ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปรีชาสามารถทางการทหาร"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'พุทธศักราช ๒๔๕๘ ระหว่างที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ กำ...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
พุทธศักราช ๒๔๕๘ | พุทธศักราช ๒๔๕๘ ระหว่างที่[[สงครามโลกครั้งที่ ๑]] กำลังขยายแนวรบและรุนแรงขึ้น [[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]] เสนาธิการทหารบก มีพระประสงค์ที่จะฝึกทหารของกองทัพบกสยามให้พร้อมเพื่อเตรียมรับสงครามใหญ่ที่อาจเกิดขึ้น เสนาธิการทหารบกจึงทรงอำนวยการประลองยุทธ์ใหญ่หรือการซ้อมรบเฉพาะพระพักตร์[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครั้ง]] ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ใช้ “ทุ่งหันตรา” มณฑลอยุธยาเป็นสมรภูมิจำลอง ครั้งนั้น ร้อยโท[[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา]]ทรงม้าติดตามทูลกระหม่อมเสนาธิการทหารบกในฐานะนายทหารคนสนิท | ||
สองปีต่อมาได้จัดซ้อมรบขึ้นที่ราชบุรี มีทหารร่วมซ้อมรบมากกว่าสองหมื่นห้าพันนาย ร้อยเอกสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปก ทรงนำกองร้อยปืนใหญ่แห่งกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ ในบังคับบัญชาออกตรึงแนวกลางทุ่งเตรียมต้านทานการรุกของข้าศึก | สองปีต่อมาได้จัดซ้อมรบขึ้นที่ราชบุรี มีทหารร่วมซ้อมรบมากกว่าสองหมื่นห้าพันนาย ร้อยเอกสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปก ทรงนำกองร้อยปืนใหญ่แห่งกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ ในบังคับบัญชาออกตรึงแนวกลางทุ่งเตรียมต้านทานการรุกของข้าศึก |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:34, 19 มกราคม 2559
พุทธศักราช ๒๔๕๘ ระหว่างที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ กำลังขยายแนวรบและรุนแรงขึ้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก มีพระประสงค์ที่จะฝึกทหารของกองทัพบกสยามให้พร้อมเพื่อเตรียมรับสงครามใหญ่ที่อาจเกิดขึ้น เสนาธิการทหารบกจึงทรงอำนวยการประลองยุทธ์ใหญ่หรือการซ้อมรบเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ใช้ “ทุ่งหันตรา” มณฑลอยุธยาเป็นสมรภูมิจำลอง ครั้งนั้น ร้อยโทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชาทรงม้าติดตามทูลกระหม่อมเสนาธิการทหารบกในฐานะนายทหารคนสนิท
สองปีต่อมาได้จัดซ้อมรบขึ้นที่ราชบุรี มีทหารร่วมซ้อมรบมากกว่าสองหมื่นห้าพันนาย ร้อยเอกสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปก ทรงนำกองร้อยปืนใหญ่แห่งกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ ในบังคับบัญชาออกตรึงแนวกลางทุ่งเตรียมต้านทานการรุกของข้าศึก
พระปรีชาสามารถทางการทหารแบบตะวันตกเช่นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสยามในยามที่นานาประเทศอยู่ในสถานการณ์สงคราม ในช่วงเวลาเดียวกันคือ หลังจากกองทัพบกได้ก่อตั้งโรงเรียนทหารปืนใหญ่ ขึ้นที่ตำบลโคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี พุทธศักราช ๒๔๕๙ ได้ทรงเป็นครูสอนวิชายุทธวิธี ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถในวิชาการทหารที่ทรงศึกษามาจากต่างประเทศ ฝึกหัดนักเรียนทหารปืนใหญ่รุ่นแรกๆ นับเป็นการวางรากฐานวิชาการทหารปืนใหญ่เพื่อพัฒนากิจการทหารของสยามให้ทันสมัย อันเป็นประโยชน์ต่อกองทัพและประเทศชาติในเวลาต่อมา
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖