ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาติชาย ชุณหะวัณ"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ล Apirom ย้ายหน้า ชาติชาย ชุณหะวัณ (รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร) ไปยัง ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยไม่สร้างหน้า... |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 18:01, 11 พฤษภาคม 2563
ผู้เรียบเรียง รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ในบรรดาหัวหน้ารัฐบาลที่อารมณ์ดี นอกจาก นายควง อภัยวงศ์ แล้ว พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายก รัฐมนตรีคนที่สิบเจ็ดของไทย ก็เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขันและอารมณ์ดีอีกคนหนึ่ง แม้จะเป็นนายทหารยานเกราะมาก็ตามที
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นทายาทรุ่นแรกของ “กลุ่มราชครู” ที่มี จอมพล ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหารปี พ.ศ. 2490 เป็นบิดา แต่พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นก็เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย มิใช่โดยนำกำลังเข้ายึดอำนาจอย่างที่คณะรัฐประหารเคยทำ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ลงเล่นการเมืองผ่านสนามเลือกตั้ง เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยที่ชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 ได้คะแนนของพรรคในสภา ผู้แทนราษฎรเป็นอันดับหนึ่ง จึงได้เป็นแกนจัดตั้งรัฐบาลผสม
นายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีเจ้าของฉายา “โน ปลอบเล่ม” (หรือไม่มีปัญหา) บริหารประเทศไทยยืนอยู่กับเสียงสมาชิกในสภาของพรรคที่ร่วมรัฐบาลอยู่ได้จนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ก็ถูกคณะทหารที่เป็นข้าราชการประจำ เรียกตัวเองว่า คณะรสช. ยึดอำนาจแบบจู่โจม จับตัวนายกรัฐมนตรีได้บนเครื่องบินขณะที่กำลังจะเดินทางนำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่ไปเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งใหม่