ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''เรียบเรียงโดย'''  อาจารย์ ดร.วศิน โกมุท '''ผู้ทรงคุณวุฒ..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
           '''ประเภทแรก'''   ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อัตราร้อยละ 5)
           '''ประเภทแรก'''   ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อัตราร้อยละ 5)


           '''ประเภทที่สอง''' ประเภทที่แบ่งกันระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม  ในอัตรา 40 : 60 เป็นต้น                
           '''ประเภทที่สอง''' ประเภทที่แบ่งกันระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม  ในอัตรา 40 : 60 เป็นต้น                


 
 
บรรทัดที่ 46: บรรทัดที่ 46:
 
 


'''ตารางที่''''''1: ''''''แสดงรายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น''''''แต่ละประเภท ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ''''''2542'''
'''ตารางที่1: แสดงรายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542'''


 
 
บรรทัดที่ 119: บรรทัดที่ 119:
|}
|}


ที่มา:พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ที่มา:พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก 17 พฤศจิกายน 2542
 
''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก 17 พฤศจิกายน 2542


 
 

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:33, 1 สิงหาคม 2560

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ ดร.วศิน โกมุท

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


บทนำ

รายได้ท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้ในการจัดบริการสาธารณะ  โดยสามารถจำแนกได้เป็นรายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง  รายได้ที่รัฐจัดเก็บและแบ่งให้ และรายได้ที่รัฐจัดเก็บให้  โดยในที่นี้จะอธิบายความหมายของรายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การแบ่งประเภทรายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และภาพรวมรายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

ความหมายของรายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง  รายได้ที่รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฐานรายได้ร่วมกัน  โดยรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บมีทั้งที่เป็นภาษีอากรและที่ไม่ใช่ภาษีอากรภายใต้กฎหมายที่กำหนด[1]  โดยแหล่งรายได้จากภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บแล้วแบ่งให้ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อัตราร้อยละ 5) ค่าภาคหลวงแร่ และค่าภาคหลวงปิโตรเลียม เป็นต้น

 

การแบ่งประเภทรายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บและแบ่งให้จากฐานภาษีของรัฐบาล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

           ประเภทแรก   ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อัตราร้อยละ 5)

           ประเภทที่สอง ประเภทที่แบ่งกันระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม  ในอัตรา 40 : 60 เป็นต้น                

 

ภาพรวมรายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1. รายได้ที่รัฐจัดเก็บ'แล้วแบ่ง'ให้เทศบาล เมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตำบล

         รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้เทศบาล เมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตำบลมาจาก ภาษีที่รัฐบาลแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้แล้วจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐบาลจัดสรรให้แก่เทศบาลในอัตราซึ่งเมื่อรวมกันกับการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรแล้วไม่เกินร้อยละ 30 ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้โดยหักส่วนที่ส่งคืนแล้ว

2. รายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด

          รายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเพื่อการศึกษา ค่าภาคหลวงแร่และค่าภาคหลวงปิโตรเลียม โดยจัดเก็บให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยละ 20 ของรายได้ที่จัดเก็บค่าภาคหลวงแร่และค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้ภายในจังหวัด

สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มเก็บตามประมวลรัษฎากรที่ได้รับการจัดสรรในอัตราซึ่งเมื่อรวมกับอัตราตามมาตรา 23 (4) และมาตรา 25 (6) แล้วไม่เกินร้อยละสามสิบของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้หักส่วนที่ต้องจ่ายคืนแล้ว โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ

3. รายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้กรุงเทพมหานคร

          รายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้กรุงเทพมหานครมาจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ค่าธรรมเนียมสนามบิน ภาษีการพนัน  และภาษีเพื่อการศึกษา  และค่าภาคหลวงแร่และค่าภาคหลวงปิโตรเลียม โดยจัดเก็บให้กรุงเทพมหานครร้อยละ 40 ของรายได้ที่จัดเก็บค่าภาคหลวงแร่และค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้ภายในกรุงเทพมหานคร

 

ตารางที่1: แสดงรายได้ที่รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

 

เทศบาล   เมืองพัทยา  และ องค์การบริหารส่วนตำบล

(ตามมาตรา 23)

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (องค์การบริหารส่วนจังหวัด.)

(ตามมาตรา 24)

กรุงเทพมหานคร

 

(ตามมาตรา 25)

รายได้ส่วนกลางเก็บและแบ่งให้ท้องถิ่น

     -  ภาษีมูลค่าเพิ่ม

     -  ค่าธรรมเนียมสนามบิน

     -  ภาษีการพนัน

     -  ภาษีเพื่อการศึกษา

     -  ค่าใช้น้ำบาดาล

     -  ค่าภาคหลวงแร่และ

        ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม

    

 

    -  ภาษีมูลค่าเพิ่ม

    -  ภาษีเพื่อการศึกษา

      -  ค่าภาคหลวงแร่และ

        ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม

   

 

     -  ภาษีมูลค่าเพิ่ม

     -  ค่าธรรมเนียมสนามบิน

     -  ภาษีการพนัน

     -  ภาษีเพื่อการศึกษา

     -  ค่าภาคหลวงแร่และ

        ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม

ที่มา:พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก 17 พฤศจิกายน 2542

 

สรุป รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากรัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บแล้วแบ่งรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภายหลัง มีแหล่งรายได้มาจากภาษีที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และประเภทที่แบ่งกันระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม  สำหรับรายได้จากแหล่งอื่นๆเช่น ค่าธรรมเนียมสนามบิน ภาษีเพื่อการศึกษา และภาษีการพนัน เป็นต้น                  

 

บรรณานุกรม

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก 17 พฤศจิกายน 2542

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม 120  ตอนที่ 124 ก  22 ธันวาคม  2546 

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม114  ตอนที่ 62 ก  31 ตุลาคม 2540

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 109 ก  4 พฤศจิกายน  2546 

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม 111 ตอนที่ 53 ก  2 ธันวาคม 2537

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ.  2546 ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม120  ตอนที่ 124 ก  22  ธันวาคม 2546

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 115  31 สิงหาคม 2528

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.  2542 ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม116 ตอนที่ 104 ก 26 ตุลาคม 2542

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม116 ตอนที่ 120 ก  29 พฤศจิกายน 2542

 

อ้างอิง

[1] เป็นผลมาจากกฎหมายหลายฉบับซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้กำหนดที่มาของรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ และส่วนที่สอง กฎหมายรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 สำหรับกลุ่มแรก ได้แก่กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้กำหนดที่มาของรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ   ได้แก่ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ซึ่งได้กำหนดที่มาของรายได้องค์การบริหารส่วนจังหวัด  พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ในมาตรา 66 และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2497 ในมาตรา 10-13 และมาตรา 15 ได้กำหนดที่มาของรายได้ของเทศบาล พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 74-82 กำหนดที่มาของรายได้องค์การบริหารส่วนตำบล  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 109-114 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดที่มาของรายได้ของกรุงเทพมหานคร และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 มาตรา 80-83 และมาตรา 87-90 ซึ่งได้กำหนดที่มาของรายได้ของเมืองพัทยา