ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยากัลยาณไมตรี (Dr. Francis Bowes Sayre)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
==บทนำ== | ==บทนำ== | ||
หากกล่าวถึงบุคคลที่เป็นชาวต่างชาติที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทย ที่เข้ามารับราชการในประเทศสยาม หรือประเทศไทยในปัจจุบัน และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยากัลยาณไมตรี” มี ๒ ท่าน คือ [[พระยากัลยาณไมตรี เจนส์ ไอ. เวสสเตนการด์]] (Jens Iverson Westengard) เพราะท่านเป็น บุคคลที่มีผลงานด้านนโยบายภายในและภายนอกประเทศโดยเฉพาะกับการแก้ไขปัญหาพรมแดน และการผ่อนคลายปัญหาเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และท่านที่ ๒ คือ พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เพราะท่านเป็นบุคคลที่ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งปวงในสมัยจักรวรรดินิยม ทำให้[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ท่านทั้งสองคนให้เป็น “'''พระยากัลยาณไมตรี'''” | หากกล่าวถึงบุคคลที่เป็นชาวต่างชาติที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทย ที่เข้ามารับราชการในประเทศสยาม หรือประเทศไทยในปัจจุบัน และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยากัลยาณไมตรี” มี ๒ ท่าน คือ [[พระยากัลยาณไมตรี เจนส์ ไอ. เวสสเตนการด์]] (Jens Iverson Westengard) เพราะท่านเป็น บุคคลที่มีผลงานด้านนโยบายภายในและภายนอกประเทศโดยเฉพาะกับการแก้ไขปัญหาพรมแดน และการผ่อนคลายปัญหาเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และท่านที่ ๒ คือ พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เพราะท่านเป็นบุคคลที่ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งปวงในสมัยจักรวรรดินิยม ทำให้[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ท่านทั้งสองคนให้เป็น “'''พระยากัลยาณไมตรี'''” <ref>สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. “พระยากัลยาณไมตรี”. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.literatureandhistory.go.th/index.php?app=academic&fnc=showlist&cateid=๑๐๒๔&apptype=academic๔. (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖). หน้า ๑.</ref> | ||
==ประวัติของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ==ประวัติของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ||
พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เป็นชาวอเมริกา บุตรของนายโรเบิรต์ และนางมาร์ธา ฟินเล่ย์ เนวิน (Robert and Martha Finley Nevin) เกิดทางตอนใต้ของเมืองเซาท์เบทเลเฮม (South Bethlehem) รัฐเพนซิลวาเนีย (Pennsylvania) เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๘ | พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เป็นชาวอเมริกา<ref>อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๖๙๙.</ref> บุตรของนายโรเบิรต์ และนางมาร์ธา ฟินเล่ย์ เนวิน (Robert and Martha Finley Nevin) เกิดทางตอนใต้ของเมืองเซาท์เบทเลเฮม (South Bethlehem) รัฐเพนซิลวาเนีย (Pennsylvania) เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๘<ref>Steve Hissem San Diego, The Heysham – Sayre Branch [online], accessed ๒๙ May ๒๐๑๔. Available from http://www.shissem.com/Hissem_Heysham-Sayre_Branch.html</ref> | ||
==การสมรสของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ==การสมรสของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ||
ได้สมรสกับนางสาวเจสซี วูดโรว์ วิลสัน (Jessie Woodrow Wilson) บุตรตรีของวูดโรว์ วิสสัน (Woodrow Wilson) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยมีพิธีมงคลสมรสที่ทำเนียบขาว เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. | ได้สมรสกับนางสาวเจสซี วูดโรว์ วิลสัน (Jessie Woodrow Wilson) บุตรตรีของวูดโรว์ วิสสัน (Woodrow Wilson) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยมีพิธีมงคลสมรสที่ทำเนียบขาว เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖1. <ref>Diego, The Heysham – Sayre Branch. </ref> มีบุตรชื่อ “ฟรานซิส บี. แซร์ จูเนียร์.” (Francis Bowes Sayre Jr.) , “เอเลนอร์ แอกสัน แซร์” (Eleanor Axson Sayre) และ “วูดโรว์ วิลสัน แซร์” (Woodrow Wilson Sayre)<ref>Ibid. </ref> หลังจากภรรยาคนแรกถึงแก่กรรม ก็ได้สมรสอีกครั้งกับนางเอลิซาเบธ อีแวนส์ เกรฟส์ (Elizabeth Evans Graves) เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐ <ref>อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๑.</ref> | ||
==การศึกษาของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ==การศึกษาของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
จบการศึกษาจากวิทยาลัยวิลเลียมส์ (Williams College) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ | จบการศึกษาจากวิทยาลัยวิลเลียมส์ (Williams College) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ | ||
ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต | ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด7. <ref>Diego, The Heysham – Sayre Branch. </ref> (LL.B. ย่อมาจาก Bachelor of Laws) <ref>พจนานุกรมไทย – ดิกชันนารี่. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.online-english-thai-dictionary.com/?word=ll.b.&d=๑&m=0&p=๑ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖). </ref> ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ | ||
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมาย ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ | ปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมาย ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ <ref>อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๑.</ref> | ||
==ประสบการณ์การทำงานของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก่อนเข้ามารับราชการในประเทศไทย== | ==ประสบการณ์การทำงานของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก่อนเข้ามารับราชการในประเทศไทย== | ||
เป็นผู้ช่วยอธิการบดีวิทยาลัยวิลเลียมส์ (Williams College) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๖๐ | เป็นผู้ช่วยอธิการบดีวิทยาลัยวิลเลียมส์ (Williams College) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๖๐<ref>เรื่องเดียวกัน, ๗๐๑.</ref> | ||
เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย Princeton ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ – ๒๔๖๔ | เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย Princeton ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ – ๒๔๖๔ <ref>Everyone Can Study @Harvard Business School ตอน ๓ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ ม.ฮาร์วาร์ด. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=๖๖๙๔๔๒ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖). </ref> | ||
เป็นอาจารย์วิชาการปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ – ๒๔๖๖ | เป็นอาจารย์วิชาการปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ – ๒๔๖๖ | ||
เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ในวิชากฎหมา<ref>อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๑.</ref>ย | |||
==การเข้ามาเมืองไทยของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ==การเข้ามาเมืองไทยของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ ๕ ประเทศสยามมีความสัมพันธ์อันดีกับมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสมัยนั้น พระองค์ได้ว่าจ้างมิสเตอร์ เจนส์ ไอ. เวสสเตนการด์ (Jens Iverson Westengard) ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้มาเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เพราะถูกรุกล้ำดินแดนและเอาเปรียบหลายๆ อย่างจากประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส รวมถึงชาติอื่นๆ | ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ ๕ ประเทศสยามมีความสัมพันธ์อันดีกับมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสมัยนั้น พระองค์ได้ว่าจ้างมิสเตอร์ เจนส์ ไอ. เวสสเตนการด์ (Jens Iverson Westengard) ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้มาเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เพราะถูกรุกล้ำดินแดนและเอาเปรียบหลายๆ อย่างจากประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส รวมถึงชาติอื่นๆ | ||
ในขณะที่ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) กำลังทำการสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด คณบดีก็ได้เรียกท่านเข้าไปพูดคุยและถามว่า “'''จะไปทำงานที่ตะวันออกไกลในตำแหน่งที่ปรึกษาการต่างประเทศของพระเจ้าแผ่นดินสยามบ้างไหม'''” แน่นอนว่าแม้ตอนนั้นจะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ฮาร์เวิร์ดหลายคนเคยไปเป็นที่ปรึกษา แต่ในขณะนั้นนอกจากตัวท่านเองแล้วก็ยังมีบุตรอีก ๓ คน ที่ต้องดูแลอีก ซึ่งคนโตก็อายุเพียง ๘ ปี และคนเล็กก็อายุเพียง ๔ ปีเท่านั้น แต่เมื่อได้พูดคุยกับเหล่ามิชชันนารีถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในกรุงเทพฯ ท่านจึงตัดสินใจไป แต่กำหนดระยะเวลาที่จะอยู่ประเทศสยามเอาไว้เพียง ๑ ปีเท่านั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก็ได้เข้ามารับราชการในเมืองไทย เป็นที่ปรึกษาการต่างประเทศ ขณะนั้นเมืองไทยกำลังมุ่งที่จะขอแก้ไขสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีที่ประเทศไทยเคยทำไว้กับนานาประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอำนาจศาล และการภาษีอากร ซึ่งประเทศไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ จนสามารถดำเนินการแก้ไขสนธิสัญญาสำเร็จกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศฮอล์แลนด์ ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศเดนมาร์ก ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน ประเทศสเปน และประเทศโปรตุเกสได้สำเร็จ | ในขณะที่ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) กำลังทำการสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด คณบดีก็ได้เรียกท่านเข้าไปพูดคุยและถามว่า “'''จะไปทำงานที่ตะวันออกไกลในตำแหน่งที่ปรึกษาการต่างประเทศของพระเจ้าแผ่นดินสยามบ้างไหม'''” แน่นอนว่าแม้ตอนนั้นจะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ฮาร์เวิร์ดหลายคนเคยไปเป็นที่ปรึกษา แต่ในขณะนั้นนอกจากตัวท่านเองแล้วก็ยังมีบุตรอีก ๓ คน ที่ต้องดูแลอีก ซึ่งคนโตก็อายุเพียง ๘ ปี และคนเล็กก็อายุเพียง ๔ ปีเท่านั้น แต่เมื่อได้พูดคุยกับเหล่ามิชชันนารีถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในกรุงเทพฯ ท่านจึงตัดสินใจไป แต่กำหนดระยะเวลาที่จะอยู่ประเทศสยามเอาไว้เพียง ๑ ปีเท่านั้น <ref>กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. ยอดคน ผู้พลิกประวัติศาสตร์ไทย ๓๐ Persons Who Changed Thai’s History. (กรุงเทพฯ : ปาเจรา, ๒๕๕๒), หน้า ๗๐. </ref> ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก็ได้เข้ามารับราชการในเมืองไทย เป็นที่ปรึกษาการต่างประเทศ ขณะนั้นเมืองไทยกำลังมุ่งที่จะขอแก้ไขสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีที่ประเทศไทยเคยทำไว้กับนานาประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอำนาจศาล และการภาษีอากร ซึ่งประเทศไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ จนสามารถดำเนินการแก้ไขสนธิสัญญาสำเร็จกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศฮอล์แลนด์ ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศเดนมาร์ก ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน ประเทศสเปน และประเทศโปรตุเกสได้สำเร็จ<ref>อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๐.</ref> | ||
==พระราชทานบรรดาศักดิ์หรือยศของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ==พระราชทานบรรดาศักดิ์หรือยศของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ||
บรรทัดที่ 44: | บรรทัดที่ 44: | ||
ในยุคจักรวรรดินิยม ขณะนั้นประเทศสยามถูกเอารัดเอาเปรียบโดยสนธิสัญญาเก่าแก่ต่างๆ โดยอ้างถึงความป่าเถื่อนและความล้าหลังของกฎหมาย ทำให้ไม่ยอมให้ชาวต่างชาติขึ้นศาลไทยและไม่ยอมให้เก็บภาษีเกินร้อยละ ๓ ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวเป็นปัญหาให้กับคนไทยมาช้านาน เพราะไม่อาจทำให้ประเทศสยามก้าวหน้าไปไหนได้ ซึ่งสัญญาที่เป็นปัญหาหนัก ก็คือ “'''สนธิสัญญาเบาริ่ง'''” ที่ทำในสมัยรัชกาลที่ ๓ และ “'''สนธิสัญญาเบานี่'''” ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งประเทศสยามมีข้อเสียเปรียบอยู่หลายจุด | ในยุคจักรวรรดินิยม ขณะนั้นประเทศสยามถูกเอารัดเอาเปรียบโดยสนธิสัญญาเก่าแก่ต่างๆ โดยอ้างถึงความป่าเถื่อนและความล้าหลังของกฎหมาย ทำให้ไม่ยอมให้ชาวต่างชาติขึ้นศาลไทยและไม่ยอมให้เก็บภาษีเกินร้อยละ ๓ ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวเป็นปัญหาให้กับคนไทยมาช้านาน เพราะไม่อาจทำให้ประเทศสยามก้าวหน้าไปไหนได้ ซึ่งสัญญาที่เป็นปัญหาหนัก ก็คือ “'''สนธิสัญญาเบาริ่ง'''” ที่ทำในสมัยรัชกาลที่ ๓ และ “'''สนธิสัญญาเบานี่'''” ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งประเทศสยามมีข้อเสียเปรียบอยู่หลายจุด | ||
เวลาต่อมา ประเทศสยามได้ร่วมส่งทหารไปรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ รวมถึงประกาศสงครามกับประเทศเยอรมัน ประเทศสยามถือโอกาสนี้เจรจายกเลิกสัญญาที่ถูกเอาเปรียบทั้งสองฉบับ โดยมี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เป็นผู้ทำการเจรจา ซึ่งกว่าจะสำเร็จก็กินเวลานานพอสมควร เพราะการเดินทางในสมัยนั้นยากลำบากมาก ซึ่งการเจรจาปลดแอกสนธิสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นที่พระราชวังแวร์ซาย โดย[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]]มาประชุมกันอย่างพร้อมหน้า หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ ๑]] ประเทศสยามจึงเรียกร้องให้มีการ ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งในขณะนั้น มีเพียงประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ยอมโดยดี แต่ประเทศอื่นๆ นั้นไม่ได้ง่ายเลย ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) จะต้องเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อที่จะเจรจายกเลิกสัญญาได้เป็นผล แต่ในที่สุดท่านก็สามารถเจรจาให้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ก็ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “'''พระยากัลยาณไมตรี'''” ซึ่งมีความหมายถึงมิตรภาพอันงดงามที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมีต่อกัน โดยเป็นชาวต่างชาติอีกคนที่ได้ตำแหน่งนี้ และยังมีการจัดงานเลี้ยงต้อนรับอย่างสมเกียรติ | เวลาต่อมา ประเทศสยามได้ร่วมส่งทหารไปรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ รวมถึงประกาศสงครามกับประเทศเยอรมัน ประเทศสยามถือโอกาสนี้เจรจายกเลิกสัญญาที่ถูกเอาเปรียบทั้งสองฉบับ โดยมี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เป็นผู้ทำการเจรจา ซึ่งกว่าจะสำเร็จก็กินเวลานานพอสมควร เพราะการเดินทางในสมัยนั้นยากลำบากมาก ซึ่งการเจรจาปลดแอกสนธิสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นที่พระราชวังแวร์ซาย โดย[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]]มาประชุมกันอย่างพร้อมหน้า หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ ๑]] ประเทศสยามจึงเรียกร้องให้มีการ ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งในขณะนั้น มีเพียงประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ยอมโดยดี แต่ประเทศอื่นๆ นั้นไม่ได้ง่ายเลย ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) จะต้องเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อที่จะเจรจายกเลิกสัญญาได้เป็นผล แต่ในที่สุดท่านก็สามารถเจรจาให้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ก็ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “'''พระยากัลยาณไมตรี'''”<ref>กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๑.</ref> ซึ่งมีความหมายถึงมิตรภาพอันงดงามที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมีต่อกัน<ref>ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. ถนนกัลยาณไมตรี. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.lib.su.ac.th/rattanagosin_web/?q=node/๓๘๒ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗). หน้า ๑.</ref> โดยเป็นชาวต่างชาติอีกคนที่ได้ตำแหน่งนี้ และยังมีการจัดงานเลี้ยงต้อนรับอย่างสมเกียรติ<ref>กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๑.</ref> และได้รับ[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย]] ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้รับ[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า]] [[ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก]] และ[[ประถมาภรณ์ช้างเผือก]]ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานเหรียญพระบรมนามาภิไธยย่อของ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช]] รัชกาลที่ ๙ เมื่อคราวเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาลไทยมาร่วมในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ด้วย<ref>อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๐ – ๗๐๑.</ref> | ||
==ผลงานของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ==ผลงานของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ||
ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ ๗ พระองค์ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการ[[ร่างรัฐธรรมนูญ]]ขึ้นมาใช้ในประเทศตามแบบของประเทศศิวิไลซ์ที่ใช้กัน ซึ่งพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก็มีส่วนช่วยในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย โดย[[รัฐธรรมนูญ]]ที่พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ร่างนั้นมีเพียง ๑๒ มาตรา เรียกว่าเป็น “'''Outline of Preliminary Draft'''” เมื่อปี พ.ศ. | ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ ๗ พระองค์ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการ[[ร่างรัฐธรรมนูญ]]ขึ้นมาใช้ในประเทศตามแบบของประเทศศิวิไลซ์ที่ใช้กัน ซึ่งพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก็มีส่วนช่วยในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย โดย[[รัฐธรรมนูญ]]ที่พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ร่างนั้นมีเพียง ๑๒ มาตรา เรียกว่าเป็น “'''Outline of Preliminary Draft'''” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗7. <ref>กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๒.</ref> โดยมีรายละเอียดดังนี้ | ||
มาตรา ๑ ว่าด้วยการยืนยันว่า[[พระมหากษัตริย์]]ทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดในราชอาณาจักร มาตรา ๒ - มาตรา ๖ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอน[[นายกรัฐมนตรี]]ซึ่ง[[บริหารราชการแผ่นดิน]]โดยรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง[[รัฐมนตรี]]และถอดถอนรัฐมนตรี ซึ่งรับผิดชอบในการบริหารกระทรวงต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อ[[คณะรัฐมนตรี]]ประชุมปรึกษากันแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องนำข้อราชการสำคัญขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อขอ[[พระบรมราชวินิจฉัย]] นอกจากนั้นมาตรา ๗ กำหนดการแต่งตั้ง[[คณะอภิรัฐมนตรี]]ให้มีอำนาจหน้าที่ถวายคำปรึกษา มาตรา ๘ สภาองคมนตรี มาตรา ๙ กำหนดตำแหน่งรัชทายาท มาตรา ๑๐ กำหนดเรื่องศาลฎีกาและศาลต่างๆ ภายใต้พระราชอำนาจ มาตรา ๑๑ กำหนดให้อำนาจนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์ และมาตรา ๑๒ กำหนดให้สภาองคมนตรีโดยคะแนนเสียง ๓ ใน ๔ ถวายคำแนะนำให้แก้รัฐธรรมนูญได้ | มาตรา ๑ ว่าด้วยการยืนยันว่า[[พระมหากษัตริย์]]ทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดในราชอาณาจักร มาตรา ๒ - มาตรา ๖ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอน[[นายกรัฐมนตรี]]ซึ่ง[[บริหารราชการแผ่นดิน]]โดยรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง[[รัฐมนตรี]]และถอดถอนรัฐมนตรี ซึ่งรับผิดชอบในการบริหารกระทรวงต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อ[[คณะรัฐมนตรี]]ประชุมปรึกษากันแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องนำข้อราชการสำคัญขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อขอ[[พระบรมราชวินิจฉัย]] นอกจากนั้นมาตรา ๗ กำหนดการแต่งตั้ง[[คณะอภิรัฐมนตรี]]ให้มีอำนาจหน้าที่ถวายคำปรึกษา มาตรา ๘ สภาองคมนตรี มาตรา ๙ กำหนดตำแหน่งรัชทายาท มาตรา ๑๐ กำหนดเรื่องศาลฎีกาและศาลต่างๆ ภายใต้พระราชอำนาจ มาตรา ๑๑ กำหนดให้อำนาจนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์ และมาตรา ๑๒ กำหนดให้สภาองคมนตรีโดยคะแนนเสียง ๓ ใน ๔ ถวายคำแนะนำให้แก้รัฐธรรมนูญได้ <ref>บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. ผลพระคุณ ธ รักษา : พัฒนาการระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.dailynews.co.th. (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖). หน้า ๒.</ref> | ||
ก่อนหน้าที่จะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้มี พระราชหัตถเลขาในหัวข้อ “'''Problem of Siam'''” | ก่อนหน้าที่จะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้มี พระราชหัตถเลขาในหัวข้อ “'''Problem of Siam'''” <ref>กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๒.</ref> ทรงถามความถึงพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ๙ ข้อ โดยทรงบันทึกเป็นภาษาอังกฤษใน ๙ ข้อนี้ คำถาม ๔ ข้อว่าด้วย[[การปกครองระบอบประชาธิปไตย]]อยู่หลายข้อโดยเฉพาะในข้อ ๓ ทรงตั้งคำถามว่า “สักวันหนึ่งประเทศนี้จะต้องมีระบบการปกครองในระบบ[[รัฐสภา]]หรือไม่ และระบอบการปกครองใน[[ระบบรัฐสภาแบบแองโกล - แซ็กสัน]] นั้นเหมาะสมกับชาวตะวันออกหรือ” คำถามข้อ ๔ มีว่า “ประเทศนี้พร้อมหรือยังที่จะมีการปกครองระบบ[[ผู้แทนราษฎร]]ในรูปใดรูปหนึ่ง?” คำถามข้อ ๖ มีว่า “เราควรมีนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ? ควรเริ่มใช้ระบบนี้ในตอนนี้เลยหรือไม่ ?” คำถามข้อ ๗ มีว่า “เราควรมี[[สภานิติบัญญัติ]]หรือไม่ ? องค์ประกอบสภาเช่นนี้ควรจะเป็นเช่นใด” พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก็ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมตอบกลับมาในหัวข้อ “'''Sayrt’s Memorandum'''’” ตอบเป็นภาษาอังกฤษโดยแยกกลุ่มการตอบเป็น ๓ กลุ่ม โดยการตอบกลุ่มที่ ๒ เป็นเรื่องการปกครอง โดยพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เริ่มอารัมภบทแสดงความไม่เห็นด้วยกับการมี[[สภาผู้แทนราษฎร]]ว่า | ||
“ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วยว่าควรจะพิจารณาจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรในสยามในขณะนี้ การจะมีรัฐสภาที่ใช้งานได้จะต้องอาศัยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าใจระบอบการปกครองแบบนี้ดี หากไม่มีประชาชนที่มีสติปัญญามากำกับควบคุม [[รัฐสภา]]มีแต่จะเสื่อมถอยไปเป็นองค์การที่เลวร้ายและเผด็จการ ตราบใดที่ปวงประชาชาวสยามทั้งหลายยังไม่ได้รับการศึกษาสูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การพยายามตั้งองค์กรเชิงรัฐสภาที่ประชาชนเลือกตั้งมามีแต่จะนำอันตรายใหญ่หลวงมาให้ ดังนั้น จึงดูไม่มีทางเลือกนอกจากการคงไว้ซึ่งระบอบการปกครองที่อำนาจเด็ดขาดยังคงอยู่กับพระมหากษัตริย์ อย่างน้อยที่สุดในช่วงปัจจุบันนี้” | “ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วยว่าควรจะพิจารณาจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรในสยามในขณะนี้ การจะมีรัฐสภาที่ใช้งานได้จะต้องอาศัยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าใจระบอบการปกครองแบบนี้ดี หากไม่มีประชาชนที่มีสติปัญญามากำกับควบคุม [[รัฐสภา]]มีแต่จะเสื่อมถอยไปเป็นองค์การที่เลวร้ายและเผด็จการ ตราบใดที่ปวงประชาชาวสยามทั้งหลายยังไม่ได้รับการศึกษาสูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การพยายามตั้งองค์กรเชิงรัฐสภาที่ประชาชนเลือกตั้งมามีแต่จะนำอันตรายใหญ่หลวงมาให้ ดังนั้น จึงดูไม่มีทางเลือกนอกจากการคงไว้ซึ่งระบอบการปกครองที่อำนาจเด็ดขาดยังคงอยู่กับพระมหากษัตริย์ อย่างน้อยที่สุดในช่วงปัจจุบันนี้” | ||
ความเห็นดังกล่าว ยังได้รับการยืนยันเมื่อพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เขียนบทความลงในหนังสือ “Atlantic Monthly” หลังจากที่ถวายความเห็น โดยวิจารณ์ความตั้งพระทัยของพระมหากษัตริย์สยาม ให้เป็นระบบรัฐสภาว่า “รัฐสภาใดที่ไม่ถูกควบคุมโดยมวลผู้มีสิทธิ[[เลือกตั้ง]]ที่มีสติปัญญาและความใส่ใจ อาจเป็นกลไกของการกดขี่ที่เป็นอันตรายและมีความฉ้อฉลเสียยิ่งกว่ากษัตริย์ผู้ทรง[[สมบูรณาญาสิทธิ์]]” ซึ่งพระองค์ก็ทรงเอาจดหมายตอบดังกล่าวให้[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ดู และท่านก็ไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการมีนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ดี | ความเห็นดังกล่าว ยังได้รับการยืนยันเมื่อพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เขียนบทความลงในหนังสือ “Atlantic Monthly” หลังจากที่ถวายความเห็น โดยวิจารณ์ความตั้งพระทัยของพระมหากษัตริย์สยาม ให้เป็นระบบรัฐสภาว่า “รัฐสภาใดที่ไม่ถูกควบคุมโดยมวลผู้มีสิทธิ[[เลือกตั้ง]]ที่มีสติปัญญาและความใส่ใจ อาจเป็นกลไกของการกดขี่ที่เป็นอันตรายและมีความฉ้อฉลเสียยิ่งกว่ากษัตริย์ผู้ทรง[[สมบูรณาญาสิทธิ์]]”<ref>บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. หน้า ๑ – ๒.</ref> ซึ่งพระองค์ก็ทรงเอาจดหมายตอบดังกล่าวให้[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ดู และท่านก็ไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการมีนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ดี ร่างรัฐธรรมนูญทั้ง ๑๒ มาตรา ที่ท่านได้ร่างขึ้นก็หาได้ใช้จริงๆ ในสยามแต่อย่างใด เป็นเพียงแต่ร่างที่รู้กันเพียงไม่กี่คนเท่านั้น<ref>กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๓.</ref> | ||
นอกจากนี้พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ยังได้ไปเจรจาในการขอแก้ไขสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างประเทศสยามกับประเทศต่างๆ มีทั้งประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศอิตาลี ประเทศโปรตุเกส ประเทศสเปน ประเทศเดนมาร์ก ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการเดินทางที่หนักหนาสาหัสมากในขณะนั้น ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๔๖๘ โดยเดินทางไปยังประเทศเหล่านั้นเพื่อเจรจาโดยตรง ฟันฝ่าอุปสรรถมากมายจนได้ข้อสรุปกับ ๑๑ ประเทศ เป็นการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (ก็คือ ผู้ถือสัญชาติและคนในบังคับของประเทศเหล่านั้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ขึ้นศาลกงสุลแทน ทำให้เราขาดอำนาจอธิปไตยทางศาล) รวมทั้งยกเลิกข้อกำหนดซึ่งจำกัดอัตราภาษีสินค้าขาเข้า ซึ่งได้ทำให้ประเทศสยามมีอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจที่ไม่สมบูรณ์ในบรรดา ๑๑ ประเทศนั้น ๖ ประเทศ ดำเนินการแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖ และอีก ๕ ประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ | นอกจากนี้พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ยังได้ไปเจรจาในการขอแก้ไขสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างประเทศสยามกับประเทศต่างๆ มีทั้งประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศอิตาลี ประเทศโปรตุเกส ประเทศสเปน ประเทศเดนมาร์ก ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการเดินทางที่หนักหนาสาหัสมากในขณะนั้น<ref>เรื่องเดียวกัน.</ref> ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๔๖๘ โดยเดินทางไปยังประเทศเหล่านั้นเพื่อเจรจาโดยตรง ฟันฝ่าอุปสรรถมากมายจนได้ข้อสรุปกับ ๑๑ ประเทศ เป็นการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (ก็คือ ผู้ถือสัญชาติและคนในบังคับของประเทศเหล่านั้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ขึ้นศาลกงสุลแทน ทำให้เราขาดอำนาจอธิปไตยทางศาล) รวมทั้งยกเลิกข้อกำหนดซึ่งจำกัดอัตราภาษีสินค้าขาเข้า ซึ่งได้ทำให้ประเทศสยามมีอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจที่ไม่สมบูรณ์ในบรรดา ๑๑ ประเทศนั้น ๖ ประเทศ ดำเนินการแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖ และอีก ๕ ประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ <ref>พฤทธิสาณ ชุมพล. กัลยาณมิตรชาวอเมริกันกับอธิปไตย รัฐธรรมนูญ และพระมหากษัตริย์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.thaiworld.org/th/thailand_monitor/answer.php?question_id=๑๑๒๔ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖). หน้า ๑ – ๒.</ref> | ||
==ชีวิตบั้นปลายของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ==ชีวิตบั้นปลายของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)== | ||
บรรทัดที่ 72: | บรรทัดที่ 72: | ||
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนประเทศสหรัฐอเมริกาในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติครั้งที่ ๒ | ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนประเทศสหรัฐอเมริกาในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติครั้งที่ ๒ | ||
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ | ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านได้เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อปฏิบัติงานด้านส่งเสริมศาสนาคริสเตียนและระบอบประชาธิปไตย7. <ref>อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๐ – ๗๐๑.</ref> จากความสัมพันธ์อันดีที่มีกับประเทศไทยเสมอมา ท่านก็ได้มีส่วนช่วยงานของเสรีไทยด้วยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ <ref>กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๓.</ref> | ||
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทยครั้งแรกหลังจากลาออกจากราชการไทย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เข้าร่วมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในฐานะแขกของรัฐบาลไทย | ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทยครั้งแรกหลังจากลาออกจากราชการไทย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เข้าร่วมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในฐานะแขกของรัฐบาลไทย | ||
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทยเป็นครั้งสุดท้าย ดูเสมือนจะมาดูเมืองไทยเป็นครั้งสุดท้าย ในโอกาสนี้ท่านและภริยาได้ไปเยี่ยมจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร “'''กัลยาณไมตรี'''” ที่โรงเรียนสงขลาวัฒนา ซึ่งมูลนิธิพนมชนารักษ์อนุสรณ์ได้แปลหนังสือชีวประวัติของท่าน เรื่อง “'''Glad Adventure'''” เป็นภาษาไทยออกจำหน่าย ท่านก็ได้ส่งเงินมาร่วมสมทบทุนมูลนิธินี้ด้วย ๕,๐๐๐ ดอลลาร์ | ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทยเป็นครั้งสุดท้าย ดูเสมือนจะมาดูเมืองไทยเป็นครั้งสุดท้าย ในโอกาสนี้ท่านและภริยาได้ไปเยี่ยมจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร “'''กัลยาณไมตรี'''” ที่โรงเรียนสงขลาวัฒนา ซึ่งมูลนิธิพนมชนารักษ์อนุสรณ์ได้แปลหนังสือชีวประวัติของท่าน เรื่อง “'''Glad Adventure'''” เป็นภาษาไทยออกจำหน่าย ท่านก็ได้ส่งเงินมาร่วมสมทบทุนมูลนิธินี้ด้วย ๕,๐๐๐ ดอลลาร์<ref>อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๑ – ๗๐๒.</ref> | ||
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื่องด้วยเป็นการสร้างถนนเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงชื่อ “'''กัลยาณไมตรี'''” ซึ่งเคยทำคุณประโยชน์ด้านการต่างประเทศแก่ประเทศไทย รัฐบาลไทยได้มีการตัดถนนระหว่างกระทรวงกลาโหม กับกระทรวงการต่างประเทศ (วังสราญรมย์) จึงได้ราชทินนามของท่านมาตั้งเป็นชื่อถนนว่า “'''ถนนกัลยาณไมตรี'''” | ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื่องด้วยเป็นการสร้างถนนเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงชื่อ “'''กัลยาณไมตรี'''” ซึ่งเคยทำคุณประโยชน์ด้านการต่างประเทศแก่ประเทศไทย รัฐบาลไทยได้มีการตัดถนนระหว่างกระทรวงกลาโหม กับกระทรวงการต่างประเทศ (วังสราญรมย์) จึงได้ราชทินนามของท่านมาตั้งเป็นชื่อถนนว่า “'''ถนนกัลยาณไมตรี'''” <ref>ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. ถนนกัลยาณไมตรี. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.lib.su.ac.th/rattanagosin_web/?q=node/382 (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗). หน้า ๑.</ref> | ||
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ได้ถึงแก่อนิจกรรมที่บ้านของท่านในกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕ รวมอายุได้ ๘๖ ปี | ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ได้ถึงแก่อนิจกรรมที่บ้านของท่านในกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕ รวมอายุได้ ๘๖ ปี<ref>อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๒.</ref> | ||
==อ้างอิง== | |||
<references/> | |||
==บรรณานุกรม== | ==บรรณานุกรม== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:33, 10 ตุลาคม 2557
ผู้เรียบเรียง : โชคสุข กรกิตติชัย
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง
บทนำ
หากกล่าวถึงบุคคลที่เป็นชาวต่างชาติที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทย ที่เข้ามารับราชการในประเทศสยาม หรือประเทศไทยในปัจจุบัน และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยากัลยาณไมตรี” มี ๒ ท่าน คือ พระยากัลยาณไมตรี เจนส์ ไอ. เวสสเตนการด์ (Jens Iverson Westengard) เพราะท่านเป็น บุคคลที่มีผลงานด้านนโยบายภายในและภายนอกประเทศโดยเฉพาะกับการแก้ไขปัญหาพรมแดน และการผ่อนคลายปัญหาเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และท่านที่ ๒ คือ พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เพราะท่านเป็นบุคคลที่ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งปวงในสมัยจักรวรรดินิยม ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ท่านทั้งสองคนให้เป็น “พระยากัลยาณไมตรี” [1]
ประวัติของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)
พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เป็นชาวอเมริกา[2] บุตรของนายโรเบิรต์ และนางมาร์ธา ฟินเล่ย์ เนวิน (Robert and Martha Finley Nevin) เกิดทางตอนใต้ของเมืองเซาท์เบทเลเฮม (South Bethlehem) รัฐเพนซิลวาเนีย (Pennsylvania) เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๘[3]
การสมรสของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)
ได้สมรสกับนางสาวเจสซี วูดโรว์ วิลสัน (Jessie Woodrow Wilson) บุตรตรีของวูดโรว์ วิสสัน (Woodrow Wilson) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยมีพิธีมงคลสมรสที่ทำเนียบขาว เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖1. [4] มีบุตรชื่อ “ฟรานซิส บี. แซร์ จูเนียร์.” (Francis Bowes Sayre Jr.) , “เอเลนอร์ แอกสัน แซร์” (Eleanor Axson Sayre) และ “วูดโรว์ วิลสัน แซร์” (Woodrow Wilson Sayre)[5] หลังจากภรรยาคนแรกถึงแก่กรรม ก็ได้สมรสอีกครั้งกับนางเอลิซาเบธ อีแวนส์ เกรฟส์ (Elizabeth Evans Graves) เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐ [6]
การศึกษาของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)
จบการศึกษาจากวิทยาลัยวิลเลียมส์ (Williams College) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒
ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด7. [7] (LL.B. ย่อมาจาก Bachelor of Laws) [8] ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมาย ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ [9]
ประสบการณ์การทำงานของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก่อนเข้ามารับราชการในประเทศไทย
เป็นผู้ช่วยอธิการบดีวิทยาลัยวิลเลียมส์ (Williams College) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๖๐[10]
เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย Princeton ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ – ๒๔๖๔ [11]
เป็นอาจารย์วิชาการปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ – ๒๔๖๖
เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ในวิชากฎหมา[12]ย
การเข้ามาเมืองไทยของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประเทศสยามมีความสัมพันธ์อันดีกับมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสมัยนั้น พระองค์ได้ว่าจ้างมิสเตอร์ เจนส์ ไอ. เวสสเตนการด์ (Jens Iverson Westengard) ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้มาเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เพราะถูกรุกล้ำดินแดนและเอาเปรียบหลายๆ อย่างจากประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส รวมถึงชาติอื่นๆ
ในขณะที่ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) กำลังทำการสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด คณบดีก็ได้เรียกท่านเข้าไปพูดคุยและถามว่า “จะไปทำงานที่ตะวันออกไกลในตำแหน่งที่ปรึกษาการต่างประเทศของพระเจ้าแผ่นดินสยามบ้างไหม” แน่นอนว่าแม้ตอนนั้นจะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ฮาร์เวิร์ดหลายคนเคยไปเป็นที่ปรึกษา แต่ในขณะนั้นนอกจากตัวท่านเองแล้วก็ยังมีบุตรอีก ๓ คน ที่ต้องดูแลอีก ซึ่งคนโตก็อายุเพียง ๘ ปี และคนเล็กก็อายุเพียง ๔ ปีเท่านั้น แต่เมื่อได้พูดคุยกับเหล่ามิชชันนารีถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในกรุงเทพฯ ท่านจึงตัดสินใจไป แต่กำหนดระยะเวลาที่จะอยู่ประเทศสยามเอาไว้เพียง ๑ ปีเท่านั้น [13] ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก็ได้เข้ามารับราชการในเมืองไทย เป็นที่ปรึกษาการต่างประเทศ ขณะนั้นเมืองไทยกำลังมุ่งที่จะขอแก้ไขสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีที่ประเทศไทยเคยทำไว้กับนานาประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอำนาจศาล และการภาษีอากร ซึ่งประเทศไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ จนสามารถดำเนินการแก้ไขสนธิสัญญาสำเร็จกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศฮอล์แลนด์ ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศเดนมาร์ก ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน ประเทศสเปน และประเทศโปรตุเกสได้สำเร็จ[14]
พระราชทานบรรดาศักดิ์หรือยศของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)
ในยุคจักรวรรดินิยม ขณะนั้นประเทศสยามถูกเอารัดเอาเปรียบโดยสนธิสัญญาเก่าแก่ต่างๆ โดยอ้างถึงความป่าเถื่อนและความล้าหลังของกฎหมาย ทำให้ไม่ยอมให้ชาวต่างชาติขึ้นศาลไทยและไม่ยอมให้เก็บภาษีเกินร้อยละ ๓ ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวเป็นปัญหาให้กับคนไทยมาช้านาน เพราะไม่อาจทำให้ประเทศสยามก้าวหน้าไปไหนได้ ซึ่งสัญญาที่เป็นปัญหาหนัก ก็คือ “สนธิสัญญาเบาริ่ง” ที่ทำในสมัยรัชกาลที่ ๓ และ “สนธิสัญญาเบานี่” ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งประเทศสยามมีข้อเสียเปรียบอยู่หลายจุด
เวลาต่อมา ประเทศสยามได้ร่วมส่งทหารไปรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ รวมถึงประกาศสงครามกับประเทศเยอรมัน ประเทศสยามถือโอกาสนี้เจรจายกเลิกสัญญาที่ถูกเอาเปรียบทั้งสองฉบับ โดยมี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เป็นผู้ทำการเจรจา ซึ่งกว่าจะสำเร็จก็กินเวลานานพอสมควร เพราะการเดินทางในสมัยนั้นยากลำบากมาก ซึ่งการเจรจาปลดแอกสนธิสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นที่พระราชวังแวร์ซาย โดยฝ่ายสัมพันธมิตรมาประชุมกันอย่างพร้อมหน้า หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประเทศสยามจึงเรียกร้องให้มีการ ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งในขณะนั้น มีเพียงประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ยอมโดยดี แต่ประเทศอื่นๆ นั้นไม่ได้ง่ายเลย ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) จะต้องเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อที่จะเจรจายกเลิกสัญญาได้เป็นผล แต่ในที่สุดท่านก็สามารถเจรจาให้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ก็ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยากัลยาณไมตรี”[15] ซึ่งมีความหมายถึงมิตรภาพอันงดงามที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมีต่อกัน[16] โดยเป็นชาวต่างชาติอีกคนที่ได้ตำแหน่งนี้ และยังมีการจัดงานเลี้ยงต้อนรับอย่างสมเกียรติ[17] และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก และประถมาภรณ์ช้างเผือกตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานเหรียญพระบรมนามาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ ๙ เมื่อคราวเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาลไทยมาร่วมในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ด้วย[18]
ผลงานของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระองค์ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ในประเทศตามแบบของประเทศศิวิไลซ์ที่ใช้กัน ซึ่งพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก็มีส่วนช่วยในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย โดยรัฐธรรมนูญที่พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ร่างนั้นมีเพียง ๑๒ มาตรา เรียกว่าเป็น “Outline of Preliminary Draft” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗7. [19] โดยมีรายละเอียดดังนี้
มาตรา ๑ ว่าด้วยการยืนยันว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดในราชอาณาจักร มาตรา ๒ - มาตรา ๖ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีซึ่งบริหารราชการแผ่นดินโดยรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีและถอดถอนรัฐมนตรี ซึ่งรับผิดชอบในการบริหารกระทรวงต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีประชุมปรึกษากันแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องนำข้อราชการสำคัญขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัย นอกจากนั้นมาตรา ๗ กำหนดการแต่งตั้งคณะอภิรัฐมนตรีให้มีอำนาจหน้าที่ถวายคำปรึกษา มาตรา ๘ สภาองคมนตรี มาตรา ๙ กำหนดตำแหน่งรัชทายาท มาตรา ๑๐ กำหนดเรื่องศาลฎีกาและศาลต่างๆ ภายใต้พระราชอำนาจ มาตรา ๑๑ กำหนดให้อำนาจนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์ และมาตรา ๑๒ กำหนดให้สภาองคมนตรีโดยคะแนนเสียง ๓ ใน ๔ ถวายคำแนะนำให้แก้รัฐธรรมนูญได้ [20]
ก่อนหน้าที่จะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้มี พระราชหัตถเลขาในหัวข้อ “Problem of Siam” [21] ทรงถามความถึงพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ๙ ข้อ โดยทรงบันทึกเป็นภาษาอังกฤษใน ๙ ข้อนี้ คำถาม ๔ ข้อว่าด้วยการปกครองระบอบประชาธิปไตยอยู่หลายข้อโดยเฉพาะในข้อ ๓ ทรงตั้งคำถามว่า “สักวันหนึ่งประเทศนี้จะต้องมีระบบการปกครองในระบบรัฐสภาหรือไม่ และระบอบการปกครองในระบบรัฐสภาแบบแองโกล - แซ็กสัน นั้นเหมาะสมกับชาวตะวันออกหรือ” คำถามข้อ ๔ มีว่า “ประเทศนี้พร้อมหรือยังที่จะมีการปกครองระบบผู้แทนราษฎรในรูปใดรูปหนึ่ง?” คำถามข้อ ๖ มีว่า “เราควรมีนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ? ควรเริ่มใช้ระบบนี้ในตอนนี้เลยหรือไม่ ?” คำถามข้อ ๗ มีว่า “เราควรมีสภานิติบัญญัติหรือไม่ ? องค์ประกอบสภาเช่นนี้ควรจะเป็นเช่นใด” พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก็ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมตอบกลับมาในหัวข้อ “Sayrt’s Memorandum’” ตอบเป็นภาษาอังกฤษโดยแยกกลุ่มการตอบเป็น ๓ กลุ่ม โดยการตอบกลุ่มที่ ๒ เป็นเรื่องการปกครอง โดยพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เริ่มอารัมภบทแสดงความไม่เห็นด้วยกับการมีสภาผู้แทนราษฎรว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วยว่าควรจะพิจารณาจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรในสยามในขณะนี้ การจะมีรัฐสภาที่ใช้งานได้จะต้องอาศัยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าใจระบอบการปกครองแบบนี้ดี หากไม่มีประชาชนที่มีสติปัญญามากำกับควบคุม รัฐสภามีแต่จะเสื่อมถอยไปเป็นองค์การที่เลวร้ายและเผด็จการ ตราบใดที่ปวงประชาชาวสยามทั้งหลายยังไม่ได้รับการศึกษาสูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การพยายามตั้งองค์กรเชิงรัฐสภาที่ประชาชนเลือกตั้งมามีแต่จะนำอันตรายใหญ่หลวงมาให้ ดังนั้น จึงดูไม่มีทางเลือกนอกจากการคงไว้ซึ่งระบอบการปกครองที่อำนาจเด็ดขาดยังคงอยู่กับพระมหากษัตริย์ อย่างน้อยที่สุดในช่วงปัจจุบันนี้”
ความเห็นดังกล่าว ยังได้รับการยืนยันเมื่อพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) เขียนบทความลงในหนังสือ “Atlantic Monthly” หลังจากที่ถวายความเห็น โดยวิจารณ์ความตั้งพระทัยของพระมหากษัตริย์สยาม ให้เป็นระบบรัฐสภาว่า “รัฐสภาใดที่ไม่ถูกควบคุมโดยมวลผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีสติปัญญาและความใส่ใจ อาจเป็นกลไกของการกดขี่ที่เป็นอันตรายและมีความฉ้อฉลเสียยิ่งกว่ากษัตริย์ผู้ทรงสมบูรณาญาสิทธิ์”[22] ซึ่งพระองค์ก็ทรงเอาจดหมายตอบดังกล่าวให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพดู และท่านก็ไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการมีนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ดี ร่างรัฐธรรมนูญทั้ง ๑๒ มาตรา ที่ท่านได้ร่างขึ้นก็หาได้ใช้จริงๆ ในสยามแต่อย่างใด เป็นเพียงแต่ร่างที่รู้กันเพียงไม่กี่คนเท่านั้น[23]
นอกจากนี้พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ยังได้ไปเจรจาในการขอแก้ไขสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างประเทศสยามกับประเทศต่างๆ มีทั้งประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศอิตาลี ประเทศโปรตุเกส ประเทศสเปน ประเทศเดนมาร์ก ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการเดินทางที่หนักหนาสาหัสมากในขณะนั้น[24] ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๗ – ๒๔๖๘ โดยเดินทางไปยังประเทศเหล่านั้นเพื่อเจรจาโดยตรง ฟันฝ่าอุปสรรถมากมายจนได้ข้อสรุปกับ ๑๑ ประเทศ เป็นการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (ก็คือ ผู้ถือสัญชาติและคนในบังคับของประเทศเหล่านั้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ขึ้นศาลกงสุลแทน ทำให้เราขาดอำนาจอธิปไตยทางศาล) รวมทั้งยกเลิกข้อกำหนดซึ่งจำกัดอัตราภาษีสินค้าขาเข้า ซึ่งได้ทำให้ประเทศสยามมีอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจที่ไม่สมบูรณ์ในบรรดา ๑๑ ประเทศนั้น ๖ ประเทศ ดำเนินการแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖ และอีก ๕ ประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ [25]
ชีวิตบั้นปลายของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre)
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก็ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการของสยามก็ได้กลับไปประเทศสหรัฐอเมริกา ไปเป็นอาจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ยังคงถือว่าเป็นข้าราชการไทยอยู่โดยไม่รับเงินเดือน
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศไทยประจำศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๒ – ๒๔๘๕ ตอนปลายสงครามและหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านได้ทำงานให้กับสำนักงานบรรเทาทุกข์และบูรณะฟื้นฟู ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นองค์การบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูของสหประชาชาติ (UNRRA) ไปดำเนินงานในประเทศต่างๆ แถบอาหรับ แอฟริกา อเมริกาใต้ และยุโรป ซึ่งครั้งนี้ท่านได้เป็นที่ปรึกษาฝ่ายการเมือง
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนประเทศสหรัฐอเมริกาในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติครั้งที่ ๒
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านได้เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อปฏิบัติงานด้านส่งเสริมศาสนาคริสเตียนและระบอบประชาธิปไตย7. [26] จากความสัมพันธ์อันดีที่มีกับประเทศไทยเสมอมา ท่านก็ได้มีส่วนช่วยงานของเสรีไทยด้วยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ [27]
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทยครั้งแรกหลังจากลาออกจากราชการไทย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เข้าร่วมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในฐานะแขกของรัฐบาลไทย
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทยเป็นครั้งสุดท้าย ดูเสมือนจะมาดูเมืองไทยเป็นครั้งสุดท้าย ในโอกาสนี้ท่านและภริยาได้ไปเยี่ยมจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร “กัลยาณไมตรี” ที่โรงเรียนสงขลาวัฒนา ซึ่งมูลนิธิพนมชนารักษ์อนุสรณ์ได้แปลหนังสือชีวประวัติของท่าน เรื่อง “Glad Adventure” เป็นภาษาไทยออกจำหน่าย ท่านก็ได้ส่งเงินมาร่วมสมทบทุนมูลนิธินี้ด้วย ๕,๐๐๐ ดอลลาร์[28]
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื่องด้วยเป็นการสร้างถนนเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงชื่อ “กัลยาณไมตรี” ซึ่งเคยทำคุณประโยชน์ด้านการต่างประเทศแก่ประเทศไทย รัฐบาลไทยได้มีการตัดถนนระหว่างกระทรวงกลาโหม กับกระทรวงการต่างประเทศ (วังสราญรมย์) จึงได้ราชทินนามของท่านมาตั้งเป็นชื่อถนนว่า “ถนนกัลยาณไมตรี” [29]
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ได้ถึงแก่อนิจกรรมที่บ้านของท่านในกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕ รวมอายุได้ ๘๖ ปี[30]
อ้างอิง
- ↑ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. “พระยากัลยาณไมตรี”. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.literatureandhistory.go.th/index.php?app=academic&fnc=showlist&cateid=๑๐๒๔&apptype=academic๔. (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖). หน้า ๑.
- ↑ อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๖๙๙.
- ↑ Steve Hissem San Diego, The Heysham – Sayre Branch [online], accessed ๒๙ May ๒๐๑๔. Available from http://www.shissem.com/Hissem_Heysham-Sayre_Branch.html
- ↑ Diego, The Heysham – Sayre Branch.
- ↑ Ibid.
- ↑ อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๑.
- ↑ Diego, The Heysham – Sayre Branch.
- ↑ พจนานุกรมไทย – ดิกชันนารี่. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.online-english-thai-dictionary.com/?word=ll.b.&d=๑&m=0&p=๑ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖).
- ↑ อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๑.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, ๗๐๑.
- ↑ Everyone Can Study @Harvard Business School ตอน ๓ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ ม.ฮาร์วาร์ด. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=๖๖๙๔๔๒ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖).
- ↑ อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๑.
- ↑ กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. ยอดคน ผู้พลิกประวัติศาสตร์ไทย ๓๐ Persons Who Changed Thai’s History. (กรุงเทพฯ : ปาเจรา, ๒๕๕๒), หน้า ๗๐.
- ↑ อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๐.
- ↑ กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๑.
- ↑ ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. ถนนกัลยาณไมตรี. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.lib.su.ac.th/rattanagosin_web/?q=node/๓๘๒ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗). หน้า ๑.
- ↑ กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๑.
- ↑ อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๐ – ๗๐๑.
- ↑ กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๒.
- ↑ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. ผลพระคุณ ธ รักษา : พัฒนาการระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.dailynews.co.th. (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖). หน้า ๒.
- ↑ กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๒.
- ↑ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. หน้า ๑ – ๒.
- ↑ กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๓.
- ↑ เรื่องเดียวกัน.
- ↑ พฤทธิสาณ ชุมพล. กัลยาณมิตรชาวอเมริกันกับอธิปไตย รัฐธรรมนูญ และพระมหากษัตริย์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.thaiworld.org/th/thailand_monitor/answer.php?question_id=๑๑๒๔ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖). หน้า ๑ – ๒.
- ↑ อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๐ – ๗๐๑.
- ↑ กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. หน้า ๗๓.
- ↑ อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๑ – ๗๐๒.
- ↑ ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. ถนนกัลยาณไมตรี. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.lib.su.ac.th/rattanagosin_web/?q=node/382 (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗). หน้า ๑.
- ↑ อุทัย สินธุสา, “กัลยาณไมตรี ,พระยา”สารานุกรมไทย, ๗๐๒.
บรรณานุกรม
กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ปาเจรา. ยอดคน ผู้พลิกประวัติศาสตร์ไทย ๓๐ Persons Who Changed Thai’s History . (กรุงเทพฯ : ปาเจรา, ๒๕๕๒)
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. ผลพระคุณ ธ รักษา : พัฒนาการระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.dailynews.co.th. (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖).
พจนานุกรมไทย – ดิกชันนารี่. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.online-english-thai-dictionary.com/?word=ll.b.&d=๑&m=0&p=๑ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖).
พฤทธิสาณ ชุมพล. กัลยาณมิตรชาวอเมริกันกับอธิปไตย รัฐธรรมนูญ และพระมหากษัตริย์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.thaiworld.org/th/thailand_monitor/answer.php?question_id=๑๑๒๔ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖).
ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. ถนนกัลยาณไมตรี. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.lib.su.ac.th/rattanagosin_web/?q=node/๓๘๒ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗).
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. “พระยากัลยาณไมตรี”. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.literatureandhistory.go.th/index.php?app=academic&fnc=showlist&cateid=๑๐๒๔&apptype=academic๔. (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖).
อุทัย สินธุสาร. สารานุกรมไทย กัลยาณไมตรี, พระยา. (กรุงเทพมหานคร. ๒๕๓๓).
Everyone Can Study @Harvard Business School ตอน๓ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ ม.ฮาร์วาร์ด. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=๖๖๙๔๔๒ (เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖).
Steve Hissem San Diego, The Heysham – Sayre Branch [online], accessed ๒๙ May ๒๐๑๔. Available from http://www.shissem.com/Hissem_Heysham-Sayre_Branch.html
หนังสือแนะนำให้อ่านเพิ่มเติม
แซ ฟรานซิส บี. พระยากัลยาณไมตรี Glad Adventure. (ม.ป.พ.: ม.ป.ป.).
Francis B. Sayre. พระยากัลยาณไมตรี ฉบับสำหรับนักเรียน. (กรุงเทพมหานคร : ก้าวหน้าการพิมพ์. ๒๕๑๒).
Francis B Sayre . พระยากัลยาณไมตรี (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า. ๒๕๑๔).