ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ใบแดง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.กมลชัย  รัตนสกาววงศ์
'''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.กมลชัย  รัตนสกาววงศ์
----
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์
----


----
'''ใบแดง'''
'''ใบแดง'''


บรรทัดที่ 7: บรรทัดที่ 9:


กระบวนการในการให้ “ใบแดง”  หาก กกต. มีความเห็นเป็น[[เอกฉันท์]]ที่จะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครคนใด  กกต. จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาทุกคณะ เป็นกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้ความเห็นว่า ความเห็นของ กกต. ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือ กกต. กระทำการโดยเที่ยงธรรมหรือไม่  โดยคณะกรรมการตรวจสอบต้องประชุมโดยมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่าสองในสาม และต้องกระทำภายในเวลาไม่เกินห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง  ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบไม่ผูกพัน กกต. ในกรณีที่ กกต. ยังจะมีคำวินิจฉัยตามความเห็นเดิมที่แย้งกับความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  กกต. จะต้องแสดงเหตุผลและประกาศคำวินิจฉัย พร้อมเหตุผลและความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]ด้วย
กระบวนการในการให้ “ใบแดง”  หาก กกต. มีความเห็นเป็น[[เอกฉันท์]]ที่จะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครคนใด  กกต. จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาทุกคณะ เป็นกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้ความเห็นว่า ความเห็นของ กกต. ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือ กกต. กระทำการโดยเที่ยงธรรมหรือไม่  โดยคณะกรรมการตรวจสอบต้องประชุมโดยมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่าสองในสาม และต้องกระทำภายในเวลาไม่เกินห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง  ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบไม่ผูกพัน กกต. ในกรณีที่ กกต. ยังจะมีคำวินิจฉัยตามความเห็นเดิมที่แย้งกับความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ  กกต. จะต้องแสดงเหตุผลและประกาศคำวินิจฉัย พร้อมเหตุผลและความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]ด้วย
[[หมวดหมู่:สารานุกรมการเมืองไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:14, 28 พฤษภาคม 2555

ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์


ใบแดง

ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งดังกล่าว ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดไม่ได้รับการเลือกตั้ง นอกจากนี้แล้ว หาก กกต. ยังเห็นว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดได้กระทำการผิดกฎหมายเลือกตั้งโดยตนเอง หรือเป็นผู้ใช้ เป็นผู้สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจให้ผู้อื่นกระทำการดังกล่าว หรือรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าวแล้วไม่ดำเนินการเพื่อระงับการกระทำนั้น ถ้า กกต. เห็นว่าการกระทำนั้นน่าจะมีผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กกต. มีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครที่กระทำการเช่นนั้นทุกรายเป็นเวลาหนึ่งปี โดยมีผลนับแต่วันที่ กกต. มีคำสั่งโดยด่วนไปเรียกผู้ที่ กกต. เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งว่า ได้รับ “ใบแดง” ทั้งนี้ตามมาตรา 85/1 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541

กระบวนการในการให้ “ใบแดง” หาก กกต. มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครคนใด กกต. จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาทุกคณะ เป็นกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้ความเห็นว่า ความเห็นของ กกต. ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือ กกต. กระทำการโดยเที่ยงธรรมหรือไม่ โดยคณะกรรมการตรวจสอบต้องประชุมโดยมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่าสองในสาม และต้องกระทำภายในเวลาไม่เกินห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบไม่ผูกพัน กกต. ในกรณีที่ กกต. ยังจะมีคำวินิจฉัยตามความเห็นเดิมที่แย้งกับความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ กกต. จะต้องแสดงเหตุผลและประกาศคำวินิจฉัย พร้อมเหตุผลและความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบในราชกิจจานุเบกษาด้วย