ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 52: | ||
(6) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ | (6) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ'''</span> = | ||
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายให้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง เนื่องจากการที่ตนได้ปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจโดยสุจริตตามกฎหมาย[[#_ftn6|[6]]] | ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายให้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง เนื่องจากการที่ตนได้ปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจโดยสุจริตตามกฎหมาย[[#_ftn6|[6]]] โดยมุ่งหมายที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ และให้เฝ้าระวัง และติดตามเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศอย่างต่อเนื่อง | ||
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและทำความจริงให้ปรากฏโดยไม่ล่าช้า และต้องศึกษาและวิเคราะห์ให้ทราบถึง สาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งเน้นที่จะแก้ไขปัญหาและป้องกันมิให้เกิดการละเมิด สิทธิมนุษยชนในเรื่องนั้นหรือลักษณะเดียวกันนั้นขึ้นอีก[[#_ftn7|[7]]] โดยทำงานในลักษณะของการประสานหรือแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาสังคม[[#_ftn8|[8]]] ทั้งนี้ ต้องไม่สร้างขั้นตอนหรือเป็นภาระแก่บุคคลหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมากเกินจำเป็น และต้องเปิดโอกาสให้ผู้ร้องเรียนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องชี้แจง และแสดงพยานหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนได้ตามสมควร[[#_ftn9|[9]]] | ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและทำความจริงให้ปรากฏโดยไม่ล่าช้า และต้องศึกษาและวิเคราะห์ให้ทราบถึง สาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งเน้นที่จะแก้ไขปัญหาและป้องกันมิให้เกิดการละเมิด สิทธิมนุษยชนในเรื่องนั้นหรือลักษณะเดียวกันนั้นขึ้นอีก[[#_ftn7|[7]]] โดยทำงานในลักษณะของการประสานหรือแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาสังคม[[#_ftn8|[8]]] ทั้งนี้ ต้องไม่สร้างขั้นตอนหรือเป็นภาระแก่บุคคลหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมากเกินจำเป็น และต้องเปิดโอกาสให้ผู้ร้องเรียนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องชี้แจง และแสดงพยานหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนได้ตามสมควร[[#_ftn9|[9]]] | ||
เมื่อตรวจพบการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแจ้งหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดซึ้งต้องไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยคณะกรรมการต้องเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น และเยียวหาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีนั้นด้วย[[#_ftn10|[10]]] หากในกรณีที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นความผิดอาญา คณะกรรมการมีอำนาจร้องทุกข์หรือกล่าวโทษในฐานะผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญาได้[[#_ftn11|[11]]] ทั้งนี้ ในกรณีที่กรรมการผู้ใดพบเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนเพราะอาจก่ออันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือไม่มีทางเยียวยาได้ในภายหลัง กรรมการผู้นั้นอาจแจ้งให้หน่วยงานของรัฐให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น แล้วแจ้งให้คณะกรรมการทราบในภายหลังต่อไปได้[[#_ftn12|[12]]] | เมื่อตรวจพบการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแจ้งหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดซึ้งต้องไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยคณะกรรมการต้องเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น และเยียวหาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีนั้นด้วย[[#_ftn10|[10]]] หากในกรณีที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นความผิดอาญา คณะกรรมการมีอำนาจร้องทุกข์หรือกล่าวโทษในฐานะผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญาได้[[#_ftn11|[11]]] ทั้งนี้ ในกรณีที่กรรมการผู้ใดพบเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนเพราะอาจก่ออันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือไม่มีทางเยียวยาได้ในภายหลัง กรรมการผู้นั้นอาจแจ้งให้หน่วยงานของรัฐให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น แล้วแจ้งให้คณะกรรมการทราบในภายหลังต่อไปได้[[#_ftn12|[12]]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''การประชุมและการลงมติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''การประชุมและการลงมติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ'''</span> = |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:13, 5 เมษายน 2565
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
ความเป็นมาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติให้มี “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” เป็น “องค์กรอิสระ” ทำหน้าที่ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสม รวมทั้งอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จึงได้ตรา พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ขึ้น ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดเปลี่ยนสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้เป็น “องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ” ปัจจุบันคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับการบัญญัติให้เป็น “องค์กรอิสระ” ในหมวด 12 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญปัจจุบันได้กำหนดกรอบหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไว้ให้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมจากที่เคยกำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา พร้อมทั้งกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้แตกต่างจากคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระอื่น ด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้เป็นกลางทางการเมือง และมีความรู้และมีประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี[1] เพื่อให้เกิดความหลากหลายโดยให้มีผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสรรหา เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปารีส (Paris Principles) ซึ่งเป็นหลักการที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของนานาชาติในการรับรองคุ้มครององค์กรสิทธิมนุษยชนด้วย
องค์ประกอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว[2]
คุณสมบัติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี และมีคุณสมบัติทั่วไป คือ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปตามมาตรา 202 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนจะต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง มีความรู้และประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี[3] การกำหนดเช่นนี้เพ่อให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) และหลักการปารีสว่าด้วยสถานะของสถาบันแห่งชาติเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Paris Principles Relating to the Status of National Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights)
การสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากองค์กรอิสระอื่น โดยจะต้องเปิดกว้างและควรมีองค์ประกอบของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ตรงตามเจตนารมณ์ของหลักการปารีส ทั้งนี้ ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของ “คณะกรรมการสรรหา” ในการสรรหาผู้สมัครที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยคณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย
(1) ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ
(2) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการ
(3) ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นกรรมการ
(4) ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน องค์กรละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสามคน เป็นกรรมการ
(5) ผู้แทนสภาทนายความหนึ่งคน ผู้แทนสภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข เลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน และผู้แทนสภาวิชาชีพสื่อมวลชนเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน เป็นกรรมการ
(6) อาจารย์ประจำหรือผู้เคยเป็นอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งสอนหรือทำงานวิจัย หรือทำงานด้านสิทธิมนุษยชนมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี ซึ่งกรรมการตาม (1) (2) (3) (4) และ (5) มีมติเลือกด้วยคะแนนเสียงสองในสาม หนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้เลขาธิการวุฒิสภาเป็นเลขานุการของคณะกรรมการสรรหา และให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการสรรหา[4]
หน้าที่และอำนาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น โดยคำนึงถึงความผาสุกของประชาชนชาวไทยและผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นสำคัญ และได้ปรับเปลี่ยนอำนาจในการเสนอเรื่องหรือฟ้องคดีต่อศาลของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติออก และมุ่งเน้นให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจในการชี้แจงและแถลงข้อเท็จจริงที่ถูกต้องให้ต่างประเทศทราบในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่บิดเบือน ไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นธรรมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเป็นองค์กรตรวจสอบสิทธิในประเทศ
หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีดังนี้[5]
(1) ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่ล่าช้า และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดทำรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อประชาชน
(3) เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
(4) ชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
(5) สร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
(6) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายให้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง เนื่องจากการที่ตนได้ปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจโดยสุจริตตามกฎหมาย[6] โดยมุ่งหมายที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ และให้เฝ้าระวัง และติดตามเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศอย่างต่อเนื่อง
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและทำความจริงให้ปรากฏโดยไม่ล่าช้า และต้องศึกษาและวิเคราะห์ให้ทราบถึง สาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งเน้นที่จะแก้ไขปัญหาและป้องกันมิให้เกิดการละเมิด สิทธิมนุษยชนในเรื่องนั้นหรือลักษณะเดียวกันนั้นขึ้นอีก[7] โดยทำงานในลักษณะของการประสานหรือแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาสังคม[8] ทั้งนี้ ต้องไม่สร้างขั้นตอนหรือเป็นภาระแก่บุคคลหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมากเกินจำเป็น และต้องเปิดโอกาสให้ผู้ร้องเรียนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องชี้แจง และแสดงพยานหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนได้ตามสมควร[9]
เมื่อตรวจพบการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแจ้งหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดซึ้งต้องไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยคณะกรรมการต้องเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น และเยียวหาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีนั้นด้วย[10] หากในกรณีที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นความผิดอาญา คณะกรรมการมีอำนาจร้องทุกข์หรือกล่าวโทษในฐานะผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญาได้[11] ทั้งนี้ ในกรณีที่กรรมการผู้ใดพบเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนเพราะอาจก่ออันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือไม่มีทางเยียวยาได้ในภายหลัง กรรมการผู้นั้นอาจแจ้งให้หน่วยงานของรัฐให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น แล้วแจ้งให้คณะกรรมการทราบในภายหลังต่อไปได้[12]
การประชุมและการลงมติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การประชุมของคณะกรรมการต้องมี กรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการลงมติในการประชุมของคณะกรรมการให้ใช้คะแนนเสียงข้างมาก โดยประธานในที่ประชุมและกรรมการที่มาประชุมต้องลงคะแนนเสียง เพื่อมีมติโดยจะงดออกเสียงมิได้และให้กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ในกรณีมีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด[13]
สิทธิประโยชน์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่กฎหมายกำหนด โดยประธานกรรมการและกรรมการมีสิทธิได้รับเงินค่ารับรองเหมาจ่ายเป็นรายเดือนตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าเงินประจำตำแหน่งของประธานกรรมการหรือกรรมการ[14] นอกจากนี้ ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีสิทธิได้รับ “บำเหน็จตอบแทน” เป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1) ครบวาระ
2) ตาย
3) ลาออก
4) มีอายุครบ 70 ปี[15]
บรรณานุกรม
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 114/ตอนที่ 55 ก/11 ตุลาคม 2540. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 124/ตอนที่ 47 ก/ 24 สิงหาคม 2550. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/ 6 เมษายน 2560. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม 134/ตอนที่ 123 ก/ 12 ธันวาคม 2560. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
อ้างอิง
[1] มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[2] มาตรา 246 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[3] มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[4] มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[5] มาตรา 247 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[6] มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[7] มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[8] มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[9] มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[10] มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[11] มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[12] มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[13] มาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[14] มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
[15] มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560