ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระประจนปัจจนึก"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม '''ผู้ทรงคุณวุฒิประ..." |
ล Apirom ย้ายหน้า พระประจนปัจจนึก (ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม) ไปยัง พระประจนปัจจนึก โดยไม่สร้างหน้าเ... |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 21:06, 6 พฤษภาคม 2563
ผู้เรียบเรียง ศุภพรรัตน์ สุขพุ่ม
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
พลเอก พระประจนปัจจนึก ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา คนที่ 9 ของประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประเทศไทย[1]
ประวัติ
พลเอก พระประจนปัจจนึก (ชื่อเดิม พุก มหาดิลก) เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2435 ที่ตำบลวัดมกุฎกษัตริย์ อำเภอป้อมปราบ จังหวัดพระนคร
บิดาชื่อนายเจิม มารดาชื่อ นางจอน ประจนปัจจนึก
สถานภาพสมรส สมรสกับ นางประจนปัจจนึก (พุ่ม)[2] มีบุตรธิดารวม 10 คน
การศึกษา จบการศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี 2453
บรรดาศักดิ์[3]
7 พฤษภาคม 2471 | พระประจนปัจจนึก ถือศักดินา 1000 |
7 พฤษภาคม 2463 | หลวงประจนปัจจนึก ถือศักดินา 800 |
13 กรกฎาคม 2493-18 มีนาคม 2499 | ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก |
1 กันยายน 2487 | ประจำกรมเสนาธิการ |
31 สิงหาคม 2487 | ผู้อำนวยการหน่วยโยธาธิการ |
12 มกราคม 2485 | ปลัดกระทรวงกลาโหม |
8 กรกฎาคม 2481 | พลาธิการทหารบก |
17 มิถุนายน 2481 | ประจำกรมเสนาธิการทหารบก |
4 เมษายน 2477 | ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 1 |
7 มกราคม 2477 | จเรทหารบก |
1 มกราคม 2476 | รองผู้บังคับทหารราบ |
1 สิงหาคม 2475 | ผู้บังคับกองพัน ในกรมทหารราบที่ 4 |
2 ธันวาคม 2473 | ผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 |
1 เมษายน 2471 | ผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารมหาดเล็ก |
1 พฤษภาคม 2470 | ผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ |
1 สิงหาคม 2469 | ผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ |
1 สิงหาคม 2462 | ปลัดกรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ 3 |
มิถุนายน 2459 | ผู้บังคับกองร้อยที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 |
มกราคม 2456 | ผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 |
เมษายน 2455 | ผู้รั้งผู้บังคับกองร้อยที่ 4 กรมทหารราบที่ 12 |
ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง[6]
1 ธันวาคม 2494 - 20 ตุลาคม 2501 | ประธานสภาผู้แทนราษฎร (11 สมัย) |
12 กันยายน 2477 - 24 มิถุนายน 2487 | รองประธานสภาผู้แทนราษฎร (10 สมัย) |
3 กุมภาพันธ์ 2502 - 30 มิถุนายน 2511 | สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ |
18 กันยายน 2500 - 20 ตุลาคม 2501 | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2 |
30 พฤศจิกายน 2494 - 16 กันยายน 2500 | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2 |
24 พฤษภาคม 2489 - 9 พฤศจิกายน 2490 | สมาชิกวุฒิสภา |
9 ธันวาคม 2476 - 10 พฤษภาคม 2489 | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2 |
ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา[7][8]
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน 2495 - 23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกฎาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
28 มิถุนายน 2501 - 16 กันยายน 2501
25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ (ไทย)[9][10]
5 พฤษภาคม 2498 | ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ |
5 กรกฎาคม 2497 | มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก |
6 กรกฎาคม 2496 | เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ 2 (รัชกาลที่ 9) |
31 พฤษภาคม 2495 | มหาวชิรมงกุฎ |
14 กรกฎาคม 2486 | เหรียญช่วยราชการเขตภายใน (สงครามมหาเอเซียบูรพา) |
7 เมษายน 2484 | เหรียญชัยสมรภูมิ (อินโดจีน) |
21 กันยายน 2477 | เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ[11]
16 สิงหาคม 2501 | เครื่องอิสริยาภรณ์ จิง ชิง ชั้นที่ 1 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน |
การดำรงตำแหน่งและผลการปฏิบัติราชการสำคัญ[12][13]
นักเรียนนายร้อยพุก มหาดิลก เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี 2449 เลขประจำตัวหมายเลข 1532 และสำเร็จการศึกษาเมื่อปี 2453 ขณะมีอายุเพียง 17 ปีเท่านั้นโดยได้รับพระราชทานยศ ร้อยตรี ในวันที่ 12 มีนาคม 2453 ด้วยลักษณะผู้นำหน่วยที่ดีในระยะต้นของชีวิตราชการจึงมีโอกาสดำรงตำแหน่งผู้นำหน่วยมาโดยตลอด เริ่มจากการดำรงตำแหน่งผู้รั้งผู้บังคับกองร้อยที่ 4 กรมทหารราบที่ 12 ขณะดำรงยศร้อยโท และได้เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 จากความดีความชอบในการปฏิบัติราชการ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงประจนปัจจนึก" เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2463 ขณะครองยศพันตรี
จากความซื่อตรงจงรักภักดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสูง หลวงประจนปัจจนึก จึงได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันที่ 2 และกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ในช่วงปี 2469 และ 2470 ตามลำดับ จากนั้นได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2471 ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2471 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระประจนปัจจนึก" จนถึงปลายปี 2473 จึงย้ายไปเป็นผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 และหลังจากรับพระราชทานยศพันโท เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2474 ได้ประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพัน ในกรมทหารราบที่ 4 จนได้เป็นรองผู้บังคับทหารราบ และผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 1 ในเวลาต่อมา และขณะดำรงยศพันโท พระประจนปัจจนึกได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลทหารบกกลางด้วย
พันเอกพระประจนปัจจนึก ได้มีโอกาสเข้าร่วมรบในสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน 2483 ถึง 20 มกราคม 2484 ขณะนั้นดำรงตำแหน่งพลาธิการทหารบก และหลังจากกลับจากราชการสงครามได้ไม่นานก็ได้รับพระราชทานยศพลตรี
ต่อมาในปี 2485 ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และในวันที่ 7 กันยายน 2486 ท่านได้รับพระราชทานยศพลโท ขณะทำการรบในสงครามมหาเอเซียบูรพา และจบภารกิจเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2487[14][15]
เมื่อกลับจากราชการสนาม พลโทพระประจนปัจจนึก ได้ย้ายเข้ามาประจำกรมเสนาธิการทหาร และได้ลาออกจากประจำการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2488 แต่ในที่สุดก็ได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2493 ในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ระหว่างนี้พลโทพระประจนปัจจนึก ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศพลเอก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2496 และท่านได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จนถึงวันที่ลาออกจากประจำการเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2499
ผลงานด้านนิติบัญญัติ[16][17]
ชีวิตข้าราชการการเมืองของ พลเอกประจนปัจจนึก เริ่มขึ้นเมื่อปลายปี 2476 โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2476 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 จากนั้นเป็นต้นมา ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาเกือบทุกสมัย และเมื่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสองสภา ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกพฤฒสภา เมื่อปี 2489 และได้เป็นผู้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และในช่วงหลังสุดได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2502 เพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ด้วย
ทั้งนี้ ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร มีการตราพระราชบัญญัติจำนวน 348 ฉบับ เช่น
1. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ พ.ศ. 2494
2. พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497
3. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2497
4. พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498
5. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499
6. พระราชบัญญัติผู้มีบุตรมาก พ.ศ. 2499
7. พระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499
8. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499
9. พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500
10. พระราชบัญญัติเงินประจำตำแหน่งและค่าพาหนะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับเบี้ยประชุมของกรรมาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2500
11. พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501
12. พระราชบัญญัติระบบเงินตรา พ.ศ. 2501
ด้านความสัมพันธ์กับรัฐสภานานาประเทศ ที่หน่วยรัฐสภาไทยได้เข้ามีบทบาทเป็นสมาชิกองค์การสหภาพรัฐสภานานาประเทศนั้น ท่านได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมสหภาพรัฐสภา และเป็นผู้แทนหน่วยในที่ประชุมคณะมนตรีสหภาพรัฐสภาหลายครั้ง ได้แก่[18]
- ปี 2497 การประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 43 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
- ปี 2498 การประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 44 ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
- ปี 2499 การประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 45 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ซึ่งการประชุมครั้งนี้ พลเอก พระประจนปัจจนึก ได้รับเกียรติให้เป็นประธานแห่งที่ประชุมสหภาพรัฐสภาด้วย
- ปี 2500 การประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 46 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ระหว่างการรับราชการของ พลเอก พระประจนปัจจนึก ไม่ว่าฐานะข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมือง ท่านได้ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ อดทน ขยันหมั่นเพียร และซื่อตรงจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างยิ่ง นับเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ชนรุ่นหลังจะพึงยึดถือปฏิบัติสืบไป
พลเอก พระประจนปัจจนึกได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2531
อ้างอิง
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หนังสือที่ระลึกครบรอบ 72 ปี รัฐสภาไทย, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2547, หน้า 94-95.
- ↑ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, พลเอกพระประจนปัจจนึก, [ข้อมูลออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.crma.ac.th/library/library%20main/m-pajon.html, สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2552.
- ↑ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, พลเอกพระประจนปัจจนึก, [ข้อมูลออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.crma.ac.th/library/library%20main/m-pajon.html, สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2552.
- ↑ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, พลเอกพระประจนปัจจนึก, [ข้อมูลออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.crma.ac.th/library/library%20main/m-pajon.html, สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2552.
- ↑ ปริยกา เกสรทอง, ประวัติประธานรัฐสภา พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานรัฐสภาคนที่ 10. รัฐสภาสาร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 7, ก.ค. 2525, หน้า 71-86.
- ↑ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, พลเอกพระประจนปัจจนึก, [ข้อมูลออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.crma.ac.th/library/library%20main/m-pajon.html, สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2552.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หนังสือที่ระลึกครบรอบ 72 ปี รัฐสภาไทย, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2547, หน้า 94-95.
- ↑ ปริยกา เกสรทอง, ประวัติประธานรัฐสภา พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานรัฐสภาคนที่ 10. รัฐสภาสาร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 7, ก.ค. 2525, หน้า 71-86.
- ↑ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, พลเอกพระประจนปัจจนึก, [ข้อมูลออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.crma.ac.th/library/library%20main/m-pajon.html, สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2552.
- ↑ ปริยกา เกสรทอง, ประวัติประธานรัฐสภา พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานรัฐสภาคนที่ 10. รัฐสภาสาร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 7, ก.ค. 2525, หน้า 71-86.
- ↑ ปริยกา เกสรทอง, ประวัติประธานรัฐสภา พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานรัฐสภาคนที่ 10. รัฐสภาสาร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 7, ก.ค. 2525, หน้า 71-86.
- ↑ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, พลเอกพระประจนปัจจนึก, [ข้อมูลออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.crma.ac.th/library/library%20main/m-pajon.html, สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2552.
- ↑ ปริยกา เกสรทอง, ประวัติประธานรัฐสภา พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานรัฐสภาคนที่ 10. รัฐสภาสาร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 7, ก.ค. 2525, หน้า 71-86.
- ↑ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, พลเอกพระประจนปัจจนึก, [ข้อมูลออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.crma.ac.th/library/library%20main/m-pajon.html, สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2552.
- ↑ ปริยกา เกสรทอง, ประวัติประธานรัฐสภา พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานรัฐสภาคนที่ 10. รัฐสภาสาร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 7, ก.ค. 2525, หน้า 71-86.
- ↑ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, พลเอกพระประจนปัจจนึก, [ข้อมูลออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.crma.ac.th/library/library%20main/m-pajon.html, สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2552.
- ↑ ปริยกา เกสรทอง, ประวัติประธานรัฐสภา พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานรัฐสภาคนที่ 10. รัฐสภาสาร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 7, ก.ค. 2525, หน้า 71-86.
- ↑ ปริยกา เกสรทอง, ประวัติประธานรัฐสภา พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานรัฐสภาคนที่ 10. รัฐสภาสาร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 7, ก.ค. 2525, หน้า 71-86.
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
คำขวัญ ประธานสภาผู้แทนราษฎร พระประจนปัจจนึก. รัฐสภาสาร. ปีที่ 3 ฉบับพิเศษ, ธ.ค. 2497.
คำถวายพระพรชัยมงคลของพลเอก พระจนปัจจนึก. รัฐสภาสาร. ปีที่ 3 ฉบับพิเศษ, ธ.ค. 2497.
คำถวายพระพรชัยมงคลของพลเอก พระจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในการพระราชทานพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2496. รัฐสภาสาร. ปีที่ 2 ฉบับพิเศษ, ธ.ค. 2496.
คำปราศรัยของ พลเอก พระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาสาร. ปีที่ 3 ฉบับที่ 10, ก.พ. 2498.
คำปราศรัยของ พลเอก พระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวตอบนายกรัฐมนตรีในโอกาสปิดสมัยประชุมสามัญแห่งสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2498 วันพุธที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2498. รัฐสภาสาร. ปีที่ 3 ฉบับที่ 40, ก.ย. 2498.
คำปราศรัยของ พลเอก พระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาสาร. ปีที่ 6 ฉบับที่ 8, ม.ค. 2501.
คำปราศรัยของ พลเอก พระประจนปัจจนึก อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าคณะผู้แทนหน่วยงานรัฐสภาไทย. รัฐสภาสาร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 41, ต.ค. 2500.
คำปราศรัยของพลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวตอบนายกรัฐมนตรี ในโอกาสปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ พ.ศ. 2499 วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พุทธศักราช 2499. รัฐสภาสาร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 5, ม.ค. 2500.
คำปราศรัยของพลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวตอบนายกรัฐมนตรี ในโอกาสปิดประชุมสมัยสามัญแห่งสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499 วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2499. รัฐสภาสาร. ปีที่ 4 ฉบับที่ 40, ก.ย. 2499.
คำสัมภาษณ์ประธานสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาสาร. ปีที่ 3 ฉบับพิเศษ, ธ.ค. 2497.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. หนังสือที่ระลึกครบรอบ 72 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2547.
ปริยกา เกสรทอง, ประวัติประธานรัฐสภา พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานรัฐสภาคนที่ 10. รัฐสภาสาร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 7 ,ก.ค. 2525.
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, พลเอกพระประจนปัจจนึก, [ข้อมูลออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.crma.ac.th/library/library%20main/m-pajon.html, สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2552.
สุนทรพจน์ ฯพณฯ พระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวเป็นพุทธบูชา เนื่องในการฉลอง 25 พฤษภาคม 2500. รัฐสภาสาร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 22 ,พ.ค. 2500.
บรรณานุกรม
คำขวัญ ประธานสภาผู้แทนราษฎร พระประจนปัจจนึก. รัฐสภาสาร. ปีที่ 3 ฉบับพิเศษ, ธ.ค. 2497.
คำถวายพระพรชัยมงคลของพลเอก พระจนปัจจนึก. รัฐสภาสาร. ปีที่ 3 ฉบับพิเศษ, ธ.ค. 2497.
คำถวายพระพรชัยมงคลของพลเอก พระจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในการพระราชทานพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2496. รัฐสภาสาร. ปีที่ 2 ฉบับพิเศษ, ธ.ค. 2496.
คำปราศรัยของ พลเอก พระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาสาร. ปีที่ 3 ฉบับที่ 10, ก.พ. 2498.
คำปราศรัยของ พลเอก พระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวตอบนายกรัฐมนตรีในโอกาสปิดสมัยประชุมสามัญแห่งสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2498 วันพุธที่ 21 กันยายน พุทธศักราช 2498. รัฐสภาสาร. ปีที่ 3 ฉบับที่ 40, ก.ย. 2498.
คำปราศรัยของ พลเอก พระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาสาร. ปีที่ 6 ฉบับที่ 8, ม.ค. 2501.
คำปราศรัยของ พลเอก พระประจนปัจจนึก อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าคณะผู้แทนหน่วยงานรัฐสภาไทย. รัฐสภาสาร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 41, ต.ค. 2500.
คำปราศรัยของพลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวตอบนายกรัฐมนตรี ในโอกาสปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ พ.ศ. 2499 วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พุทธศักราช 2499. รัฐสภาสาร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 5, ม.ค. 2500.
คำปราศรัยของพลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวตอบนายกรัฐมนตรี ในโอกาสปิดประชุมสมัยสามัญแห่งสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499 วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2499. รัฐสภาสาร. ปีที่ 4 ฉบับที่ 40, ก.ย. 2499.
คำสัมภาษณ์ประธานสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาสาร. ปีที่ 3 ฉบับพิเศษ, ธ.ค. 2497.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. หนังสือที่ระลึกครบรอบ 72 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2547.
ปริยกา เกสรทอง, ประวัติประธานรัฐสภา พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานรัฐสภาคนที่ 10. รัฐสภาสาร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 7 ,ก.ค. 2525.
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, พลเอกพระประจนปัจจนึก, [ข้อมูลออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.crma.ac.th/library/library%20main/m-pajon.html, สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2552.
สุนทรพจน์ ฯพณฯ พระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวเป็นพุทธบูชา เนื่องในการฉลอง 25 พฤษภาคม 2500. รัฐสภาสาร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 22 ,พ.ค. 2500.