ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ประกอบการรัฐกิจ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
4.การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้านบุคลากร (เช่น การฝึกอบรม ระบบค่าตอบแทนและระบบคุณธรรม) เทคโนโลยี เพื่อช่วยให้หน่วยงานสามารถทำงานได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์
4.การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้านบุคลากร (เช่น การฝึกอบรม ระบบค่าตอบแทนและระบบคุณธรรม) เทคโนโลยี เพื่อช่วยให้หน่วยงานสามารถทำงานได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์


5.การเปิดกว้างต่อแนวคิดในเรื่องของการแข่งขัน ทั้งการแข่งขันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน และระหว่างหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของภาคเอกชน ในขณะเดียวกันภาครัฐก็หันมาทบทวนตัวเองว่าสิ่งใดควรทำเองและสิ่งใดควรปล่อยให้เอกชนทำ   
5.การเปิดกว้างต่อแนวคิดในเรื่องของการแข่งขัน ทั้งการแข่งขันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน และระหว่างหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของภาคเอกชน ในขณะเดียวกันภาครัฐก็หันมาทบทวนตัวเองว่าสิ่งใดควรทำเองและสิ่งใดควรปล่อยให้เอกชนทำ<ref>ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2540), การปฏิรูปภาคราชการสู่สภาพที่พึงปรารถนา: ทำอย่างไร ใครรับผิดชอบ, วารสารข้าราชการ.ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 ,หน้า 24-43 . </ref>  
   
   
นอกจากนี้ในการบริหารงานของรัฐ ยังได้มีการตรา[[พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ละวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546]] โดยกำหนดกรอบแนวทางในการบริหารราชการให้มีจุดมุ่งหมายคือ
นอกจากนี้ในการบริหารงานของรัฐ ยังได้มีการตรา[[พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ละวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546]] โดยกำหนดกรอบแนวทางในการบริหารราชการให้มีจุดมุ่งหมายคือ
บรรทัดที่ 46: บรรทัดที่ 46:
ประเทศไทยภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาระบบราชการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาพื้นฐานและจุดอ่อนของระบบราชการที่สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน และ การเร่งพัฒนาขีดสมรรถนะและเสริมสร้างความเข้มแข็ง อันจะช่วยทำให้ระบบราชการสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ ร่วมกับผู้บริหารราชการแผ่นดินฝ่ายการเมือง เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวข้ามผ่านออกจากภาวะวิกฤตและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้ลุล่วงไปด้วยดี รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกและยกระดับประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงนานาชาติ
ประเทศไทยภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาระบบราชการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาพื้นฐานและจุดอ่อนของระบบราชการที่สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน และ การเร่งพัฒนาขีดสมรรถนะและเสริมสร้างความเข้มแข็ง อันจะช่วยทำให้ระบบราชการสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ ร่วมกับผู้บริหารราชการแผ่นดินฝ่ายการเมือง เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวข้ามผ่านออกจากภาวะวิกฤตและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้ลุล่วงไปด้วยดี รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกและยกระดับประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงนานาชาติ
   
   
เป้าประสงค์หลักหรือผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการพัฒนาระบบราชการไทยตาม[[วิสัยทัศน์ใหม่]]ดังกล่าว สามารถแยกออกได้ 4 ประการ  คือ  
เป้าประสงค์หลักหรือผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการพัฒนาระบบราชการไทยตาม[[วิสัยทัศน์ใหม่]]ดังกล่าว สามารถแยกออกได้ 4 ประการ  คือ<ref>คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ,(2546), แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย  พ.ศ.2546-2550 ,ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2557 จาก http://www.rta.mi.th/data/oac_/090847-2.htm. </ref>
 
 
(1) พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น (Better Service Quality)
(1) พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น (Better Service Quality)
บรรทัดที่ 58: บรรทัดที่ 58:
[[แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546-2550)]] ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ ไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 4 โดยเร่งสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถสูงหรือระดับหัวกะทิ  เข้าสู่ระบบราชการไทย โดยมุ่งเน้นให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ของการพัฒนาระบบราชการ    ทั้งในระดับผู้บริหารระดับต้น    และผู้บริหารระดับอาวุโส  โดยอาจคัดเลือกจากข้าราชการที่มีอยู่ในปัจจุบันและบุคคลภายนอกทั่วไปที่มีขีดความสามารถและศักยภาพสูงให้เข้าสู่การอบรมในหลักสูตรพิเศษ ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการรัฐกิจ  
[[แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546-2550)]] ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ ไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 4 โดยเร่งสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถสูงหรือระดับหัวกะทิ  เข้าสู่ระบบราชการไทย โดยมุ่งเน้นให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ของการพัฒนาระบบราชการ    ทั้งในระดับผู้บริหารระดับต้น    และผู้บริหารระดับอาวุโส  โดยอาจคัดเลือกจากข้าราชการที่มีอยู่ในปัจจุบันและบุคคลภายนอกทั่วไปที่มีขีดความสามารถและศักยภาพสูงให้เข้าสู่การอบรมในหลักสูตรพิเศษ ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการรัฐกิจ  
   
   
แนวคิดผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เป็นแนวคิดของภาคธุรกิจหรือภาคเอกชน หมายถึง ผู้ที่คิดริเริ่มดำเนินธุรกิจของตนเอง มีการวางแผนการดำเนินการ ดำเนินธุรกิจโดยยอมรับความเสี่ยงเพื่อมุ่งหวังผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ  หรือผู้ที่มีความคิดที่จะสร้างธุรกิจขึ้นมาและทำให้ธุรกิจอยู่รอดและมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน   
แนวคิดผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เป็นแนวคิดของภาคธุรกิจหรือภาคเอกชน หมายถึง ผู้ที่คิดริเริ่มดำเนินธุรกิจของตนเอง มีการวางแผนการดำเนินการ ดำเนินธุรกิจโดยยอมรับความเสี่ยงเพื่อมุ่งหวังผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ<ref>เพ็ญศรี เลิศเกียรติวิทยา. (2546) , ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (กรุงเทพมหานคร: เอมพันธุ์),หน้า 2 . </ref> หรือผู้ที่มีความคิดที่จะสร้างธุรกิจขึ้นมาและทำให้ธุรกิจอยู่รอดและมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน<ref>ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา, ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท. (2552) , ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ .(กรุงเทพมหานคร: แมคกรอฮิล) , หน้า 2. </ref>  
แนวคิดผู้ประกอบการทำให้ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและยอมรับการเผชิญต่อความเสี่ยงที่ไม่แน่นอนเพื่อให้ได้ผลกำไรและความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงมีองค์ประกอบดังนี้   
 
แนวคิดผู้ประกอบการทำให้ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและยอมรับการเผชิญต่อความเสี่ยงที่ไม่แน่นอนเพื่อให้ได้ผลกำไรและความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงมีองค์ประกอบดังนี้<ref>จันติมา จันทร์เอียด. (2553) การเป็นผู้ประกอบการ.ใน ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการขั้นแนะนำ. (กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท) , หน้า 67-68. </ref>    
1.ต้องมี[[วิสัยทัศน์]]ที่ดีในการดำเนินธุรกิจ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความมานะอดทน ประหยัดทั้งใจ และมีความใฝ่ฝันที่จะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
1.ต้องมี[[วิสัยทัศน์]]ที่ดีในการดำเนินธุรกิจ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความมานะอดทน ประหยัดทั้งใจ และมีความใฝ่ฝันที่จะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
บรรทัดที่ 73: บรรทัดที่ 74:
6.มีความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ความเป็นได้ของธุรกิจและมีความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดี
6.มีความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ความเป็นได้ของธุรกิจและมีความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดี
 
 
แนวทางในการทำบุคลากรของรัฐให้เป็นผู้ประกอบการรัฐกิจมีแนวทางที่สำคัญดังนี้คือ
แนวทางในการทำบุคลากรของรัฐให้เป็นผู้ประกอบการรัฐกิจมีแนวทางที่สำคัญดังนี้คือ<ref>คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546), แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย  พ.ศ.2546-2550 , ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2557 จาก http://www.rta.mi.th/data/oac_/090847-2.htm. </ref>
    
    
1.เร่งสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถสูงเข้าสู่ระบบราชการไทย โดยมุ่งเน้นให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาระบบราชการ    ทั้งในระดับผู้บริหารระดับต้นและผู้บริหารระดับอาวุโส  โดยอาจคัดเลือกจากข้าราชการที่มีอยู่ในปัจจุบันและบุคคลภายนอกทั่วไปที่มีขีดความสามารถและศักยภาพสูงให้เข้าสู่การอบรมในหลักสูตรพิเศษ ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการรัฐกิจ
1.เร่งสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถสูงเข้าสู่ระบบราชการไทย โดยมุ่งเน้นให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาระบบราชการ    ทั้งในระดับผู้บริหารระดับต้นและผู้บริหารระดับอาวุโส  โดยอาจคัดเลือกจากข้าราชการที่มีอยู่ในปัจจุบันและบุคคลภายนอกทั่วไปที่มีขีดความสามารถและศักยภาพสูงให้เข้าสู่การอบรมในหลักสูตรพิเศษ ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการรัฐกิจ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:06, 7 ธันวาคม 2557

เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


ความหมายของผู้ประกอบการรัฐกิจ

ผู้ประกอบการรัฐกิจ (Public Entrepreneurship) หมายถึงบุคลากรภาครัฐที่เป็นผู้มีขีดความสามารถและศักยภาพสูง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาระบบราชการ ทั้งในระดับผู้บริหารระดับต้น และผู้บริหารระดับอาวุโส เพื่อปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐโดยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการและการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางการบริหารภาครัฐแนวใหม่และสอดคล้องกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ความสำคัญ

กระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ต้องเพิ่มศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบที่เปลี่ยนแปลงไป

ระบบราชการไทยต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาการบริหารจัดการของภาครัฐเพื่อไปสู่องค์กรสมัยใหม่ เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงก่อให้เกิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่( New Public Management) ที่เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการภาครัฐซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ของภาครัฐและยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม มีแนวทางในการบริหารจัดการที่สำคัญคือ

1.การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน

2.ลดการควบคุมจากส่วนกลางและเพิ่มอิสระในการบริหารให้แก่หน่วยงาน

3.การกำหนด การวัด และการให้รางวัลแก้ผลการดำเนินงานทั้งในระดับองค์กร และระดับบุคคล

4.การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้านบุคลากร (เช่น การฝึกอบรม ระบบค่าตอบแทนและระบบคุณธรรม) เทคโนโลยี เพื่อช่วยให้หน่วยงานสามารถทำงานได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์

5.การเปิดกว้างต่อแนวคิดในเรื่องของการแข่งขัน ทั้งการแข่งขันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน และระหว่างหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของภาคเอกชน ในขณะเดียวกันภาครัฐก็หันมาทบทวนตัวเองว่าสิ่งใดควรทำเองและสิ่งใดควรปล่อยให้เอกชนทำ[1]

นอกจากนี้ในการบริหารงานของรัฐ ยังได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ละวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยกำหนดกรอบแนวทางในการบริหารราชการให้มีจุดมุ่งหมายคือ

(1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

(2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

(3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

(4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

(5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

(6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

(7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

การบริหารภาครัฐที่มีประสิทธิภาพนี้จะเกิดขึ้นได้จำเป็นที่จะต้องมีบุคลลากรภาครัฐที่เป็นผู้มีขีดความสามารถและศักยภาพสูง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า ผู้ประกอบการรัฐกิจ (Public Entrepreneurship)

แนวคิดผู้ประกอบการในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย

ประเทศไทยภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาระบบราชการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาพื้นฐานและจุดอ่อนของระบบราชการที่สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน และ การเร่งพัฒนาขีดสมรรถนะและเสริมสร้างความเข้มแข็ง อันจะช่วยทำให้ระบบราชการสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ ร่วมกับผู้บริหารราชการแผ่นดินฝ่ายการเมือง เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวข้ามผ่านออกจากภาวะวิกฤตและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้ลุล่วงไปด้วยดี รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกและยกระดับประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงนานาชาติ

เป้าประสงค์หลักหรือผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการพัฒนาระบบราชการไทยตามวิสัยทัศน์ใหม่ดังกล่าว สามารถแยกออกได้ 4 ประการ คือ[2]

(1) พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น (Better Service Quality)

(2) ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม (Rightsizing)

(3) ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล (High Performance) และ

(4) ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democratic Governance)

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546-2550) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ ไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 4 โดยเร่งสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถสูงหรือระดับหัวกะทิ เข้าสู่ระบบราชการไทย โดยมุ่งเน้นให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของการพัฒนาระบบราชการ ทั้งในระดับผู้บริหารระดับต้น และผู้บริหารระดับอาวุโส โดยอาจคัดเลือกจากข้าราชการที่มีอยู่ในปัจจุบันและบุคคลภายนอกทั่วไปที่มีขีดความสามารถและศักยภาพสูงให้เข้าสู่การอบรมในหลักสูตรพิเศษ ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการรัฐกิจ

แนวคิดผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เป็นแนวคิดของภาคธุรกิจหรือภาคเอกชน หมายถึง ผู้ที่คิดริเริ่มดำเนินธุรกิจของตนเอง มีการวางแผนการดำเนินการ ดำเนินธุรกิจโดยยอมรับความเสี่ยงเพื่อมุ่งหวังผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ[3] หรือผู้ที่มีความคิดที่จะสร้างธุรกิจขึ้นมาและทำให้ธุรกิจอยู่รอดและมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน[4]

แนวคิดผู้ประกอบการทำให้ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและยอมรับการเผชิญต่อความเสี่ยงที่ไม่แน่นอนเพื่อให้ได้ผลกำไรและความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงมีองค์ประกอบดังนี้[5]

1.ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการดำเนินธุรกิจ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความมานะอดทน ประหยัดทั้งใจ และมีความใฝ่ฝันที่จะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย

2.มีจริยธรรมในการดำเนินการ

3.สามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดปัญหา

4.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นความแตกต่าง

5.มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในธุรกิจ เพื่อให้ทันต่อสภาพสังคมปัจจุบัน

6.มีความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ความเป็นได้ของธุรกิจและมีความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดี

แนวทางในการทำบุคลากรของรัฐให้เป็นผู้ประกอบการรัฐกิจมีแนวทางที่สำคัญดังนี้คือ[6]

1.เร่งสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถสูงเข้าสู่ระบบราชการไทย โดยมุ่งเน้นให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาระบบราชการ ทั้งในระดับผู้บริหารระดับต้นและผู้บริหารระดับอาวุโส โดยอาจคัดเลือกจากข้าราชการที่มีอยู่ในปัจจุบันและบุคคลภายนอกทั่วไปที่มีขีดความสามารถและศักยภาพสูงให้เข้าสู่การอบรมในหลักสูตรพิเศษ ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการรัฐกิจ

2.พิจารณาความเป็นไปได้ของการนำระบบการเลือกสรรระบบเปิดที่เน้นหลักสมรรถนะการบริหารจัดการมาใช้กับผู้บริหารระดับสูงทุกตำแหน่ง

3.ทบทวนและปรับเปลี่ยนระบบการจำแนกตำแหน่ง และค่าตอบแทนให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ การแข่งขัน ความขาดแคลน และการบริหารราชการแนวใหม่ โดยปรับระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น หลากหลายและแตกต่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ตำแหน่งและความก้าวหน้าในสายอาชีพ เงื่อนไขการจ้างงาน การออกจากราชการเงินเดือนค่าตอบแทนและสวัสดิการ การวัดและประเมินผลบุคคล เป็นต้น ซึ่งอาจแยกออกได้ในมิติต่างๆ เช่น ด้านศักยภาพ/สมรรถภาพ ด้านสายอาชีพ เป็นต้น

3.1 มิติด้านศักยภาพ/สมรรถภาพ โดยอาจแยกออกเป็นระบบบริหารงานบุคคลสำหรับกลุ่มข้าราชการผู้มีขีดความสามารถสูง และระบบบริหารงานบุคคลสำหรับกลุ่มข้าราชการสายปกติ

3.2 มิติด้านสายอาชีพ โดยอาจแยกออกเป็นระบบบริหารงานบุคคลสำหรับกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น ครู-อาจารย์ แพทย์ พยาบาล ทหาร ตำรวจ อัยการ เป็นต้น

4.เพิ่มผลิตภาพของข้าราชการ โดยให้มีการจัดทำเป้าหมายการทำงาน ขีดความสามารถ และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของแต่ละบุคคลอย่างเป็นระบบมากขึ้น รวมถึงการเชื่อมโยงให้เข้ากับการสร้างแรงจูงใจ

5.ให้แต่ละส่วนราชการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเชิงยุทธศาสตร์ โดยยึดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์การ และขีดความสามารถที่จำเป็น (Competency-based Approach)

6.ปรับปรุงขีดสมรรถนะของศูนย์พัฒนาและโอนถ่ายบุคลากรภาครัฐ รวมทั้งจัดให้มีตำแหน่งทดแทนหรือสำรองราชการขึ้นในระบบข้าราชการพลเรือน เพื่อประโยชน์ในการหมุนเวียน โอนย้าย และพัฒนาข้าราชการ

7.พัฒนากลไกและกระบวนการในการรักษาและปกป้องระบบคุณธรรมในวงราชการ รวมถึงการปรับปรุงระบบวินัย อุทธรณ์และร้องทุกข์ให้มีความเหมาะสม

ผลลัพธ์ของผู้ประกอบการรัฐกิจคือการที่บุคลากรภาครัฐมีวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการของเอกชนในการบริหารงานภาครัฐ ซึ่งจะทำให้เกิดการยกระดับการให้บริการและการทํางาน เพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อน หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่างๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถ ในการเรียนรู้คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่างๆ และเกิดระบบการกํากับดูแลตนเองที่ดีเกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสํานึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชนและต่อสังคมโดยรวม

บรรณานุกรม

ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา, ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (กรุงเทพมหานคร: แมคกรอฮิล, 2552) หน้า 2

จันติมา จันทร์เอียด,การเป็นผู้ประกอบการ.ใน ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการขั้นแนะนำ(กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.2553) หน้า 67-68

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2540), การปฏิรูปภาคราชการสู่สภาพที่พึงปรารถนา: ทำอย่างไร ใครรับผิดชอบ วารสารข้าราชการ.ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 หน้า 24-43

เพ็ญศรี เลิศเกียรติวิทยา, ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (กรุงเทพมหานคร: เอมพันธุ์, 2546) หน้า 2

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ,(2546), แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2546-2550 ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2557 จาก http://www.rta.mi.th/data/oac_/090847-2.htm

  1. ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2540), การปฏิรูปภาคราชการสู่สภาพที่พึงปรารถนา: ทำอย่างไร ใครรับผิดชอบ, วารสารข้าราชการ.ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 ,หน้า 24-43 .
  2. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ,(2546), แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2546-2550 ,ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2557 จาก http://www.rta.mi.th/data/oac_/090847-2.htm.
  3. เพ็ญศรี เลิศเกียรติวิทยา. (2546) , ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (กรุงเทพมหานคร: เอมพันธุ์),หน้า 2 .
  4. ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา, ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท. (2552) , ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ .(กรุงเทพมหานคร: แมคกรอฮิล) , หน้า 2.
  5. จันติมา จันทร์เอียด. (2553) การเป็นผู้ประกอบการ.ใน ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการขั้นแนะนำ. (กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท) , หน้า 67-68.
  6. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546), แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2546-2550 , ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2557 จาก http://www.rta.mi.th/data/oac_/090847-2.htm.