ผลต่างระหว่างรุ่นของ "15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศ.นรนิต เศรษฐบุตร ---- '''ผู้ทรงคุณวุ...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' | '''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ||
---- | ---- |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:49, 9 กันยายน 2556
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 นั้นสำคัญมากสำหรับเรื่องประชาธิปไตย เพราะเป็นวันที่จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยทางอ้อมของประชาชนชาวสยามในแผ่นดินนี้ นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก
ดังที่บอกไว้แล้วว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมของประชาชนจึงเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรก และครั้งเดียวของไทย
ก่อนจะถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ก้ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้กรม การอำเภอ ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนตำบลขึ้นทั่วประเทศในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จากนั้นผู้แทนตำบลที่ราษฎรเลือกตั้งไว้ตำบลละหนึ่งคนจึงไปเลือกผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง
ดร.นิยม รัฐอมฤต เขียนไว้เกี่ยวกับการเลือกตั้งในหนังสือการเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความตอนหนึ่งว่า
“เมื่อได้ผู้แทนตำบลแล้ว ผู้แทนตำบลจึงออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัด โดยผู้แทนตำบลมีสิทธิเลือก ส.ส. ได้เท่าจำนวน ส.ส. ที่จังหวัดนั้นพึงมี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้มี ส.ส. ประเภท 1 จำนวน 78 คน โดยถือจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์กำหนดจำนวน ส.ส.”
จึงเห็นได้ว่าช่วงเวลาเลือกตั้งทั้ง 2 ขั้นตอน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 กินเวลา 45 วัน นับว่านานพอควร
ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงเวลาเลือกตั้ง ที่คนไทยเพิ่งเริ่มรู้รสการมีสิทธิมีเสียงและจะได้ออกมาใช้สิทธิใช้เสียงเลือกตั้งครั้งนั้น ก็เป็นเวลาที่หวาดเสียวมากของบ้านเมือง เพราะเป็น ช่วงเวลาที่เกิดกบฏบวรเดช อันเป็นสงครามกลางเมืองของไทย ที่ทั้งฝ่ายกบฏและฝ่ายรัฐบาลได้ใช้กำลังรบราฆ่าฟันกันจนมีผู้เสียชีวิตไปพอควร
การปราบกบฏสิ้นสุดลงเมื่อรัฐบาลชนะ รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้แถลงต่อสภาในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ว่าได้ปราบกบฏ ได้เสร็จสิ้นแล้ว
ขนาดทเกิดสงครามกลางเมืองรบราฆ่าฟันกันประมาณ 10 วัน ทางรัฐบาลขณะนั้น ก็ยังเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไปจนสำเร็จเรียบร้อย นับว่าน่าชมเชย
ตอนนั้นประเทศไทยมีอยู่ 70 จังหวัด เลือกผู้แทนราษฎรหนึ่งคน นับว่าเป็นอัตราส่วนที่คิดจำนวนประชากรไม่สูงมาก เพราะตอนนั้นประชากรทั้งประเทศของสยามยังมีไม่ถึง 18 ล้านคน
จำนวนผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งมีมากกว่าจำนวน 70 คน เพราะมีบางจังหวัดมีผู้แทนราษฎรได้มากกว่าหนึ่งคนเช่นจังหวัดเชียงใหม่มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน จังหวัดร้อยเอ็ดกับจังหวัดมหาสารคามก็มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน เพราะมีประชากรมาก เช่นเดียวกับจังหวัดนครราชสีมาก็มีผู้แทนราษฎรได้ 2 คน แต่จังหวัดที่มีผู้แทนราษฎรได้มากที่สุดมีอยู่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครที่เป็นเมืองหลวงกับจังหวัดอุบลราชธานี เพราะมีผู้แทนราษฎรได้ถึง 3 คน
น่าเสียดายที่ผู้แทนราษฎรทั้งหมดเป็นบุรุษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีสตรีไทยที่สนใจการเมืองลงสมัครเข้ารับเลือกตั้ง ปรากฏว่ามีผู้สมัครเป็นสตรี หากแต่ท่านไม่ได้รับเลือกตั้ง
ตอนนั้นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในสยามมีอยู่ 4,278,231 คน ไปออกเสียงใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 1,773,532คน เป็นอัตราร้อยละ 41.45 สมัยนั้นน่าจะถือว่าเป็นจำนวนมากทีเดียว
จังหวัดที่ผู้คนกระตือรือร้นไปใช้สิทธิกันมากที่สุดเป็นจังหวัดเพชรบุรี มีคนไปใช้สิทธิถึงร้อยละ 78.82 ส่วนจังหวัดที่มีคนไปใช้สิทธิน้อยที่สุดจนได้ลงบันทึกก็คือจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีคนออกมาใช้สิทธิเพียงร้อยละ 17.71
ผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งชุดแรกจำนวน 78 คน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต่อมาเป็นนักการเมืองเรืองนาม วาจาดี มีชื่อเสียงและได้เป็นรัฐมนตรีคือ นายเลียง ไชยกาล และนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ทั้งสองท่านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดอุบลราชธานี นายเลียง ไชยกาล นั้นฝีปากดี เคยตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีเรื่องนักการเมืองสำคัญและรัฐมนตรีไปซื้อที่ราคาถูกจากหน่วยงานของรัฐจนนายกรัฐมนตรี พระยาพหลพลพยุหเสนาต้องลาออก อันนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์นั้นก็เคยอภิปรายเล่นงานรัฐบาลสมัยต่อมาจนต้องออกเหมือนกัน นายเลียง ไชยกาล เคยถูกเพื่อนสมิกสภาจับโยนน้ำ แต่นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถูกพิษทางการเมืองจับกุมและได้ถูกฆ่าตายขณะย้ายที่คุมขัง
รัฐบาลที่มีผู้แทนราษฎรครึ่งสภาที่มาจากการเลือกตั้งคราวนี้คือ รัฐบาลของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศนั่นเอง