ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักเลือกตั้ง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Tora (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: {{รอผู้ทรง}} ---- '''ผู้เรียบเรียง''' โอฬาร ถิ่นบางเตียว ---- '''นักเ...
 
Tora (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 2: บรรทัดที่ 2:
----
----


'''ผู้เรียบเรียง''' โอฬาร  ถิ่นบางเตียว
'''ผู้เรียบเรียง''' โอฬาร  ถิ่นบางเตียว และ  รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
----
----



รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:21, 13 กุมภาพันธ์ 2552

บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ


ผู้เรียบเรียง โอฬาร ถิ่นบางเตียว และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


นักเลือกตั้ง หมายถึง ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ได้มีอุดมการณ์ทางการเมือง ไม่จุดยืนทางการเมืองที่แน่นอน ไม่มีจริยธรรรมและคุณธรรมทางการเมือง และพยายามสร้างสำนึกจอมปลอมว่าตนเองมีฐานะเป็นตัวแทนของประชาชน บุคคลเหล่านี้จะลงสมัครเลือกตั้งทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง โดยไม่สนใจวิธีการได้มาของชัยชนะมุ่งหวังเพียงอย่างเดียวได้รับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะทุจริตการเลือกตั้งก็ตาม ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตนเองและพวกได้เป็นตัวแทนของประชาชนโดยผ่านพิธีกรรมการทางการเลือกตั้ง

นักเลือกตั้งจะมีเครือข่ายอำนาจอิทธิพลกว้างขวางในเขตเลือกตั้ง เป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของท้องถิ่น เป็นที่พึ่งพาอาศัยของประชาชนในเรื่องต่างๆ ทั้งนี้นักเลือกตั้งจะมีการจัดระบบเครือข่ายหัวคะแนนที่มีประสิทธิภาพ ฐานเสียงที่หนาแน่นในท้องถิ่น เป็นการเกื้อกูลโอกาสได้รับชัยชนะสูงในสนามการเลือกตั้ง ทำให้นักเลือกตั้งเหล่านี้มีต้นทุนทางการเมืองสูงและมีโอกาสได้รับชัยชนะทุกครั้งในการเลือกตั้ง จุดยืนหรืออุดมการณ์ทางการเมืองของนักเลือกตั้งจึงไม่ใช่สาระสำคัญที่ประชานจะพิจารณามากกว่าระบบอุปถัมภ์และอำนาจเงิน

นักเลือกตั้งเหล่านี้มักไม่มีจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจน มักจะมีเปลี่ยนพรรคการเมืองอยู่เสมอขึ้นอยู่กับการเสนอเงินเพื่อซื้อตัวของพรรคการเมือง หรือแกนนำกลุ่มการเมืองหลักด้วยเงินจำนวนมากจนเป็นที่พอใจ รวมถึงการต่อรองตำแหน่งทางการเมือง นักเลือกตั้งมักจะอาศัยคะแนนนิยมของพรรคการเมืองเพื่อที่ตนเองและกลุ่มจะได้เกาะกระแสในสนามการเลือกตั้ง การคำนวนแนวโน้มพรรคการเมืองที่จะได้จัดตั้งรัฐบาล เป็นข้อพิจารณาหลักของนักเลือกตั้งมากกว่าจุดยืนและอุดมการณ์ทางการเมือง

นักเลือกตั้งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัวเองผ่านทางสื่อต่าง ๆ โดยอาศัยหลักการตลาดและการประชาสัมพันธ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดโน้มน้าวใจคนและระดมมวลชนโดยอาศัยหลักจิตวิทยามวลชน

วัตถุประสงค์สำคัญของนักเลือกตั้งหลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งแล้วก็อาศัยช่องทางทางการเมืองเพื่อเข้าไปการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยมีการรวมกันของนักเลือกตั้งเป็นกลุ่มการเมืองไปต่อรองและจัดสรรผลประโยชน์ เช่น ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ ตำแหน่งประธานกรรมาธิการ เป็นต้น นักเลือกตั้งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกภายในกลุ่มภายใต้ระบบธุรกิจการเมือง