ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเงินของพรรคการเมือง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
'''การเงินของพรรคการเมือง (Party Finance)'''
'''การเงินของพรรคการเมือง (Party Finance)'''


          การเงินของพรรคการเมือง (party finance) หมายถึงกระแสเงินที่ไหลเข้าและออกจากพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคซึ่งถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง เช่น การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งการบริหารจัดการองค์กรพรรค การดำเนินกิจการของพรรค รวมถึงการวิจัยและพัฒนาของพรรคการเมืองในการเมืองอเมริกัน คำว่า “การเงินในการรณรงค์เลือกตั้ง” (campaign finance or campaign funding) ถูกใช้ในความหมายใกล้เคียงกับการเงินของพรรคการเมือง เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งมีบทบาทโดดเด่นมากกว่าพรรคการเมือง ดังนั้น เงินส่วนใหญ่จึงกระจุกตัวอยู่ที่การสนับสนุนผู้สมัครเป็นรายบุคคลมากกว่าองค์กรพรรคการเมือง ซึ่งแตกต่างจากระบบพรรคการเมืองในยุโรปตะวันตกที่มีความเป็นสถาบันสูงจึงนิยมเรียกกระแสเงินในกิจกรรมทางการเมืองของพรรคว่า '''''“การเงินของพรรคการเมือง”''''' อย่างไรก็ตาม คำที่ครอบคลุมความหมายทั้งสองด้านก็คือ '''''“การเงินทางการเมือง” (political finance)''''' ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในบริบทการเมืองอเมริกันและการเมืองยุโรป ทั้งนี้การเงินของพรรคการเมืองเป็นประเด็นสำคัญของการปฏิรูปพรรคการเมืองช่วงปลายทศวรรษ 1990 ถึงต้นทศวรรษ 2000 เนื่องจากต้องการที่จะจัดการเส้นทางรายได้ของพรรคและการใช้จ่ายของพรรคการเมืองเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ขจัดปัญหาการคอร์รัปชั่น และสร้างความเป็นธรรมในสนามเลือกตั้งด้วย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''การเงินของพรรคการเมือง (party finance)''' หมายถึงกระแสเงินที่ไหลเข้าและออกจากพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคซึ่งถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง เช่น การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งการบริหารจัดการองค์กรพรรค การดำเนินกิจการของพรรค รวมถึงการวิจัยและพัฒนาของพรรคการเมืองในการเมืองอเมริกัน คำว่า '''“การเงินในการรณรงค์เลือกตั้ง” (campaign finance or campaign funding)''' ถูกใช้ในความหมายใกล้เคียงกับการเงินของพรรคการเมือง เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งมีบทบาทโดดเด่นมากกว่าพรรคการเมือง ดังนั้น เงินส่วนใหญ่จึงกระจุกตัวอยู่ที่การสนับสนุนผู้สมัครเป็นรายบุคคลมากกว่าองค์กรพรรคการเมือง ซึ่งแตกต่างจากระบบพรรคการเมืองในยุโรปตะวันตกที่มีความเป็นสถาบันสูงจึงนิยมเรียกกระแสเงินในกิจกรรมทางการเมืองของพรรคว่า '''“การเงินของพรรคการเมือง”''' อย่างไรก็ตาม คำที่ครอบคลุมความหมายทั้งสองด้านก็คือ ''''''''''<b>การเงินทางการเมือง” (political finance</b>''''')''''' ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในบริบทการเมืองอเมริกันและการเมืองยุโรป ทั้งนี้การเงินของพรรคการเมืองเป็นประเด็นสำคัญของการปฏิรูปพรรคการเมืองช่วงปลายทศวรรษ 1990 ถึงต้นทศวรรษ 2000 เนื่องจากต้องการที่จะจัดการเส้นทางรายได้ของพรรคและการใช้จ่ายของพรรคการเมืองเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ขจัดปัญหาการคอร์รัปชั่น และสร้างความเป็นธรรมในสนามเลือกตั้งด้วย


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
'''กรอบแนวคิด "การเงินของพรรคการเมือง"'''
'''กรอบแนวคิด "การเงินของพรรคการเมือง"'''


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;แม้เงินการเมือง (political money) จะเป็นทรัพยากรสำคัญของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทว่าการเงินของพรรคการเมืองถือว่าเป็นพัฒนาการที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้[[#_ftn1|[1]]] สาเหตุสำคัญก็คือ พรรคการเมืองและผู้สมัครของพรรคมักแสวงหาหนทางหลบเลี่ยงที่จะถูกตรวจสอบแหล่งที่มาของรายได้และวิธีการใช้จ่ายเงินเหล่านั้น จึงทำให้การจัดการให้การเงินของพรรคอยู่ในระบบนั้นประสบกับความยากลำบาก อย่างไรก็ตามเพื่อที่จะให้เกิดความชัดเจนในการศึกษาและจัดวางแนวทางให้กับเงินของพรรคการเมือง International IDEA ได้ให้ความหมายไว้ว่า '''''“การเงินของพรรคการเมือง” คือ “การเงิน (ทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย) ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมของพรรคการเมืองที่ดำเนินอยู่และการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง (โดยเฉพาะการรณรงค์หาเสียงโดยผู้สมัครและพรรคการเมือง รวมถึงโดยกลุ่มบุคคลที่สามด้วย)”'''''[[#_ftn2|[2]]] ทั้งนี้ ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็ยึดถือและบังคับใช้กฎข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินพรรคการเมืองมากน้อยต่างกัน จากฐานข้อมูลการสำรวจ 180 ประเทศ พบว่าประเทศส่วนใหญ่ในแถบยุโรปตะวันออก/ยุโรปกลาง/ยุโรปใต้ (ร้อยละ 72) มีการบังคับใช้กฎกติกาเกี่ยวกับการเงินของพรรคที่เข้มงวดที่สุด ขณะที่ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย (ร้อยละ 55) มักมีข้อบังคับการเงินของพรรคที่ค่อนข้างเบาบาง ขณะที่ประเทศในแถบแอฟริกา (ร้อยละ 55) มีการจัดการการการเงินของพรรคด้วยนโยบายสายกลาง[[#_ftn3|[3]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;แม้'''เงินการเมือง (political money)''' จะเป็นทรัพยากรสำคัญของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทว่าการเงินของพรรคการเมืองถือว่าเป็นพัฒนาการที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้[[#_ftn1|[1]]] สาเหตุสำคัญก็คือ พรรคการเมืองและผู้สมัครของพรรคมักแสวงหาหนทางหลบเลี่ยงที่จะถูกตรวจสอบแหล่งที่มาของรายได้และวิธีการใช้จ่ายเงินเหล่านั้น จึงทำให้การจัดการให้การเงินของพรรคอยู่ในระบบนั้นประสบกับความยากลำบาก อย่างไรก็ตามเพื่อที่จะให้เกิดความชัดเจนในการศึกษาและจัดวางแนวทางให้กับเงินของพรรคการเมือง International IDEA ได้ให้ความหมายไว้ว่า '''''“'''''<b>การเงินของพรรคการเมือง” คือ “การเงิน (ทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย) ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมของพรรคการเมืองที่ดำเนินอยู่และการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง (โดยเฉพาะการรณรงค์หาเสียงโดยผู้สมัครและพรรคการเมือง รวมถึงโดยกลุ่มบุคคลที่สามด้วย)”</b>[[#_ftn2|[2]]] ทั้งนี้ ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็ยึดถือและบังคับใช้กฎข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินพรรคการเมืองมากน้อยต่างกัน จากฐานข้อมูลการสำรวจ 180 ประเทศ พบว่าประเทศส่วนใหญ่ในแถบยุโรปตะวันออก/ยุโรปกลาง/ยุโรปใต้ (ร้อยละ 72) มีการบังคับใช้กฎกติกาเกี่ยวกับการเงินของพรรคที่เข้มงวดที่สุด ขณะที่ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย (ร้อยละ 55) มักมีข้อบังคับการเงินของพรรคที่ค่อนข้างเบาบาง ขณะที่ประเทศในแถบแอฟริกา (ร้อยละ 55) มีการจัดการการการเงินของพรรคด้วยนโยบายสายกลาง[[#_ftn3|[3]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยทั่วไปแล้ว การจัดระบบให้กับการเงินของพรรคการเมืองนั้นรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า '''''“ระบอบการเงินทางการเมือง” (political finance regime)''''' ซึ่งเป็นกรอบโครงทางกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายต่าง ๆ ที่กำหนดบทบาทของเงินในการเมือง อาจเป็นทั้งกฎกติกาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ[[#_ftn4|[4]]] โดยประกอบไปด้วย 4 มาตรการหลัก เรียงจากความเข้มข้นน้อยไปหาความเข้มข้นมาก ได้แก่ 1) การเปิดเผยบัญชีการเงินของพรรค 2) การจำกัดเพดานเงินบริจาค 3) การจำกัดเพดานค่าใช้จ่ายและ 4) การสนับสนุนภาครัฐ[[#_ftn5|[5]]] นอกจากสี่มาตรการข้างต้นแล้ว องค์กรอิสระยังต้องมีบทบาทสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้เกิดสัมฤทธิ์ผล และการจัดการการเงินของพรรคการเมืองจะเกิดผลได้อย่างแท้จริงหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิดรวมถึงมีอำนาจในการให้รางวัลและการลงโทษตัวแสดงทางการเมืองที่ละเมิดกฎระเบียบอีกด้วย[[#_ftn6|[6]]] (30)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยทั่วไปแล้ว การจัดระบบให้กับการเงินของพรรคการเมืองนั้นรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า '''“ระบอบการเงินทางการเมือง” (political finance regime)''' ซึ่งเป็นกรอบโครงทางกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายต่าง ๆ ที่กำหนดบทบาทของเงินในการเมือง อาจเป็นทั้งกฎกติกาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ[[#_ftn4|[4]]] โดยประกอบไปด้วย 4 มาตรการหลัก เรียงจากความเข้มข้นน้อยไปหาความเข้มข้นมาก ได้แก่ 1) การเปิดเผยบัญชีการเงินของพรรค 2) การจำกัดเพดานเงินบริจาค 3) การจำกัดเพดานค่าใช้จ่ายและ 4) การสนับสนุนภาครัฐ[[#_ftn5|[5]]] นอกจากสี่มาตรการข้างต้นแล้ว องค์กรอิสระยังต้องมีบทบาทสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้เกิดสัมฤทธิ์ผล และการจัดการการเงินของพรรคการเมืองจะเกิดผลได้อย่างแท้จริงหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิดรวมถึงมีอำนาจในการให้รางวัลและการลงโทษตัวแสดงทางการเมืองที่ละเมิดกฎระเบียบอีกด้วย[[#_ftn6|[6]]] (30)


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ความเข้มข้นของระบอบการเงินพรรคการเมืองจะขึ้นอยู่กับว่าระบบการเมืองนั้นๆ อาศัยมาตรการใด หากระบบการเมืองใดมีแต่เพียงการเปิดเผยบัญชีการเงินของพรรคเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสก็จะถือว่าเป็นระบอบการเงินของพรรคแนวเสรีนิยม และหากระบบการเมืองใดเพิ่มการจำกัดเพดานเงินบริจาคและการใช้จ่ายไปด้วย ก็จะถือว่าเป็นระบอบการเงินของพรรคสายกลาง แต่หากระบบการเมืองมีครบ<br/> ทั้งสี่มาตรการ คือ การเปิดเผยบัญชีของของพรรค การจำกัดเพดานเงินบริจาคและเพดานรายจ่ายและมาตรการสนับสนุนภาครัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐเข้าไปแทรกแซงกิจการของพรรคการเมืองแทบทุกมิติ<br/> จึงถือได้ว่าเป็นระบอบการเงินของพรรคที่เน้นความเสมอภาค[[#_ftn7|[7]]] อย่างไรก็ตาม แม้แนวคิดเรื่องระบอบการเงินของพรรคจะถูกพัฒนาขึ้น แต่ในทางปฏิบัตินั้นกลับไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวเพื่อที่จะจัดการกับปัญหาการเงินของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นต้นทางของปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง อิทธิพลของกลุ่มทุนต่อพรรคการเมืองและความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันเลือกตั้ง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ความเข้มข้นของระบอบการเงินพรรคการเมืองจะขึ้นอยู่กับว่าระบบการเมืองนั้นๆ อาศัยมาตรการใด หากระบบการเมืองใดมีแต่เพียงการเปิดเผยบัญชีการเงินของพรรคเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสก็จะถือว่าเป็นระบอบการเงินของพรรคแนวเสรีนิยม และหากระบบการเมืองใดเพิ่มการจำกัดเพดานเงินบริจาคและการใช้จ่ายไปด้วย ก็จะถือว่าเป็นระบอบการเงินของพรรคสายกลาง แต่หากระบบการเมืองมีครบทั้งสี่มาตรการ คือ การเปิดเผยบัญชีของของพรรค การจำกัดเพดานเงินบริจาคและเพดานรายจ่ายและมาตรการสนับสนุนภาครัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐเข้าไปแทรกแซงกิจการของพรรคการเมืองแทบทุกมิติ จึงถือได้ว่าเป็นระบอบการเงินของพรรคที่เน้นความเสมอภาค[[#_ftn7|[7]]] อย่างไรก็ตาม แม้แนวคิดเรื่องระบอบการเงินของพรรคจะถูกพัฒนาขึ้น แต่ในทางปฏิบัตินั้นกลับไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวเพื่อที่จะจัดการกับปัญหาการเงินของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นต้นทางของปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง อิทธิพลของกลุ่มทุนต่อพรรคการเมืองและความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันเลือกตั้ง


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
'''ความสัมพันธ์ระหว่างระบอบการเงินของพรรคกับระบบพรรคการเมือง'''
'''ความสัมพันธ์ระหว่างระบอบการเงินของพรรคกับระบบพรรคการเมือง'''


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในประเทศประชาธิปไตยที่อาศัยวิธีการเลือกตั้งเป็นกลไกลในการคัดสรรผู้นำทางการเมืองและการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ มักเผชิญกับปัญหาที่พรรครัฐบาลชนะเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นระบบ<br/> '''''พรรคการเมืองแบบครอบงำ (dominant party system)''''' หนึ่งในสาเหตุที่พรรครัฐบาลเหล่านั้นได้เปรียบเหนือพรรคการเมืองอื่นๆ ก็เนื่องมาจากความได้เปรียบในเชิงทรัพยากรทางการเงิน หนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว ก็คือการปฏิรูปการเงินของพรรคการเมือง ซึ่งนอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความโปร่งใส ลดการทุจริตการเลือกตั้ง และลดอิทธิพลของกลุ่มทุนทางการเมืองแล้ว ยังต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับพรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองหน้าใหม่ให้เข้าไปแข่งขันในสนามเลือกตั้งได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น[[#_ftn8|[8]]] โดยมาตรการที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักปฏิรูป ก็คือ '''''การสนับสนุนพรรคการเมืองจากรัฐ (state subvention)''''' ทั้งในรูปแบบการให้เงินสนับสนุนโดยตรง หรือ ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และในรูปแบบการสนับสนุนทางอ้อมอย่างการเพิ่มช่องทางเข้าถึงการสื่อสารของรัฐ การงดเว้นภาษี และค่าดำเนินการต่างๆ เป็นต้น
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในประเทศประชาธิปไตยที่อาศัยวิธีการเลือกตั้งเป็นกลไกลในการคัดสรรผู้นำทางการเมืองและการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ มักเผชิญกับปัญหาที่พรรครัฐบาลชนะเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นระบบ&nbsp;'''พรรคการเมืองแบบครอบงำ (dominant party system)''' หนึ่งในสาเหตุที่พรรครัฐบาลเหล่านั้นได้เปรียบเหนือพรรคการเมืองอื่นๆ ก็เนื่องมาจากความได้เปรียบในเชิงทรัพยากรทางการเงิน หนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว ก็คือการปฏิรูปการเงินของพรรคการเมือง ซึ่งนอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความโปร่งใส ลดการทุจริตการเลือกตั้ง และลดอิทธิพลของกลุ่มทุนทางการเมืองแล้ว ยังต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับพรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองหน้าใหม่ให้เข้าไปแข่งขันในสนามเลือกตั้งได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น[[#_ftn8|[8]]] โดยมาตรการที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักปฏิรูป ก็คือ '''การสนับสนุนพรรคการเมืองจากรัฐ (state subvention)''' ทั้งในรูปแบบการให้เงินสนับสนุนโดยตรง หรือ ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และในรูปแบบการสนับสนุนทางอ้อมอย่างการเพิ่มช่องทางเข้าถึงการสื่อสารของรัฐ การงดเว้นภาษี และค่าดำเนินการต่างๆ เป็นต้น


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่ที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังคงอ่อนแอนั้น การให้เงินสนับสนุนจากรัฐจะช่วยเพิ่มโอกาสให้พรรคการเมืองเกิดใหม่และพรรคขนาดเล็กสามารถพัฒนาได้ และแข่งขัน<br/> กับพรรคขนาดกลางและขนาดใหญ่ในระบบได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น เนื่องจากเงินสนับสนุนภาครัฐจะช่วยลดช่องว่างระหว่างพรรคขนาดใหญ่ที่ร่ำรวยและพรรคขนาดเล็กที่ประสบความยากลำบากในการแสวงหาเงินบริจาค ทั้งยังให้ผลทางอ้อมในการปรับระนาบของสนามเลือกตั้ง (leveling playing field) ให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันมากขึ้น ในหลายประเทศนั้น การนำเสนอมาตรการเหล่านี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านจากระบบพรรคการเมืองแบบครอบงำไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง (multi-party system) ได้[[#_ftn9|[9]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่ที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังคงอ่อนแอนั้น การให้เงินสนับสนุนจากรัฐจะช่วยเพิ่มโอกาสให้พรรคการเมืองเกิดใหม่และพรรคขนาดเล็กสามารถพัฒนาได้ และแข่งขันกับพรรคขนาดกลางและขนาดใหญ่ในระบบได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น เนื่องจากเงินสนับสนุนภาครัฐจะช่วยลดช่องว่างระหว่างพรรคขนาดใหญ่ที่ร่ำรวยและพรรคขนาดเล็กที่ประสบความยากลำบากในการแสวงหาเงินบริจาค ทั้งยังให้ผลทางอ้อมในการปรับระนาบของสนามเลือกตั้ง (leveling playing field) ให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันมากขึ้น ในหลายประเทศนั้น การนำเสนอมาตรการเหล่านี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านจากระบบพรรคการเมืองแบบครอบงำไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง (multi-party system) ได้[[#_ftn9|[9]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างระบอบการเงินของพรรคการเมืองที่เข้มข้นกับระบบพรรคการเมืองกลับให้ผลไม่ชัดเจนนักเมื่อพิจารณาในบริบทของประเทศประชาธิปไตยตั้งมั่น (consolidated democracies) กล่าวคือ มีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่เมื่อใช้ระบบการเงินของพรรคการเมืองที่เน้นความเป็นธรรมแล้วจะนำไปสู่ระบบการเมืองแบบที่มีการแข่งขันมากขึ้น (เช่น เดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์) ขณะที่อีกหลายประเทศ กฎหมายการเงินของพรรคการเมืองกลับไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงระบบพรรคการเมืองแต่อย่างใด[[#_ftn10|[10]]] ยิ่งไปกว่านั้น การบังคับใช้ระบอบการเงินของพรรคการเมืองที่เข้มงวดและกำหนดอัตราโทษสูงกลับยิ่งเพิ่มความสลับซับซ้อนให้กับปัญหาการทุจริตทางการเมือง เช่น ในอินเดียที่ผู้นำทางการเมืองหันไปใช้เงินนอกระบบ (black money) มาดำเนินการทางการเมือง ซึ่งนอกจากจะยากแก่การตรวจสอบและลงโทษแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้นำที่ผูกขาดแหล่งเงินทุนสามารถครอบงำการเมืองได้[[#_ftn11|[11]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างระบอบการเงินของพรรคการเมืองที่เข้มข้นกับระบบพรรคการเมืองกลับให้ผลไม่ชัดเจนนักเมื่อพิจารณาในบริบทของประเทศประชาธิปไตยตั้งมั่น (consolidated democracies) กล่าวคือ มีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่เมื่อใช้ระบบการเงินของพรรคการเมืองที่เน้นความเป็นธรรมแล้วจะนำไปสู่ระบบการเมืองแบบที่มีการแข่งขันมากขึ้น (เช่น เดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์) ขณะที่อีกหลายประเทศ กฎหมายการเงินของพรรคการเมืองกลับไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงระบบพรรคการเมืองแต่อย่างใด[[#_ftn10|[10]]] ยิ่งไปกว่านั้น การบังคับใช้ระบอบการเงินของพรรคการเมืองที่เข้มงวดและกำหนดอัตราโทษสูงกลับยิ่งเพิ่มความสลับซับซ้อนให้กับปัญหาการทุจริตทางการเมือง เช่น ในอินเดียที่ผู้นำทางการเมืองหันไปใช้เงินนอกระบบ (black money) มาดำเนินการทางการเมือง ซึ่งนอกจากจะยากแก่การตรวจสอบและลงโทษแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้นำที่ผูกขาดแหล่งเงินทุนสามารถครอบงำการเมืองได้[[#_ftn11|[11]]]
บรรทัดที่ 34: บรรทัดที่ 34:
'''การเงินของพรรคการเมืองในประเทศไทย'''
'''การเงินของพรรคการเมืองในประเทศไทย'''


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ก่อนการปฏิรูปการเมือง พ.ศ. 2540 พรรคการเมืองและนักการเมืองถูกมองด้วยทัศนะเชิงลบอันมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ระหว่างเงินตราที่มีบทบาทและอิทธิพลในการเมืองแบบเลือกตั้ง หรือที่เรียก<br/> อีกอย่างหนึ่งว่า '''''“ธนกิจการเมือง” (money politics)'''''[[#_ftn12|[12]]] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่กำหนดขอบเขตของการจัดการการเงินของพรรคการเมืองไว้อย่างครอบคลุม โดยในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541[[#_ftn13|[13]]] ได้กำหนดทั้งมาตรการการเปิดเผยบัญชี รายรับ-รายจ่าย ของพรรคการเมือง (ม.38) การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของผู้บริหารพรรค (ม.42) การกำหนดเพดานรายจ่ายในการเลือกตั้งไว้ที่ 1,000,000 บาทต่อคนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และหากพรรคส่งบัญชีรายชื่อครบก็จะใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000,000 บาท ต่อพรรค[[#_ftn14|[14]]] และการก่อตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง (ม.56) โดยคำนวณการจัดสรรเงินสนับสนุนจากจำนวนเสียงเลือกตั้ง จำนวนที่นั่งในสภา จำนวนสมาชิกพรรค และจำนวนสาขาพรรค ในสัดส่วน 35&nbsp;: 30&nbsp;: 20&nbsp;: 15[[#_ftn15|[15]]] ต่อมาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง[[#_ftn16|[16]]] ได้เพิ่มมาตรการกำหนดเพดานเงินรายรับของพรรคการเมือง ซึ่งระบุว่าผู้ใดบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองเกิน 1,000 บาท จะต้องเปิดเผยชื่อ หากเกิน 5,000 บาทต้องกระทำอย่างเปิดเผย หากเกิน 20,000 ต้องทำเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 1,000,0000 บาท (ม. 56,57,59) และปรับเปลี่ยนสัดส่วนเงินจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองเป็น 40&nbsp;: 40&nbsp;: 10&nbsp;: 10 (ม.75) เมื่อเกิดการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 จึงส่งผลให้รัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นสุดลง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ก่อนการปฏิรูปการเมือง พ.ศ. 2540 พรรคการเมืองและนักการเมืองถูกมองด้วยทัศนะเชิงลบอันมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ระหว่างเงินตราที่มีบทบาทและอิทธิพลในการเมืองแบบเลือกตั้ง หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''“ธนกิจการเมือง” (money politics)'''[[#_ftn12|[12]]] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่กำหนดขอบเขตของการจัดการการเงินของพรรคการเมืองไว้อย่างครอบคลุม โดยในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541[[#_ftn13|[13]]] ได้กำหนดทั้งมาตรการการเปิดเผยบัญชี รายรับ-รายจ่าย ของพรรคการเมือง (ม.38) การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของผู้บริหารพรรค (ม.42) การกำหนดเพดานรายจ่ายในการเลือกตั้งไว้ที่ 1,000,000 บาทต่อคนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และหากพรรคส่งบัญชีรายชื่อครบก็จะใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000,000 บาท ต่อพรรค[[#_ftn14|[14]]] และการก่อตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง (ม.56) โดยคำนวณการจัดสรรเงินสนับสนุนจากจำนวนเสียงเลือกตั้ง จำนวนที่นั่งในสภา จำนวนสมาชิกพรรค และจำนวนสาขาพรรค ในสัดส่วน 35&nbsp;: 30&nbsp;: 20&nbsp;: 15[[#_ftn15|[15]]] ต่อมาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง[[#_ftn16|[16]]] ได้เพิ่มมาตรการกำหนดเพดานเงินรายรับของพรรคการเมือง ซึ่งระบุว่าผู้ใดบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองเกิน 1,000 บาท จะต้องเปิดเผยชื่อ หากเกิน 5,000 บาทต้องกระทำอย่างเปิดเผย หากเกิน 20,000 ต้องทำเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 1,000,0000 บาท (ม. 56,57,59) และปรับเปลี่ยนสัดส่วนเงินจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองเป็น 40&nbsp;: 40&nbsp;: 10&nbsp;: 10 (ม.75) เมื่อเกิดการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 จึงส่งผลให้รัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นสุดลง


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560[[#_ftn17|[17]]] ได้กำหนดมาตรการจัดการการเงินของพรรคการเมืองที่เคร่งครัดมากขึ้นเพื่อขจัดอิทธิพลของกลุ่มทุนการเมืองและการทุจริตในรูปแบบต่างๆ ในส่วนของเงินรายได้นั้น ได้ห้ามไม่บุคคลบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองเกิน 10,000,000 บาท ต่อปี (ม.66) ขณะที่เพดานรายจ่ายในการเลือกตั้งถูกกำหนดไว้ที่ 1,500,000 บาท ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คน ในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และในส่วนของพรรคการเมืองไม่เกิน 35,000,000 บาท ต่อพรรค[[#_ftn18|[18]]] การปรับเปลี่ยนที่สำคัญเกิดขึ้นกับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง โดยระบุให้มีสัดส่วนการจัดสรรมาจากจำนวนเงินค่าบำรุงพรรคที่พรรคนั้นได้รับในปีก่อนหน้า (ร้อยละ 40) จำนวนคะแนนเสียง (ร้อยละ 40) และจำนวนสาขาพรรค (ร้อยละ 20) (ม.83) นอกจากนั้นยังห้ามมิให้มีการสัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ต่างตอบแทนกับคะแนนเสียงเลือกตั้งระหว่างพรรคการเมืองกับประชาชน (ม.30-31) และห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคครอบงำหรือชี้นำพรรคการเมือง หากฝ่าฝืนมีโทษถึงขั้นยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองผู้บริหารพรรคสูงสุดถึง 10 ปี (ม.28-29, 92-95)ซึ่งมาตรการหลังสุดนี้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเพื่อป้องกันการครอบงำของกลุ่มทุนและผู้มีอิทธิพลทางการเมือง[[#_ftn19|[19]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560[[#_ftn17|[17]]] ได้กำหนดมาตรการจัดการการเงินของพรรคการเมืองที่เคร่งครัดมากขึ้นเพื่อขจัดอิทธิพลของกลุ่มทุนการเมืองและการทุจริตในรูปแบบต่างๆ ในส่วนของเงินรายได้นั้น ได้ห้ามไม่บุคคลบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองเกิน 10,000,000 บาท ต่อปี (ม.66) ขณะที่เพดานรายจ่ายในการเลือกตั้งถูกกำหนดไว้ที่ 1,500,000 บาท ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คน ในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และในส่วนของพรรคการเมืองไม่เกิน 35,000,000 บาท ต่อพรรค[[#_ftn18|[18]]] การปรับเปลี่ยนที่สำคัญเกิดขึ้นกับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง โดยระบุให้มีสัดส่วนการจัดสรรมาจากจำนวนเงินค่าบำรุงพรรคที่พรรคนั้นได้รับในปีก่อนหน้า (ร้อยละ 40) จำนวนคะแนนเสียง (ร้อยละ 40) และจำนวนสาขาพรรค (ร้อยละ 20) (ม.83) นอกจากนั้นยังห้ามมิให้มีการสัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ต่างตอบแทนกับคะแนนเสียงเลือกตั้งระหว่างพรรคการเมืองกับประชาชน (ม.30-31) และห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคครอบงำหรือชี้นำพรรคการเมือง หากฝ่าฝืนมีโทษถึงขั้นยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองผู้บริหารพรรคสูงสุดถึง 10 ปี (ม.28-29, 92-95)ซึ่งมาตรการหลังสุดนี้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเพื่อป้องกันการครอบงำของกลุ่มทุนและผู้มีอิทธิพลทางการเมือง[[#_ftn19|[19]]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:16, 11 กุมภาพันธ์ 2565

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์. ดร. นิยม รัฐอมฤต  

 

การเงินของพรรคการเมือง (Party Finance)

          การเงินของพรรคการเมือง (party finance) หมายถึงกระแสเงินที่ไหลเข้าและออกจากพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคซึ่งถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง เช่น การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งการบริหารจัดการองค์กรพรรค การดำเนินกิจการของพรรค รวมถึงการวิจัยและพัฒนาของพรรคการเมืองในการเมืองอเมริกัน คำว่า “การเงินในการรณรงค์เลือกตั้ง” (campaign finance or campaign funding) ถูกใช้ในความหมายใกล้เคียงกับการเงินของพรรคการเมือง เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งมีบทบาทโดดเด่นมากกว่าพรรคการเมือง ดังนั้น เงินส่วนใหญ่จึงกระจุกตัวอยู่ที่การสนับสนุนผู้สมัครเป็นรายบุคคลมากกว่าองค์กรพรรคการเมือง ซึ่งแตกต่างจากระบบพรรคการเมืองในยุโรปตะวันตกที่มีความเป็นสถาบันสูงจึงนิยมเรียกกระแสเงินในกิจกรรมทางการเมืองของพรรคว่า “การเงินของพรรคการเมือง” อย่างไรก็ตาม คำที่ครอบคลุมความหมายทั้งสองด้านก็คือ การเงินทางการเมือง” (political finance) ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในบริบทการเมืองอเมริกันและการเมืองยุโรป ทั้งนี้การเงินของพรรคการเมืองเป็นประเด็นสำคัญของการปฏิรูปพรรคการเมืองช่วงปลายทศวรรษ 1990 ถึงต้นทศวรรษ 2000 เนื่องจากต้องการที่จะจัดการเส้นทางรายได้ของพรรคและการใช้จ่ายของพรรคการเมืองเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ขจัดปัญหาการคอร์รัปชั่น และสร้างความเป็นธรรมในสนามเลือกตั้งด้วย

 

กรอบแนวคิด "การเงินของพรรคการเมือง"

         แม้เงินการเมือง (political money) จะเป็นทรัพยากรสำคัญของพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทว่าการเงินของพรรคการเมืองถือว่าเป็นพัฒนาการที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้[1] สาเหตุสำคัญก็คือ พรรคการเมืองและผู้สมัครของพรรคมักแสวงหาหนทางหลบเลี่ยงที่จะถูกตรวจสอบแหล่งที่มาของรายได้และวิธีการใช้จ่ายเงินเหล่านั้น จึงทำให้การจัดการให้การเงินของพรรคอยู่ในระบบนั้นประสบกับความยากลำบาก อย่างไรก็ตามเพื่อที่จะให้เกิดความชัดเจนในการศึกษาและจัดวางแนวทางให้กับเงินของพรรคการเมือง International IDEA ได้ให้ความหมายไว้ว่า การเงินของพรรคการเมือง” คือ “การเงิน (ทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย) ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมของพรรคการเมืองที่ดำเนินอยู่และการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง (โดยเฉพาะการรณรงค์หาเสียงโดยผู้สมัครและพรรคการเมือง รวมถึงโดยกลุ่มบุคคลที่สามด้วย)”[2] ทั้งนี้ ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็ยึดถือและบังคับใช้กฎข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินพรรคการเมืองมากน้อยต่างกัน จากฐานข้อมูลการสำรวจ 180 ประเทศ พบว่าประเทศส่วนใหญ่ในแถบยุโรปตะวันออก/ยุโรปกลาง/ยุโรปใต้ (ร้อยละ 72) มีการบังคับใช้กฎกติกาเกี่ยวกับการเงินของพรรคที่เข้มงวดที่สุด ขณะที่ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย (ร้อยละ 55) มักมีข้อบังคับการเงินของพรรคที่ค่อนข้างเบาบาง ขณะที่ประเทศในแถบแอฟริกา (ร้อยละ 55) มีการจัดการการการเงินของพรรคด้วยนโยบายสายกลาง[3]

          โดยทั่วไปแล้ว การจัดระบบให้กับการเงินของพรรคการเมืองนั้นรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “ระบอบการเงินทางการเมือง” (political finance regime) ซึ่งเป็นกรอบโครงทางกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายต่าง ๆ ที่กำหนดบทบาทของเงินในการเมือง อาจเป็นทั้งกฎกติกาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ[4] โดยประกอบไปด้วย 4 มาตรการหลัก เรียงจากความเข้มข้นน้อยไปหาความเข้มข้นมาก ได้แก่ 1) การเปิดเผยบัญชีการเงินของพรรค 2) การจำกัดเพดานเงินบริจาค 3) การจำกัดเพดานค่าใช้จ่ายและ 4) การสนับสนุนภาครัฐ[5] นอกจากสี่มาตรการข้างต้นแล้ว องค์กรอิสระยังต้องมีบทบาทสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้เกิดสัมฤทธิ์ผล และการจัดการการเงินของพรรคการเมืองจะเกิดผลได้อย่างแท้จริงหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิดรวมถึงมีอำนาจในการให้รางวัลและการลงโทษตัวแสดงทางการเมืองที่ละเมิดกฎระเบียบอีกด้วย[6] (30)

          ทั้งนี้ ความเข้มข้นของระบอบการเงินพรรคการเมืองจะขึ้นอยู่กับว่าระบบการเมืองนั้นๆ อาศัยมาตรการใด หากระบบการเมืองใดมีแต่เพียงการเปิดเผยบัญชีการเงินของพรรคเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสก็จะถือว่าเป็นระบอบการเงินของพรรคแนวเสรีนิยม และหากระบบการเมืองใดเพิ่มการจำกัดเพดานเงินบริจาคและการใช้จ่ายไปด้วย ก็จะถือว่าเป็นระบอบการเงินของพรรคสายกลาง แต่หากระบบการเมืองมีครบทั้งสี่มาตรการ คือ การเปิดเผยบัญชีของของพรรค การจำกัดเพดานเงินบริจาคและเพดานรายจ่ายและมาตรการสนับสนุนภาครัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐเข้าไปแทรกแซงกิจการของพรรคการเมืองแทบทุกมิติ จึงถือได้ว่าเป็นระบอบการเงินของพรรคที่เน้นความเสมอภาค[7] อย่างไรก็ตาม แม้แนวคิดเรื่องระบอบการเงินของพรรคจะถูกพัฒนาขึ้น แต่ในทางปฏิบัตินั้นกลับไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวเพื่อที่จะจัดการกับปัญหาการเงินของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นต้นทางของปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง อิทธิพลของกลุ่มทุนต่อพรรคการเมืองและความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันเลือกตั้ง

 

ความสัมพันธ์ระหว่างระบอบการเงินของพรรคกับระบบพรรคการเมือง

          ในประเทศประชาธิปไตยที่อาศัยวิธีการเลือกตั้งเป็นกลไกลในการคัดสรรผู้นำทางการเมืองและการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ มักเผชิญกับปัญหาที่พรรครัฐบาลชนะเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นระบบ พรรคการเมืองแบบครอบงำ (dominant party system) หนึ่งในสาเหตุที่พรรครัฐบาลเหล่านั้นได้เปรียบเหนือพรรคการเมืองอื่นๆ ก็เนื่องมาจากความได้เปรียบในเชิงทรัพยากรทางการเงิน หนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว ก็คือการปฏิรูปการเงินของพรรคการเมือง ซึ่งนอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความโปร่งใส ลดการทุจริตการเลือกตั้ง และลดอิทธิพลของกลุ่มทุนทางการเมืองแล้ว ยังต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับพรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคการเมืองหน้าใหม่ให้เข้าไปแข่งขันในสนามเลือกตั้งได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น[8] โดยมาตรการที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักปฏิรูป ก็คือ การสนับสนุนพรรคการเมืองจากรัฐ (state subvention) ทั้งในรูปแบบการให้เงินสนับสนุนโดยตรง หรือ ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และในรูปแบบการสนับสนุนทางอ้อมอย่างการเพิ่มช่องทางเข้าถึงการสื่อสารของรัฐ การงดเว้นภาษี และค่าดำเนินการต่างๆ เป็นต้น

          ในประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่ที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังคงอ่อนแอนั้น การให้เงินสนับสนุนจากรัฐจะช่วยเพิ่มโอกาสให้พรรคการเมืองเกิดใหม่และพรรคขนาดเล็กสามารถพัฒนาได้ และแข่งขันกับพรรคขนาดกลางและขนาดใหญ่ในระบบได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น เนื่องจากเงินสนับสนุนภาครัฐจะช่วยลดช่องว่างระหว่างพรรคขนาดใหญ่ที่ร่ำรวยและพรรคขนาดเล็กที่ประสบความยากลำบากในการแสวงหาเงินบริจาค ทั้งยังให้ผลทางอ้อมในการปรับระนาบของสนามเลือกตั้ง (leveling playing field) ให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันมากขึ้น ในหลายประเทศนั้น การนำเสนอมาตรการเหล่านี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านจากระบบพรรคการเมืองแบบครอบงำไปสู่ระบบหลายพรรคการเมือง (multi-party system) ได้[9]

          อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างระบอบการเงินของพรรคการเมืองที่เข้มข้นกับระบบพรรคการเมืองกลับให้ผลไม่ชัดเจนนักเมื่อพิจารณาในบริบทของประเทศประชาธิปไตยตั้งมั่น (consolidated democracies) กล่าวคือ มีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่เมื่อใช้ระบบการเงินของพรรคการเมืองที่เน้นความเป็นธรรมแล้วจะนำไปสู่ระบบการเมืองแบบที่มีการแข่งขันมากขึ้น (เช่น เดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์) ขณะที่อีกหลายประเทศ กฎหมายการเงินของพรรคการเมืองกลับไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงระบบพรรคการเมืองแต่อย่างใด[10] ยิ่งไปกว่านั้น การบังคับใช้ระบอบการเงินของพรรคการเมืองที่เข้มงวดและกำหนดอัตราโทษสูงกลับยิ่งเพิ่มความสลับซับซ้อนให้กับปัญหาการทุจริตทางการเมือง เช่น ในอินเดียที่ผู้นำทางการเมืองหันไปใช้เงินนอกระบบ (black money) มาดำเนินการทางการเมือง ซึ่งนอกจากจะยากแก่การตรวจสอบและลงโทษแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้นำที่ผูกขาดแหล่งเงินทุนสามารถครอบงำการเมืองได้[11]

 

การเงินของพรรคการเมืองในประเทศไทย

          ก่อนการปฏิรูปการเมือง พ.ศ. 2540 พรรคการเมืองและนักการเมืองถูกมองด้วยทัศนะเชิงลบอันมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ระหว่างเงินตราที่มีบทบาทและอิทธิพลในการเมืองแบบเลือกตั้ง หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธนกิจการเมือง” (money politics)[12] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่กำหนดขอบเขตของการจัดการการเงินของพรรคการเมืองไว้อย่างครอบคลุม โดยในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541[13] ได้กำหนดทั้งมาตรการการเปิดเผยบัญชี รายรับ-รายจ่าย ของพรรคการเมือง (ม.38) การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของผู้บริหารพรรค (ม.42) การกำหนดเพดานรายจ่ายในการเลือกตั้งไว้ที่ 1,000,000 บาทต่อคนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และหากพรรคส่งบัญชีรายชื่อครบก็จะใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000,000 บาท ต่อพรรค[14] และการก่อตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง (ม.56) โดยคำนวณการจัดสรรเงินสนับสนุนจากจำนวนเสียงเลือกตั้ง จำนวนที่นั่งในสภา จำนวนสมาชิกพรรค และจำนวนสาขาพรรค ในสัดส่วน 35 : 30 : 20 : 15[15] ต่อมาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง[16] ได้เพิ่มมาตรการกำหนดเพดานเงินรายรับของพรรคการเมือง ซึ่งระบุว่าผู้ใดบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองเกิน 1,000 บาท จะต้องเปิดเผยชื่อ หากเกิน 5,000 บาทต้องกระทำอย่างเปิดเผย หากเกิน 20,000 ต้องทำเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 1,000,0000 บาท (ม. 56,57,59) และปรับเปลี่ยนสัดส่วนเงินจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองเป็น 40 : 40 : 10 : 10 (ม.75) เมื่อเกิดการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 จึงส่งผลให้รัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นสุดลง

          ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560[17] ได้กำหนดมาตรการจัดการการเงินของพรรคการเมืองที่เคร่งครัดมากขึ้นเพื่อขจัดอิทธิพลของกลุ่มทุนการเมืองและการทุจริตในรูปแบบต่างๆ ในส่วนของเงินรายได้นั้น ได้ห้ามไม่บุคคลบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองเกิน 10,000,000 บาท ต่อปี (ม.66) ขณะที่เพดานรายจ่ายในการเลือกตั้งถูกกำหนดไว้ที่ 1,500,000 บาท ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คน ในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และในส่วนของพรรคการเมืองไม่เกิน 35,000,000 บาท ต่อพรรค[18] การปรับเปลี่ยนที่สำคัญเกิดขึ้นกับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง โดยระบุให้มีสัดส่วนการจัดสรรมาจากจำนวนเงินค่าบำรุงพรรคที่พรรคนั้นได้รับในปีก่อนหน้า (ร้อยละ 40) จำนวนคะแนนเสียง (ร้อยละ 40) และจำนวนสาขาพรรค (ร้อยละ 20) (ม.83) นอกจากนั้นยังห้ามมิให้มีการสัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ต่างตอบแทนกับคะแนนเสียงเลือกตั้งระหว่างพรรคการเมืองกับประชาชน (ม.30-31) และห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคครอบงำหรือชี้นำพรรคการเมือง หากฝ่าฝืนมีโทษถึงขั้นยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองผู้บริหารพรรคสูงสุดถึง 10 ปี (ม.28-29, 92-95)ซึ่งมาตรการหลังสุดนี้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเพื่อป้องกันการครอบงำของกลุ่มทุนและผู้มีอิทธิพลทางการเมือง[19]

 

บรรณานุกรม

Gowda, M. V. Rajeev and E. Sridharan. (2012). "Reforming India’s Party Financing and Election Expenditure Laws." Electoral Law Journal. 11(2): 226-240.

International IDEA. (2014). Funding of Political Parties and Election Campaigns: A Handbook on Political Finance. Stockholm: International IDEA.

Kölln, Ann-Kristin. (2016). “Does Party Finance Regulation Create a Level Playing Field?.” Election Law Journal: Rules, Politics, and Policy. 15(1): 71-82.

Lee-Jones, Krista. (2019). "The role of political party finance reform in the transition from dominant to competitive party systems." Available <https://www.u4.no/publications/the-role-of-political-party-finance-reform-in-the-transition-from-dominant-to-competitive-party-systems.pdf>. Accessed 10 September 2021.

McVey, Ruth (ed.). Money and Power in Provincial Thailand. Copenhagen: Nordic Institute of Asian Studies.

Norris, Pippa and Andrea Abel van Es. (2016). "Introduction: Understanding Political Finance Reform." in Pippa Norris and Andrea Abel van Es (ed.). Checkbook Elections?: Political Finance in Comparative Perspective, pp. 1-24. Oxford: Oxford University Press.

Potter, Joshua and Magitm Tavits. (2015). “The Impact of Campaign Finance Laws on Party Competition.” British Journal of Political Science. 45(1): 73-95.

Rashkova, Ekaterina R. and Yen-Pin Su. (2020). “Political Finance Regimes and Party System Size: Evidence from New and Established European Democracies.” European Political Science Review. 12: 35-48.

“กฎเหล็กพรรคการเมือง “คนนอก” ครอบงำ มีโทษ “ยุบพรรค”." PPTV (15 พฤศจิกายน 2561). เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/93223>. เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564.

“ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง (ฉบับที่ 3)." ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 117. ตอนที่ 84ก. 11 กันยายน 2543.

“ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร." ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 117. ตอนที่ 111ก. 29 พฤศจิกายน 2543.

“ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561." ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136. ตอนที่ 6ก. 11 มกราคม 2561.

“พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541." ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 115. ตอนที่ 35ก. 9 มิถุนายน 2541.

“พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550." ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124. ตอนที่ 64ก. 7 ตุลาคม 2550.

“พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560." ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134. ตอนที่ 105ก. 7 ตุลาคม 2560.

 

 

[1] Krista Lee-Jones, "The role of political party finance reform in the transition from dominant to competitive party systems," Available <https://www.u4.no/publications/the-role-of-political-party-finance-reform-in-the-transition-from-dominant-to-competitive-party-systems.pdf>. Accessed 10 September 2021.

[2] International IDEA, Funding of Political Parties and Election Campaigns, A Handbook on Political Finance (Stockholm: International IDEA, 2014), p. 2.

[3] International IDEA, Funding of Political Parties and Election Campaigns, p. 3.

[4] Pippa Norris and Andrea Abel van Es, "Introduction: Understanding Political Finance Reform," in Pippa Norris and Andrea Abel van Es (ed.). Checkbook Elections?: Political Finance in Comparative Perspective (Oxford: Oxford University Press, 2016), p. 14.

[5] International IDEA, Funding of Political Parties and Election Campaigns, pp. 21-29.

[6] International IDEA, Funding of Political Parties and Election Campaigns, p. 30.

[7] Pippa Norris and Andrea Abel van Es, "Introduction: Understanding Political Finance Reform,"
p. 15.

[8] Krista Lee-Jones, "The role of political party finance reform in the transition from dominant
to competitive party systems,"

[9] Joshua Potter and Magitm Tavits, “The Impact of Campaign Finance Laws on Party Competition,” British Journal of Political Science, 45(1) (2015): 73-95.; Ekaterina R. Rashkova and Yen-Pin Su, “Political Finance Regimes and Party System Size: Evidence from New and Established European Democracies,” European Political Science Review, 12 (2020): 35-48.

[10] Ann-Kristin Kölln, “Does Party Finance Regulation Create a Level Playing Field?,” Election Law Journal: Rules, Politics, and Policy, 15(1) (2016): 71-82.

[11] M. V. Rajeev Gowda and E. Sridharan, "Reforming India’s Party Financing and Election Expenditure Laws," Electoral Law Journal, 11(2) (2012): 226-240.

[12] โปรดดูรายละเอียดใน Ruth McVey, (ed.), Money and Power in Provincial Thailand (Copenhagen: Nordic Institute of Asian Studies, 2000).

[13] "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 115, ตอนที่ 35ก, 9 มิถุนายน 2541.

[14] "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 117, ตอนที่ 111ก, 29 พฤศจิกายน 2543.

[15] "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง (ฉบับที่ 3)," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 117, ตอนที่ 84ก, 11 กันยายน 2543.

[16] "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 124, ตอนที่ 64ก, 7 ตุลาคม 2550.

[17] "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134, ตอนที่ 105ก, 7 ตุลาคม 2560.

[18] "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136, ตอนที่ 6ก, 11 มกราคม 2561.

[19] "กฎเหล็กพรรคการเมือง “คนนอก” ครอบงำ มีโทษ “ยุบพรรค”," PPTV (15 พฤศจิกายน 2561), เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/93223>. เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564.