ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560"
สร้างหน้าด้วย "<div> ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล ผู้..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
<div> | <div> | ||
ผู้เรียบเรียง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | |||
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายภัทระ คำพิทักษ์ | ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายภัทระ คำพิทักษ์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 10: | ||
== '''1. ความเป็นมาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560''' == | == '''1. ความเป็นมาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560''' == | ||
</div> | </div> | ||
| [[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]กระทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และได้ยกเลิก[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550]] ต่อมามีการประกาศประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_(ฉบับชั่วคราว)_พุทธศักราช_2557]] เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งได้กำหนดให้[[คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ]]ทำหน้าที่ในการยกร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจาก[[สภาปฏิรูปแห่งชาติ]]แล้วนำเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ซึ่งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ชุดแรกที่มี[[บวรศักดิ์_อุวรรณโณ|ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ]] เป็นประธาน และกรรมาธิการอื่นอีกจำนวน 36 คน ได้ร่างรัฐธรรมนูญและนำเสนอร่างดังกล่าวต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในวันที่ 6 กันยายน 2558 โดยที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผลทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอันตกไป และคณะกรรมาธิการชุดนี้จึงต้องถูกยุบไป[[#_ftn1|[1]]] | ||
ภายหลังที่สภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. | ภายหลังที่สภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2558 กำหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง[[#_ftn2|[2]]] ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 20 คน ต่อมาจึงได้มีการประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 21 คน [[#_ftn3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานกรรมการ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อได้จัดทำแล้วเสร็จ ไม่ต้องนำไปผ่านความเห็นชอบจากสภาใด แต่ต้องนำไปออกเสียงประชามติ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ผ่านการเห็นชอบโดยเสียงข้างมากในการออกเสียงประชามติ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560[[#_ftn4|<sup><sup>[4]</sup></sup>]] ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ผ่านการออกเสียงประชามติ ต่อจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 | ||
| | ||
บรรทัดที่ 80: | บรรทัดที่ 80: | ||
2. ให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการปฏิรูปและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นให้ได้ | 2. ให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการปฏิรูปและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นให้ได้ | ||
3. ให้มีมาตรการป้องกันไม่ให้การเมืองใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยใช้เงินแผ่นดินไปอ่อยเหยื่อกับประชาชนเพื่อสร้างความชอบธรรม โดยมิได้มุ่งหมายให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขในระยะยาว จนเกิดความเสียหายแก่ประเทศอย่างร้ายแรง และเกิดวิกฤตที่หาทางออกไม่ได้ | |||
4. มีแนวทางการขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างได้ผล | |||
5. ให้สร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในอันที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ และร่วมกันรับรู้และรับผิดชอบต่อความเจริญและการพัฒนาประเทศและสังคมโดยรวม | 5. ให้สร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในอันที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ และร่วมกันรับรู้และรับผิดชอบต่อความเจริญและการพัฒนาประเทศและสังคมโดยรวม | ||
บรรทัดที่ 112: | บรรทัดที่ 112: | ||
== '''7. บรรณานุกรม''' == | == '''7. บรรณานุกรม''' == | ||
</div> | </div> | ||
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2558. | ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2558. | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:06, 21 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้เรียบเรียง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายภัทระ คำพิทักษ์
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560
1. ความเป็นมาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560
คณะรักษาความสงบแห่งชาติกระทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550 ต่อมามีการประกาศประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_(ฉบับชั่วคราว)_พุทธศักราช_2557 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งได้กำหนดให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ในการยกร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วนำเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ซึ่งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ชุดแรกที่มีศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน และกรรมาธิการอื่นอีกจำนวน 36 คน ได้ร่างรัฐธรรมนูญและนำเสนอร่างดังกล่าวต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในวันที่ 6 กันยายน 2558 โดยที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผลทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอันตกไป และคณะกรรมาธิการชุดนี้จึงต้องถูกยุบไป[1]
ภายหลังที่สภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2558 กำหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง[2] ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 20 คน ต่อมาจึงได้มีการประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 21 คน [3] โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานกรรมการ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อได้จัดทำแล้วเสร็จ ไม่ต้องนำไปผ่านความเห็นชอบจากสภาใด แต่ต้องนำไปออกเสียงประชามติ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ผ่านการเห็นชอบโดยเสียงข้างมากในการออกเสียงประชามติ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560[4] ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ผ่านการออกเสียงประชามติ ต่อจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา 39/1 กำหนดให้ “ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง หรือนับแต่วันที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงตามมาตรา 39 หรือนับแต่วันที่ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไปตามมาตรา 37 วรรคแปด แล้วแต่กรณี ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 20 คน เพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง โดยให้นำมาตรา 33 และมาตรา 35 มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ดังนั้น ผู้ที่สามารถเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้จึงต้องมีคุณสมบัติตามที่มาตรา 33 กำหนดไว้ คือ ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
(2) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลา 3 ปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
(3) เป็นภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวช
(4) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(5) เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(6) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
(7) เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(8) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนจากตำแหน่ง
(9) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพนันในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก
(10) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(11) เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
3. กรอบระยะเวลาและขอบเขตเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่ได้รับการแต่งตั้ง โดยมีขอบเขตเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 35 ครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้[5]
(1) การรับรองความเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
(2) การให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมของไทย
(3) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งกลไกในการกำกับและควบคุมให้การใช้อำนาจรัฐเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน
(4) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
(5) กลไกที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินกิจกรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลใด ๆ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(6) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม และการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนและทุกระดับ
(7) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
(8) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนโดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ
(9) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทำลายหลักการสำคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้
(10) กลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปเรื่องสำคัญต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ต่อไป
ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาถึงความจำเป็นและความคุ้มค่าที่ต้องมีองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่จำเป็นต้องมี ให้พิจารณามาตรการที่จะให้การดำเนินงานขององค์กรดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย
ในระหว่างการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญรับฟังความคิดเห็นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประชาชน ประกอบด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกำหนด
ในการนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เสนอกรอบความคิดเพื่อประกอบการร่างรัฐธรรมนูญไว้ 5 ประการ ดังนี้
1. ให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับนับถือของสากล แต่ขณะเดียวกันต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหา ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประเทศและคนไทยที่มีอยู่หรือเป็นอยู่
2. ให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการปฏิรูปและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นให้ได้
3. ให้มีมาตรการป้องกันไม่ให้การเมืองใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยใช้เงินแผ่นดินไปอ่อยเหยื่อกับประชาชนเพื่อสร้างความชอบธรรม โดยมิได้มุ่งหมายให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขในระยะยาว จนเกิดความเสียหายแก่ประเทศอย่างร้ายแรง และเกิดวิกฤตที่หาทางออกไม่ได้
4. มีแนวทางการขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างได้ผล
5. ให้สร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในอันที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ และร่วมกันรับรู้และรับผิดชอบต่อความเจริญและการพัฒนาประเทศและสังคมโดยรวม
4. การนำร่างรัฐธรรมนูญเสนอออกเสียงประชามติ
เมื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ จะต้องนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับ ซึ่งจะต้องกระทำในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ในการนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะมีมติเสนอประเด็นอื่นใด เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพิ่มเติมพร้อมไปในคราวเดียวกันก็ได้ โดยประเด็นที่ให้ออกเสียงมติเพิ่มเติมนี้จะเสนอได้สภาละไม่เกินหนึ่งประเด็น และต้องเป็นประเด็นที่ได้ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติสำหรับประเด็นเพิ่มเติมนั้นในคราวเดียวกันกับการจัดให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยในกรณีดังกล่าวนี้ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์[6] โดยมีคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ให้นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดและบทกำหนดโทษมาใช้บังคับแก่การดำเนินการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญนี้ด้วย
5. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
ในการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใด ๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน จะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผู้นั้นในทางใดมิได้[7]
กรณีที่กรรมการถูกควบคุมหรือขัง ให้สั่งปล่อยเมื่อประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญร้องขอ หรือในกรณีถูกฟ้องในคดีอาญา ให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปได้เว้นแต่ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญร้องขอให้งดการพิจารณาคดี[8]
6. เปรียบเทียบคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 และรัฐธรรมนูญ ปี 2560
ในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 ได้กำหนดให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือไม่ได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ จำนวน 35 คน เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 25 คน และ มาจากการแต่งตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ จำนวน 10 คน[9] ในขณะที่รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวน 36 คน ซึ่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งจากบุคคล ดังต่อไปนี้ 1) ประธานกรรมาธิการตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอ 2) ผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จำนวน 20 คน และ 3) ผู้ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอฝ่ายละ 5 คน และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 21 คน โดยเมื่อร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดแรกไม่ผ่านการเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้สิ้นสุดลง และได้มีการแต่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ รวม 21 คน ดังนั้น การร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 จึงเกิดขึ้นจากร่างรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมการจำนวน 2 ชุดด้วยกัน
6.2 กรอบในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สภาร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบในการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญ มีทิศทางที่ชัดเจนครอบคลุมในประเด็น 1) สิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ 2) สถาบันการเมือง 3) องค์กรตรวจสอบอิสระ[10] ส่วนกรอบในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 กำหนดกรอบในการร่างไว้อย่างชัดเจนใน มาตรา 35 ดังที่กล่าวมาแล้ว
7. บรรณานุกรม
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2558.
รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2558.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอน 40 ก.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 22 มกราคม 2550.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 5 กุมภาพันธ์ 2550.
[1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557, มาตรา 38.
[2] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๓๙/๑.
[3] ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2558.
[4] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอน 40 ก หน้า 1.
[5] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557, มาตรา 35.
[6] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา 37 วรรคสี่.
[7] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง.
[8] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 18 วรรคสาม.
[9] สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 22 มกราคม 2550, น. 3-123.
[10] สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 5 กุมภาพันธ์ 2550, น. 2-76.