ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สายสัมพันธ์…ที่อีตัน"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'หลักฐานที่แสดงถึงสายสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนชาว...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:


จนกระทั่งเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๔๐ ทางวิทยาลัยได้ปรับปรุงสวนนี้อีกครั้งหนึ่ง  โดยคงรูปแบบ โครงสร้างหลักให้เป็นเช่นเดียวกับเมื่อคราวที่พระมหากษัตริย์แห่งสยามเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมและยังคงรักษาสภาพนั้นมาจนปัจจุบัน
จนกระทั่งเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๔๐ ทางวิทยาลัยได้ปรับปรุงสวนนี้อีกครั้งหนึ่ง  โดยคงรูปแบบ โครงสร้างหลักให้เป็นเช่นเดียวกับเมื่อคราวที่พระมหากษัตริย์แห่งสยามเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมและยังคงรักษาสภาพนั้นมาจนปัจจุบัน


'''ที่มา '''
'''ที่มา '''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:07, 8 กันยายน 2558

หลักฐานที่แสดงถึงสายสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนชาวสยามคนแรกของโรงเรียน ผู้ที่ต่อมาทรงเป็นพระมหากษัตริย์กับวิทยาลัยอีตันยังคงแจ่มชัด แม้วันเวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน

พุทธศักราช ๒๔๗๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะศิษย์เก่า พระราชทานพระราชทรัพย์ ๒,๐๐๐ ปอนด์เพื่อแสดงความขอบคุณและระลึกถึงวิทยาลัยอีตัน ผู้บริหารวิทยาลัยนำเงินจำนวนนั้นมาใช้ปรับปรุงพื้นที่ของวิทยาลัย และจัดสรรพื้นที่บริเวณหนึ่งให้เป็นอนุสรณ์ ถวายพระเกียรติยศแด่พระมหากษัตริย์แห่งสยามและให้ชื่อว่า King of Siam’s Garden หรือ สวนแห่งกษัตริย์สยาม

อีก ๖ ปี ต่อมา คือเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระเนตรที่อังกฤษ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมสวนนี้พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

จนกระทั่งเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๔๐ ทางวิทยาลัยได้ปรับปรุงสวนนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยคงรูปแบบ โครงสร้างหลักให้เป็นเช่นเดียวกับเมื่อคราวที่พระมหากษัตริย์แห่งสยามเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมและยังคงรักษาสภาพนั้นมาจนปัจจุบัน

ที่มา

บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖