ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โครงสร้างอาเซียน"
ล หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' พัชร์ นิยมศิลป ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 11: | ||
== โครงสร้างอาเซียนหลังการจัดทำกฎบัตรอาเซียน == | == โครงสร้างอาเซียนหลังการจัดทำกฎบัตรอาเซียน == | ||
องค์กร องค์ประกอบ อำนาจและหน้าที่สำคัญ | {| border="1" align="center" | ||
1.ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ สมาชิกโดยมีการประชุมปีละ 2 ครั้ง กำหนดนโยบายและตัดสินใจเรื่องสำคัญ | |- | ||
!width="300" style="background:#87cefa;" | องค์กร | |||
2.คณะมนตรีประสานงานอาเซียน(ASEAN Coordinating Council) | !width="300" style="background:#87cefa;" | องค์ประกอบ | ||
!width="300" style="background:#87cefa;" | อำนาจและหน้าที่สำคัญ | |||
3.คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils) | |- | ||
|align="left" |1.ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) | |||
4.องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectorial Ministerial Bodies) | |align="left" | ประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ สมาชิกโดยมีการประชุมปีละ 2 ครั้ง | ||
|align="left" | กำหนดนโยบายและตัดสินใจเรื่องสำคัญ | |||
5. สำนักเลขาธิการอาเซียน(ASEAN Secretariat) | |- | ||
|2.คณะมนตรีประสานงานอาเซียน(ASEAN Coordinating Council) | |||
6. คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives to ASEAN ) | |align="left" |79 | ||
|align="left" |79 | |||
7.สำนักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) | |- | ||
|3.คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils) | |||
8.คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาล อาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Inter – governmental Commission on Human Rights :AICHR) | |align="left" |1 | ||
|align="left" |79 | |||
9.มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) | |- | ||
|4.องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectorial Ministerial Bodies) | |||
|align="left" |77 | |||
|align="left" |79 | |||
|- | |||
|5. สำนักเลขาธิการอาเซียน(ASEAN Secretariat) | |||
|align="left" |3 | |||
|align="left" |79 | |||
|- | |||
|6. คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives to ASEAN ) | |||
|align="center" |22 | |||
|align="left" |79 | |||
|- | |||
|7.สำนักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) | |||
|align="center" 8 | |||
|align="left" |79 | |||
|- | |||
|8.คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาล อาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน | |||
<br>(ASEAN Inter – governmental Commission on Human Rights :AICHR) | |||
|align="center" |8 | |||
|align="left" |79 | |||
|- | |||
|9.มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) | |||
|align="center" |8 | |||
|align="left" |79 | |||
|- | |||
|} | |||
จากตาราง จะเห็นได้ว่าโครงสร้างของอาเซียนได้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนหน้าที่หน่วยงานดังนี้ | จากตาราง จะเห็นได้ว่าโครงสร้างของอาเซียนได้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนหน้าที่หน่วยงานดังนี้ |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:47, 23 ธันวาคม 2557
ผู้เรียบเรียง พัชร์ นิยมศิลป
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ ดร. ไชยวัฒน์ ค้ำชู
โครงสร้างอาเซียนก่อนมีกฎบัตรอาเซียน
อาเซียนถือกำเนิดขึ้นมาในฐานะองค์กรของราชการ ที่เน้นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกบนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐเป็นสำคัญ กว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา รูปแบบความร่วมมือของอาเซียนมีฐานจากมิตรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสมาชิกอาศัยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และส่วนใหญ่จะไม่การกำหนดสิทธิหน้าที่ ตามกฎหมายระหว่างประเทศมากนั้น ด้วยเหตุนี้อาเซียนจึงมิได้สร้างธรรมนูญขององค์การเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์มาตั้งแต่ก่อตั้ง ดังนั้นโครงสร้างของอาเซียน จึงมีลักษณะแบบหลวมๆ ยืดหยุ่น และกลไกความร่วมมือพัฒนาเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
อย่างไรก็ดี เมื่อบริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เป้าหมายขององค์กรรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงและความเป็นอยู่ของประชาชน อาทิ ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาการค้ามนุษย์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาข้ามชาติ อาเซียนจึงต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆเหล่านี้ อย่างไรก็ดีโครงสร้างองค์กรที่วางกันไว้หลวมๆนั้นกลับเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ เช่น การที่อาเซียนยังไม่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ การที่อาเซียนไม่มีกลไกที่มีประสิทธิภาพพอที่จะบังคับให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตกลงกันไว้ได้ การประชุมที่มีมากเกินไปจนทำให้อาเซียนถูกเปรียบว่าเป็นเพียงเวทีพูดคุย (talk shop) ซึ่งหาได้ก่อให้เกิดมรรคผลในทางปฏิบัติมากเท่าใดนัก และประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ เป็นองค์กรที่ยังขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ดังนั้น อาเซียนจึงต้องมีการปรับตัว โดยอาเซียนคาดหวังว่าการจัดทำกฎบัตรอาเซียนจะเป็นเครื่องมือที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ เนื่องจาก เมื่อพิจารณาในเนื้อหาแล้วนั้น จะพบว่ากฎบัตรที่ร่างอยู่มีแนวคิดที่จะทำให้องค์กรอาเซียนเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างและกลไกที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยมีการประสานงานกันระหว่างผู้ที่รับผิดชอบด้านต่างๆอย่างมีเอกภาพ
โครงสร้างอาเซียนหลังการจัดทำกฎบัตรอาเซียน
องค์กร | องค์ประกอบ | อำนาจและหน้าที่สำคัญ |
---|---|---|
1.ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) | ประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ สมาชิกโดยมีการประชุมปีละ 2 ครั้ง | กำหนดนโยบายและตัดสินใจเรื่องสำคัญ |
2.คณะมนตรีประสานงานอาเซียน(ASEAN Coordinating Council) | 79 | 79 |
3.คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils) | 1 | 79 |
4.องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectorial Ministerial Bodies) | 77 | 79 |
5. สำนักเลขาธิการอาเซียน(ASEAN Secretariat) | 3 | 79 |
6. คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives to ASEAN ) | 22 | 79 |
7.สำนักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) | align="center" 8 | 79 |
8.คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาล อาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
|
8 | 79 |
9.มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) | 8 | 79 |
จากตาราง จะเห็นได้ว่าโครงสร้างของอาเซียนได้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนหน้าที่หน่วยงานดังนี้
1.เพิ่มเติมหน่วยงานใหม่ คือ
- 1.1.คณะมนตรีประสานงานอาเซียน ซึ่งประกอบไปด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก
- 1.2 คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน
- 1.3.คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
2.บทบาทใหม่ของเลขาธิการอาเซียน แต่เดิมเลขาธิการอาเซียน ภารกิจส่วนใหญ่เป็นงานบริหารมากกว่างานแสดงบทบาทในการริเริ่ม ผลักดัน ให้คำแนะนำด้านนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติของอาเซียน แต่หลังจากการสร้างกฎบัตรอาเซียนนั้น เลขาธิการอาเซียนมีอำนาจในการอำนวยความสะดวกและสอดส่องความคืบหน้า ในการอนุวัติการความตกลงและข้อตัดสินใจของอาเซียน ดูแลและรายงานเกี่ยวกับละเมิดพันธกรณี ทั้งนี้ บทบาทที่ต้องให้ความสำคัญจริงๆ คือ การเข้าแทรกแซงของเลขาธิการอาเซียนเมื่อเกิดความขัดแย้งของประเทศสมาชิก
3.สนับสนุนให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นองค์การที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมและสะท้อนนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อภาคประชาชนยิ่งขึ้น
จุดแข็งและจุดอ่อนของโครงสร้างอาเซียน
การปรับโครงสร้างอาเซียนภายหลังการจัดตั้งกฎบัตรอาเซียนนั้น สามารถสรุปถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของโครงสร้างดังนี้
3.1 จุดแข็ง
โครงสร้างขององค์การอาเซียนถูกปรับให้เป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการทำงานกันอย่างเป็นระบบ เช่น จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละเสาหลักของประชาคมอาเซียน กำหนดให้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียนปีละสองครั้ง เป็นต้น นอกจากนั้นกฎบัตรอาเซียน ได้ยืนยันสถานะนิติบุคคล (Legal Personality) แก่อาเซียนเป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ฉะนั้นการดำเนินงานของอาเซียนภายใต้กฎบัตรนี้ จะมีความสัมพันธ์ตามกฎกติกาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น โดยประทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามพันธกรณีทางกฎหมายมากขึ้น
3.2 จุดอ่อน
แม้กฎบัตรอาเซียนจะระบุถึงเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรที่มีฐานทางกฎหมาย ในขณะเดียวกันกฎบัตรอาเซียนยังคงเน้นย้ำหลักการและวัฒนธรรมทางการทูตในวิถีอาเซียน ซึ่งได้แก่ การปรึกษาหารือ การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน การใช้หลักฉันทามติในการตัดสินใจ การระงับข้อพิพาทโดยสันติ ไม่ใช้การรุกรานข่มขู่หรือการใช้กำลังแก้ปัญหา ดังนั้นวิถีอาเซียนข้างต้นนี้อาจกลายเป็นเครื่องมือที่ประเทศสมาชิกอาจอ้างเพื่อละทิ้งการปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อเห็นว่ากระทบอำนาจอธิปไตยแห่งชาติของตน กรณีการไม่แทรกแซงกิจการภายในนั้น เมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงในประเทศต่างๆ อาเซียนทำได้แต่เพียงออกมาแสดงความเป็นห่วงโดยไม่สามารถดำเนินการใดๆอย่างเป็นรูปธรรมได้ เช่น กรณีการคุมตัวนางออง ซาน ซูจี กรณีความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมและชาวพุทธในพม่า หรือการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงเป็นรัฐบาลที่มิได้มีที่มาตามรัฐธรรมนูญในประเทศไทย เป็นต้น
กรณีหลักฉันทามติ ยังคงเป็นหลักการพื้นฐานของการจัดตัดสินใจในอาเซียน
แม้กฎบัตรอาเซียนจะบัญญัติว่า หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นๆได้ตามที่ผู้นำกำหนด แต่ถึงกระนั้นก็ดี เป็นที่คาดหมายได้ว่า วิธีการที่ผู้นำอาเซียนจะใช้เพื่อตัดสินใจ ก็ยังใช้หลักฉันทามติเหมือนเดิม เพราะหลีกเลี่ยงการตัดสินที่กระทบกระเทือนประเทศสมาชิก ดังนั้นอาเซียนจะต้องเสียเวลากล่อมผู้ที่เห็นต่างให้ยอมรับข้อเสนอเหมือนๆกัน ครบทุกประเทศ
กรณีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน กฎบัตรอาเซียนไม่ได้กำหนดลักษณะและบทบาทที่ชัดเจน ทำให้กลไกสิทธิมนุษยชนที่ตั้งขึ้นเป็นเพียงเสือกระดาษไม่มีประสิทธิภาพในการปกป้องสิทธิมนุษยชนให้แก่พลเมืองอาเซียน ดังเห็นได้จากความนิ่งเฉยต่อเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายประเทศ อาทิ ความรุนแรงระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในพม่า การสั่งจำคุกบล็อกเกอร์ที่เขียนโจมตีรัฐบาลเวียดนามกว่า 30 คน เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. ASEAN Mini book . กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ,2556.
เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์. 2556. “อุปสรรคของประชาคมความมั่นคง.มิติโลกาภิวัฒน์.” http://www.mfa.go.th/asean/th/asean-media-center/2417/33215-อุปสรรคของประชาคมความมั่นคงอาเซียน.html (accessed 8 August 2014)
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.กฎบัตรอาเซียน.กรุงเทพฯ:สภานิติบัญญัติแห่งชาติ,2550.
ไทยโพสต์.2009.กระบวนทรรศน์ บทบาทของอาเซียนต่อประเด็นปัญหาพม่า. http://www.thaipost.net/node/4984 (accessed 8 August 2014)
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์.ปาฐกถาสาธารณะ”จากสมาคมสู่เรื่องจริงหรือนิยาย”.กรุงเทพฯ:มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.,2555.
พิษณุ สุวรรณะชฏ.สามทศวรรษอาเซียน.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.,2540.
ภาคิน นิมมานนรวงศ์.2556.สิทธิมนุษยชนอาเซียน:ตู้โชว์ความเป็นสากล.https://www.academia.edu/5351845/_22_._._56_(accessed 8 August 2014)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.2557.กฎบัตรอาเซียนคืออะไร. http://www.trang.psu.ac.th/asean/?p=26 (accessed 8 August 2014)
สุริชัย หวันแก้ว.อาเซียน สิ่งท้าทายใหม่และการปรับตัว.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์-การพิมพ์.,2548.
อรณิช รุ่งธิปานนท์. ภูมิภาคนิยมกับอาเซียน. กรุงเทพฯ:สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้เเทน ราษฏร.,2557.
The ASEAN Secretariat.SIGNIFICANCE OF THE ASEAN CHARTER. Indonesia:The Public Outreach and Society Division of The ASEAN Secretariat.,2010.