ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราว"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'ภายหลังจากที่คณะราษฎรได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการป...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖ | ||
*[https://www.youtube.com/watch?v=SMiQnJEY8FE&list=PLz3ADrKTT5i0vjsCnIPrpraHExclR_Odo&index=100 YOU TUBE : ธ ทรงธรรม กับวิวัฒนาการการปกครองของสยาม : รัฐธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราว] | |||
[[หมวดหมู่:สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ "ประชาธิปไตย"]] | [[หมวดหมู่:สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ "ประชาธิปไตย"]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:39, 9 กันยายน 2558
ภายหลังจากที่คณะราษฎรได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นประทับ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ได้เสด็จพระราชดำเนินจากหัวหินมาถึงกรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕
ผู้แทนคณะราษฎรได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายพระราชกำหนดนิรโทษกรรม ซี่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษที่บังอาจกระทำการและกล่าวล่วงเกินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดจนพระราชวงศ์จักรี โดยพระองค์ได้ทรงย้ำถึงการปกครองด้วยวิธีมีพระธรรมนูญการปกครองนี้ว่า
“...เราก็ได้ดำริอยู่ก่อนแล้ว ที่ราษฎรคณะนี้กระทำมาเป็นการถูกต้องตามนิยมของเราอยู่ด้วย...”
หลังจากนั้น คณะราษฎรได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ โดยมีบัญญัติกฎหมายต่างๆ รวม ๓๙ มาตรา
และนี่เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีคนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน – ๙ ธันวาคม ๒๔๗๕
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖