ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มอักษะ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " เรียบเรียงโดย : ดร. คัททิยากร ศศิธรามาศ ผู้ทรงคุณวุฒิปร..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


เรียบเรียงโดย : ดร. คัททิยากร ศศิธรามาศ
เรียบเรียงโดย : ดร. คัททิยากร ศศิธรามาศ


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


----
----
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
'''กลุ่มอักษะ'''
'''กลุ่มอักษะ'''


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>กลุ่มอักษะ</u> (Axis Powers) หมายถึงกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่ร่วมมือกันทางด้านการทหารระหว่าง พ.ศ. 2479- 2488 หรือระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อต่อต้านและต่อสู้กับกลุ่มสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประเทศหลักในกลุ่มอักษะประกอบด้วยเยอรมนี ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) อิตาลี ภายใต้การนำของเบนิโต มุสโสลินี (Bennito Mussolini) และญี่ปุ่น ภายใต้การนำของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (Hirohito) ดังนั้น จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของแกนโรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin_Tokyo Axis) อีกชื่อหนึ่ง กลุ่มอักษะมีอุดมการณ์ว่าจะต้อง “ทำลายอำนาจของกลุ่มทุนนิยมตะวันตก และป้องกันวัฒนธรรมของตนจากระบอบคอมมิวนิสต์”[[#_ftn1|[1]]] คำว่า Axis ถูกใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2466 เมื่อมุสโสลินีต้องการสานสัมพันธ์กับเยอรมนี เพื่อให้เยอรมนีสนับสนุนอิตาลีในการเข้ายึดเมืองฟิอูเม่ (Fiume) เมืองริมฝั่งทะเลเอเดรียติก (Adriatic) ที่อิตาลีต้องการยึดครองมาตั้งแต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2461 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2466 เมื่อเขามีโอกาสเขียนคำนำให้กับหนังสือชื่อ Germania Repubblica ของโรเบอร์โต ซัสเตอร์ (Roberto Suster) เขาจึงกล่าวเปรียบเปรยว่า “แกนหลักของประวัติศาสตร์ยุโรปจะเคลื่อนตัวผ่านกรุงเบอร์ลิน”[[#_ftn2|[2]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>กลุ่มอักษะ</u> (Axis Powers) หมายถึงกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่ร่วมมือกันทางด้านการทหารระหว่าง พ.ศ. 2479- 2488 หรือระหว่างช่วง[[Media:สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่ 2]] เพื่อต่อต้านและต่อสู้กับ[[Media:กลุ่มสัมพันธมิตร|กลุ่มสัมพันธมิตร]] (Allied Powers) ประเทศหลักในกลุ่มอักษะประกอบด้วยเยอรมนี ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) อิตาลี ภายใต้การนำของเบนิโต มุสโสลินี (Bennito Mussolini) และญี่ปุ่น ภายใต้การนำของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (Hirohito) ดังนั้น จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของแกนโรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin_Tokyo Axis) อีกชื่อหนึ่ง กลุ่มอักษะมีอุดมการณ์ว่าจะต้อง “ทำลายอำนาจของกลุ่มทุนนิยมตะวันตก และป้องกันวัฒนธรรมของตนจากระบอบ[[คอมมิวนิสต์]]”[[#_ftn1|[1]]] คำว่า Axis ถูกใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2466 เมื่อมุสโสลินีต้องการสานสัมพันธ์กับเยอรมนี เพื่อให้เยอรมนีสนับสนุนอิตาลีในการเข้ายึดเมืองฟิอูเม่ (Fiume) เมืองริมฝั่งทะเลเอเดรียติก (Adriatic) ที่อิตาลีต้องการยึดครองมาตั้งแต่เมื่อ[[Media:สงครามโลกครั้งที่_1|สงครามโลกครั้งที่ 1 ]]สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2461 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2466 เมื่อเขามีโอกาสเขียนคำนำให้กับหนังสือชื่อ Germania Repubblica ของโรเบอร์โต ซัสเตอร์ (Roberto Suster) เขาจึงกล่าวเปรียบเปรยว่า “แกนหลักของประวัติศาสตร์ยุโรปจะเคลื่อนตัวผ่านกรุงเบอร์ลิน”[[#_ftn2|[2]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>การรวมตัวกันของกลุ่มอักษะ </u>สมาชิกหลักของกลุ่มอักษะมารวมตัวกันเนื่องจากเหตุผลทางด้านการเมือง ที่ทุกฝ่ายต่างต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง หลังจากที่อิตาลีพยายามสานสัมพันธ์กับเยอรมนีเพื่อให้สนับสนุนตนในกรณีฟิอูเม่ อิตาลีและเยอรมนีก็พยายามสานสัมพันธ์ทั้งทางด้านการทูตและด้านการทหารระหว่างกันอีกหลายครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากสถานการณ์การเมืองของยุโรปที่พลิกผัน และผลประโยชน์ทางด้านดินแดนที่ไม่ลงตัวนักระหว่างอิตาลีกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีกับเยอรมนีกลับเริ่มพัฒนาขึ้นใหม่อย่างชัดเจนใน พ.ศ. 2478 เมื่อฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือนาซี (National Socialism German Worker’s Party) ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2476 และปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการฟาสซิสต์เช่นเดียวกับมุสโสลินี และตัดสินใจสนับสนุนอิตาลีทางด้านอาวุธในการรุกรานอาเบสซิเนีย (Abyssinia) หรือเอธิโอเปียในปัจจุบันนี้[[#_ftn3|[3]]] ในขณะที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ ต่างพากันตำหนิอิตาลีและเตรียมหามาตรการลงโทษ ในปีถัดมา ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศพัฒนายิ่งขึ้น เมื่อทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินีต่างสนับสนุนนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก (Francisco Franco) ในสงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) เพื่อให้เขามีอำนาจเหนือพวกสาธารณรัฐและจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการขึ้นในสเปน ความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นนี้ ทำให้อิตาลีและเยอรมนีลงนามในสนธิสัญญาไมตรีระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ดังนั้น ในวันที่ 1 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน มุสโสลินีจึงพูดถึงคำว่า Axis Berlin-Rome อีกครั้ง เมื่อเขาขึ้นกล่าวปาฐกถาที่กรุงมิลานและพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ[[#_ftn4|[4]]] อีก 3 ปีต่อมา คือในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 อิตาลีและเยอรมนีได้พัฒนาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วยการลงนามในกติกาสัญญาเหล็ก (Pact of Steel) ซึ่งกำหนดให้อิตาลีและเยอรมนีต้องช่วยเหลือกันทางด้านการทหารในกรณีที่เกิดสงคราม หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปรุกรานประเทศที่ 3
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>การรวมตัวกันของกลุ่มอักษะ </u>สมาชิกหลักของกลุ่มอักษะมารวมตัวกันเนื่องจากเหตุผลทางด้านการเมือง ที่ทุกฝ่ายต่างต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง หลังจากที่อิตาลีพยายามสานสัมพันธ์กับเยอรมนีเพื่อให้สนับสนุนตนในกรณีฟิอูเม่ อิตาลีและเยอรมนีก็พยายามสานสัมพันธ์ทั้งทางด้านการทูตและด้านการทหารระหว่างกันอีกหลายครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากสถานการณ์การเมืองของยุโรปที่พลิกผัน และผลประโยชน์ทางด้านดินแดนที่ไม่ลงตัวนักระหว่างอิตาลีกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีกับเยอรมนีกลับเริ่มพัฒนาขึ้นใหม่อย่างชัดเจนใน พ.ศ. 2478 เมื่อฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือนาซี (National Socialism German Worker’s Party) ขึ้นดำรงตำแหน่ง[[Media:นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]ของเยอรมนีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2476 และปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการฟาสซิสต์เช่นเดียวกับมุสโสลินี และตัดสินใจสนับสนุนอิตาลีทางด้านอาวุธในการรุกรานอาเบสซิเนีย (Abyssinia) หรือเอธิโอเปียในปัจจุบันนี้[[#_ftn3|[3]]] ในขณะที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ ต่างพากันตำหนิอิตาลีและเตรียมหามาตรการลงโทษ ในปีถัดมา ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศพัฒนายิ่งขึ้น เมื่อทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินีต่างสนับสนุนนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก (Francisco Franco) ในสงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) เพื่อให้เขามีอำนาจเหนือพวกสาธารณรัฐและจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการขึ้นในสเปน ความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นนี้ ทำให้อิตาลีและเยอรมนีลงนามในสนธิสัญญาไมตรีระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ดังนั้น ในวันที่ 1 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน มุสโสลินีจึงพูดถึงคำว่า Axis Berlin-Rome อีกครั้ง เมื่อเขาขึ้นกล่าวปาฐกถาที่กรุงมิลานและพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ[[#_ftn4|[4]]] อีก 3 ปีต่อมา คือในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 อิตาลีและเยอรมนีได้พัฒนาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วยการลงนามในกติกาสัญญาเหล็ก (Pact of Steel) ซึ่งกำหนดให้อิตาลีและเยอรมนีต้องช่วยเหลือกันทางด้านการทหารในกรณีที่เกิดสงคราม หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปรุกรานประเทศที่ 3


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในเวลาไล่เลี่ยกันนี้ ญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่พยายามหาพันธมิตรในเวทีโลกและประสงค์จะสานสัมพันธ์กับเยอรมนี เนื่องจากญี่ปุ่นขัดแย้งกับสหภาพโซเวียตในกรณีที่เข้ายึดครองแมนจูเรียจากจีนใน พ.ศ. 2474 ดังนั้น หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเจรจากันได้ระยะหนึ่ง ญี่ปุ่นและเยอรมนีจึงตกลงใจสานสัมพันธ์ทางด้านการเมืองโดยมีพื้นฐานอยู่ที่การต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลหรือโคมินเทิร์น (Comintern) จนกระทั่งในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น (Anti-Comintern Pact) ซึ่งมีอิตาลีเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มในเดือนพฤศจิกายนของปีถัดไป อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเยอรมนีกลับเสื่อมคลายลง เมื่อเยอรมนีตัดสินใจลงนามในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอฟ (Molotov-Ribbentrop Pact) กับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ซึ่งกำหนดให้คู่สัญญาทั้งสองวางตัวเป็นกลางเมื่อเกิดสงคราม สนธิสัญญานี้ทำญี่ปุ่นไม่ไว้วางใจเยอรมนี และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเสื่อมลง
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในเวลาไล่เลี่ยกันนี้ ญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่พยายามหาพันธมิตรในเวทีโลกและประสงค์จะสานสัมพันธ์กับเยอรมนี เนื่องจากญี่ปุ่นขัดแย้งกับสหภาพโซเวียตในกรณีที่เข้ายึดครองแมนจูเรียจากจีนใน พ.ศ. 2474 ดังนั้น หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเจรจากันได้ระยะหนึ่ง ญี่ปุ่นและเยอรมนีจึงตกลงใจสานสัมพันธ์ทางด้านการเมืองโดยมีพื้นฐานอยู่ที่การต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลหรือโคมินเทิร์น (Comintern) จนกระทั่งในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น (Anti-Comintern Pact) ซึ่งมีอิตาลีเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มในเดือนพฤศจิกายนของปีถัดไป อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเยอรมนีกลับเสื่อมคลายลง เมื่อเยอรมนีตัดสินใจลงนามในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอฟ (Molotov-Ribbentrop Pact) กับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ซึ่งกำหนดให้คู่สัญญาทั้งสองวางตัวเป็นกลางเมื่อเกิดสงคราม สนธิสัญญานี้ทำญี่ปุ่นไม่ไว้วางใจเยอรมนี และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเสื่อมลง


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้นด้วยการเข้ารุกรานโปแลนด์ของเยอรมนีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482[[#_ftn5|[5]]] เนื่องจากพรรคนาซีเยอรมันยึดมั่นในอุดมการณ์ที่เชื่อว่าสายเลือดอารยันของตนบริสุทธิ์ จึงทำให้พวกตนมีสิทธิไปรุกรานผู้อื่น นอกจากนั้น ยังต้องการขยายดินแดนไปทางทิศตะวันออกเพื่อเพิ่มที่ทำกินให้กับประชาชนด้วย อิตาลีและญี่ปุ่น ที่ต่างต้องการขยายดินแดนไปยังบริเวณใกล้เคียงเพื่อขยายเขตอิทธิพลของตนเช่นกัน จึงตัดสินใจลงนามร่วมกับเยอรมนีในสนธิสัญญาไตรภาคี (Tripatite Pact) ณ กรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2483 สนธิสัญญามีสาระสำคัญว่า ญี่ปุ่นจะยอมรับอำนาจของเยอรมนีและอิตาลีในการจัดวางอำนาจใหม่ในยุโรป และในขณะเดียวกัน เยอรมนีและอิตาลีก็ได้ยอมรับอำนาจของญี่ปุ่นในการจัดวางอำนาจใหม่ในทวีปเอเชียด้วย[[#_ftn6|[6]]] ดังนั้น สนธิสัญญาฉบับนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นการแบ่งโลกออกเป็นเขตอิทธิพลของ 3 ประเทศ ได้แก่ เขตอิทธิพลของญี่ปุ่น ซึ่งสนใจเข้าครอบครองเขตเอเชียตะวันออก เขตอิทธิพลของอิตาลี ซึ่งสนใจเข้าครอบครองเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ และเขตอิทธิพลของเยอรมนี ซึ่งต้องการครอบครองยุโรปตะวันออก รวมถึงตะวันตก นอกจากนั้น สนธิสัญญายังกำหนดให้คู่สัญญาทั้ง 3 ประเทศร่วมมือกันเพื่อให้คู่สัญญาแต่ละประเทศเข้าครอบครองดินแดนที่ตนต้องการได้ และหากคู่สัญญาประเทศใดประเทศหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป และข้อพิพาทระหว่างจีนและญี่ปุ่นในกรณีที่ญี่ปุ่นพยายามเข้ายึดครองจีน ประเทศคู่สัญญาที่เหลือจะต้องช่วยเหลือทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและทางด้านการทหาร[[#_ftn7|[7]]] โดยสนธิสัญญาถูกกำหนดให้มีระยะเวลา 10 ปี และหลังจากที่สนธิสัญญาไตรภาคีได้รับการประกาศใช้ ประเทศคู่สัญญาทั้ง 3 ก็เริ่มใช้ชื่อกลุ่มอักษะอย่างเป็นทางการ พร้อมกับเข้ารุกรานดินแดนที่ตนต้องการครอบครอง โดยเยอรมนีเข้าโจมตีอังกฤษ และบุกสหภาพโซเวียตโดยใช้แผนการบาบารอสซา[[#_ftn8|[8]]] ส่วนอิตาลีประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2483 เมื่อเห็นว่าการบุกยุโรปของกองทัพเยอรมันประสบผลสำเร็จ อิตาลีเข้ารุกรานกรีซในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2483 และยูโกสลาเวียในปีถัดไป อิตาลียังเรียกร้องให้ฝรั่งเศสมอบตูนีเซียและจิบูตีให้กับตนอีกด้วย เช่นเดียวกับเยอรมนีและอิตาลี ญี่ปุ่นเข้ารุกรานจีน อินโดจีนของฝรั่งเศส และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนทำให้ขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกาและนำไปสู่การโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ล ฮาเบอร์ (Pearl Harbor) บนหมู่เกาะฮาวายเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 การโจมตีในครั้งนี้ทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายพันคน รัฐสภาของสหรัฐอเมริกาจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในอีก 2 วันถัดมา จึงทำให้เยอรมนีและอิตาลี ในฐานะคู่สัญญาในกลุ่มอักษะ ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาด้วยในวันที่ 11 ธันวาคมของปีเดียวกัน
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้นด้วยการเข้ารุกรานโปแลนด์ของเยอรมนีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482[[#_ftn5|[5]]] เนื่องจากพรรคนาซีเยอรมันยึดมั่นในอุดมการณ์ที่เชื่อว่าสายเลือดอารยันของตนบริสุทธิ์ จึงทำให้พวกตนมีสิทธิไปรุกรานผู้อื่น นอกจากนั้น ยังต้องการขยายดินแดนไปทางทิศตะวันออกเพื่อเพิ่มที่ทำกินให้กับประชาชนด้วย อิตาลีและญี่ปุ่น ที่ต่างต้องการขยายดินแดนไปยังบริเวณใกล้เคียงเพื่อขยายเขตอิทธิพลของตนเช่นกัน จึงตัดสินใจลงนามร่วมกับเยอรมนีในสนธิสัญญาไตรภาคี (Tripatite Pact) ณ กรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2483 สนธิสัญญามีสาระสำคัญว่า ญี่ปุ่นจะยอมรับอำนาจของเยอรมนีและอิตาลีในการจัดวางอำนาจใหม่ในยุโรป และในขณะเดียวกัน เยอรมนีและอิตาลีก็ได้ยอมรับอำนาจของญี่ปุ่นในการจัดวางอำนาจใหม่ในทวีปเอเชียด้วย[[#_ftn6|[6]]] ดังนั้น สนธิสัญญาฉบับนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นการแบ่งโลกออกเป็นเขตอิทธิพลของ 3 ประเทศ ได้แก่ เขตอิทธิพลของญี่ปุ่น ซึ่งสนใจเข้าครอบครองเขตเอเชียตะวันออก เขตอิทธิพลของอิตาลี ซึ่งสนใจเข้าครอบครองเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ และเขตอิทธิพลของเยอรมนี ซึ่งต้องการครอบครองยุโรปตะวันออก รวมถึงตะวันตก นอกจากนั้น สนธิสัญญายังกำหนดให้คู่สัญญาทั้ง 3 ประเทศร่วมมือกันเพื่อให้คู่สัญญาแต่ละประเทศเข้าครอบครองดินแดนที่ตนต้องการได้ และหากคู่สัญญาประเทศใดประเทศหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป และข้อพิพาทระหว่างจีนและญี่ปุ่นในกรณีที่ญี่ปุ่นพยายามเข้ายึดครองจีน ประเทศคู่สัญญาที่เหลือจะต้องช่วยเหลือทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและทางด้านการทหาร[[#_ftn7|[7]]] โดยสนธิสัญญาถูกกำหนดให้มีระยะเวลา 10 ปี และหลังจากที่สนธิสัญญาไตรภาคีได้รับการประกาศใช้ ประเทศคู่สัญญาทั้ง 3 ก็เริ่มใช้ชื่อกลุ่มอักษะอย่างเป็นทางการ พร้อมกับเข้ารุกรานดินแดนที่ตนต้องการครอบครอง โดยเยอรมนีเข้าโจมตีอังกฤษ และบุกสหภาพโซเวียตโดยใช้แผนการบาบารอสซา[[#_ftn8|[8]]] ส่วนอิตาลีประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2483 เมื่อเห็นว่าการบุกยุโรปของกองทัพเยอรมันประสบผลสำเร็จ อิตาลีเข้ารุกรานกรีซในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2483 และยูโกสลาเวียในปีถัดไป อิตาลียังเรียกร้องให้ฝรั่งเศสมอบตูนีเซียและจิบูตีให้กับตนอีกด้วย เช่นเดียวกับเยอรมนีและอิตาลี ญี่ปุ่นเข้ารุกรานจีน อินโดจีนของฝรั่งเศส และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนทำให้ขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกาและนำไปสู่การโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ล ฮาเบอร์ (Pearl Harbor) บนหมู่เกาะฮาวายเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 การโจมตีในครั้งนี้ทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายพันคน [[Media:รัฐสภา|รัฐสภา]]ของสหรัฐอเมริกาจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในอีก 2 วันถัดมา จึงทำให้เยอรมนีและอิตาลี ในฐานะคู่สัญญาในกลุ่มอักษะ ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาด้วยในวันที่ 11 ธันวาคมของปีเดียวกัน


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>สมาชิกใหม่ของกลุ่มอักษะ</u> ความต้องการในด้านการขยายดินแดนทำให้กลุ่มอักษะมีสมาชิกเพิ่ม ประเทศแรกในยุโรปตะวันออกที่ตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มอักษะ ได้แก่ ฮังการี ซึ่งลงนามเข้าเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาไตรภาคีเมื่อวันที่เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 เนื่องจากต้องการทวงคืนดินแดนที่ตนเสียไปในสนธิสัญญาตริอานอง (Trianon Treaty) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1[[#_ftn9|[9]]] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 ฮังการีได้อนุญาตให้กองทัพเยอรมันเดินทางผ่านพื้นที่ของตนเองเพื่อเข้ารุกรานยูโกสลาเวีย จนได้รับดินแดนบางส่วนของยูโกสลาเวียเป็นการตอบแทน[[#_ftn10|[10]]] และต่อมาเมื่อเยอรมนีเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน ฮังการีก็ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตในวันที่ 27 มิถุนายน และส่งทหารไปร่วมรบกับกองทัพเยอรมันในแนวรบด้านตะวันออกด้วย อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2486 เมื่อกองทัพเยอรมันเริ่มอ่อนกำลังลงในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพโซเวียตก็เริ่มเคลื่อนกำลังเข้ามาทางฮังการีและเข้ายึดบูดาเปสต์สำเร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>สมาชิกใหม่ของกลุ่มอักษะ</u> ความต้องการในด้านการขยายดินแดนทำให้กลุ่มอักษะมีสมาชิกเพิ่ม ประเทศแรกในยุโรปตะวันออกที่ตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มอักษะ ได้แก่ ฮังการี ซึ่งลงนามเข้าเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาไตรภาคีเมื่อวันที่เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 เนื่องจากต้องการทวงคืนดินแดนที่ตนเสียไปในสนธิสัญญาตริอานอง (Trianon Treaty) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1[[#_ftn9|[9]]] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 ฮังการีได้อนุญาตให้กองทัพเยอรมันเดินทางผ่านพื้นที่ของตนเองเพื่อเข้ารุกรานยูโกสลาเวีย จนได้รับดินแดนบางส่วนของยูโกสลาเวียเป็นการตอบแทน[[#_ftn10|[10]]] และต่อมาเมื่อเยอรมนีเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน ฮังการีก็ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตในวันที่ 27 มิถุนายน และส่งทหารไปร่วมรบกับกองทัพเยอรมันในแนวรบด้านตะวันออกด้วย อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2486 เมื่อกองทัพเยอรมันเริ่มอ่อนกำลังลงในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพโซเวียตก็เริ่มเคลื่อนกำลังเข้ามาทางฮังการีและเข้ายึดบูดาเปสต์สำเร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488
บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ยูโกสลาเวียเป็นอีกประเทศหนึ่งในยุโรปตะวันออกที่ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2484 แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การลงนามของยูโกสลาเวียเป็นไปเนื่องจากถูกเยอรมนีบังคับ และยูโกสลาเวียไม่ได้อนุญาตให้กองทัพเยอรมันเดินทัพผ่านเช่นเดียวกับกรณีของฮังการี โรมาเนียและบัลแกเรีย การไม่ยอมรับอำนาจของเยอรมนียังสะท้อนให้เห็นได้ดีในกรณีของกบฏที่เกิดขึ้นหลังการลงนามในสนธิสัญญาได้เพียง 2 วัน จนนำไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ที่พยายามเปิดการเจรจากับสหภาพโซเวียตและอังกฤษ ซึ่งทำให้เยอรมนีนำทหารของกลุ่มอักษะเข้ายึดครองยูโกสลาเวียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 นั้นเอง
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ยูโกสลาเวียเป็นอีกประเทศหนึ่งในยุโรปตะวันออกที่ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2484 แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การลงนามของยูโกสลาเวียเป็นไปเนื่องจากถูกเยอรมนีบังคับ และยูโกสลาเวียไม่ได้อนุญาตให้กองทัพเยอรมันเดินทัพผ่านเช่นเดียวกับกรณีของฮังการี โรมาเนียและบัลแกเรีย การไม่ยอมรับอำนาจของเยอรมนียังสะท้อนให้เห็นได้ดีในกรณีของกบฏที่เกิดขึ้นหลังการลงนามในสนธิสัญญาได้เพียง 2 วัน จนนำไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ที่พยายามเปิดการเจรจากับสหภาพโซเวียตและอังกฤษ ซึ่งทำให้เยอรมนีนำทหารของกลุ่มอักษะเข้ายึดครองยูโกสลาเวียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 นั้นเอง


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในแนวรบย่านทวีปเอเชีย ประเทศไทยยอมลงนามร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 หลังถูกญี่ปุ่นรุกรานและยกพลขึ้นบกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานีและสมุทรปราการในวันที่ 8 ธันวาคม ต่อมา ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคีในเดือนถัดไป ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอักษะ นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ และในต่างประเทศมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นอาทิ ได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และต่อมา เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ขบวนการเสรีไทยได้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทยไม่ตกเป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในแนวรบย่านทวีปเอเชีย ประเทศไทยยอมลงนามร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 หลังถูกญี่ปุ่นรุกรานและยกพลขึ้นบกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานีและสมุทรปราการในวันที่ 8 ธันวาคม ต่อมา ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคีในเดือนถัดไป ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอักษะ นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ และในต่างประเทศมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นอาทิ ได้จัดตั้ง[[Media:ขบวนการเสรีไทย|ขบวนการเสรีไทย]]ขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และต่อมา เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ขบวนการเสรีไทยได้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทยไม่ตกเป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 34: บรรทัดที่ 34:
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2553). '''อีกฟากหนึ่งของยุโรป ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของยุโรปตะวันออก ค.ศ. 1800-2000. '''กรุงเทพฯ: ศูนย์ยุโรปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2553). '''อีกฟากหนึ่งของยุโรป ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของยุโรปตะวันออก ค.ศ. 1800-2000. '''กรุงเทพฯ: ศูนย์ยุโรปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


Avalon Law Projects. (2008). '''Three-Power Pact Between Germany, Italy and Japan, Signed at Berlin, September 27, 1940. '''Retrieved from http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp on 1 September 2016.
Avalon Law Projects. (2008). '''Three-Power Pact Between Germany, Italy and Japan, Signed at Berlin, September 27, 1940. '''Retrieved from [http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp] on 1 September 2016.


Glessgen, Martin-Dietrich and Guenter Holtus. (1992). '''Etymologie und Wortgeschichte des Italienischen.''' Wiesbaden: Dr. Ludwig Reichert Verlag.
Glessgen, Martin-Dietrich and Guenter Holtus. (1992). '''Etymologie und Wortgeschichte des Italienischen.''' Wiesbaden: Dr. Ludwig Reichert Verlag.
บรรทัดที่ 56: บรรทัดที่ 56:
[[#_ftnref5|[5]]] การบุกโปแลนด์ของเยอรมนีสำเร็จอย่างสวยงาม จนกองทัพเยอรมันสามารถรุกเข้าใกล้ชายแดนระหว่างโปแลนด์และสหภาพโซเวียตได้อย่างรวดเร็ว ความสำเร็จของกองทัพเยอรมันในครั้งนี้สร้างความกังวลให้กับสหภาพโซเวียต ที่เกรงว่า เยอรมนีอาจเข้ายึดครองโปแลนด์ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ความกังวลดังกล่าวทำให้สหภาพโซเวียตส่งกองทัพเข้ารุกรานโปแลนด์จากทางทิศตะวันออกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2482 ซึ่งนับเป็นการละเมิดกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกัน (Soviet-Polish Non-Aggression Pact) ที่สหภาพโซเวียตลงนามกับโปแลนด์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2475&nbsp; การรุกรานโปแลนด์ของกองทัพโซเวียตประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม ต่อมา ในวันที่ 28 กันยายน สหภาพโซเวียตและเยอรมนีจึงได้ตกลงแบ่งเขตการเข้ายึดครองโปแลนด์ระหว่างกันอย่างชัดเจน จึงทำให้เยอรมนีได้ครอบครองโปแลนด์ทางทิศตะวันตกและสหภาพโซเวียตทางทิศตะวันออก
[[#_ftnref5|[5]]] การบุกโปแลนด์ของเยอรมนีสำเร็จอย่างสวยงาม จนกองทัพเยอรมันสามารถรุกเข้าใกล้ชายแดนระหว่างโปแลนด์และสหภาพโซเวียตได้อย่างรวดเร็ว ความสำเร็จของกองทัพเยอรมันในครั้งนี้สร้างความกังวลให้กับสหภาพโซเวียต ที่เกรงว่า เยอรมนีอาจเข้ายึดครองโปแลนด์ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ความกังวลดังกล่าวทำให้สหภาพโซเวียตส่งกองทัพเข้ารุกรานโปแลนด์จากทางทิศตะวันออกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2482 ซึ่งนับเป็นการละเมิดกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกัน (Soviet-Polish Non-Aggression Pact) ที่สหภาพโซเวียตลงนามกับโปแลนด์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2475&nbsp; การรุกรานโปแลนด์ของกองทัพโซเวียตประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม ต่อมา ในวันที่ 28 กันยายน สหภาพโซเวียตและเยอรมนีจึงได้ตกลงแบ่งเขตการเข้ายึดครองโปแลนด์ระหว่างกันอย่างชัดเจน จึงทำให้เยอรมนีได้ครอบครองโปแลนด์ทางทิศตะวันตกและสหภาพโซเวียตทางทิศตะวันออก
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] Avalon Law Projects, Three-Power Pact Between Germany, Italy and Japan, Signed at Berlin, September 27, 1940, Avalon Law Projects, (2008), Retrieved from http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp on 1 September 2016.
[[#_ftnref6|[6]]] Avalon Law Projects, Three-Power Pact Between Germany, Italy and Japan, Signed at Berlin, September 27, 1940, Avalon Law Projects, (2008), Retrieved from [http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp] on 1 September 2016.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] Avalon Law Projects, '''Three-Power Pact Between Germany, Italy and Japan, Signed at Berlin, September 27, 1940''', Avalon Law Projects, (2008), Retrieved from [http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp] on 1 September 2016.
[[#_ftnref7|[7]]] Avalon Law Projects, '''Three-Power Pact Between Germany, Italy and Japan, Signed at Berlin, September 27, 1940''', Avalon Law Projects, (2008), Retrieved from [http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp] on 1 September 2016.

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:26, 7 ธันวาคม 2560

เรียบเรียงโดย : ดร. คัททิยากร ศศิธรามาศ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


กลุ่มอักษะ

          กลุ่มอักษะ (Axis Powers) หมายถึงกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่ร่วมมือกันทางด้านการทหารระหว่าง พ.ศ. 2479- 2488 หรือระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อต่อต้านและต่อสู้กับกลุ่มสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประเทศหลักในกลุ่มอักษะประกอบด้วยเยอรมนี ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) อิตาลี ภายใต้การนำของเบนิโต มุสโสลินี (Bennito Mussolini) และญี่ปุ่น ภายใต้การนำของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (Hirohito) ดังนั้น จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของแกนโรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin_Tokyo Axis) อีกชื่อหนึ่ง กลุ่มอักษะมีอุดมการณ์ว่าจะต้อง “ทำลายอำนาจของกลุ่มทุนนิยมตะวันตก และป้องกันวัฒนธรรมของตนจากระบอบคอมมิวนิสต์[1] คำว่า Axis ถูกใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2466 เมื่อมุสโสลินีต้องการสานสัมพันธ์กับเยอรมนี เพื่อให้เยอรมนีสนับสนุนอิตาลีในการเข้ายึดเมืองฟิอูเม่ (Fiume) เมืองริมฝั่งทะเลเอเดรียติก (Adriatic) ที่อิตาลีต้องการยึดครองมาตั้งแต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2461 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2466 เมื่อเขามีโอกาสเขียนคำนำให้กับหนังสือชื่อ Germania Repubblica ของโรเบอร์โต ซัสเตอร์ (Roberto Suster) เขาจึงกล่าวเปรียบเปรยว่า “แกนหลักของประวัติศาสตร์ยุโรปจะเคลื่อนตัวผ่านกรุงเบอร์ลิน”[2]

          การรวมตัวกันของกลุ่มอักษะ สมาชิกหลักของกลุ่มอักษะมารวมตัวกันเนื่องจากเหตุผลทางด้านการเมือง ที่ทุกฝ่ายต่างต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง หลังจากที่อิตาลีพยายามสานสัมพันธ์กับเยอรมนีเพื่อให้สนับสนุนตนในกรณีฟิอูเม่ อิตาลีและเยอรมนีก็พยายามสานสัมพันธ์ทั้งทางด้านการทูตและด้านการทหารระหว่างกันอีกหลายครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากสถานการณ์การเมืองของยุโรปที่พลิกผัน และผลประโยชน์ทางด้านดินแดนที่ไม่ลงตัวนักระหว่างอิตาลีกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีกับเยอรมนีกลับเริ่มพัฒนาขึ้นใหม่อย่างชัดเจนใน พ.ศ. 2478 เมื่อฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือนาซี (National Socialism German Worker’s Party) ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2476 และปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการฟาสซิสต์เช่นเดียวกับมุสโสลินี และตัดสินใจสนับสนุนอิตาลีทางด้านอาวุธในการรุกรานอาเบสซิเนีย (Abyssinia) หรือเอธิโอเปียในปัจจุบันนี้[3] ในขณะที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ ต่างพากันตำหนิอิตาลีและเตรียมหามาตรการลงโทษ ในปีถัดมา ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศพัฒนายิ่งขึ้น เมื่อทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินีต่างสนับสนุนนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก (Francisco Franco) ในสงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) เพื่อให้เขามีอำนาจเหนือพวกสาธารณรัฐและจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการขึ้นในสเปน ความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นนี้ ทำให้อิตาลีและเยอรมนีลงนามในสนธิสัญญาไมตรีระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ดังนั้น ในวันที่ 1 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน มุสโสลินีจึงพูดถึงคำว่า Axis Berlin-Rome อีกครั้ง เมื่อเขาขึ้นกล่าวปาฐกถาที่กรุงมิลานและพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ[4] อีก 3 ปีต่อมา คือในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 อิตาลีและเยอรมนีได้พัฒนาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วยการลงนามในกติกาสัญญาเหล็ก (Pact of Steel) ซึ่งกำหนดให้อิตาลีและเยอรมนีต้องช่วยเหลือกันทางด้านการทหารในกรณีที่เกิดสงคราม หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปรุกรานประเทศที่ 3

          ในเวลาไล่เลี่ยกันนี้ ญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่พยายามหาพันธมิตรในเวทีโลกและประสงค์จะสานสัมพันธ์กับเยอรมนี เนื่องจากญี่ปุ่นขัดแย้งกับสหภาพโซเวียตในกรณีที่เข้ายึดครองแมนจูเรียจากจีนใน พ.ศ. 2474 ดังนั้น หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเจรจากันได้ระยะหนึ่ง ญี่ปุ่นและเยอรมนีจึงตกลงใจสานสัมพันธ์ทางด้านการเมืองโดยมีพื้นฐานอยู่ที่การต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลหรือโคมินเทิร์น (Comintern) จนกระทั่งในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น (Anti-Comintern Pact) ซึ่งมีอิตาลีเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มในเดือนพฤศจิกายนของปีถัดไป อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเยอรมนีกลับเสื่อมคลายลง เมื่อเยอรมนีตัดสินใจลงนามในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอฟ (Molotov-Ribbentrop Pact) กับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ซึ่งกำหนดให้คู่สัญญาทั้งสองวางตัวเป็นกลางเมื่อเกิดสงคราม สนธิสัญญานี้ทำญี่ปุ่นไม่ไว้วางใจเยอรมนี และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเสื่อมลง

          อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้นด้วยการเข้ารุกรานโปแลนด์ของเยอรมนีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482[5] เนื่องจากพรรคนาซีเยอรมันยึดมั่นในอุดมการณ์ที่เชื่อว่าสายเลือดอารยันของตนบริสุทธิ์ จึงทำให้พวกตนมีสิทธิไปรุกรานผู้อื่น นอกจากนั้น ยังต้องการขยายดินแดนไปทางทิศตะวันออกเพื่อเพิ่มที่ทำกินให้กับประชาชนด้วย อิตาลีและญี่ปุ่น ที่ต่างต้องการขยายดินแดนไปยังบริเวณใกล้เคียงเพื่อขยายเขตอิทธิพลของตนเช่นกัน จึงตัดสินใจลงนามร่วมกับเยอรมนีในสนธิสัญญาไตรภาคี (Tripatite Pact) ณ กรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2483 สนธิสัญญามีสาระสำคัญว่า ญี่ปุ่นจะยอมรับอำนาจของเยอรมนีและอิตาลีในการจัดวางอำนาจใหม่ในยุโรป และในขณะเดียวกัน เยอรมนีและอิตาลีก็ได้ยอมรับอำนาจของญี่ปุ่นในการจัดวางอำนาจใหม่ในทวีปเอเชียด้วย[6] ดังนั้น สนธิสัญญาฉบับนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นการแบ่งโลกออกเป็นเขตอิทธิพลของ 3 ประเทศ ได้แก่ เขตอิทธิพลของญี่ปุ่น ซึ่งสนใจเข้าครอบครองเขตเอเชียตะวันออก เขตอิทธิพลของอิตาลี ซึ่งสนใจเข้าครอบครองเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ และเขตอิทธิพลของเยอรมนี ซึ่งต้องการครอบครองยุโรปตะวันออก รวมถึงตะวันตก นอกจากนั้น สนธิสัญญายังกำหนดให้คู่สัญญาทั้ง 3 ประเทศร่วมมือกันเพื่อให้คู่สัญญาแต่ละประเทศเข้าครอบครองดินแดนที่ตนต้องการได้ และหากคู่สัญญาประเทศใดประเทศหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป และข้อพิพาทระหว่างจีนและญี่ปุ่นในกรณีที่ญี่ปุ่นพยายามเข้ายึดครองจีน ประเทศคู่สัญญาที่เหลือจะต้องช่วยเหลือทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและทางด้านการทหาร[7] โดยสนธิสัญญาถูกกำหนดให้มีระยะเวลา 10 ปี และหลังจากที่สนธิสัญญาไตรภาคีได้รับการประกาศใช้ ประเทศคู่สัญญาทั้ง 3 ก็เริ่มใช้ชื่อกลุ่มอักษะอย่างเป็นทางการ พร้อมกับเข้ารุกรานดินแดนที่ตนต้องการครอบครอง โดยเยอรมนีเข้าโจมตีอังกฤษ และบุกสหภาพโซเวียตโดยใช้แผนการบาบารอสซา[8] ส่วนอิตาลีประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2483 เมื่อเห็นว่าการบุกยุโรปของกองทัพเยอรมันประสบผลสำเร็จ อิตาลีเข้ารุกรานกรีซในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2483 และยูโกสลาเวียในปีถัดไป อิตาลียังเรียกร้องให้ฝรั่งเศสมอบตูนีเซียและจิบูตีให้กับตนอีกด้วย เช่นเดียวกับเยอรมนีและอิตาลี ญี่ปุ่นเข้ารุกรานจีน อินโดจีนของฝรั่งเศส และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนทำให้ขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกาและนำไปสู่การโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ล ฮาเบอร์ (Pearl Harbor) บนหมู่เกาะฮาวายเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 การโจมตีในครั้งนี้ทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายพันคน รัฐสภาของสหรัฐอเมริกาจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในอีก 2 วันถัดมา จึงทำให้เยอรมนีและอิตาลี ในฐานะคู่สัญญาในกลุ่มอักษะ ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาด้วยในวันที่ 11 ธันวาคมของปีเดียวกัน

          สมาชิกใหม่ของกลุ่มอักษะ ความต้องการในด้านการขยายดินแดนทำให้กลุ่มอักษะมีสมาชิกเพิ่ม ประเทศแรกในยุโรปตะวันออกที่ตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มอักษะ ได้แก่ ฮังการี ซึ่งลงนามเข้าเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาไตรภาคีเมื่อวันที่เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 เนื่องจากต้องการทวงคืนดินแดนที่ตนเสียไปในสนธิสัญญาตริอานอง (Trianon Treaty) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1[9] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 ฮังการีได้อนุญาตให้กองทัพเยอรมันเดินทางผ่านพื้นที่ของตนเองเพื่อเข้ารุกรานยูโกสลาเวีย จนได้รับดินแดนบางส่วนของยูโกสลาเวียเป็นการตอบแทน[10] และต่อมาเมื่อเยอรมนีเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน ฮังการีก็ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตในวันที่ 27 มิถุนายน และส่งทหารไปร่วมรบกับกองทัพเยอรมันในแนวรบด้านตะวันออกด้วย อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2486 เมื่อกองทัพเยอรมันเริ่มอ่อนกำลังลงในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพโซเวียตก็เริ่มเคลื่อนกำลังเข้ามาทางฮังการีและเข้ายึดบูดาเปสต์สำเร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488

          ในเวลาไล่เลี่ยกัน โรมาเนีย ภายใต้การนำของพลเอกยอน อันโตเนสคู (Ion Antonescu) ผู้ปกครองประเทศภายใต้ระบอบเผด็จการ ได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 หลังลงนาม โรมาเนียได้อนุญาตให้กองทัพเยอรมันยกทัพผ่านเพื่อไปรุกรานยูโกสลาเวียและสหภาพโซเวียตและยังส่งกองทัพของตนเข้าโจมตีสหภาพโซเวียตพร้อมกองทัพเยอรมันด้วย แต่ต่อมาเมื่อกองทัพเยอรมันพ่ายแพ้ในการรบที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 รัฐบาลโรมาเนียก็ตัดสินใจไปผูกมิตรกับฝ่ายสัมพันธมิตร และนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2487 เป็นต้นไป โรมาเนียได้หันไปช่วยกองทัพโซเวียตรบยึดพื้นที่ในยุโรปตะวันออก

          นอกจากฮังการีและโรมาเนียแล้ว บัลแกเรียยังเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ต้องการผนวกดินแดนของประเทศเพื่อนบ้าน[11]และตัดสินใจลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2484 หลังลงนาม บัลแกเรียส่งกองทัพเข้าร่วมรุกรานยูโกสลาเวียและกรีซ ทำให้บัลแกเรียได้รับอนุญาตให้ครอบครองดินแดนทางทิศใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของยูโกสลาเวีย รวมถึงดินแดนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ แต่ต่อมาเมื่อเยอรมนีเริ่มจะเสียเปรียบในแนวรบทางทิศตะวันออก บัลแกเรียก็พยายามเจรจาสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตร รวมถึงไล่กองทัพเยอรมันออกนอกบัลแกเรียและประกาศตนเป็นกลาง อย่างไรก็ตาม กองทัพโซเวียตยังคงเข้ายึดบัลแกเรียในเดือนกันยายน ค.ศ. 2487 จึงนำไปสู่การเกิดกบฏล้มล้างรัฐบาลและการขึ้นครองอำนาจของรัฐบาลชุดใหม่ที่นิยมโซเวียต

          ยูโกสลาเวียเป็นอีกประเทศหนึ่งในยุโรปตะวันออกที่ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2484 แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การลงนามของยูโกสลาเวียเป็นไปเนื่องจากถูกเยอรมนีบังคับ และยูโกสลาเวียไม่ได้อนุญาตให้กองทัพเยอรมันเดินทัพผ่านเช่นเดียวกับกรณีของฮังการี โรมาเนียและบัลแกเรีย การไม่ยอมรับอำนาจของเยอรมนียังสะท้อนให้เห็นได้ดีในกรณีของกบฏที่เกิดขึ้นหลังการลงนามในสนธิสัญญาได้เพียง 2 วัน จนนำไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ที่พยายามเปิดการเจรจากับสหภาพโซเวียตและอังกฤษ ซึ่งทำให้เยอรมนีนำทหารของกลุ่มอักษะเข้ายึดครองยูโกสลาเวียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 นั้นเอง

          ในแนวรบย่านทวีปเอเชีย ประเทศไทยยอมลงนามร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 หลังถูกญี่ปุ่นรุกรานและยกพลขึ้นบกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานีและสมุทรปราการในวันที่ 8 ธันวาคม ต่อมา ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคีในเดือนถัดไป ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอักษะ นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ และในต่างประเทศมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นอาทิ ได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และต่อมา เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ขบวนการเสรีไทยได้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทยไม่ตกเป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2      

 

 

บรรณานุกรม

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2553). อีกฟากหนึ่งของยุโรป ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของยุโรปตะวันออก ค.ศ. 1800-2000. กรุงเทพฯ: ศูนย์ยุโรปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Avalon Law Projects. (2008). Three-Power Pact Between Germany, Italy and Japan, Signed at Berlin, September 27, 1940. Retrieved from http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp on 1 September 2016.

Glessgen, Martin-Dietrich and Guenter Holtus. (1992). Etymologie und Wortgeschichte des Italienischen. Wiesbaden: Dr. Ludwig Reichert Verlag.

G. Payne, Stanley. (1995). A History of Fascism 1914-1945. Wisconsin: University of Wisconsin Press.

J. Stapelton, Timothy. (2013). A Military History of Africa. Greenwood: ABC-Clio.

Schmitz-Berning, Cornelia. (2007). Vokabular des Nationalsozialismus. Berlin: De Gruyter.

อ้างอิง

[1] Stanley G. Payne, A History of Fascism 1914-1945, (Wisconsin: University of Wisconsin Press, 1995), P. 379.

[2] Martin-Dietrich Glessgen and Guenter Holtus, Etymologie und Wortgeschichte des Italienischen, (Wiesbaden: Dr. Ludwig Reichert Verlag, 1992), P. 63.

[3] Timothy J. Stapelton, A Military History of Africa, (Greenwood: ABC-Clio, 2013), P. 57.

[4] Cornelia Schmitz-Berning, Vokabular des Nationalsozialismus, (Berlin: De Gruyter, 2007), P. 7.

[5] การบุกโปแลนด์ของเยอรมนีสำเร็จอย่างสวยงาม จนกองทัพเยอรมันสามารถรุกเข้าใกล้ชายแดนระหว่างโปแลนด์และสหภาพโซเวียตได้อย่างรวดเร็ว ความสำเร็จของกองทัพเยอรมันในครั้งนี้สร้างความกังวลให้กับสหภาพโซเวียต ที่เกรงว่า เยอรมนีอาจเข้ายึดครองโปแลนด์ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ความกังวลดังกล่าวทำให้สหภาพโซเวียตส่งกองทัพเข้ารุกรานโปแลนด์จากทางทิศตะวันออกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2482 ซึ่งนับเป็นการละเมิดกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกัน (Soviet-Polish Non-Aggression Pact) ที่สหภาพโซเวียตลงนามกับโปแลนด์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2475  การรุกรานโปแลนด์ของกองทัพโซเวียตประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม ต่อมา ในวันที่ 28 กันยายน สหภาพโซเวียตและเยอรมนีจึงได้ตกลงแบ่งเขตการเข้ายึดครองโปแลนด์ระหว่างกันอย่างชัดเจน จึงทำให้เยอรมนีได้ครอบครองโปแลนด์ทางทิศตะวันตกและสหภาพโซเวียตทางทิศตะวันออก

[6] Avalon Law Projects, Three-Power Pact Between Germany, Italy and Japan, Signed at Berlin, September 27, 1940, Avalon Law Projects, (2008), Retrieved from http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp on 1 September 2016.

[7] Avalon Law Projects, Three-Power Pact Between Germany, Italy and Japan, Signed at Berlin, September 27, 1940, Avalon Law Projects, (2008), Retrieved from http://avalon.law.yale.edu/wwii/triparti.asp on 1 September 2016.

[8] อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เยอรมนีจะลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี เยอรมนีได้เข้ายึดครองเดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศสไว้ได้เรียบร้อยแล้ว

[9] สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, อีกฟากหนึ่งของยุโรป ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของยุโรปตะวันออก ค.ศ. 1800-2000, (กรุงเทพฯ: ศูนย์ยุโรปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553), หน้า 213.

[10] ก่อนที่จะได้รับดินแดนส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวียเป็นการตอบแทน ฮังการีเคยได้รับดินแดนจากเยอรมนีแล้วตั้งแต่ช่วงก่อนที่ฮังการีจะลงนามเข้าเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาไตรภาคี ในระหว่าง พ.ศ. 2481-2484 เมื่อเยอรมนีเข้ายึดครองเชคโกสโลวะเกีย ฮังการีก็ได้รับดินแดนส่วนหนึ่ง และต่อมาในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2484 ฮังการีก็ได้รับดินแดนทางภาคเหนือของทรานซิลเวเนีย ซึ่งเป็นส่วนที่เยอรมนีบังคับให้โรมาเนียยกให้ฮังการี

[11] ก่อนที่บัลแกเรียจะลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี ใน พ.ศ. 2483 บัลแกเรียได้รับโดบรูจา (Dobruja) ตอนใต้ ซึ่งบัลแกเรียเสียไปใน พ.ศ. 2456 คืนจากโรมาเนียด้วยความช่วยเหลือของเยอรมนี