ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย "<div> = '''คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศ..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 45: บรรทัดที่ 45:
= '''เงื่อนไขก่อนดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรี''' =
= '''เงื่อนไขก่อนดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรี''' =
</div> <div>
</div> <div>
=== '''1) การถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนดำรงตำแหน่ง''' ===
== '''1) การถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนดำรงตำแหน่ง''' ==
</div>  
</div>  
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้ (มาตรา 161)
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้ (มาตรา 161)
บรรทัดที่ 55: บรรทัดที่ 55:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในกรณีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 วรรคท้าย วางหลักการให้พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนที่จะถวายสัตย์ปฎิญาณ คณะรัฐมนตรีสามารถทำหน้าที่ไปพลางก่อนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์สำคัญของแผ่นดินได้เท่าที่จำเป็นโดยที่ยังไม่ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา (มาตรา 162 วรรคท้าย) และในกรณีการทำหน้าที่ไปพลางก่อนนี้รัฐธรรมนูญให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีจะพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในกรณีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 วรรคท้าย วางหลักการให้พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนที่จะถวายสัตย์ปฎิญาณ คณะรัฐมนตรีสามารถทำหน้าที่ไปพลางก่อนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์สำคัญของแผ่นดินได้เท่าที่จำเป็นโดยที่ยังไม่ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา (มาตรา 162 วรรคท้าย) และในกรณีการทำหน้าที่ไปพลางก่อนนี้รัฐธรรมนูญให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีจะพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
<div>
<div>
=== '''&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2) การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี''' ===
== '''2) การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี''' ==
</div>  
</div>  
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขก่อนการทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีไว้อีกประการหนึ่งนอกจากต้องถวายสัตย์ปฏิญาณแล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาซึ่งต้องสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ และต้องชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย (มาตรา 162 วรรคแรก) ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในหมวด 6 มาตรา 64-78 เพื่อเป็นแนวทางให้คณะรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่บริหารประเทศได้ดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาจึงเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการนำแนวนโยบายแห่งรัฐมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติด้วย
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขก่อนการทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีไว้อีกประการหนึ่งนอกจากต้องถวายสัตย์ปฏิญาณแล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาซึ่งต้องสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ และต้องชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย (มาตรา 162 วรรคแรก) ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในหมวด 6 มาตรา 64-78 เพื่อเป็นแนวทางให้คณะรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่บริหารประเทศได้ดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาจึงเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการนำแนวนโยบายแห่งรัฐมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติด้วย
บรรทัดที่ 65: บรรทัดที่ 65:
รัฐธรรมนูญได้กำหนดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ทรงใช้ผ่านทางคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาไว้ตั้งแต่มาตรา 176-180 ดังนี้
รัฐธรรมนูญได้กำหนดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ทรงใช้ผ่านทางคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาไว้ตั้งแต่มาตรา 176-180 ดังนี้


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1) พระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึก (มาตรา 176)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;1) พระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึก (มาตรา 176)


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2) พระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา (มาตรา 177)
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2) พระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา (มาตรา 177)
บรรทัดที่ 87: บรรทัดที่ 87:
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพิ่มโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562.
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพิ่มโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562.


มานิตย์ จุมปา, '''ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550),''' กรุงเทพ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553.
มานิตย์ จุมปา, '''ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550),''' กรุงเทพ&nbsp;: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553.


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.


วิษณุ เครืองาม, '''กฎหมายรัฐธรรมนูญ'''. กรุงเทพ : วิญญูชน. 2538.
วิษณุ เครืองาม, '''กฎหมายรัฐธรรมนูญ'''. กรุงเทพ&nbsp;: วิญญูชน. 2538.


วิษณุ เครืองาม และ บวรศักดิ์ อุวรรณโน. '''พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร'''. วารสารกฎหมาย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. (พ.ค.-ส.ค. 2520).
วิษณุ เครืองาม และ บวรศักดิ์ อุวรรณโน. '''พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร'''. วารสารกฎหมาย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. (พ.ค.-ส.ค. 2520).
บรรทัดที่ 97: บรรทัดที่ 97:
= '''หนังสืออ่านเพิ่มเติม''' =
= '''หนังสืออ่านเพิ่มเติม''' =
</div>  
</div>  
มานิตย์ จุมปา, '''ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550),''' กรุงเทพ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553.
มานิตย์ จุมปา, '''ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550),''' กรุงเทพ&nbsp;: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553.


วิษณุ เครืองาม, '''กฎหมายรัฐธรรมนูญ'''. กรุงเทพ : วิญญูชน. 2538.
วิษณุ เครืองาม, '''กฎหมายรัฐธรรมนูญ'''. กรุงเทพ&nbsp;: วิญญูชน. 2538.


วิษณุ เครืองาม และ บวรศักดิ์ อุวรรณโน. '''พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร'''. วารสารกฎหมาย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. (พ.ค.-ส.ค. 2520).
วิษณุ เครืองาม และ บวรศักดิ์ อุวรรณโน. '''พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร'''. วารสารกฎหมาย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. (พ.ค.-ส.ค. 2520).
บรรทัดที่ 105: บรรทัดที่ 105:
----
----
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] วิษณุ เครืองาม, '''กฎหมายรัฐธรรมนูญ''', กรุงเทพ : วิญญูชน,2538, หน้า 550-552.
[[#_ftnref1|[1]]] วิษณุ เครืองาม, '''กฎหมายรัฐธรรมนูญ''', กรุงเทพ&nbsp;: วิญญูชน,2538, หน้า 550-552.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา 5.
[[#_ftnref2|[2]]] พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา 5.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] มานิตย์ จุมปา, '''ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550),''' กรุงเทพ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553, หน้า 358-359.
[[#_ftnref3|[3]]] มานิตย์ จุมปา, '''ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550),''' กรุงเทพ&nbsp;: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553, หน้า 358-359.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] วิษณุ เครืองาม และ บวรศักดิ์ อุวรรณโน, '''พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร''', วารสารกฎหมาย, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2, (พ.ค.-ส.ค. 2520), หน้า 159.
[[#_ftnref4|[4]]] วิษณุ เครืองาม และ บวรศักดิ์ อุวรรณโน, '''พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร''', วารสารกฎหมาย, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2, (พ.ค.-ส.ค. 2520), หน้า 159.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560]]
[[Category:รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 23:32, 18 มีนาคม 2563

คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

คณะรัฐมนตรีมีความสำคัญในทางกฎหมายเพราะทำหน้าที่เป็นองค์กรฝ่ายบริหารที่มีหน้าที่บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้ ความสำคัญของคณะรัฐมนตรีในทางการเมืองเพราะถือเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจทางการเมืองในการบริหารและบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงถือเป็นกลุ่มองค์กรที่มีอำนาจในการกำหนดการบริหารประเทศเพราะต้องดำเนินการตามแนวนโยบายแห่งรัฐและยุทธศาสตร์ตามที่ระบุไว้[1]

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติคณะรัฐมนตรีไว้ในหมวด 8 ตั้งแต่มาตรา 158-183 ในส่วนนี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบ คุณสมบัติ เงื่อนไขก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ทรงใช้ผ่านทางคณะรัฐมนตรี หลักการรับสนองพระบรมราชโองการ และ เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทน ในส่วนของอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีจะกล่าวถึงไว้ในส่วนของอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

องค์ประกอบ คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของคณะรัฐมนตรี

1.1 องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติองค์ประกอบของคณะรัฐมนตรีไว้ในมาตรา 158 “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคนประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน” คณะรัฐมนตรีจึงมีความสำคัญเพราะถูกแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกันกับนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวน 20 กระทรวง[2] ส่งผลให้ต้องมีรัฐมนตรีได้จำนวน 20 คน เพื่อทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชางานทั้ง 20 กระทรวง

1.2 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี

          รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 160 ดังนี้

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี

(3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

(4) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

(5) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

(6) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98

(7) ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษเว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท

(8) ไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186
หรือมาตรา 187 มาแล้วยังไม่ถึงสองปีนับถึงวันแต่งตั้ง

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดห้ามมิให้ข้าราชการและพนักงานของรัฐซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง จะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นมิได้ (มาตรา 181) หมายความว่า รัฐธรรมนูญได้กำหนดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าจะต้องไม่เป็นข้าราชการและพนักงานของรัฐที่มีเงินเดือนประจำหรือข้าราชการการเมืองอื่น ๆ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 98 ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่เข้าลักษณะตาม (1)-(18) เช่น

  • มาตรา 98 (12) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
  • มาตรา 98 (13) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  • มาตรา 98 (14) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกินสองปี
  • มาตรา 98 (15) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

          ข้อสังเกต รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดคุณสมบัติในการของรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น ผู้ที่จะเป็นรัฐมนตรีอาจจะมาจากผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้เช่นเดียวกับกรณีของนายกรัฐมนตรี

          นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นรัฐมนตรีเพิ่มเติมไว้ในมาตรา 112 กล่าวคือ บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินสองปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้ เว้นแต่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

เงื่อนไขก่อนดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรี

1) การถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนดำรงตำแหน่ง

          รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้ (มาตรา 161)

“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”

ในกรณีที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนที่จะถวายสัตย์ปฏิญาณให้คณะรัฐมนตรีนั้นดำเนินการตามมาตรา 162 วรรคสองได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้คณะรัฐมนตรีตามมาตรา 168 (1) พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมดังกล่าว

          ในกรณีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 วรรคท้าย วางหลักการให้พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนที่จะถวายสัตย์ปฎิญาณ คณะรัฐมนตรีสามารถทำหน้าที่ไปพลางก่อนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประโยชน์สำคัญของแผ่นดินได้เท่าที่จำเป็นโดยที่ยังไม่ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา (มาตรา 162 วรรคท้าย) และในกรณีการทำหน้าที่ไปพลางก่อนนี้รัฐธรรมนูญให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีจะพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

2) การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี

          รัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขก่อนการทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีไว้อีกประการหนึ่งนอกจากต้องถวายสัตย์ปฏิญาณแล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาซึ่งต้องสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ และต้องชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย (มาตรา 162 วรรคแรก) ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในหมวด 6 มาตรา 64-78 เพื่อเป็นแนวทางให้คณะรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่บริหารประเทศได้ดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาจึงเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการนำแนวนโยบายแห่งรัฐมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติด้วย

          ประโยชน์ของการที่ให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อนจะเข้าบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้สมาชิกสภาได้ทราบล่วงหน้าว่ามีนโยบายอะไรอย่างไรเพื่อเป็นการผูกมัดคณะรัฐมนตรีในการบริหารนโยบายตามที่ได้แถลงไว้และหากคณะรัฐมนตรีเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามที่แถลงไวก็เป็นหน้าที่ของรัฐสภาในการตั้งมาตราการตั้งกระทู้เพื่อสอบถามหรือการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจให้คณะรัฐมนตรีชี้แจง[3]

พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่กำหนดไว้ในหมวด 8 คณะรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญได้กำหนดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ทรงใช้ผ่านทางคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาไว้ตั้งแต่มาตรา 176-180 ดังนี้

                    1) พระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึก (มาตรา 176)

                    2) พระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา (มาตรา 177)

                    3) พระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพสัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ (มาตรา 178)

                    4) พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ (มาตรา 179)

                    5) พระราชอำนาจในการแต่งตั้งและให้พ้นจากตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า (มาตรา 180)

การรับสนองพระบรมราชโองการ

          หลักการรับสนองพระบรมราชโองการถูกกำหนดให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” ดังนี้ รัฐธรรมนูญในมาตรา 182 จึงกำหนดให้การกระทำของพระมหากษัตริย์ในกรณี “บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ” กล่าวคือ เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงทำตามคำแนะนำของผู้รับสนองพระบรมราชโองการแล้ว หากจะพึงมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นไม่ว่าในเรื่องใด ๆ บุคคลที่จะต้องรับผิดชอบในทุกทางก็คือ ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั่นเอง[4]

เงินประจำตำแหน่ง

          เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นขององคมนตรี ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 183 วรรคแรก) บำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นขององคมนตรีซึ่งพ้นจากตำแหน่ง ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 183 วรรคท้าย)

บรรณานุกรม

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพิ่มโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562.

มานิตย์ จุมปา, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550), กรุงเทพ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

วิษณุ เครืองาม, กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพ : วิญญูชน. 2538.

วิษณุ เครืองาม และ บวรศักดิ์ อุวรรณโน. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร. วารสารกฎหมาย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. (พ.ค.-ส.ค. 2520).

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

มานิตย์ จุมปา, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550), กรุงเทพ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553.

วิษณุ เครืองาม, กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพ : วิญญูชน. 2538.

วิษณุ เครืองาม และ บวรศักดิ์ อุวรรณโน. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร. วารสารกฎหมาย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. (พ.ค.-ส.ค. 2520).

อ้างอิง

[1] วิษณุ เครืองาม, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพ : วิญญูชน,2538, หน้า 550-552.

[2] พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา 5.

[3] มานิตย์ จุมปา, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550), กรุงเทพ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553, หน้า 358-359.

[4] วิษณุ เครืองาม และ บวรศักดิ์ อุวรรณโน, พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร, วารสารกฎหมาย, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2, (พ.ค.-ส.ค. 2520), หน้า 159.