ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 11: บรรทัดที่ 11:
<u>'''ที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร'''</u>
<u>'''ที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร'''</u>


[[ตามพระราชบัญญัติบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542]] ในหมวด 4 ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลในกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 27 กำหนดให้การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามก[[ฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528]] ซึ่งได้ระบุองค์กรที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานครได้แก่ คณะกรรมการข้าราชการ[[กรุงเทพมหานคร]] (ก.ก.) อนุกรรมการสามัญ (อ.ก.ก. สามัญ) และอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.ก.วิสามัญ)  
ตาม[[พระราชบัญญัติบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542]] ในหมวด 4 ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลในกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 27 กำหนดให้การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตาม[[กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528]] ซึ่งได้ระบุองค์กรที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานครได้แก่ คณะกรรมการข้าราชการ[[กรุงเทพมหานคร]] (ก.ก.) อนุกรรมการสามัญ (อ.ก.ก. สามัญ) และอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.ก.วิสามัญ)  


คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นองค์กรกลางของการบริหารงานบุคคล ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือ[[รัฐมนตรี]]ช่วยว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]]ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน [[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย 1 คน ปลัดกรุงเทพมหานคร เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือผู้แทน  เลขาธิการ ก.ค. หรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ด้านวิชาการหรือการบริหารงานบุคคลอีกจำนวน 4 คน เป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นกรรมการและเลขานุการ  
คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นองค์กรกลางของการบริหารงานบุคคล ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือ[[รัฐมนตรี]]ช่วยว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]]ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน [[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย 1 คน ปลัดกรุงเทพมหานคร เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือผู้แทน  เลขาธิการ ก.ค. หรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ด้านวิชาการหรือการบริหารงานบุคคลอีกจำนวน 4 คน เป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นกรรมการและเลขานุการ  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:17, 25 เมษายน 2554

ผู้เรียบเรียง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรทัย ก๊กผล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ

การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร

ที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร

ตามพระราชบัญญัติบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ในหมวด 4 ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลในกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 27 กำหนดให้การบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งได้ระบุองค์กรที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานครได้แก่ คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ก.ก.) อนุกรรมการสามัญ (อ.ก.ก. สามัญ) และอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.ก.วิสามัญ)

คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นองค์กรกลางของการบริหารงานบุคคล ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย 1 คน ปลัดกรุงเทพมหานคร เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือผู้แทน เลขาธิการ ก.ค. หรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ด้านวิชาการหรือการบริหารงานบุคคลอีกจำนวน 4 คน เป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครนี้จะมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานคร เช่น การโอนย้าย บรรจุ สอบแข่งขัน และการจัดทำมาตรฐานของตำแหน่ง เป็นต้น

กรุงเทพมหานครเป็นองค์การที่มีข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นข้าราชการประจำ มีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กฎหมายกำหนดให้กรุงเทพมหานครบรรจุแต่งตั้งข้าราชการประจำดังกล่าว โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครหรือจากเงินประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานคร

ที่มา

สถาบันพระปกเกล้า. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น หมวดที่ 3 พัฒนาการและรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย ลำดับที่ 5 เรื่อง กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547.

โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.

ชูวิทย์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น เปรียบเทรียบ :อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541.

สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร ปีที่ 27, 2542.

พัชรี สิโรรส และอรทัย ก๊กผล บรรณาธิการ. การบริหารเมือง : กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.

สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร. จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, 2542.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545

กรุงเทพมหานคร <www.bma.go.th>