ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่แบบ:บทความล่าสุด"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
=='''การกระจายอำนาจในญี่ปุ่น'''==
=='''การกระจายอำนาจในญี่ปุ่น'''==


การกระจายอำนาจในญี่ปุ่นเริ่มต้นในปี 1995 เหตุผลหลักคือ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีภารกิจมาก หากแต่ภารกิจเหล่านั้นเป็นภารกิจที่เป็นไปตามคำสั่ง ทิศทางของรัฐบาล หรือกระทรวงต่างๆ เพราะกระทรวงสามารถมอบอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามคำสั่งได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงไม่มีอิสระเท่าที่ควร ทำหน้าที่เป็นเหมือนสาขาของกระทรวงต่างๆ จุดมุ่งหมายสำคัญของการกระจายอำนาจในปี 1995 คือ ความพยายามที่จะทำให้ท้องถิ่นมีความอิสระที่จะริเริ่มการทำงานที่จะแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นได้มากขึ้น โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralization Promotion Committee) ภายใต้กฎหมายการส่งเสริมการกระจายอำนาจ (Decentralization Promotion Law) ประธานกรรมการมาจากนักบริหารภาคเอกชนที่มีชื่อเสียง ซึ่งข้อเสนอจากคณะกรรมการนำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายกระจายอำนาจในปี 1999 และให้มีผลบังคับใช้ในปี 2000 ถือว่าเป็นยุคใหม่ของการกระจายอำนาจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง หลักการสำคัญคือแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจ จำนวน 475 ฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายให้อิสระแก่ท้องถิ่น (Local Autonomy Law) หัวใจสำคัญคือ การยกเลิกหน้าที่ที่ถูกมอบ(delegation) โดยส่วนราชการ ที่ทำให้ผู้ว่าจังหวัดและนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระบบการมอบอำนาจนั้น เช่น การจัดการดูแลแม่น้ำแม้จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดแต่อำนาจอยู่ที่กระทรวงก่อสร้าง โดยกระทรวงจะมีสาขาในจังหวัดต่างๆ เป็นดูแลผู้จัดการแม่น้ำ ซึ่งวิธีการทำงานคือสั่งให้จังหวัดหรือเทศบาลเป็นผู้ดำเนินงานแทนประหนึ่งเป็นสาขาของกระทรวง ทำให้ท้องถิ่นต้องทำงานตามคำสั่งของกระทรวง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70-80 ของงานที่ท้องถิ่นทำทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนี้จังหวัดที่มีสถานะที่เป็นท้องถิ่น แต่งานส่วนใหญ่เป็นงานของรัฐบาลกลาง ผู้ว่าจังหวัดต้องเชื่อฟังคำสั่งของกระทรวง แต่สัดส่วนงานของเทศบาลที่ได้รับจากส่วนกลางมีไม่มากประมาณร้อยละ 30 จะเห็นว่าก่อนการปฏิรูปการกระจายอำนาจยุคใหม่นั้น เทศบาลมีอิสระในการปฏิบัติงานของตนเองมากกว่าจังหวัด ลักษณะเช่นนี้จึงเกิดปัญหาที่ผู้ว่าจังหวัดและข้าราชการท้องถิ่นเริ่มคุ้นเคยกับการทำงานตามคำสั่งมากกว่าการทำงานด้วยตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นนายกเทศมนตรีและข้าราชการท้องถิ่นก็เคยชินกับการรอคำสั่งจากกระทรวงและจังหวัดด้วย สถานการณ์แบบนี้รัฐบาลกลางจึงมีอำนาจในการควบคุมท้องถิ่นค่อนข้างสูง นอกจากการปฏิบัติตามระบบที่งานมอบหมายให้แล้ว ยังมีแนวโน้มว่าท้องถิ่นจะถูกก้าวก่ายจากส่วนกลางมากขึ้นด้วย ดังนั้น การยกเลิกระบบการมอบหมายงานออกไปเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการกระจายอำนาจในญี่ปุ่น เมื่อมีการยกเลิกการมอบอำนาจแล้ว งานที่แต่เดิมเป็นงานในหน้าที่ของกระทรวง เช่น การจัดการแม่น้ำ ก็ถูกถ่ายโอนไปที่ท้องถิ่น กระทรวงไม่มีอำนาจสั่งการแต่ให้คำปรึกษาได้ นำไปสู่การมีอิสระเสรีมากขึ้นของท้องถิ่น [[การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่น|อ่านต่อ...]]
ประเทศญี่ปุ่นแบ่งการการปกครองท้องถิ่นเป็นสองระดับ (two tiers system) คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบน เรียกว่า Prefecture เทียบเท่ากับจังหวัดของประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ 47 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง คือ เทศบาล จำนวน 1,724 แห่ง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสองระดับมีผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้บริหารท้องถิ่นระดับบนเรียกว่าผู้ว่าจังหวัด (Governor) ผู้บริหารท้องถิ่นระดับล่างเรียกว่านายกเทศมนตรี (Mayor) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสองระดับมีสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่เดิมกฎหมายได้กำหนดจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นไว้อย่างชัดเจน แต่ภายหลังได้ยกเลิกไป ในปัจจุบันจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่นว่าจะกำหนดให้มีจำนวนเท่าไร ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร เช่น ในท้องถิ่นขนาดใหญ่อย่างโยโกฮาม่า มีประชากร 3.5 ล้านคน มีจำนวนสมาชิกสภา 91 คน ส่วนเมืองเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณ 5,000 คน มีสมาชิกสภา 15 คน [[การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นญี่ปุ่น|อ่านต่อ...]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:02, 21 กรกฎาคม 2554

การกระจายอำนาจในญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นแบ่งการการปกครองท้องถิ่นเป็นสองระดับ (two tiers system) คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบน เรียกว่า Prefecture เทียบเท่ากับจังหวัดของประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ 47 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง คือ เทศบาล จำนวน 1,724 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสองระดับมีผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้บริหารท้องถิ่นระดับบนเรียกว่าผู้ว่าจังหวัด (Governor) ผู้บริหารท้องถิ่นระดับล่างเรียกว่านายกเทศมนตรี (Mayor) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสองระดับมีสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่เดิมกฎหมายได้กำหนดจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นไว้อย่างชัดเจน แต่ภายหลังได้ยกเลิกไป ในปัจจุบันจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่นว่าจะกำหนดให้มีจำนวนเท่าไร ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร เช่น ในท้องถิ่นขนาดใหญ่อย่างโยโกฮาม่า มีประชากร 3.5 ล้านคน มีจำนวนสมาชิกสภา 91 คน ส่วนเมืองเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณ 5,000 คน มีสมาชิกสภา 15 คน อ่านต่อ...