ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมุหนายก"
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบท..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์ | ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์ | ||
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ <span dir="RTL">: </span> รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต | ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ <span dir="RTL">: </span> รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
'''สมุหนายก''' | '''สมุหนายก''' | ||
| พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาได้กล่าวว่าในสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] (พ.ศ. 1991-2031) ทรงตั้งชื่อกรมและชั้น[[ศักดินา]]ของขุนนางโดยตั้งหัวหน้าฝ่ายพลเรือนเป็น “สมุหนายก” และตั้งหัวหน้าฝ่ายทหารเป็น “[[สมุหพระกลาโหม]]”[[#_ftn1|[1]]] พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนใน[[กฎหมายตราสามดวง]]ได้กล่าวถึงยศของขุนนางผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายก ว่ามียศเป็น “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ” ถือศักดินา 10000[[#_ftn2|[2]]] | ||
| สำหรับอำนาจทางการเมืองของสมุหนายกนั้น[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงมีพระราชาธิบายว่า สมุหนายกและสมุหพระกลาโหมมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมจำนวนคนโดยสมุหนายกเป็นผู้รวบรวมจำนวนคนฝ่ายพลเรือน ส่วนสมุหพระกลาโหมเป็นผู้รวบรวมจำนวนคนฝ่ายทหาร[[#_ftn3|[3]]] นอกจากนี้[[สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงอธิบายว่า สมุหนายกมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการและเป็นประธานที่ประชุมข้าราชการฝ่ายพลเรือนในการปรึกษาข้อราชการแล้วนำมติของที่ประชุมข้าราชการขึ้นกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ โดยก่อนหน้าสมัยสมเด็จพระนารายณ์ สมุหนายกมีอำนาจสั่งการขุนนางฝ่ายพลเรือน ในขณะที่สมุหพระกลาโหมมีอำนาจสั่งการขุนนางฝ่ายทหาร แต่นับจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์จนสิ้นสุดสมัยอยุธยา ได้มีการปรับเปลี่ยนอำนาจของสมุหนายกและสมุหพระกลาโหม ให้สมุหนายกบังคับการขุนนางฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนในบริเวณหัวเมืองฝ่ายเหนือ ส่วนสมุหพระกลาโหมให้มีอำนาจบังคับขุนนางฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนในบริเวณหัวเมืองฝ่ายใต้[[#_ftn4|[4]]] | ||
โครงสร้างการปกครองสมัยอยุธยาที่กล่าวมานี้จะใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงยศของขุนนางผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายก โดยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) ผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายกมียศเป็น “พระยายมราช” ว่าที่สมุหนายก | โครงสร้างการปกครองสมัยอยุธยาที่กล่าวมานี้จะใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงยศของขุนนางผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายก โดยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) ผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายกมียศเป็น “พระยายมราช” ว่าที่สมุหนายก ต่อมาในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ได้มีการแต่งตั้ง “เจ้าพระยารัตนาพิพิธ” (สน) ให้ทำหน้าที่เป็น “ที่สมุหนายก”[[#_ftn5|[5]]] | ||
| ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ทรงตั้งเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ขึ้นเป็นที่สมุหนายก ขณะที่ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงตั้งให้เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) ขึ้นเป็นที่สมุหนายก มาในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงตั้งเจ้าพระยานิกรบดินทร มหินทรมหากัลยาณมิตร (โต) และเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ขึ้นเป็นที่สมุหนายก[[#_ftn6|[6]]] | ||
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการตั้งสมุหนายก 2 ท่านคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ (ดำรงตำแหน่งสมุหนายกระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2421 – กันยายน พ.ศ. 2429) และเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร ดำรงตำแหน่งสมุหนายกระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2429 –พ.ศ. 2435)[[#_ftn7|[7]]] | ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการตั้งสมุหนายก 2 ท่านคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ (ดำรงตำแหน่งสมุหนายกระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2421 – กันยายน พ.ศ. 2429) และเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร ดำรงตำแหน่งสมุหนายกระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2429 –พ.ศ. 2435)[[#_ftn7|[7]]] | ||
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองประเทศใน พ.ศ. 2435 | เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองประเทศใน พ.ศ. 2435 ทรงให้ยกเลิกระบบการปกครองแบบที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วตั้งระบบ[[การบริหารราชการ]]แบบใหม่ให้เหมาะสมแก่ยุคสมัยและนำความเจริญให้บ้านเมือง ดังนั้นตำแหน่งสมุหนายกและตำแหน่งขุนนางอื่นๆที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจึงถูกยกเลิกไปโดยตั้งกระทรวงและกรมต่างๆ อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสัศดี กระทรวงกรมนา ฯลฯ ให้ทำหน้าที่บริหารราชการฝ่ายพลเรือน[[#_ftn8|[8]]] | ||
'''บรรณานุกรม''' | '''บรรณานุกรม''' |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:47, 19 ธันวาคม 2560
ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
สมุหนายก
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาได้กล่าวว่าในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) ทรงตั้งชื่อกรมและชั้นศักดินาของขุนนางโดยตั้งหัวหน้าฝ่ายพลเรือนเป็น “สมุหนายก” และตั้งหัวหน้าฝ่ายทหารเป็น “สมุหพระกลาโหม”[1] พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนในกฎหมายตราสามดวงได้กล่าวถึงยศของขุนนางผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายก ว่ามียศเป็น “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ” ถือศักดินา 10000[2]
สำหรับอำนาจทางการเมืองของสมุหนายกนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชาธิบายว่า สมุหนายกและสมุหพระกลาโหมมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมจำนวนคนโดยสมุหนายกเป็นผู้รวบรวมจำนวนคนฝ่ายพลเรือน ส่วนสมุหพระกลาโหมเป็นผู้รวบรวมจำนวนคนฝ่ายทหาร[3] นอกจากนี้สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า สมุหนายกมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการและเป็นประธานที่ประชุมข้าราชการฝ่ายพลเรือนในการปรึกษาข้อราชการแล้วนำมติของที่ประชุมข้าราชการขึ้นกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ โดยก่อนหน้าสมัยสมเด็จพระนารายณ์ สมุหนายกมีอำนาจสั่งการขุนนางฝ่ายพลเรือน ในขณะที่สมุหพระกลาโหมมีอำนาจสั่งการขุนนางฝ่ายทหาร แต่นับจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์จนสิ้นสุดสมัยอยุธยา ได้มีการปรับเปลี่ยนอำนาจของสมุหนายกและสมุหพระกลาโหม ให้สมุหนายกบังคับการขุนนางฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนในบริเวณหัวเมืองฝ่ายเหนือ ส่วนสมุหพระกลาโหมให้มีอำนาจบังคับขุนนางฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนในบริเวณหัวเมืองฝ่ายใต้[4]
โครงสร้างการปกครองสมัยอยุธยาที่กล่าวมานี้จะใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงยศของขุนนางผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายก โดยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) ผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายกมียศเป็น “พระยายมราช” ว่าที่สมุหนายก ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีการแต่งตั้ง “เจ้าพระยารัตนาพิพิธ” (สน) ให้ทำหน้าที่เป็น “ที่สมุหนายก”[5]
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงตั้งเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ขึ้นเป็นที่สมุหนายก ขณะที่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งให้เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) ขึ้นเป็นที่สมุหนายก มาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเจ้าพระยานิกรบดินทร มหินทรมหากัลยาณมิตร (โต) และเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ขึ้นเป็นที่สมุหนายก[6]
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการตั้งสมุหนายก 2 ท่านคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ (ดำรงตำแหน่งสมุหนายกระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2421 – กันยายน พ.ศ. 2429) และเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร ดำรงตำแหน่งสมุหนายกระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2429 –พ.ศ. 2435)[7]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองประเทศใน พ.ศ. 2435 ทรงให้ยกเลิกระบบการปกครองแบบที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วตั้งระบบการบริหารราชการแบบใหม่ให้เหมาะสมแก่ยุคสมัยและนำความเจริญให้บ้านเมือง ดังนั้นตำแหน่งสมุหนายกและตำแหน่งขุนนางอื่นๆที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจึงถูกยกเลิกไปโดยตั้งกระทรวงและกรมต่างๆ อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสัศดี กระทรวงกรมนา ฯลฯ ให้ทำหน้าที่บริหารราชการฝ่ายพลเรือน[8]
บรรณานุกรม
กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2537.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ประชุมพระนิพนธ์สรรพความรู้, กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2555.
เวลส์, ควอริช . การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ, กาญจนี ละอองศรี และยุพา ชุมจันทร์ (แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2527.
ส. พลายน้อย. ขุนนางสยาม ประวัติศาสตร์ “ข้าราชการ” ทหารและพลเรือน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มติชน, 2559.
[1] ควอริช เวลส์, การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ, กาญจนี ละอองศรี และยุพา ชุมจันทร์ (แปล), กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2527, หน้า 64-65.
[2] กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2537, หน้า 224.
[3] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557, หน้า 14-15.
[4] สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ประชุมพระนิพนธ์สรรพความรู้, กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2555, หน้า 74-75.
[5] ส. พลายน้อย, ขุนนางสยาม ประวัติศาสตร์ “ข้าราชการ” ทหารและพลเรือน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: มติชน, 2559, หน้า 52; คำว่า “ที่สมุหนายก” หมายถึงตำแหน่งยศขุนนางที่อาจจะไม่ได้มียศ “สมุหนายก” แต่ปฏิบัติหน้าที่สมุหนายกหรือมีตำแหน่งยศเสมอกับสมุหนายก ดังพิจารณาได้จากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ว่าในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการแต่งตั้งพระยาราชวรานุกูล ปลัดทูลฉลอง กรมมหาดไทย ให้เป็นที่เกษตราธิบดี กล่าวคือให้รับตำแหน่งยศ “ว่าที่เสมอ” ท่านเสนาบดีเกษตราธิบดี ในแง่นี้ตำแหน่งยศ “ที่สมุหนายก” น่าจะมีความหมายลักษณะเดียวกัน
[6] เรื่องเดียวกัน, หน้า 55-57.
[7] เรื่องเดียวกัน, หน้า 57-61.
[8] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน, หน้า 13-39.