ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายวรการบัญชา : บุญเกิด สุตันตานนท์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
 
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:15, 6 พฤษภาคม 2563

ผู้เรียบเรียง นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ชาตะ

RTENOTITLE

พันเอก นายวรการบัญชา นามเดิมคือ บุญเกิด สุตันตานนท์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2446 แรม 15 ค่ำ เดือน 7 ตรงกับปีเถาะ ร.ศ. 122 จ.ศ. 1265 ณ บ้านริมน้ำแม่ปิง ตำบลเวียง อำเภอเวียง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนแรกของพระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์) และเจ้ากาบแก้ว (เจ้ากาบแก้ว ณ ลำพูน)[1] โดยมีพี่น้องดังนี้

• นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)

• นางเฉลิม บุษบรรณ

• นางฉลอง สารสิทธิประกาศ

• นางฉลวย ณ ลำพูน[2]

การสมรส

• พันเอก นายวรการบัญชา สมรสกับคุณหญิงฉวี วรการบัญชา (ฉวี บุญภาศรี)

     - ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน

• พันเอก นายวรการบัญชา สมรสกับนางจันทร์ฟอง มีบุตรธิดาดังนี้

     - ร้อยตำรวจตรี บัณฑิต วรการบัญชา (สุตันตานนท์)

     - นางกิ่งแก้ว ณ เชียงใหม่

     - นายธีระ สุตันตานนท์

• พันเอก นายวรการบัญชา สมรสกับกับนางคำเอ้ย สุตันตานนท์ (ถึงแก่กรรม) มีบุตรดังนี้

     - นายเมธี สุตันตานนท์

• พันเอก นายวรการบัญชา มีบุตรบุญธรรมบุตรีคนหนึ่ง คือ

     - นางวันดี ณ เชียงใหม่ (สมรสกับเจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่)[3][4]

การศึกษา

พันเอก นายวรการบัญชา ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2459 ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ที่กรุงเทพมหานคร จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 โดยมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสอบไล่ได้ที่ 3 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ขณะอายุ 15 ปี 6 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2462 (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เบิกตัวเข้าเฝ้าฯ และมีพระกระแสรับสั่งแต่งตั้งให้เป็น “นายรองสนิท” เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2463 ตำแหน่งมหาดเล็กห้องที่พระบรรทม เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2463 โดยทรงมอบหมายให้อยู่ในความอุปการะอบรมเลี้ยงดูและเป็นบุตรบุญธรรมของพระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) ด้วยความพอพระราชหฤทัยในกิจการงานที่พันเอก นายวรการบัญชา ปฏิบัติมาด้วยดี จึงมีพระราชดำริให้ส่งตัวไปศึกษาวิชาแพทย์ที่ประเทศอังกฤษด้วยทุนส่วนพระองค์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2465 ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พันเอก นายวรการบัญชา จึงเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม มาพักอาศัยกับพระยาอนิรุทธเทวา ณ “บ้านบรรทมสินธุ์” ช่วงระยะเวลาหนึ่งจึงขออนุญาตกับพระยาอนิรุทธเทวาเพื่อไปสนองพระเดชพระคุณผู้บังเกิดเกล้าที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับมอบหมายจากพระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์) ผู้เป็นบิดาให้ดูแลไร่นาและเก็บผลประโยชน์ที่จังหวัดเชียงราย ระหว่างนั้นได้ศึกษาค้นคว้ากฎหมายจนจบได้ปริญญานิติศาสตร์ (เนติบัณฑิต) เมื่อปี พ.ศ. 2476[5]

บริหารราชการแผ่นดิน

พ.ศ. 2479 – พ.ศ. 2480
 
เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่คนแรก (ในระบบการบริหารส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง วันที่ 29 สิงหาคม 2479 – 16 มิถุนายน 2480
พ.ศ. 2487 – พ.ศ. 2489
 
เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 7 สิงหาคม 2487 – 2 กุมภาพันธ์ 2489
พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2491
 
เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน 2490 – 15 เมษายน 2491
พ.ศ. 2490
 
เป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการต่างประเทศ (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน 2490 – 16 กรกฎาคม 2491
พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2492
 
เป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงคมนาคม (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 16 กรกฎาคม 2491 – 12 มีนาคม 2492[6]
พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2492
 
เป็นรัฐมนตรี (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 15 เมษายน 2491 – 25 มิถุนายน 2492
พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2494
 
เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน 2492 – 29 พฤศจิกายน 2494
พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2494
 
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 1 มีนาคม 2493 – 29 พฤศจิกายน 2494
พ.ศ. 2494
 
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน 2494 – 6 ธันวาคม 2494
พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2495
 
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 8 ธันวาคม 2494 – 24 มีนาคม 2495
พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2497
 
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 28 มีนาคม 2495 – 4 กุมภาพันธ์ 2497
พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2500
 
เป็นรองรัฐมนตรี (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 4 กุมภาพันธ์ 2497 – 21 มีนาคม 2500
พ.ศ. 2500
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม 2500 – 16 กันยายน 2500[7]
พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2514

 
ประธานวุฒิสภา (สมัยรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 22 กรกฎาคม 2511 – 6 กรกฎาคม 2514
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 7 กรกฎาคม 2514 – 17 พฤศจิกายน 2514[8]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร/สมาชิกวุฒิสภา

• พ.ศ. 2480 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย เขต 2 (7 พฤศจิกายน 2480)

• พ.ศ. 2481 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย เขต 2 (12 พฤศจิกายน 2481)

• พ.ศ. 2491 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย (29 มกราคม 2491)

• พ.ศ. 2495 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 1 จังหวัดเชียงราย (26 กุมภาพันธ์ 2495)

• พ.ศ. 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา (26 กุมภาพันธ์ 2500)

• พ.ศ. 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา (15 ธันวาคม 2500)[9]

• พ.ศ. 2511 สมาชิกวุฒิสภา (เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2511 – 21 กรกฎาคม 2511)[10]

ยศ

• มหาดเล็กเวรศักดิ์ในกรมมหาดเล็ก (มหาดเล็กห้องพระบรรทม) เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2463

• พันเอก ประจำกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2495[11]

บรรดาศักดิ์

• นายรองสนิท เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2463 (มหาดเล็กเวรศักดิ์)

• นายวรการบัญชา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2465 (หุ้มแพรวิเศษในกรมมหาดเล็ก)[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ในประเทศ)

• วชิรมาลา เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2464

• เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้น 5 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2465

• ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2492

• ปถมาภรณ์ช้างเผือก เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2495

• มหาวชิรมงกุฎไทย เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2495

• มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2496

• เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2496 (เหรียญบำเหน็จในพระองค์รัชกาลที่ 9)

• ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ชั้น 2 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2496

• ปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายหน้า) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2514[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่างประเทศ)

• ออร์เดอร์ ออฟ ซีวิล เมอร์ค ชั้น 1 (สเปน) เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2497

• พระบรมรูป ชั้นที่ 1 (ลาว) เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2498

• สหไมตรี ชั้นที่ 1 (กัมพูชา) เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2498

• เมริโต เตลลา เรปุมสิกา ชั้นที่ 1 (อิตาลี) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2498

• อรรถมหาสเรสิธุ (พม่า) เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2499[14]

ชีวิตบั้นปลาย

พันเอก นายวรการบัญชา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ขณะอายุ 70 ปี 11 เดือน 27 วัน[15]

อ้างอิง

  1. ปริยาภา เกสรทอง, พันเอก นายวรการบัญชา ประวัติประธานรัฐสภา คนที่ 13. รัฐสภาสาร ปีที่ 29 ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2524, หน้า 77.
  2. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)” , [ออนไลน์], แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki (4 ธันวาคม 2552)
  3. ปริยาภา เกสรทอง, เรื่องเดียวกัน. หน้า 78.
  4. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เรื่องเดิม.
  5. ปริยาภา เกสรทอง, เรื่องเดียวกัน. หน้า 78 – 79.
  6. ปริยาภา เกสรทอง, เรื่องเดียวกัน. หน้า 79.
  7. นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์, เอกสารวงงานรัฐสภา “รวมรายชื่อคณะรัฐมนตรีตั้งแต่คณะแรกจนถึงคณะปัจจุบัน” (กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2544) หน้า 323.
  8. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานประธานวุฒิสภา, ประวัติพร้อมภาพถ่าย ประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2543) หน้า 43.
  9. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายผลิตเอกสารรัฐสภา กองการประชาสัมพันธ์, (กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2537) หน้า 12 – 46.
  10. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานประธานวุฒิสภา, เรื่องเดิม. หน้าเดียวกัน.
  11. ปริยาภา เกสรทอง, เรื่องเดิม. หน้า 80.
  12. ปริยาภา เกสรทอง, เรื่องเดิม. หน้าเดียวกัน.
  13. ปริยาภา เกสรทอง, เรื่องเดิม. หน้า 80 - 81.
  14. ปริยาภา เกสรทอง, เรื่องเดิม. หน้า 81.
  15. ปริยาภา เกสรทอง, เรื่องเดิม. หน้า 79.

บรรณานุกรม

นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์, เอกสารวงงานรัฐสภา “รวมรายชื่อคณะรัฐมนตรีตั้งแต่คณะแรกจนถึงคณะปัจจุบัน” (กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2544)

ปริยาภา เกสรทอง, พันเอก นายวรการบัญชา ประวัติประธานรัฐสภา คนที่ 13. รัฐสภาสาร ปีที่ 29 ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2524,

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki (4 ธันวาคม 2552) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายผลิตเอกสารรัฐสภา กองการประชาสัมพันธ์, กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2537.

สำนักงานประธานวุฒิสภา, ประวัติพร้อมภาพถ่าย ประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2543.