ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
{{รอผู้ทรง}}
 


'''ผู้เรียบเรียง''' วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์
'''ผู้เรียบเรียง''' วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:


http://bookgang.net/paper/286
http://bookgang.net/paper/286
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2501-2519]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:13, 12 เมษายน 2554


ผู้เรียบเรียง วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2513 อันเป็นผลมาจากการจัดสัมมนานิสิตนักศึกษาจากทุกสถาบันในหัวข้อ “บทบาทนักศึกษาในการพัฒนาประเทศ” ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยจัดขึ้นที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ในระหว่างการสัมมนาได้มีการอภิปรายถึงการก่อตั้งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยขึ้นมา ต่อมา กลุ่มผู้นำนิสิตนักศึกษาได้เดินทางไปประชุมที่ จ.เชียงใหม่ ที่จัดโดย สมาคมบริการนักศึกษานานาชาติ (WUS) แห่งประเทศไทย หลังจากนั้น จึงได้แยกย้ายกันไปประชุมตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จนก่อตั้ง ศนท. ได้สำเร็จ

กิจกรรมในช่วง 2 ปีแรกของ ศนท. เป็นลักษณะการจัดงานบันเทิงหารายได้เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย จนกระทั่งกลุ่มของนายธีรยุทธ บุญมี (เลขาธิการ ศนท. คนที่ 4) เข้ามาผลักดันแนวทางของ ศนท. ไปสู่การเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเฉพาะการรณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นใน พ.ศ.2515

จากกรณีการล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่ ศนท. อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้สั่งลบชื่อนักศึกษารามคำแหงจำนวน 9 คน ที่พิมพ์หนังสือเผยแพร่เรื่องดังกล่าว ทำให้องค์การนักศึกษาและสโมสรนักศึกษาที่เป็นกรรมการ ศนท. ได้นัดชุมนุมที่หน้าทบวงมหาวิทยาลัย ก่อนเคลื่อนย้ายมาชุมนุมต่อที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในช่วงวันที่ 21-22 มิถุนายน 2516 โดยทาง ศนท. ได้ยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาล และให้คำมั่นกับประชาชนว่า ในอีก 6 เดือน ถ้ารัฐบาลยังไม่ยอมคืนรัฐธรรมนูญให้ จะกลับมาร่วมชุมนุมกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง

กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ที่พึ่งจัดตั้งขึ้นจากการชุมนุมในวันที่ 21-22 มิถุนายน 2516 ได้นัดแถลงข่าวแก่หนังสือพิมพ์ แล้วได้เริ่มเดินถือป้ายโปสเตอร์ แจกใบปลิวและหนังสือ ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2516 ต่อมาในวันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2516 จึงได้ถูกตำรวจเข้าจับกุมไว้ได้จำนวน 11 คน ต่อมาจับกุมเพิ่มเติมอีก 2 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษากับอดีตผู้นำนักศึกษาที่พึ่งเรียนจบ ทำให้องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดชุมนุมขึ้นจากกรณีดังกล่าว ในตอนแรกมีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนไม่กี่พันคน ต่อมา ศนท. ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้นำการชุมนุมครั้งนี้แทน เมื่อถึงเวลาเที่ยงวันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2516 ท่ามกลางผู้ชุมนุมจำนวนหลายหมื่นคน ศนท. ได้ยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คนภายใน 24 ชั่วโมง เวลาเที่ยงวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2516 มีจำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มมากขึ้นเป็นหลายแสนคน แล้วเริ่มออกเดินขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ศนท. ประกาศเลื่อนเส้นตายออกไปเป็นเวลา 17.00 น. แล้วในช่วงเวลา 16.20-17.20 น. ตัวแทน ศนท. ได้รับการติดต่อให้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนเข้าพบจอมพลประภาศ จารุเสถียร ในเวลาประมาณ 18.30 น. โดยรัฐบาลตกลงจะปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 13 คน และจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในเดือนตุลาคมของปีหน้า ซึ่งตัวแทน ศนท. ได้รับปากว่าจะมาปรึกษากรรมการ ศนท. เพื่อประกาศให้การชุมนุมสลายตัว

ภายหลังเวลา 17.00 น. ผู้นำนักศึกษาที่รถบัญชาการซึ่งคุมขบวนอยู่ได้สั่งให้เดินขบวนต่อไป ต่อมาหลังจากแกนนำ ศนท. ได้ตกลงกับคณะรัฐบาลแล้วเมื่อเวลา 19.00 น. แต่ไม่ได้ตรงมาติดต่อกับกองบัญชาการที่นำขบวนอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า แต่ไปประกาศให้ประชาชนสลายตัวที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ที่กองบัญชาการจึงประกาศให้กรรมการ ศนท. ไปพบกันเพื่อตกลงว่าจะทำอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตามกองบัญชาการไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงดังกล่าว จึงไม่ยอมให้เลขาธิการ ศนท. (นายสมบัติ ธำรงธัญญาวงศ์)ซึ่งเดินทางมาถึงในเวลา 23.00 น. ได้ขึ้นพูดชี้แจงกับผู้เข้าร่วมชุมนุม

เวลา 01.00 น. นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ผู้นำนักศึกษาได้สั่งเคลื่อนขบวนไปที่พระตำหนักสวนจิตรลดาเพื่อขอพึ่งพระบารมีจากข่าวการตามล่าผู้นำนักศึกษาของรัฐบาล ทำให้เวลา 02.00 น. แกนนำ ศนท. ซึ่งเข้าไม่ถึงตัวเสกสรรค์เกิดความระแวงแล้วใช้รถทหารติดเครื่องขยายเสียงประกาศให้ผู้ชุมนุมสลายตัว ต่อมาเวลา 03.50 น. นายธีรยุทธ์ บุญมี จึงเข้าถึงตัวนายเสกสรรค์ได้ ปรับความเข้าใจกันแล้วพาไปกันไปพบราชเลขาธิการเพื่อขอเข้าเฝ้าฯ ในหลวง เพื่อโปรดพระราชทานพระราชดำรัส เพื่อให้ประชาชนยอมสลายตัว เวลา 04.45 น. ทั้งสองกลับมาพบ พ.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชรฯ นายตำรวจพระราชสำนัก อัญเชิญพระบรมราโชวาทออกอ่านให้ที่ชุมนุมฟัง ก่อนการสลายตัวในเวลา 05.30 น. แต่มีกลุ่มชนที่เดินกลับบ้านเกิดการปะทะกับตำรวจที่สี่แยกราชวิถีในเวลา 06.30 น. จึงนำไปสู่การปะทะกันระหว่างฝูงชนกับรัฐบาลทำให้เหตุการณ์บานปลายออกไปในวันที่ 14 ตุลาคม 2516

ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ศนท. ได้เป็นองค์กรนำการเคลื่อนไหวทางการเมืองของขบวนการนักศึกษา ชาวนา และกรรมกรไทย อย่างไรก็ตาม นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ประชาสัมพันธ์ ศนท. เดิมได้แยกตัวออกมาตั้ง “สหพันธ์นักศึกษาเสรี” ขึ้นมาเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นอิสระจาก ศนท. ซึ่งมีความขัดแย้งของความคิดและแนวทางภายในองค์กรเอง โดยมีข้อสังเกตจากแนวทางสิ่งพิมพ์ 2 ฉบับในระยะแรกของ ศนท. คือ หนังสือพิมพ์ อธิปัตย์ (ระยะแรก) มีแนวโน้มเป็นเสรีนิยม กับหนังสือรายปักษ์ ศูนย์นิสิตฯ เป็นพวกก้าวหน้า เป็นต้น ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นเมื่อ ศนท. มีบทบาทนำทางการเมืองที่เด่นชัดขึ้นภายหลังเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 แต่กลับถูกแทรกแซงมากยิ่งขึ้นจากหน่วยงานด้านความมั่นคงและภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม จนกระทั่งต้องยุติบทบาทของ ศนท. ลงจากเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519

ที่มา

วิทยากร เชียงกูล (บ.ก.). (2517). ขบวนการนักศึกษาไทย: จาก 2475 ถึง 14 ตุลาคม 2516. (พิมพ์ครั้งที่ 2 2536). กทม.: บริษัทแกรมมี่ พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำกัด.

http://bookgang.net/paper/286