ผลต่างระหว่างรุ่นของ "27 มิถุนายน พ.ศ. 2475"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศ.นรนิต เศรษฐบุตร ---- '''ผู้ทรงคุณวุ...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' ศ.นรนิต เศรษฐบุตร
'''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


----
----

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:19, 9 กันยายน 2556

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันนี้เป็นวันที่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475” จากชื่อได้แสดงอย่างชัดเจนว่าเป็นกติกาการปกครองบ้านเมืองชั่วคราว แต่ก็มีความสำคัญเพราะแสดงให้ทราบว่าระบอบการปกครองที่จะมีขึ้นนั้นมีรูปแบบอย่างไร

รัฐธรรมนูญฉบับนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้นำออกใช้เป็นการชั่วคราวหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพียงสามวัน

เนื้อหาสาระในบททั่วไปได้ยืนยันถึงอำนาจของประชาชนและการใช้อำนาจแทนประชาชนไว้ใน 2 มาตรา

“มาตรา 1 อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย”

“มาตรา 2 ให้มีประธานและคณะบุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่จะได้กล่าวต่อไปในธรรมนูญ คือ

1. กษัตริย์
2. สภาผู้แทนราษฎร
3. คณะกรรมการราษฎร
4. ศาล”

สถาบันใหม่สองสถาบัน ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการราษฎร สภานั้นก็จะเป็นอำนาจนิติบัญญัติที่สมาชิกสภาจะมาจากการเลือกตั้งของราษฎร แต่ชุดแรกนั้นมาจากการแต่งตั้งจำนวน 70 คน ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ให้ราษฎรมีความเสมอภาคกันในการมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ดังที่มาตรา 14 ระบุว่า

“ราษฎรไม่ว่าเพศใด เมื่อมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ย่อมมีสิทธิออกเสียงลงมติเลือกผู้แทนหมู่บ้านได้...”

พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฯ นี้ ใช้เป็นกติกาในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองหลังวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อยู่มาได้จนถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 จึงมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ที่ต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรนั่นเอง