ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 4: | บรรทัดที่ 4: | ||
---- | ---- | ||
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 อันเป็นยุคสมัยที่สยามประเทศจะต้องมีการปฏิรูปบ้านเมืองในหลายๆ ด้านพร้อมกัน เพื่อปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเช่นเดียวกับนานาอารยประเทศ บุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาแผ่นดินสยามในยุคนั้นพระองค์หนึ่ง ก็คือ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญยิ่ง ด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถและมีพระอิจฉริยภาพหลากหลายด้าน กอปรกับการที่ทรงประกอบพระราชกิจในด้านต่างๆ จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยทรงงานถวายพระเจ้าอยู่หัวถึง 3 รัชกาล ตั้งแต่สมัย[[รัชกาลที่ 5]] ถึง[[รัชกาลที่ 7]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการทหาร พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ อาทิ เสนาบดีว่าการกระทรวงยุทธนาธิการ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารเรือไทย นอกจากนี้ ทรงเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย โดยทรงปรับปรุงกิจการไปรษณีย์ของไทยให้มีความก้าวหน้าและทันสมัย ด้วยพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อกิจการไปรษณีย์ของประเทศไทย พระองค์จึงได้รับการสดุดีพระเกียรติคุณเป็น “[[พระบิดาแห่งการไปรษณีย์ไทย]]” | |||
==พระประวัติ== | ==พระประวัติ== | ||
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 4 และ[[สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี]] และทรงเป็นพระโสทรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีมะแม เอกศก จุลศักราช 1221 ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พุทธศักราช 2402 ณ พระตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระศรีสลาไลย ซึ่งเป็นที่ตั้งหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระนามเดิมว่า “[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์]]” มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระราชบิดาและพระราชมารดา 4 พระองค์ ดังนี้ | ||
1. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) | 1. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ([[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]) | ||
2. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑลโสภณภควดี (สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์) | 2. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑลโสภณภควดี ([[สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์]]) | ||
3. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี (สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระจักรพรรดิพงศ์) | 3. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี ([[สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระจักรพรรดิพงศ์]]) | ||
4. สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ (จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) | 4. สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ ([[จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช]]) | ||
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จึงเป็นพระราชโอรสลำดับสุดท้ายในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และอยู่ในลำดับที่ 45 ในบรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งหมด 82 พระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จึงเป็นพระราชโอรสลำดับสุดท้ายในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และอยู่ในลำดับที่ 45 ในบรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งหมด 82 พระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||
บรรทัดที่ 26: | บรรทัดที่ 26: | ||
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงรับราชการในตำแหน่งต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน โดยพระองค์ทรงมีตำแหน่งที่สำคัญๆ หลายตำแหน่ง ดังนี้ | สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงรับราชการในตำแหน่งต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน โดยพระองค์ทรงมีตำแหน่งที่สำคัญๆ หลายตำแหน่ง ดังนี้ | ||
- | - สมัย[[รัชกาลที่ 5]] ทรงได้รับตำแหน่งราชองครักษ์ เสนาบดีกระทรวงยุทธนาธิการ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม อธิบดีกรมไปรษณีย์และโทรเลขพระองค์แรก ราชทูตพิเศษเสด็จไปประเทศญี่ปุ่น และเสด็จไปยุโรป | ||
- | - สมัย[[รัชกาลที่ 6]] ทรงได้รับตำแหน่งจอมพลทหารบก จอมพลทหารเรือ ราชองครักษ์ และจเรทหารทั่วไป | ||
- | - สมัย[[รัชกาลที่ 7]] ทรงดำรงตำแหน่ง[[อภิรัฐมนตรี]] | ||
สมเด็จเจ้าฟ้า ภาณุพันธุวงศ์วรเดช จึงเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญต่อชาติบ้านเมือง ในฐานะที่เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ มีตำแหน่งราชการสำคัญๆ ของชาติในสมัยนั้น จึงได้รับพระสมัญญาว่า “ทรงเป็นหลักเมืองหรือหลักแผ่นดินของชาติ” | สมเด็จเจ้าฟ้า ภาณุพันธุวงศ์วรเดช จึงเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญต่อชาติบ้านเมือง ในฐานะที่เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ มีตำแหน่งราชการสำคัญๆ ของชาติในสมัยนั้น จึงได้รับพระสมัญญาว่า “ทรงเป็นหลักเมืองหรือหลักแผ่นดินของชาติ” |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:59, 6 ตุลาคม 2557
ผู้เรียบเรียง : อมรรัตน์ เจือจาน
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อันเป็นยุคสมัยที่สยามประเทศจะต้องมีการปฏิรูปบ้านเมืองในหลายๆ ด้านพร้อมกัน เพื่อปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเช่นเดียวกับนานาอารยประเทศ บุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาแผ่นดินสยามในยุคนั้นพระองค์หนึ่ง ก็คือ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญยิ่ง ด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถและมีพระอิจฉริยภาพหลากหลายด้าน กอปรกับการที่ทรงประกอบพระราชกิจในด้านต่างๆ จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยทรงงานถวายพระเจ้าอยู่หัวถึง 3 รัชกาล ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการทหาร พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ อาทิ เสนาบดีว่าการกระทรวงยุทธนาธิการ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารเรือไทย นอกจากนี้ ทรงเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย โดยทรงปรับปรุงกิจการไปรษณีย์ของไทยให้มีความก้าวหน้าและทันสมัย ด้วยพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อกิจการไปรษณีย์ของประเทศไทย พระองค์จึงได้รับการสดุดีพระเกียรติคุณเป็น “พระบิดาแห่งการไปรษณีย์ไทย”
พระประวัติ
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และทรงเป็นพระโสทรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีมะแม เอกศก จุลศักราช 1221 ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พุทธศักราช 2402 ณ พระตำหนักที่ประทับเดิมของสมเด็จพระศรีสลาไลย ซึ่งเป็นที่ตั้งหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระนามเดิมว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์” มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระราชบิดาและพระราชมารดา 4 พระองค์ ดังนี้
1. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
2. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑลโสภณภควดี (สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์)
3. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี (สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระจักรพรรดิพงศ์)
4. สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ ([[จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช]])
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จึงเป็นพระราชโอรสลำดับสุดท้ายในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และอยู่ในลำดับที่ 45 ในบรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งหมด 82 พระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การศึกษาและการับราชการ
เมื่อปี พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงเริ่มศึกษาเล่าเรียนหนังสือเบื้องต้นจากสำนักครูผู้หญิง ต่อมาในปี พ.ศ. 2414 ทรงศึกษาหนังสือขอม ภาษาบาลี จากสำนักพระยาปริยัติธาดา จากนั้นในปี พ.ศ. 2515 ทรงเล่าเรียนวิชาทหารในสำนักกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และในปี พ.ศ. 2516 ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในสำนักมิสเตอร์ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน แห่งโรงเรียนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ นอกจากนี้ทรงศึกษาแบบอย่างราชการ แบบธรรมเนียม พระราชประเพณีจากสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ผู้ทรงเป็นที่ปรึกษาราชการในพระองค์ จึงทำให้ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้และมีพระอัจฉริยภาพในด้างต่างๆ ทรงประกอบพระราชกิจจนได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้เลื่อนตำแหน่งชั้นยศทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนสูงขึ้นเป็นลำดับ
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงรับราชการในตำแหน่งต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน โดยพระองค์ทรงมีตำแหน่งที่สำคัญๆ หลายตำแหน่ง ดังนี้
- สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับตำแหน่งราชองครักษ์ เสนาบดีกระทรวงยุทธนาธิการ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม อธิบดีกรมไปรษณีย์และโทรเลขพระองค์แรก ราชทูตพิเศษเสด็จไปประเทศญี่ปุ่น และเสด็จไปยุโรป
- สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงได้รับตำแหน่งจอมพลทหารบก จอมพลทหารเรือ ราชองครักษ์ และจเรทหารทั่วไป
- สมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี
สมเด็จเจ้าฟ้า ภาณุพันธุวงศ์วรเดช จึงเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญต่อชาติบ้านเมือง ในฐานะที่เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ มีตำแหน่งราชการสำคัญๆ ของชาติในสมัยนั้น จึงได้รับพระสมัญญาว่า “ทรงเป็นหลักเมืองหรือหลักแผ่นดินของชาติ”
พระกรณียกิจ
ด้านการทหารความมั่นคงของชาติ
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงมีพระนิยมในกิจการทหารและทรงมีพระปรีชาสามารถในกิจการทหารมาตั้งแต่พระชันษา 17 พรรษา โดยได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นนายทหารพิเศษในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เพื่อทรงศึกษาวิชาการทหารและทรงฝึกการบังคับบัญชาทหารให้ทรงมีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์ต่อกิจการทหารสืบต่อไปในภายหน้า นอกจากนี้พระองค์ทรงเคยโดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าและเคยเสด็จเยือนชาติมหาอำนาจทางการทหาร จึงทำให้พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการบังคับบัญชาและการปรับปรุงกิจการทหารตามพระราชประสงค์ จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ทรงดำรงตำแหน่งทางการทหารที่สำคัญ อาทิ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครในระหว่างเสด็จ พระราชดำเนินประพาสหัวเมืองในชวา เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรืออีกตำแหน่งหนึ่ง
ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นพระราชอนุชาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นผู้ช่วยราชการในกิจการทั้งปวงแทนพระองค์ในอนาคต จากพระปรีชาสามารถ พระอุปนิสัย และพระอัธยาศัย ตลอดจนพระบุคลิกลักษณะของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทำให้พระองค์ทรงที่ไว้วางพระราชหฤทัยในการปฏิบัติราชการแทนพระเจ้าอยู่หัวถึง 3 รัชกาล ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 ในกรณีที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศหรือกรณีที่ทรงเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ตลอดจนกรณีที่ทรงมีพระราชกรณียกิจสำคัญ อันนับได้ว่า สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารราชการแผ่นดินแทนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เป็นอย่างดี
นอกจากภารกิจในด้านการทหารและความมั่นคงแล้ว ทรงเป็นเป็นบุคคลแรกในการจุดประกายกิจการด้านสื่อสารไปรษณีย์ให้เกิดขึ้นในสยามประเทศ ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อพุทธศักราช 2418 ทรงร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์อีก 10 พระองค์ จัดทำหนังสือพิมพ์รายวันขึ้นฉบับหนึ่ง มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “COURT” (อ่านว่า “คอต”) ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาไทยในภายหลังว่า “ข่าวราชการ” เพื่อแจ้งความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับข้อราชการและความเป็นไปในราชสำนัก ข่าวเหตุการณ์บ้านเมืองเฉพาะในหมู่เจ้านายเป็นสำคัญ โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ ณ หอนิเพทพิทยา ในพระบรมมหาราชวัง
หนังสือพิมพ์ “COURT” ได้ออกฉบับแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พุทธศักราช 2418 ในชั้นต้นองค์คณะผู้ดำเนินการตั้งพระทัยจะทูลเกล้าฯ ถวายและแจกกันในหมู่เจ้านาย เป็นจำนวนมากโดยในช่วงแรกนั้น ผู้รับหนังสือต้องไปรับที่สำนักงาน ณ หอนิเพทพิทยา ในพระบรมมหาราชวัง แต่ต่อมาเกิดภาระในการจัดเก็บมากขึ้น จึงโปรดให้มีบุรุษหนังสือ หรือ “โปศตแมน” (postman) เพื่อนำส่งให้สมาชิกในตอนเช้าทุกวัน โดยคิดค่าบอกรับหนังสือปีละ 10 บาท ค่านำส่งปีละ 2 บาท พร้อมกันนั้นทรงจัดพิมพ์ “ตั๋วแสตมป์” เพื่อใช้เป็นค่าบริการส่งหนังสือที่จะจำหน่ายแก่สมาชิกผู้รับหนังสือข่าวราชการ
พระอิสริยยศ
สมัยรัชกาลที่ 4
- เมื่อมีพระราชพิธีสมโภชเดือน ในปี พ.ศ. 2402 ได้รับพระราชทานพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์”
สมัยรัชกาลที่ 5
- พ.ศ. 2413 ทรงเฉลิมพระนามเป็น “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์”
- พ.ศ. 2424 ทรงเลื่อนพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช” และทรงเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์และโทรเลขในปีนั้น
- พ.ศ. 2428 เลื่อนพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช”
สมัยรัชกาลที่ 6
- พ.ศ. 2454 ทรงเฉลิมพระยศเลื่อนขึ้นเป็น “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช”
สมัยรัชกาลที่ 7
- พ.ศ. 2468 ทรงเฉลิมพระนามเป็น “สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช”
ราชตระกูล
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นต้นราชสกุล “ภาณุพันธ์ ณ อยุธยา” ทรงมีชายาและหม่อมห้าม รวม 5 คน ได้แก่
1. หม่อมเลียม ศุภสิทธิ์ มีพระธิดา 1 พระองค์
2. หม่อมแม้น บุนนาค (หม่อมห้ามสะใภ้หลวง) มีพระโอรสและพระธิดา 3 พระองค์
3. หม่อมสุ่น ปักษีวงศา มีพระโอรส 1 พระองค์
4. หม่อมลับ จาติกรัตน์ มีพระโอรส 1 พระองค์
5. หม่อมเล็ก ยงใจยุทธ มีพระโอรสและพระธิดา 8 พระองค์แต่พระองค์สุดท้องสิ้นชีพิตักษัยขณะคลอดพร้อมกับหม่อมเล็กในวันประสูติ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2461
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จทิวงคต ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 ขณะพระชันษา 69 พรรษา
บรรณานุกรม
1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554.
2. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ 1991, พิมพ์ครั้งที่ 3. 2544.
3. กัลยา เกื้อตระกูล. ราชสกุลสยาม. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 2. 2552.
4. บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. 125 ปี ไปรษณีย์ไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด. 2551.
5. จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช, แหล่งที่มา : http://www.navy.mi.th/newwww/history 150/hispdf.pdf , สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557.
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
1. คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. จดหมายเหตุเรื่อง ทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545.
2. ราชบัณฑิตยสภา. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉบับมีพระรูป. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, พิมพ์ครั้งที่ 2. 2538.
3. กองทัพเรือ. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ, พิมพ์ครั้งที่ 3. 2538.