ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุรเกียรติ์ เสถียรไทย"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
สร้างหน้าด้วย " '''ดร.สุรเกียรติ์  เสถียรไทย'''             &n..."
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ดร.สุรเกียรติ์  เสถียรไทย'''
ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว


 
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร
 
                                                                       ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
 
                                                            ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร
 
 
 
 
 
''&nbsp;“ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ''''8<br/> ได้มีการเปลี่ยนแนวคิดใหม่ในการพัฒนา โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง<br/> จุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนาเพื่อให้ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง<br/> สังคมมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจมีเสรีธรรม มีความยุติธรรม<br/> มีการพัฒนาที่สมดุลบนพื้นฐานของความเป็นไทย”''
 
&nbsp;
 
''ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย[[#_ftn1|'''[1]''']]''
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
{| cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"
|-
| <div>
'''เนื้อหา'''
 
#ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว
#หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ
#ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง
#บทบาทพิเศษและบทบาทในองค์กรระหว่างประเทศ
#อ้างอิง
#บรรณานุกรม
 
&nbsp;
</div>
|}
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;
 
&nbsp;


----
<p style="text-align: center;">'''''&nbsp;“ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ''''''''''8'''<br/> ได้มีการเปลี่ยนแนวคิดใหม่ในการพัฒนา โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง<br/> จุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนาเพื่อให้ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง<br/> สังคมมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจมีเสรีธรรม มีความยุติธรรม<br/> มีการพัฒนาที่สมดุลบนพื้นฐานของความเป็นไทย”'''''</p>
&nbsp;
&nbsp;
 
<p style="text-align: right;">''ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย[[#_ftn1|'''[1]''']]''</p>
&nbsp;
 
&nbsp;
&nbsp;


บรรทัดที่ 76: บรรทัดที่ 26:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เริ่มต้นหน้าที่การงานในฐานะ “นักวิชาการ” ด้วยการเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ริเริ่มการศึกษากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จนได้เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภายหลัง ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2535 – 2538&nbsp; อีกด้วย[[#_ftn4|[4]]] นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยยังเคยเป็น Visiting Professor, Watson Institute for International Studies มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา และยังเคยเป็น Visiting Scholar, คณะนิติศาสตร์ &nbsp;มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา, Senior Fellow, Belfer Center for Science and International Affairs, John F. Kennedy School of Government, มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ในระหว่างเดือนมีนาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2550 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยยังเคยร่วมสอนวิชากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับ ศาสตราจารย์เฟรดเดอริก สไนเดอร์ ในระดับปริญญาโท ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา[[#_ftn5|[5]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เริ่มต้นหน้าที่การงานในฐานะ “นักวิชาการ” ด้วยการเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ริเริ่มการศึกษากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จนได้เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภายหลัง ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2535 – 2538&nbsp; อีกด้วย[[#_ftn4|[4]]] นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยยังเคยเป็น Visiting Professor, Watson Institute for International Studies มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา และยังเคยเป็น Visiting Scholar, คณะนิติศาสตร์ &nbsp;มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา, Senior Fellow, Belfer Center for Science and International Affairs, John F. Kennedy School of Government, มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ในระหว่างเดือนมีนาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2550 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยยังเคยร่วมสอนวิชากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับ ศาสตราจารย์เฟรดเดอริก สไนเดอร์ ในระดับปริญญาโท ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา[[#_ftn5|[5]]]


ในส่วนของผลงานทางวิชาการของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งประเภทตำราหนังสือ เช่น “Third World Attitudes Toward International Law An Introduction” โดยเขียนร่วมกับศาสตราจารย์เฟรดเดอริก สไนเดอร์ &nbsp;และตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff Publishers นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังมีบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก เช่น World Bank Economic Review, Harvard Journal of International Law, Harvard Human Rights Journal (พ.ศ. 2549), Texas International Law Journal (พ.ศ. 2548), Far Eastern Economic Review (พ.ศ. 2548), บทบาทของกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2553), กฎหมายและผลประโยชน์ของไทยในอ่าวไทย : กรณีศึกษาบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชาเรื่องการเจรจาสิทธิในอ่าวไทย (พ.ศ. 2553), บทความเรื่อง Sustainable Development ใน ITD>do, Issue 3 (พ.ศ. 2553), บทความเรื่อง ภาพรวมการเคลื่อนย้ายและการกำกับทุนโลก ในสรุปรายงานการลงทุนโลก 2010 โดย ITD (พ.ศ. 2553), บทความเรื่อง ธรรมาภิบาลโลกด้านเศรษฐกิจการเงิน ในวารสารกฎหมายฉบับพิเศษ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2554)[[#_ftn6|[6]]]
ในส่วนของผลงานทางวิชาการของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งประเภทตำราหนังสือ เช่น “Third World Attitudes Toward International Law An Introduction” โดยเขียนร่วมกับศาสตราจารย์เฟรดเดอริก สไนเดอร์ &nbsp;และตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff Publishers นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังมีบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก เช่น World Bank Economic Review, Harvard Journal of International Law, Harvard Human Rights Journal (พ.ศ. 2549), Texas International Law Journal (พ.ศ. 2548), Far Eastern Economic Review (พ.ศ. 2548), บทบาทของกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2553), กฎหมายและผลประโยชน์ของไทยในอ่าวไทย&nbsp;: กรณีศึกษาบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชาเรื่องการเจรจาสิทธิในอ่าวไทย (พ.ศ. 2553), บทความเรื่อง Sustainable Development ใน ITD>do, Issue 3 (พ.ศ. 2553), บทความเรื่อง ภาพรวมการเคลื่อนย้ายและการกำกับทุนโลก ในสรุปรายงานการลงทุนโลก 2010 โดย ITD (พ.ศ. 2553), บทความเรื่อง ธรรมาภิบาลโลกด้านเศรษฐกิจการเงิน ในวารสารกฎหมายฉบับพิเศษ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2554)[[#_ftn6|[6]]]


ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยยังมีประสบการณ์ของการเป็น “นักการเมือง” หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเริ่มจากการเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หรือที่เรียกกันว่า “ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก” ซึ่งมีบุคคลสำคัญ อาทิเช่น นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นต้น[[#_ftn7|[7]]] ภายหลังการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายอานันท์ ปันยารชุน) ดูแลงานด้านต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2538 เมื่อนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้ร่วมอยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ด้วย โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเมื่อมีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยด้วย รวมถึงได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกหลายตำแหน่ง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 และในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน พ.ศ. 2549 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังดำรงตำแหน่งรักษาราชการการแทนรับมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยยังมีประสบการณ์ของการเป็น “นักการเมือง” หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเริ่มจากการเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หรือที่เรียกกันว่า “ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก” ซึ่งมีบุคคลสำคัญ อาทิเช่น นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นต้น[[#_ftn7|[7]]] ภายหลังการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายอานันท์ ปันยารชุน) ดูแลงานด้านต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2538 เมื่อนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้ร่วมอยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ด้วย โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเมื่อมีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยด้วย รวมถึงได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกหลายตำแหน่ง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 และในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน พ.ศ. 2549 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังดำรงตำแหน่งรักษาราชการการแทนรับมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
บรรทัดที่ 97: บรรทัดที่ 47:


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในส่วนของบทบาทในองค์กรระหว่างประเทศนั้น ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังเคยเป็นผู้สมัครในนามประเทศไทยและอาเซียนในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งมีการรณรงค์ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 จนกระทั่งดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ถอนตัวไปในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 &nbsp;ปัจจุบัน ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย (Asian Peace and Reconciliation Council (APRC)) และยังเป็นประธานสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งเอเชีย (Asian Society of International Law (AsianSIL))[[#_ftn14|[14]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในส่วนของบทบาทในองค์กรระหว่างประเทศนั้น ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังเคยเป็นผู้สมัครในนามประเทศไทยและอาเซียนในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งมีการรณรงค์ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 จนกระทั่งดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ถอนตัวไปในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 &nbsp;ปัจจุบัน ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย (Asian Peace and Reconciliation Council (APRC)) และยังเป็นประธานสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งเอเชีย (Asian Society of International Law (AsianSIL))[[#_ftn14|[14]]]
&nbsp;
&nbsp;


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 106: บรรทัดที่ 52:
<u>บรรณานุกรม</u>
<u>บรรณานุกรม</u>


พิชาน กิติอาษา. '''สมุดปกน้ำเงิน การเงินการคลังเพื่อสังคมมิติใหม่ในการพัฒนาชาติ''' (กรุงเทพฯ :<br/> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทีมงานที่ปรึกษาส่วนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง,2539).
พิชาน กิติอาษา. '''สมุดปกน้ำเงิน การเงินการคลังเพื่อสังคมมิติใหม่ในการพัฒนาชาติ''' (กรุงเทพฯ&nbsp;:<br/> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทีมงานที่ปรึกษาส่วนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง,2539).


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 112: บรรทัดที่ 58:
<u>เว็บไซต์</u>
<u>เว็บไซต์</u>


ชีวประวัติดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย<br/> เข้าถึงจาก <[http://www.surakiart.com/?page_id=228>%20เมื่อ http://www.surakiart.com/?page_id=228> เมื่อ]วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.
ชีวประวัติดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าถึงจาก <[http://www.surakiart.com/?page_id=228 >%20เมื่อ http://www.surakiart.com/?page_id=228> เมื่อ]วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.
 
งานแต่ง"ดร.สันติธาร" ลูกชาย "ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย" เหตุใด? ต้องจัดที่"วังเทวะเวสม์"


เข้าถึงจาก <[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354612348 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354612348]> เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.
งานแต่ง"ดร.สันติธาร" ลูกชาย "ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย" เหตุใด? ต้องจัดที่"วังเทวะเวสม์" เข้าถึงจาก <[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354612348 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354612348]> เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.


&nbsp;
รายนามคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าถึงจาก <[http://www.law.chula.ac.th/home/page.aspx?id=9 http://www.law.chula.ac.th/home/page.aspx?id=9]> เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.


รายนามคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าถึงจาก <www.research.chula.ac.th/web/Prize_Researcher/professor/.../55aw18.pdf> เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.


เข้าถึงจาก <[http://www.law.chula.ac.th/home/page.aspx?id=9 http://www.law.chula.ac.th/home/page.aspx?id=9]> เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.
<u>อ้างอิง</u>
 
<div><div id="ftn1">
&nbsp;
 
ศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
เข้าถึงจาก <www.research.chula.ac.th/web/Prize_Researcher/professor/.../55aw18.pdf> เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.
 
&nbsp;
 
&nbsp;
<div>&nbsp;
----
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย บรรยายเรื่อง “นโยบายการเงินการคลังเพื่อสังคม” ณ หอประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
[[#_ftnref1|[1]]] ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย บรรยายเรื่อง “นโยบายการเงินการคลังเพื่อสังคม” ณ หอประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
บรรทัดที่ 148: บรรทัดที่ 80:
[[#_ftnref6|[6]]] ศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าถึงจากwww.research.chula.ac.th/web/Prize_Researcher/professor/.../55aw18.pdf เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.
[[#_ftnref6|[6]]] ศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าถึงจากwww.research.chula.ac.th/web/Prize_Researcher/professor/.../55aw18.pdf เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] พิชาน กิติอาษา, สมุดปกน้ำเงิน การเงินการคลังเพื่อสังคมมิติใหม่ในการพัฒนาชาติ, (กรุงเทพฯ : ทีมงานที่ปรึกษาส่วนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง,2539), น.7-8.
[[#_ftnref7|[7]]] พิชาน กิติอาษา, สมุดปกน้ำเงิน การเงินการคลังเพื่อสังคมมิติใหม่ในการพัฒนาชาติ, (กรุงเทพฯ&nbsp;: ทีมงานที่ปรึกษาส่วนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง,2539), น.7-8.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] ชีวประวัติดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าถึงจาก [http://www.surakiart.com/?page_id=228%20เมื่อ http://www.surakiart.com/?page_id=228 เมื่อ]วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.
[[#_ftnref8|[8]]] ชีวประวัติดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าถึงจาก [http://www.surakiart.com/?page_id=228%20เมื่อ http://www.surakiart.com/?page_id=228 เมื่อ]วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:45, 27 กรกฎาคม 2560

ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร


 “ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ '''''8
ได้มีการเปลี่ยนแนวคิดใหม่ในการพัฒนา โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง
จุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนาเพื่อให้ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง
สังคมมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจมีเสรีธรรม มีความยุติธรรม
มีการพัฒนาที่สมดุลบนพื้นฐานของความเป็นไทย”

 

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย[1]

 

          “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” เป็นคำที่คุ้นหูคนไทยมาเป็นเวลาร่วม 50 ปีแล้ว โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่ละฉบับมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและเศรษฐกิจของไทยในแต่ละช่วงเวลา สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 นี้ มีการประกาศใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2544 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของวิกฤติเศรษฐกิจ เป็นฉบับแรกที่ให้ความสำคัญกับคนและเศรษฐกิจชุมชนมากขึ้น โดยผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับนี้คือ “ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย” นักกฎหมาย และนักวิชาการด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอยู่นั่นเอง เส้นทางชีวิตของดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นอีกเรื่องราวที่น่าสนใจไม่น้อย โดยชีวิตที่เริ่มต้นจากนักวิชาการ ก่อนจะเบนเข็มเข้ามาสู่แวดวงการเมือง และเข้าสู่การทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ

 

ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2501 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ดร.สุนทร เสถียรไทย กับคุณหญิงเกื้อกูล เสถียรไทย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิตปริญญาตรี (น.บ.เกียรตินิยม)  รางวัลเหรียญทอง จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2522  หลังจากนั้นสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านกฎหมาย การเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (M.A.L.D) จาก The Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts University, U.S.A. ในปี พ.ศ. 2524  ต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านนิติศาสตร์ (LL.M.) จาก Harvard Law School, U.S.A. ในปี พ.ศ. 2525 ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านนิติศาสตร์ (S.J.D.) Harvard Law School, U.S.A.[2]

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย สมรสกับ ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์  เสถียรไทย ประธานมูลนิธิสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI) มีบุตร 1 คน คือ ดร.สันติธาร เสถียรไทย ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจเอเชีย ธนาคารเครดิตสวิส ที่ประเทศสิงคโปร์[3]

 

หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ

          ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เริ่มต้นหน้าที่การงานในฐานะ “นักวิชาการ” ด้วยการเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ริเริ่มการศึกษากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จนได้เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภายหลัง ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2535 – 2538  อีกด้วย[4] นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยยังเคยเป็น Visiting Professor, Watson Institute for International Studies มหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา และยังเคยเป็น Visiting Scholar, คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา, Senior Fellow, Belfer Center for Science and International Affairs, John F. Kennedy School of Government, มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ในระหว่างเดือนมีนาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2550 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยยังเคยร่วมสอนวิชากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับ ศาสตราจารย์เฟรดเดอริก สไนเดอร์ ในระดับปริญญาโท ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา[5]

ในส่วนของผลงานทางวิชาการของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งประเภทตำราหนังสือ เช่น “Third World Attitudes Toward International Law An Introduction” โดยเขียนร่วมกับศาสตราจารย์เฟรดเดอริก สไนเดอร์  และตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff Publishers นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังมีบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก เช่น World Bank Economic Review, Harvard Journal of International Law, Harvard Human Rights Journal (พ.ศ. 2549), Texas International Law Journal (พ.ศ. 2548), Far Eastern Economic Review (พ.ศ. 2548), บทบาทของกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2553), กฎหมายและผลประโยชน์ของไทยในอ่าวไทย : กรณีศึกษาบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชาเรื่องการเจรจาสิทธิในอ่าวไทย (พ.ศ. 2553), บทความเรื่อง Sustainable Development ใน ITD>do, Issue 3 (พ.ศ. 2553), บทความเรื่อง ภาพรวมการเคลื่อนย้ายและการกำกับทุนโลก ในสรุปรายงานการลงทุนโลก 2010 โดย ITD (พ.ศ. 2553), บทความเรื่อง ธรรมาภิบาลโลกด้านเศรษฐกิจการเงิน ในวารสารกฎหมายฉบับพิเศษ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2554)[6]

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยยังมีประสบการณ์ของการเป็น “นักการเมือง” หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเริ่มจากการเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หรือที่เรียกกันว่า “ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก” ซึ่งมีบุคคลสำคัญ อาทิเช่น นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นต้น[7] ภายหลังการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นายอานันท์ ปันยารชุน) ดูแลงานด้านต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2538 เมื่อนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้ร่วมอยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ด้วย โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเมื่อมีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยด้วย รวมถึงได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกหลายตำแหน่ง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 และในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน พ.ศ. 2549 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังดำรงตำแหน่งรักษาราชการการแทนรับมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังมีประสบการณ์ในภาคเอกชน นั่นคือ เป็นประธานกรรมการบริหาร การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท)  ประธานกรรมการบริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ประธานตัวแทนผู้ทำแผน และประธานตัวแทนผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท ไทยออยล์ จำกัด ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด กรรมการบริษัท ไทยออยล์ เพาเวอร์จำกัด ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารแหลมทอง จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริษัท เป๊บซี่โคล่าไทยเทรดดิ้ง จำกัด และประธานกรรมการ บริษัท สำนักกฎหมายสากล สยามพรีเมียร์ จำกัด ซึ่งมีบริษัทลูกในประเทศลาวและเมียนมาร์ภายในชื่อบริษัท สำนักกฎหมายสากล ลาวพรีเมียร์ จำกัด และบริษัท สำนักกฎหมายสากล เมียนมาร์พรีเมียร์ จำกัด[8]

 

ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง

          ระหว่างที่ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เริ่มเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หรือ “ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก” อยู่นั้น ผลงานสำคัญที่ปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด ซึ่งเป็นผลงานของกลุ่มที่ปรึกษาที่มีดร.สุรเกียรติ์รวมอยู่ด้วย นั่นคือ การผลักดันให้เกิดนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า[9] ซึ่งเป็นนโยบายที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง และในช่วงที่ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้น ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 โดยเป็นมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาคนและเศรษฐกิจชุมชนเป็นสำคัญ ในส่วนของนโยบายฝ่ายรัฐบาล ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้จัดทำแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคม เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน โดยยังคงมุ่งเน้นไปที่ชุมชนโดยรวม เกิดนโยบายต่าง ๆ อาทิเช่น กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา การจัดตั้งธนาคารชุมชน เป็นต้น[10]

          ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2549 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้ร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย โดยมีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยดร.สุรเกียรติ์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเชีย – แปซิฟิก (APEC) โดยมีดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยเป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน[11] นอกจากนี้ยังเป็นประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดงานองค์พระประมุขต่างประเทศร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน พ.ศ. 2549[12]

 

บทบาทพิเศษและบทบาทในองค์กรระหว่างประเทศ

          นอกจาก ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย จะเป็นนักวิชาการด้านกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเป็นนักการเมืองคนสำคัญของประเทศไทยแล้ว ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังเคยผ่านการทำหน้าที่พิเศษในวาระต่าง ๆ  ทั้งในนามรัฐบาลและในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระศพพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานไว้อาลัยเจ้าผู้ครองรัฐคูเวต และปัจจุบัน ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยมีบทบาทพิเศษเป็น “ศาสตราภิชาน” ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[13]

          ในส่วนของบทบาทในองค์กรระหว่างประเทศนั้น ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังเคยเป็นผู้สมัครในนามประเทศไทยและอาเซียนในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งมีการรณรงค์ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 จนกระทั่งดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ถอนตัวไปในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549  ปัจจุบัน ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย (Asian Peace and Reconciliation Council (APRC)) และยังเป็นประธานสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งเอเชีย (Asian Society of International Law (AsianSIL))[14]

 

บรรณานุกรม

พิชาน กิติอาษา. สมุดปกน้ำเงิน การเงินการคลังเพื่อสังคมมิติใหม่ในการพัฒนาชาติ (กรุงเทพฯ :
          ทีมงานที่ปรึกษาส่วนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง,2539).

 

เว็บไซต์

ชีวประวัติดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าถึงจาก <>%20เมื่อ http://www.surakiart.com/?page_id=228> เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

งานแต่ง"ดร.สันติธาร" ลูกชาย "ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย" เหตุใด? ต้องจัดที่"วังเทวะเวสม์" เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354612348> เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

รายนามคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าถึงจาก <http://www.law.chula.ac.th/home/page.aspx?id=9> เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

ศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าถึงจาก <www.research.chula.ac.th/web/Prize_Researcher/professor/.../55aw18.pdf> เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

อ้างอิง

[1] ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย บรรยายเรื่อง “นโยบายการเงินการคลังเพื่อสังคม” ณ หอประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539

[2]ชีวประวัติดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าถึงจาก http://www.surakiart.com/?page_id=228 เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

[3] งานแต่ง"ดร.สันติธาร" ลูกชาย"ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย" เหตุใด? ต้องจัดที่"วังเทวะเวสม์" เข้าถึงจากhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354612348 เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

[4] รายนามคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าถึงจาก http://www.law.chula.ac.th/home/page.aspx?id=9 เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

[5] ศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าถึงจากwww.research.chula.ac.th/web/Prize_Researcher/professor/.../55aw18.pdf เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

[6] ศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าถึงจากwww.research.chula.ac.th/web/Prize_Researcher/professor/.../55aw18.pdf เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

[7] พิชาน กิติอาษา, สมุดปกน้ำเงิน การเงินการคลังเพื่อสังคมมิติใหม่ในการพัฒนาชาติ, (กรุงเทพฯ : ทีมงานที่ปรึกษาส่วนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง,2539), น.7-8.

[8] ชีวประวัติดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าถึงจาก http://www.surakiart.com/?page_id=228 เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

[9] พิชาน กิติอาษา, เพิ่งอ้าง.

[10] พิชาน กิติอาษา, เพิ่งอ้าง, น.33-50.

[11] ชีวประวัติดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าถึงจาก http://www.surakiart.com/?page_id=228 เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

[12] ชีวประวัติดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าถึงจาก http://www.surakiart.com/?page_id=228 เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

[13] ศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าถึงจากwww.research.chula.ac.th/web/Prize_Researcher/professor/.../55aw18.pdf เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.

[14] ชีวประวัติดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าถึงจาก http://www.surakiart.com/?page_id=228 เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559.