ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผนปฏิบัติราชการ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
การปฏิรูประบบราชการในพ.ศ. 2545 ได้นำแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้   
การปฏิรูประบบราชการในพ.ศ. 2545 ได้นำแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้   


1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน


2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ


3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ


4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น


5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์


6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ


7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ


เพื่อให้การบริหารราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ จึงได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้าโดยมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
เพื่อให้การบริหารราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ จึงได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้าโดยมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
บรรทัดที่ 32: บรรทัดที่ 32:
ภายหลังจากการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้ส่วนราชการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยจัดทำแผนเป็น 2 ประเภท คือ
ภายหลังจากการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้ส่วนราชการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยจัดทำแผนเป็น 2 ประเภท คือ


1) แผนปฏิบัติราชการสี่ปี  
1) แผนปฏิบัติราชการสี่ปี  


เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ นโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ โดยส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่แผนการบริหารราชการแผ่นดินประกาศในราชกิจจานุเบกษา  
เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ นโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ โดยส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่แผนการบริหารราชการแผ่นดินประกาศในราชกิจจานุเบกษา  


2) แผนปฏิบัติราชการประจำปี
2) แผนปฏิบัติราชการประจำปี


เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแผนที่ส่วนราชการจะดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณ  โดยส่วนราชการจะจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีก่อนเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี  โดยแผนปฏิบัติราชการประจำปีจะระบุนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ  
เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแผนที่ส่วนราชการจะดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณ  โดยส่วนราชการจะจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีก่อนเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี  โดยแผนปฏิบัติราชการประจำปีจะระบุนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:18, 21 ตุลาคม 2557

เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


แผนปฏิบัติราชการหมายถึงแผนสี่ปี่ที่จัดทำโดยส่วนราชการซึ่งสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ในแต่ละปีงบประมาณส่วนราชการจะจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประกอบด้วยนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ โดยแผนปฏิบัติราชการจะต้องเสนอต่อรัฐมนตรี

ความสำคัญ

การปฏิรูประบบราชการในพ.ศ. 2545 ได้นำแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้

1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อให้การบริหารราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ จึงได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้าโดยมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ

ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด แผนปฏิบัติราชการที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือดำเนินการเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและประโยชน์สุขของประชาชนซึ่งหมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ โดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ

รายละเอียดของแผนปฏิบัติราชการ

ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยแผนบริหารราชการแผ่นดินเป็นแผนสี่ปี ที่นำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้ส่วนราชการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยจัดทำแผนเป็น 2 ประเภท คือ

1) แผนปฏิบัติราชการสี่ปี

เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ นโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ โดยส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่แผนการบริหารราชการแผ่นดินประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2) แผนปฏิบัติราชการประจำปี

เป็นแผนปฏิบัติราชการที่ส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) จัดทำ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแผนที่ส่วนราชการจะดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณ โดยส่วนราชการจะจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีก่อนเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยแผนปฏิบัติราชการประจำปีจะระบุนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ

แผนปฏิบัติราชการจะต้องเสนอให้รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ จากนั้นสำนักงบประมาณจะดำเนินการจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการนั้น เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจตามแผนปฏิบัติราชการ

การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีจึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญของทุกส่วนราชการ เพราะส่วนราชการที่มิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการหรือแผนปฏิบัติราชการไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี สำนักงบประมาณจะไม่จัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น

เพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี เมื่อมีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามแผนปฏิบัติราชการแล้ว จะไม่สามารถโอนงบประมาณจากภารกิจที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดำเนินการอย่างอื่นหรือนำไปใช้ในภารกิจใหม่ที่มิได้กำหนดในแผนปฏิบัติราชการ เพราะจะทำให้ภารกิจไม่บรรลุเป้าหมาย การโอนงบประมาณจะกระทำได้เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการปรับแผนปฏิบัติราชการ โดยการปรับแผนจะกระทำได้เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่าภารกิจนั้นไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หรือหมดความจำเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์ หรือหากดำเนินการต่อไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น หรือมีความจำเป็นอย่างอื่นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการ

เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับแผนปฏิบัติราชการแล้ว จะต้องดำเนินการแก้ไขแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกัน

เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ทุกส่วนราชการจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ สั่งการ ทั้งนี้ เพื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนด นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป

หนังสืออ่านประกอบ

วรเดช จันทรศร,แผนปฏิรูประบบราชการ : การสร้างการยอมรับและความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติ, (กรุงเทพมหานคร : โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2544).