ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจำกัดสิทธิจากเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง"
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง ผศ.ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล ผู้ทรงคุณวุ..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 53: | บรรทัดที่ 53: | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[[#_ftnref4|[4]]] มาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 | [[#_ftnref4|[4]]] มาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:22, 4 กุมภาพันธ์ 2564
ผู้เรียบเรียง ผศ.ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
การจำกัดสิทธิจากเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. บทนำ
การเลือกตั้งเป็นพื้นที่แสดงอำนาจอธิปไตยของประชาชน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็น “สิทธิ” แก่ประชาชนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ในการที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ในบางกรณีประชาชนที่มีสิทธิไม่ได้สนใจที่จะใช้สิทธิของตนในการเลือกตั้ง กฎหมายจึงวางหลักเกณฑ์การจำกัดสิทธิของบุคคลผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยการจำกัดสิทธิบางประการเหล่านี้ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิของตนเองสามารถชี้แจงหรือแจ้งเหตุที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วย
การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของประชาชนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย[1] ทั้งนี้ การจำกัดสิทธิจากการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมาตรา 95 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้สามารถจำกัดสิทธิบางประการได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2. สิทธิที่ถูกจำกัดจากการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร จะถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยถูกจำกัดสิทธิดังต่อไปนี้[2]
(1) ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(2) สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
(3) สมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(4) ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
(5) ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหาร ท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หากในการเลือกตั้งครั้งต่อไปผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีกให้นับเวลาการจํากัดสิทธิหลังนี้โดยนับจากวันที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่ หากกําหนดเวลาการจํากัดสิทธิครั้งก่อนยังเหลืออยู่เท่าใดให้กําหนดเวลาการจํากัดสิทธินั้นสิ้นสุดลง
ทั้งนี้ บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งอาจ “ใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง” ในเขตเลือกตั้งหรือนอกเขตเลือกตั้ง โดยยื่นขอลงทะเบียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดได้[3] ซึ่งหากผู้ใดที่ลงทะเบียนใช้สิทธิก่อนวันเลือกตั้งทั้งในและนอกเขตเลือกตั้งและได้ไปใช้สิทธิแล้ว แต่หากมีการเลือกตั้งครั้งใหม่และมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่ ให้ถือว่าการลงทะเบียนนั้นเป็นการแจ้งเหตุอันสมควรและไม่ถูกจำกัดสิทธิทั้ง 5 ประการ[4]
3. บรรณานุกรม
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135/ตอนที่ 68ก/12 กันยายน 2561. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134/ตอนที่ 40 ก/6 เมษายน 2560. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช '25'60
[1] มาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
[2] มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[3] มาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[4] มาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561