ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การลงคะแนนลับในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1 วันที่ 25 พฤษภาคม 2562"
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรรถสิทธิ์ พานแก้..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรกกำหนดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2562 โดยในการประชุมนัดแรกนี้ได้มีการเชิญให้นายชัย ชิดชอบ จากพรรคภูมิใจไทย ในฐานะผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในสภา ขึ้นทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราวในการประชุม[[#_ftn5|[5]]] สำหรับวาระการประชุม คือ การเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถึงขั้นตอนการเลือกว่าจะยึดตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551 ซึ่งกำหนดให้การลงคะแนนเป็นการลับ ขั้นตอนการออกเสียงสมาชิกแต่ละคนจะต้องเขียนชื่อบุคคลที่ถูกเสนอชื่อในกระดาษที่จัดเตรียมไว้ จากนั้นใส่ซองปิดผนึกและเจ้าหน้าที่จะขานชื่อสมาชิกทีละคนเพื่อให้นำซองที่บรรจุการเลือกของสมาชิกหย่อนในหีบลงคะแนน[[#_ftn6|[6]]] | การประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรกกำหนดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2562 โดยในการประชุมนัดแรกนี้ได้มีการเชิญให้นายชัย ชิดชอบ จากพรรคภูมิใจไทย ในฐานะผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในสภา ขึ้นทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราวในการประชุม[[#_ftn5|[5]]] สำหรับวาระการประชุม คือ การเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถึงขั้นตอนการเลือกว่าจะยึดตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551 ซึ่งกำหนดให้การลงคะแนนเป็นการลับ ขั้นตอนการออกเสียงสมาชิกแต่ละคนจะต้องเขียนชื่อบุคคลที่ถูกเสนอชื่อในกระดาษที่จัดเตรียมไว้ จากนั้นใส่ซองปิดผนึกและเจ้าหน้าที่จะขานชื่อสมาชิกทีละคนเพื่อให้นำซองที่บรรจุการเลือกของสมาชิกหย่อนในหีบลงคะแนน[[#_ftn6|[6]]] | ||
อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดเกิดขึ้นนับตั้งแต่ขั้นตอนของการเสนอชื่อผู้ที่จะชิงตำแหน่งประธานสภา โดยพรรคพลังประชารัฐได้ขอให้เลื่อนระเบียบวาระการเลือกประธานสภาออกไปก่อน แต่ถูกทักท้วงจากสมาชิกอีกฝ่ายหนึ่ง จนในที่สุดต้องมีการลงมติ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นควรไม่ให้เลื่อน 248 เสียง เฉือนชนะฝ่ายที่เห็นควรให้เลื่อนที่ได้ 246 เสียง ถือเป็นการหยั่งเชิงยกแรกในการออกเสียงลงคะแนนของแต่ละขั้วการเมือง เมื่อไม่มีการเลื่อนวาระนี้ออกไป จึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการออกเสียงลงคะแนนเพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร นายณัฏฐพล | อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดเกิดขึ้นนับตั้งแต่ขั้นตอนของการเสนอชื่อผู้ที่จะชิงตำแหน่งประธานสภา โดยพรรคพลังประชารัฐได้ขอให้เลื่อนระเบียบวาระการเลือกประธานสภาออกไปก่อน แต่ถูกทักท้วงจากสมาชิกอีกฝ่ายหนึ่ง จนในที่สุดต้องมีการลงมติ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นควรไม่ให้เลื่อน 248 เสียง เฉือนชนะฝ่ายที่เห็นควรให้เลื่อนที่ได้ 246 เสียง ถือเป็นการหยั่งเชิงยกแรกในการออกเสียงลงคะแนนของแต่ละขั้วการเมือง เมื่อไม่มีการเลื่อนวาระนี้ออกไป จึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการออกเสียงลงคะแนนเพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐ เสนอชื่อนายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง คือ นายซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาชาติ เสนอชื่อ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ จากพรรคเพื่อไทย ทั้งสองรายชื่อได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกจึงต้องใช้วิธีการลงคะแนนลับ โดยสมาชิกแต่ละคนเขียนชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อลงในกระดาษและหย่อนลงในหีบ มีตัวแทนพรรคการเมือง 6 พรรคทำหน้าที่เป็นกรรมการ[[#_ftn7|[7]]] อนึ่ง เพื่อให้การลงคะแนนของสมาชิกเป็นความลับ นายชัย ชิดชอบ ประธานในที่ประชุมได้มีการเชิญให้สื่อมวลชนออกจากห้องประชุมเนื่องจากเกรงว่าอาจมีการใช้กล้องซูมเพื่อสังเกตการลงคะแนน[[#_ftn8|[8]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
หลังจากสมาชิกทุกคนได้ลงคะแนนแล้วเสร็จ และกรรมการตรวจนับคะแนนจนเสร็จสิ้น ประธานในที่ประชุมแจ้งผลการลงคะแนน โดยมีผู้ลงคะแนน 494 คน จากผู้ที่เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 496 คน พบผู้ไม่ลงคะแนน 2 คน หนึ่งในนั้น คือ นายชัย ชิดชอบ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมที่ของดใช้สิทธิ์เพื่อวางตัวเป็นกลาง[[#_ftn9|[9]]] ผลการลงคะแนนปรากฎว่านายชวน หลีกภัย ได้รับเลือกด้วยคะแนน 258 เสียง ขณะที่นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ได้ 235 เสียง ส่งผลให้นายชวน หลีกภัย ก้าวขึ้นเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่สองของตนเอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าจากผลคะแนนที่ออกมานั้น มีช่วงความห่างคะแนนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการออกเสียงคะแนนเปิดเผยในการลงมติประเด็นการเลื่อนระเบียบวาระการเลือกประธานสภาที่อีกฝ่ายหนึ่งเอาชนะเพียง 2 เสียงเท่านั้น ทำให้สื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์ต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงปรากฎการณ์ “งูเห่า”[[#_ftn10|[10]]] หรือสมาชิกที่ลงคะแนนให้กับอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่เป็นไปตามแนวทางหรือมติของฝั่งตนเอง | หลังจากสมาชิกทุกคนได้ลงคะแนนแล้วเสร็จ และกรรมการตรวจนับคะแนนจนเสร็จสิ้น ประธานในที่ประชุมแจ้งผลการลงคะแนน โดยมีผู้ลงคะแนน 494 คน จากผู้ที่เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 496 คน พบผู้ไม่ลงคะแนน 2 คน หนึ่งในนั้น คือ นายชัย ชิดชอบ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมที่ของดใช้สิทธิ์เพื่อวางตัวเป็นกลาง[[#_ftn9|[9]]] ผลการลงคะแนนปรากฎว่านายชวน หลีกภัย ได้รับเลือกด้วยคะแนน 258 เสียง ขณะที่นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ได้ 235 เสียง ส่งผลให้นายชวน หลีกภัย ก้าวขึ้นเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่สองของตนเอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าจากผลคะแนนที่ออกมานั้น มีช่วงความห่างคะแนนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการออกเสียงคะแนนเปิดเผยในการลงมติประเด็นการเลื่อนระเบียบวาระการเลือกประธานสภาที่อีกฝ่ายหนึ่งเอาชนะเพียง 2 เสียงเท่านั้น ทำให้สื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์ต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงปรากฎการณ์ “งูเห่า”[[#_ftn10|[10]]] หรือสมาชิกที่ลงคะแนนให้กับอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่เป็นไปตามแนวทางหรือมติของฝั่งตนเอง | ||
นอกจากนี้ การขึ้นสู่ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัยหนึ่งของนายชวน หลีกภัย ยังถูกจับตามองในฐานะการเดินเกมทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ที่อาศัยประสบการณ์และความโชกโชนทางการเมืองของนายชวนเพื่อสร้างความได้เปรียบในสภา ทั้งยังเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองภายใต้บรรยากาศการแข่งขัน | นอกจากนี้ การขึ้นสู่ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัยหนึ่งของนายชวน หลีกภัย ยังถูกจับตามองในฐานะการเดินเกมทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ที่อาศัยประสบการณ์และความโชกโชนทางการเมืองของนายชวนเพื่อสร้างความได้เปรียบในสภา ทั้งยังเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองภายใต้บรรยากาศการแข่งขัน ทางการเมืองระหว่างที่พรรคพลังประชารัฐมีความต้องการที่จะดึงพรรคประชาธิปัตย์ให้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล ยิ่งขับเน้นให้บรรยากาศการแข่งขันทางการเมืองทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น พร้อมข่าวคราวต่าง ๆ เกี่ยวกับการต่อรองตำแหน่งและการจัดสรรผลประโยชน์ของแต่ละพรรคการเมือง | ||
| | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 52: | ||
“งูเห่าโผล่ 5 คน! มติข้างมาก 258 เสียงดัน'ชวน'นั่งเก้าอี้ ปธ.สภาผู้แทนฯ-'สมพงษ์'พ่าย.” '''สำนักข่าวอิสรา'''. (25พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <[https://news.thaipbs.or.th/content/280332 https://news.thaipbs.or.th/content/280332]>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562. | “งูเห่าโผล่ 5 คน! มติข้างมาก 258 เสียงดัน'ชวน'นั่งเก้าอี้ ปธ.สภาผู้แทนฯ-'สมพงษ์'พ่าย.” '''สำนักข่าวอิสรา'''. (25พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <[https://news.thaipbs.or.th/content/280332 https://news.thaipbs.or.th/content/280332]>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562. | ||
ชนาทร จิตติเดโช. “ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ.” '''สถาบันพระปกเกล้า'''. เข้าถึงจาก < http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562. | ชนาทร จิตติเดโช. “ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ.” '''สถาบันพระปกเกล้า'''. เข้าถึงจาก < [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ]>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562. | ||
“‘ชัย’ เชิญสื่อออก ก่อนลงมติโหวตลับ ‘เลือกปธ.สภา’.” '''มติชนออนไลน์'''. (25 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <[https://news.thaipbs.or.th/content/280332 hhttps://www.matichon.co.th/politics/news_1509792]>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562. | “‘ชัย’ เชิญสื่อออก ก่อนลงมติโหวตลับ ‘เลือกปธ.สภา’.” '''มติชนออนไลน์'''. (25 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <[https://news.thaipbs.or.th/content/280332 hhttps://www.matichon.co.th/politics/news_1509792]>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562. | ||
บรรทัดที่ 64: | บรรทัดที่ 64: | ||
---- | ---- | ||
<div id="ftn1"> | <div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] ชนาทร จิตติเดโช, “ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ,” '''สถาบันพระปกเกล้า'''. เข้าถึงจาก < http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562. | [[#_ftnref1|[1]]] ชนาทร จิตติเดโช, “ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ,” '''สถาบันพระปกเกล้า'''. เข้าถึงจาก < [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ]>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562. | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]] “ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551”, '''ราชกิจจานุเบกษา''', เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 79 ง, 2 พฤษภาคม 2551, ข้อ 72. | [[#_ftnref2|[2]]] “ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551”, '''ราชกิจจานุเบกษา''', เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 79 ง, 2 พฤษภาคม 2551, ข้อ 72. |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:55, 29 เมษายน 2563
ผู้เรียบเรียง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ดร. สติธร ธนานิธิโชติ
ความนำ
ภายหลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 และได้มีรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2562 ต่อมาคือ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2562 สภาผู้แทนราษฎรได้เปิดประชุมเป็นสมัยแรก ซึ่งในวาระแรกเพื่อให้สมาชิกได้ลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร จากสมาชิกที่ถูกเสนอชื่อและได้รับการรับรองโดยที่ประชุม ผู้ที่ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงมากที่สุดจากรายชื่อข้างต้นจะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร สำหรับกระบวนการให้สมาชิกออกเสียงลงคะแนนนั้น แม้ในทางปฏิบัติอยู่ภายใต้แนวทาง หรือ มติของแต่ละพรรคการเมือง แต่ขณะเดียวกัน การตัดสินใจลงคะแนนก็ถือเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกแต่ละคนด้วยเช่นกัน กระบวนการลงคะแนนจึงถูกกำหนดให้ใช้วิธีการลงคะแนนเป็นการลับ
ทั้งนี้ การลงคะแนนเลือกผู้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2562 ผู้ที่ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงมากที่สุด คือ นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้รับเลือกด้วยคะแนน 258 เสียง ชนะคะแนนนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ จากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ 235 เสียง ส่งผลให้นายชวน หลีกภัย ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ถือเป็นการดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง หลังจากที่เคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.2529 - 2531
การลงคะแนนลับในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร
รัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติแบ่งออกเป็นสองสภา คือสภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า “สภาล่าง” และวุฒิสภา หรือ “สภาสูง” ทั้งสองสภามีกลไกการทำงานทั้งในลักษณะที่แยกส่วนกัน และร่วมกันในรูปของที่ประชุมร่วมรัฐสภา ทั้งนี้ แต่ละสภามีการกำหนดตำแหน่งผู้ที่ทำหน้าที่ประธานและรองประธาน ซึ่งตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้บัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ขณะที่ ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรนั้น
จะมีการเปิดประชุมเพื่อให้สมาชิกได้ร่วมกันอภิปรายบนหลักการของการปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยอาจมีการโต้แย้งถกเถียงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน การเห็นชอบร่างกฎหมาย ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ของประชาชน ทั้งนี้ในประเด็นที่ต้องการการตัดสินใจของที่ประชุม หรือ เพื่อหาข้อยุติในการอภิปรายจะใช้วิธีการให้สมาชิกออกเสียงลงคะแนนเพื่อหามติของที่ประชุม โดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนจำแนกออกเป็นสองประเภท ได้แก่ 1) การออกเสียงคะแนนเปิดเผย และ 2) การออกเสียงลงคะแนนลับ[1] โดยทั่วไปแล้ว การออกเสียงลงคะแนนจะกระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่ในกรณีที่มีสมาชิกเสนอญัตติให้มีการลงคะแนนลับโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า 20 คน จึงจะให้มีการลงคะแนนลับ ทั้งนี้หากมีสมาชิกคัดค้าน และ มีผู้รับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกในที่ประชุม ให้ถือเป็นเอกสิทธิ์ที่จะลงคะแนนโดยเปิดเผย อันเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมฯ[2]
อย่างไรก็ตาม ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551 ได้กำหนดให้ใช้วิธีการลงคะแนนลับสำหรับการเลือกประธานสภาและรองประธานสภา โดยในข้อบังคับฯ ข้อ 5 ได้ระบุถึงการเลือกประธาน โดยให้สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ ในการเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน และในกรณีที่มีรายชื่อผู้ได้รับการเสนอมากกว่าหนึ่งคน ให้ใช้วิธีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับเพื่อเลือก
ผู้สมควรดำรงตำแหน่ง[3] ทั้งนี้อาจพิจารณาได้ว่าตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้น เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล ควบคุมการประชุม และดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสภา ที่อาจส่งผลอันเป็นการให้คุณหรือให้โทษกับบรรดาสมาชิกได้ วิธีการลงคะแนนลับจึงเป็นการป้องกันประเด็นปัญหาดังกล่าว
'การชิงชัยประธานสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ '25
ในช่วงที่การเมืองมีการขับเคี่ยวแข่งขันที่เข้มข้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันจัดตั้งรัฐบาล และเมื่อเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าพรรคเพื่อไทยที่ได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอันดับที่หนึ่ง จับขั้วกับพรรคที่ได้จำนวนสมาชิกอันดับที่สามอย่างพรรคอนาคตใหม่ พร้อมด้วยพรรคการเมืองที่เป็นพันธมิตรอีกจำนวนหนึ่ง ขณะที่อีกขั้วหนึ่งอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นลำดับที่สอง มีความพยายามที่จะรวมที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรด้วยการจับขั้วกับพรรคต่าง ๆ ที่ได้คะแนนถัดรองลงมา อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น รวมถึงพรรคขนาดเล็กอีกจำนวนมาก เพื่อให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมและสนับสนุนให้รายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค คือ พลเอกประยุทธิ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้ตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้น การเลือกผู้ที่จะตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งทางการเมือง เพราะนอกจากจะเป็นตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ อันเป็นเหตุให้แต่ละพรรคการเมืองพยายามช่วงชิงตำแหน่งดังกล่าวแล้ว การทำหน้าที่ควบคุมการอภิปรายของสมาชิกทั้งในสภาผู้แทนราษฎร และ ในที่ประชุมร่วมของรัฐสภา ยังถูกคาดหมายจากบรรดาสื่อมวลชน ตลอดจนเหล่าผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองว่าจะเป็นการชิงความได้เปรียบในฐานะผู้ควบคุมการประชุม รวมถึงการออกเสียงลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีที่จะมีขึ้นในลำดับต่อไปอีกด้วย
ในช่วงก่อนที่จะมีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเสนอชื่อ และ ลงคะแนนเลือกผู้สมควรดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มีกระแสข่าวว่าสองพรรคใหญ่ซึ่งเป็นแกนนำของแต่ละฝ่ายมีความพยายามที่จะเสนอชื่อบุคคลของพรรคตนเข้าร่วมชิงชัย กล่าวคือ พรรคพลังประชารัฐมีการคาดการณ์กันว่าจะเสนอชื่อนายสุชาติ ตันเจริญ ส่วนทางฝั่งพรรคเพื่อไทยจะเสนอชื่อนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกมองว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการจับขั้วเพื่อจัดตั้งรัฐบาล แม้ว่าจะมีกระแสข่าวมาเป็นระยะว่าจะมีการเสนอชื่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนจากทางพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด[4]
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรกกำหนดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2562 โดยในการประชุมนัดแรกนี้ได้มีการเชิญให้นายชัย ชิดชอบ จากพรรคภูมิใจไทย ในฐานะผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในสภา ขึ้นทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราวในการประชุม[5] สำหรับวาระการประชุม คือ การเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถึงขั้นตอนการเลือกว่าจะยึดตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551 ซึ่งกำหนดให้การลงคะแนนเป็นการลับ ขั้นตอนการออกเสียงสมาชิกแต่ละคนจะต้องเขียนชื่อบุคคลที่ถูกเสนอชื่อในกระดาษที่จัดเตรียมไว้ จากนั้นใส่ซองปิดผนึกและเจ้าหน้าที่จะขานชื่อสมาชิกทีละคนเพื่อให้นำซองที่บรรจุการเลือกของสมาชิกหย่อนในหีบลงคะแนน[6]
อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดเกิดขึ้นนับตั้งแต่ขั้นตอนของการเสนอชื่อผู้ที่จะชิงตำแหน่งประธานสภา โดยพรรคพลังประชารัฐได้ขอให้เลื่อนระเบียบวาระการเลือกประธานสภาออกไปก่อน แต่ถูกทักท้วงจากสมาชิกอีกฝ่ายหนึ่ง จนในที่สุดต้องมีการลงมติ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นควรไม่ให้เลื่อน 248 เสียง เฉือนชนะฝ่ายที่เห็นควรให้เลื่อนที่ได้ 246 เสียง ถือเป็นการหยั่งเชิงยกแรกในการออกเสียงลงคะแนนของแต่ละขั้วการเมือง เมื่อไม่มีการเลื่อนวาระนี้ออกไป จึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการออกเสียงลงคะแนนเพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐ เสนอชื่อนายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง คือ นายซูการ์โน มะทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาชาติ เสนอชื่อ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ จากพรรคเพื่อไทย ทั้งสองรายชื่อได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกจึงต้องใช้วิธีการลงคะแนนลับ โดยสมาชิกแต่ละคนเขียนชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อลงในกระดาษและหย่อนลงในหีบ มีตัวแทนพรรคการเมือง 6 พรรคทำหน้าที่เป็นกรรมการ[7] อนึ่ง เพื่อให้การลงคะแนนของสมาชิกเป็นความลับ นายชัย ชิดชอบ ประธานในที่ประชุมได้มีการเชิญให้สื่อมวลชนออกจากห้องประชุมเนื่องจากเกรงว่าอาจมีการใช้กล้องซูมเพื่อสังเกตการลงคะแนน[8]
ผลคะแนน และ ผลทางการเมือง
หลังจากสมาชิกทุกคนได้ลงคะแนนแล้วเสร็จ และกรรมการตรวจนับคะแนนจนเสร็จสิ้น ประธานในที่ประชุมแจ้งผลการลงคะแนน โดยมีผู้ลงคะแนน 494 คน จากผู้ที่เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 496 คน พบผู้ไม่ลงคะแนน 2 คน หนึ่งในนั้น คือ นายชัย ชิดชอบ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมที่ของดใช้สิทธิ์เพื่อวางตัวเป็นกลาง[9] ผลการลงคะแนนปรากฎว่านายชวน หลีกภัย ได้รับเลือกด้วยคะแนน 258 เสียง ขณะที่นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ได้ 235 เสียง ส่งผลให้นายชวน หลีกภัย ก้าวขึ้นเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่สองของตนเอง และเป็นที่น่าสังเกตว่าจากผลคะแนนที่ออกมานั้น มีช่วงความห่างคะแนนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการออกเสียงคะแนนเปิดเผยในการลงมติประเด็นการเลื่อนระเบียบวาระการเลือกประธานสภาที่อีกฝ่ายหนึ่งเอาชนะเพียง 2 เสียงเท่านั้น ทำให้สื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์ต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงปรากฎการณ์ “งูเห่า”[10] หรือสมาชิกที่ลงคะแนนให้กับอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่เป็นไปตามแนวทางหรือมติของฝั่งตนเอง
นอกจากนี้ การขึ้นสู่ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัยหนึ่งของนายชวน หลีกภัย ยังถูกจับตามองในฐานะการเดินเกมทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ที่อาศัยประสบการณ์และความโชกโชนทางการเมืองของนายชวนเพื่อสร้างความได้เปรียบในสภา ทั้งยังเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองภายใต้บรรยากาศการแข่งขัน ทางการเมืองระหว่างที่พรรคพลังประชารัฐมีความต้องการที่จะดึงพรรคประชาธิปัตย์ให้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล ยิ่งขับเน้นให้บรรยากาศการแข่งขันทางการเมืองทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น พร้อมข่าวคราวต่าง ๆ เกี่ยวกับการต่อรองตำแหน่งและการจัดสรรผลประโยชน์ของแต่ละพรรคการเมือง
บรรณานุกรม
“ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551”. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 79 ง, 2 พฤษภาคม 2551.
“ขั้นตอน ส.ส. เลือกประธานสภาฯ ลงคะแนนลับ เช็กชื่อ "งูเห่า" ไม่ได้.” ไทยรัฐออนไลน์. (17 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1569698>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
“งูเห่าโผล่ 5 คน! มติข้างมาก 258 เสียงดัน'ชวน'นั่งเก้าอี้ ปธ.สภาผู้แทนฯ-'สมพงษ์'พ่าย.” สำนักข่าวอิสรา. (25พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/280332>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
ชนาทร จิตติเดโช. “ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ.” สถาบันพระปกเกล้า. เข้าถึงจาก < http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
“‘ชัย’ เชิญสื่อออก ก่อนลงมติโหวตลับ ‘เลือกปธ.สภา’.” มติชนออนไลน์. (25 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <hhttps://www.matichon.co.th/politics/news_1509792>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
“เปิดขั้นตอน "ลงคะแนนลับ" เลือกประธานสภาฯ.” ข่าวไทยพีบีเอส. (25 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/280332>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
“มติ 258 ต่อ 235 เลือก 'ชวน หลีกภัย' เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร.”ประชาไท. (25 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2019/05/82640>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562..
“สภานัดแล้วประชุม 25 พ.ค. เปิดวาระชิงเก้าอี้"ประธาน" คุมเกมโหวตนายกฯ.” โพสต์ทูเดย์ออนไลน์. (19 พ.ค.2562). เข้าถึงจาก <https://www.posttoday.com/politic/news/589519>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
[1] ชนาทร จิตติเดโช, “ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ,” สถาบันพระปกเกล้า. เข้าถึงจาก < http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
[2] “ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551”, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 79 ง, 2 พฤษภาคม 2551, ข้อ 72.
[3] “ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551”, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 79 ง, 2 พฤษภาคม 2551, ข้อ 5.
[4] “สภานัดแล้วประชุม 25 พ.ค. เปิดวาระชิงเก้าอี้"ประธาน" คุมเกมโหวตนายกฯ,” โพสต์ทูเดย์ออนไลน์, (19 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <https://www.posttoday.com/politic/news/589519>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
[5] “ขั้นตอน ส.ส. เลือกประธานสภาฯ ลงคะแนนลับ เช็กชื่อ "งูเห่า" ไม่ได้,” ไทยรัฐออนไลน์, (17 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1569698>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
[6] “เปิดขั้นตอน "ลงคะแนนลับ" เลือกประธานสภาฯ,” ข่าวไทยพีบีเอส, (25 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/280332>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
[7] “งูเห่าโผล่ 5 คน! มติข้างมาก 258 เสียงดัน'ชวน'นั่งเก้าอี้ ปธ.สภาผู้แทนฯ-'สมพงษ์'พ่าย,” สำนักข่าวอิสรา, (25 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/280332>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
[8] “ ‘ชัย’ เชิญสื่อออก ก่อนลงมติโหวตลับ ‘เลือกปธ.สภา’,” มติชนออนไลน์, (25 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <hhttps://www.matichon.co.th/politics/news_1509792>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.
[9] “มติ 258 ต่อ 235 เลือก 'ชวน หลีกภัย' เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร,” ประชาไท, (25 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2019/05/82640>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562..
[10] “งูเห่าโผล่ 5 คน! มติข้างมาก 258 เสียงดัน'ชวน'นั่งเก้าอี้ ปธ.สภาผู้แทนฯ-'สมพงษ์'พ่าย,” สำนักข่าวอิสรา, (25 พ.ค. 2562). เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/280332>. เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562.