอินเดีย เพื่อแสดงการต่อต้านของชาวอินเดียและเรียกร้องสิทธิในการผลิตเกลือจากน้ำทะเลด้วยตนเอง ระหว่างทางชาวอินเดียได้รวมตัวกันเพื่อเข้าพบคานธีและต่างก็มารอฟังคานธีกล่าวโจมตีถึงความไม่เป็นธรรมของภาษีที่มุ่งเก็บจากคนยากคนจน ทั้งยังมีชาวอินเดียอีกหลายร้อยคนเข้าร่วมเดินเท้ากับคานธี ทั้งนี้ คานธีได้เขียนจดหมายถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอังกฤษ โดยมีเนื้อความว่าจะหยุดการประท้วง แลกกับการที่อังกฤษยกเลิกภาษีเกลือ ลดภาษีที่ดิน ลดงบกองทัพ และเพิ่มภาษีผ้านำเข้าแต่ไม่ได้รับการตอบรับใด ๆ จากรัฐบาลอังกฤษ เมื่อเป็นเช่นนั้นขบวนเดินเท้าของคานธีได้เดินทางมาถึงเมืองดันดีในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1930 ระยะทางเดินเท้าประมาณ 390 กิโลเมตร ซึ่งคานธีและผู้ติดตามได้หยิบเกลือกำมือหนึ่งจากชายฝั่งขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการ '''“ผลิต”''' เกลือจากน้ำทะเลและถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายเพื่อแสดงออกถึงหลักการสัตยาเคราะห์ของคานธีที่จะเอาชนะความอยุติธรรมด้วยการดื้อแพ่งและไม่ใช้ความรุนแรง[[#_ftn4|[4]]] ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปตามชายฝั่งเพื่อผลิตเกลือเพิ่มและหาผู้ติดตามเพิ่มเติม [[#_ftn5|[5]]]
 
 
'''          '''การประท้วงซึ่งนำโดย '''มหาตมา คานธี''' ได้เดินขบวนจาก เมืองอาห์มาดาบัด (Ahmadabad) รัฐคุชราต ในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1930 พร้อมกับผู้ติดตามหลายสิบคนไปยัง เมืองดันดี (Dandi) บริเวณชายฝั่งทะเลอาหรับในมหาสมุทรอินเดีย เพื่อแสดงการต่อต้านของชาวอินเดียและเรียกร้องสิทธิในการผลิตเกลือจากน้ำทะเลด้วยตนเอง ระหว่างทางชาวอินเดียได้รวมตัวกันเพื่อเข้าพบคานธีและต่างก็มารอฟังคานธีกล่าวโจมตีถึงความไม่เป็นธรรมของภาษีที่มุ่งเก็บจากคนยากคนจน ทั้งยังมีชาวอินเดียอีกหลายร้อยคนเข้าร่วมเดินเท้ากับคานธี ทั้งนี้ คานธีได้เขียนจดหมายถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอังกฤษ โดยมีเนื้อความว่าจะหยุดการประท้วง แลกกับการที่อังกฤษยกเลิกภาษีเกลือ ลดภาษีที่ดิน ลดงบกองทัพ และเพิ่มภาษีผ้านำเข้าแต่ไม่ได้รับการตอบรับใด ๆ จากรัฐบาลอังกฤษ เมื่อเป็นเช่นนั้นขบวนเดินเท้าของคานธีได้เดินทางมาถึงเมืองดันดี ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1930 ระยะทางเดินเท้าประมาณ 390 กิโลเมตร ซึ่งคานธีและผู้ติดตามได้หยิบเกลือกำมือหนึ่งจากชายฝั่งขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการ '''“ผลิต”''' เกลือจากน้ำทะเลและถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายเพื่อแสดงออกถึงหลักการสัตยาเคราะห์ของคานธีที่จะเอาชนะความอยุติธรรมด้วยการดื้อแพ่งและไม่ใช้ความรุนแรง[[#_ftn4|[4]]] ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปตามชายฝั่งเพื่อผลิตเกลือเพิ่มและหาผู้ติดตามเพิ่มเติม [[#_ftn5|[5]]]


'''          '''หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น คานธียังคงเคลื่อนไหวต่อไปอีกเพื่อปลุกเร้าให้ชาวอินเดียร่วมกันฝ่าฝืนกฎหมายที่สั่งห้ามทำเกลือด้วยตนเอง ผลที่เกิดขึ้นคือ ในเดือนเมษายน ชาวอินเดียหลายพันคนถูกจับกุมและถูกคุมขังรวมถึง '''ชวาหะร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru)''' ซึ่งต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย จากนั้นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม คานธีถูกจับกุมหลังจากประกาศที่จะเดินขบวนประท้วงไปยังโรงงานเกลือ ในเมืองดาราซานา (Dharasana) ข่าวการจับกุมคานธีนั้นได้ก่อให้เกิดแรงกระตุ้นในหมู่ชาวอินเดียอีกนับหมื่นคนให้เข้าร่วมสัตยาเคราะห์ โดยการเดินขบวนไปโรงผลิตเกลือตามกำหนดเดิมที่วางไว้ใน วันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 โดยมีผู้ร่วมประท้วงอย่างสันติกว่า 2,500 คน หลายคนถูกจับและถูกตำรวจทำร้ายอย่างรุนแรง และภายในสิ้นปีก็มีคนกว่า 60,000 คน ถูกจำขังอยู่ในคุก ผลจากเหตุการณ์นี้ทำให้ชาวอินเดียทั่วประเทศเริ่มต่อต้านอังกฤษในฐานะเจ้าอาณานิคมอย่างเปิดเผย มีการต่อต้านสินค้าจากอังกฤษ ชาวนาก็ปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีที่ดิน รัฐบาลอังกฤษในอินเดียก็ออกกฎหมายที่รุนแรงกว่าเดิม รวมทั้งการปิดกั้นสื่อ
'''          '''หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น คานธียังคงเคลื่อนไหวต่อไปอีกเพื่อปลุกเร้าให้ชาวอินเดียร่วมกันฝ่าฝืนกฎหมายที่สั่งห้ามทำเกลือด้วยตนเอง ผลที่เกิดขึ้นคือ ในเดือนเมษายน ชาวอินเดียหลายพันคนถูกจับกุมและถูกคุมขังรวมถึง '''ชวาหะร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru)''' ซึ่งต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย จากนั้นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม คานธีถูกจับกุมหลังจากประกาศที่จะเดินขบวนประท้วงไปยังโรงงานเกลือ ในเมืองดาราซานา (Dharasana) ข่าวการจับกุมคานธีนั้นได้ก่อให้เกิดแรงกระตุ้นในหมู่ชาวอินเดียอีกนับหมื่นคนให้เข้าร่วมสัตยาเคราะห์ โดยการเดินขบวนไปโรงผลิตเกลือตามกำหนดเดิมที่วางไว้ใน วันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 โดยมีผู้ร่วมประท้วงอย่างสันติกว่า 2,500 คน หลายคนถูกจับและถูกตำรวจทำร้ายอย่างรุนแรง และภายในสิ้นปีก็มีคนกว่า 60,000 คน ถูกจำขังอยู่ในคุก ผลจากเหตุการณ์นี้ทำให้ชาวอินเดียทั่วประเทศเริ่มต่อต้านอังกฤษในฐานะเจ้าอาณานิคมอย่างเปิดเผย มีการต่อต้านสินค้าจากอังกฤษ ชาวนาก็ปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีที่ดิน รัฐบาลอังกฤษในอินเดียก็ออกกฎหมายที่รุนแรงกว่าเดิม รวมทั้งการปิดกั้นสื่อ
บรรทัดที่ 44: บรรทัดที่ 46:
<span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span>
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] “สัตยาเคราะห์แบบคานธี: การชุมนุมด้วยความรัก และการดื้อแพ่งต่อความอยุติธรรม”, สืบค้นจาก https://www.the101.world/ gandhi-satyagraha/ (27 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref1|[1]]] “สัตยาเคราะห์แบบคานธี: การชุมนุมด้วยความรัก และการดื้อแพ่งต่อความอยุติธรรม”, สืบค้นจาก [https://www.the101.world/ https://www.the101.world/] gandhi-satyagraha/ (27 กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] “Dandi salt March of Mahatma Gandhi know about history of savinay avagya andolan”, Retrieved from URL https://newsbust.in/dandi-salt-march-of-mahatma-gandhi-know-about-history-of-savinay-avagya-andolan/ (27 July 2021).
[[#_ftnref2|[2]]] “Dandi salt March of Mahatma Gandhi know about history of savinay avagya andolan”, Retrieved from URL [https://newsbust.in/dandi-salt-march-of-mahatma-gandhi-know-about-history-of-savinay-avagya-andolan/ https://newsbust.in/dandi-salt-march-of-mahatma-gandhi-know-about-history-of-savinay-avagya-andolan/] (27 July 2021).
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] “Salt March Route Map”, Retrieved from URL http://32132461.weebly.com/-salt-march.html (27 July 2021).
[[#_ftnref3|[3]]] “Salt March Route Map”, Retrieved from URL [http://32132461.weebly.com/-salt-march.html http://32132461.weebly.com/-salt-march.html] (27 July 2021).
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] “สัตยาเคราะห์แบบคานธี: การชุมนุมด้วยความรัก และการดื้อแพ่งต่อความอยุติธรรม”, สืบค้นจาก https://www.the101.world/ gandhi-satyagraha/ (27 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref4|[4]]] “สัตยาเคราะห์แบบคานธี: การชุมนุมด้วยความรัก และการดื้อแพ่งต่อความอยุติธรรม”, สืบค้นจาก [https://www.the101.world/ https://www.the101.world/] gandhi-satyagraha/ (27 กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] “12 มีนาคม 1930 คานธีนำชาวอินเดียทำสัตยาเคราะห์เกลือ “ดื้อแพ่ง” ดังทั่วโลก”, สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_29167(27 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref5|[5]]] “12 มีนาคม 1930 คานธีนำชาวอินเดียทำสัตยาเคราะห์เกลือ “ดื้อแพ่ง” ดังทั่วโลก”, สืบค้นจาก [https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_29167(27 https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_29167(27] กรกฎาคม 2564).
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] “Gandhi-Irwin Pact” , Retrieved from URL https://www.britannica.com/event/Gandhi-Irwin-Pact(27 July 2021).
[[#_ftnref6|[6]]] “Gandhi-Irwin Pact” , Retrieved from URL [https://www.britannica.com/event/Gandhi-Irwin-Pact(27 https://www.britannica.com/event/Gandhi-Irwin-Pact(27] July 2021).
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] “1931 Indian Round Table Conference”, Retrieved from URL [https://www.parliament.uk/about/living-heritage/%20evolutionof%20parliament/%20legislatives%20crutiny/ https://www.parliament.uk/about/living-heritage/ evolutionof parliament/ legislatives crutiny/]parliament-and-empire/collections1/collections2/1931-round-table-conference/ (27 July 2021).
[[#_ftnref7|[7]]] “1931 Indian Round Table Conference”, Retrieved from URL [https://www.parliament.uk/about/living-heritage/%20evolutionof%20parliament/%20legislatives%20crutiny/ https://www.parliament.uk/about/living-heritage/ evolutionof parliament/ legislatives crutiny/]parliament-and-empire/collections1/collections2/1931-round-table-conference/ (27 July 2021).
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] “12 มีนาคม 1930 คานธีนำชาวอินเดียทำสัตยาเคราะห์เกลือ “ดื้อแพ่ง” ดังทั่วโลก”, สืบค้นจาก https://www.the101.world/gandhi-satyagraha/ (27 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref8|[8]]] “12 มีนาคม 1930 คานธีนำชาวอินเดียทำสัตยาเคราะห์เกลือ “ดื้อแพ่ง” ดังทั่วโลก”, สืบค้นจาก [https://www.the101.world/gandhi-satyagraha/ https://www.the101.world/gandhi-satyagraha/] (27 กรกฎาคม 2564).


&nbsp;
&nbsp;
</div> </div>
</div> </div>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:04, 6 มิถุนายน 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          สัตยาเคราะห์เกลือ (Salt Satyagraha หรือ Salt March) หมายถึง การเดินเท้าของชาวอินเดีย ซึ่งเป็นรูปแบบการประท้วงอย่างสันติเพื่อเรียกร้องสิทธิในการผลิตเกลือด้วยตนเอง ที่นำโดย มหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) โดยคำว่า “สัตยาเคราะห์” มีความหมายว่า “แข็งแกร่งหนักแน่นในความจริง” ซึ่งในมุมมองของคานธีนั้น “สัตยาเคราะห์” ไม่ได้ใช้สำหรับเพียงเพื่อการเคลื่อนไหวในทางการเมืองเท่านั้น แต่ควรถูกปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเราเองจนเกิดเป็นนิสัย เพราะหากทุกคนหนักแน่นในความเป็นจริงแล้วเราก็จะสามารถพิเคราะห์ว่าอะไรคือความยุติธรรมที่แท้จริงในทุกมิติ[1]

          ต้นกำเนิดของสัตยาเคราะห์เกลือ เกิดขึ้นในอินเดียเมื่อ ปี ค.ศ. 1930 ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ในเวลานั้นการผลิตและจำหน่ายเกลือในอินเดียถูกสงวนให้กับกิจการของอังกฤษ เนื่องจากอังกฤษต้องการผูกขาดเกลือไว้ซึ่งได้ทำกำไรให้อังกฤษมายาวนาน โดยได้ผ่านกฎหมายหลายฉบับตั้งแต่พระราชบัญญัติเกลือ ค.ศ. 1882 (Britain’s Salt Act of 1882) ที่ห้ามชาวอินเดียผลิตหรือจำหน่ายเกลือด้วยตนเอง ส่งผลให้ชาวอินเดียต้องซื้อเกลือราคาแพงกว่าปกติเพราะต้องจ่ายภาษีเพิ่มเข้าไปอีกทำให้เกลือมีราคาสูง ทั้งยังกระทบต่อชาวอินเดียส่วนใหญ่ที่ยากจนและไม่สามารถซื้อเกลือได้ด้วยเงินของตนเอง นำมาสู่ความไม่พอใจของประชาชนชาวอินเดียจำนวนมากและเป็นประเด็นถกเถียงที่สำคัญมาตลอดระยะเวลาหลายปีของการปกครองอินเดียของอังกฤษ

 

ภาพ การเดินเท้าของขบวนการสัตยาเคราะห์เกลือ[2]

Salt March (1).jpg
Salt March (1).jpg
Salt March (2).jpg
Salt March (2).jpg

 

ภาพ แผนที่การเดินเท้าของขบวนการสัตยาเคราะห์เกลือจากเมืองอาห์มาดาบัดไปยังเมืองดันดี[3]

Salt March (3).jpg
Salt March (3).jpg

 

          การประท้วงซึ่งนำโดย มหาตมา คานธี ได้เดินขบวนจาก เมืองอาห์มาดาบัด (Ahmadabad) รัฐคุชราต ในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1930 พร้อมกับผู้ติดตามหลายสิบคนไปยัง เมืองดันดี (Dandi) บริเวณชายฝั่งทะเลอาหรับในมหาสมุทรอินเดีย เพื่อแสดงการต่อต้านของชาวอินเดียและเรียกร้องสิทธิในการผลิตเกลือจากน้ำทะเลด้วยตนเอง ระหว่างทางชาวอินเดียได้รวมตัวกันเพื่อเข้าพบคานธีและต่างก็มารอฟังคานธีกล่าวโจมตีถึงความไม่เป็นธรรมของภาษีที่มุ่งเก็บจากคนยากคนจน ทั้งยังมีชาวอินเดียอีกหลายร้อยคนเข้าร่วมเดินเท้ากับคานธี ทั้งนี้ คานธีได้เขียนจดหมายถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอังกฤษ โดยมีเนื้อความว่าจะหยุดการประท้วง แลกกับการที่อังกฤษยกเลิกภาษีเกลือ ลดภาษีที่ดิน ลดงบกองทัพ และเพิ่มภาษีผ้านำเข้าแต่ไม่ได้รับการตอบรับใด ๆ จากรัฐบาลอังกฤษ เมื่อเป็นเช่นนั้นขบวนเดินเท้าของคานธีได้เดินทางมาถึงเมืองดันดี ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1930 ระยะทางเดินเท้าประมาณ 390 กิโลเมตร ซึ่งคานธีและผู้ติดตามได้หยิบเกลือกำมือหนึ่งจากชายฝั่งขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการ “ผลิต” เกลือจากน้ำทะเลและถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายเพื่อแสดงออกถึงหลักการสัตยาเคราะห์ของคานธีที่จะเอาชนะความอยุติธรรมด้วยการดื้อแพ่งและไม่ใช้ความรุนแรง[4] ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปตามชายฝั่งเพื่อผลิตเกลือเพิ่มและหาผู้ติดตามเพิ่มเติม [5]

          หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น คานธียังคงเคลื่อนไหวต่อไปอีกเพื่อปลุกเร้าให้ชาวอินเดียร่วมกันฝ่าฝืนกฎหมายที่สั่งห้ามทำเกลือด้วยตนเอง ผลที่เกิดขึ้นคือ ในเดือนเมษายน ชาวอินเดียหลายพันคนถูกจับกุมและถูกคุมขังรวมถึง ชวาหะร์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) ซึ่งต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย จากนั้นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม คานธีถูกจับกุมหลังจากประกาศที่จะเดินขบวนประท้วงไปยังโรงงานเกลือ ในเมืองดาราซานา (Dharasana) ข่าวการจับกุมคานธีนั้นได้ก่อให้เกิดแรงกระตุ้นในหมู่ชาวอินเดียอีกนับหมื่นคนให้เข้าร่วมสัตยาเคราะห์ โดยการเดินขบวนไปโรงผลิตเกลือตามกำหนดเดิมที่วางไว้ใน วันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 โดยมีผู้ร่วมประท้วงอย่างสันติกว่า 2,500 คน หลายคนถูกจับและถูกตำรวจทำร้ายอย่างรุนแรง และภายในสิ้นปีก็มีคนกว่า 60,000 คน ถูกจำขังอยู่ในคุก ผลจากเหตุการณ์นี้ทำให้ชาวอินเดียทั่วประเทศเริ่มต่อต้านอังกฤษในฐานะเจ้าอาณานิคมอย่างเปิดเผย มีการต่อต้านสินค้าจากอังกฤษ ชาวนาก็ปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีที่ดิน รัฐบาลอังกฤษในอินเดียก็ออกกฎหมายที่รุนแรงกว่าเดิม รวมทั้งการปิดกั้นสื่อ

          คานธีได้รับการปล่อยตัวจากการควบคุมตัวในเดือนมกราคม ค.ศ. 1931 และเริ่มเจรจากับลอร์ดเออร์วินผู้สำเร็จราชการของรัฐบาลอังกฤษในอินเดีย (Lord Irwin, the viceroy of India) เพื่อยุติการรณรงค์สัตยาเคราะห์ ในเวลาต่อมาได้มีการประกาศข้อตกลง คานธี-เออร์วิน (Gandhi-Irwin Pact) ที่ลงนาม เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1931 อย่างเป็นทางการ เพื่อยุติช่วงเวลาแห่งการอารยะขัดขืนโดยคานธียกเลิกการเดินขบวน ในขณะที่ลอร์ดเออร์วินตกลงที่จะปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังและอนุญาตให้ชาวอินเดียทำเกลือเพื่อใช้ในครัวเรือนได้ชั่วคราว[6] นอกจากนี้ คานธียังได้สิทธิในการเข้าร่วมการเจรจาในการประชุมที่กรุงลอนดอน (Second Round Table Conference) ใน ปี ค.ศ. 1931 เกี่ยวกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญและอนาคตของอินเดีย[7]

          ทั้งนี้ การสัตยาเคราะห์เกลือของคานธีและการจับกุมผู้ประท้วงของรัฐบาลอังกฤษทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ก่อให้เกิดแรงกดดันมหาศาลต่อรัฐบาลอังกฤษในการรักษาอินเดียไว้ในฐานะประเทศอาณานิคม กล่าวได้ว่า สัตยาเคราะห์เกลือ เป็นก้าวสำคัญของคานธีและของอินเดียในการไปสู่อิสรภาพในการได้รับเอกราช ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 หลังจากตกอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษมาเป็นเวลายาวนาน[8]

 

บรรณานุกรม

ผะอบ จึงแสงสถิตย์พร.(2560). “มหาตมา คานธี: วิธีการต่อสู้” วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 , หน้า 173-192.

 

อ้างอิง

[1] “สัตยาเคราะห์แบบคานธี: การชุมนุมด้วยความรัก และการดื้อแพ่งต่อความอยุติธรรม”, สืบค้นจาก https://www.the101.world/ gandhi-satyagraha/ (27 กรกฎาคม 2564).

[2] “Dandi salt March of Mahatma Gandhi know about history of savinay avagya andolan”, Retrieved from URL https://newsbust.in/dandi-salt-march-of-mahatma-gandhi-know-about-history-of-savinay-avagya-andolan/ (27 July 2021).

[3] “Salt March Route Map”, Retrieved from URL http://32132461.weebly.com/-salt-march.html (27 July 2021).

[4] “สัตยาเคราะห์แบบคานธี: การชุมนุมด้วยความรัก และการดื้อแพ่งต่อความอยุติธรรม”, สืบค้นจาก https://www.the101.world/ gandhi-satyagraha/ (27 กรกฎาคม 2564).

[5] “12 มีนาคม 1930 คานธีนำชาวอินเดียทำสัตยาเคราะห์เกลือ “ดื้อแพ่ง” ดังทั่วโลก”, สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_29167(27 กรกฎาคม 2564).

[6] “Gandhi-Irwin Pact” , Retrieved from URL https://www.britannica.com/event/Gandhi-Irwin-Pact(27 July 2021).

[7] “1931 Indian Round Table Conference”, Retrieved from URL https://www.parliament.uk/about/living-heritage/ evolutionof parliament/ legislatives crutiny/parliament-and-empire/collections1/collections2/1931-round-table-conference/ (27 July 2021).

[8] “12 มีนาคม 1930 คานธีนำชาวอินเดียทำสัตยาเคราะห์เกลือ “ดื้อแพ่ง” ดังทั่วโลก”, สืบค้นจาก https://www.the101.world/gandhi-satyagraha/ (27 กรกฎาคม 2564).