ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข้อบัญญัติท้องถิ่น"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย " *ข้อบัญญัติท้องถิ่น_(ผศ.ดร.ณัฐพล_ใจจริงและกฤษณ์ _วง..."
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' ศ.อนันต์ เกตุวงศ์


----
*[[ข้อบัญญัติท้องถิ่น_(ผศ.ดร.ณัฐพล_ใจจริงและกฤษณ์ _วงศ์วิเศษธร)]]
*[[ข้อบัญญัติท้องถิ่น_(ศ.อนันต์_เกตุวงศ์)]]


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รศ.ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
 
 
----
 
== ข้อบัญญัติท้องถิ่น ==
 
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นนั้น มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อพิจารณาให้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ โดยทำคำร้องพร้อมด้วยร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น ตามขั้นตอนดังนี้
 
1.  ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นนั้น เสนอคำร้องต่อประธานสภาท้องถิ่น
 
2.  คำร้องต้องประกอบด้วยร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ชื่อ ที่อยู่และลายมือชื่อ พร้อมด้วยสำเนาบัตรประชาชน
 
3.  ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นจะต้องมีข้อกำหนดที่ชัดเจนเพียงพอที่จะทราบได้ว่ามีความประสงค์จะตราข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องใด
 
4.  ประธานสภาท้องถิ่นตรวจสอบแล้ว จึงปิดประกาศข้อเสนอพร้อมรายชื่อผู้เสนอ ณ ที่ทำการของ องค์กรส่วนท้องถิ่นและในเขตชุมชนหนาแน่น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยคัดค้านภายในระยะเวลา 20 วันแล้วจึงเสนอ สภาท้องถิ่นเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และประกาศเป็นข้อบัญญัติต่อไป
 
สำหรับกรุงเทพมหานคร  ผู้มีสิทธิเสนอร่างข้อบัญญัติได้แก่
 
1.  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ
 
2.  สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร โดยมีสมาชิกสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมดเป็นผู้รับรอง แต่ถ้าเป็นร่างข้อบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะต้องมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วย หรือ
 
3. ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดเป็นผู้เสนอ
 
[[หมวดหมู่:สารานุกรมการเมืองไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:38, 4 สิงหาคม 2560