ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทองอินทร์ ภูริพัฒน์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ทองอินทร์ ภูริพัฒน์'''
ผู้เรียบเรียง :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี
 
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
 
----


 
 
'''''เราจะเริ่มสร้างบ้านด้วยการสร้างรั้ว หรือว่าเราจะเริ่มสร้างบ้านด้วยการสร้างเสาเสียก่อน [[#_ftn1|[1]]]'''''
''ทองอินทร์ ภูริพัฒน์''


 
 


ผู้เรียบเรียง :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี
          นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถือเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้มีบทบาทโดดเด่นเป็นอย่างยิ่งนับตั้งแต่ช่วงต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถึงขั้นที่หลายคนเรียกเขาว่าเป็น “ดาวสภา” เลยทีเดียว นายทองอินทร์นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นสมาชิกฯ ผู้สนใจติดตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณมากที่สุดคนหนึ่งของสภา และยังเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมจัดตั้งพรรคการเมืองมาโดยตลอด ซึ่งมาปรากฏภายใต้ชื่อ “พรรคสหชีพ” ใน พ.ศ.๒๔๘๙ เขายังเป็นหนึ่งในกลุ่ม “๔ รัฐมนตรีอีสาน” ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในขบวนการเสรีไทยรวมทั้งการต่อสู้คัดค้านกับการบริหารประเทศของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนกระทั่งภายหลังการรัฐประหารวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ บุคคลเหล่านี้ได้ถูกกวาดล้างจับกุมและฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจนกลายเป็นหนึ่งในคดีฆาตกรรมทางการเมืองที่โด่งดังที่สุดคดีหนึ่งของไทย  
 
 
 
<u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว[[#_ftn2|<u>[2]]]</u></u>
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ที่บ้านหนองยาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรคนที่สามของนายชูและนางหอม มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม ๔ คน บิดามารดาประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย มีที่นาแบ่งส่วนให้เช่า บิดาจะเป็นคนที่นำสินค้าประเภทเครื่องใช้และยารักษาโรคจากในเมืองออกไปขายยังชนบทและซื้อข้าวกลับเข้ามาขายในเมือง ถือได้ว่ามีฐานะเป็น “คหบดี” คนหนึ่ง
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากฐานะดังกล่าวของครอบครัว ทำให้ลูกๆทุกคนได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับการศึกษา โดยนายทองอินทร์ได้เรียนที่โรงเรียนเบญจมมหาราชจนจบชั้นมัธยมศึกษาที่ปี ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๖๖ หลังจากนั้นจึงได้ไปสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงประจำมณฑล ไปศึกษาต่อในชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายทองอินทร์เป็นเด็กที่เรียนเก่ง กล้าหาญและพูดจามีเหตุมีผล รวมทั้งมีความสามารถในด้านกีฬาด้วยคือการชกมวย ซึ่งเมื่อได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแล้ว นายทองอินทร์ได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็น “ตัวแทน” ของโรงเรียนในการแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียนด้วย ในสมัยที่เป็นนักเรียนอยู่ต่างจังหวัดแลต้องอาศัยอยู่ในหอพัก นายทองอินทร์ชอบที่จะแอบไปดูภาพยนตร์ซึ่งเป็นของใหม่ในสมัยนั้น และการดูภาพยนตร์มีส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของเขาไม่ใช่น้อย ดังปรากฏในบันทึกของนายสนิท เจริญรัฐ (นักหนังสือพิมพ์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา) ที่กล่าวไว้ว่า “ความอบรมโน้มจิตที่ภาพยนตร์ในยุคแรกๆให้แก่ผู้ดูมีอาทิ คือเตือนให้เป็นผู้ตั้งอยู่ในศีลธรรม ยุให้เป็นผู้รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ตลอดจนกระทั่งเร้าให้เป็นคนกล้าหาญ”
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับชีวิตครอบครัวนั้นนายทองอินทร์ได้สมรสกับเจ้าสิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๑ และมีบุตรธิดาด้วยกันทั้งสิ้น ๙ คน &nbsp;&nbsp;&nbsp;
 
<u>หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ</u>[[#_ftn3|[3]]]
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลังจากสอบไล่ได้ประโยคมัธยมบริบูรณ์ใน พ.ศ. ๒๔๖๗ และได้ประโยคครูมัธยม (ครู ป.ม.) ในปีต่อมา นายทองอินทร์ได้กลับไปรับราชการโดยได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้เป็น “ครูน้อย” ที่โรงเรียนเบญจมมหาราช เมื่อวันที่ ๑&nbsp;มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พร้อมกับสมัครเรียนกฎหมายทางไปรษณีย์กับโรงเรียนกฎหมาย และต่อมาจึงสามารถสอบไล่ได้เนติบัณฑิตใน พ.ศ. ๒๔๗๓
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ระหว่างที่รับราชการเป็นครู นายทองอินทร์ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น “ครูใหญ่” พร้อมกับได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “รองอำมาตย์ตรี” เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๑ เมื่อจบเนติบัณฑิตแล้ว จึงได้โอนจากตำแหน่งครูใหญ่ในสังกัดกระทรวงธรรมการ ไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และได้รับการบรรจุเป็น “เลขานุการมณฑลนครราชสีมา” ในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๔ จากนั้นในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ มีคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้รั้งนายอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ อีกสองเดือนต่อมาจึงได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้รั้งนายอำเภอม่วงสามสิบที่อำเภอม่วงสามสิบได้เพียง ๒ เดือน ก็ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๖ และอยู่ในตำแหน่งนี้จนกระทั่งลาออกเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่สมัยแรกที่มีการเลือกตั้งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง &nbsp; พ.ศ. ๒๔๗๕
 
<u>ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง[[#_ftn4|<u>[4]]]</u></u>
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;ในทัศนะของนายทองอินทร์ การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ของคณะราษฎร หมายถึงความก้าวหน้าทั้งในระดับท้องถิ่นและเป็นความก้าวหน้าในระดับชาติ เพราะ “ระบอบใหม่” เป็นระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้บุคคลที่ต้องการจะเข้าไปดำเนินกิจการของประเทศสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” นายทองอินทร์จึงสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะราษฎรและลาออกจากราชการเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๗๖
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นายทองอินทร์มีบทบาทในสภาฯ หลายสมัย โดยบทบาทในช่วงแรกเริ่มต้นจากการเลือกตั้งครั้งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยอยู่ครบวาระ ๔ ปี (พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๘๐) &nbsp;บทบาทช่วงต่อมาเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งที่สองในเดือนพฤศจิกายน พ,ศ. ๒๔๘๐ แต่สภาชุดนี้มีอายุสั้นเพียง ๙ เดือนก็ถูกยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยสภาทั้งสองชุดนี้ตรงกับสมัยรัฐบาลของนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหาเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยบทบาทของนายทองอินทร์ในสภาทั้งสองสมัยนี้ ได้แก่ ความพยายามจะทำหน้าที่เป็น “ตัวแทนของราษฎร” ผู้เข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอปัญหาข้อทุกข์ยากของราษฎร รวมทั้งนำเสนออุปสรรคการทำงานของข้าราชการในระดับท้องถิ่น พร้อมทั้งได้เสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อให้รัฐบาลรับทราบและดำเนินการพิจารณาต่อไป ส่วนบทบาทในช่วงหลังสุดเกิดขึ้นในสภาฯ ๒&nbsp;สมัยหลัง (พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๙๒) ซึ่งเป็นบทบาทที่เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศของสงครามมหาเอเชียบูรพาและช่วงสมัยแห่งการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทบาทสำคัญของนายทองอินทร์ในสภาฯ สมัยแรกนอกจากการทำหน้าที่เป็นผู้แทนด้วยการนำเสนอปัญหาต่างๆของประชาชนและท้องถิ่นแล้ว นายทองอินทร์ยังมีบทบาทในการตั้งกระทู้ถามเรื่องสำคัญเป็นจำนวนมาก เช่น การระบาดของโรคเรื้อน, การปราบฝิ่น, ทางหลวงในภาคอีสาน, การยกอำเภอมุกดาหารขึ้นเป็นอำเภอชั้นพิเศษ, ครูและอัตราเงินเดือนครู, อัตราเงินเดือนปลัด นอกจากนี้ยังมีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายการปราบปรามผู้ร้าย ภาษีรัชชูปการและอากรค่านา และญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในนโยบายเรื่องภาษีอากร นายทองอินทร์ยังมีบทบาทในการเคลื่อนไหวผลักดันให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อกระจายงบประมาณลงสู่ภูมิภาคให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะงบประมาณในด้านการศึกษาและการพัฒนาเศรษฐกิจ เขายังเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมายและตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลให้ดำเนินไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาฯ ส่วนภายนอกสภาฯ นั้นนายทองอินทร์สามารถสร้างฐานคะแนนเสียงของตนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีขึ้นมาได้จากการประกอบอาชีพทนายความ ซึ่งเน้นการเป็นตัวกลางในการประนีประนอมความขัดแย้งให้แก่ลูกความมากกว่าการแสวงหารายได้
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในสภาฯสมัยที่สองนั้น เนื่องจากนายทองอินทร์เป็นคนที่สนใจและติดตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณเป็นอย่างมาก ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อและได้รับการเลือกตั้งจากเพื่อนสมาชิกสภาฯ ให้เข้าทำงานเป็นกรรมาธิการชุดต่างๆของสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ และในสภาฯสมัยที่สองนี้บทบาทของนายทองอินทร์มีมากขึ้นจนก้าวขึ้นสู่การเป็น แกนนำที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของสมาชิกฯฝ่ายค้าน ซึ่งบทบาทการทำงานของนายทองอินทร์และเพื่อนสมาชิกฯ ในการตรวจสอบการทำงานอย่างเคร่งครัดทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นกับฝ่ายบริหาร โดยส่งผลให้รัฐบาลในระบอบใหม่ต้องทำงานของตนอย่างระมัดระวังมากขึ้นและต้องเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆให้รวดเร็วมากขึ้น
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากนี้ในช่วงหลังของสภาฯสมัยที่สอง นายทองอินทร์และเพื่อนสมาชิกยังมีบทบาทในการคัดค้านการจัดสรรเงินงบประมาณที่ทุ่มเทไปในการพัฒนากองทัพในสมัยจอมพล ป. แต่สนับสนุนให้รัฐบาลหันมาพัฒนาการศึกษาและเศรษฐกิจ โดยเน้นการกระจายอำนาจเป็นหลัก นอกจากนี้ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา นายทองอินทร์ยังมีบทบาทในด้านการต่างประเทศคือการส่งเสริมให้รัฐบาลดำเนินนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
 
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จุดจบแห่งชีวิตทางการเมืองของนายทองอินทร์เกิดขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เพราะนายทองอินทร์และเพื่อนสมาชิกฯ ได้ประกาศจุดยืนในการต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจน ทำให้พวกเขาเป็นกลุ่มนักการเมืองที่ถูกฝ่ายคณะรัฐประหารเฝ้าติดตาม กวาดล้างและจับกุมตัวเป็นระยะๆ


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ&nbsp;: รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จนกระทั่งภายหลังเหตุการณ์กบฏวังหลวงในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๒ ก็เกิดการกวาดล้างจับกุมนักการเมือง นักหนังสือพิมพ์และข้าราชการเป็นจำนวนมาก นายทองอินทร์พร้อมด้วยสมาชิกฯ ในกลุ่มคนอื่นๆ ก็เป็นนักการเมืองอีกพวกหนึ่งที่ถูกจับกุมตัวในครั้งนี้ด้วย ระหว่างถูกควบคุมตัว นายทองอินทร์และบุคคลอื่นๆ ได้ถูกนายตำรวจภายใต้การบังคับบัญชาของ พล.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์ นำไป “ฆาตกรรม” ในวันที่ ๔ มีนาคม โดยทางกรมตำรวจอ้างว่าถูกโจรจีนมลายูปล้นเพื่อแย่งชิงนักโทษ อันเป็นทีมาของ “คดี ๔ รัฐมนตรี”


&nbsp;
&nbsp;
<u>บรรณานุกรม</u>
พีรยา มหากิตติคุณ, แนวคิดและบทบาททางการเมืองของทองอินทร์ ภูริพัฒน์, ใน '''ปรีดี พนมยงค์ และ ๔ รัฐมนตรีอีสาน ''''''+ ๔''', (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, ๒๕๔๔)


&nbsp;
&nbsp;


{| align="left" cellpadding="0" cellspacing="0"
<u>อ้างอิง</u>
|-
| height="65" | &nbsp;
|-
| &nbsp;
| height="266" |
{| cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"
|-
| <div>
เนื้อหา


#ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว
[[#_ftnref1|[1]]] คำอภิปรายในสภาฯ ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ อ้างถึงใน พีรยา มหากิตติคุณ, แนวคิดและบทบาททางการเมืองของทองอินทร์ ภูริพัฒน์, ใน '''ปรีดี พนมยงค์ และ ๔ รัฐมนตรีอีสาน ''''''+ ๑''', (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, ๒๕๔๔), น. ๒๖.
#หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ
#ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง
#บรรณานุกรม
#อ้างอิง
</div>
|}


|}
[[#_ftnref2|[2]]] เพิ่งอ้าง, น. ๒๗-๓๐.


cccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccccc
[[#_ftnref3|[3]]] อ้างแล้ว, น. ๒๙-๓๓.
 
[[#_ftnref4|[4]]] อ้างแล้ว, น. ๓๔-๘๖.
 
&nbsp;

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:25, 1 สิงหาคม 2560

ผู้เรียบเรียง :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


 

เราจะเริ่มสร้างบ้านด้วยการสร้างรั้ว หรือว่าเราจะเริ่มสร้างบ้านด้วยการสร้างเสาเสียก่อน [1]

ทองอินทร์ ภูริพัฒน์

 

          นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถือเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้มีบทบาทโดดเด่นเป็นอย่างยิ่งนับตั้งแต่ช่วงต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถึงขั้นที่หลายคนเรียกเขาว่าเป็น “ดาวสภา” เลยทีเดียว นายทองอินทร์นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นสมาชิกฯ ผู้สนใจติดตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณมากที่สุดคนหนึ่งของสภา และยังเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมจัดตั้งพรรคการเมืองมาโดยตลอด ซึ่งมาปรากฏภายใต้ชื่อ “พรรคสหชีพ” ใน พ.ศ.๒๔๘๙ เขายังเป็นหนึ่งในกลุ่ม “๔ รัฐมนตรีอีสาน” ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในขบวนการเสรีไทยรวมทั้งการต่อสู้คัดค้านกับการบริหารประเทศของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนกระทั่งภายหลังการรัฐประหารวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ บุคคลเหล่านี้ได้ถูกกวาดล้างจับกุมและฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจนกลายเป็นหนึ่งในคดีฆาตกรรมทางการเมืองที่โด่งดังที่สุดคดีหนึ่งของไทย  

 

ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว[2]

          นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ที่บ้านหนองยาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรคนที่สามของนายชูและนางหอม มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม ๔ คน บิดามารดาประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย มีที่นาแบ่งส่วนให้เช่า บิดาจะเป็นคนที่นำสินค้าประเภทเครื่องใช้และยารักษาโรคจากในเมืองออกไปขายยังชนบทและซื้อข้าวกลับเข้ามาขายในเมือง ถือได้ว่ามีฐานะเป็น “คหบดี” คนหนึ่ง

          จากฐานะดังกล่าวของครอบครัว ทำให้ลูกๆทุกคนได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับการศึกษา โดยนายทองอินทร์ได้เรียนที่โรงเรียนเบญจมมหาราชจนจบชั้นมัธยมศึกษาที่ปี ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๖๖ หลังจากนั้นจึงได้ไปสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงประจำมณฑล ไปศึกษาต่อในชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

          นายทองอินทร์เป็นเด็กที่เรียนเก่ง กล้าหาญและพูดจามีเหตุมีผล รวมทั้งมีความสามารถในด้านกีฬาด้วยคือการชกมวย ซึ่งเมื่อได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแล้ว นายทองอินทร์ได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็น “ตัวแทน” ของโรงเรียนในการแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียนด้วย ในสมัยที่เป็นนักเรียนอยู่ต่างจังหวัดแลต้องอาศัยอยู่ในหอพัก นายทองอินทร์ชอบที่จะแอบไปดูภาพยนตร์ซึ่งเป็นของใหม่ในสมัยนั้น และการดูภาพยนตร์มีส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของเขาไม่ใช่น้อย ดังปรากฏในบันทึกของนายสนิท เจริญรัฐ (นักหนังสือพิมพ์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา) ที่กล่าวไว้ว่า “ความอบรมโน้มจิตที่ภาพยนตร์ในยุคแรกๆให้แก่ผู้ดูมีอาทิ คือเตือนให้เป็นผู้ตั้งอยู่ในศีลธรรม ยุให้เป็นผู้รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ตลอดจนกระทั่งเร้าให้เป็นคนกล้าหาญ”

          สำหรับชีวิตครอบครัวนั้นนายทองอินทร์ได้สมรสกับเจ้าสิริบังอร ณ จำปาศักดิ์ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๑ และมีบุตรธิดาด้วยกันทั้งสิ้น ๙ คน    

หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ[3]

          หลังจากสอบไล่ได้ประโยคมัธยมบริบูรณ์ใน พ.ศ. ๒๔๖๗ และได้ประโยคครูมัธยม (ครู ป.ม.) ในปีต่อมา นายทองอินทร์ได้กลับไปรับราชการโดยได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้เป็น “ครูน้อย” ที่โรงเรียนเบญจมมหาราช เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พร้อมกับสมัครเรียนกฎหมายทางไปรษณีย์กับโรงเรียนกฎหมาย และต่อมาจึงสามารถสอบไล่ได้เนติบัณฑิตใน พ.ศ. ๒๔๗๓

          ระหว่างที่รับราชการเป็นครู นายทองอินทร์ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น “ครูใหญ่” พร้อมกับได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “รองอำมาตย์ตรี” เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๑ เมื่อจบเนติบัณฑิตแล้ว จึงได้โอนจากตำแหน่งครูใหญ่ในสังกัดกระทรวงธรรมการ ไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และได้รับการบรรจุเป็น “เลขานุการมณฑลนครราชสีมา” ในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๔ จากนั้นในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ มีคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้รั้งนายอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ อีกสองเดือนต่อมาจึงได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้รั้งนายอำเภอม่วงสามสิบที่อำเภอม่วงสามสิบได้เพียง ๒ เดือน ก็ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๖ และอยู่ในตำแหน่งนี้จนกระทั่งลาออกเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่สมัยแรกที่มีการเลือกตั้งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง   พ.ศ. ๒๔๗๕

ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง[4]

           ในทัศนะของนายทองอินทร์ การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ของคณะราษฎร หมายถึงความก้าวหน้าทั้งในระดับท้องถิ่นและเป็นความก้าวหน้าในระดับชาติ เพราะ “ระบอบใหม่” เป็นระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้บุคคลที่ต้องการจะเข้าไปดำเนินกิจการของประเทศสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” นายทองอินทร์จึงสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะราษฎรและลาออกจากราชการเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๗๖

          นายทองอินทร์มีบทบาทในสภาฯ หลายสมัย โดยบทบาทในช่วงแรกเริ่มต้นจากการเลือกตั้งครั้งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยอยู่ครบวาระ ๔ ปี (พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๘๐)  บทบาทช่วงต่อมาเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งที่สองในเดือนพฤศจิกายน พ,ศ. ๒๔๘๐ แต่สภาชุดนี้มีอายุสั้นเพียง ๙ เดือนก็ถูกยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยสภาทั้งสองชุดนี้ตรงกับสมัยรัฐบาลของนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหาเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยบทบาทของนายทองอินทร์ในสภาทั้งสองสมัยนี้ ได้แก่ ความพยายามจะทำหน้าที่เป็น “ตัวแทนของราษฎร” ผู้เข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอปัญหาข้อทุกข์ยากของราษฎร รวมทั้งนำเสนออุปสรรคการทำงานของข้าราชการในระดับท้องถิ่น พร้อมทั้งได้เสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อให้รัฐบาลรับทราบและดำเนินการพิจารณาต่อไป ส่วนบทบาทในช่วงหลังสุดเกิดขึ้นในสภาฯ ๒ สมัยหลัง (พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๙๒) ซึ่งเป็นบทบาทที่เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศของสงครามมหาเอเชียบูรพาและช่วงสมัยแห่งการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย

          บทบาทสำคัญของนายทองอินทร์ในสภาฯ สมัยแรกนอกจากการทำหน้าที่เป็นผู้แทนด้วยการนำเสนอปัญหาต่างๆของประชาชนและท้องถิ่นแล้ว นายทองอินทร์ยังมีบทบาทในการตั้งกระทู้ถามเรื่องสำคัญเป็นจำนวนมาก เช่น การระบาดของโรคเรื้อน, การปราบฝิ่น, ทางหลวงในภาคอีสาน, การยกอำเภอมุกดาหารขึ้นเป็นอำเภอชั้นพิเศษ, ครูและอัตราเงินเดือนครู, อัตราเงินเดือนปลัด นอกจากนี้ยังมีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในข้อนโยบายการปราบปรามผู้ร้าย ภาษีรัชชูปการและอากรค่านา และญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในนโยบายเรื่องภาษีอากร นายทองอินทร์ยังมีบทบาทในการเคลื่อนไหวผลักดันให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อกระจายงบประมาณลงสู่ภูมิภาคให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะงบประมาณในด้านการศึกษาและการพัฒนาเศรษฐกิจ เขายังเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมายและตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลให้ดำเนินไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาฯ ส่วนภายนอกสภาฯ นั้นนายทองอินทร์สามารถสร้างฐานคะแนนเสียงของตนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีขึ้นมาได้จากการประกอบอาชีพทนายความ ซึ่งเน้นการเป็นตัวกลางในการประนีประนอมความขัดแย้งให้แก่ลูกความมากกว่าการแสวงหารายได้

          ในสภาฯสมัยที่สองนั้น เนื่องจากนายทองอินทร์เป็นคนที่สนใจและติดตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณเป็นอย่างมาก ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อและได้รับการเลือกตั้งจากเพื่อนสมาชิกสภาฯ ให้เข้าทำงานเป็นกรรมาธิการชุดต่างๆของสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ และในสภาฯสมัยที่สองนี้บทบาทของนายทองอินทร์มีมากขึ้นจนก้าวขึ้นสู่การเป็น แกนนำที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวทางการเมืองของสมาชิกฯฝ่ายค้าน ซึ่งบทบาทการทำงานของนายทองอินทร์และเพื่อนสมาชิกฯ ในการตรวจสอบการทำงานอย่างเคร่งครัดทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นกับฝ่ายบริหาร โดยส่งผลให้รัฐบาลในระบอบใหม่ต้องทำงานของตนอย่างระมัดระวังมากขึ้นและต้องเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆให้รวดเร็วมากขึ้น

          นอกจากนี้ในช่วงหลังของสภาฯสมัยที่สอง นายทองอินทร์และเพื่อนสมาชิกยังมีบทบาทในการคัดค้านการจัดสรรเงินงบประมาณที่ทุ่มเทไปในการพัฒนากองทัพในสมัยจอมพล ป. แต่สนับสนุนให้รัฐบาลหันมาพัฒนาการศึกษาและเศรษฐกิจ โดยเน้นการกระจายอำนาจเป็นหลัก นอกจากนี้ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา นายทองอินทร์ยังมีบทบาทในด้านการต่างประเทศคือการส่งเสริมให้รัฐบาลดำเนินนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัด

          จุดจบแห่งชีวิตทางการเมืองของนายทองอินทร์เกิดขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เพราะนายทองอินทร์และเพื่อนสมาชิกฯ ได้ประกาศจุดยืนในการต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจน ทำให้พวกเขาเป็นกลุ่มนักการเมืองที่ถูกฝ่ายคณะรัฐประหารเฝ้าติดตาม กวาดล้างและจับกุมตัวเป็นระยะๆ

          จนกระทั่งภายหลังเหตุการณ์กบฏวังหลวงในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๒ ก็เกิดการกวาดล้างจับกุมนักการเมือง นักหนังสือพิมพ์และข้าราชการเป็นจำนวนมาก นายทองอินทร์พร้อมด้วยสมาชิกฯ ในกลุ่มคนอื่นๆ ก็เป็นนักการเมืองอีกพวกหนึ่งที่ถูกจับกุมตัวในครั้งนี้ด้วย ระหว่างถูกควบคุมตัว นายทองอินทร์และบุคคลอื่นๆ ได้ถูกนายตำรวจภายใต้การบังคับบัญชาของ พล.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์ นำไป “ฆาตกรรม” ในวันที่ ๔ มีนาคม โดยทางกรมตำรวจอ้างว่าถูกโจรจีนมลายูปล้นเพื่อแย่งชิงนักโทษ อันเป็นทีมาของ “คดี ๔ รัฐมนตรี”

 

บรรณานุกรม

พีรยา มหากิตติคุณ, แนวคิดและบทบาททางการเมืองของทองอินทร์ ภูริพัฒน์, ใน ปรีดี พนมยงค์ และ ๔ รัฐมนตรีอีสาน '+ ๔', (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, ๒๕๔๔)

 

อ้างอิง

[1] คำอภิปรายในสภาฯ ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ อ้างถึงใน พีรยา มหากิตติคุณ, แนวคิดและบทบาททางการเมืองของทองอินทร์ ภูริพัฒน์, ใน ปรีดี พนมยงค์ และ ๔ รัฐมนตรีอีสาน '+ ๑', (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, ๒๕๔๔), น. ๒๖.

[2] เพิ่งอ้าง, น. ๒๗-๓๐.

[3] อ้างแล้ว, น. ๒๙-๓๓.

[4] อ้างแล้ว, น. ๓๔-๘๖.